ผู้เขียน หัวข้อ: 【誰來叩門 ? .. ใครมาเคาะประตู ?  (อ่าน 3147 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
【誰來叩門 ? .. ใครมาเคาะประตู ?
« เมื่อ: กันยายน 09, 2013, 08:10:08 pm »



【誰來叩門 ? .......................... ใครมาเคาะประตู ? ............
向虛雲老和尚請法】...........การอาราธนาธรรมต่อหลวงปู่ชวีหยูน

念佛與參禪哪個好? / บริกรรมอามีตาพุทธกับขบปริศนาอะไรดีกว่ากัน?
文:香光莊嚴編輯組 ...โดย คณะเรียบเรียงเซียงกวางจวงเหยียน
............................. แปล ... บารมี ศรีอริยทรัพย์ อุบลราชธานี ...


參禪與念佛,......................การขบปริศนากับบริกรรมอามีตาพุทธ
在初發心的人看來是兩件事;สำหรับผู้เริ่มใหม่ดูคล้ายเป็นสองอย่าง
在久修的人看來是一件事。...สำหรับคนเก่าแล้วมันเป็นเรื่องเดียวกัน
參禪提一句話頭................การขบปริศนานั้นตรึกอยู่กับประเด็นเดียว
橫截生死流,..............................เพื่อตัดกระแสความเกิด-ตาย
也是從信心堅定而來。.............นั้นต้องมีความศรัทธาที่หนักแน่น

若話頭把持不住,......................หากรักษากรรมฐานไว้ไม่มั่นคง
禪也參不成;..................................การภาวนาก็ไม่อาจสำเร็จ
若信心堅定,.........................................หากศรัทธาแน่วแน่
死抱著一句話頭參去,..............แม้จะตายก็ยังรักษากรรมฐานอยู่
直待茶不知茶、.......จนกระทั่งแม้ยามดื่มชาก็ไม่คิดว่าเป็นการดื่มชา
飯不知飯,.......................ยามทานข้าวไม่คิดว่าเป็นการทานข้าว
功夫熟處,.................เมื่อพลังกรรมฐานเข้มข้นมาถึงจุดเดือดแล้ว
根塵脫落,..................ก็หลุดจากอำนาจของอายตนะทั้งใน-นอก
大用現前。..............สามารถช่วงใช้สิ่งที่อยู่ตรงนั้นได้อย่างพิสดาร

與念佛人功夫熟處,.....................สำหรับผู้บริกรรมอามีตาพุทธ
淨境現前是一樣的。...........เมื่อความบริสุทธิ์แสดงตัวก็เหมือนกัน
到此境界,.....................................หากได้มาถึงสภาวะนี้แล้ว
理事圓融 ,............................ปรมัตถ์กับสมมุติหลอมรวมลงกัน
心佛不二,...........................ความคิดกับพุทธะไม่เป็นสองอย่าง
佛如眾生如,...............พุทธะเป็นอย่างไรสรรพสัตว์ก็เป็นอย่างนั้น
一如無二如,..........................เป็นอย่างนั้น ไม่เป็นไปอย่างอื่น
差別何在?……........................แล้วมันจะแตกต่างกันตรงไหน ?

禪宗雖一超直入,...................แม้ว่าการภาวนาแบบเซนจะลัดตรง
非上根利智不能修。.........แต่ถ้าไม่มีพื้นฐานทางปัญญาสูงก็อย่าใช้
末法眾生障深慧淺,ยุคปลายของธรรมสัตว์โลกอุปสรรคมากปัญญาน้อย
惟依持名念佛法門,..........เมื่อได้พึ่งพาวิธีการบริกรรมอามีตาพุทธ
得了生死,......................ก็อาจหลุดพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด
往生極樂國土。..............................ได้ไปจุติใหม่ในแดนสุขาวดี

初入手與禪是二,....ผู้เริ่มต้นบริกรรมภาวนากับรูปแบบเซนนั้นต่างกัน
及其成功,...........................เมื่อกล่าวโดยพลังของภูมิธรรมแล้ว
二而不二。..........................ทั้งสองอย่างก็ไม่มีสิ่งใดแปลกแยก
惟念佛須攝心觀照,..........การบริกรรมอามีตาพุทธก็ตระหนักที่จิต
句句落堂。...........................ทุก ๆ คำภาวนาเป็นไปอย่างชัดเจน
落堂者,............................................ผู้บริกรรมภาวนาอยู่นั้น
著實之謂也。......................................ก็กำลังภาวนาอยู่จริง ๆ
句句著實,..................................................คำแล้ว-คำเล่า
念念相應,......................ความคิดแล้ว-ความคิดเล่า เชื่อมกันไป
久之自成一片。...............เมื่อนานเข้าก็เป็นผืนแผ่นเดียวกันไปเอง
由事一心,...............................เมื่ออยู่กับสมมุติก็จิตหนึ่งดวงนี้
而至理一心,...........................เมื่ออยู่กับปรมัตถ์ก็จิตหนึ่งดวงนี้
能所兩忘,............................ลืมทั้งผู้กระทำและสิ่งที่ถูกกระทำ
自他不二,.......................ระหว่างตนเองกับคนอื่นไม่เป็นสองขั้ว
與參禪有何差別.......แล้วมันจะต่างจากการภาวนาแบบเซนตรงไหน.

故經云:.......................................ตามพระคัมภีร์มีตรัสไว้ว่า :
「若人但念阿彌陀,................เมื่อได้บริกรรมภาวนาอามีตาพุทธ
是為無上深妙禪。」....ก็คือได้ภาวนาอนุตตรเซนอันลึกซึ้งอัศจรรย์

中峰大師曰:.......................พระมหาธรรมาจารย์จงฟงกล่าวว่า :
「禪者淨土之禪,.............ผู้ภาวนาแบบเซน ก็คือสุขาวดีแห่งเซน
淨土者禪之淨土。........ผู้บริกรรมอามีตาพุทธ ก็คือเซนแห่งสุขาวดี
彼念口頭佛,........................หากสักแต่ว่าบริกรรมไปเรื่อยเปื่อย
參口頭禪者,..............................หรือขบปริศนาพอเป็นพิธีการ
同一自欺,......................ล้วนเป็นการหลอกลวงตัวเองพอ ๆ กัน
生死關頭,............................................เมื่อความตายมาถึง
如何了脫?」 ...........................จะพากันหลุดพ้นได้อย่างไร ?



欲知更詳細文章內容,請連結
http://www.gayamagazine.org/article/detail/1229
>>> F/B Clearmind Zhao Ping ได้แชร์รูปภาพ ของ 香光莊嚴雜誌
7 กันยายน 56
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 09, 2013, 11:23:41 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ชีวิตชีวาเซน-Lively Zen
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: พฤศจิกายน 14, 2013, 04:40:25 pm »



เมื่อความคิดปรุงแต่งก่อตัวขึ้น
มันจะไหลไปเรื่อย ๆ
จากความคิดหนึ่ง ต่อไปยังอีกความคิดอื่น ๆ

คุณคงเคยเห็นสายน้ำที่ไหลไปไม่เคยหยุด
คลื่นน้ำ...ไม่เคยแยกตัวออกจากน้ำนั้นเลย

โดยปกติแล้ว
คุณรู้อยู่อย่างชัดเจนว่า คุณกำลังหายใจ
และ ในความรู้ที่แจ่มชัด นั้นเอง
คุณได้หยุดการทะเลาะกับตนเองแล้ว

และในขณะนั้น
คุณได้อยู่ในความเป็นหนึ่งเดียว กับความเป็นทั้งหมด

เมื่อความคิดหดตัวลง
จิตที่แท้ ก็ปรากฏขึ้น

ความสับสน มักมาในรูปของ ความพยายามที่จะทำ
แต่ในความเห็นอย่างแจ่มชัดนั้น ดำรงอยู่อย่างไม่กระทำ

ปัญหาเดียว ที่ต้องพยายามอยู่เสมอ คือ...
การเห็นจิตที่ดำรงอยู่ เหนือกระแสความคิดทั้งปวงนั้น
เหมือนเมื่อพายุสร่างซาลง ฟ้าสีครามก็ปรากฏ

ชีวิตชีวาเซน-Lively Zen
27 มิถุนายน 56
********************

มีบางเรื่อง ต้องรอจนกว่าคุณตื่นขึ้น
คุณจึงจะเข้าใจได้ว่า...มันผิดพลาด

และมีบางสิ่ง ต้องคอยจนกว่า...
คุณปล่อยวางมันจริง ๆ
จึงจะเข้าใจได้ว่า มันสำคัญนัก

กาลเวลา...
สามารถบอกความจริงแก่คุณได้ทั้งหมด
**************

ด้วยความรักอย่างสุดซึ้ง
คุณได้ละทิ้งสิ่งชั่วคราวไป แล้วก็พบกับสิ่งที่ยั่งยืน
นี่คือ คุณค่าของสิ่งชั่วคราว

มันเป็นเหมือนการอาศัยสะพาน เพื่อข้ามฝั่ง
เป้าหมาย คือ ฝั่งโน้น , สะพาน คือ วิธีการ

หากไร้ซึ่งวิธีการที่ถูกต้อง
ก็ยากนักที่จะบรรลุเป้าหมาย

มุมมองที่เหมาะสม...
ย่อมช่วยให้เห็นในสิ่งที่ คุณเองก็ต้องแปลกใจ
*************

การอยู่เงียบ ๆ สัก ๒-๓ นาที มีความน่าอัศจรรย์...
"ในความเงียบ" คือ การยอมรับมันอย่างที่มันเป็นเต็ม ๆ
แม้ว่าภายนอกจะวุ่นวายพลุกพล่าน
เมื่อจิตแจ่มชัด ก็ไม่มีใครถูกกระทำ

ในความเงียบไม่มีกาลเวลา
เพราะไม่มีความขัดแย้ง
อดีตไม่ปรากฏ
อนาคตจึงเห็นได้ในปัจจุบัน

To be in silence for 2-3 minutes is a miracle.
“In silence”, you completely accept what it is.

Even though the outside is noisy,
when the mind is clear, there is no victim.

In silence, there is no time
because there is no conflict.

