ผู้เขียน หัวข้อ: งานสวรรค์ ของ กาบีร์ (Kabir) กวีชาวอินเดีย สมัยต้นศตวรรษที่ ๑๕  (อ่าน 2241 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด

หาภาพ มาผิด แต่ไม่อยาก ลบออก ของ ท่านศาสดาซิกข์ คุรุนานัก

ศึกษาคติ ชีวิตปราชญ์ ตอน กาบีร์ 1 https://www.youtube.com/watch?v=JeorpT-YKCs

ศึกษาคติ ชีวิตปราชญ์ ตอน กาบีร์ 2 https://www.youtube.com/watch?v=FKHOVv6HF70

ศึกษาคติ ชีวิตปราชญ์ ตอน กาบีร์ 3 https://www.youtube.com/watch?v=sJdelRHLQUc

ศึกษาคติ ชีวิตปราชญ์ ตอน กาบีร์ 4 https://www.youtube.com/watch?v=Ttak2Dz0mzk

ศึกษาคติ ชีวิตปราชญ์ ตอน กาบีร์ 5 https://www.youtube.com/watch?v=socmFQoet0I



"งานสวรรค์" : กาบีร์

แสงจันทร์สาดต้องกายข้า
สุริยัน จันทรา ก็สถิตย์ด้วย
ทว่าดวงตาข้ามืดบอด
จึงมิอาจยล

เสียงกลองแห่งอมตภาพ
ก้องระรัวอยู่ในวิญญาณข้า
ทว่าหูข้ามืดหนวก
จึงมิอาจยิน

กู่ร้องเพื่อ"ตัวข้าและของข้า"
ร้องให้ตายก็สูญเปล่า
เมื่อ "ตัวข้าและของข้า" มลายแล้ว
งานสวรรค์ จึงเริ่มต้น

"งาน" ดังว่าไม่มีประสงค์อื่น
เพียงนำ "ความรู้" มามอบให้
และเมื่อ"ความรู้"ถูกรับแล้ว
"งานสวรรค์" ก็จบลง

ดอกไม้บาน เพื่อกลายผล
เมื่อผลเปล่ง ดอกโรยรา
กลิ่นฉุน อยู่ในกวาง
แต่เจ้าตัวหารู้ไม่
กวางน้อยเดินเล็มหญ้า.
.....................................................
คีตาของ กาบีร์
ครูส้ม แปล ๔ ก.พ. ๔๖
จากสำนวนภาษาอังกฤษของ รพินทรนาถ ฐากูร

จาก http://kroosom-sufi.blogspot.com/2005/03/blog-post_111097412014843290.html



"ตัวเจ้าคือสวนพฤกษา" : กาบีร์

ไม่ต้องเข้าไปในสวนดอกไม้หรอก เพื่อนเอ๋ย
ตัวเจ้านั้นเอง คือ สวนพฤกษา
เลือกที่นั่งเหมาะ ๆ บนกลีบบัวของเจ้าสิ
แล้วเพ่งพินิจความงามอันนิรันดร์

.....................

บทกวีซูฟี ของ กาบีร์
สมพร ครูกส์ (แม่ส้ม)  แปล ๒ ก.พ. ๔๖
แปลจาก ฉบับภาษาอังกฤษของ รพินทรนาถ ฐากูร

* กาบีร์ (Kabir) เป็นกวีชาวอินเดีย สมัยต้นศตวรรษที่ ๑๕
เกิดในตระกูลฮินดู แต่เติบโตในครอบครัวมุสลิม
เป็นนักคิดสำคัญในด้านจิตวิญญาณของอินเดียในยุคนั้น
แนวคิดของ Kabir มีความเกี่ยวข้องกับซูฟี และ ซิก

ภาพจาก http://www.kabiryogashram.org/kabirashram.html



"สถิตสถานใด" Kabir's poem

ค่ำนี้ขอแปลบทนี้ของ กาบีร์ (กวีซูฟีชาวอินเดีย ซึ่งเป็นผู้นำกระแสภักดีโยคะในศตวรรษที่ ๑๔-๑๕)
.......................................................................

