ผู้เขียน หัวข้อ: ติดบุญ-บาปพัวพัน & ...  (อ่าน 1589 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
ติดบุญ-บาปพัวพัน & ...
« เมื่อ: มกราคม 05, 2018, 04:47:12 pm »


"ติดบุญ-บาปพัวพัน"
ความหลงได้ทำให้มนุษย์เข้าใจผิดคิดว่าการสร้างบุญเป็นหนทางแห่งการพ้นเวียนว่ายตายเกิด แท้ที่จริงกลับเป็นการถากถางทางการเวียนเกิด-ตาย ไม่สิ้นสุดนั่นเอง วันหนึ่งเมื่อข้าหลวงอุ๋ยได้ถวายภัตตาหารเจแด่พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงแล้ว ข้าหลวงอุ๋ยได้กราบเรียนถามพระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงว่า

"หลักธรรมต่างๆ ที่พระคุณเจ้าแสดงไปแล้วนั้นเป็นหลักธรรมเดียวกันกับที่พระโพธิธรรมได้วางหลักธรรมสำคัญนี้ไว้มิใช่หรือ" "ถูกแล้ว" พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงตอบ "แต่กระผมได้สดับมาว่า เมื่อพระโพธิธรรมได้พบปะและสนทนากันเป็นครั้งแรกกับฮ่องเต้ เหลียงอู่ตี้ จึงถามพระโพธิธรรมว่าพระองค์จักได้รับกุศลอะไรบ้างจากการที่พระองค์ได้ก่อสร้างพระวิหารการอนุญาตให้คนบวช การโปรยทาน การถวายภัตตาหารเจแด่พระภิกษุสงฆ์ ในครั้งนั้นพระสังฆปริณายกโพธิธรรมถวายพระพรว่า การกระทำเช่นนั้น ไม่เป็นทางนำมาซึ่งกุศลแต่อย่างใดเลย

บรรดาข้าพเจ้าไม่เข้าใจว่า เหตุไฉนพระโพธิธรรมจึงตอบดังนั้น" พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงตอบว่า "ถูกแล้วการกระทำเช่นนั้นไม่เป็นทางนำมาซึ่งกุศลแต่อย่างใดเลย ขออย่าได้มีความสงสัยในคำตอบนี้ของพระโพธิธรรมเลย พระเจ้าเหลียงอู่คตี้เองต่างหากที่มีความเข้าใจผิดและพระองค์ไม่ได้ททรงทราบถึงคำสอนอันถูกต้องตามแบบแผนการกระทำ เช่น การสร้างวิหาร การอนุญาตให้คนบวช การโปรยทาน
การถวายภัตตาหารเจ จะนำมาให้ได้ก็แต่เพียงความปิติอิ่มใจต่างๆ เท่านั้น จึงไม่ถือว่าเป็นกุศล กุศลมีได้

ก็แต่ในธรรมกายซึ่งไม่มีสิ่งใดเกี่ยวข้องกับการทำเพื่อความปิติอิ่มใจเลย" คำกล่าวของพระธรรมมาจารย์ฮุ่ยเหนิง ได้ยืนยันให้เห็นความจริงว่า คำกล่าวของพระโพธิธรรมเมื่อครั้งกระนั้นถูกต้องเพียงแต่มิได้อธิบายหรือมีโอกาสชี้แจงแสดงเหตุผลให้พระเจ้าเหลียงอู่ตี้สดับได้เพราะเพียงได้ยินคำกล่าว่า ไม่เป็นบุญกุศลโทสะจริตก็ครอบงำพระหฤทัยจึงขับไล่พระโพธิธรรมออกไปจากพระราชวัง ดังนั้นถ้าพิจารณาประวัติความเป็นมาของพระเจ้าเหลียงอู่เต้ย่อมประจักษ์ถึงสัจธรรมแห่งการทำบุญว่ามิใช่หนทางแห่งการพ้นไปจากการเวียยนเกิด-ตาย เลย

