ผู้เขียน หัวข้อ: โมหะ ความลุ่มหลงเป็นเหตุ :ท่านพ่อลี ธัมมธโร  (อ่าน 4992 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


โมหะ ความลุ่มหลงเป็นเหตุ
ท่านพ่อลี ธัมมธโร

คนที่ไม่มี "สมาธิ" จิตใจมีนิวรณ์ ความกังวล
ห่วงลูก ห่วงหลาน ห่วงคนโน้นคนนี้
เวลาที่ตาย วิญญาณก็ไปเกาะอยู่ที่ลูกที่หลาน
บางคนกลับไปเกิดเป็นลูกของลูกตัวเองก็มี

บางคนที่พ่อแม่ทิ้งมรดกที่สวนไร่นาไว้ให้
ก็เป็นห่วงทรัพย์สมบัติของตน พอตายไป
ก็ไปเกิดเป็นสัตว์ในสวนในนาก็มี บางคนตายไป
ไปเกิดเป็นผีสางนางไม้ เฝ้าทุ่งนาป่าเขาก็มี

พวกนี้เป็นพวก "สัมภเวสี"
คือ วิญญาณลอยไปเที่ยวหาที่เกาะ
ถ้าจิตของเราตั้งอยู่ใน "บุญกุศล"
เราก็จะมี "สุคติ" เป็นที่ไป
ถ้าจิตของเราตั้งอยู่ใน "บาป"
อกุศลวิญญาณของเราก็ไปสู่ "ทุคติ"
ไม่ได้ไปเกิดในโลกที่ดี

( ท่านพ่อลี ธัมมธโร )

งามจิต ( เพจ ธรรมะ บัญชร )
- https://www.facebook.com/Dhammawindow


การบำเพ็ญทาน เท่ากับเราหาทรัพย์ไว้ให้ตัวของเรา
การบำเพ็ญศีล
เท่ากับเราสร้างร่างกายของเราให้เป็นคนสมบูรณ์
ไม่พิการ ง่อยเปลี้ย บอดใบ้
การบำเพ็ญภาวนา
เท่ากับสร้างจิตใจของเราให้เป็นคนสมบูรณ์

"ทาน" ไม่สามารถคุ้มศีลได้ แต่ศีลคุ้มทานได้
ส่วน "ภาวนา" คุ้มได้ตลอดทั้งทานและศีล
สามารถทำให้ทานบริสุทธิ์และศีลของเราก็บริสุทธิ์
เข้าถึงสุคติสวรรค์โลกุตตระ และนิพพานเป็นที่สุด

สมมติคนหนึ่งเกิดมาในตระกูลสูง
มีทรัพย์สมบัติมาก และร่างกายก็บริสุทธิ์ทุกส่วน
แต่จิตใจไม่ปรกติ วิกลวิการ เป็นผีบ้า
อย่างนี้จะมีประโยชน์อย่างไร

เหตุนั้นพระพุทธเจ้าจึงทรงสั่งสอนให้อบรมจิตให้เป็นกุศล
พระองค์ทรงสอนให้มนุษย์เป็นเทวดา
เทวดาเป็นพรหม พรหมเป็นอริยะ จนถึงอรหันตขีณาสพ เป็นที่สุด

F/B ธรรมะคำสอนครูบาอาจารย์/Dhamma Articles
..
..

"ความยึดถือ" เป็นเหตุให้เกิดทุกข์โทษภัย
ผู้ไม่มีปัญญาย่อมเห็นสังขารเป็นตัวเป็นตนและยึดถือไว้ไม่ปล่อยวาง
"สติ" คือ ตัว "มรรค"
จะอยู่ในอารมณ์ดีหรือชั่วก็ตาม ขอให้มีสติอยู่เป็นใช้ได้
จิตที่พ้นโลก คืออยู่เหนือเหตุเหนือผล หมายถึงอารมณ์ ๕ ด้วย
ร่างกาย เป็นผู้ไม่รับทุกข์รับสุขอะไรกับเราด้วยเลย
ตัวจิตผู้เดียวเป็นผู้รับ เหมือนคนที่เอามีดไปฟันเขาตาย
เขาจะไม่จับมีดลงโทษ แต่เขาจะต้องจับคนที่ฆ่าไป
"กายสุข" ระงับเวทนา "ใจสุข" ระงับนิวรณ์

คัดลอกจากหนังสือ แนวทางวิปัสสนา-กัมมัฎฐาน ๑
พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร)
วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
๒๔๙๗-๒๕๐๔
F/B ธรรมะคำสอนครูบาอาจารย์/Dhamma Articles
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 01, 2015, 02:06:35 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ความไม่ประมาท :ท่านพ่อลี ธัมมธโร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤษภาคม 07, 2013, 12:38:58 am »



ความไม่ประมาท ท่านพ่อลี ธมฺมธโร

ความไม่ประมาท คือความไม่ตายใจ ไม่นอนใจ ไม่ไว้ใจ ใน..
.. สังขารทั้งหลายเหล่านั้น
ส่วนใดที่เป็นความดีควรได้ควรถึง
ให้มีความพยายามสร้างสรรค์ขึ้นให้มีในตน
บุคคลผู้นั้นชื่อว่าเป็นผู้ไม่ประมาท...

