ผู้เขียน หัวข้อ: 19 เรื่องของในหลวงรัชกาลที่ 9 แรงบันดาลใจของพสกนิกร ทรงอุทิศทั้งชีวิตเพื่อ  (อ่าน 1071 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


เรื่องของในหลวงรัชกาลที่ 9 ที่ทรงอุทิศทั้งชีวิต เพื่ออาณาประชาราษฎร์

เรื่องของในหลวงรัชกาลที่ 9 แพรวดอทคอมขอรวบรวมเรื่องราวต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องในพระองค์ท่านมาเรียบเรียงไว้ ณ ที่นี้ เพื่อเป็นข้อคิดสร้างแรงบันดาลใจให้พสกนิกรไทยทุกคนมีกำลังใจที่เข้มแข็ง ดําเนินชีวิต่อไปอย่างมีสติ ความสุข ความเจริญ มั่นคง และมีคุณธรรมสืบไป



1. หลังขึ้นครองราชย์ พระองค์ได้เสด็จฯกลับไปยังสวิสอีกครั้ง เพื่อทรงศึกษาวิชากฎหมายและการปกครอง เนื่องจากต้องรับพระราชภาระเป็นพระมหากษัตริย์ ในด้านวิชาภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์ ทรงต้ังพระทัยศึกษาเปรียบเทียบระหว่างประเทศไทยกับนานาประเทศ เกี่ยวกับพื้นฐานและวัฒนธรรมของแต่ละชาติ เพื่อนํามาเป็นแนวปรับปรุงแก้ไขประเทศไทยให้เจริญขึ้นกว่าที่เป็นอยู่

2. ทรงเป็นตัวอย่างของผู้ที่เสียสละความสุขส่วนตนเพื่อประโยชน์สุขส่วนรวมอย่างแท้จริง ทรงอุทิศพระวรกายเพื่อบําเพ็ญ พระราชกรณียกิจน้อยใหญ่ คอยบําบัดทุกข์บํารุงสุขของพสกนิกรมาอย่างต่อเนื่องยาวนาน เพราะทรงถือว่า “การให้และการเสียสละเป็นการกระทํา อันมีผลกําไร” กล่าวคือ กําไรแห่งความอยู่ดีมีสุขของปวงประชา ซึ่งไม่สามารถประเมินเป็น “มูลค่า” แต่กลับมี “คุณค่า” ทางจิตใจมากกว่า เข้าทํานองที่ว่า “ขาดทุนคือกําไร”

3.ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมีความเพียรพยายามอันเป็นหน่ึงในคุณธรรม จริยธรรมท่ีบริบูรณ์ย่ิง สังเกตได้จากหลากหลายโครงการพระราชดําริที่ทรงริเริ่มขึ้น ล้วนประสบสัมฤทธิผลได้ด้วยพระราชวิริยอุตสาหะเป็นสําคัญ สอดคล้องกับวิริยบารมีของพระโพธิสัตว์ในบทพระราชนิพนธ์ เรื่อง มหาชนก แปลว่า “พ่อผู้ยิ่งใหญ่” ซึ่งมีพระราชประสงค์ในการปลูกฝังให้คนไทยทุกภาคส่วนมีความเพียรพยายามในการทํางานและ ทําความดี สอดคล้องกับพระราชปรารภที่ว่า “ขอจงมีความเพียรที่บริสุทธิ์ ปัญญาที่เฉียบแหลม กําลังกายที่สมบูรณ์

4. พล.ต.อ.วสิษฐ เดชกุญชร เคยเล่าถึงการจดจ่อทรงงาน ของในหลวงว่า “พระองค์ทรงประยุกต์พระสมาธิในการประกอบพระราชกรณียกิจทุกอย่าง ทั้งน้อยและใหญ่ จึงทรงสามารถเผชิญกับพระราชภาระอันหนัก ในตําแหน่งพระมหากษัตริย์ได้โดยไม่ทรงสะทกสะท้านหรือหวั่นไหว ไม่ทรงคาดการณ์ล่วงหน้าไปไกล ๆ อย่างเลื่อนลอยและเปล่าประโยชน์ ไม่ทรงอาลัยอดีตหรืออนาคต ไม่ทรงเสียเวลาหวั่นไหวไปกับความสําเร็จ หรือความล้มเหลวอันเป็นเรื่องที่ผ่านพ้นไปแล้ว แต่ทรงจดจ่ออยู่กับปัจจุบัน ทรงสนพระราชหฤทัยอยู่แต่กับพระราชกรณียกิจเฉพาะพระพักตร์เท่านั้น

