ผู้เขียน หัวข้อ: สมเด็จพระญาณสังวร ฯ อริยสงฆ์ผู้เป็น "พระป่า" ที่อยู่ในเมือง ผู้มากด้วยเมตตาบารมี  (อ่าน 1832 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด



สมเด็จพระญาณสังวร ฯ อริยสงฆ์ผู้เป็น "พระป่า" ที่อยู่ในเมือง ผู้มากด้วยเมตตาบารมี

สมเด็จพระญาณสังวร ฯ  อริยสงฆ์ผู้เป็น “พระป่า" ที่อยู่ในเมือง ผู้มากด้วยเมตตาบารมี


นพ.จักรธรรม ธรรมศักดิ์ สว.สรรหา อดีตผู้อำนวยการสำนักพุทธศาสนาแห่งชาติ กล่าวว่า สมเด็จพระสังฆราช เป็นพระที่พิเศษมาก เนื่องจากทรงเป็น “พระป่า” ที่อยู่ในเมือง เพราะแม้พระองค์จะทรงจำวัดอยู่ที่วัดบวรนิเวศวิหาร แต่วัตรปฏิบัติของพระองค์ท่าน ไม่ต่างจากหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต หลวงตามหาบัว หรือ หลวงปู่ชา สุภัทโท เพราะท่านเน้นในเรื่องฝึกปฏิบัติ ฝึกวิปัสสนา และทรงใช้ชีวิตอย่างเรียบง่าย ต่างจากพระในเมือง ที่มักจะนั่งโซฟา เก้าอี้หลุยส์ หรือนั่งรถเบนซ์ ที่ญาติโยมถวาย แต่สมเด็จพระสังฆราชไม่เคยมี ทำให้พระป่านับถือสมเด็จพระสังฆราช ทุกรูป สังเกตได้จากเวลาที่พระป่าชั้นผู้ใหญ่ทุกรูป จะมากราบท่านทุกครั้งที่เข้ามากรุงเทพ นอกจากนี้ สมเด็จพระสังฆราช เป็นพระที่สงบมาก โดยพระองค์ท่านจะนิ่ง ไม่เหลียวมอง ทอดพระเนตรต่ำ และเดินช้า ซึ่งเป็นจุดเด่นของพระปฏิบัติ ต่างจากพระในเมืองหลายรูปที่เป็นพระ “โซเชียล” ที่เห็นนักการเมืองหรือข้าราชการผู้ใหญ่ก็จะดินเข้าหาทันที



นพ.จักรธรรม เล่าให้ฟังอีกว่า สมัยที่รับราชการในกระทรวงสาธารณสุข ได้รับประสานงานจากสมเด็จพระสังฆราช ให้สร้างอาคารสกลมหาสังฆปรินายก ในโรงพยาบาล 19 แห่ง เพื่อช่วยผู้ป่วย โดยใช้งบประมาณกว่า 200 ล้าน โดยเหตุที่สมเด็จพระสังฆราช สร้างในโรงพยาบาล 19 แห่ง เพราะ ทรงตั้งใจสร้างขึ้นเพื่อทำบุญถวายให้สมเด็จพระสังฆราชองค์ก่อนๆ ซึ่งมีจำนวน 18 องค์ รวมพระองค์ท่านด้วยเป็น 19 รูป โดยงบประมาณที่ใช้เป็นเงินส่วนพระองค์ ที่เป็นเงินบริจาค และที่ญาติโยมถวายให้ทั้งสิ้น ไม่ได้เกี่ยวกับงบประมาณแผ่นดิน



“มีเกร็ดเล็กน้อยว่า ตอนก่อสร้างแล้วเสร็จ งบประมาณไม่พอ สมเด็จพระสังฆราช ต้องไปหยิบยืมจากมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัยไปจ่ายค่าก่อสร้างก่อน ทำให้พระองค์ท่านต้องเก็บสะสมเงินเพิ่ม ซึ่งเมื่อพระองค์ท่านได้เงินครบ ท่านก็รีบหาเงินไปใช้คืนทันที การสร้างอาคารเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่าทรงมีพระเมตตาสูงมาก”

ที่มา : http://www.manomayitthi.com/ เรื่องเล่าจากศิษย์ผู้ใกล้ชิด

จาก http://panyayan.tnews.co.th/contents/204746/




หน้าตาของความดี ความชั่วเป็นเช่นไร สมเด็จพระสังฆราช เมตตาชี้ให้เห็น

หน้าตาของความดี ความชั่วเป็นเช่นไร สมเด็จพระสังฆราช เมตตาชี้ให้เห็น

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน)

