ผู้เขียน หัวข้อ: ลัญจกรแห่งผักปะ ( ปาซือปา ราชครูชาวทิเบต พระลามะนิกายสักยะ )  (อ่าน 1317 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด





ลัญจกรแห่งผักปะ

ผักปะ หรือ ปาซือปา (八思巴) เป็นนามของพระลามะนิกายสักยะ ผู้มีบทบาทสำคัญทางการเมืองในสมัยราชวงศ์หยวน มีสถานะเป็นผู้นำศาสนาจักร และเป็นอุปราชองค์แรกของทิเบต เป็นพระอาจารย์ที่กุบไลข่านเชื่อถือศรัทธายิ่ง เมื่อพระเจ้าหยวนซื่อจู่ (กุบไลข่าน) ครองแผ่นดินในปีค.ศ. 1260 จึงได้พระราชทานตำแหน่งมหารัฐคุรุ (กั๋วซือ) และ มหาราชครู (ตี้ซือ) พร้อมด้วยพระราชลัญจกรหยกขาวอันล้ำค่า

ต่อมากลายเป็นธรรมเนียมที่ฮอ่งเต้ราชวงศ์หยวนจะต้องพระราชทานลัญจกรหยกขาวให้แก่พระลามะชั้นสูงของทิเบต พร้อมตำแหน่งมหารัฐคุรุให้ แสดงถึงศรทธามในพุทธศาสนาอย่างสูงส่ง เพราะตราหยกขาวนั้นมีสถานะเท่าตราโอรสสวรรค์ ส่วนตราชั้นอ๋อง เจ้าฟ้า เจ้าประเทศราชล้วนแต่ทำจากโลหะ หยกขาวยังเป็นหยกหายากมีราคาสูง เหมาะสมกับผู้ดำรงตำหน่งมหารัฐคุรุ อันเทียบเท่าพระสังฆราชและอาจารย์ของเจ้าแผ่นดินในเวลาเดียวกัน



ตำแหน่งมหารัฐคุรุที่ฮ่องเต้ราชวงศ์หยวนมีบรราดศักดิ์อย่างเป็นทางการคือ สังฆนายกพุทธศาสน์มหาอาณาจักรหยวน (ทงหลิงซื่อเจี้ยวต้าหยวนกั๋วซือ - 通領釋教大元國師) แต่ในตราลัญจกรมิได้ปรากฎอักษรจีน แต่จะสลัก "อักษรผักปะ" ซึ่งเป็นตัวอักษรที่คิดค้นโดยลามะผักปะเพื่อเป็นอักษรทางการของราชวงศ์หยวน

ตราที่เห็นในภาพเป็นลัญจกรมหารัฐคุรุ (กั๋วซือ) และมหาราชครู (ตี้ซือ) ของ "จาปาเอ๋อเส้อ" (扎巴俄色) ในรัชสมัยพระจ้าหยวนเฉิงจง เป็นมหาราชครูท่านที่ 5 นับจากท่านผักปะ รับตำแหน่งปีค.ศ. 1292 อักษรผักปะอ่านได้ความว่า "ลัญจกรมหาราชครูสังฆาปาโมกข์ปกครองภิกษุภิกษุณีพุทธศาสน์ถ้วนทั่วมหาอาณาจักรหยวน"

จาก http://prajnatara79.blogspot.com/2014/11/blog-post_23.html




* มหาสิทธา วิรูปปะ ปฐมาจารย์ นิกายสักยะ




สักยะ


ความเป็นมาในตอนแรกเริ่มของนิกายสักยะผูกพันอยู่กับ " คอน " ซึ่งเป็น ตระกูลขุนนางโบราณ การสืบสายตระกูลนี้ ตกทอดโดยมิขาดสายจนถึง ทุกวันนี้ นับจากคอน คอนจ็อก เจลโป ( ๙๙๒-๑o๗๒ ) ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้ง นิกายสักยะ