5.ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงตระหนักอยู่เสมอว่า ความทุกข์ยากของพสกนิกรย่อมเปรียบเสมือนความทุกข์ยากของพระองค์เอง จึงไม่น่าแปลกใจว่าทําไมคนไทย จึงมักเห็นภาพพระพักตร์ของพระองค์ท่ีเต็มไปด้วยหยาดพระเสโท อันเป็นผลมาจากความตรากตรําพระวรกาย จนไพร่ฟ้าประชาชนต่างกล่าวขานกันว่า พระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงงานหนักที่สุดในโลก ทรงเอาพระราชหฤทัยจดจ่อไม่ทรงยอมให้ขาดจังหวะ จนกว่าจะเสร็จ และไม่ทรงทิ้งขว้างแบบทําๆหยุดๆ ดังนั้น พระราชกรณียกิจทั้งหลายนั้นจึงสําเร็จลุล่วงไปเป็นส่วนใหญ่

6. ภาพที่พระองค์มักทรงถือแผนที่ด้วยพระหัตถ์ซ้าย พระหัตถ์ ขวาทรงจับปากกา พระศอสะพายกล้องถ่ายรูป ได้กลายเป็นภาพที่ชินตา และอยู่ในหัวใจของราษฎรไทยทุกภาคส่วน อุทิศพระองค์เพื่อทรงงานหนัก โดยไม่ทรงเห็นแก่ความตรากตรําพระวรกาย ในบางครั้งรถพระที่นั่งต้อง ฝ่าเข้าไปในกระแสน้ําท่ีเชี่ยวกราก หากรถไม่สามารถต้านทานกระแสน้ําได้ พระองค์ก็เสด็จฯลงจากรถเพื่อทรงพระดําเนินต่อไปด้วยสองพระบาท

7. พระองค์มีพระราชประสงค์ในการใช้ “สายพระเนตร” สอดส่องสภาพความเป็นจริงที่เกิดขึ้นกับชีวิตราษฎรใช้ “สองพระกรรณ” สดับรับฟังความเดือดร้อนของพสกนิกรจากปากของพวกเขาเอง แล้ว ทรงใช้ “พระปัญญา” คิดวิเคราะห์หาแนวทางในการแก้ไขปัญหา จากนั้น ทรงใช้ “พระหัตถ์” ลงมือปฏิบัติทดลองด้วยพระองค์เอง ท้ังหมดน้ี ด้วยทรงเล็งเห็นว่าความทุกข์ยากของประชาชนน้ัน หากไม่ลงมือแก้ไข ให้เป็นรูปธรรมก็ย่อมไม่เกิดคุณประโยชน์อันใดขึ้นมา

8. ทุกคร้ังที่เสด็จฯไปเยี่ยมเยือนราษฎรในท้องถิ่นทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ จะทรงไต่ถามทุกข์สุขหรือความต้องการของประชาชน เพื่อนํามาเป็นแนวทางในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพสกนิกร ทรงมีเป้าหมาย หลักคือ ต้องการเห็นประชาชนสามารถพึ่งพาตนเองได้โดยไม่ก่อความ เดือดร้อนวุ่นวายให้แก่ผู้อื่น