ท่านพ่อลี ธมฺมธโร




ความสงบ
ตราบใดที่เรามาทำความสงบให้เรื่องต่างๆ บรรเทาเบาบางไปจากใจได้
ก็ย่อมทำอารมณของเราให้เป็นไปใน "กัมมัฏฐาน" คือฝั่ง
แต่ "พุทธานุสสติ" เป็นเบื้องต้น
จนถึง "สังฆานุสสติ" เป็นปริโยสานไว้ในจิตใจ....

ท่านพ่อลี ธมฺมธโร




ความตั้งใจ
"ความตั้งใจ" เมื่อเรามีเจตนาตั้งใจจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง
เราจะต้องทำให้เป็นไปตามความตั้งใจนั้น
ให้รักษาเจตนาของตนไว้ให้มั่นคง อย่าทำลาย
การฟังธรรมนั้น ถึงแม้จะไม่เข้าใจ
แต่ถ้าตั้งใจฟังแล้วก็ย่อมเกิดประโยชน์"....

ท่านพ่อลี ธมฺมธโร




- http://www.watasokaram.org/เถระสะกิดธรรม.html
*****************************************




มนุษย์นั้นโง่ ..
ชอบกลืนกินแต่อารมณ์เลวๆ

ใช่แต่เท่านั้น ..
เรื่องที่ไม่มีความจริงก็ยังกลืนเข้าไปอีก
ของดีก็ไม่อยากจะสนใจ

ส่วนของไม่ดี ..
อุตส่าห์ไปกระแด่วๆ เอาใจไปจดไปจำ
เนื้อก็ไม่ได้กิน
หนังก็ไม่ได้รองนั่ง
เอากระดูกมาแขวนคอ

( ท่านพ่อลี ธมฺมธโร )
>>> F/B งามจิต ( เพจ ธรรมะ บัญชร )


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: โมหะ ความลุ่มหลงเป็นเหตุ :ท่านพ่อลี ธัมมธโร
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: มิถุนายน 15, 2013, 08:36:18 pm »




โรคหัวใจที่ตัวใหญ่ๆ มีอยู่ ๓ ตัว

คือ โลภ โกรธ หลง
โรคนี้เปรียบเหมือนกับโรคมะเร็ง
มันกินติดต่อลุกลามถึงคนอื่นด้วย
เข้าใกล้ลูกติดลูก เข้าใกล้หลานติดหลาน
เข้าใกล้เพื่อนติดเพื่อน
เข้าใกล้ใครก็ติดคนนั้น
ทำอันตรายทั้งแก่ตนและผู้อื่น




จะเลือกกินอะไรกันดี

"..บำเพ็ญทาน เปรียบเหมือน กินข้าว
บำเพ็ญศิล เปรียบเหมือน กินของหวาน
บำเพ็ญภาวนา เปรียบเหมือน กินน้ำ
การเจริญภาวนา เรียกว่า เก็บบุญมากิน
ถ้าเราไม่เก็บมากิน มันก็จะเน่าเสียหมด
ถ้าไม่กลืนเข้าไปในหัวอกหัวใจมันก็ไม่อิ่ม.."

ท่านพ่อลี ธมฺมธโร
ธรรมโอสถ


https://www.facebook.com/ThrrmaKhuxYaKhnanXek




ทำให้มันรู้ว่า อ้อ! อ้อ! .. ขึ้นมาในตัว
อย่ามัวไปรู้แต่ โอ้! โอ้! .. ตามเขาพูด




คนพูดดี ก็เป็นน้ำเย็นรดหัวใจให้ชื่นบาน
เป็นยาบำรุงหัวใจซึ่งกันและกัน

ถ้าพูดไม่ดี ก็เป็นน้ำร้อนน้ำกรด
มาสังหาร ซึ่งกันและกัน


เรากลัว “แก่” จึงบวชไม่สึก บวชจนมันไม่รู้จัก “แก่” (เจ็บตาย) หมายความว่า ทำความเพียรไปจนให้มันเห็นร่างกายนี้ไม่เป็นของสำคัญอะไรเลย มันจะแก่ก็แก่ไปไม่ทุกข์ร้อน ถ้าเราไม่มีสมบัติอะไรเลย ไปนึกอยากกินเป็ดกินไก่ มันก็ต้องกินได้แต่เกลือเท่านั้น จะเอาสมบัติอะไรไปซื้อ ถ้าเรามีสมบัติ ถึงบ้านมันจะพังก็ไม่ต้องกลัว บ้านพังก็ปลูกตึกอยู่ใหม่ เด็กเล็กๆ แดงๆ พอออกจากท้องแม่เขาเอาไปทิ้งไว้มันต้องตายอย่างแน่นอน แต่ถ้าโตแล้วเราปล่อยมันไป ขับไล่มันไปอย่างไรๆ มันก็ไม่ตาย เพราะมันมีความรู้ รู้จักรักษาตัวได้ บางที่มันอาจะไม่กลับมาหาเราเสียอีก