แต่กลับกลายเป็นการเวียนเกิดมารับผลบุญของตนเองไม่มีที่สิ้นสุด สมัยหนึ่งมีวัดแห่งหนึ่งซึ่งแบ่งออกเป็นสองคณะและต่างก็แข่งขันกันในอันที่ตื่นขึ้นมาสวดมนต์ก่อนนั้น พระคณะเหนือตื่นก่อนและสวดมนต์ได้ทันเวลา แต่พระคณะได้ตื่นสายไม่ทันการณ์ เณรองงค์หนึ่งแห่งคณะใต้มีความสงสัยจึงมาแอบดูว่าเป็นเพราะเหตุใดพระคณะนี้จึงตื่นได้ทันเวลาเสมอ จึงเห็นไส้เดือนตัวหนึ่งเลื้อยขึ้นมาจากใต้ดินส่งเสียงร้อง ปลุกพระคณะเหนือ เณรจึงไปต้มน้ำร้อนมาราดฆ่าไส้เดือนตัวนั้นเสีย แต่เป็นเพราะจิตญาณของไส้เดือนเต็มไปด้วยบุญ

 จึงได้ไปถือกำเนิดเป็นชายตัดฟืนและความใจบุญยังคงติออยู่ในกมลสันดาน ชอบซ่อมแซมสาธารณะสมบัติไม่ว่าจะเป็นสะพานที่ชำรุดหรือศาลาพักร้อนก็ซ่อมแซมให้พ้นจากสภาพทรุดโทรมและชนทั่วไปสามารถใช้การได้เสมอ วันหนึ่งชายตัดฟืนเดินเข้าไปในป่าตามปกติ พบพระพุทธรูปองค์หนึ่งตั้งตากแดดตากฝนอยู่เพราะเพิงได้พังทลายลงไปเสียแล้ว ชายตัดฟืนจึงบูรณะให้อยู่ในสภาพที่เรียบร้อยและไปเก็บดอกไม้มากราบไหว้บูชาพระพุทธรูปเสมอมา แต่มีเหตุการณ์ที่ทำให้ชายตัดฟืนแปลกใจเป็นยิ่งนัก เพราะผลไม้หรือดอกไม้นั้นหายไปเสมอ วันหนึ่งหลังจากนำผลไม้มาถวายพระพุทธรูปแล้วก็แอบดู จึงเห็นลิงตัวหนึ่งมาขโมยผลไม้แลละดอกไม้ไป ชายตัดฟืนเกิดโทสะ ไล่จับลิงแต่ลิงก็วิ่งหนีไปซ่อนตัวอยู่ในถ้ำแห่งหนึ่ง

ชายตัดฟืนจึงขนหินมาปิดปากถ้ำขังลิงไว้เจ็ดวันก็ถึงแก่ความตาย ลิงซึ่งเคยเป็นเณรฆ่าไส้เดือน ตายจากลิงแล้วจึงไปเกิดเป็นโหวจิ่งแม่ทัพแคว้นเว่ย ส่วยชายตัดฟืนเมื่อสิ้นอายุขัยได้ไปถือกำเนิดเป็น

พระเจ้าเหลียงอู่ตี้เพราะผลบุญของการสร้างสาธารณะสมบัติเป็นแรงส่งให้ได้เสวยผลบุญของตน และจิตที่เต็มอิ่มไปด้วยบุญในชาติที่เป็นพระเจ้าเหลียงอู่ตี้จึงใจบุญสนับสนุนให้มีการสร้างวัดมากมาย โดยเฉพาะพระองค์เองได้สร้างวัดไว้อย่างประมาณไม่ได้เดินทางไปห้าสิบลี้ก็สร้างวัดเล็กๆ ขึ้นวัดหนึ่ง ครั้นถึงร้อยลี้ก็สร้างวัดใหญ่ๆ การสร้างบุญจึงเป็นเสมือนหนึ่งการสะสมเงินตราเอาไว้เป็นธนาคารของตนเอง สามารถเบิกจ่ายมาใช้สอยให้ชีวิตมีความสุข คนใจบุญจึงต้องเวียนว่ายไปเกิดเพื่อรับผลบุญของตนเอง เมื่อติดอยู่ในบุญแต่เพียงอย่างเดียว ในจิตจึงมีอกุศลตามมาเสมอเพราะบาปเวรกรรมมิได้กำจัดไป