The past disappears,
the future can be seen.
********

................ภารกิจของอาจารย์เซน......
Clear : "พิสดาร" มีความหมายว่า แม้จะละเอียด
หรือน่าดึงดูดสนใจอย่างไร...มันก็ต้องผ่านไป ,

คือ...อย่าบ้าไปกับปรากฏการณ์ แม้จะน่าเหลือเชื่อ ,
จิตต้องไม่กระเพื่อมไปตามนั้น.

ทั้งเหตุการณ์ภายนอก การเมือง เศรษฐกิจ หรือเรื่องการเกิด-ตาย ,
และสภาวะทางใจ ทั้งอารมณ์ทุกข์ - สุข หรือความสงบเงียบ

สิ่งที่แสดงตัวออกมา...
ล้วนเป็นสิ่งที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขอื่น ๆ นั่นเอง

สาวกเซน รู้เท่าทันจุดนี้ และไม่หวาดหวั่น
แม้ความเจ็บปวด และความตาย การพลัดพราก

มีครั้งหนึ่ง....
นักรบซามูไร ซึ่งปกติฝึกซาเซนอยู่ ทุกครั้งที่กลับมา
จะต้องเข้าห้องภาวนา เพื่อนั่งซาเซนก่อนเสมอ

เมื่อเขาต้องได้รับแบดแผลอย่างรุนแรงจากการรบกลับมา
อาจารย์เซน กลับไม่ถามถึงความเจ็บปวด สารทุกข์สุกดิบ
ได้แต่เคี่ยวเข็น...กระตุ้นและต้อนเขาเข้าสู่มุมอับจน...!

กระทั่ง...? , นักรบผู้นั้น ...
ได้พบจิตที่เป็นอิสระ จากรูปธรรม ณ ตรงนั้น นั่นเอง

P : สาธุค่ะ (-/\-)
Clear : เมื่อมีวิกฤติ สามัญปุถุชน จากถูกสัญชาตญาณครอบงำ
Clear : อาจารย์เซน มีภารกิจเดียว คือ...?
P : ทำให้ลูกศิษย์พบจิตหนึ่งที่เป็นอิสระ ค่ะ

Clear : ไม่อาจทำให้ หรือทำแทนได้
แต่สร้างสิ่งแวดล้อมให้ เพื่อเอื้ออำนวย...ได้บ้าง
P : ค่ะ

Clear : ทุกกุศโลบาย...
ล้วนเป็นไปเพื่อสิ่งนี้ สิ่งเดียว
เขาไม่บิดเบือนความศรัทธาของศิษย์
ไปสู่ความสวามิภักดิ์ เพื่อการอย่างอื่น !

และที่สำคัญ คือ...?
P : .....? ?

28 มิถุนายน 56
*******************




เพียงขณะนั้นขณะเดียว
แล้วทุกสิ่ง ก็แปรเปลี่ยนไปทั้งหมดทั้งสิ้น
เป็นขณะใหม่อีกขณะหนึ่ง
ซึ่งสืบทอดต่อจากขณะที่แล้วมา
แต่ก็เป็นคนละขณะกัน

เมื่อเห็นอยู่เช่นนี้แล ชื่อว่าเป็น มรรคญาณ
ผลจึงเป็น ขณะใหม่ที่อิสระ

หลุดพ้นจากอิทธิพลของขณะเก่า
การพ้นจากอิทธิพลของจิต
หรือมโนกรรมเก่า ๆ จึงเป็นไปได้

ชีวิตชีวาเซน-Lively Zen
28 มิถุนายน 56

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 20, 2013, 11:36:25 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: 【誰來叩門 ? .. ใครมาเคาะประตู ?
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: พฤศจิกายน 17, 2013, 03:46:43 pm »



ชีวิตคือความจริง...ที่แสดงตัวมันเองอยู่ตลอดเวลา
เห็นความจริง ก็เข้าใจชีวิต

เห็นชีวิต ก็ซาบซึ้งความเป็นจริง เป็นอย่างนั้น ไม่เป็นอย่างอื่น
เห็นอยู่อย่างนั้น ไม่ต้องอยากเห็นเป็นอย่างอื่น

Life is the truth which expresses itself all the time.
See the truth, you will understand life.

See life, you will appreciate the truth.
It is that, nothing else.
See only that, do not want to see something else.

ชีวิตชีวาเซน-Lively Zen
1 กรกฎาคม 56
******************

ถ้าเห็นว่า โลกเป็นเพียงสักว่า "มายา"
นิพพาน ความไม่เกิด ก็ต้องเป็นมายาไปด้วย

เพราะความเห็นนั้นเอง
เป็นตัวยืนยันจัดสรรปั้นแต่ง

เมื่อถอนตัวออกมา...
จากความเห็นและหมดการยืนยันว่า
"โลกเป็นเพียงมายา"

นิพพาน ก็อาจไม่จำเป็นต้อง ถึงขั้นไปยืนยันว่า
เป็น "ความจริง"

นี่คือการหย่าร้าง จากความเห็นสุดโต่งในทางทั้งสองขั้ว
คือเห็นว่า โลกสังขารเป็นมายา ส่วนนิพพานเป็นความจริง
**************

การอยู่เงียบ ๆ สัก ๒-๓ นาที มีความน่าอัศจรรย์...
"ในความเงียบ" คือ การยอมรับมันอย่างที่มันเป็นเต็ม ๆ

แม้ว่าภายนอกจะวุ่นวายพลุกพล่าน
เมื่อจิตแจ่มชัด ก็ไม่มีใครถูกกระทำ

ในความเงียบไม่มีกาลเวลา
เพราะไม่มีความขัดแย้ง

อดีตไม่ปรากฏ
อนาคตจึงเห็นได้ในปัจจุบัน

To be in silence for 2-3 minutes is a miracle.
“In silence”, you completely accept what it is,

even though the outside is noisy.
When mind is clear , there is no victim.

There is no time.
There is no conflict.

Past disappears;
future can be seen.
***********

เมื่อเป็นปลาตัวหนึ่ง
ก็จงสบายใจและแหวกว่ายอยู่ในน้ำ
ไม่ต้องไปคิดอยากมีปีกบิน

เมื่อเป็นพญาอินทรีย์ตัวหนึ่ง
ก็จงอิสระและกางปีกเหินอยู่บนท้องฟ้ากว้างใหญ่
ไม่ต้องคิดอยากไปเป็นเหมือนปลาในน้ำ

When born as a fish,
enjoy swimming in the river.
Do not think about having wings to fly.

When born as an eagle,
fly freely in the vast sky.
Do not think to be like a fish in the river.
*****************

เมื่อความคิดปรุงแต่งก่อตัวขึ้น
มันจะไหลไปเรื่อย ๆ
จากความคิดหนึ่ง ต่อไปยังอีกความคิดอื่น ๆ

คุณคงเคยเห็นสายน้ำที่ไหลไปไม่เคยหยุด
คลื่นน้ำ...ไม่เคยแยกตัวออกจากน้ำนั้นเลย

โดยปกติแล้ว
คุณรู้อยู่อย่างชัดเจนว่า คุณกำลังหายใจ
และ ในความรู้ที่แจ่มชัด นั้นเอง
คุณได้หยุดการทะเลาะกับตนเองแล้ว

และในขณะนั้น
คุณได้อยู่ในความเป็นหนึ่งเดียว กับความเป็นทั้งหมด

เมื่อความคิดหดตัวลง
จิตที่แท้ ก็ปรากฏขึ้น

ความสับสน มักมาในรูปของ ความพยายามที่จะทำ
แต่ในความเห็นอย่างแจ่มชัดนั้น ดำรงอยู่อย่างไม่กระทำ

ปัญหาเดียว ที่ต้องพยายามอยู่เสมอ คือ...
การเห็นจิตที่ดำรงอยู่ เหนือกระแสความคิดทั้งปวงนั้น
เหมือนเมื่อพายุสร่างซาลง ฟ้าสีครามก็ปรากฏ
***************

ด้วยความรักอย่างสุดซึ้ง
คุณได้ละทิ้งสิ่งชั่วคราวไป แล้วก็พบกับสิ่งที่ยั่งยืน
นี่คือ คุณค่าของสิ่งชั่วคราว

มันเป็นเหมือนการอาศัยสะพาน เพื่อข้ามฝั่ง
เป้าหมาย คือ ฝั่งโน้น , สะพาน คือ วิธีการ

หากไร้ซึ่งวิธีการที่ถูกต้อง
ก็ยากนักที่จะบรรลุเป้าหมาย

มุมมองที่เหมาะสม...
ย่อมช่วยให้เห็นในสิ่งที่ คุณเองก็ต้องแปลกใจ
*************

การหลบหลีกความจริง
แล้วแสวงหาความไม่จริง
เป็นการเริ่มต้นที่หลงทาง

ส่วนการเผชิญหน้ากับความจริง
ด้วยการเห็นความจริงอย่างที่มันเป็นจริง ๆ
คือ ความชัยชนะที่ไม่ต้องรบ
********************

เมื่อความคิดผุด...
สมมุติบัญญัติ ชื่อ ลักษณะ อาการก็ปรากฏ

เมื่อความคิดสลายลง
แม้ปรมัตถะสัจจะก็ไร้ชื่อ

แต่ไม่ใช่ด้วยการต่อต้าน หรือสยบยอมต่อความคิด
จงเป็นเหมือนมหาสมุทร ที่กลืนกินฟองคลื่นของมันเอง
****************

...First Winter Zen Meditation in Thailand...

ปัญหาเกิดตายเป็นเรื่องใหญ่ ไม่เที่ยงแท้แน่นอน
.............生死事大 , 無常軐速...............
........สมาธิภาวนาแบบเซน Zazen 參禪.......
....โดย พระอาจารย์เจ้าผิง ใจวิสา 照平法師...

..............萬法歸 一 , 一歸何處.............
............................參........................
หมื่นธรรมะคืนสู่หนึ่งเดียว , หนึ่งเดียวคืนสู่ที่ไหน
...........................ลุย.........................