9. ในหลวงรัชกาลที่ 9 มีพระราชภาระอันใหญ่ยิ่งในการดูแลทุกข์สุขของพสกนิกรทั่วทั้งประเทศ ซึ่งการทรงงานของพระองค์นั้นเกิดขึ้นอยู่ตลอด เวลา แม้ในยามท่ีทรงพระประชวรก็ยังไม่เคยละเว้นจากการปฏิบัติพระราชภารกิจในฐานะพ่อแห่งแผ่นดินท่ีต้องดูแลลูกไทยมากกว่าหกสิบล้านคน ให้อยู่ดีมีสุขกันถ้วนหน้า ดังเหตุการณ์เมื่อปี 2518 พระองค์ทรงพระประชวรด้วยเชื้อไมโคพลาสมา พระอาการหนักมากจนเป็นที่วิตกของคณะกรรมการแพทย์ท่ีถวายการรักษา แต่ทรงห่วงใยราษฎรมากกว่าความปลอดภัยของพระองค์เอง ถึงกับรับส่ังกับนายแพทย์ว่า “จะใช้เวลารักษานานเท่าไร ขอรอไว้ก่อนนะ ฉันทนได้ วันนี้ขอไปดูราษฎร และช่วยแก้ไขปัญหาเรื่องน้ําท่วมก่อน”

แก้ไขปัญหาบ้านเมืองหลายกรณี อาทิ แนวพระราชดําริ “เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา” เพื่อการแก้ไขปัญหา ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ แนวพระราชดําริ “บวร” หมายถึง บ้าน วัด และโรงเรียน เพื่อร่วมสร้างความสมานฉันท์ภายในสังคม แม้แต่แนวพระราชดําริ“ระเบิดจากข้างใน” ก็เกิดข้ึน เพื่อพัฒนาชุมชนจากภายในสู่ภายนอกสังคมตามลําดับ

10. ครั้งหน่ึงท่ีพระองค์เสด็จฯไปทรงเยี่ยมโครงการห้วยสัตว์ใหญ่ เมื่อเฮลิคอปเตอร์พระที่นั่งไปถึง ปรากฏว่าฝนตกลงมาอย่างหนัก ข้าราชการ และราษฎรที่เข้าแถวรอรับเปียกฝนกันทุกคน เมื่อทรงเห็นดังน้ันจึงรับส่ัง ให้องครักษ์เก็บร่ม แล้วทรงเยี่ยมข้าราชการและราษฎรท้ังกลางสายฝน

11.ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงนึกถึงแต่ประชาชน แม้กระทั่งวันท่ีพระองค์ ทรงกําลังจะเข้าห้องผ่าตัดกระดูกสันหลังเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2549 ก็ยังรับส่ังให้ข้าราชบริพารไปติดตั้งคอมพิวเตอร์เดินสายออนไลน์ไว้เพราะ กําลังมีพายุเข้าประเทศ เพื่อพระองค์จะได้ทอดพระเนตรมอนิเตอร์ เผื่อน้ําท่วมจะได้ช่วยเหลือทัน

12. ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงตระหนักว่า ทุกข์ที่เกิดจากโรคภัยไข้เจ็บต่างๆ น้ันเป็นทุกข์ดังพุทธพจน์ที่ว่า “อโรคยา ปรมาลาภา” ความไม่มีโรค ย่อมเป็นลาภอันประเสริฐ ทําให้พระองค์ทรงส่งเสริมพัฒนาการแพทย์ และสาธารณสุขของไทยให้เกิดความเจริญก้าวหน้ามาอย่างต่อเนื่อง

13. คร้ังหน่ึงพระองค์มีพระราชดํารัสว่า “ข้าวกล้องมีประโยชน์ ทําให้ร่างกายแข็งแรง ข้าวขาวเม็ดสวยแต่เขาเอาของดีออกไปหมดแล้ว มีคนบอกว่าคนจนกินข้าวกล้อง เรากินข้าวกล้อง เรานี่ก็คนจน” สะท้อน ให้เห็นว่าพระองค์ทรงเป็นแบบอย่างท่ีดีให้แก่ราษฎร ไม่เว้นกระท่ังเรื่อง สุขอนามัย

14. ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงให้ก่อตั้ง “มูลนิธิชัยพัฒนา” เพื่อสนับสนุนส่งเสริม โครงการหรือกิจกรรมอันเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในการพัฒนาตนเอง และพัฒนาชุมชน จนกระทั่งมีคุณภาพชีวิติที่ดีขึ้นสอดรับ กับพระราชดํารัสเก่ียวกับมูลนิธิชัยพัฒนาตอนหนึ่งความว่า “มูลนิธิชัยพัฒนาซึ่งมีหน้าที่ พัฒนาประเทศจนมีชัยชนะ ชัยของการพัฒนาน้ีมีจุดประสงค์คือ ความสงบ ความเจริญ ความอยู่ดีกินดีของประชาชน…”

15. ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมุ่งเน้นการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้คนในระดับ รากหญ้าตามพื้นท่ีชนบท ด้วยทรงเล็งเห็นว่า ความเป็น “รากหญ้า” ย่อมเต็มเปี่ยมด้วย “รากเหง้า” ทางภูมิปัญญาอันเป็น “รากฐาน” ทางสังคม ท่ีมีความสําคัญเป็นอย่างยิ่ง อุปมาดั่งต้นไม้ท่ีมี “รากแก้ว” ซึ่งสามารถ เจริญเติบโตไปเป็น “รากแกร่ง” ท่ีลําเลียงธาตุอาหารไปหล่อเลี้ยงลําต้น จนแตกกิ่งก้านสาขาผลิร่มเงาได้อย่างยั่งยืน เป็นที่มาของโครงการพัฒนา ชนบทตามแนวพระราชดําริ โดยมีพระราชประสงค์ให้ชุมชนเกิดความ เข้มแข็งจนชาวบ้านสามารถพึ่งพาตนเองได้ในที่สุด

16. โครงการตามพระราชดําริทุกโครงการล้วนเกิดขึ้นจากพระราชหฤทัยท่ีทรงพระเมตตาต่อพสกนิกรเป็นสําคัญ ดังพระราชดํารัสตอนหน่ึงที่ว่า “…การพัฒนาจะต้องเป็นไปตามภูมิประเทศทางภูมิศาสตร์ และทาง สังคมศาสตร์ในสังคมวิทยา ภูมิประเทศตามสังคมวิทยาคือนิสัยใจคอ ของคนเรา จะไปบังคับให้คนคิดอย่างอื่นไม่ได้ เราต้องแนะนํา เราต้องเข้าไปช่วยโดยที่จะดัดเขาให้ ข้ากับเราไม่ไ่ด้ แต่เราต้องเข้า ไปดูว่าเขาต้องการอะไรจริง ๆ หลักการของการเข้าไปพัฒนาจึงจะเกิดประโยชน์อย่างยิ่ง”

17. บทเพลงพระราชนิพนธ์ ความฝันอันสูงสุด เป็นอีกบทเพลงหน่ึงท่ีแฝงเร้นไว้ด้วยหลักธรรมคําสอน มุ่งปลูกฝังให้ประชาชนเรียนรู้ ที่จะตอบแทนบุญคุณของแผ่นดิน ดังเนื้อร้องตอนหน่ึงที่ว่า “นี่คือ ปณิธานที่หาญมุ่ง หมายผดุงยุติธรรมอันสดใส ถึงทนทุกข์ทรมาน นานเท่าใด ยังมั่นใจรักชาติองอาจครัน”

18. คร้ังหนึ่ง ม.ร.ว.คึกฤทธ์ิ ปราโมช กราบบังคมทูลถามว่า เคยทรงเหนื่อยทรงท้อบ้างหรือไม่ ทรงตอบว่า “ความจริงมันน่าท้อถอยอยู่หรอก บางเรื่องมันน่าท้อถอย แต่ว่าฉันท้อไม่ได้ เพราะเดิมพันของเราน้ันสูงเหลือเกิน เดิมพันของเรานั้นคือบ้านเมือง คือความสุขของคนไทยทั้งประเทศ”

19. เรียกได้ว่าตลอดพระชนมายุ ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงยอมเสียสละ ความสุขส่วนพระองค์ในการบําเพ็ญพระราชกรณียกิจน้อยใหญ่เพื่อมวลพสกนิกรไทย โดยไม่มุ่งหวังส่ิงตอบแทนอื่นใด ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความโปร่งใสแห่งห้วงพระราชหฤทัยที่ใฝ่เมตตาธรรมเป็นสําคัญ

ที่มา: นิตยสารแพรว ปี 2558 ฉบับที่ 871 (10 ธ.ค. 58)

จาก http://www.praew.com/59301/king-of-thailand/19-storyofking/
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...