เพราะฉะนั้นจึงต้องเผชิญต่อบาปที่ตนเองก่อเอาไว้อย่างหลีกเลี่ยงมิได้ พระเจ้าเหลียงอู่ตี้จึงถูกโหวจิ่งแม่ทัพของเมืองเว่ยปิดล้อมพระราชวัง จนอดอาหารตายเช่นเดียวกับสมัยที่เป็นชายตัดฟืนแล้วขังลิงเอาไว้ในถ้ำนั่นเอง การสร้างบุญจึงทำให้จิตใจอิ่มเอิบ แต่มิได้มีกุศลอันเป็นเครื่องตัดกิเลสทั้งปวงในจิต สร้างบุญมากเท่าไหร่แต่อารมณ์ทั้งปวงมิได้ถูกกำจัด ฉะนั้นคนใจบุญจึงยังพัวพันกับบาปไม่มีที่สิ้นสุด ชีวิตจึงยังคงเวียนว่ายตายเกิดเพื่อรับบาปและบุญตลอดไปนั่นเอง
(สูตรของเว่ยหล่าง )
..
..
"อหังการ"
บุญ เป็นเครื่องที่ทำให้เกิดกิเลสในจิตฟูขึ้นจึงกลายเป็นความถือดีอวดดี ทำให้จิตหลงทางได้ง่ายที่สุด กุศล เป็นเครื่องตัดกิเลสมิให้ฟูขึ้น เพราะฉะนั้นจึงแสวงหาได้จากธรรมญาณ ซึ่งเป็นเรื่องภายใน ผู้สร้างบุญมิอาจตัดความยะโสโอหังได้เพราะเป็นสิ่งภายนอกที่ยั่วย้อมให้จิตหลงใหลลืมตัวและเป็นเรื่องที่สร้างได้ง่ายดายนัก ส่วนกุศลเป็นเรื่องที่ต้องค้นพบธรรมญาณแห่งตนจึงเป็นเรื่องยาก พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงกล่าวว่า "การเห็นแจ้งในธรรมญาณเรียกว่า "กง"ส่วนการที่สามารถกระทำให้คงที่สม่ำเสมอเรียกว่า "เต๋อ" และเมื่อใดจิตที่เคลื่อนไหวแคล่วคล่องตามภาวะที่แท้จริง พร้อมทั้งทำหน้าที่อย่างประหลาดลี้ลับของใจเราเอง เมื่อนั้นได้ชื่อว่าเข้าถึงซึ่ง กงเต๋อ"

 คำว่า "กงเต๋อ" มีความหมายว่า คุณธรรม หรือ กุศลกรรม เพราะการค้นพบธรรมญาณของตนเองเป็นการงานที่ต้องจัดการปัดกวาดกิเลสนานาประการออกไปให้หมดและสภาวะแห่งธรรรมญาณปรากฎจึงเรียกว่าคุณธรรม การอธิบาย "กงเต๋อ" จึงมิใช่เรื่องยาก แต่การกระทำให้ปรากฏขึ้นมาจนเป็นธรรมชาติจึงเป็นเรื่องยากนัก พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงกล่าวว่า "การระวังจิตภายในให้คงอยู่ในภาวะที่ปราศจากอหังการจึงเป็น "กง" แต่ที่เป็นภายนอกเกี่ยวกับการวางตัวไว้ในสภาพที่เหมาะสมทุกวิถีทางจึงเป็น "เต๋อ" การที่ว่าทุกสิ่งที่แสดงออกจากธรรมญาณ จึงเรียกว่า "กง" และรู้ว่าส่วนที่เป็นประธานของจิตซึ่งเป็นอิสระจากเครื่องร้อยรัดทั้งปวงจึงเรียกว่า "เต๋อ" การที่ไม่ปล่อยให้จิตวิ่งเตลิดไปจาก ธรรมญาณ จึงเรียกว่า "กง" แต่การที่ใช้จิตให้ทำอย่างใดอย่างหนึ่งโดยไม่เผลอทำให้จิตมืดมัวเสียก่อนจึงเรียกว่า "เต๋อ"

 สภาวะของจิตที่มีกุศลธรรรมจึงล้วนกระทำออกไปด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตนอย่างแท้จริงเพราะยอมรับว่าทุกคนล้วนแต่มีสภาวะแห่งธรรมญาณเหมือนกันหมด และคนที่อ่อนน้อมถ่อมตนจึงเปรียบได้เช่นน้ำพร่องแก้วสามารถเติมน้ำได้ตลอดเวลา แต่คนที่ปราศจากความอ่อนน้อมถ่อมตนจึงเป็นเช่นน้ำล้นแก้ว ไม่อาจเพิ่มเติมน้ำได้อีก ผู้ที่ปราศจากความอ่อนน้อมถ่อมตนจึงไม่อาจสร้างบุญกุศลใดๆ ได้เลยเพราะมีแต่ยโสโอหังดูแคลนผู้อื่นว่าต่ำกว่าตนเสมอ พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงจึงกล่าวว่า "ถ้าแสวงหากุศลภายในธรรมกายและทำตามที่ได้กล่าวนี้จริงๆ กุศลที่ได้รับย่อมเป็นกุศลจริงผู้ปฏบัติเพื่อกุศลจะไม่หมิ่นผู้อื่นและในทุกที่ทุกโอกาสเขาปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความยำเกรงนับถือ

 ผู้ที่ดูหมิ่นผู้อื่นเป็นปกตินิสัยย่อมไม่สามารถขจัดมานะอหังการออกไปได้แสดงให้เห็นว่าเขาขาดซึ่ง "กง" ดังนั้น เขาจึงไม่อาจแจ้งต่อธรรมญาณของตนเองส่อสำแดงให้เห็นว่าเขายังขาด "เต๋อ" คำกล่าวของท่านฮุ่ยเหนิงย่อมชี้ให้เห็นชัดเจนถึงภาวะจิตของคนที่มีกุศลธรรมคือ "กงเต๋อ" ย่อมเป็นคนที่มีมารยาทยกย่องผู้อื่น คนเหล่านี้ย่อมได้รับการยกย่องนับถือตอบกลับคืนไป แต่คนที่เย่อหยิ่งจองหองล้วนได้รับความดูหมิ่นหรือตอบแทนด้วยความรังเกียจของชนทั้งปววง คนสมัยนี้ปราศจากความอ่อนน้อมถ่อมตนเพราะเทคโนโลยีที่เจริญกลายเป็นกิเลสทำให้เขาลืมตัวว่าเก่งกาจกว่าใครๆ ที่ไม่สามารถใช้เทคโนโลยีเหล่านั้น หรือไม่มีความรู้เกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ คนเหล่านี้จึงเจริญด้วย อหังการ

 เพราะฉะนั้นคนในยุคที่เจริญด้วยเทคโนโลยีจึงเป็นผู้ที่อวดดีโดยปราศจากความดีและไร้มมารยาทและพร้อมที่จะสูญเสียความเป็นตัวของตัวเองและกลายเป็นผู้ที่ประจบสอพลอต่อผู้ที่มีความรู้เหนือกว่าเขา โลกจึงตกต่ำและตกอยู่ในอันตรายเพราะ "คุณธรรม" มิได้เป็นเครื่องหล่อเลี้ยงอีกต่อไป แต่อำนาจแห่ง "อหังการ" ครอบงำโลกเอาไว้ ผู้ที่บ้าคลั่งแต่เทคโนโลยีจึงกลายเป็นคนหลงอย่างแท้จริงเพราะเขาเกิดความเข้าใจผิดว่าการครอบครองเทคโนโลยีจึงกลายเป็นผู้ที่มีอำนาจอันแท้จริงสามารถบงการชีวิตของผู้อื่นได้ ความจริงเขาเหล่านั้นแม้ชีวิตของตนเองยังไม่อาจบงการได้เลย และวิทยาศาสตร์เจริญก้าวล้ำหน้าไปเท่าไรแต่ก็ยังไม่สามารถสร้างต้นหญ้าจริงๆ หรือแม้แต่มดตัวน้อยสักตัวหนึ่งได้ มนุษย์ตกอยู่ในอำนาจของวิทยาศาสตร์จึงเป็นผู้ที่ตกอยู่ในภาวะแห่งความมืดมนอย่างแท้จริงและน่าสงสารนัก

 พระธรรมาจารย์ฮุ่ยเหนิงสรุปเกี่ยวกับ "กงเต๋อ" ว่า "เมื่อใดความเป็นไปแห่งจิตทำหน้าที่โดยไม่มีติดขัดเมื่อนั้นเรียกว่ามี "กง" เมื่อใดใจของเราทำหน้าที่โดยตรงแน่ว เมื่อนั้นเรียกว่ามี "เต๋อ" เพราะฉะนั้น กุศล จึงเป็นเรื่องของการแสวงหาภายในจิตเดิมแท้หรือธรรมญาณ และหาไม่ได้ด้วยการโปรยทาน ถวายภัตตาหารเจจึงต้องแยกแยะให้ออกระหว่างความปิติอิ่มใจกับกุศลกรรมอันแท้จริง" การสร้างบุญกับ แสวงหากุศลจึงไม่เหมือนกันจริงๆ
"พระสูตรของ ท่านเว่ยหล่าง"
..
..
นิทานเซน : ความหอมก็เป็นเซน