รุ่นที่ ๑ วันที่ ๒๑-๒๔ มิ.ย. นี้ สวนศรี ฯ อุบล
......๒...... ๒๘-๓๐ มิ.ย. ริมอ่างซับประดู่ สีคิ้ว
......๓......๙-๑๑ ส.ค. สวนศรี ฯ อุบล
......๔....๑๖-๑๘ ส.ค. ริมอ่างซับประดู่ สีคิ้ว
......๕........๖-๘ ก.ย. สวนศรี ฯ อุบล
......๖.....๒๐-๒๒ ก.ย. ริมอ่างซับประดู่ สีคิ้ว
......๗.......๔-๖ ต.ค. สวนศรี ฯ อุบล
......๘.....๑๘-๒๐ ต.ค. ริมอ่างซับประดู่ สีคิ้ว
......๙......๑-๓ พ.ย. สวนศรี ฯ อุบล
......๑๐....๑๕-๑๗ พ.ย. ริมอ่างซับประดู่ สีคิ้ว
......๑๑...๒๒-๒๔ ...".................."......
......๑๒...๒๙พ.ย.-๑ ธ.ค. ..."........."....
......๑๓...๑๓-๑๕ ธ.ค.........".........."...
......๑๔...๒๐-๒๒ ธ.ค......."............"...
......๑๕....๒๗-๒๙ ธ.ค......"..........."....


"ปลุกวิญญาณปรมาจารย์ตั๊กม๊อ" รุ่นเข้มฤดูหนาว ๔๙ วัน
ครั้งแรกในไทย ๑๓ พ.ย.- ๓๑ ธ.ค. ณ วัดป่าอ่างซับประดู่
อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา พระครูอินทรโสภณ 081 360 0304

พระอาจารย์เจ้าผิง 089 828 0332 + 886 912 116 862
E-mail : clearmind50@gmail.com
Facebook : Clearmind Zhao Ping


:https://www.facebook.com/livelyzen?fref=ts

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ชีวิตชีวาเซน-Lively Zen
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: พฤศจิกายน 17, 2013, 03:52:10 pm »


หากคุณยังไม่แน่ชัดในสิ่งใดว่า
"มันยังไง ๆ กันอยู่ !!!"
แต่เมื่อคุณไม่เคลือบแคลงแล้ว สิ่งนั้น ๆ
"มันก็อย่างนั้น ๆ แหละ"

ต่อสิ่งเดียวกันนั่นเอง...แต่เป็นคนละการมองเห็น
นี่เป็นการบ้านที่เราทุกคน
ต้องเกี่ยวพันและผ่านมันไปให้เร็วที่สุด
อย่าเนิ่นช้าเสียเวลา...

ยามรุ่งอรุณ...พระอาทิตย์ก็ยังคง
สาดแสงสีทองมาจากทางทิศตะวันออกเหมือนเดิม

แล้วเธอในวันนี้เป็นอย่างไร สบายใจดีอยู่หรือ ?
...นี่คือประเด็น

ชีวิตชีวาเซน-Lively Zen
2 กรกฎาคม
*****************



ฟ้านั้นหาใช่เมฆ...แต่เมฆก็อาศัยอยู่
นานั้นหาใช่ข้าว...แต่ข้าวก็อาศัยเกิด

ชีวิตนั้นหาใช่นิพพาน...
แต่อาศัยเกิดตายนี้พ้นเกิดตาย

3 กรกฎาคม 56
**************

รู้ซึ้งอนัตตา...
เห็นมายาคือมายา
ไร้มายา นั่น...ก็มายา..!

Comprehend No self...
See.. delusion is delusion.
No delusion is also delusion..!

6 กรกฎาคม 56
***************



ปัจจุบันขณะนั้นนิ่งสงบสงัด
โปรดอย่าได้เข้าใจว่า "ปัจจุบันขณะ"
เป็นเพียงทางผ่านของอดีต ไปสู่อนาคต

ในความสงบนิ่งตั้งมั่นนั้น
มันแทบจะเป็นการขึ้นอยู่เหนือ "กาลเทศะ" เลยทีเดียว

ถ้าคุณเข้าใจเพียงว่ากาลทั้งสาม
เป็นความสืบเนื่องกันแล้ว
คุณจะติดอยู่ในวัฏฏะวน...นานเท่านาน

แต่ถ้าคุณดำรงอยู่ในปัจจุบันอันนิ่งสงบงัน อย่างลึกซึ้งแล้ว
มันเหมือนการดำรงอยู่ที่ไร้กาละ
เป็นอิสระจากอดีต หลุดพ้นจากอนาคต
ไม่ติดอยู่ในทุก ๆ ขณะ ที่สัมผัส

ทั้งนี้เพราะ...?
มันเหมือนขณะแห่งการกระโดดออกไปจากกระดาน...

ก่อนจะลงสู่ห้วงน้ำนั้น
คุณลอยตัวอยู่ในความเวิ้งว้าง
ที่ไม่อาจหยุดอยู่ ณ จุดใด

7 กรกฎาคม 56
************



รักษาสติไว้ให้ตั้งมั่น...
ไม่หลงใหลไปตามลักษณะอาการของรูปธรรม

ทั้งข้างใน ข้างนอก หรือท่ามกลาง
จิตปลดปล่อยตัวของมันเองออกจาก
สิ่งที่ได้รับรู้มาทั้งหมด

เมื่อไม่สะสม ไม่มีความเกาะเกี่ยว ขัดแย้ง
หรือผูกพันอยู่กับสิ่งที่ถูกรู้แม้เพียงขณะเดียวแล้ว...
ใครกันเป็นผู้รู้ ?

Be conscious…
Don’t be passionate to the characteristic of form.

Inside, outside, or in between,
mind is liberated from all seen objects by itself.

When there is no accumulation, attachment, conflict,
or bondage to the seen objects even one moment,…
who is the seer?

ชีวิตชีวาเซน-Lively Zen
10 กรกฎาคม
***************



อริยจิต 真如心 นั้นมีอยู่จริง
มายาจิต 妄想心 ต่างหากที่เป็นสิ่งลวง

สิ่งนั้นกับเงา : บารมี ศรีอริยทรัพย์

..
..
無心是道場
อู๋ ซิน ซื่อ เต้า ฉาง :

ความไร้จิต คือวิหารธรรม

หลักธรรม : บารมี ศรีอริยทรัพย์

Fb : Clearmind Zhao Ping
..
..
ไม่หลุดเข้าสู่ความเวิ้งว้าง
แต่ก็ไม่ลื่นไหลไปกับผัสสะ

หาใช่หลบหลีกภาวะภายนอก
แล้วมาจมอยู่กับภายใน

ไม่ใช่ยึดถือการรับรู้ที่หลากหลาย
แต่จงชัดเจนอยู่ทุกขณะ

เมื่อการแสวงหาได้สิ้นสุดลง
"ผู้ค้นพบ" ก็ต้องจบลงด้วย..!

สูงสุดคืนสู่สามัญ : บารมี ศรีอริยทรัพย์
..
..
อย่ายื้ดเยื้อกับสังสารวัฏฏ์
ตัวตนนั้น ไม่อาจเติมเต็ม!
สงัดจากความเกิด เดี๋ยวนี้

Zen อไทฺวตธรรมทวาร
8 พฤศจิกายน 2013




........ หน้าตาของจิต ......
เมื่อมีการแล่นออกไป ย่อมมีการย้อนกลับคืน
เป็นธรรมดา ของภาวะแห่งการสะท้อนผกผัน !
หากความนิ่งสนิท ไม่มีการแล่นตามสิ่งใดไป
และไม่ใช่การพยายามหยุดอยู่ กับภาวะอื่นใด !
มันรำงับลงเอง อย่างไร้ความพยายามกดข่ม
คล้ายนกได้คืนสู่รัง ไม่มีการสยายปีกโผบิน !
ดุจดั่งผิวน้ำราบเรียบ สนิทนิ่งปราศจากคลื่น
มันอาจสะท้อนทุกสิ่ง แต่ไม่เคยได้เป็นสิ่งใด !
.
.
.
10/5/2558 บารมี ศรีอริยทรัพย์
ชีวิตชีวาเซน-Lively Zen
10 พฤษภาคม เวลา 21:59 น. 2558
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 13, 2015, 03:39:46 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
ชีวิตชีวาเซน-Lively Zen.. ณ ขณะเริ่มต้นนั่นเองคือทาง ...
.
"สสารย่อมไม่สาบสูญไปจากโลกนี้ ฉันใด,
ดวงใจอันเปี่ยมเมตตา ก็ยังรอเวลาพรั่งพรู".
.
A : กราบสวัสดีครับ กระผมมีเรื่องรบกวนสอบถามท่านอีกเรื่องหนึ่งครับ !
B : หากเรื่องนั้นมันเกี่ยวอะไรกับคุณ ก็เชิญถามได้.
.
A : ครับ , มีความจำเป็นสักกี่มากน้อย
ที่ผู้ฝึกเซนจะต้องหยั่งเห็นความว่าง หรือได้ยินเสียงของความเงียบครับ !?
.
ครั้งหนึ่ง เมื่อตัวผมเองฝึกเซนอยู่ ในครั้งที่ยังยึดมั่นหนัก ว่า "มีพุทธะ" ,
สภาวะแห่งความว่าง และความเงียบไม่ใช่เป็นแค่คำบอกเล่าอีกต่อไป.
.
แต่แล้ว ... ผมกลับถูกขังอยู่ในนั้นร่วมเดือน !
.
B : ยังดี ที่คุณเพียงติดอยู่กับมันแค่ร่วมเดือนเท่านั้น,
ผลของสมาธิบางอย่างอาจนำจิตไปติดอยู่เป็นกัลป์ !
.
A : ดีที่ครั้งก่อนโน้นในสนทนากับเจ้าประคุณ ซึ่งท่านได้เปรียบเทียบ
เรื่อง "ก้อนเมฆกับท้องฟ้า" , ความบ้าบอตอนนั้นเลยหายไป
.
ที่ต้องขอสอบถามเรื่องนี้ก็เพราะว่า
หากคำแนะนำของผมได้ไปกักขังใครเข้าแล้ว,
การฝึกฝนเซนของเขาคนนั้นคงต้องลำบากไม่ต่างจากครั้งที่ผมโดนมา
.
การสนทนาเมื่อสมัยแรกๆ โน้นเลยครับ , ท่านเคยกล่าวว่า
.
"ความรู้สึกคิดนึกนั้น เป็นดั่งกลุ่มก้อนของเมฆหมอก,
แต่สิ่งดั้งเดิมเปรียบดั่ง ท้องฟ้ากว้างใหญ่ไร้ขอบเขต,
สิ่งนั้นมันไม่เกี่ยวอะไรๆ กับความแปรปรวนในหมู่เมฆ"
.
ผมจึงได้หลุดจากความเวิ้งว้างที่ปราศจากขอบเขต
หลุดออกมาจากความสำคัญมั่นหมาย ว่า "มีพุทธะ" !
.
ตอนนี้ก็เลยนึกย้อนกลับไปดูว่า
ทำไมหลังจากที่พิจารณาของคู่จนละเอียดแยบคายดีแล้ว,
จึงเห็นกระแสของอารมณ์ความคิดปรากฏ แต่ไม่ไปฝืนดับ,
เพียงแค่มองดูจนมันสลายคลายตัวลงไปเอง
.
พอไปอ่านคำสอนฮวงโป ถึงช่วงที่ว่า
.
"ดังจะเห็นได้ในเมื่อดวงอาทิตย์ผ่านไปในที่ว่างนั้น ย่อมส่องแสงไปได้ทั้งสี่มุมโลก
เพราะว่าเมื่อพระอาทิตย์ขึ้น และให้ความสว่างทั่วทั้งพื้นโลก
ความว่างที่แท้จริงนั้น ก็ไม่ได้สว่างขึ้น และเมื่อพระอาทิตย์ตก ความว่างก็ไม่ได้มืดลง"
.
ผมก็ถูกขังทันที ในความว่างที่ปราศจากขอบเขตนั้น
.
ตอนนี้ปัญหาเรื่องการแนะนำการฝึกเซนให้กับผู้อื่น ก็มาติดตรงนี้
ว่าคำแนะนำของผม เป็นวิธีที่ผิดหรือไม่ !!!
อยากสอบถามท่านให้ช่วยแนะนำว่าควรใช้วิธีเช่นไรดีครับ ?
.
B : ปุถุชนเมื่อได้สดับว่า "มีสังสารวัฏฏ์อยู่ เขาก็คิดว่ามันมีอยู่อย่างจีรังยั่งยืน,
เมื่อได้ยินว่าพระนิพพานมีอยู่ทำไมไม่ไป เขาก็รีบดิ้นรนอยากได้สิ่งเที่ยงแท้.
.
เซนแบบปรมาจารย์เว่ยหล่าง และครูบาฮวงไปนั้น
ไม่มีวิธีการอะไรๆ ที่แน่นอนตายตัวหรอก ,
ท่านเพียงแก้ปุ่มปมที่กำลังร้อยรัดนั้นออก !