ใครเคยเห็นหน้าตาของความดีและความชั่วบ้าง เป็นเด็กหรือผู้ใหญ่ หรือมีบ้านเรือนภูมิลำเนาอยู่ที่ไหน อันความดีความชั่วนั้นไม่มีตัวตน แต่มีคนทำดีหรือทำชั่วและมีผลของการทำ เหมือนอย่างความร้อนความหนาวไม่มีตัวตน ความหิวกระหาย ความอิ่มหนำสำราญไม่มีตัวตน แต่มีคนที่ร้อนหรือหนาว มีคนที่หิวกระหายหรืออิ่มหนำสำราญ

คนที่ร้อนเพราะมีความร้อน คนที่หนาวเพราะมีความหนาว ฉันใด คนดีจะเป็นเด็กชายดี เด็กหญิงดี นายดี นางดีก็ตาม เพราะมีความดี คนชั่วจะเป็นเด็กชายชั่ว เด็กหญิงชั่ว นายชั่ว นางชั่วก็ตาม เพราะมีความชั่ว ฉันนั้น

ฉะนั้น ต้องการจะเห็นหน้าตาของความดี จะดูหน้าคนดีแทนก็ได้ ต้องการจะเห็นหน้าตาของความชั่ว จะดูหน้าตาของคนชั่วแทนก็ได้ คนดีเพราะมีความดีนั้น คือคนที่ทำดีต่าง ๆ ส่วนคนชั่วเพราะมีความชั่วนั้น คือคนที่ทำชั่วต่าง ๆ ยกตัวอย่างตัวของเราเองทุก ๆ คน


สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน)

เมื่อช่วยกันทำการในบ้านในโรงเรียน หรือการที่เป็นประโยชน์ทั่วไปต่าง ๆ ก็เป็นที่สรรเสริญยกย่อง เพราะการทำนั้นก่อให้เกิดสุขประโยชน์ นี้คือ ความดีมีอยู่ที่ตัวเราเองซึ่งเป็นคนดีขึ้นเพราะทำดี เมื่ออยากจะดูหน้าตาของความดี ก็จงส่องกระจกดูหน้าตาของตัวเราเอง จะรู้สึกความภาคภูมิใจซึ่งแฝงอยู่ในใบหน้า ในสายตา อันส่อเข้าไปถึงจิตใจที่ดี อาจมีความอิ่มใจในความดีของตนเป็นอย่างมากก็ได้

แต่ถ้าตัวของเราเองทุก ๆ คนทำไม่ดีต่าง ๆ ในบ้านบ้าง ในโรงเรียนบ้าง ในที่ต่าง ๆ บ้าง ก่อให้เกิดความทุกข์ร้อนเสียหายแก่ใคร ๆ ก็เป็นที่ติฉินนินทา เพราะการทำนั้นก่อให้เกิดโทษ นี้คือความชั่วมีอยู่ที่ตัวเราเอง ซึ่งเป็นคนชั่วขึ้นเพราะทำชั่ว เมื่ออยากจะดูหน้าตาของความชั่ว ก็จงส่องกระจกดูหน้าของตัวเราเอง จะรู้สึกความอัปยศอดสู ความปิดบังซ่อนเร้นอยู่ในใบหน้า ในสายตา อันส่อเข้าไปถึงจิตใจที่ไม่ดี อาจมีความสร้อยเศร้าตำหนิตนเองรังเกียจตนเองเป็นอย่างมาก เพราะรู้สึกสำนึกขึ้นบ้างก็ได้

 
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน)

สรุปความว่า การกระทำทุกอย่างที่น่านิยมชมชอบ ก่อให้เกิดสุขประโยชน์แก่ตนเองแก่ผู้อื่นคือความดี ส่วนการกระทำทุกอย่างที่น่าตำหนิติเตียน ก่อให้เกิดทุกข์โทษแก่ตนเองและผู้อื่นคือความชั่ว

สมเด็จพระสังฆราช

ที่มา: หนังสือ “พระพุทธศาสนาสอนเด็ก”, www.sangharaja.org/

ข่าวโดย : กิตติทีนิวส์  / สำนักพิมพ์ กรีนปัญญาญาณ/ ทีมข่าวปัญญาญาณ – ทีนิวส์


จาก http://panyayan.tnews.co.th/contents/212485/
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...