ถ้านับทางหลักคำสอนแล้วนิกายนี้มีรากคำสอนมาจากโยคีชาวอินเดียชื่อ วิรูปะ โดยถ่ายทอดคำสอนผ่านมาทางคายธร ดรอกมีสักเยเช ( ๙๙๒ - ๑๑o๒ ) เดินทางไปอินเดียและได้รับคำสอนในเรื่องกาลจักร มรรควิถี และผล จากอาจารย์ใประเทศอินเดียหลายคน ต่อมาคอนก่อนจ็อกเจลโป ลูกศิษย์เอกของเขาได้สร้างวัดขึ้นในแคว้นซัง อยู่ในธิเบตตอนกลาง ใช้ชื่อ ว่า สักยะ หรือวัดดินสีเทา นิกายนี้เลยได้ชื่อตามชื่อวัด ต่อมาสาเช็นกุงก้า นิงโป บุตรของคอน คอนจ็อก เจลโป ( ๑o๙๒ - ๑๑๕๘ ) เป็นคนที่มีทั้ง ความสามารถเป็นเลิศและบรรลุภาวะจิตระดับสูง เป็นผู้รับทอดทั้งคำสอน สายพระสูตรและตันตระของอาจารย์นาคารชุนและวิรูปะ

สาเช็นกุงก้านิงโป มีบุตร ๔ คน คนนที่สองชื่อ โสนัมเชโม ( ๑๑๔๒ - ๑๑๘๒ ) เป็นนักวิชาการที่ทรงความรู้ตั้งแต่อายุเพียง ๑๖ ปี ได้รับนิมิตร หลายประการในการบำเพ็ญสมาธิ และมีลูกศิษย์สืบทอดหลายคน ลูกศิษย์ คนหนึ่ง ชื่อเจตสุนดักปะเจลเซ็น ( ๑๑๔๗ - ๑๒๑๖ ) เป็นฆราวาสที่รักษา ศีลพรหมจรรย์ และแสดงว่ามีความพัฒนาทางจิตวิญญาณตั้งแต่ในวัยเด็ก เมื่ออายุเพียง ๑๑ ขวบ แสดงธรรมสอนเหวัชระเป็นครั้งแรก

สานุศิษย์คสำคัญของเจ็ตสุน ดักปะ เจลเซ็น เป็นหลานชายของเขาเอง คือ สักยะบัณฑิต บุตรชายชายของสักยะบัณฑิตกุงก้าเจลเซ็น ( ๑๑๘๒ - ๑๒๕๑ ) สักยะบัณฑิตศึกษาปรัชญาทั้งอของพุทธและของระบบอื่น รวมทั้งตรรกศาสตร์ สันสกฤต โคล ฉันท์ โหราศาสตร์และศิลปะกับ อาจารย์ชาวอินเดีย เนปาล แคชเมียร์ และธิเบต มีความรู้ความชำนาญใน วิชาการต่าง ๆ อย่างกว้างขวาง เมื่ออายุ ๒๗ ปี หลังจากที่ได้พบกับ ศากยะศรีภัทรบัณฑิตชาวแคชเมียร์ ต่อมาได้รับกรบรรพชาอุปสมบทเป็น พระภิกษุ และรักษาวินัยโดยเคร่งครัดสม่ำเสมอ งานของท่านก็ยังได้รับ ความนิยมมาจนถึงทุกวันนี้

ค.ศ. ๑๒๔๔ โกดันข่าน หลานปู่ของเจ้ากิสข่าน ประทับใจเกียรติยศชื่อ เสียงของสักยะบัณฑิต จึงได้นิมนต์ให้ไปเผยแผ่คำสอนในมองโกเลีย ประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง ในสมัยต่อมา ฟักปะหลานชายของสักยะ บัณฑิตได้ประดิษฐ์อักษรขึ้นมาใหม่เพื่อใช้เขียนภาษามองโกเลีย กุบไลข่าน ประทับใจในผลงาน จึงประกาศให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ของมองโกเลีย และมอบให้ฟักปะมีอำนาจปกครองดูแล ๓ แคว้นใน ธิเบต นับว่าฟักปะเป็นคนแรกในปะวัติศาสตร์ธิเบตที่มีอำนาจทั้งศาสนา และการเมืองดูแลธิเบตอย่างเป็นเอกภาพ สักยะปกครองธิเบตสืบทอด กัมานานกว่า ๑oo ปี