.
และได้ให้หลักการเพื่อไถ่ถอนอุปาทานในจิตใจของปุถุชน ว่า
.
อาการลักษณะของรูปธรรมทั้งปวง ล้วนเป็นมายาการ
มันเพียงก่อตัวขึ้นจากเงื่อนไข ของธาตุ ขันธ์ อายตนะ.
แม้แต่ในความว่างเปล่าของจิตใจ ที่สามารถสัมผัสได้.
.
สังขารทั้งหลายย่อมตกอยู่ในเงื่อนไขของกาละและสถานที่
คือ มีความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แฝงอยู่ในทุกๆ สัมผัส.
.
จิตเซน มีคุณลักษณะอยู่ 2 อย่าง คือ
覺 เจวี๋ย : แววไว และ 空 คง : เกลี้ยงเกลา
มันจึงสามารถสะท้อนสิ่งต่างๆ ได้ชัดเจน
ไม่ถูกอารมณ์ครอบงำ เมื่อแล่นไปรับรู้ !
.
ความแววไว คือคุณลักษณะของมหาสติที่คมชัดอยู่อย่างต่อเนื่อง,
ความเกลี้ยงเกลา คือจิตที่อิสระ ปราศจากอาสวะ ความเศร้าหมอง.

.
เซน ไม่เคยสอนให้แล่นตามไปพิจารณาที่อารมณ์อื่นใด
และไม่เน้นให้จดจ้อง กลับมาดูที่ความสงบเงียบภายใน
เพราะนั่น ก็คือการติดกับดักมายาของ "ความเป็นผู้เฝ้าดู"
.
A : เพียงคมชัด ขณะต่อขณะใช่ไหมครับ !?
.
B : ความคมชัด ย่อมหมายถึง "ความรู้สึกว่ามีตัวมีตนของผู้ดูได้สลายลง"
มันเป็นเพียงขบวนการที่เชื่อมโยง และสัมพันธ์กันในขณะหนึ่งๆ เท่านั้น.
.
ความรู้และประสบการณ์ใดๆ ต่างก็กระทบสัมผัสเป็นขณะต่อขณะเท่านั้น
.
เมื่อไม่แล่นไปตามอารมณ์ภายนอก และไม่หมกอยู่กับความรู้สึกในภายใน
ขณะไม่ลูบคลำอาการต่างๆ , ความเป็นทั้งหมด 全體現 จึงปรากฏขึ้นแทน.
.
ความว่างเปล่านั้น อาจปรากฏขึ้นเพราะอำนาจของการเพ่งฌานสมาบัติ,
หรือเป็นสมาธิในขั้นใดขั้นหนึ่ง อาจมีปิติ-สุขเจือปนหรือสงัดเงียบล้วนๆ
.
การบรรลุฉับพลัน คือไม่แส่ไปแตะต้องทั้งของร้อนและเย็นเหล่านั้นเลย
และไม่ปรารฏว่ามันเกี่ยวข้องกับสำนึกของความเป็นอยู่มีอยู่ของ "ตัวผู้รู้" !

.
เรื่องนี้สายวัดป่า มักจะเลยเถิดกันถึงขั้นระบุดิ่งลงไปว่า "สิ่งนั้นเที่ยงแท้".
.
A : ครับ ผมเคยได้ลองสนทนามาบ้างแล้ว คุยยากหน่อยครับ
ผู้ฝึกฝนการละความยึดถือ แต่กลับมายึดการฝึกนั้นจนลำบาก.
.
B : เซน เรียกความยึดมั่นถือมั่นในความว่างแบบนี้ว่า 空見 คงเจี้ยน
คือ การติดยึดในลักษณะของอารมณ์ความว่างไร้
ที่ยังเป็นไปตามอำนาจของอารมณ์ฌานสมาธิอยู่,
.
"ความว่าง" ที่พุทธศาสนานิกายเซนดั้งเดิม กล่าวถืงนั้น
มันไม่อาจถูกสร้างขึ้นมาให้เป็นรูปนิมิตที่มีลักษณะเฉพาะ
และไม่ใช่ "อากาสาจิญญายตนะ" ของอารมณ์รูปฌาน,
และไม่ใช่จิตที่ว่างเปล่าปราศจากอารมณ์ความคิดนึก แบบสิ้มสัมปฤดี.
.
ขอให้คุณลองนึกภาพดูง่ายๆ เอาเองก็แล้วกันว่า...
ในชั่วเพียงขณะหนึ่งเท่านั้น จะมีสิ่งใดอาจเข้าไปตั้งซ้อนอยู่ในนั้นได้ !
มันจึงเป็นเพียงประสบการณ์ล้วนๆ ที่เคลื่อนไหวไปอย่างอิสระจากอดีต.