การที่เราทำสมาธิก็เหมือนเราสะสมเมล็ดพันธุ์ผักไว้ให้มันแก่จัด พอถูกน้ำเข้ามันก็จะแตกกิ่งก้านสาขาเป็นต้นเป็นดอกเป็นใบเลย เหมือนเรามีสมาธิแล้วเกิดปัญญา รอบรู้ทุกสิ่งทุกอย่างทั้งด้านโลกด้านธรรม รู้ว่าอะไรเป็นธาตุ ขันธ์ อายตนะ ฯลฯ ทุกๆ ส่วนของร่างกาย จนเราไม่ต้องกลัวแก่ กลัวเจ็บ กลัวตาย

เหมือนเราโตขึ้นความเป็นเด็กมันก็หายไป ดังนั้น เราจึงจะไม่เห็นว่าร่างกายนี้เป็นของสำคัญอะไรเลย พระพุทธประสงค์ก็ให้มุ่งปฏิบัติทางจิตใจเป็นข้อใหญ่ ใครไม่ปฏิบัติตาม เรียกว่าไม่รักไม่เคารพในพ่อของเราเลย พระพุทธเจ้านั้นทรงมีพระคุณยิ่งกว่าพ่อแม่ ถ้าเราไม่ทำตามคำสอนของพระองค์ก็เท่ากับเราหลอกท่าน



มนุษย์นั้นโง่ ..
ชอบกลืนกินแต่อารมณ์เลวๆ

ใช่แต่เท่านั้น ..
เรื่องที่ไม่มีความจริงก็ยังกลืนเข้าไปอีก
ของดีก็ไม่อยากจะสนใจ

ส่วนของไม่ดี ..
อุตส่าห์ไปกระแด่วๆ เอาใจไปจดไปจำ
เนื้อก็ไม่ได้กิน
หนังก็ไม่ได้รองนั่ง
เอากระดูกมาแขวนคอ




เมื่อมนุษย์เป็นคนไม่ดี
แม้วัตถุเหล่านั้นจะเป็นของดีก็ตาม
มันจะกลับกลายเป็นโทษแก่ปวงชนได้เหมือนกัน

ถ้ามนุษย์มีธรรมประจำใจ
สิ่งทั้งหลายที่ให้โทษก็จะกลายเป็นประโยชน์




" เสียงติชม ใครยึดถือก็คือคนโง่
เหมือนกินลมปาก กินน้ำลายของคนอื่นเขา "




ปาก จมูก เป็นประตู
หู ตา เป็นหน้าต่าง

เราต้องคอยปิดเปิดให้ถูกกาลเวลา
จึงจะได้รับประโยชน์และปลอดภัย



ท่านพ่อลี ธมฺมธโร
วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ


https://www.facebook.com/Dhammawindow?fref=ts

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 15, 2013, 09:54:53 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




“กุศลและอกุศล
ย่อมให้ผลแก่ผู้ทำทั้ง ๓ กาล
“อกุศล” คิดจะทำก็เป็นทุกข์
กำลังทำก็เป็นทุกข์
ทำแล้วก็เป็นทุกข์
“กุศล” คิดจะทำก็เป็นสุข
กำลังทำก็เป็นสุข
ทำแล้วก็เป็นสุข”
หลวงพ่อลี ธมฺมธโร
วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ




“เมื่อเราต้องการความบริสุทธิ์
เราต้องทำความบริสุทธิ์ให้พร้อมในกาย วาจา ใจ
ทาน ศีล ภาวนา ก็ทำให้บริสุทธิ์”
หลวงพ่อลี ธมฺมธโร
วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ




“ความตายและความเกิด
เป็นกำเนิดแห่งความทุกข์
ความสุขอันประเสริฐ
ไม่ต้องเกิด แก่ เจ็บ ตาย”
หลวงพ่อลี ธมฺมธโร
วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ




“วัตถุภายนอก มิใช่เป็นสิ่งที่เราจะนำติดตัวไปด้วยได้
ถ้าเราไม่ทิ้งมันไป มันก็ทิ้งเราไปวันหนึ่ง
ฉะนั้นจึงควรรีบสะสมแต่บุญภายในให้มาก
เพราะเราจะได้นำติดตัวไปด้วย”
หลวงพ่อลี ธมฺมธโร
วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ




“เขาว่าทำบุญทำทานนั้น ทำไปทำไม
คนทำบุญก็ต้องตาย ไม่ทำก็ตาย
ตายด้วยกันจริงอยู่ดอก แต่ว่าตายผิดกัน
คนทำบาปนั้นตายไปกับผีกับเปรต
ตายตามป่าตามดงตามถนนหนทาง
แต่คนทำบุญนั้น ตายไปในกองบุญกองกุศล
ตายสบาย แล้วไปเกิดก็สบายอีก
ไม่ต้องไปเกิดในที่ทุกข์ที่ยากเหมือนคนทำบาป”
หลวงพ่อลี ธมฺมธโร
วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ




“ถ้าจิตของเราตั้งอยู่ในบุญกุศล
เราก็จะมีสุคติเป็นที่ไป
ถ้าจิตของเราตั้งอยู่ในบาป อกุศล
วิญญาณของเราก็จะต้องไปสู่ทุคติ”
หลวงพ่อลี ธมฺมธโร
วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ


>>> F/B คติธรรมนำชีวิต


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




“คนในโลกมี ๔ จำพวก คือ
๑. คนพาล ชอบทำชั่ว โทษของตัวมองไม่เห็น
๒. กัลยาณชน คนดีทำตนให้มีค่า ทำเวลาไม่ให้สูญ
๓. บัณฑิต ผู้ฉลาด เลือกการงานสิ่งคู่ควร คบคนรู้จักเลือก ทำความดีให้เกิดได้
๔. มหาบัณฑิต ไม่รัก ไม่เกลียด ไม่เบียดเบียนใคร ประโยชน์ใหญ่จักเกิดมี”
หลวงพ่อลี ธมฺมธโร
วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ




“โลกมนุษย์มีทั้งเกิด แก่ เจ็บ ตาย
โลกของเทวดานั้นมีแต่เกิดกับตาย ไม่มีแก่ ไม่มีเจ็บ
โลกนิพพานไม่มีทั้งเกิด ไม่มีทั้งตาย”
หลวงพ่อลี ธมฺมธโร
วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ
************

“โลกธรรม ๘ คือ
ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ซึ่งเป็นฝ่ายดี
กับเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ ซึ่งเป็นฝ่ายชั่ว
ทั้งหมดนี้บุคคลใดติดอยู่ก็เท่ากับผู้นั้นถูกเขาจองจำไว้”
หลวงพ่อลี ธมฺมธโร
วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ
**************

“โลกียทรัพย์ เป็นของที่เราจะนำติดตัวไปโลกหน้าไม่ได้
จึงต้องแปรโลกียทรัพย์ให้เป็น อริยทรัพย์ เสียก่อน
จึงจะนำติดตัวไปโลกหน้าได้”
หลวงพ่อลี ธมฺมธโร
วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ
*****************




“สมบัติของผู้ดีคือ
อริยสัจ หรือ อริยทรัพย์”
หลวงพ่อลี ธมฺมธโร
วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ
*************

“สมบัติที่เป็นของกาย เรียกว่า โลกียทรัพย์
สมบัติที่เป็นของใจเรียกว่า อริยทรัพย์
สมบัติของกายอาศัยใช้ได้เฉพาะแต่ในโลกนี้
แต่สมบัติของใจใช้ได้สำหรับโลกหน้า”
หลวงพ่อลี ธมฺมธโร
วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ
****************

“คนที่มีศีล มีทาน แต่ไม่มีภาวนา
ก็เท่ากับถือศาสนาเพียงครึ่งเดียว”
หลวงพ่อลี ธมฺมธโร
วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ
************




“ความดี ความชั่ว สุข ทุกข์
ไม่ได้ขึ้นอยู่กับเทวบุตร เทวดา หรือใครที่ไหน
มันขึ้นอยู่ที่การกระทำ
อันเกิดจากการกรรมดี
กรรมชั่วของตัวเรานี่เอง”
หลวงพ่อลี ธมฺมธโร
วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ
**************

“การดำเนินทางศาสนา เท่ากับเดิน ๒ ขา
คือ ปริยัติ ขาหนึ่ง ปฏิบัติขาหนึ่ง
ถ้าเราเดินแต่ขาเดียวก็ต้องล้มแน่”
หลวงพ่อลี ธมฺมธโร
วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ
***************
“พระพุทธรูป เป็นพุทธนิมิตภายนอก
สำหรับเป็นที่กราบไหว้สักการะ
ธรรมะภายนอกสำหรับให้คนได้สดับฟังศึกษาเล่าเรียน
สังฆะภายนอก สำหรับเป็นพี่เลี้ยงคอยตักเตือนว่ากล่าวสั่งสอน
ส่วนรัตนภายในนั้นคือ การทำพุทธะ ธรรมะ สังฆะ ให้มีขึ้นในจิตใจ”
หลวงพ่อลี ธมฺมธโร
วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ
***************

“สละกายบูชาพระพุทธ
สละวาจาบูชาพระธรรม
สละใจบูชาพระสงฆ์
เรียกว่า “ปฏิบัติบูชา”
หลวงพ่อลี ธมฺมธโร
วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ
***************

“ถ้าเชื่อพระพุทธเจ้าแล้ว ไม่ต้องไปซื้อล็อตเตอรี่
ถ้าเชื่อความดีแล้วไม่ต้องกลัวจน”
หลวงพ่อลี ธมฺมธโร
วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ
**************