นักกลอนท่านหนึ่งเป็นลูกศิษย์ของพระอาจารย์เซนท่านหนึ่ง
วันหนึ่งทั้งสองเดินมาตามทางที่มี ดอกกุ้ยฮวา ขนาบอยู่สองข้างทาง
ดอกกุ้ยฮวากำลังบานสะพรั่ง และส่งกลิ่นหอมไปทั่วบริเวณ

“กลิ่นหอมเข้มข้นของดอกเหล่านี้ เจ้าได้กลิ่นหรือเปล่า?” พระอาจารย์ถาม
“ได้กลิ่นแล้ว” นักกลอนนั้นตอบ

“เจ้าไม่ใช่เคยถามหรือว่า อะไรคือเซน”
ตอนนี้อาตมาเอาสิ่งที่ได้เห็นได้กลิ่น มาบอกเจ้าจนหมดแล้ว”

นักกลอนนั้นไม่เข้าใจว่าพระอาจารย์พูดอะไร แต่เมื่อส่งสายตามอง
ไปไกลๆ สูดดมกลิ่นหอมของดอกไม้ จึงรู้ได้โดยฉับพลัน

เซนแท้จริงแล้ว ไม่ใช่แนวคิด ไม่ใช่คำพูด แต่เป็นทุกสิ่งที่อยู่เบื้องหน้าเรา
ภูเขา สายน้ำ ต้นไม้ใบหญ้า นก ปลา หนอน ล้วนแต่คือเซน

การรู้แจ้งผู้อื่นไม่สามารถจะทดแทนได้ และก็ไม่ใช่อาศัยคำพูดสอนธรรมะ
ก็รู้แจ้งได้ รากฐานสำคัญที่สุด คือใช้ความรู้สึกและสำนึกด้วยตนเอง”
*****
..
..
นิทานเซน : อย่างนั้นหรอกหรือ?

ยังมีอาจารย์เซนผู้เลื่องชื่อแห่งแดนอาทิตย์อุทัยนาม ไป๋อิ่น(白隐:Hakuin) ซึ่งในสายตาของผู้คนในละแวกนั้นเห็นว่าท่านเป็นผู้บริสุทธิ์ผุดผ่องทั้งยังเปี่ยมเมตตา

ครั้งหนึ่ง บุตรีของเพื่อนบ้านเกิดตั้งครรภ์โดยที่ยังไม่ได้แต่งงาน ทำให้บิดามารดาของนางโกรธมาก และขู่เข็ญในนางสารภาพว่าบิดาของเด็กในครรภ์คือใคร ทว่าเป็นตายอย่างไรนางก็ไม่ยอมบอก สุดท้ายภายใต้การบังคับของบุพการี นางจึงบอกว่าบิดาของเด็กในครรภ์คืออาจารย์เซนไป๋อิ่น

เมื่อทราบความ บิดามารดาของสตรีนางนั้นจึงเกิดบันดาลโทสะ เดินทางมาต่อว่าอาจารย์เซนอย่างหยาบคาย บรรดาชาวบ้านใกล้เคียงที่หมดศรัทธาต่อนักบวชรูปนี้ก็พากันมารุมประณาม ทว่าอาจารย์เซนไป๋อิ่นเพียงกล่าวคำเดียวว่า "อย่างนั้นหรอกหรือ?" จากนั้นรับปากอุปการะเด็กที่จะเกิดมา

เมื่อทารกถือกำเนิดขึ้นมา อาจารย์เซนก็รับมาอาศัยอยู่ที่อารามเซน ทั้งยังรับผิดชอบดูแลทารกน้อยไม่ขาดตกบกพร่องเวลาผ่านไปราว 1 ปี สตรีผู้เป็นมารดาของทารกน้อยอดรนทนไม่ไหว สุดท้ายสารภาพต่อบุพการีของตนเองว่าที่แท้แล้วสามีของนางคือชายหนุ่มเพื่อนบ้านผู้หนึ่งที่มีฐานะยากจนมาก ในตอนแรกนางกลัวว่าบุพการีจะไม่ยอมรับลูกเขยจึงได้สร้างเรื่องเท็จใหญ่โตจนเดือดร้อนไปถึงอาจารย์เซน

เมื่อความจริงเปิดเผย บิดามารดาของสตรีผู้นั้นต่างตกตะลึง ทั้งหมดรีบเดินทางไปกราบขอขมาอาจารย์เซนด้วยความสำนึกเสียใจอย่างสุดซึ้ง ขณะเดียวกันชาวบ้านที่ทราบความจริงต่างก็เดินทางไปขออภัยที่เคยพูดจาล่วงเกินอาจารย์เซนไป๋อิ่นเอาไว้อย่างมากมาย