โอ ผู้บำเพ็ญตน
ณ สถานใดฤา ที่เจ้าจะค้นพบข้า
จงตรองเถิด ข้าอยู่เคียงท่านแล้ว
ข้ามิได้สถิตอยู่เพียงในอาราม หรือในสุเหร่า
มิได้อยู่เพียงคาบะ* หรือบนยอดเขาไกรลาส*
อีกทั้งมิได้อยู่ในพิธีบูชาใด
มิได้อยู่ในโยคกรรม หรือการจำศีล
หากแม้นเจ้าเป็นผู้แสวงหาที่แท้จริงไซร้
เจ้าย่อมเคยประสบสัมผัสข้า
เจ้าย่อมพบข้าแล้วในชั่วขณะแห่งกาลเวลา
กาบีร์กล่าว "โอ ท่านสาธุ พระเจ้าดำรงอยู่ในลมหายใจของสรรพชีวิต"
..............................................................................
*คาบะ Kaaba คือแท่งหินศักดิ์สิทธิ์ ในเมกกะ
*ยอดเขาไกรลาส คือที่สถิตของพระอิศวร
*สาธุ Sadhu คือนักบวชฮินดูผู้อุทิศตนให้กับการแสวงหาทางหลุดพ้น (โมกษะ)
.............................................................................
ครูส้ม แปล ๓๑ พ.ค.๔๖
จาก Kabir's poems ฉบับของท่านรพินทรนาถ ฐากูร

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 13, 2016, 06:29:40 pm โดย มดเอ๊กซ »
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด




ปราศรัยโดยท่านอนุตราจารย์ชิงไห่
ศูนย์ไหลยี่ ฟอร์โมซา 13 มกราคม 1993 (ต้นฉบับเป็นภาษาจีน)


หนังสือเล่มนี้เป็นบทกวีของอินเดียตะวันออกที่ได้รับการแปลเป็นภาษาอังกฤษ คาบีร์เป็นนักเขียนที่มีชื่อในอินเดีย ท่านเป็นอาจารย์ผู้รู้แจ้งซึ่งมีชีวิตอยู่เมื่อ 500 ถึง 600 ปี มาแล้ว ท่านไม่ใช่คนร่ำรวย มีอาชีพเป็นเพียงคนซ่อมรองเท้า แต่ถึงแม้ว่าท่านจะมีเงินน้อยท่านก็เป็นคนที่ใจกว้าง บ่อยครั้งที่ท่านมีแขกมาเยี่ยมท่านก็จะให้ภรรยาไปยืมเงินหรือไปซื้ออาหารด้วยเงินเชื่อเอามาเลี้ยงพวกแขกเหล่านั้น

ฉันจะอ่านบทกวีของท่านให้เธอฟังสักสองสามบท เป็นบทกวีหรือวรรณกรรมที่เกี่ยวกับการบำเพ็ญทางจิตวิญญาณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องที่เกี่ยวกับธรรมวิถีกวนอิมจะเข้าใจได้ง่ายกว่า ไม่ว่าจะเป็นบทกวีโบราณหรือร่วมสมัยก็ตามล้วนเป็นเรื่องเดียวกัน บทกวีของคาบีร์มีชื่อเสียงมากในหมู่ประชาชน และท่านก็ยังเป็นที่รู้จักกันดีจนถึงทุกวันนี้ ชาวอินเดียตะวันออกทุกคนรู้จักนามของท่าน งานสร้างสรรค์ทางวรรณศิลป์ของท่านมีเนื้อหาที่เสียดสี และโคลงที่เกี่ยวกับจิตวิญญาณของท่านก็เขียนไว้อย่างไพเราะยิ่ง