“พระพุทธองค์ประสงค์ก็มุ่งให้ปฏิบัติทางจิตเป็นข้อใหญ่
ใครไม่ปฏิบัติตาม เรียกว่า ไม่รัก ไม่เคารพในพ่อของเราเลย”

“การดำเนินทางศาสนา เท่ากับเดิน ๒ ขา คือ
ปริยัติ ขาหนึ่ง ปฏิบัติขาหนึ่ง
ถ้าเราเดินแต่ขาเดียวก็ต้องล้มแน่”
หลวงพ่อลี ธมฺมธโร
วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ
*****************

“พระพุทธศาสนาไม่ใช่เรื่องของการอ้อนวอน
ร้องขอ หรือให้กันได้
ทุกคนจะต้องทำด้วยตนของตนเอง
จึงจะได้รับผล”

“สิ่งใดที่มิได้ประกอบไปด้วยเหตุและผลแล้ว
สิ่งนั้นก็มิใช่พุทธศาสนา”
หลวงพ่อลี ธมฺมธโร
วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ
****************

“สติคือเชือก จิตเหมือนลูกโค
ลมเป็นหลัก ต้องเอาสติผูกจิตไว้กับลม
จิตจึงจะไม่หนีไปได้ ถ้าจิตใจเราตั้งตรง
เป็นหลักอยู่กับที่ มีสติอยู่กับลมหายใจ
เข้าออกอยู่เสมอแล้ว นิวรณ์และกิเลสทั้งหลาย
ก็ย่อมจะเกิดขึ้นไม่ได้”
หลวงพ่อลี ธมฺมธโร
วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ



>>> F/B คติธรรมนำชีวิต

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 15, 2013, 12:41:22 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ lek

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1724
  • พลังกัลยาณมิตร 687
    • ดูรายละเอียด

.
"สมาธิ เสาสะพานกลางแม่น้ำ"

" .. ศีล อันเป็นเบื้องต้นแห่งมรรค ก็ไม่ค่อยจะยากเท่าไร
ปัญญา อันเป็นเบื้องปลายแห่งมรรค ก็ไม่ค่อยยากเท่าไรนัก

ส่วนสมาธิ อันเป็นท่ามกลางแห่งมรรคต้องพยายามหน่อย
เพราะเป็นการบังคับปรับปรุงกันในด้านจิตใจ

จริงอยู่ การทำสมาธินั้น เปรียบเหมือนปักเสาสะพานกลางแม่น้ำ 
ย่อมเป็นสิ่งลำบาก แต่เมื่อปักลงได้แล้ว ย่อมเป็นประโยชน์แก่ศีลและปัญญา

ศีล นั้นเหมือนปักเสาสะพานฝั่งนี้
ปัญญา เหมือนปักเสาสะพานฝั่งโน้น

แต่ถ้าเสากลาง คือ สมาธิ ท่านไม่ปักแล้ว
ท่านจะทอดข้ามสะพานแม่น้ำ คือ โอฆะสงสาร ไปได้อย่างไร .. "

ท่านพ่อลี ธัมมธโร


ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: โมหะ ความลุ่มหลงเป็นเหตุ :ท่านพ่อลี ธัมมธโร
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กุมภาพันธ์ 19, 2015, 10:07:50 pm »



‪#‎จิตในจิต‬ คือได้แก่การหยิบยกเอาส่วนใดส่วนหนึ่งของจิตทั้งหลายที่กล่าวมานั้น ตัวอย่างเช่น บางครั้งก็มีราคะ บางครั้งก็มีโทสะ บางครั้งก็มีโมหะ
ในคราวใดสมัยใด จิตทั้งหลายเหล่านั้นได้เกิดขึ้นแก่ตนแล้ว ก็ตั้งใจหยิบยกเอาจิตดวงนั้น ๆ เข้าไว้ แล้วให้ตั้งสัมปชัญญะความรู้สึกตัวประจำใจไว้ ตั้งสติแล่นติดต่อในอารมณ์นั้น ๆ ให้มั่นคง อย่าส่งไปในอารมณ์อื่น และอย่าให้ความปรารถนาใด ๆ เกิดขึ้นในขณะจิตอันนั้น แล้วใช้ อาตาปี คือความเพียรเพ่งพิจารณาอยู่ในอารมณ์นั้น อย่าหวั่นไหวจนกว่าจะรู้ความเป็นจริงของเขา