ต่อมา ติชริ กุงโจ ( ๑๒๙๙- ๑๓๒๗ ) หลานชาย ( ลูกของน้องชาย ) ของ สักยะบัณฑิตสืบทอดตระกูลเป็น ๔ สาย แต่มีเพียง ๒ สาย ที่ยังคงสืบ ทอดมาได้ คือ ตระกูล ลาคัง และดูโซ ในศตวรรษที่ ๑๕ ตระกูลดูโซ แยกพระราชวังเป็น ๒ แห่ง คือ ดอลมา โฟดรัง และฟุนซอก โฟดรัง ผู้สืบทอดทั้สองสายในปัจจุบัน คือ สักยะตรีเซ็น นาวังกุงกะ เต็กเซ็น ริมโปเช ( เกิด ค.ศ. ๑๙๔๕ ) เป็นผู้นำนิกายสักยะ อยู่ในเดห์ราดุน ประเทศ อินเดีย อีกสายหนึ่งคือ ดักเซ็น ริมโปเช ผู้ก่อตั้งสักยะเต็กเซ็นโชลิงใน สหรัฐอเมริกา การสืบทอดตำแหน่งผู้นำ ถือตามสายโลหิต มาตั้งแต่สมัย คอน คอนช็อก เจลโป และตามประเพณีแล้วจะสลับกันระหว่าง ๒ ตระกูล สักยะดักตรีเป็นผู้ครองบัลลังก์คที่ ๔๑ ของสักยะ

ผู้นำที่เป็นหลักของสักยะที่ผ่านมา ได้แก่ สาเซ็น กุงกะ นิงโป ( ๑๙o๒ - ๑๑๕๘ ) โสนัม เซโม (๑๑๔๒ - ๑๑๘๒) ดักปะ เจลเซ่น( ๑๑๔๗-๑๒๑๖) และโดรกอน โชกยัล ฟักปะ ( ๑๒๓๕-๑๒๘o ) ถือเป็นปัญจะสังฆราชของ นิกายสักยะ จากนั้นก็มีอาจารย์ ที่ชำนาญและนำพามาซึ่งการพัฒนานิกาย สักยะอีก ๖ คน รวมเรียกว่าอลังการทั้ง ๖ ได้แก่ งอเซ็น กุงกะ ซังโป และซองปะ กุงกะ นัมกยัล ซึ่งมีชื่อเสียงในทางตันตระ โครัม โสนัม เซ็งเก และสักยะ โชเด็น ได้จัดระบบการศึกษาตรรกศาสตร์ให้กับนิกายสักยะด้วย

เช่นเดียวกับนิกายอื่น ๆ นิกายสักยะเองก็แตกแยกย่อยเป็นนิกายเล็ก ๆ อีก หลายนิกาย แต่คำสอนและการปฏิบัติที่เป็นแก่นของสักยะคือ ลัมเดร มรรควิถีและผล ซึ่งในท้ายที่สุดจะนำผู้ปฏิบัติไปสู่ เหวัชระ ในมรรควิถี และผลที่กล่าวถึงนั้น ได้สานรวมทั้งฝ่ายพระสูตรและตันตระทั้งที่เปิดเผย และรหัสนัย คำสอนในมรรควิถีและผล มีรากฐานมาจากคำสอนของ อาจารย์ชาวอินเดียชื่อ วิรูปะ อวรูติ คยธร และศากยมิตร คนหลังนี้เป็น ศิษย์ของอาจารย์นาคารชุน ดรอกมี นักแปลชาวธิเบตได้ถ่ายทอดคำสอน เหล่านี้สืบต่อกันมาโดยไม่ขาดสาย