ฉันจำบทกวีสั้นๆ ของท่านได้ ซึ่งเป็นบทที่เสียดสีได้ดีจริงๆ ในบทกวีท่านเขียนเย้ยหยันพวกปลอมซึ่งเป็นผู้บำเพ็ญทางจิตวิญญาณที่ไม่ได้เรื่อง และพวกนี้ได้เป็นลมเมื่อได้ยินถ้อยคำของท่านคาบีร์ บางทีท่านอาจะมี “จงอยปาก” ที่แหลมอย่างนี้ (เสียงหัวเราะ) ท่านได้ทิ้งคำสอน บทกวีและบทความไว้จำนวนมาก แต่ไม่มีรูปถ่ายสักรูปเดียว ดังนั้นจึงไม่มีใครรู้ว่าท่านหน้าตาอย่างไร แต่ฉันไม่สงสัยหรอกว่าท่านจะต้องมีลิ้นที่คมมาก! (อาจารย์หัวเราะ)

หนึ่งในคำวิจารณ์ของท่าน เป็นเรื่องที่เกี่ยวกับผู้บำเพ็ญที่เพียงแต่ย้อมสีจีวรเท่านั้น แต่ไม่ได้ย้อมหัวใจด้วย ผู้บำเพ็ญในอินเดียสวมจีวรสีแดงหรือสีส้มซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความเมตตาและความรักแห่งจักรวาล ท่านคาบีร์ได้ให้ข้อสังเกตว่าเขาเหล่านั้นเพียงแต่ย้อมเครื่องนุ่งห่ม แต่หัวใจไม่ได้ย้อมด้วยสีแห่งความรัก พวกเขาเดินห่างออกจากพระเจ้าและไปบูชาก้อนหินแทน ในอินเดียผู้คนชอบบูชาก้อนหินเพราะขี้เกียจไปแกะสลักมัน (อาจารย์และทุกคนหัวเราะ) พวกเขาไว้ผมยาวรุงรังและไว้เครายาวเหมือนแพะ “แบ๊ะ แบ๊ะ...” (อาจารย์เลียนเสียงแพะ) เขาทิ้งคนที่รักและครอบครัว แล้วก็เปลี่ยนแปลงตัวเองเป็นขันที (อาจารย์และทุกคนหัวเราะ)

นี่คือวิธีการที่ท่านคาบีร์เย้ยเยาะพวกเขา บทกวีต้นฉบับของท่านที่เป็นภาษาฮินดูและที่แปลเป็นภาษาอังกฤษอ่านแล้วขำมาก สำนวนแปลเป็นภาษาจีนของฉันอาจไม่ดีนัก แต่พวกเธอก็หัวเราะลั่นกันแล้ว ถ้าเราได้อ่านต้นฉบับ เราคงจะหัวเราะลงไปกลิ้งอยู่บนพื้นแล้วล่ะ (ผู้ฟังหัวเราะ) หมอคงจะต้องให้ยาลดกรดโดยเร็ว

นี่ก็คืออุปนิสัยของท่านคาบีร์ ท่านคาบีร์ชอบเขียนถ้อยคำที่เสียดสีแบบนี้และผู้บำเพ็ญในสมัยนั้นก็กลัวท่านมาก ถึงแม้ว่าท่านจะยากจนแต่ท่านก็ไม่ยอมรับบริจาค และผู้คนก็เคารพยกย่องท่านอย่างยิ่ง เมื่อพวกที่เรียกตัวเองว่าผู้บำเพ็ญทางจิตวิญญาณมาเยี่ยมเยียนท่าน แน่นอนท่านก็ดูแลต้อนรับเขาอย่างดี ท่านถึงขนาดขายภรรยาเพื่อจะเอามาเลี้ยงเพื่อน เพื่อนบ้านสะเทือนใจในการกระทำของท่านมากจึงให้อาหารแก่ท่านโดยไม่รับเงินหรือรับภรรยาของท่าน



ในบทกวีของท่านคาบีร์มีบทที่ไพเราะจำนวนมากเกี่ยวกับธรรมวิถีกวนอิม ฉันจะอ่านให้เธอฟังสักบทหนึ่ง เป็นบทกวีชื่อ “มองเข้าสู่ภายใน”

 
มองเข้าสู่ภายใน
 
ชะมดตัวหนึ่งเดินทางค้นหาเข้าไปในป่า
เพื่อจะหากลิ่นที่หอมหวนยวนใจ
แต่ตลอดเวลาที่ค้นหา มันไม่เคยรู้
กลิ่นชะมดกำลังพัดโชย โดยธรรมชาติของมัน
 