ความจริงของนั้นเมื่อเกิดขึ้นแล้วยิ่งกำเริบก็มี เสื่อมน้อยถอยไปก็มี เกิดขึ้นชั่วขณะหนึ่งแล้วก็เสื่อมสิ้นไปเป็นธรรมดา หาเป็นแก่นสารมิได้ ตั้งใจเพ่งพิจารณากันอยู่ด้วยอาการอย่างนี้ ถึงแม้ว่ากิเลสเหล่านั้นจะมีปรากฏอยู่ ถ้าหากว่าเราเป็นผู้มีสัมปชัญญะความรู้ตัว สติความระลึกได้ อาตาปีความเพียรเพ่งพิจารณา เมื่อคุณธรรม ๓ ประการนี้มีประจำอยู่ในตนเอง อกุศลจิตทั้งหลายเหล่านั้น ก็ไม่มีโอกาสที่จะเจริญงอกงามขึ้นได้ เปรียบเหมือนต้นไม้ที่มีอยู่ในพื้นแผ่นดินที่ถูกครอบเสียด้วยภาชนะ เป็นต้นว่าหม้อหรือกะลาที่เขาครอบไว้ซึ่งพันธุ์ผักกาดที่กำลังงอกขึ้นใหม่ ถ้ามนุษย์ไม่หยิบยกกะลานั้นออกแล้ว พืชพันธุ์ทั้งหลายเหล่านั้นก็ไม่มีทางเจริญเติบโตขึ้นได้ มีแต่ที่จะเหี่ยวแห้งตายไปถ่ายเดียวเท่านั้น ฉะนั้น ผู้ปฏิบัติก็ควรที่จำต้องใช้สัมปชัญญะความรู้ตัวประจำจิตนั้น ๆ ไว้ สติค่อยแล่นระลึกอยู่ในอารมณ์นั้น อาตาปีเพียรเพ่งแผดเผา กิเลสเหล่านั้นก็จะเบาบางห่างไกลไปจากใจของตนทุกเมื่อ

จิตทั้งหลายที่กล่าวมา เปรียบเหมือนเมล็ดพันธุ์ผักกาดและถั่วเขียว สติเปรียบเหมือนกะลา สัมปชัญญะเปรียบเหมือนบุคคลผู้หว่านเมล็ดพันธุ์ อาตาปีความเพียรเพ่งพิจารณา อุปมาเหมือนแดดอันเป็นเครื่องเผาผลาญให้พืชพันธุ์ย่อยยับดับสูญ
ที่กล่าวมานี้พูดถึงจิตฝ่ายชั่ว

ส่วนจิตฝ่ายดีนั้นก็มีตรงกันข้าม เช่น
วิราคจิต จิตที่คลี่คลายออกมาจากความกำหนัดยินดี
อโทสะ คือจิตปราศจากความหงุดหงิดงุ่นง่าน อันเป็นบ่อเกิดแห่งความเสียหาย
อโมหจิต จิตที่ปราศจากความลุ่มหลงมัวเมา เข้าใจผิดไปต่าง ๆ
นี้เป็นส่วนกุศลจิตอันเป็นรากเหง้าแห่งความดีทั้งหลาย เมื่อเกิดมีแก่ตนแล้วก็ให้รักษาไว้ แล้วคอยกำหนดไว้จะตรวจดูภูมิภาคของตน จะได้รู้ว่าจิตใจของตนนั้นอยู่ในภูมิอันใด ถ้าจะกล่าวตามภูมิของจิตแล้วก็มีอยู่ ๔ อย่าง อันเป็นภูมิภาคแห่งความดีคือ

๑. กามาวจรภูมิ
๒. รูปาวจรภูมิ
๓. อรูปาวจรภูมิ
๔. โลกุตตรภูมิ
//ท่านพ่อลี ธัมมธโร//




ถ้าใครต้องการที่จะรู้ดีรู้ชอบแล้ว จิตดวงนี้เป็นโลกีย์หรือโลกุตตระนั้นอย่างนี้ คือ ให้สังเกตเมื่อทำความรู้เข้าไปสงบอยู่แล้วก็มีความสุขสบายคล้ายกับว่าไม่มีกิเลสเจือปน ถ้าปล่อยจิตดวงนั้นให้เป็นอยู่ตามธรรมดาแล้วก็เกิดกิเลสกำเริบขึ้นได้อยู่ตามธรรมดา เหตุนั้นจึงเรียกว่าเป็นแต่โลกีย์ บางทีก็ทรงตัวอยู่ได้ไม่เสื่อม ด้วยอำนาจแห่งความเพียร บางทีก็เกิดความสงสัยลังเลขึ้นในความรู้ของตนนั้นอีก เป็นต้นว่า ลูบคลำคร่ำครวญอยู่เสมอ เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็อย่าพึงเข้าใจว่าเป็นความรู้อันแท้จริง

