ผู้เขียน หัวข้อ: มหัศจรรย์ “จันทร์หอม” 1 ใน 4 ไม้มงคลชั้นสูงงานพระราชพิธี  (อ่าน 1874 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด



มหัศจรรย์ “จันทร์หอม” 1 ใน 4 ไม้มงคลชั้นสูงงานพระราชพิธี

  ในบรรดา 9 ไม้มงคลนาม ตามความเชื่อของไทยมาแต่โบราณ จะไม่มีชื่อ "จันทร์หอม" เนื่องเพราะ “จันทร์หอม” หรือไม้จันทร์นั้น ถือเป็นไม้มงคลชั้นสูง และเป็น 1 ในของหอม 4 อย่าง ได้แก่ กลิ่นของกฤษณา กระลำพัก จันทน์หอม และดอกไม้หอม และยังเป็นไม้มงคลประจำจังหวัดนครปฐม นิยมนำไปประพรมในพระราชพิธีต่างๆ มาตั้งแต่อดีต

         สอดคล้องกับข้อมูลของนักวิชาการผู้ซึ่งมีความเชี่ยวชาญในด้านประวัติศาสตร์ ศาสนา และวัฒนธรรม รวมทั้งเรื่องราวประวัติศาสตร์ทางราชสำนัก และพระราชพิธี  และล่าสุดในปี พ.ศ.2559 ได้รับเชิญให้มาร่วมบรรยายถ่าดทอดสดในการพระราชพิธีพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช “ศาสตราจารย์พิเศษ    ธงทอง จันทรางศุ” กล่าวว่าเป็นไม้ที่มีกลิ่นหอม และเป็นไม้ที่คนส่วนใหญ่ถือว่ามีค่า เพราะเชื่อว่ามีคุณค่าและหายาก จัดเป็นไม้มงคลชั้นสูง จึงนำมาใช้ในงานที่ต้องเชิดชูพระเกียรติยศ และในเวลาที่ถวายพระเพลิง โดยประโยชน์จากไม้จันทน์ที่ใช้ในพิธีการ แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การทำพระโกศไม้จันทน์ และใช้ทำเป็นเชื้อเพลิงหรือฟืน สำหรับถวายพระเพลิงหรือพระราชทานเพลิง

         อย่างไรก็ตาม คนไทยยุคใหม่เริ่มรู้จักไม้จันทร์หอมมากขึ้น เมื่อครั้งที่มีพระราชพิธีพระศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี (สมเด็จย่า) สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชมุมารี ฯ โปรดให้นำไม้จันทร์สร้างพระโกศพระศพสมเด็จย่าเมื่อปี 2539 และพระราชพิธีพระศพสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวง นราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อปี พ.ศ.2551 ที่นำไม้จันทร์หอมที่ตายโดยธรรมชาติจาก ณ อุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

         ล่าสุด เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2559 คณะเจ้าหน้าที่กองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง นำโดยนายจำลอง ยิ่งนึก ผู้อำนวยการกองพระราชพิธี สำนักพระราชวัง พร้อมด้วยนายฉัตรชัย ปิ่นเงิน หัวหน้างานโหรพราหมณ์ นายสมชาย บำรุงทรัพย์          รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ผู้แทนกรมป่าไม้ นายอำเภอกุยบุรี ผู้แทนกรมโยธาธิการและผังเมือง เดินทางไปสำรวจและคัดเลือกไม้จันทน์หอมที่จะใช้ในงาน   พระราชพิธีพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีไม้จันทน์หอมขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก

         โดยทางอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ได้จัดเตรียมไม้จันทน์หอม ที่จะใช้ในพระราชพิธีพระบรมศพไว้ 19 ต้น ให้คณะผู้แทนจากสำนักพระราชวังคัดเลือก หลังจากคณะเข้าไปสำรวจแล้วได้คัดเลือกไว้ 4 ต้น คือลำดับที่ 11 12 14 และ 15 และได้ฤกษ์งาม ยามดี เวลา 14.09-14.39 น. วันที่ 14 พฤศจิกายน 2559 กำหนดพิธีบวงสรวงตัดไม้จันทน์หอมนำมาสร้างสร้างพระโกศพระศพพระบาทสมเด็จพระ ปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช



อดีตนั้น การคัดเลือกไม้จันทน์หอม เพื่อสร้างพระโกศไม้จันทน์ ในโบราณ            ทางสำนักพระราชวัง จะใช้ไม้จันทน์หอม ที่ถือเป็นไม้มงคลชั้นสูง ในพระราชประเพณี จนถึงปัจจุบัน เหตุผลคือสมัยก่อนงานพระราชทานเพลิงศพ มักนำไม้จันทน์มาเป็นฟืนในการพระราชทานเพลิงศพ แต่สำหรับกษัตริย์และพระบรมวงศ์ชั้นสูง โดยจะมีการแกะสลักสลักลวดลายขึ้นเป็นพระโกศไม้จันทน์ โดยเน้นต้นจันทน์ยืนต้นตายเองโดยธรรมชาติ ที่มีผิวนอกผุเปื่อยแล้วเหลือแก่นไม้ ก็จะมีกลิ่นหอมมาก นอกจากจะนำไม้จันทร์หอมเป็นเชื้อเพลิงในงานพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพพระมหากษัตริย์ หรือพระบรมวงศ์ชั้นสูง ยังใช้กับงานเกี่ยวเนื่องกับพระศาสนาด้วย เหตุที่ใช้ไม้จันทน์ยืนต้นตายเป็นเพราะไม้จันทน์ที่มีอายุมากกว่า 100 ไป และมีความหอมมากกว่าไม้จันทร์ที่ยังเป็นอยู่

          นายกาญจนพันธ์ คำแหง หัวหน้าอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ที่เคยระบุก่อนหน้านี้ว่า สภาพป่าดิบแล้งของอุทยานแห่งชาติกุยบุรีนั้น ถือเป็นเป็นพื้นที่เหมาะแก่การเจริญเติบโตของ ต้นจันทน์หอม และต้นไม้จันทร์หอมจากพื้นที่แห่งนี้เคยใช้ในพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี, สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ และสมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี รวมถึงพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก โดยใช้ไม้จันทน์หอมที่ยืนต้นตายทั้งหมด และเส้นผ่าศูนย์กลาง 100 เซนติเมตร

         ด้าน ผศ.ดร.บุญวงศ์ ไทยอุตส่าห์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ประจำคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านวนวัฒนวิทยาบอกว่า ไม้จันทน์หอม เป็นพันธุ์ไม้ที่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นไม้พระราชทานเพื่อปลูกเป็นมงคลประจำจังหวัดนครปฐม มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Sandalwood ชื่อทาง  วิทยาศาสตร์ม คือ Mansonia gagei J. R. Drumm. ex Prain อยู่ในวงศ์ Sterculiaceae นอกจากนี้ไม้จันทน์หอมยังมีชื่อสามัญว่า Kalamet มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทย และอินเดีย โดยในประเทศไทยจะกระจายอยู่ในพื้นที่ 3 จังหวัด คือ จ.ประจวบคีรีขันธ์ในเขตอุทยานแห่งชาติกุยบุรี บริเวณน้ำตกห้วยยาง เขาสามร้อยยอด ตามด้วยนครศรีธรรมราช และสระบุรี ขึ้นในสภาพที่มีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง 400 เมตรขึ้นไป