พระเจ้าก็เช่นกัน อยู่ภายในทุกคน
 แต่เราก็แสวงหาท่านจากภายนอก
เราแสวงหาและมีชีวิตอยู่โดยมองไม่เห็นท่าน
ความไร้ขอบเขต มิถูกจำกัดโดยขอบเขตใด
ท่านปรากฏอยู่ทั่วทุกหนแห่ง
สำหรับคนที่รู้จักพระเจ้า พระเจ้าก็อยู่แค่เอื้อม
ท่านจะยืนอยู่ใกล้พวกเขาเสมอ
 
สำหรับคนที่ยืนกรานว่าพระเจ้าจะต้องอยู่ไกล
ไม่ต้องสงสัยเลยว่าพระองค์ยืนไกลจากพวกเขา
ฉันเองก็เคยเชื่อว่าพระเ จ้าอยู่ไกล
แต่เดี๋ยวนี้ ฉันรู้ว่าพระเจ้าอยู่ข้างในทุกคน
   
สำหรับคนที่ไม่รู้ว่าตัวเองแท้จริงคือใคร
แม้พระเจ้าจะอยู่ใกล้ แต่ก็ไกลทีเดียวสำหรับเขา
พวกเขาละทิ้งท้องทุ่งที่ได้ปราบไถไว้
แล้วไปชุมนุมกันที่วัดเพื่อกราบไหว้สิ่งศักดิ์สิทธิ์
 
แต่พระเจ้าก็สถิตย์อยู่ภายในหัวใจของเธอ     
จงเข้าไปในวิหารของท่านและอย่าได้จากไป

 
ในบทกวีนี้คาบีร์ได้พูดถึงชะมดตัวหนึ่ง ที่เดินทางแสวงหาแหล่งที่มาของกลิ่นหอมจากภูเขาและป่า มันถูกดึงดูดด้วยกลิ่นหอม แต่ก็ไม่ตระหนักว่ากลิ่นนั้นมาจากตัวเอง เฉกเช่นเดียวกัน พระเจ้าอยู่ภายในตัวเราอยู่ภายในสรรพสัตว์ทุกชีวิต แต่เราก็มักจะมองออกไปภายนอก เพราะฉะนั้นเราจึงหาพระเจ้าไม่พบ ความรักอันไร้ขอบเขตนี้มิ อาจถูกกักขังไว้ภายในขอบเขตอันจำกัด มันมีอยู่ทั่วไปทุกหนแห่ง สำหรับคนที่รู้พระเจ้าก็จะอยู่ใกล้ เราสามารถที่จะรู้จักท่าน เห็นท่าน และรู้สึกได้ถึงการปรากฏของท่านเสมอ สำหรับคนที่ยืนกรานว่าพระเจ้าอยู่สูงและเอื้อมไม่ถึง พระเจ้าก็จะไม่เข้ามาใกล้ ดังนั้น แน่นอนพวกเขาก็จะอยู่ไกลจากพระเจ้า เพราะว่าเขาไม่เข้าใจมาตั้งแต่ต้นแล้ว จึงไม่มีประโยชน์ที่พระเจ้าจะเข้ามาใกล้พวกเขา

ท่านคาบีร์ยอมรับว่าท่านเคยคิดว่าพระเจ้าอยู่ไกลมาก แต่ต่อมาท่านก็ตระหนักว่าพระเจ้าอยู่ในหัวใจของทุกๆ คน สำหรับคนที่ไม่รู้ว่าตัวเองเป็นใครเขาก็จะไกลจากพระเจ้า แม้ว่าพระเจ้าจะอยู่ใกล้มากก็ตาม ผู้คนต่างออกจากหมู่บ้าน ละทิ้งงานของตนและไปวัดเพื่อจะบูชาพระเจ้าและกระทำพิธีกรรมต่างๆ พวกเขามิได้ตระหนักว่าพระเจ้าสถิตย์อยู่ภายในหัวใจของตน เราจึงควรเข้าไปในวิหารภายในตนเองและอยู่ที่นั่น ท่านคาบีร์หมายความว่าวิหารภายในเท่านั้น เป็นวิหารที่มีประโยชน์ที่สุด พวกเธอคงเข้าใจดีนะ ! (ผู้ฟังปรบมือ)

