ผู้เขียน หัวข้อ: สกู๊ป : ฮาราลด์ ลิงค์ เยอรมันหัวใจไทย เป็นฝรั่งคนหนึ่งที่รัก และเทิดทูน สถาบัน  (อ่าน 1027 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


เพิ่มเติม http://marketeer.co.th/archives/27733

ทุกครั้งที่เราได้เห็นชาวต่างชาติแสดงออกถึงความจงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เราชาวไทยก็อดที่จะนึกชื่นชมและปลื้มใจไม่ได้ ซึ่งวันนี้เรามีเรื่องราวของชาวต่างชาติท่านหนึ่งที่รักและเทิดทูนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชไม่แพ้ชาวไทย

<a href="https://www.youtube.com/v/8nev2UnGfCA" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/8nev2UnGfCA</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/Y10fzjdOC8M" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/Y10fzjdOC8M</a>




′มร.ฮาราลด์ ลิงค์′ ฝรั่งหัวใจไทย ครอบครัวผมอยู่ที่นี่มา 111 ปี

ได้ชื่อว่าเป็น "ฝรั่งหัวใจไทย" สำหรับ มร.ฮาราลด์ ลิงค์ ประธานกลุ่มบริษัท บี.กริม กลุ่มธุรกิจสัญชาติเยอรมันยักษ์ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย อายุเก่าแก่กว่า 136 ปี

ผู้ชายคนนี้ แม้ไม่มีสายเลือดไทยในตัว หากประวัติศาสตร์ครอบครัวของเขามีจารึกลงบนแผ่นดินไทยยาวนานถึง 111 ปี

"ผมอยู่เมืองไทยมา 36 ปี แต่ครอบครัวอยู่ที่นี่มา 111 ปี" มร.ฮาราลด์ บอกด้วยภาษาไทยที่ชัดเป๊ะ แม้กระทั่ง "ร-ล" เขาก็ออกเสียงได้ถูกต้อง หรือแม้แต่ "คำราชาศัพท์" เขาก็ใช้ได้อย่างคล่องแคล่ว

บี.กริม เริ่มต้นธุรกิจในประเทศไทยตั้งแต่ปี 2421 เริ่มจากธุรกิจขายยา "สยาม ดิสเป็นซารี่" ของ มร.แบร์นฮาร์ด กริม เภสัชกรชาวเยอรมัน และหุ้นส่วนชาวออสเตรียน มร.แอร์วิน มุลเลอร์ ทั้งสองได้มีโอกาสทำงานในราชสำนักรัชกาลที่ 4 ด้านเภสัชตะวันตก ที่ต่อมาได้รับพระราชทานตราครุฑ และเป็นร้านขายยาที่ถูกแต่งตั้งอย่างเป็นทางการจากราชวงศ์

ต่อมาในปี 2446 มร.อดอร์ฟ ลิงค์ คุณปู่ของ มร.ฮาราลด์ เภสัชกรหนุ่มจากเยอรมัน เข้ามาทำงานเป็นผู้จัดการร้านและทำการขยายสาขา กระทั่งได้เป็นเจ้าของในปี 2475 ตั้งแต่นั้นมาจนถึงปัจจุบัน บี.กริม พัฒนาธุรกิจมาเป็นเจ้าของธุรกิจพลังงาน, โรงไฟฟ้า, อุปกรณ์การแพทย์, เครื่องปรับอากาศ, คมนาคม และอสังหาริมทรัพย์

ปัจจุบัน มร.ฮาราลด์ยังดำรงตำแหน่ง "นายกสมาคมขี่ม้าแห่งประเทศไทย"

"กีฬาม้าเป็นกีฬาที่มีเสน่ห์ และผมชอบม้า จึงเข้ามาสนับสนุนและพัฒนาสมาคมต่อจากสิ่งที่นายกคนก่อนทำไว้ ความตั้งใจของผม อยากให้เข้าใจว่า เราทำเพื่อนักกีฬา มีความเป็นหนึ่ง ไม่ใช่เป็นเราเป็นเขา จึงได้ดึงคนจากสโมสรต่างๆ ไม่ว่าเขาจะชอบเราหรือไม่ชอบเรา เลือกเราหรือไม่เลือกเรา เข้ามาเป็นกรรมการสมาคม เพื่อสร้างความโปร่งใสสูงสุด พยายามสร้างความรู้สึกว่ายุติธรรมสูงสุด ไม่มีเส้น มีเส้นไม่มีประโยชน์ ทุกคนมีสิทธิเท่ากันหมด"