.
A : ใช่ครับ , ในข้อนี้เองครับที่ทำให้ผมคลายจาก "การเพ่ง" ในครั้งนั้น
.
B : ในนั้นไม่มีการเริ่มต้นขึ้นของกาลเวลา คือความคิดนึกปรุงแต่งทางอายตนะ,
ส่วนผลกระทบจากการสัมผัสของรูปนามขันธ์ 5 ก็เป็นสิ่งที่ไม่ไปติดแล้วแต่แรก.
.
A : ขอบพระคุณสำหรับคำตอบมากครับ
.
แต่เดิมผมไม่ได้บวชเรียน หรือถูกฝึกฝนมา
และวิธีการที่อาจารย์ผมใช้นั้นไม่มีคำสอนเลย
มีแต่ไล่ให้ไปหาอ่านศึกษา พอถึงเวลาก็เรียกไปแก้ปริศนาธรรม
ผมเองจึงไม่รู้วิธีเพื่อที่จะแนะนำคนอื่น จึงได้แต่แนะนำไปตามเท่าที่รู้มาครับ
.
B : หากเป็นการเริ่มฝึกอบรมสมาธิวิปัสสนาภาวนาเบื้องต้นแล้ว
ครูก็อาจให้ใช้ลมหายใจ หรือกายคตาสติเป็นเครื่องกำหนด
.
แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของความเข้าใจที่ถูกต้อง ต่อสังขารทั้งหลาย
จากนั่น จึงเพียรละนิวรณ์ 5 อย่างละเอียดขึ้นไปเรื่อยๆ จนจิตเกลี้ยง.
.
ในยุคราชวงค์ซ้อง เคยมีพระอาจารย์เซน 大慧宗杲 ต้าฮุ้ยจงก่าว
ท่านผ่านความสงบอย่างล้ำลึก ตามแนวเซน曹洞 เฉาต้ง(โซโตะ)
.
เมื่อเห็นอุปสรรคของความสงบเงียบ แบบที่จิตเงียบลงไปเฉยๆ
จึงหันมารุกฆาตแบบรินไซเซน โดยใช้ฮั้วโถว เป็นเครื่องกำกับจิต,
ไม่ให้จิตเลื่อนลอยไปกับอารมณ์สงบ หรือนิมิตพิสดารอย่างอื่น.
.
ท่านเซียงเอี๋ยนเอง ก็โดยพิษร้ายจาก "話頭 ฮั้วโถว" เข้าไป
จนต้องหุบปากนิ่งอึ้ง ไม่สามารถจะใช้รูปนามออกมาตอบได้
ว่า "ก่อนที่พ่อแม่เธอจากเกิดมา หน้าตาของเธอเป็นเช่นไร" !
นี่ก็คือ ความน่าอัศจรรย์อย่างหนึ่งของวิธีการแบบรินไซเซน.
.
และแล้ว...เรื่องมันจึงไปจบที่การปลีกตัวออกไปอยู่วิเวก
ด้วยความมุ่งมั่นในปฏิปทา ที่ไม่ใช่แค่บวชเพื่อล้อใครเล่น
ผลจึงตามมาแบบเป็นไปเอง จนท่านได้พบในสิ่งเดียวกัน
ที่ปรมาจารย์เซนทั้งหลายในอดีตเคยได้เคยพบมา นั่นคือ !
.
A : จิตหนึ่งครับ !
.
B : นี่ยังเป็นเพียง คำบัญญัติ สมมุติขึ้นเรียกกันเท่านั้น
แต่ไม่ใช่การระบุเป็นตัวเป็นตน หรือเป็นอย่างไรอีก !
.
A : ครับ , ครั้งหนึ่งผมไม่พูดเลย แต่ก็ถูกดุเหมือนกันครับ
.
ท่านว่า (อาจารย์ผม) โดยภายนอกนั้นเธออาจตั้งชื่อให้ โดยภายในนั้นล้วนไร้ชื่อ
จงเลือกที่จะพูดและไม่พูด , แต่นั่นก็หาใช่สาระสำคัญของความเข้าใจในสิ่งนั้น !
.
B : ในระหว่างทางแห่งการฝึกฝนม้านั้น คนขี่ม้าย่อมใช้การตวาด
และเฆี่ยนตีบ้าง นั่นเป็นเรื่องธรรมดา จนกว่าม้าจะวิ่งถึงเส้นชัย.
.
A : ขอรับ
.
B : เคยมีอาจารย์เซน 金碧鋒 จินปี้ฟง เป็นราชครูในยุคราชวังถัง
มีความชำนาญและชอบเข้าสมาธิพักในนิโรธสมาบัติแบบลึกบ่อยๆ
.
เมื่อยมฑูตขึ้นมาตามหาท่าน แต่กลับไร้ร่องรอยของบุคคลชั้นราชครู,
ยมฑูตเกือบจะต้องพากันกลับมือเปล่า โดยไม่ได้ตัวผู้ถึงวาระต้องตาย.
.
ในขณะที่จิตรำงับลงลึกนั้น มันก็ดูคล้ายๆ กับว่าไร้ร่องรอย,
แต่เมื่อถอนออกจากสมาธิ ท่านก็ยังตกอยู่ในอำนาจของขันธ์
ท่านสะดุ้งตกใจ , จนถูกสายลับของยมบาลจับตัวได้ในที่สุด.
.
เรื่องนี้มีหลักฐานบันทึกอยู่ในคัมภีร์เซนแน่ชัด ไม่ใช่เล่าสู่กันฟังสนุกๆ
เมื่อสายลับนรกหมดปัญญาจะหาท่านพบ เพราะขณะที่จิตลงลึกก็เป็น
เหมือนไม่มีอาการ ราบเรียบ-ไร้ตัวไร้ตน หรืออาจเล่นเกมตัวเบาหลอกเด็กๆ
.
แต่จิตที่ยังมีอาสวะละเอียดห่อหุ้มอยู่ ย่อมไม่อาจจะตบตา "นรก" ได้นาน,
พฤติกรรมประจำวันของท่านราชครู หาได้พ้นสายตาของพระภูมิเจ้าที่ไม่.
.
ผีปู่โสมได้บอกแก่สายของยมบาลว่า แม้ราชครูจะเป็นพระผู้มีบุญใหญ่
แต่ก็ยังชอบลูบไล้ของสิ่งหนึ่ง ด้วยความรักอาลัยอย่างสุดซึ้งอยู่เนืองๆ ,
สื่งนั้นคือ บาตรหยก อัญมณีที่กษัตริย์ได้ถวายมาครั้งรับตำแหน่งราชครู.
.
เพียงยมฑูตเคาะบาตรหยกเบาๆ เสียงนั้นก็จะเรียกท่านให้ออกจากสมาธิทันที
และแล้ว เมื่อถอนจิตออกจากภวังค์สมาธิลึก ด้วยอนุสัยที่ยึดติดกับบาตรหยก,
ท่านก็ต้องตกเป็นจำเลยของความเกิดตาย เช่นผู้ที่ยังมีมลทินทั้งหลาย ทันที.
.
เรื่องนี้เป็นอุทาหรณ์เกี่ยวกับ การบรรลุธรรมแท้หรือไม่ ได้เป็นอย่างดียิ่ง
.
แต่ท่านราชครูก็หาใช่ว่าจะติดอารมณ์นาน จึงขอยืมบาตรหยกมาลูบๆ คลำๆ
เพื่อให้ได้สัมผัสกับความเย็นร้อนอ่อนแข็งของมันอย่างจริงๆ อีกสักครั้งหนึ่ง.
.
เมื่อท่านประจักษ์กับสัจจะ ณ ขณะนั้นเอง , จึงตัดใจทุบสิ่งที่ยึดถือมานมนาน
แตกกระจุยกระจายเป็นเศษขยะทันที , จิตของท่านหลุดออกมาจากของหนัก
พบความเป็นอิสะในบัดดล , และได้กล่าวธรรมมีกถาแก่เหล่ายมฑูต ว่า
.
"หากสูเจ้าจะจับกุม จินปี้ฟง , ก็จงไปคว้าเอาจากความว่างเปล่า นั้นเถิด" !
.
ท่านกลายเป็นราชครูผู้ไร้จิต ไร้ลักษณะ , ที่แม้ยมฑูตก็ไม่อาจจะตามหาพบ.
.
A : การเข้านิโรธสมาบัติ เป็นสิ่งที่ควรทำ หรือเป็นเฉพาะในผู้ที่ติดสุขอย่างละเอียดครับ
ในเมื่อท่านราชครูสามารถเข้านิโรธได้ แต่ทำไมยังมีอาลัยในบาตรหยก อะครับ !?
.
จิตบางดวงก็ติดในรสชาติของขนมหวานอาหารเค็ม ติดน้ำบูดู ปลาร้าส้มตำ,
บางดวงติดโลดโผน แตะต่อยชกตี แต่บางดวงละจากสิ่งพรรนี้แล้วหากก็ยัง
มีการเสพในอารมณ์ความสุขสงบในสมาธิอันละเอียดอยู่ ก็เป็นเรื่องธรรมดา !
.
บางท่านแม้จะได้ละจากยศถาบรรดาศักดิ์ภายนอกแล้ว
แต่ก็ยังไม่พ้นจาก อำนาจความพิเศษของญาณในภายใน
ท่านจึงว่า ติดภพน้อยภพใหญ่ ภพหยาบภพละเอียด ไง !
.
A : เข้าใจล่ะครับ
.
B : เรื่องนี้ต้องคุยกันนาน
แต่ก็มีตรัสไว้ใน 楞嚴經 เหลิ่ง เอี๋ยน จิง ศุรางคสมาธิสูตร
เกี่ยวแก่มายาการของรูปลักษณะต่างๆ ของจิต.
ซึ่งล้วนแล้วแต่ไม่ใช่ 真如心 เจินหลูซิน จิตตถาคตะ

.
คิดดูเถิดภารกิจที่ท่านอาสามาเพื่อจะอนุเคราะห์สรรพสัตว์นั้น มันสำคัญเพียงใด !
.
A : แต่เดิมผมเข้าใจได้ว่าหลังจากเข้าใจเรื่องจิตหนึ่งนี้แล้ว ทุกข์-สุข (เนื่องจากความยึด)
เข้าใจสภาพแห่งทุกข์ทั้งหลาย ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และไม่อาจดำรงคงอยู่ได้เลย
.
พอความยึดในตัวตนได้หายไป
ก็เข้าใจว่า ผู้กระทำ-ไร้การกระทำ , ทั้งหมดนี้แล้ว ก็แล้วกันไปเลยครับ !
.
B : มักง่าย !
.
A : ถ้าทำเช่นนี้ การกระทำของพระพุทธองค์ก็เสียเปล่า
ผมเลยต้องหาทางแนะนำคนอื่นๆ เท่าที่พอจะทำไหว
.
แต่ผมยังใหม่ต่อเซน และรูปแบบการสอนธรรมของพระพุทธองค์มาก
ช่วงนี้เลยยังต้องศึกษาอยู่ครับ ว่าควรจะทำอย่างไรต่อไปดี !
.
B : ปุถุชนทั่วไป มีอกุศลจิตละเอียดที่ยังนอนเนื่องอยู่ในขันธสันดาน
อย่างเงียบสงบ, มันยังไม่ได้โอกาสที่จะแสดงตัวออกมาต่างหากเล่า !

.
เพราะตอนนี้ "เฮีย" ยังมัวเพลิดเพลินดวดของหยาบๆ จากริมทางอยู่ !
.