ทว่าเมื่อฟังความจบ อาจารย์เซนยังคงสงบสำรวม จากนั้นกล่าวเพียงประโยคเดียวว่า "อย่างนั้นหรอกหรือ?" และมอบเด็กทารกคืนให้แก่สตรีผู้นั้นไป


ปัญญาเซน : การไม่ถูกนินทาไม่มีในโลก มีลาภ-เสื่อมลาภ มียศ-เสื่อมยศ สรรเสริญ-นินทา สุข-ทุกข์ ล้วนไม่จีรัง จิตไม่หวั่นไหวในโลกธรรมจึงจะเป็นมงคลชีวิตแก่ตน
*****
..
..
"จมอยู่ในโลก" (นิทานเซน)

เต่าตัวหนึ่ง เป็นสหาย กับ ปลาตัวหนึ่ง วันหนึ่งได้พบกัน ปลาถามว่า...
“สหายเอ๋ย ท่านไปที่ไหนเสียเป็นนาน?”
“ไปเที่ยวบนบกมา” เต่าตอบ
“บกเป็นอย่างไร” ปลาถาม
“อ๋อบก งดงามมาก มีอะไรสวยๆ แปลกๆ ลมพัดเย็นสบาย มีอาหารดีเยอะ มีเสียงแปลกๆ ซึ่งเราไม่เคยได้ยิน ในที่นี้เลย”

ปลาตอบ “ฉันไม่เข้าใจเลย สหายเอ๋ย บกนั้นอ่อนละมุน ให้ศีรษะของเราแหวกว่าย ไปได้สะดวกเช่นนี้หรือ ?” ไม่ใช่
“บกไหลเอ่อไปได้ตามร่อง เช่นนี้หรือ ?” ไม่ใช่
“บกเย็นชุ่ม ซึบซาบ เอิบอาบ เช่นนี้หรือ?” ไม่ใช่
“บกเป็นละลอก ริ้วๆ เมื่อถูกลมพัดหรือ?” ไม่ใช่

แม้ปลาจะตั้งคำถามมาอย่างไร
คำตอบก็มีแต่ “ไม่ใช่” ทั้งนั้น
ในที่สุด ปลาก็หมดศรัทธา ประฌามเต่าว่า
“สหายเอ๋ย ท่านโกหกเสียแล้ว เอาสิ่งที่ ไม่มีจริง เป็นจริง มากล่าว”

แต่เต่าก็ไม่รู้ที่จะตอบ สหายของตน อย่างไรดี ในที่สุด ก็ได้แต่ ค่อยๆคลาน กลับขึ้นไปบนบกอีก เต่าได้เที่ยวไปบนบกอีก ซึ่งสหายของเขา ไม่เคยนึก และ ไม่ยอมเชื่อว่ามี !
เต่าได้เที่ยวไปวันแล้ววันเล่าๆ บนบก ซึ่งสหายของเขา หาว่า เขาโกหก !!

????ปัญญาเซน: น้ำกับบก ต่อติดกันอยู่ ห่างกัน เพียงชั่วเส้นริมน้ำ เส้นเล็กๆ ที่ริมสระเท่านั้น แต่ปลาก็ไม่อาจรู้ หรือแม้แต่คาดคะเนว่า บกเป็นอย่างไรได้เลย พระพุทธองค์ตรัสว่า โลก คือโอกะ (แปลว่า น้ำ) สัตว์โลก ก็คือ ผู้ที่จมอยู่ในโลก หรือน้ำ นั่นเอง
พระนิพพาน เป็นฝั่งเกาะที่รอดพ้น แต่น้อยคนนักที่จะว่ายออกไปถึงเกาะได้
..
..
>>fbวงศ์ยุทธนาพงศ์ สมชาย
ได้แชร์โพสต์ของ ณัฐนนท์ ระกำทอง
ลงในกลุ่ม: ขอบคุณของขวัญจากธรรมชาติ ที่พระเจ้าประทานให้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ต้นโพธิ์กับกระจกเงา
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: มกราคม 05, 2018, 05:14:48 pm »
พระสูตรของท่านเว่ยหลาง
ต้นโพธิ์กับกระจกเงา