ในสมัยของมูเช็น เซ็มปะ ซังโป คอนช็อก เจลเซ่น ศิษย์ของ งอเซ็น กุงกะ ซังโป ( ๑๓๘๒-๑๔๕๗ ) การสืบทอดมรรควิถีและผล ไม่สามารถ จะแยกออกได้จากสังสารวัฏและพระนิพพาน เมื่อเป็นเช่นนี้ ผู้ปฏิบัติ ไม่สามารถเข้าถึงพระนิพพานโดยการละทิ้งสังสารวัฏได้ เพราะจิตนั้น มีรากฐานอยู่ในทั้งสังสารวัฏและพระนิพพาน หากยังมืดมัวอยู่ก็เป็น สังสารวัฏ เมื่อเป็นอิสระจากอุปสรรคอาสวะกิเลสก็เป็นพระนิพพาน ความจริงก็คือบุคคลจะต้องฝึกฝนในการทำสมาธิ เพื่อให้เข้าใจถ่องแท้ ในลักษณะความสัมพันธ์ของสังสารวัฏกับพระนิพพาน

ในวัดมหาลัยของสักยะมีการศึกษาคัมภีร์หลัก ๑๘ อย่างคือ ปัญญาบารมี พระวินัย มาธยมิกทรรศนะ ปรากฏการณ์วิทยา ตรรกศาสตร์ และทฤษฎี ความรู้ รวมทั้งอรรถกถาเฉพาะนิกายที่อาจารย์สำคัญของนิกายอธิบาย ไว้เมื่อเรียนสำเร็จแล้ว พระภิกษุนักศึกษาจะได้รับปริญญา คาชิปะ คาชุปะ และรับจัมปะ ตามขีดขั้นของการศึกษา การปฏิบัติทางตันตระที่นิกาย สักยะถือเป็นหลักคือ เหวัชระ จักสัมภวะ ตันตระและมหากาล

ในประเทศธิเบต นิกายสักยะมีวัดอยู่ทั่วไปทั้งในธิเบตตอนกลางในแคว้น คัม อัมโด ปัจจุบันนี้ หลังจากที่อพยพมาอยู่ในประเทศ อินเดีย นิกาย สักยะได้ก่อสร้างวัดขึ้นใหม่ ตามชื่อวัดเดิมในธิเบต เช่น เซเช่นเทนไป คัตซัล ในราชปูร์ อุตตรประเทศ นังกูร อีวัมชาดรูป คาร์เจลิงในเมืองบีร์ ทางตอนเหนือของอินเดีย เซเช่นโทงัก โชลิง ในมุนกอด ในอินเดียใต้ นังกูร อีวัม โชเด็น ในเมืองเดห์ราดูน อุตตรประเทศ รวมทั้งตาชิรับเท็น ลิง ใประเทศเนปาล


ประวัตินิกาย สักยะ หรือ สาเกียปะ เนื้อหาเกี่ยวเนื่องกัน http://www.tairomdham.net/index.php/topic,839.0.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 27, 2016, 05:35:09 pm โดย มดเอ๊กซ »
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


พักปะ (འཕགས་པ་ หรือ 'phags pa) ในภาษาทิเบต แปลว่า ผู้ประเสริฐ คือพระอริยเจ้า หรือ อารยะ ในภาษาสันสกฤต โดยนัยคือ ผู้ที่รู้แจ้งในศูนยตาและยกสู่ปรมัตถ์

นอกจากนี้ "พักปะ" ยังเป็นชื่อบุคคล และนามของพระลามะชั้นผู้ใหญ่ในประวัติศาสตร์จีน มองโกล และทิเบต คือท่านโดรเกิน เชอจัล พักปะ (จีนเรียกว่า ปาซือปา - 八思巴) เป็นพระลามะนิกายสะจะ (หรือที่บางท่านเรียกว่า สักยะ) ผู้มีบทบาทสำคัญทางการเมืองในสมัยราชวงศ์หยวน มีสถานะเป็นผู้นำศาสนจักร และเป็นอุปราชองค์แรกของทิเบต เป็นพระอาจารย์ที่กุบไลข่านเชื่อถือศรัทธายิ่ง เมื่อพระเจ้าหยวนซื่อจู่ (กุบไลข่าน) ครองแผ่นดินในปีค.ศ. 1260 จึงได้พระราชทานตำแหน่งมหารัฐคุรุ (กั๋วซือ) และมหาราชครู (ตี้ซือ) พร้อมด้วยพระราชลัญจกรหยกขาวอันล้ำค่า