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: 【誰來叩門 ? .. ใครมาเคาะประตู ?
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: ตุลาคม 22, 2015, 08:36:19 am »
A : ** จิตตถาคตะ !? , ผมหาข้อมูลไม่เจอเลยครับ
ขอความกรุณาท่านโปรดอธิบายให้ฟังสักเล็กน้อยได้ไหมครับ !
.
B : ตถาคตะ ก็คือตถาคต
เป็นไวพจน์กับพระนามของพระพุทธองค์ทั้งหลาย
เพียงแต่เน้นไปสู่สิ่งที่พระองค์ได้บรรลุ คืออนุตตรธรรม
หรือ พุทธจิต นั่นเอง
.
A : อ๋อ จิตตถาคต , ขอรับ !
.
B : หากเรายังไม่สามารถแบกรับภาระหนักของคนอื่นได้
ก็ควรจะระมัดระวัง ที่จะไม่เพิ่มทุกข์เพิ่มโทษให้เขาอีก
.
การสอนผิดนั้นแม้เพียงไม่กี่คำ, หากเขาต้องหลงยึดติดในวิธีการ
เพราะคำบอกเล่าของเราแล้ว ผลของมันย่อมจะเป็นสิ่งน่าเศร้านัก.
.
A : ตรงนี้ละครับ ที่ผมได้มาขอคำแนะนำจากท่าน
วิธีการที่ผมเข้าใจนั้นหยาบแต่ตรง ผมพิเคราะห์ดูแล้วว่าหาแบบเดียวกับผมนั้นยาก
.
B : การรอาสาออกมาโปรดสัตว์เร็วเกินไป ก็ย่อมมักจะพบกับอุปสรรคเช่นนี้แหละ
.
ผมได้ยินมาว่า "หากพบผู้ขอความช่วยเหลือ พึงอย่าเฉยเมยต่อเขา"
ส่วนตัวผมเองยังไม่รู้ว่าจะต้องช่วยอย่างไรดีครับ มีแต่ใจอยากช่วย.
.
B : นี่เป็นจิตอันประเสริฐสุดแล้ว , หากปรารถนาจะช่วยคนตกน้ำ
ท่านก็ควรให้เวลากับการเรียนรู้วิธีการ เพื่อที่จะช่วยคนตกน้ำ.
.
A : ขอรับ
.
B : ผมเคยฝึกกฝนอยู่ในสายวัดป่าทางภาคอีสาน
ความสัมพันธ์กับพ่อแม่ครูอาจารย์นั้นลึกซึ้งนัก !
.
เราขอโอกาสก่อนล้างเท้า นุ่งห่มสบงจีวร ทั้งช่วยอาบน้ำเช็ดถูเหงื่อไครให้ท่าน
ตามหน้าที่พระใหม่ที่ต้องฝึกอุปัฏฐากวัตรต่อครูอาจารย์ และช่วงนั้นเองผมได้รับ
บางสิ่งที่ไม่อาจจะเอื้อนเอ่ยออกมาเป็นคำพูดได้ มันมีความตื้นตันอยู่ในส่วนลึก !
.
ส่วนในที่อื่นๆ ผมเพียงมีโอกาสได้จัดโต๊ะเก้าอี้ ให้หลวงปู่ฯ เขียนหนังสือเท่านั้น
.
ธรรมะหาใช่จะได้มาจากลานหินโค้ง หรือธรรมโฆษ์ชุดใหญ่
หากผมได้ซาบซึ้งท่านในจิตวิญญาณ เมื่อท่านให้ผมเรียนเซน
จากแหล่งต้นกำเนิดของวัฒนธรรมโดยตรง คือจากสายจีน
.
สัจจะแห่งเซน ซ่อนเร้นอยู่ในทุกๆ ขณะของชีวิตประจำวัน นั่นเอง
เมื่อมีความซื่อสัตย์เท่านั้น เราจึงอาจประพิมประพายร่วมกับมันได้ !

.
A : สายสัมพันธ์อาจารย์-ศิษย์ของท่านลุ่มลึก เข้มแข็งมากจากการได้อยู่ร่วมกัน
.
ผมได้ฟังมาว่าอาจารย์ผมท่านเคยบวชสามเณร แต่ไม่ได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุ
ท่านทำงานสอนภาษาอังกฤษครับ วันหนึ่งผมบ่นๆ เรื่องธรรมกายในหน้าเฟสบุ๊ค
แล้วหลุดคำว่า "สุญญตา" , จากที่เที่ยวจดจำมา ท่านจึงถามว่า "รู้จักคำนี้หรือ" ?
.
ตั้งแต่นั้นมาท่านก็กรุณาต่อผมมาก แม้ไม่เคยรู้จักกันแต่ก็ชี้ทางศึกษาเซนให้ครับ,
ทางเฟสบุ๊ค ได้เจอตัวจริงท่านบ้างเป็นครั้งคราว เพราะท่านใช้ชิวิตแบบฆราวาส
.
ผมไม่มีภูมิปัญญาในเรื่องคำบาลีและเนื้อหาธรรมจากที่พระพุทธองค์สอนเลยครับ
เพราะก่อนนี้เป็นชาวพุทธแค่ในสูจิบัตร แต่ยังไม่รู้เรื่องธรรมะอะไรๆ เลยครับ
.
B : ถึงตอนนี้ ท่านเองก็คงทราบแล้วสิว่า "ไอ้เรือง" ควรจะมีขั้นตอนต่อไปอย่างไร.
.
A : ครับ
.
B : ผมไปที่จีน ยุคหลังปฏิวัติวัฒนธรรม และเพิ่งเริ่มจะเปิดประเทศ
ที่นั่นเพิ่งเริ่มจะฟื้นฟูศาสนา การค้นหาผู้บรรลุเซนที่แน่แท้นั้นยังยาก
ที่วัดเกาหมิน หยางโจ ซึ่งท่านซวีหยูนบรรลุธรรมตอนอายุได้ 56 ปี
ก็เพิ่งจะมีการจัดระบบกันใหม่ๆ จึงเป็นเรื่องของ 規矩 กุยจี๋ กฏระเบียบ
และรูปแบบเสียส่วนใหญ่ จึงดั้นด้นต่อไปถึงเกาหลีใต้ และได้ซบลง
ณ เบื้องบาท ซาบซึ้งเมตตาของท่านซุงซาน และซูบองเซนมาสเตอร์
.
ท่านซุงซานได้กระชากหัวใจของผม ลงไปกองกับพื้น ที่เกาะฮ่องกง
ด้วยเพียงคำถามเดียว , ทำเอา "อัตตา" ที่ศึกษาพุทธวจนะมาร่วมสิบปี
ต้องกระจุยกระจายแหลกละเอียด ไร้ความน่าเชื่อถือ ลงในทันที,
เช่นท่านเซียงเอี๋ยนโดนเข้าจังๆ แบบไม่เกรงอกเกรงใจกันเลยแหละ
.
A : ^ ^ ครับ ส่วนกระผมก็โดนตบ มาหนักเหมือนกันครับ
.
B : ท่านถามว่าผมบวชมานานเท่าไร , เก้าปีขอรับ !, ผมตอบ
ฉันขอถามอะไรสักข้อได้ไหม ? , ท่านรุกถามต่อ
โอ้...แน่นอน. ถามมาเลยครับท่าน , ผมพร้อมรับการท้าทาย !
.
ธรรมะคืออะไร ? What is Dharma ?
.
ผมตอบอย่างมั่นอกมั่นใจในทันที..."ธรรมะก็คือ อริสัจจ์ 4 ,
เรื่องทุกข์ และการดับความทุกข์ นั้นไง " !
.
ท่านสวนกลับทันควัน...
"แม้ว่าเธอได้ศึกษาธัมมะธัมโม มาเป็นเวลาตั้งนานแล้ว
แต่ทำไม "ธรรมะของเธอ" จึงยังมีเหลืออยู่ตั้งมากมาย"

.
ที่ประชุมต่างหัวเราะฮากันตึงใหญ่ ทำเอาผมรู้สึกหน้าแตก !
.
นี่เป็นเพราะ ผมรู้เพียงหลักธรรม แต่ไม่รู้จักความร้ายกาจของเซน.
.
หากท่านก็ไม่ได้ทอดทิ้งผม กำชับให้เรียนเซนกับท่านซูบอง
ศิษย์ผู้ผ่านการ 印可 อิ้งเข่อ รับรองการบรรลุเซนจากท่านแล้ว
.
และในเวลาอีกไม่นาน
ผมก็ได้เข้าพบสนทนากับอาจารย์ซูบองผู้นิ่มนวล
.
ท่านถามว่า มีอะไรจะถามท่านไหม ! , ไม่มีครับ ผมตอบ ,
ท่านจึงขอถามผมว่า "คุณมาจากที่ไหน" ? Where are you came from ?
.
คำถามที่ดูเหมือนดาดๆ ธรรมดาๆ แค่นี้เอง
ทำเอาโลกของผม "หยุดชงักลง" ในทันที !
.
A : อ้า...., ทำไมหรือครับ !
.
B : ...!
.
A : หากกระผมรบกวนท่าน บอกได้ทันทีน่ะครับ ,
ทำไมที่จีน เกาหลี ญี่ปุ่นถึงได้จริงจังกับเรื่องนิพพานมากกว่าที่นี่ละครับ
แม้แต่วัดข้างบ้านผม
ก็ไม่มีการพูดคุยถึงเป้าหมายนิโรธของพระพุทธองค์กันเลยสักครั้งเดียว
แต่ที่โน่นหยิบยกขึ้นมาคุย เป็นส่วนหนึ่งกับปัจจุบัน
.
B : ขณะฝึกฝนเซนนั้น กิจวัตรทุกเรื่องทุกขั้นทุกตอน ล้วนชี้ตรงมาที่จิต
.
อาจจะเป็นเพราะสายธารนี้ ได้หรั่งไหลมาจาก "จอมปรมาจารย์ตั๊กม้อ"
ผู้มีเพียงใจที่เกลี้ยงใสดวงเดียว นี้ ก็อาจจะเป็นได้มันจึงเป็นอย่างนี้.
.
และเซนก็ไม่เคยสอนให้สาวกหลบหลีกปรากฏการณ์ แม้สักขณะเดียว
หากแต่ให้ใช้ชีวิตประจำวันอย่างเห็นคุณค่า และไม่ทอดทิ้งสรรพสัตว์.

.
ความนื่งอึ้งตะลึงงัน ที่ท่านซุงซาน ได้ทำให้หัวใจของผมล่มสลายลง
หมดความเชื่อมั่นในภูมิความรู้เชิงพระปริยัติธรรมที่สะสมมา ยังตราตรึง
.
จึงมิอาจกล้าที่จะเผยอปาก ตอบไปว่า มาจากเมืองไทย หรือจากกว่างโจว,
แต่มันก็ยังงุนงง หน้าตึงหัวใจเต้นระรัว ไม่รู้ว่าจะแหยมวาจาสาธกออกไปอย่างไร !
.
ผมรู้ด้วยสัญชาตญาณว่า ท่านกำลังจะชำแหละ "กึ๋น" ของผมออกมา
จึงได้แต่เพียงนิ่งและเงียบลงสักครู่หนึ่ง เพื่อจะได้หายใจให้ทั่วท้อง,
.
การเงียบลงไม่เปิดปากพูดอะไรอื่นออกมาในช่วงนั้น นั่นเอง
ทำให้เราทั้งสองมีโอกาสพบกับช่วงว่างๆ และมองกันและกันสักครู่,
.
แล้วผมก็จนมุมต่อครูผู้ทั้งสุภาพและอ่อนโยนเช่น 秀峰禪師 ซูบองอาจารย์เซน
ท่านแตกต่างจาก 崇山禪師 ซุงซาน ที่ทั้งดุเดือดและไม่มีความเกรงใจเลย
.
ระหว่างที่ไร้คำจำนรรจาของทุกคนนั้นเอง ความเงียบก็ปรากฏขึ้น,
ผมรู้สึกได้ว่าภายในใจนี้ ได้ยอมต่อท่านอย่างศิโรราบไม่ทะลึ่งอีก !
.
และพูดออกไปอย่างซื่อๆ ว่า "不識 ไม่รู้ครับ" !
จากนั้นท่านก็ยังคงมอง และพินิจดูผมอยู่อย่างเงียบๆ
สักครู่หนึ่งจึงพูดออกมาอย่างแผ่วเบาว่า ....