ถ้าจะพูดถึงความรู้อันมีมากอย่างเช่น มโนใจก็รู้ จิตก็รู้ วิญญาณก็รู้ ปัญญาก็รู้ สัมปชัญญะก็รู้ วิชชาก็รู้ อวิชชาก็รู้ รวมลงที่ว่ามานี้ ล้วนแต่หมายเอาความรู้เป็นฐานด้วยกันทั้งสิ้น ต่างกันแต่ลักษณะที่รู้ เมื่อไม่รู้จักแยกอาการของรู้แล้ว รู้นั้นก็สับกันได้ บางทีก็อาจจะเอาความรู้ผิดมาเป็นความรู้ถูก บางทีก็อาจจะเอาความรู้ที่เป็นอวิชชามาเป็นวิชชา บางทีก็เอาความรู้ที่ติดสมมติมาเป็นวิมุตติ ฉะนั้นผู้ปฏิบัติควรไตร่ตรองพลิกแพลงให้รู้แจ้งเห็นจริงด้วยตนเอง ว่าความรู้อันใดเป็นความรู้อันแท้จริง ความรู้อันใดเป็นความรู้ที่ไม่จริง ความรู้ที่ไม่จริงนั้นสักแต่ว่ารู้ แต่ละไม่ได้ ความรู้ที่จริงนั้น เมื่อเข้าไปรู้ในสิ่งใดย่อมละได้
นี้พูดมาในส่วนภูมิภาคแห่งจิตทั้งหลาย ทั้ง ๓ อย่างนี้เรียกว่า โลกียภูมิ
(กามาฯ รูปาฯ อรูปาฯ)
//ท่านพ่อลี ธัมมธโร//

 >>> F/B เจง ธรรมจารี

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: โมหะ ความลุ่มหลงเป็นเหตุ :ท่านพ่อลี ธัมมธโร
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: มิถุนายน 27, 2015, 01:59:18 am »


การยินดีในธรรม ย่อมชนะการยินดีทั้งปวง
originally shared to ชาวพุทธ (สนทนาธรรมตามกาล):
 
"มตฺตญฺญุตา จ ภตฺตสมฺมึฯ"
ให้เป็นผู้รู้จักประมาณในอาหารการบริโภค ทั้งอาหารกายและอาหารใจ

อาหารกาย ได้แก่ อาหารคำๆ ที่บริโภคเข้าไปเป็นเลือดเนื้อ
คือ ให้รู้จักกินอาหารที่เป็นประโยชน์แก่ร่างกาย
ไม่เป็นพิษเป็นโทษและไม่มากเกินประมาณ

อาหารจิต ก็ต้องหาอาหารที่ดีมาบำรุง

อาหารที่เป็นพิษของดวงจิต คือ ความโลภ ความโกรธ ความหลง
อย่าให้มันมีขึ้นในจิตในใจ พอรู้ว่ามันจะเกิดขึ้นก็ให้รีบดับเสีย
ให้เก็บไว้ในตัว อย่าให้มันออกมาเกะกะลุกลามไปถึงคนอื่น
และความชั่วความไม่ดีของคนอื่น เราก็ไม่เก็บเข้ามาไว้ในตัวของเรา
กิเลสข้างในเราก็อย่าให้ไหลออก ข้างนอกก็กันอย่าให้มันเข้า


...ท่านพ่อลี ธัมมธโร...
วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


เราต้องทำความรู้อยู่เฉพาะในปัจจุบันอย่างเดียว
ทำความรู้เท่าทันในอารมณ์ที่เกิดดับ
ปล่อยวางทั้งดีและชั่ว ไม่ยึดถือ
จิตที่เพ่งเฉพาะอยู่แต่ในอารมณ์อันเดียวนี้
จะเกิดเป็นสมาธิจนเป็นญาณจักขุขึ้น

มีหูทิพย์ ตาทิพย์ มองเห็นเหตุการณ์
อดีต อนาคตทั้งใกล้และไกล
มีบุพเพนิวาสญาณ รู้กรรมในอดีตชาติ
รู้การเกิดการตายการมาการไป
ของตัวเองและบุคคลอื่น สัตว์อื่น

ว่าเกิดมาแต่กรรมดีกรรมชั่วอย่างใด
เป็นเหตุให้เราเกิดความสลดสังเวช
เบื่อหน่ายในชาติภพและตัดกรรม
ที่จะไม่ให้เราคิดกระทำความชั่วได้อีก
"ความเบื่อหน่าย" อันนี้เป็นของมีคุณ
ไม่ใช่ของมีโทษเหมือน "เบื่อเมา"

"เบื่อเมา" นั้นมีลักษณะ
เหมือนกับคนที่กินข้าวอิ่มแล้ววันนี้
ก็รู้สึกเบื่อไม่อยากกินอีก
แต่พอวันรุ่งขึ้นก็หายเบื่อและกลับกินอีกได้

ส่วนการ "เบื่อหน่าย" นั้น
เป็นการเบื่อที่เราจะไม่กลับยินดีทำในสิ่งนั้นอีก
เช่น เราเห็นการเกิด แก่ เจ็บ ตายเป็นทุกข์
เราก็ไม่อยากทำปัจจัยที่จะทำให้เรา
ต้องกลับมาเกิด แก่ เจ็บ ตายอีก..ดังนี้เป็นต้น
..
..

