ผู้เขียน หัวข้อ: เสวนา "จากซัมเมอร์ฮิล ถึง หมู่บ้านเด็ก และ โฮมสคูล"(สภาท่าพระอาทิตย์ ASTV NEW 1)  (อ่าน 1316 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด

<a href="https://www.youtube.com/v/rEqnyxdrK44" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/rEqnyxdrK44</a>

<a href="https://www.youtube.com/v/R2XDa_T4Kas" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/R2XDa_T4Kas</a>




'โฮมสคูล' การศึกษานอกระบบ ที่กำลังเป็นที่รู้จักมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แต่ก็ถือว่าน้อยคนที่จะรู้ว่าการเรียนในระบบโฮมสคูลเป็นอย่างไร ต่างจากการศึกษาในระบบที่เรารู้จักกันดีแล้วอย่างไร ทำไมต้องมีการศึกษาแบบโฮมสคูล... 

วันนี้ "ไทยรัฐออนไลน์" จะไขข้อสงสัย เกี่ยวกับเรื่องนี้ ด้วยสถาบันการศึกษานอกระบบแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศไทย... 

เมื่อเดือน เม.ย.ที่ผ่านมา นักศึกษาสาขาวารสารศาสตร์ คณะนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ จัดค่ายสัมมนานักข่าวรุ่นเยาว์รักษ์สิ่งแวดล้อม ครั้งที่ 13 โดยการทำประโยชน์แก่สังคม คือ หนึ่งในกิจกรรมของค่าย นักศึกษากลุ่มนี้ได้รวบรวมเงินบริจาคเสื้อผ้า หนังสือ และอาหาร นำไปบริจาคให้กับเด็กที่มูลนิธิโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก ไทยรัฐออนไลน์เลยขอร่วมนำเสนอเรื่องราวของโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก หรือซัมเมอร์ฮิลล์ ต้นแบบการเรียนรู้นอกระบบ เรียกว่าโฮมสคูลแห่งแรกของประเทศไทย ที่ได้รับการรับรองจากสำนักการศึกษาขั้นพื้นฐาน จนปัจจุบันนี้กลายเป็นศูนย์กลางของระบบการเรียนโฮมสคูลของทั้งประเทศ ที่ต้องมาจดทะเบียนกับ ซัมเมอร์ฮิลล์



สู่ซัมเมอร์ฮิลล์แห่งแรกของไทย  

อาจารย์รัชนีย์ ธงชัย หรือ แม่แอ๊ว ครูใหญ่แห่งโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก รวมทั้งเป็นผู้ก่อตั้ง ได้เล่าจุดเริ่มต้นของโรงเรียนแห่งนี้ว่า โรงเรียนหมู่บ้านเด็กเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2522 แต่ว่าได้รับการอนุญาตจากทางกระทรวงศึกษาธิการ ให้เป็นโรงเรียนเอกชน ที่สังกัดสำนักงานจากเอกชน เมื่อปี พ.ศ.2523 โดยมีแรงบันดาลใจการทำโฮมสคูลมากจากประเทศอังกฤษ ในการทำงานส่งเสริมคุณภาพชีวิตและประสบการณ์แก่เด็กและเยาวชน ด้วยความที่อยากจะทำโรงเรียนที่ให้เด็กๆ อยู่แล้วมีความสุข จึงเป็นสาเหตุให้สนใจที่อยากจะทำให้เด็กได้รับความสุขจริงๆ ได้พบว่าในประเทศอังกฤษมีหนังสือเล่มหนึ่งชื่อว่า summer hill หลังจากนั้นได้มาแปลมาภาษาไทยว่า ชีวิต เสรีภาพ และการปกครองตนเองที่ซัมเมอร์ฮิลล์ ซัมเมอร์ฮิลล์ เป็นโรงเรียนที่ให้อิสรภาพแก่เด็ก   