.
A.: ว่าอะไรครับ !!!
.
B : แทนที่ผมจะได้ยินเสียงสำเนียงอันน่าชื่นชมของท่านผู้นี้
แต่กลับได้รับการแตะด้วยไม้เซนประจำตัว และกดลงที่หัวเข่าเบาๆ
.
ผมนิ่ง และจดจ่อคอยดูอยู่ว่า...จะมีอะไรตามมาอีกหนอคราวนี้ !
.
"如是 นั้นแหละ ...
我的弟弟 น้องรักของฉัน !
.
ในขณะที่เธอยังไม่รู้จักมัน นั่นแหละ, ตัวฉันเองก็ยังไม่รู้เหมือนกัน,
ณ ขณะที่จิตของเธอนิ่งลง ก็เหมือนกับจิตของทุกๆ คนที่ได้นิ่งลง
มันไม่แตกต่างกัน, จิตเซนเป็นจิตเริ่มต้น ที่ยังไม่แล่นไปรู้อะไรเลย.

.
A : โอ้ ! ขอบพระคุณครับ
อันนี้ที่พระอาจารย์ซูบอง พูดเหรอครับ !
.
B : ทันใดนั้นเอง
ผมเกิดความรู้สึกหมุนติ้วๆ ที่ท้องน้อย
และสะอึกสะเอื้อนออกมาเหมือนเด็กๆ
.
มันไม่มีแม้แต่เสียงที่จะเปล่งออกมา เป็นแต่อาการเหมือนกับว่าใจจะขาด
จึงได้เพียงแต่สะอึกสอื้นร้องไห้ โฮ...ออกมาลั่นศูนย์เซนฮ่องกง
ท่ามกลางความงุนงงของผู้คน ที่นั่งสมาธิรอคิวเพื่อเข้าพบอาจารย์เซน
.
นี่อาจจะเป็นจังหวะต่อเนื่องจากคราวก่อน ที่ได้พบท่านซุงซาน
ช่วงหลังจากได้นั่งร่วมวงทานอาหารกลางวัน ในศูนย์ฯ
.
มันเป็นช่วงหลังจากที่ผมได้เลือกการจาริกออกจากไชยา
พร้อมกับจิตที่ลุกโชนเมื่อได้ศึกษาเซนเว่ยหล่าง ฮวงโปมาแล้ว
.
และต่อมาได้รับคำแนะนำท่านซุนซานบ้างเล็กน้อย จากวัดกวนอินที่สิงคโปร์
จากนั้นผมจึงได้มีโอกาสไปเรียนภาษาจีนที่กว่างโจว เมื่อทราบว่าท่านอาจารย์
จะมาแสดงพุทธธรรมแนวเซนที่ฮ่องกง ผมจึงลาโรงเรียนออกมาร่วมในงานนี้
.
A : ครับ
.
B : การพบกันครั้งนั้นมันจุดประกายขึ้นอย่างน่าอัศจรรย์
จากนั้นก็ไปเรียนต่อที่ไต้หวันอีกสองปี จึงได้ไปกรุงโซน
เพื่อเข้าร่วมงานภาวนาประจำปี winter time 100 วัน
.
เป็นเรื่องที่น่าเศร้ามากสำหรับผมและศิษย์ทุกคน
ที่หลังจากการพบกันกับซูบองครั้งนั้นไม่นาน ท่านก็ละสังขาร
.
ช่วงร้อยวันในงานภาวนาภาคฤดูหนาว winter time
ผมได้มีโอกาสพบกับบุคคลสำคัญในสายธรรมนี้หลายท่าน
และต่อมาท่านเหล่านั้น ก็ได้รับภารกิจอันสำคัญยิ่งสืบมา
.
วันนี้ครูทั้งสองได้สลายกลายเป็นหนึ่งกับธาตุทั้งหลายไปแล้ว
แต่พลังแห่งจิตวิญญาณของเซน ยังอบอุ่นและสืบทอดอยู่ในใจ
.
ผมคิดว่า หากท่านเมตตาจะอนุเคราะห์เพื่อนผู้มีวาสนาร่วมกันแล้ว
ก็อย่าได้ลังเลใจ ชีวิตหนึ่งหากเราสามารถช่วยลูกแมวตกน้ำสักตัว
ก็นับเป็นบุญอันมหาศาล และเราทั้งหลายก็ยังจะต้องได้พบกันอีก
.
อย่างแน่นอน !
.
สสารย่อมไม่สาบสูญไปจากโลกนี้ ฉันใด,
ดวงใจอันเปี่ยมเมตตา ก็ยังรอเวลาพรั่งพรู.
.
ขอความสุขสวัสดีจงมีแก่ท่าน และครอบครัว
.
ผมต้องขึ้นไทเป เพื่อร่วมภาวนากับวัชรจารย์พักชก รินโปเช คืนนี้
.
ขออานิสงส์ผลบุญอันจะพึงมีในงานสมาธิภาวนาทั้ง 4 วัน นี้
จงแผ่ไปยังสรรพสัตว์อย่างถ้วนหน้า จงทุกท่านทุกชีวิต เทอญ !
.
A : ขอคารวะพระอาจารย์ วันนี้ศิษย์ได้ฟังเรื่องเล่าทั้งหมด
รับมาพิจารณาและปฏิบัติแล้ว , ขอให้ท่านเดินทางโดยสวัสดิภาพครับ
.
.
เครดิต : เฟสบุ๊ค 9/10/2015 บ่าย ไทจง
Fb : Cherdsak Joomprabut
Page : ชีวิตชีวาเซน-Lively Zen
https://www.facebook.com/livelyzen

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: 【誰來叩門 ? .. ใครมาเคาะประตู ?
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: กันยายน 07, 2017, 07:49:47 am »

Page : ชีวิตชีวาเซน-Lively Zen
9.7.2017

เกลือเค็มไหม ?
B : ขณะนี้ เกลือเค็มไหม !
A : เค็มอยู่เสมอ เมื่อเราชิมมันค่ะ
B : เธอแอบอมเกลือไว้ในปากมาตั้งแต่เมื่อไหร่ ?
A : ... ^__^ ...
B : อารมณ์สมมุติและบัญญัตินั้น จะว่ากันไปอย่างไรก็ช่างเถอะ
แต่ความเป็นจริงหรือตัวปรมัตถ์แล้ว ถือเอาสิ่งที่กำลังสัมผัสอยู่
เมื่อสติแนบแน่นกับปัจจุบันขณะอย่างต่อเนื่องแล้วเท่านั้น
วิปัสสนิกผู้พากเพียรจึงอาจแจ่มแจ้งความจริงขั้นปรมัตถะ
A : กราบขอบพระคุณค่ะ (-/\-)

B : วันนี้เป็นวันคล้ายวันละสังขาร
ของหลวงพ่อเทียน จิตตสุโภ ( 5 กันยายน )
ครั้งหนึ่งที่อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย
ได้มีการสอบอารมณ์ผู้เข้าฝึกกรรมฐาน
ท่านพระมหาวันทอง วิปัสสนาจารย์ชาวลาว
ได้สอบอารมณ์กรรมฐานของอุบาสกพันธ์ อินทผิว
โดยถามถึงความเค็มของเกลือว่า "เดี๋ยวนี้เกลือเค็มไหม ?"
อุบาสกพันธ์ฯ ตอบว่า...
"ตอนนี้เกลือไม่เค็ม เพราะลิ้นไม่ได้สัมผัสความเค็มของเกลือ"
อารมณ์กรรมฐานนั้นต้อง "สดใหม่เป็นปัจจุบันขณะ" อยู่เสมอ
A : ค่ะ ไม่คว้าเอาอารมณ์อดีตมาตอบ ค่ะ

B :
ความเป็นปัจจุบันขณะนั้น ก็คือไม่มีอารมณ์ใดอาจตั้งค้างคาอยู่
จึงเกิดปัญญาญาณและหลุดออกมาจากอารมณ์สมมุตติทั้งหมด
A : (-/\-)
B :
อดีต ปัจจุบัน อนาคต ล้วนเป็นกาละ และสถานที่ก็เป็นสมมุติ
เป็นการปรุงแต่งของความคิด ที่มันสามารถคิดสร้างขึ้นมา
เมื่อเข้าใจแล้ว ก็อย่าได้เผลอสุดโต่ง กลายเป็นคนขวางโลก
ผู้แจ่มแจ้งควรโอนอ่อนตามสมมุติของโลกบ้างอย่างรู้เท่าทัน
A : กราบขอบพระคุณค่ะ -/\-
6/9/2013 สศอ
..
..
ชีวิตชีวาเซน-Lively Zenรู้สึกผ่อนคลาย
6 กันยายน 2015 ·

. อีกด้านหนึ่งของความมืด 黑暗的另外一邊
B :
การภาวนาแบบโบราณนั้น เป็นไปทุกลมหายใจจนตลอดชีวิต
ให้กลมกลืนกับสรรพสิ่ง เพราะชีวิตนี้ก็เนื่องอยู่กับสิ่งเหล่านั้น
เมื่อพ้นจากอิทธิพลความเห็นขัดแย้งทั้งสองขั่ว ก็อยู่เหนือมัน

สัมมาสมาธิไม่ใช่การกล่อมจิตให้เชื่องลงเหมือนการสะกดจิต
แต่ต้องให้จิตตื่นตัวต่ออารมณ์ที่ผ่านเข้ามากระทบทุก ๆ ขณะ
ข้ามพ้นความสงบแบบสมถะ ทั้งขณะที่นิ่งและขณะเคลื่อนไหว