ล่าสุด มร.ฮาราลด์ ริเริ่มก่อตั้ง "วิทยาลัยกีฬาม้า" ขึ้นแห่งแรกในประเทศไทย เพื่อทำให้ทุกอาชีพที่เกี่ยวข้องกับกีฬาชนิดนี้มีความเป็นเลิศ

"ถ้าแต่ละอาชีพไม่แข็งแรง เราก็ไปไหนไม่ได้ ไม่ว่าจะเป็น ครูสอน สัตวแพทย์ พยาบาล กรรมการ คนดูแลม้า ทุกหน้าที่มีความสำคัญทั้งหมด"

มร.ฮาราลด์ สำเร็จการศึกษาปริญญาโทด้านการบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยเซนต์กัลแลน ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ตริยาภรณ์มงกุฎไทย (ต.ม.) เครื่องราชอิสริยาภรณ์ จัตรุถาภรณ์ช้างเผือก (จ.ช.) และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานชื่อและนามสกุลภาษาไทยว่า "นายหรัณ เลขนะสมิทธิ์"

เขาเป็นทายาท ดร.เกฮาร์ด ลิงค์ และบอรอนเนส โมนิก้า รูดท์ คอนเลนเบอร์ก เป็นผู้สืบเชื้อสายตระกูลสายมารดา "รูดท์ วอน คอลเลนเบอร์ก" ที่เก่าแก่ที่สุดตระกูลหนึ่งของเยอรมัน เขาสืบทอดมรดกเป็น "ปราสาทในโอเดนวาลด์" ที่มีอายุมากกว่า 716 ปี ซึ่ง มร.ฮาราลด์ตั้งใจจะรักษาไว้ให้ได้ถึง 1,000 ปี

นอกจากงานด้านธุรกิจ ซีอีโอใหญ่คนนี้ยังทำงานตอบแทนสังคมไทยหลากหลายด้าน ทั้งการศึกษา สิ่งแวดล้อม วัฒนธรรม กีฬา สุขภาพ และศาสนา

หนึ่งในนั้นคือ การดำรงตำแหน่ง "ประธานมูลนิธิกองทุนการกุศลสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี"

"คุณป้าของผม คุณหญิงอัลม่า ลิงค์ เป็นสตรีชาวต่างชาติคนแรกที่ได้รับพระมหากรุณาธิคุณแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งคุณหญิง เนื่องจากทุ่มเทแรงกายแรงใจในการทำงานเพื่อการกุศลต่างๆ" มร.ลิงค์ เล่าถึงที่มาที่ไปก่อนที่เขาจะเข้ามารับตำแหน่งนี้


บี.กริม จับมือภูฏานตั้งศูนย์ GNH ประเทศไทยสร้างหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อความสุขที่ยั่งยืน http://www.thansettakij.com/2016/11/04/110859

"คุณหญิงอัลม่าเป็นพยาบาล และมีโอกาสเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระศรีนครินทร์ฯ หลายครั้ง และเมื่อคุณป้าเสียชีวิต ผมเข้ามาเป็นกรรมการมูลนิธิ และมีโอกาสเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระศรีนครินทร์ฯ ที่วังสระปทุม พระองค์ทรงมีพระเมตตา ผมรู้สึกซาบซึ้งมาก กระทั่ง ท่านผู้หญิงสุมาลี จาติกวณิช หมดวาระการเป็นประธาน ท่านผู้หญิงก็ให้เกียรติผมเป็นประธาน"

มูลนิธิจดทะเบียนเมื่อปี 2523 ตามวัตถุประสงค์ของท่านผู้หญิงเบ็ตตี้ ดูเมน พระสหายของสมเด็จย่า เพื่อส่งเสริมสนับสนุนงานขององค์กรต่างๆ ในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี โดยตั้งแต่ปี 2533 จัดให้มีการมอบทุนการศึกษาสมเด็จย่าྖ ให้แก่นักศึกษาวิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สถาบันพระบรมราชนก และมอบทุนการศึกษาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน เป็นปีที่ 24