หากย้อนไปเมื่อ พ.ศ.2515 ซึ่งเป็นยุคที่มีการเคลื่อนไหวให้รัฐธรรมนูญ และต้องการมีเสรีภาพ เพราะในยุคนั้นเสรีภาพถูกจำกัด ภายใต้อำนาจนิยม เป็นรัฐบาลทหาร เพราะฉะนั้น จึงมีการปกครองจากการใช้อำนาจทางทหารอย่างเบ็ดเสร็จ และส่งผลให้อำนาจจิตสำนึกกระทบไปยังครอบครัว ไปยังโรงเรียน เด็กที่เข้ามาอยู่ที่นี่ ต่างเป็นเด็กที่ด้อยโอกาสทางสังคม ทั้งฐานะทางบ้านและหลายคนที่เป็นเหยื่อของความเสื่อมโทรมในสังคม เด็กเหล่านี้ปฏิเสธการศึกษาในระบบ เพราะสังคมทำให้รู้สึกว่าพวกเขานั้นแตกต่าง แปลกแยก ขาดการยอมรับจากเพื่อน เพราะด้วยสังคมแวดล้อมของพวกเขา

 "ในสมัยที่แม่แอ๊วอยู่ในวัยนักเรียน รู้สึกไม่สนุก ไม่มีความสุข ฝันอยากจะเห็นโรงเรียนที่มีความสุข จนได้พบซัมเมอร์ฮิลล์ ก็รู้ว่ามันคือสิ่งที่ต้องการ แล้วตอนนั้นแม่แอ๊วได้สอนหนังสืออยู่ ได้พบนักเรียนที่หลากหลาย จึงได้รู้ว่าไม่ว่านักเรียนจะมาจากที่ใด ทั้งร่ำรวย ยากจน แต่ทุกคนมีความทุกข์หมด ยิ่งเด็กที่มาจากครอบครัวยากจน มักเกิดคำถามว่า "เรียนไปทำไม" เพราะรู้สึกว่าไม่จำเป็นต้องเรียน อีกทั้งต้องพบเจอกับสภาวะทุกข์ ทำให้สังคมมองว่าเป็นเด็กมีปัญหา ทั้งที่จริงแล้วสังคมไม่เคยรับรู้เลยว่าเด็กเหล่านั้น ต้องแบกรับความทุกข์อะไรบ้าง ปัญหาไม่ได้เกิดจากเด็ก แต่เป็นเพราะแวดล้อมสังคมที่เด็กต้องเผชิญอยู่ จึงหาทางแก้ปัญหาขจัดความทุกข์ต้องพยายามคุย ให้คลายความทุกข์ และนอกจากนี้ ปรัชญาของ ซัมเมอร์ ฮิลล์ มีเป้าหมาย คือ ต้องการทำให้มีความสุข และหากจะมีความสุขได้ คือ ต้องให้ความสุขแก่เด็ก มีเสรีภาพในการเลือกเรียนในสิ่งที่อยากเรียน แต่ละคนอยากเรียนไม่เหมือนกัน" แม่แอ๊ว กล่าว

   
ดังนั้น ซัมเมอร์ ฮิลล์ จึงให้เด็กเลือกที่จะเรียนอะไรก็ได้ที่สนใจ เพื่อดึงศักยภาพและพรสวรรค์ของตัวเด็กอย่างแท้จริง เด็กจะมีความมั่นใจ มีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น และก็จัดระบบชีวิตตัวเองได้ในที่สุด อีกทั้งครูต้องมีความเสมอภาคกับเด็ก ลดอำนาจครูมา และเพิ่มอำนาจของเด็ก เพื่อทำให้เด็กมีโอกาสเลือกตามความชอบ