ความรู้แจ้ง "ธรรมญาณ" แห่งตนไม่อาจใช้ภาษาคนอธิบายให้เข้าใจได้ชัดเจน เพราะสื่อภาษามีขอบเขตจำกัดเท่าที่มนุษย์ได้กำหนดไว้เท่านั้น แต่ภาวะแห่ง "ธรรมญาณ" อยู่นอกเหนือขอบเขตการกำหนดของมนุษย์ เพราะเป็นภาวะที่ปราศจากรูปลักษณ์ทั้งปวง ภาษาจึงเป็นเพียงรอยทางให้ผู้ใฝ่ใจศึกษาได้เดินตาม ส่วนรสชาติเป็นเรื่องที่แต่ละคนสัมผัสรับรู้ได้เอง แม้ใช้ภาษาอธิบายจนหมดสิ้นก็ไม่มีใครสามารถรับรสชาตินั้นได้เลย จึงเปรียบเหมือนน้ำคนไหนดื่มคนนั้นรับรู้รสชาติได้ด้วยตนเอง ท่านเสินซิ่วหัวหน้าศิษย์จึงใช้การศึกษาสะท้อนให้เห็นเป็นเพียงความรู้แต่มิได้ไหลออกมาจาก "ธรรมญาณ"

 เพราะฉะนั้นจึงจับจ้องว้าวุ่นใจในการเขียนโศลกถวายต่อพระอาจารย์หงเหยิ่น ด้วยไม่แน่ใจในความรู้ของตนเอง เมื่อเขียนโศลกเสร็จแล้วไม่มั่นใจจึงไม่กล้านำไปถวายพระอาจารย์ได้แต่เดินกลับไปกลับมาเสียเวลาไป 4 วันเดินเสีย 13 เที่ยว ในที่สุดก็ตัดสินใจเขียนเอาไว้บนฝาผนังช่องทางเดินทางทิศใต้ซึ่งพระอาจารย์เดินผ่านไปมาจะได้หยั่งทราบถึงปัญญาญาณที่ตนเองได้บรรลุ ข้อความแห่งโศลกนั้นมีว่า "กายคือต้นโพธิ์ จิตคือกระจกเงาใส หมั่นเช็ดอยู่ทุกโมงยาม จึงไม่มีฝุ่นละอองลงจับ" เมื่อเขียนเสร็จแล้ว เสินซิ่วก็หามีความสุขแต่ประการใดไม่ มีแต่ความปริวิตกด้วยหวั่นเกรงว่าได้สะท้อนความไม่รู้แจ้งให้ปรากฎออกไป แต่พระอาจารย์หงเหยิ่นรู้อยู่ก่อนแล้วว่า เสินซิ่วยังไม่ได้รับรสชาติแห่งธรรมญาณของตน

 จึงกล่าวแก่ หลูเจิน จิตกรเอกแห่งราชสำนักซึ่งเขียนภาพต่างๆ จากลังกาวตารสูตรและชาติวงศ์ของพระสังฆปริณายกทั้ง 5 องค์ว่า "เสียใจที่รบกวนท่าน บัดนี้ผนังเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเขียนภาพเพราะสูตรนี้ได้กล่าวไว้ว่า สรรพสิ่งอันมีรูป หรือปรากฎกริยาอาการล้วนเป็นอนิจจังและมายา จึงควรปล่อยโศลกนี้ไว้บนฝาผนังเพื่อให้มหาชนได้ท่องบ่น และถ้าปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อความที่สอนไว้ เขาก็จะพ้นทุกข์ไม่ต้องไปเกิดในอบายภูมิ อานิสงส์ของผู้ปฏิบัติตามได้รับนั้นมีมากนัก" ความหมายแห่งคำพูดของพระอาจารย์หงเหยิ่นพิจารณาโศลกบทนี้ชี้ให้เห็นถึงความเป็นจริงว่า สภาวะที่ปรากฎ "ความมี" ย่อมจะ "ไม่มี" ในที่สุด ต้นโพธิ์ย่อมเสื่อมสลายไปตามกาลเวลา หรือแม้แต่จิตก็เกิดดับไม่แน่นอน การหมั่นเช็ดกระจกจึงเปรียบเสมือนการทำความดีและขจัดอาสวะกิเลส ดังนั้นทั้งกายและจิต จึงเป็นสภาวะแห่งอนิจจัง ย่อมไม่ใช่ภาวะแห่ง "ธรรมญาณ" อันแท้จริง

