ผู้เขียน หัวข้อ: หลายเหตุผลที่ทำให้ "พระป่ากรรมฐาน" มีความเคารพรักใน "สมเด็จพระญาณสังวรฯ"  (อ่าน 1859 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


สงฆ์ทั้งผองพี่น้องกัน!! หลายเหตุผลที่ทำให้ "พระป่ากรรมฐาน" มีความเคารพรักใน "สมเด็จพระญาณสังวรฯ" ยิ่งกว่าผู้ใด!!

ความเคารพศรัทธาอย่างมั่นคงต่อสมเด็จพระญาณสังวรฯ ของพระภิกษุสงฆ์สายวัดป่า

เรื่องนี้ย่อมมีที่มาและที่ไปว่า ทำไมพระสงฆ์สายวัดป่าจึงมีความเคารพเทิดทูนต่อสมเด็จพระญาณสังวรฯ ยิ่งกว่าพระสายปริยัติของวัดในเมือง

ประการที่หนึ่ง  นับเนื่องจากสมเด็จพระญาณสังวรฯ ได้เคยเป็นพระอภิบาล (พระพี่เลี้ยง) ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งทรงผนวช นับตั้งแต่ก่อนการทรงผนวชจนตลอดระยะเวลาแห่งการทรงผนวช  ดังนั้น สถาบันพระมหากษัตริย์กับสถาบันพระพุทธศาสนาจึงมีความสำคัญยิ่งที่ใครก็ตามไม่ควรจะกระทำล่วงล้ำก้ำเกิน

ประการที่สอง  สมเด็จพระญาณสังวรฯ ทรงมีแนวปฏิบัติทางสายวิปัสสนากรรมฐานซึ่งเป็นประเพณีนิยมของคณะสงฆ์ฝ่ายธรรมยุตที่นับเนื่องมาแต่ครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวช  ทั้งนี้เพราะทรงถือปฏิบัติตามหลักของพระพุทธศาสนาที่ว่า เพื่อเป็นแบบแผนในการประพฤติปฏิบัติสำหรับแนะนำสั่งสอนผู้อื่น ซึ่งวิปัสสนาธุระคือการอบรมจิตใจตามหลักสมถะและวิปัสสนาเพื่อให้รู้แจ้งในธรรมและกำจัดกิเลสออกจากจิตใจ

ฉะนั้น พระสงฆ์ธรรมยุตจึงถือปฏิบัติสืบทอดมาแต่ครั้งนั้น กล่าวคือ  ในเวลาพรรษาก็อยู่ศึกษาคันถธุระในสำนักของตน เมื่อออกพรรษาแล้วก็จาริกธุดงค์ไปตามป่าเขาเพื่อหาที่วิเวกปฏิบัติวิปัสสนาธุระ ซึ่งประเพณีปฏิบัติดังกล่าวได้เจริญแพร่หลายในหมู่พระสงฆ์ธรรมยุตสืบมาจวบจนถึงปัจจุบัน ดังที่เรารู้จักกันในนามพระสายวัดป่า  และเป็นที่ทราบกันดีว่า การศึกษาปฏิบัติกรรมฐานมิได้จำกัดวงอยู่เฉพาะในหมู่พระสงฆ์ธรรมยุตเท่านั้น แต่ได้แพร่หลายไปยังพระสงฆ์ฝ่ายมหานิกายด้วย เช่น พระสายวิปัสสนากรรมฐานของหลวงปู่ชา สุภัทโท แห่งวัดหนองป่าพง จังหวัดอุบลราชธานี


(ซ้าย) สมเด็จพระญาณสังวรฯ / (ขวา) หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี


(ซ้าย) สมเด็จพระญาณสังวรฯ / (ขวา) หลวงปู่สิม พุทธาจาโร

สมเด็จพระญาณสังวรฯ ได้ทรงปฏิบัติพระองค์ตามหลักวิปัสสนากรรมฐานนี้อย่างสม่ำเสมอมิได้ขาด  แต่ด้วยพระภารกิจทางการปกครองจึงไม่มีโอกาสที่จะจาริกอยู่ในสำนักวัดป่า  แต่ก็สามารถปฏิบัติได้โดยถือปฏิบัติตามหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ว่า "แม้จะอยู่ในบ้านในเมืองก็ให้ทำสัญญา คือทำความรู้สึกกำหนดหมายในใจว่า อยู่ในป่า อยู่ในที่ว่าง อยู่ในที่สงบ ก็สามารถทำจิตใจให้ว่างให้สงบได้" ซึ่งสมเด็จพระญาณสังวรฯ ก็ได้ทรงปฏิบัติพระองค์ตามหลักดังกล่าว

เมื่อมีโอกาส พระองค์จะเสด็จจาริกไปประทับตามสำนักวัดป่าในแถบภาคอีสานชั่วระยะเวลาหนึ่งเสมอมา  และสิ่งที่จะขาดเสียมิได้ก็คือ จะต้องทรงเสด็จเข้าไปยังวัดป่าบ้านตาดเพื่อเยี่ยมและปรึกษาข้อธรรมกับหลวงตามหาบัว

ด้วยทรงเป็น "พระสังฆบิดร" ของพระสงฆ์ทุกหมู่เหล่า และยังทรงเป็นสมเด็จพระอาจารย์สายวิปัสสนากรรมฐาน ในยามที่พระองค์ทรงถูกกลั่นแกล้งรังแก พระลูกพระหลานที่เป็นพระสายวัดป่าจึงพากันออกมาให้การช่วยเหลือดูแลเทิดพระคุณด้วยเหตุฉะนี้!!


(ซ้าย) หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน / (ขวา) สมเด็จพระญาณสังวรฯ

ที่มา : คอลัมน์ "วิจารณธรรม" หนังสือพิมพ์พิมพ์ไทย

จาก http://panyayan.tnews.co.th/contents/206160/
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...