พบกับความแววไวของพลังสติสัมปชัญญะ
ที่พรั่งพรูไหลออกมาอย่างเหนือการคาดคิด

จงผ่อนคลาย ก้าวเดินไปมาอย่างนิ่มนวล เนิบช้า
ให้จิตคมชัดต่อความจริงของกายใจ อย่ารีบร้อน

ขณะต่อขณะ ความชัดเจนก็จะมีกำลังถี่ขึ้นเรื่อย ๆ
จนสามารถเข้ายึดกุมสถานการณ์ไว้ได้อย่างทั่วถึง

ยินดีและเชื้อเชิญแขกจร ให้เข้าร่วมสังสรรค์กับเจ้าบ้าน
จากนั้นอารมณ์ก็กลายเป็นเกลอของสติ แล้วเกื้อกูลกัน

เมื่อกราบคารวะนั้น หน้าผากต้องจรดกับพื้น
สองมือคว่ำลงก่อน แล้วค่อยหงายขึ้น
เป็นสัญญลักษณ์ว่า....
วางความยึดติดลงทั้งหมดก่อน แล้วค่อยยกชูขึ้นมาใหม่
วางความโง่หลงทั้งหลายลง แล้วพลิกภูมิปัญญาขึ้น
วางภารหนักของตัวตนแล้วเกื้อกูลสรรพสัตว์ไปอย่างไร้ตัวตน

การช่วยเหลือผู้อื่นในวิถีโพธิสัตว์ ไม่ใช้วีรกรรมของเอกชน
แต่เป็นการเชื่อมโยงของสิ่งดำรงอยู่ แบบมีบูรณาการร่วมกัน
เหมือนสายธารเล็กไหลไปหาแม่น้ำใหญ่ และลงสู่มหาสมุทร

ดั่งหยดน้ำที่ซาบซึ้ง ว่าตัวมันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับมหาสมุทร
เมื่อสรรพสัตว์ตระหนักว่าพุทธะคือสิ่งนี้ ก็ไม่มีความแตกต่างอีก

กับผู้ที่ยังไม่ได้ทุ่มเทจริงจังนัก ก็อย่ามัวไปเสียเวลาให้มากนัก
การฝึกฝนที่เป็นไปอย่างต่อเนื่องเท่านั้น ที่จะสามารถให้ผลเร็ว

แต่ละคนคงต้องการแสวงหาความลงตัวที่พอเหมาะกับตนเอง
เมื่อย้อนเข้ามาดูตัวเอง ในที่สุดก็ไม่วายต้องเลือกทางของตน

ไม่มีบทบาทหลากหลายบนเวที ให้ต้องมาแสดงซ้ำซากหรอก
ถ้ามัวตกร่องอยู่กับความเพลิดเพลินอย่างนั้น นั่นสิ น่าเป็นห่วง

ผู้แสวงหามีสองกลุ่มใหญ่ คือพวกอนุรักษ์กับพวกชอบประยุกต์
จิตวิญญาณแบบเซนนั้น เริ่มต้นที่พระศากยมุนีพุทธเจ้าที่อินเดีย
เซนเป็นสายประยุกต์วิธีการ แล้วมากลมกลืนกับวัฒนธรรมจีน
ซึ่งมีลัทธิเต๋าธรรมชาตินิยม และหลักคุณธรรมขงจื้อเป็นพื้นฐาน

ถึงยุคนี้แล้วหากจะมีกลิ่นอายแบบฝรั่งปะปนก็ไม่นับว่าเลยเถิด
เพราะเดิมทีนั้นเซนเป็นพวกชอบความลัดตรง ฉับไว ไม่เซื่องซึม
แต่นานวันเข้าวิธีการเหล่านั้นเองกลับทำให้เซนเชื่องช้า งุ่มง่าม

A : ค่ะ (-/\-)

B : อย่าลืมนะ ...
หากไร้ความเข้าใจเรื่ององค์รวมความสัมพันธ์แบบบูรณาการแล้ว
การงานทุกอย่างก็ไปต่อยาก หรือไม่มีทางสำเร็จประโยชน์ได้เลย

เหมือนกับปัจจยการของเรื่องธาตุ อายตนะ ผัสสะนั่นแหละ
หากไร้ปัจจัยภายใน ปัจจัยภายนอก และการกระทบกันแล้ว
ก็จะไม่มีวิญญาณการรับรู้ทั้งหกทาง ในท่ามกลางนั้นได้เลย

A : จะจดจำไว้ค่ะ กราบขอบพระคุณค่ะ -/\-

B : หมายความว่า ...
เราต้องขอบคุณความทุกข์ยาก และอุปสรรคทั้งปวง นั่นเอง
เพราะอุปสรรคขวากหนาม ก็คือที่มาของปัญญาและความสำเร็จ
เมื่อเข้าใจจุดนี้แล้ว การวางท่าทีต่อโลกและชีวิตก็เปลี่ยนไป

พระนิพพานนั้นไม่ใช่การหลุดลอยไปอย่างไร้วี่แวว !
สังสารวัฏฏ์ก็ไม่ใช่ฉากโหดร้ายของนิยายเรื่องเศร้า

รสเปรี้ยว หวาน มัน เค็ม หรือการเกิด แก่ เจ็บ ตาย
ล้วนเป็นลักษณะหนึ่งในความว่างเปล่าของรูปธรรม

รูปลักษณะต่าง ๆ ล้วนมีปัจจัยมาจากรูปลักษณะอื่น ๆ
นี่คือหลักพื้นฐาน

แม้ปัญญาญาณก็ผุดขึ้นมาเมื่อเคี่ยวกรำทำความเพียร
กว่าโลกในซีกนี้จะสว่าง ก็ต้องรอให้อีกซีกหนึ่งหมุนไปก่อน
แต่แกนกลางของโลกนั้น นิ่งสนิท ! ...นี่เป็นการอุปมา

A : ค่ะ

B : กว่าพลังด้านบวกจะได้โอกาสเปล่งประกาย
พลังด้านลบทั้งหลายก็ต้องอ่อนกำลังลงบ้าง

จึงไม่อาจใจเร็วด่วนได้ แบบหวังจะบรรลุในข้ามคืน
อย่างที่มีบางพวกกำลังฟุ้งซ่าน คิดสูตรสำเร็จขึ้นมา

จงมีความเข้าใจที่แจ่มชัด และประจักษ์แจ้งต่อจิตปกติ

A : จะพยายามค่ะ

6/9/2013 สศอ
..
..
ชีวิตชีวาเซน-Lively Zen
21 กันยายน 2013 ·
ชีวิต...เหมือนฟองคลื่นในทะเล
แปรมาจากสิ่งอื่นแล้วเปลี่ยนไปสู่สิ่งอื่น

การใช้ชีวิต...เหมือนงานเลี้ยงที่ต้องมีการเลิกลา
เมื่อคุณเคยได้รับเชิญแล้วก็ควรจะเชิญคนอื่นบ้าง

ความหมายของชีวิต...
คนโง่แสวงหาและสะสมวัตถุ เพลิดเพลินไปวัน ๆ
คนฉลาดมองเห็นเพชรในหิน จึงมุ่งมั่นและอดทน

คุณค่าแห่งชีวิต...
คนเห็นแก่ตัวอยู่อย่างกอบโกยตายไปอย่างอาดูร
คนมีสำนึกอยู่อย่างกลมกลืน จากไปอย่างสงบสุข

21/9/2013 สศอ
..
..
ชีวิตชีวาเซน-Lively Zen
4 ตุลาคม 2013 ·
ดอกไม้สวย เติบโตแล้วจากดิน น้ำ อากาศ ฯลฯ
ภาพสะท้อนที่งดงามก็อาศัยมุมที่เรากำลังมองดู
และจิตที่เปิดออกชื่นชมความงามตามธรรมชาติ

Beautiful flowers grow from soil, water, air, etc.
A nice reflection depends on the aspect we see
and our open mind to appreciate the natural beauty.


Image: Flower story

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: 【誰來叩門 ? .. ใครมาเคาะประตู ?
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: กันยายน 07, 2017, 08:42:41 am »
ชีวิตชีวาเซน-Lively Zen ได้เพิ่มรูปภาพใหม่ 3 ภาพ
1 ชม. ·
. ทางสายนั้นจะนำคุณไปสู่ที่ไหน
เมื่อสร้างเงื่อนไขผูกพันขึ้น ก็มักเรียกร้องสนองอัตตา
นั่นคือทางที่พากันจมลงนรก ต้องเจ็บปวดทุกข์สาหัส
หากรู้สิ่งใดแล้วนำมาซึ่งมานะทิฏฐิ ก็อย่ารู้มันจะดีกว่า
ถ้าคุณเลิกนิสัยความเคยชินที่ให้โทษ นั่นแหละธรรมะ

จิตที่ร้าวรานหมักหมมอยู่ด้วยบาดแผล อันระบมขมขื่น
แม้ได้พบเห็นพระศาสดาเอก ก็ยากจะหายขาดในทันที
ทุกข์ที่ย้อมอยู่ภายในมีเช่นไร ก็ตอบสนองโลกเช่นนั้น
แม้ฟ้าครามและสายรุ้งโค้งอยู่ตรงหน้า ก็ยากจะชื่นชม
ทุกข์ไหนอีกเล่าจะเท่าการยึดถือเอาตนเป็นศูนย์กลาง
สุขล้นเหลือหรือสุขริมทาง ล้วนคล้อยลงสู่ความจืดจาง
เกิดเป็นคนแล้วหากไม่ภูมิใจและแทนคุณโลก ก็เสียที
การเป็นหมัดบนตัวหมา ดีกว่าเป็นคนที่ทนทุกข์ไม่วาย
7/9/2013 สศอ

Where does this path bring you to ?
When you create some attachment,
you always demand something to respond your ego.
That is the path to hell. You will be seriously painful.
If knowing brings conceit, not knowing is better.
If you can stop the harmful habit, that is dharma.
With the injurious mind from a bitter wound,
even meet the prophet one is hard to recover at once.
You respond to the world according to how suffering you are.
Even though the blue sky and the rainbow are in front of you,
it is difficult to appreciate.

Which pain is more painful than clinging self as the center.
Abundant happiness or sideway happiness will tend to dissolve.
Born as a human but never be proud and pay back to
the world is so pity.
Be a cootie on a dog is better than endlessly suffering
human being.