"เราสนับสนุนการศึกษาของพยาบาล สมัยก่อนสมเด็จพระศรีนครินทร์ฯ ก็ทรงเป็นพยาบาล เราเห็นว่าอาชีพนี้เป็นอาชีพหนึ่งที่สำคัญ หลายคนอาจคิดว่าประเทศเรามีพยาบาลอยู่จำนวนมาก ซึ่งไม่ใช่ เพราะยังขาดอยู่มาก ก็คิดว่า จะทำอย่างไรให้ประเทศของเรามีพยาบาลมากขึ้น และทำหน้าที่เฉพาะพยาบาลเท่านั้น ไม่ต้องทำงานธุรการ จึงได้เพิ่มทุนเป็น 310 ทุนในปีนี้ และปีหน้าก็คงจะเพิ่มอีก อยากทำให้ดีที่สุดเท่าที่ทำได้"

เหนือสิ่งอื่นใด การมอบทุนแต่ละครั้ง มร.ฮาราลด์ หวังให้นักเรียนพยาบาลเหล่านี้ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จย่า

"อยากให้พยาบาลระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระศรีนครินทร์ฯว่าทรงทำอะไรทรงงานกุศลแบบไหนทำไมคนถึงเรียกพระองค์ว่าแม่ฟ้าหลวงคนไทยโชคดีที่สุดที่ราชวงศ์ไทยเสด็จฯไปตามภูเขาชายแดน สร้างและสนับสนุนโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนให้คนด้อยโอกาสได้รับการศึกษา ได้รับการดูแลจากหมอดีๆ"

ทำอะไรคืนให้แผ่นดินไทยหลายด้านขนาดนี้ มร.ฮาราลด์ ตอบสั้นๆ ทันทีว่า "ชอบ"

"ตั้งแต่ต้นผู้ก่อตั้งบริษัท บี.กริมร่วมมือกับสกุลสนิทวงศ์ขุดคลองรังสิต 1,500 กิโลเมตร ซึ่งเป็นโครงการสาธารณูปโภคที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียสมัยนั้น เราสร้างวัด สร้างโรงเรียน ซึ่งคุณพ่อก็ชอบ คุณลุง คุณป้าก็ชอบ ทุกคนทำการกุศลด้วยความรักความชอบ เพราะเวลาคุณให้คน คุณมีความสุข แล้วคนที่ได้รับก็มีความสุข คุณพ่อเคยบอกว่า เสื้อตัวสุดท้ายไม่มีกระเป๋า หมายความว่า เมื่อคุณตายแล้ว อยู่ในโรงศพ ปกติที่เยอรมนีเขามีเสื้อผ้า แต่เสื้อไม่มีกระเป๋า แปลว่า เงินเอาไปไม่ได้ เพราะฉะนั้น เมื่อเรามีชีวิต ส่วนหนึ่งเราให้ครอบครัว ส่วนหนึ่งให้สังคม"

ในวัย 59 ปี ผู้ชายคนนี้ขอทำสิ่งที่ชอบต่อไป ยังไม่ยอมเกษียณง่ายๆ

"ผมชอบทำในสิ่งที่ผมชอบ ชอบทำงานในบริษัท ชอบอยู่กับคนดี ชอบศึกษา ชอบกีฬา ชอบงานกุศล ชอบอยู่กับครอบครัว ผมมีความสุข สิ่งสำคัญที่สุดในช่วงวัยนี้ ผมพยายามสร้างปัญญาในตัวเอง

"เพราะยิ่งอายุมาก คนก็จะคบน้อยลงโดยอัตโนมัติ ผมอยากให้คนคบเรา โดยเรามีปัญญา เขาอยากมาหา เพราะเขาคิดว่า เราเป็นบวกในชีวิตของเขา ไม่ใช่เป็นภาระ ผมไม่อยากเป็นภาระของใคร ผมไม่ชอบขอ ผมชอบให้ ผมไม่ชอบขอให้ลูกมาเยี่ยม ผมอยากให้ลูกมาเยี่ยมด้วยความดีใจ และชอบอยู่กับพ่อ"

จาก http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1414556085

http://www.thaitribune.org/contents/detail/81?content_id=7151&rand=1477833082
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...