สาเหตุที่พระเจ้าหยวนซื่อจู่ กุบไลข่านศรัทธาในท่านโดรเกิน เชอจัล พักปะเป็นอันมาก จนถวายสมณศักดิ์สูงสุดในแผ่นดินให้ เพราะมีครั้งหนึ่งท่านพักปะวาดมณฑลสำหรับประกอบพิธีวัชรตันตระลงบนพื้น แต่บนท้องฟ้ากลับปรากฎรูปฉายของมณฑลดังกล่าวเช่นกัน แสดงถึงอภิญญา (หรือมหาสิทธิ) ของพระอริยเจ้าหรือโพธิสัตว์ซึ่งจะแสดงเพื่อให้ผู้คนเห็นแล้วเกิดศรัทธาในศาสนา ไม่ใช่การอวดบารมี หรือหวังลาภยศ

ความศรัทธาในตัวท่านพักปะสืบต่อมายาวนานตลอดราชวงศ์หยวน และต่อมากลายเป็นธรรมเนียมที่ฮ่องเต้ราชวงศ์หยวนจะต้องพระราชทานลัญจกรหยกขาวให้แก่พระลามะชั้นสูงของทิเบต พร้อมตำแหน่งมหารัฐคุรุให้ แสดงถึงศรัทธาในพุทธศาสนาอย่างสูงส่ง เพราะตราหยกขาวนั้นมีสถานะเท่าตราโอรสสวรรค์ ส่วนตราชั้นอ๋อง เจ้าฟ้า เจ้าประเทศราชล้วนแต่ทำจากโลหะ หยกขาวยังเป็นหยกหายากมีราคาสูง เหมาะสมกับผู้ดำรงตำหน่งมหารัฐคุรุ อันเทียบเท่าพระสังฆราชและอาจารย์ของเจ้าแผ่นดินในเวลาเดียวกัน

ตำแหน่งมหารัฐคุรุที่ฮ่องเต้ราชวงศ์หยวนมีบรราดศักดิ์อย่างเป็นทางการคือ สังฆนายกพุทธศาสน์มหาอาณาจักรหยวน (ทงหลิงซื่อเจี้ยวต้าหยวนกั๋วซือ - 通領釋教大元國師) แต่ในตราลัญจกรมิได้ปรากฎอักษรจีน แต่จะสลัก "อักษรพักปะ" ซึ่งเป็นตัวอักษรที่คิดค้นโดยลามะพักปะเพื่อเป็นอักษรทางการของราชวงศ์หยวน และเชื่อว่าส่งอิทธิพลต่ออักษรเกาหลี หรือ ฮันกึล ในเวลาต่อมา

ตราที่เห็นในภาพเป็นลัญจกรมหารัฐคุรุ (กั๋วซือ) และมหาราชครู (ตี้ซือ) ของ "จาปาเอ๋อเส้อ" (扎巴俄色) ในรัชสมัยพระจ้าหยวนเฉิงจง เป็นมหาราชครูท่านที่ 5 นับจากท่านผักปะ รับตำแหน่งปีค.ศ. 1292 อักษรพักปะอ่านได้ความว่า "ลัญจกรมหาราชครูสังฆาปาโมกข์ปกครองภิกษุภิกษุณีพุทธศาสน์ถ้วนทั่วมหาอาณาจักรหยวน"

จาก https://www.facebook.com/442993079227558/photos/a.443004555893077.1073741828.442993079227558/530893950437470/?type=3&theater
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...