ฉันได้พบบทกวีหลายบทที่กล่าวถึงแสงและเสียง แต่คนที่ไม่ได้บำเพ็ญธรรมวิถีกวนอิมย่อมไม่เข้าใจ


 
นี่คือบทกวีอีกบทหนึ่ง ชื่อ “วัจนะ”(The word) วัจนะ หมายถึง “เสียง” ดังที่กล่าวไว้ในคัมภีร์ไบเบิลว่า: “เมื่อเริ่มต้นก็มีวัจนะ, และวัจนะอยู่ในพระเจ้า”
 

แสงและเสียง (Light and sound)
 
ภายในเธอนั้น มีดนตรีบรรเลงอยู่มิหยุดหย่อน
หาได้สะเทือนสะท้อนจากเส้นสายสังคีตใด
คาบีร์จะบอกให้ ว่าดนตรีนั้นไซร้คือพระวัจนะ
ที่กระจายกระจะ กระจ่างโสตแห่งทุกผู้คน
เสียงดนตรีจากเบื้องบน มาปลดปล่อยผู้แสวงหา
แล้วอุ้งมือแห่งมายา ก็มิอาจมาฉุดคร่าอีกต่อไป
 
พระวัจนะนั้นยิ่งใหญ่ มิใช่ถ้อยธรรมดาสามัญ
โดยพลังแห่งวัจนะนั้น พันธนาการทุกสิ่งสรรพ์ก็สลายไป
พระวัจนะปลอบประโลมใจ ละลายปวงปรารถนา
ดับเปลวประกายกล้า แห่งไฟกิเลสในโลกนี้
 
อันถ้อยธรรมดาทุกวาที มีแต่ให้ความทุกข์
มิอาจสร้างสันติสุข หรือสัจธรรมแก่ใคร
แต่คุณค่าพระวัจนะไซร้ สมบัติใดมิเทียมทัน
เหล่าสาวกเท่านั้นที่ล่วงรู้ความจริง
 
ทับทิมและเพชรพลอยทุกสิ่ง อาจแลเห็นได้ง่ายดาย
แต่มิอาจซื้อหรือขาย พระนามแห่งพระเจ้า
ในโลกอันโศกเศร้า เราเฝ้าแต่หลั่งน้ำตา
ในโลกแห่งความกรุณา เราเฝ้าแต่ถอนใจ
 
แต่ผู้จักพระวัจนะไซร้ คือผู้หนึ่งเท่านั้น
ที่จะครวญคร่ำรำพัน เป็นเพื่อนใจ
พระวัจนะจึงยิ่งใหญ่ ทรงมหิทธา
อาจบันดาลให้กษัตรา ออกบรรพชาสละราชบัลลังก์
 
ผู้ใดหยุดคิดและจิตหวัง ใคร่จะรู้นัยยะ
ความหมายแห่งพระวัจนะ เขาคือผู้โชคดีมหาศาล
                     
ความมืดอนธกาล ดำเนินไปโดยไร้พระวัจนะ
เธอจะเดินเปะปะไปที่ใด หากไร้เสียงมานำทาง
กว่าจะได้พบประตูกว้าง แห่งพระวัจนะนั้น
เขาก็เดินด้นดั้น ชั่วนิรันดร์ไร้จุดหมายใดใด
 
ในโลกนี้มีแต่ความสงสัย เข้าครอบงำดูคลุมเครือ
ผู้ชนะเป็นนายเหนือ นั้นหายากยิ่งนัก
 วิถีธรรมที่นำชัก ออกจากความงงงัน
เรียนรู้พระวัจนะนั้น คือวิถีแท้แต่ทางเดียว
 
ผู้ชนะนั้น ได้สร้างปราสาทพิลาสพิไล
ออกแบบพิเศษไว้ เพื่อจิตวิญญาณเจริญงาม
เพียงคนรักชำเลืองแลตาม ก็สูงส่ง
คือลำแสงแรงตรง ส่งมาจากพระเบื้องบน
 