โรงเรียนกับหลักสูตรแห่งชีวิต เรียนทั้งในบ้านและในห้องเรียน สำหรับการเรียนในรูปแบบโฮมสคูล กระบวนการเรียนของโรงเรียนหมู่บ้านเด็ก หรือเรียกว่า home & school คือ การเรียนแบบชุมชน ที่เรียนทั้งในบ้านและในโรงเรียน ซึ่งเด็กจะได้พัฒนาทั้งทางด้านจิตใจ ความคิด สติปัญญา และลงมือทำ เท่ากับได้รับการศึกษาแล้ว และเป็นการศึกษาที่ถูกต้อง ซึ่งการศึกษาในยุคนี้ไม่ไช่ใช้เพียงแต่ 3R ได้แก่ Reading Writing และ Arithmetic เท่านั้น แต่ในปัจุบันมันกลายเป็น 3H ได้แก่ Head Hands และ Heart ซึ่งต้องปฏิบัติได้ ซึ่งการเรียนทั้งหมดนั้น คือ องค์รวมของชีวิต เป็นการศึกษาเพื่อชีวิต การเรียนที่สำคัญ คือ ความต้องการของเด็กการศึกษาในโรงเรียนซัมเมอร์ ฮิลล์   

เมื่อเรามีชุมชน ก็เกิดเป็นระบบคุณค่าของสังคม จะมีเรื่องเศรษฐกิจ การเมือง สิ่งที่เด็กจะได้เรียนรู้ คือ ในด้านเศรษฐกิจ เด็กจะได้ศึกษาอาชีพต่างๆ ที่สนใจ จะมีการฝึกงาน และเราเน้นว่าอาชีพอะไรที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้แบบพอเพียง   

นอกจากนี้ ซัมเมอร์ฮิลล์ ได้จัดทำเกษตรทฤษฎีใหม่ และมีแนวคิดในด้านการพึ่งพาตนเอง โดยทำอย่างไรเด็กเหล่านี้ถึงจะพึ่งพาตนเองได้ จึงต้องฝึกให้มี Head หรือความคิด มีเรื่อง Hands หรือการใช้มือ ซึ่งมีทฤษฎีว่าการใช้มือมีประสิทธิภาพของสอง และ Heart คือ หัวใจ คิดด้วยใจ การมีน้ำใจ เรียนรู้จากการจัดการ เรียนรู้ถึงผลกระทบ   

พร้อมทั้งยังมีสภาโรงเรียน คือ เวทีที่เปิดโอกาสให้ครูกับเด็กได้มาคุยกัน เพราะเมื่อต่างมีอำนาจเท่ากัน ต่างก็ยึดถือแต่ตัวเอง เพราะฉะนั้น ก็จะต้องถกเถียงเพื่อเอาชนะกัน หากสันติวิธีไม่ได้ สภาโรงเรียนจึงต้องมีการใช้พรหมวิหาร 4 คือ เมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา ครูจึงต้องใช้ความเมตตาในการอยู่ร่วมกัน ในการปฏิบัติเช่นนี้ครูจะได้รับรู้พัฒนาการของเด็กในแต่ละวัย และต้องเข้าใจความทุกข์ของเด็กด้วย ก่อนที่จะให้ความรู้แก่เขาได้ต้องเอาความทุกข์ออกมาจากหัวใจเขาก่อน   

เพื่อปฏิรูปการศึกษา ซึ่งทำมาตั้งแต่ปี 2527 ที่กำหนดว่าเด็กต้องเรียนจนจบปริญญาตรี ตามกฎหมายคุ้มครองเด็ก ทำให้ไม่เพียงแต่เด็กเหล่านี้เท่านั้น ยังมีเด็กทั้งที่อยู่ใกล้เคียงกับโฮมสคูลและจากที่อื่นส่วนหนึ่ง ที่ได้รับอนุญาตให้เรียนโฮมสคูล ซึ่งเข้ามาจดทะเบียนกับมูลนิธิโรงเรียนหมู่บ้านเด็กแห่งนี้


"ในครอบครัว พ่อ แม่ ต้องฟังลูก ในโรงเรียน ครูต้องฟังนักเรียน ในชุมชนผู้ใหญ่ต้องฟังคนที่อ่อนแอกว่า และจะมองเห็นเลยว่า หากไม่ฟังกันก็จะมีแต่การใช้อำนาจ ไม่มีความยุติธรรมเกิดขึ้น ความเหลื่อมล้ำก็มากขึ้น ถ้ามีการฟังกันมากขึ้นก็จะแก้ปัญหาโดยสันติวิธี ช่วยกันคิด ช่วยกันทำ และท้ายที่สุดมันบรรลุการแก้ปัญหาได้สำเร็จ อีกทั้งโฮมสคูล ก็ทำเช่นกันโดยพ่อแม่ เป็นครู หาแหล่งเรียนรู้ให้เด็กได้เรียน ลูกจะได้เรียนรู้มากขึ้น ในที่สุดก็จะจัดการตัวเองเป็น โดยโรงเรียนหมู่บ้านเด็กได้เก็บความรู้จากหลากหลายแหล่ง และการจัดการศึกษาในชุมชนเป็นสิ่งที่ดีที่สุด" แม่แอ๊ว กล่าว 

