ผู้เขียน หัวข้อ: กบนอกกะลา : ธง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์  (อ่าน 968 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด








ธงชาติ และเพลงชาติไทย คือ สัญลักษณ์แห่งความเป็นไทย...นี่คือเสียงที่คุ้นเคยของคนไทยทั้งประเทศ ในทุกๆ วันเวลา 08.00 น. และ 18.00 น. แต่เชื่อว่าไม่ใช่ทุกคน ที่รู้ว่าทำไม? ภาพธงชาติไทยปลิวไสวเหนือยอดเสาธง ไม่ว่าจะที่ไหนๆ บนแผ่นดินไทย หรือแม้แต่ในต่างแดน ล้วนเป็นภาพที่คุ้นเคย แต่ก็เชื่อว่า ยังมีคนไทยอีกไม่น้อย ไม่รู้ว่าทำไมต้องเชิญธงขึ้นสู่ยอดเสา ทำไมต้องประดับธง และการประดับธงประดับที่ไหน เมื่อไร อย่างไรจึงจะถูกต้องและเหมาะสม

ธงชาติ หรือธงไตรรงค์ คือ สัญลักษณ์แห่งความเป็นชาติที่คนไทยทั้งประเทศยอมรับ คุ้นเคยและคุ้นตากันมาเป็น 100 ปีแล้ว โดยมีความหมายที่ถ่ายทอดกันมาว่า สีแดง หมายถึง ชาติ สีขาว หมายถึง ศาสนา และสีน้ำเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย์ แต่กว่าจะมาเป็น ธงไตรรงค์ ซึ่งประกอบด้วย แถบสีทั้ง 3 สีนี้ ธงชาติไทย ได้ถูกปรับเปลี่ยนมาหลายครั้งหลายหน จากธงแดง, ธงแดงวงจักร, ธงแดงช้างเผือก, จนถึงธงแดงขาว ก่อนที่จะมาเป็นธงไตรรงค์ ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 หรือ พุทธศักราช 2460 การเปลี่ยนแปลงแต่ละครั้ง แต่ละแบบแต่ละสี ก่อนที่จะมาเป็นธงไตรรงค์นั้น ล้วนมีที่มา เหตุผล และความหมาย

ธงชาติไทย มีขนาด และสีเฉพาะที่ต้องถูกต้องตามกฏหมายพระราชบัญญัติธงฯ คือ ขนาด กว้าง 6 ส่วน และยาว 9 ส่วน ดังนั้น เมื่อมีการนำแถบสี แดง ขาว และน้ำเงิน ไปทำเป็นสิ่งใดก็ตาม ที่ไม่ได้ขนาดตามที่กฏหมายกำหนด นั่นย่อม ไม่ใช่ธงชาติไทย แต่เป็นเพียงแถบสีธงชาติเท่านั้น แต่เมื่อมีสีแดง ขาว น้ำเงิน ย่อมมีความเหมือน และความหมายไม่แตกต่างจากธงชาติไทย อันเป็นสัญลักษณ์ของความเป็นชาติ ที่ถือเป็นตัวแทนของสถาบันสูงสุดของชาติ ที่มิควรลบหลู่ เหยียดหยาม และปฏิบัติต่อแถบสีธงชาติอย่างไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นวางไว้ในที่ต่ำ ประดิษฐ์ หรือประดับเป็นข้าวของ สิ่งของเครื่องใช้ที่อยู่ในที่ต่ำ หรือนำมาใช้ในวาระโอกาสที่ไม่เหมาะสม การทิ้งหรือทำลายแถบสีธงชาติ ทำได้หรือไม่ และต้องทำอย่างไร จึงจะไม่ผิดกฏหมาย

นอกจากนี้ กบนอกกะลา ยังจะพาคุณผู้ชม ไปพบกับเบื้องหลังการผลิตธงชาติ ธงราชนาวี และธงประจำกองทัพ และหน่วยงานราชการต่างๆ มายาวนาน นับตั้งแต่เริ่มมีการใช้ธง โดยช่างฝีมือที่เป็นที่ยอมรับระดับประเทศ ในหน่วยงานที่ได้ชื่อว่า ผลิตธงที่ใช้ในประเทศไทย อย่างเป็นทางการมากที่สุดในประเทศก็ว่าได้ นั่นก็คือ กรมพลาธิการ กองทัพเรือ และชื่นชมความสง่างาม ของการเชิญธงราชนาวีไทย ขึ้นสู่ยอดเสา ณ หน่วยนาวิกโยธิน ฐานทัพเรือสัตหีบ ที่คุณผู้ชมจะต้องภาคภูมิใจในความเป็นชาติ และเอกราชของประเทศไทย