ราตรีที่มืดมน จะสิ้นสลายหายไป
เมื่ออาทิตย์อุทัย ไขแสงเพิ่มมาเริ่มวัน
เช่นเดียวกับแสงนั้น เมื่อส่องฉาย ณ ดวงใจ
ความงุนงงสงสัย ก็หายไปทุกประการ

 
บทกวีนี้ท่านคาบีร์ได้กล่าวสรรเสริญเสียงภายใน ท่านกล่าวว่า “ดนตรี” บรรเลงอยู่ตลอดภายในเรา แต่ไม่มีเครื่องดนตรีที่บรรเลง พวกเราทุกคนก็รู้จักดี !(ทุกคนหัวเราะอย่างรู้ดี) ท่านคาบีร์ยังกล่าวต่อไปว่า เสียงดนตรีนี้สร้างจาก “พระวัจนะ” เสียง -- แรงสั่นสะเทือนนี้ละเอียดเบามาก และมีไว้ให้ทุกคนได้ยิน เมื่อใดผุ้บำเพ็ญทางจิตวิญญาณได้ยิน ก็จะอยู่เหนืออุ้งมือของเจ้าแห่งมายา แล้วก็จะหลุดพ้นและเป็นอิสระ

คนสมัยก่อนมีการพูดถึงอย่างเชื่อมั่นในธรรมวิถีกวนอิม “พระวัจนะ” ที่ท่านคาบีร์กล่าวถึง ก็คล้ายคลึงกับ “นาม” ในบันทึกของ เหลาชี เกี่ยวกับ “นาม ซึ่งมิอาจเอ่ยนาม” ซึ่งหมายถึง เสียง เช่นเดียวกับที่กล่าวถึงในคัมภีร์ไบเบิล ฉะนั้น ท่านคาบีร์ จึงระบุว่าสิ่งนี้มิใช่ถ้อยคำธรรมดาหรือเสียงทั่วไป ด้วยพลังแห่งเสียงนี้ โซ่ตรวนที่พันธนาการเราไว้กับวัฏจักรของการเกิดและการตายจะถูกทำลายลง ความปรารถนาทางโลก เปลวไฟแห่งกิเลสและอารมณ์จะดับได้หมดสิ้น เมื่อได้พบ พระวัจนะ หรือ เสียง นี้ สิ่งเหล่านั้นจะต้องตกลงมาตาย! (คนฟังหัวเราะ)

เรื่องนี้ใม่รวมถึงเสียงทางโลก หรือภาษามนุษย์ ที่มีแต่จะนำความทุกข์มาสู่เรา ฉะนั้น คาบีร์ต้องการให้เราแยกแยะเสียงนี้ออกจากเสียงทั่วไป ไม่ว่าเสียงดนตรีหรือภาษา ท่านผู้เขียนพบว่าเป็นเรื่องยากที่จะอธิบายเรื่องนี้ ซึ่งทำให้ท่านบ่นมากเหลือเกิน (อาจารย์หัวเราะ) ท่านเป็นห่วงว่าเราอาจจะไม่เข้าใจท่าน เพราะฉะนั้นท่านจึงอธิบายให้เราฟังเสียยืดยาว (อาจารย์หัวเราะ) เราเข้าใจใช่ไหม (ผู้ฟังตอบ “ใช่”) พูดกัน 1-2 ประโยคก็พอแล้ว ไม่จำเป็นต้องพูดมากขนาดนั้น (ผู้ฟังปรบมือ)