เกษตรพอกิน ต้นแบบชีวิตพอเพียง   

แม่แอ๊วได้ทำ เป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่าหน้าที่ของคนเป็นครู แต่คือการให้ชีวิตใหม่ที่ดีแก่เด็กที่ปฏิเสธระบบเหล่านี้ และคิดพัฒนารูปแบบการเรียนรู้อยู่เสมอ เพื่อผลลัพธ์ของชีวิตน้อยๆ ในโรงเรียนหมู่บ้านเด็กแห่งนี้ แม่แอ๊วยังเล่าถึงแผนในอนาคตของซัมเมอร์ฮิลล์แห่งนี้ด้วยว่า อยากจะให้โรงเรียนแห่งนี้เป็นชุมชนทางเลือกที่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ โดยสิ่งแรกที่จะทำ คือ เรื่องโวลาร์เซล อย่างที่สอง คือเรื่องเกษตรที่ได้เริ่มทำไปแล้ว และเราจะมีการพัฒนา ให้มีการบริหารจัดการให้ดีขึ้น และอย่างที่สาม คือ การนำเอาขยะพลาสติกมาเผา กลั่นเป็นน้ำมันเตาเผา เราก็จะสามารถใช้พลังงานที่เราผลิตขึ้นเองได้ ทั้งไฟฟ้า เชื้อเพลิง ทำให้เป็นหมู่บ้านรักษ์สิ่งแวดล้อม และเป็นต้นแบบที่นักเรียนสามารถนำออกไปสู่ชุมชนอื่น 

นอกจากแม่แอ๊วแล้ว ที่คอยเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของเด็กๆ ซัมเมอร์ฮิลล์ ยังมี แม่ณี หรืออรุณีย์ บุญโย รองหัวหน้าฝ่ายวิชาการ ที่เป็นทั้งครูและแม่ให้แก่เด็ก ที่ต้องการทั้งความรักและความรู้เหล่านี้ ได้เล่ากับ "ไทยรัฐออนไลน์" ว่า 

"ตั้งแต่เริ่มแรก เราทำเกษตรอินทรีย์ปลอดสารพิษ ปฏิเสธผักจากข้างนอก เราเน้นผลิตปัจจัย 4 ในการพึ่งตนเอง เกษตรกับเด็กๆ ของ ซัมเมอร์ฮิลล์ เริ่มจากการผลิตเพื่อบริโภคเอง ถ้าเหลือก็ขาย เรามีห้องพักสำหรับแขกที่เข้ามาเยี่ยม ก็นำผลผลิตที่มีมาประกอบอาหารให้แขกรับประทาน เพราะมันเป็นผลผลิตทางการเกษตรที่ปลอดสารทุกอย่าง หรือให้แขกเป็นสมมนาคุณ หากแขกมีของมาให้เรา ก็จะให้ไปเก็บผักในแปลงได้ฟรี เราปลูกฝังการใช้ชีวิตพอเพียงมานานแล้ว เด็กก็จะสามารถสร้างคุณค่าในตัวเอง สร้างความภาคภูมิใจจากงานที่เขาได้ทำ รู้จักรอคอยผลงาน จากสิ่งที่เขาทำ เด็กได้ลงมือทำ งานที่ได้ลงมือทำจะได้เรียนรู้ การศึกษาอยู่กับชีวิต จากการปฏิบัติลงมือทำ"