ต้องทำ "จิตตวิเวก" ให้ห่างจาก "นิวรณ์ธรรม" จึงเป็นประโยชน์แก่ตัว
จิตตวิเวก คือ ปฐมฌาน (เอกัคคตา)
จิตเที่ยวอยู่ในขอบเขตบ้าน ไม่หนีจากปัจจุบัน ไม่เที่ยวไปในอดีต
ยกจิตขึ้นสู่อารมณ์ ได้แก่ ลมหายใจ "วิตก" คือ สังเกตตัวลม
"วิจาร" คือ รู้ลมเข้าออกสั้นยาว รู้จักเข้าใจ ขยับขยาย รู้ลักษณะของลม
"ปีติ" คือ ความอิ่มกาย อิ่มใจ ระงับเวทนาของกาย เป็น "สุข"

ปัจจุบันของรูปเป็นเอกัคคตา คือ "กายสังขาร" (ลมหายใจ)
ปัจจุบันของนาม คือ ตัว "สติ"
หายใจเข้าเป็น "ประการธรรม" หายใจออกเป็น "นามสกุล" เป็น "อุปการธรรม"
จิตเป็น "ชื่อ" สติเป็น "นามสกุล"
ความรู้ความคิดเห็นต่างๆ เป็น "คนใช้" ของเรา อย่าไปยึดถือมัน
กายวิเวก จิตตวิเวก อุปธิวิเวก ไม่ยึดทั้งเหตุทั้งผล
ปล่อยไปตามสภาพของความเป็นเอง
..
..

วิถีของจิตใจนั้น มันไม่มีเรื่องอะไรหรอก แต่มันชอบออกไปหาเรื่อง
กายกำเริบ คือ ปวดเมื่อย
ใจกำเริบ คือ ฟุ้งซ่าน
๑) อวิชชาวิสมโลภะ คือ ใจที่แส่ส่ายออกไปหาอารมณ์
อดีต อนาคต ยกจิตไปไว้ในอารมณ์อื่น
๒) พยาปาทะ, ใจก็ไม่ชอบ หงุดหงิด ฟุ้งซ่าน
๓) มิจฉาทิฏฐิ, ไปก็ไม่รู้มาก็ไม่รู้ มาว่าไป ไปว่ามา
ลมออกว่าเข้า ลมเข้าว่าออก จิตเผลอเป็นคนไม่รู้เรื่องรู้ราว
๓ อย่างนี้ เป็น "มโนทุจริต" ทั้งสิ้น

จิตของเราเหมือนอาหารที่อยู่ในชาม
สติเสมือนฝาชาม ถ้าเราขาดสติเท่ากับเปิดฝาชามไว้
แมลงวัน (กิเลส) ย่อมจะบินมาเกาะ
เมื่อเกาะแล้วมันก็กินอาหาร แล้วก็ขี้ใส่บ้าง นำเชื้อโรคมาใส่ให้บ้าง
ทำให้อาหารนั้นเป็นเป็นโทษ เป็นพิษ
เมื่อเราบริโภคอาหารที่เป็นพิษเราก็ย่อมได้รับทุกข์ประสบอันตราย
ฉะนั้นเราจะต้องคอยระวังปิดฝาชามไว้เสมอ
อย่าให้แมลงวันมาเกาะได้
จิตของเราก็จะบริสุทธิ์สะอาด เกิดปัญญาเป็นวิชชา ความรู้

พระอาจารย์ลี ธัมมธโร
วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ

F/B ธรรมะคำสอนครูบาอาจารย์/Dhamma Articles

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

เว็บธรรมจักร ธรรมะออนไลน์ ได้แชร์รูปภาพของ dhammajak
17 มีนาคม 2017 เวลา 9:39 น.

"การรักและเมตตาตัวเอง"
การรักอีกอย่างหนึ่งเรียกว่า เมตตาตัว คือ หมั่นประกอบบุญกุศลและคุณความดีให้มีขึ้นในตน ขณะใดที่จะเกิดประโยชน์จากตา หู จมูก ปาก มือ เท้า ฯลฯ ของตนเองแล้ว ก็ไม่ยอมปล่อยโอกาสให้เสียไป มือของเราที่จะให้ทานก็ไม่ถูกตัด เท้าของเราที่จะก้าวเดินไปวัดก็ไม่ถูกตัด หูของเราที่จะได้ฟังเทศน์ก็ไม่ถูกตัด ตาที่จะได้พบเห็นของดีๆ ก็ไม่ถูกปิดมืด เราก็จะได้รับผลได้อันดีจากตัวของเราอย่างเต็มที่ อย่างนี้เรียกว่า เมตตาตัว เป็นการรักที่ถูกทาง ผู้นั้นจะมีแต่ความสุข

"พระอาจารย์ลี ธัมมธโร"
วัดอโศการาม จ.สมุทรปราการ

:: รวมคำสอน “ท่านพ่อลี ธมฺมธโร”
http://www.dhammajak.net/forums/viewtopic.php?f=72&t=38679
>>fb ธรรมชาติอันสดใส
 https://www.facebook.com/groups/236010043079656/?hc_ref=NEWSFEED