เป็นเรื่องยากที่จะพูดเรื่องนี้อย่างละเอียดลึกซึ้ง ดังนั้น คาบีร์จึงพูดแล้วพูดอีก เพื่อจะให้ชัดเจนว่าสิ่งนี้มิใช่เสียงหรือถ้อยคำธรรมดา การฟังเสียง หรือที่เรียกว่าถ้อยคำ หรือนาม ในทางโลกนั้นเราจะมิอาจหาความสงบภายใน หรือความเยือกเย็นทางอารมณ์ได้เลย อย่างที่ท่านกล่าวว่า ไม่มีทรัพย์สมบัติใดจะเทียบได้กับเสียงที่ประมาณค่ามิได้นี้ มีเพียงผู้บำเพ็ญทางจิตวิญญาณที่แท้จริงเท่านั้นที่จะเข้าใจความจริงข้อนี้ คำอื่นๆ อาจจะสงสัยว่า “ก็มันเป็นแค่ถ้อยคำหรือเสียงเท่านั้น ทำไมถึงจะมีค่ายิ่งกว่าความร่ำรวย?” ดังนั้น ท่านคาบีร์จึงกล่าว่า : เฉพาะผู้บำเพ็ญทางจิตวิญญาณอย่างแท้จริงเท่านั้นที่จะเข้าใจความหมายอย่างแท้จริง ทับทิม ไพลิน หรืออัญมณีใดๆ ก็อาจจะหาได้ แต่พระนามแห่งพระเจ้านั้น ยากที่จะหาหรือซื้อจากที่ใด

สำหรับโลกอันทุกข์ยากนี้ เธอจะเห็นฉันหลั่งน้ำตาด้วยความสงสารในโลกอันเสื่อมทรามนี้ เธอจะเห็นฉันอารมณ์เสีย อย่างไรก็ตาม เฉพาะผู้ที่รู้จักพระวัจนะหรือเสียงนี้เท่านั้น ที่จะร้องไห้กับฉัน คนอื่นทั้งโลกเขามีความสุขมาก (อาจารย์หัวเราะ) มีแต่เราที่ร้องไห้ พวกเขาไม่รู้หรอกว่าทำไมเราร้องไห้! เฉพาะผู้บำเพ็ญธรรมวิถีกวนอิมจึงรู้ และร้องไห้ด้วยสาเหตุเดียวกัน

วัจนะหรือเสียงนี้มีพลังมาก จนกระทั่งทำให้พระราชาสามารถสละราชสมบัติและออกไปพักผ่อนได้ (ผู้ฟังหัวเราะ) แถวนี้มีพระราชาอยู่หรือเปล่า? (ผู้ฟังหัวเราะ) เราก็คือพระราชาในพระราชวังของเราเอง (ผู้ฟังหัวเราะ) ในบ้านของเราเอง ถ้าไม่มีอะไรนอกจากหมูป่าอยู่บนภูเขาละก็ ฉันก็จะได้เป็น “เจ้าแห่งภูเขา” (ผู้ฟังหัวเราะ)

ใครก็ตามที่สามารถพบความสงบในจิตใจ และพบวัจนะหรือเสียงนี้ นับเป็นคนที่โชคดีและได้รับพระพรมากที่สุดในโลก ถ้าเธอไม่เคยได้ยินวัจนะหรือเสียงนี้ ไม่ว่าเธอจะไปที่ไหน โลกก็จะมืดมิดรอบตัวเธอ คนที่ไม่ได้พบประตูไปสู่เสียง -- ซึ่งก็คือธรรมวิถีกวนอิม -- จะอยู่ในสภาพวิญญาณเร่รอนโดยไม่มีบ้านจะผ่อนพัก

ความสงสัยและความไม่มั่นคงได้พัฒนาขึ้นจนยึดครองได้ทั่วโลก จิตวิญญาณบางดวงอาจยกขึ้นสูงกว่าสิ่งแวดล้อมดังกล่าวของโลก ซึ่งหมายถึงว่าบางคนสามารถพาตัวเองให้เป็นอิสระได้ ผู้บำเพ็ญทางจิตวิญญาณเพียงหยิบมือเดียวเท่านั้นที่มีชีวิตอยู่อย่างอิสระเสรี และสุขสบายในโลกนี้ การบำเพ็ญธรรมวิถีกวนอิมเป็นวิธีเดียวที่สามารถผ่านพ้นบรรยากาศของโลกที่ยุ่งเหยิงและอึกทึกได้ สิ่งที่คาบีร์หมายถึงนั้นก็คือว่า การยุติปัญหามีวิธีเดียวคือต้องหาหนทางที่ผู้บำเพ็ญสดับฟังเสียง และนี่คือหนทางเดียวที่จะหลุดพ้น บทกวีของท่านบทนี้เขียนไว้ว่า “หนทางเดียวเท่านั้น”