แม่ณี เล่าต่อด้วยว่า ในด้านของชุมชนต้นแบบ เรามีการนำร่องทำนาข้าว ซึ่งจะทำในหน้าฝน เป็นแปลงทดลองที่ให้เด็กทำ 2 แปลง อาจจะไม่พอกิน แต่เราจะสอนให้เด็กทำเป็น เพื่อให้พัฒนาต่อไปเรื่อยๆ ให้เด็กได้เรียนรู้ว่า ปลูกข้าว 1 เมล็ด แตกได้เป็นกี่กอ และได้เมล็ดข้าวอีกเท่าไร แล้วเราก็ทำปุ๋ยเอง คิดสูตรเอง ทำเองไม่ใช้สารเคมี เพื่อปลูกข้าวให้เจริญงอกงาม จากการปลูกข้าว 1 เมล็ด พบว่าจะได้ข้าว 76 ต้น 

 เราสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ให้เกิดผลผลิตที่ดี ในนา 1 แปลง เราสามารถปลูกผักไว้รอบๆ ได้ ซึ่งทั้งหมดนี้เราจะส่งเด็กที่สนใจเรื่องการทำเกษตรเข้าอบรมเรียนรู้เกษตร 1 ไร่ 1 แสน แล้วกลับมา บุกเบิกในพื้นที่ ก็จะแบ่งที่ดินให้เลย ถ้าใครจะมุ่งเรื่องเกษตร สร้างเป็นอาชีพของตัวเองไปเลย เช่นเลี้ยงกบในนา เลี้ยงเป็ด ไก่ โรงเรียนจะรับซื้อผลผลิตทั้งหมดเลย ที่ดินเรามี 200 ไร่ ก็แบ่งให้ 

"ในเรื่องความพอเพียง เราเน้นให้พึ่งตนเองให้ได้ อย่างแรกเลย บ้านเรือนอาคารของที่นี่ เราสร้างเองหมด ครูและเด็กๆ จะเป็นคนทำเองหมดเลย ต้องทำอาหารเป็น ทำเกษตรเป็น ทอผ้าเป็น ทำเฟอนิเจอร์เอง หน้าต่างก็ทำเองหมดเลย ทุกคนที่นี่ช่วยกันทำ ไม่มีการจ้าง ประสบการณ์ชีวิตที่เราให้ ถ้าออกไปอยู่ข้างนอก ที่ไหนก็อยู่ได้ งานอะไรก็ทำได้ ไม่เลือกงานด้วย เกษตรอยู่กับชีวิต อยู่ในชีวิตประจำวันของเราทุกคนที่นี่ เพื่อเราจะได้มาทำเป็นอาหาร" แม่ณี กล่าว   

คนเราสัมพันธ์กับธรรมชาติ คิดแบบสังคมนิยม เอาตัวเองเป็นใหญ่ ที่นี่นึกถึงผลกระทบที่ตามมา มนุษย์เป็นพวกคิดแบบทำลาย ทั้งที่เราเป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติ ต้องไม่เบียดเบียนกัน เพราะฉะนั้นต้องใช้ชีวิตให้เรียบง่าย สมถะ กินง่าย อยู่ง่าย เรามีกฎหมายของเราในชุมชนว่า เราจะไม่ตัดต้นไม้ เราจะไม่ฆ่าสัตว์ มันเป็นการปลูกฝังเด็ก ไม่ให้คิดเอาเปรียบใคร ซึ่งถ้าระบบการศึกษาไม่ได้ให้เรื่องนี้ เด็กก็จะคิดแบบเอาชนะ คือ สิ่งที่แม่ณีฝากผ่าน "ไทยรัฐออนไลน์" 

ทั้งนี้ Home School การจัดการศึกษาที่พ่อแม่ หรือผู้ปกครอง ได้จัดขึ้นเพื่อลูกๆ ของเขาเอง โดยมีสิทธิคุ้มครองตามกฎหมาย มีรูปแบบการจัดการศึกษาแบบใดแบบหนึ่งของการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัย หรือทั้ง 3 ระบบ อย่างมีการเทียบโอนผลการศึกษาได้.

เพิ่มเติม http://www.thairath.co.th/content/419307
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...