ในวาระโอกาสช่วงเวลา หรือวันสำคัญของประเทศไทย สิ่งหนึ่งที่เราจะพบเห็นได้ทั่วไป ทุกอาคาร สถานที่ บ้านเรือนของคนไทยทั้งประเทศ ก็คือ “ธง” ที่เราจะเห็นได้โดยทั่วไปนั้น ก็จะประกอบ ไปด้วยธงชาติไทย หรือ ธงไตรรงค์ ธงธรรมจักรสีเหลือง หรือธงสัญลักษณ์สำคัญของศาสนาพุทธ และธงตราสัญลักษณ์ ซึ่งเป็นธงประจำพระองค์ของพระมหากษัตริย์ไทย ธงแต่ละชนิดนั้น มีที่มา คุณค่า และความหมายที่แท้จริงอย่างไร และธงแต่ละชนิด ซึ่งถือว่าเป็นสัญลักษณ์ของสถาบันสูงสุดของประเทศ คือ ชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์นั้น จะต้องมีวิธีการใช้งานที่ถูกต้องและเหมาะสมอย่างไร มาเรียนรู้ ไปพร้อมๆ กัน ธงชาติ หรือธงไตรรงค์ คือ สัญลักษณ์แห่งความเป็นชาติที่ไทย ที่คนไทยทั้งประเทศ ยอมรับ คุ้นเคยและคุ้นตากันมาเป็น 100 ปีแล้ว โดยมีความหมายที่ถ่ายทอดกันมาว่า สีแดง หมายถึงชาติ สีขาว หมายถึง ศาสนา และสีน้ำเงิน หมายถึง พระมหากษัตริย์ แต่กว่าจะมาเป็น ธงไตรรงค์ ซึ่งประกอบด้วย แถบสีทั้ง 3 สีนี้ ธงชาติไทย ได้ถูกปรับเปลี่ยนมาหลายครั้งหลายหน จากธงแดง ธงแดงวงจักร ธงแดงช้างเผือก จนถึงธงแดงขาว ก่อนที่จะมาเป็นธงไตรรงค์

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 หรือ พุทธศักราช 2460 การเปลี่ยนแปลงแต่ละครั้งแต่ละแบบแต่ละสี ก่อนที่จะมาเป็นธงไตรรงค์นั้น ล้วนมีที่มา เหตุผล และความหมาย ธงชาติไทย มีขนาด และสีเฉพาะที่ต้องถูกต้องตามกฏหมายพระราชบัญญัติธง ฯ คือ ขนาด กว้าง 6 ส่วน และยาว 9 ส่วน ดังนั้น เมื่อมีการนำแถบสี แดง ขาว และน้ำเงิน ไปทำเป็นสิ่งใดก็ตาม ที่ไม่ได้ขนาดตามที่กฏหมายกำหนด นั่นย่อม ไม่ใช่ธงชาติไทย แต่เป็นเพียงแถบสีธงชาติเท่านั้น แต่เมื่อมีสีแดง ขาว น้ำเงิน ย่อมมีความเหมือน และความหมายไม่แตกต่างจากธงชาติไทยอันเป็น สัญลักษณ์ของความเป็นชาติ ที่ถือเป็นตัวแทนของสถาบันสูงสุดของชาติ ที่มิควรลบหลู่ เหยียดหยาม และปฏิบัติต่อแถบสีธงชาติอย่างไม่เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นวางไว้ในที่ต่ำ ประดิษฐ์ หรือประดับเป็นข้าวของสิ่งของเครื่องใช้ที่อยู่ในที่ต่ำ หรือ นำมาใช้ในวาระและโอกาสที่ไม่ เหมาะสม

การทิ้งหรือทำลายแถบสีธงชาติ ทำได้หรือไม่ และต้องทำอย่างไร จึงจะไม่ผิดกฏหมาย อีก 2 ธงสำคัญ อย่าง ธงศาสนา และ ธงสถาบันพระมหากษัตริย์ ธงธรรมจักร ธงสำคัญทางพระพุทธศาสนาไทย ผืนธงสีเหลือง มีตราเสมาธรรมจักรสีแดงอยู่ตรงกลาง นิยมประดับกันมาก เมื่อมีการประกอบพิธีสำคัญ หรืออยู่ในวาระสำคัญทางศาสนาพระพุทธศาสนา เช่น วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา ซึ่งนิยมประดับคู่กับธงชาติไทย แต่จะประดับอย่างไรให้ถูกต้องและเหมาะสม ธงสถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งมีทั้ง ธงประจำพระองค์และธงพระอิสริยยศ ธง 2 แบบนี้ มีที่มาและถูกใช้ต่างกันอย่างไร การประดับที่ถูกต้องเหมาะสม ตามสถานที่ต่างๆนั้นควรประดับอย่างไร มาร่วมกันเรียนรู้และเข้าใจ พร้อมทั้งใช้ธงได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ได้ใน กบนอกกะลา ตอน ธง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์

<a href="https://www.youtube.com/v/MlrqQITHHwY" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/MlrqQITHHwY</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/MZ2J2zMLb2c" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/MZ2J2zMLb2c</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/IofDwaH72GI" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/IofDwaH72GI</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/VCHDlyTswHI" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/VCHDlyTswHI</a>

จาก http://www.mcot.net/site/content?id=534758aabe047011288b45a1
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...