บางคนยังคงไม่เชื่อว่าธรรมวิถีกวนอิมเป็นหนทางเดียว (อาจารย์และทุกคนหัวเราะ) พวกเขาจะต้องจุดติมาเกิดเป็นลูกน้องของมายา (คนฟังหัวเราะ) พวกเขากำลังพูดถ้อยคำของมายา (อาจารย์หัวเราะ) คัมภีร์ศาสนาต่างๆ ล้วนกล่าวถึงเรื่องเดียวกัน ศาสนาพุทธ ซิกข์ ฮินดู และคาธอลิก ล้วนพูดถึงวัจนะนี้ นามนี้ เสียงนี้ เมื่อใดที่เรารู้แจ้งโดยการบำเพ็ญธรรมวิถีกวนอิม ทุกอย่างก็จะชัดเจนสำหรับเรา

เราจะสามารถเข้าใจนิทานของเซ็นได้ง่ายๆ ด้วย มีเรื่องพระรูปหนึ่งขณะที่กำลังไถนา ทันใดนั้นก็ได้ยินเสียงระฆังดังกังวานขึ้น พระรูปนั้นดีใจมากจนหยุดไถนา (อาจารย์และทุกคนหัวเราะ)

ยังมีคำกล่าวอีกว่า “วิญญาณในนรกสามารถเป็นอิสระได้ ถ้าได้ยินเสียงระฆังดังกังวาน” เมื่อผู้ตายได้ยินเสียงกังวาน หรือเสียงกร๋งกริ๋งของระฆังก็จะเป็นอิสระแน่นอน นี่คือเหตุผลที่พระตีระฆังอยู่ตลอดเวลา (ผู้ฟังหัวเราะ) บนศีรษะของผู้ตาย ก็เพื่อจะปลดปล่อยเขา (อาจารย์หัวเราะ) แต่โชคร้าย เขาใช้วิธีการผูกเชือกแทน เขาผูกเชือกแล้วก็ลากไป (อาจารย์และทุกคนหัวเราะ) หนักเกินกว่าจะเคลื่อนไปได้ พวกเขาต้องผูกลากตัวเองจากที่หนึ่งไปที่หนึ่ง จากโลกมนุษย์ไปนรก และจากนรกไปสู่วัฏจักรแห่งการเวียนว่ายตายเกิด นี่คือเงื่อนที่ผูกลาก ไม่ใช่การหลุดพ้น!

คาบีร์ยังได้กล่าวไว้ในบทกวีอีกว่า อาจารย์ผู้รู้แจ้งได้สร้างสวรรค์ไว้เป็นคฤหาสน์โดยเฉพาะสำหรับผุ้บำเพ็ญทางจิตวิญญาณ หากเราอยากดูลักษณะของบ้านทางจิตวิญญาณนี้ พระเจ้าได้ให้แสงแก่เราด้วย คาบีร์บอกว่าเหมือนกับแสงจากไฟฉาย ฉะนั้น เราจึงมองขึ้นไปข้างบนได้ (อาจารย์หัวเราะ) เนื่องจากมันไกลมากเราจึงต้องการไฟฉายที่ใหญ่ขึ้นเพื่อส่องจากที่นี่ไปที่นั่น เหมือนกับพระอาทิตย์ที่ขึ้นมาขับไล่ความมืดของกลางคืน

ในทำนองเดียวกันเมือแสงเข้ามาสู่วิญญาณของเรา ความสงสัยและความเชื่อที่ผิดๆ ก็จะอันตรธานไปหมด! นี่คือความหมายที่คาบีร์กล่าวถึง (ผู้ฟังปรบมือ) ท่านควรค่าแก่การปรบมือให้ ถ้อยคำของท่านไพเราะจริงๆ

จาก http://www.godsdirectcontact-thai.org/book/bk87.htm
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...