 ในเที่ยงคืนนั้นเอง พระสังฆปริณายกหงเหยิ่น จึงเรียกเสินซิ่วเข้าไปรับทราบถึงผลแห่งการเขียนโศลกนั้นว่า "โศลกนี้แสดงว่าเจ้ามิได้รู้แจ้งใน "ธรรมญาณ" เจ้ามาถึงประตูแห่งการบรรลุธรรมแล้ว แต่มิได้ก้าวข้ามธรณีประตู การแสวงหาหนทางแห่งการตรัสรู้อันสูงสุดด้วยความเข้าใจที่แสดงออกมานั้น ยากที่จะสำเร็จได้" ความหมายอันแท้จริงคือ การติดในรูปลักษณ์ พระอาจารย์หงเหยิ่นได้อธิบายด้วยว่า "การบรรลุ อนุตตรสัมโพธิ์ได้ ต้องรู้แจ้งด้วยใจเองใน "ธรรมญาณ" ซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีใครสร้างขึ้นได้ทำลายก็ไม่ได้ ชั่วขณะจิตเดียวผู้นั้นเห็นธรรมญาณก็เป็นอิสระจากการถูกขังตลอดกาล พ้นจากความหลง และไม่ว่าสภาวะรอบตัวเป็นเช่นไร ใจของตนเองก็อยู่ในสภาพของ "ธรรมญาณ"

 สถานะเช่นนี้แหละคือตัวสัจธรรมแท้ เป็นการเห็น "ธรรมญาณ" อันเป็นการตรัสรู้นั่นเอง" เสินซิ่วได้ฟังแล้ว จึงถึงแก่อาการงงงวยนอนนั่งไม่เป็นสุข การที่ภาวะจิตยังตกอยู่ในรูปและนามย่อมหวั่นไหว เพราะยังยึดอยู่ในความดีและความชั่ว หรือ "มี" กับ "ไม่มี" จึงเห็นได้ทั่วไปในหมู่ของพุทธศาสนิกชนติดอยู่กับการสร้างบุญจึงกลายเป็นเรื่องราวทะเลาะเบาะแว้งกันได้เสมอ สร้างบุญต้องได้หน้าตามีชื่อเสียงทำให้เกิดความฟูใจ รื่นเริงใจเมื่อเปลี่ยนแปลงไปตามกฎของอนิจจัง ความทุกข์จึงปรากฎขึ้นแทนที่ เพราะไม่มีและไม่ได้บุญตามที่ปรารถนา

 ส่วนท่านฮุ่ยเหนิง เมื่อได้ยินโศลกนี้ก็ได้ทันทีว่าเป็นเพียงโศลกที่ยังติดข้องอยู่ในรูปลักษณ์ แม้ว่าตำข้าวอยู่ในครัวถึง 8 เดือน โดยไม่ได้รับคำอธิบายใดๆ จากพระอาจารย์หงเหยิ่นเลย จึงขอให้เด็กหนุ่มคนหนึ่งพาไปยังช่องกำแพงนั้นและพบกับเสมียนแห่งตำบลเจียงโจวชื่อว่าจางยื่อย่ง ให้ช่วยอ่านโศลกให้ฟัง เพราะท่านฮุ่ยเหนิงไม่รู้จักหนังสือ เมื่อเสมียนผู้นี้ได้ฟังว่าท่านฮุ่ยเหนิงมีโศลกเหมือนกันก็อุทานในเชิงดูถูกภูมิปัญญาว่า "ประหลาดแท้ ท่านก็มาแต่งโศลกกับเขาด้วย" คำตอบของท่านฮุ่ยเหนิงเป็นสัจธรรมจนถึงบัดนี้ว่า "ถ้าเป็นผู้แสวงหาบรรลุธรรม อย่าดูถูกคนที่เริ่มต้น คนที่จัดว่าเป็นคนชั้นต่ำก็อาจมีปฏิภาณสูงได้ ส่วนคนชั้นสูงก็ปรากฎว่าขาดสติปัญญาอยู่บ่อยๆ ถ้าท่านดูถูกคนจึงจัดว่าทำบาปหนัก" เราจึงไม่อาจแบ่งคนหรือตัดสินใครๆ ได้ที่รูปลักษณ์ซึ่งแตกต่างกัน แต่สิ่งที่เหมือนกันคือ "ธรรมญาณ" ซึ่งมีศักยภาพเหมือนกันทุกคนและเท่าเทียมกัน

>>FB ณัฐนนท์ ระกำทอง