          ลักษณะ เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ สูงเต็มที่ราว 30 เมตร     แต่ในประเทศไทยจะพบมากราว 20 เมตร มีเส้นรอบวงเกือบ 2 เมตร ลักษณะเด่นคือเรือนยอดเป็นรูปกรวยสูง 15-18 เมตร ชูยอดเหนือต้นไม้อื่น เปลือกต้นสีเทาแตกเป็นร่อง     ใบเป็นใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบเป็นรูปไข่ รูปรี หรือรูปขอบขนาน ความกว้างของใบประมาณ3-6 เซนติเมตร ยาว8-14 เซนติเมตรปลายใบแหลมโคนใบเว้ารูปหัวใจตื้น ๆ มีลักษณะเบี้ยวเล็กน้อย ขอบใบจักฟันเลื่อยตื้น ๆ มีเส้นโคนใบประมาณ 3-5 เส้น ช่อดอกเป็นแบบช่อแยกแขนง ออกตามปลายกิ่งและซอกใบ ดอกเป็นสีขาว มีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกประมาณอย่างละ 5 กลีบ โดยที่กลีบเลี้ยงยาวกว่ากลีบดอก ออกดอกในเดือนสิงหาคม-ตุลาคม ส่วนผลเป็นผลปีกเดียวรูปกระสวย ความยาวของผลประมาณ  1-1.5 เซนติเมตร มักออกผลเป็นคู่

        ชอบขึ้นตามป่าดงดิบและป่าเบญจพรรณทั่วไป เนื้อไม้ละเอียด สีขาวมัน ตกแต่งง่าย แก่นสีน้ำตาลเข้ม ไม้ที่ตายเองตามธรรมชาติหรือที่ชาวบ้านเรียกว่าตายพราย จะมีกลิ่นหอม แม้แต่ขี้เลื่อยก็ยังหอม เพราะน้ำมันของต้นไม้จะยังอยู่ข้างใน และจะมีกลิ่นหอมมาก ที่ผ่านมาคนจะนิยมใช้ทำหีบใส่เสื้อผ้า เครื่องกลึง เครื่องแกะสลัก ทำหวี ดอกไม้จันทน์ ธูป น้ำมันหอม ที่ได้จากการกลั่นชิ้นไม้ ใช้ปรุงเครื่องหอม และเครื่องสำอาง รวมถึงเป็นยาบำรุงหัวใจ เนื้อไม้ใช้เป็นยาแก้ไข้ แก้โลหิตเสีย แก้กระหายน้ำและอ่อนเพลีย

         “ที่นิยมเอาไม้จันทร์หอมตายโดยธรรมชาติ มาใช้ในพระราชพิธี เพราะจะมีกลิ่นหอมมาก ไม้จันทน์หอมก็เหมือนกับไม้ทั่วไป พอถึงอายุไข 100 ปีขึ้นไปก็จะตายโดยธรรมชาติ บางต้นเคยมีอายุถึว 200 ปี แต่ในประเทศไทยเท่าที่พบในบ้านเราอายุมาก     ที่ สุดร่าว 122 ปีมี 9 ต้น แต่โดยเฉพาะบ้านเราจะมีอายุราว 118 ปี มีเส้นผ่าศูนย์กลาง ราว 134 เซนติเมตร” ผศ.ดร.บุญวงศ์ กล่าว

         สำหรับหลักการสังเกตุของต้นไม้จันทร์ตายธรรมชาตินั้น เจ้าหน้าที่ ป่าอุทยาน   แห่งชาติกุยบุรี บอกว่า มีลักษณะยืนต้นตายไม่มีรอยฟัน หรือรอยตัดที่ทำให้ตาย ใบจะรวงหมด แต่กิ่งก้านยังอยู่ครบ สีของต้นจะออกเทาๆ สีอ่อนลงจากเดิม ในอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ที่ถือว่าเป็นแหล่งของไม้จันทร์หอมหนาแน่นที่ที่สุด หากมีไม้จันทน์หอมอายุมากกว่า 100 ปีอยู่เป็นจำนวนมากตายลง แต่ก็ยังมีต้นใหม่ที่งอกขึ้นมามากเช่นกัน

จาก : http://www.komchadluek.com/news/agricultural/254484

" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...