ผู้เขียน หัวข้อ: Untitled  (อ่าน 796 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ 時々होशདང一རພຊຍ๛

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1011
  • พลังกัลยาณมิตร 1119
  • แสงทองส่องฟ้าคือชีวิต
    • ดูรายละเอียด
Untitled
« เมื่อ: มกราคม 14, 2018, 10:23:41 pm »




เสร็จจากบทความนี้แล้วผมจะเข้านอนล่ะน่ะวันนี้เหนื่อยมาทั้งวันแล้ว บทความนี้ค่อนข้างจะลึกซึ้งภาพประกอบถ่ายจากเทศกาลกิน เจ ภาพ ๆ นี้หลายปีแล้วผมมานั่งคิดว่าถ่ายเก็บไว้ดูคนเดียวมันไม่เกิดประโยชน์อันใดสู้นำมาแบ่งปันกันเผื่อว่ามีคนอยากกิน เจ มั่งน่ะใกล้เข้ามาแล้วน่ะเทศกาลกิน เจ ประจำปี 2559 ก็เดือน ตุลาคม 2559 แหละใครอยากสมาทานศีล เจ ก็เตรียมตัวให้พร้อมทั้งร่างกายและจิตใจน่ะ 10 วันแห่งการ สมาทานศีล เจ แล้วจะรู้ว่าการกิน เจ นั้นดีอย่างไร อ้อ...บทความนี้อ้างอิงจาก{พระไตรปิฎก}ค่อนข้างจะหนักไปทางวิชาการ พระไตรปิฎกและพระสูตรผมไปนอนก่อนดีกว่า Good Night พรุ่งนี้ค่อยเริ่มกระทู้ใหม่

ความไม่รู้(อวิชชา)เป็นมลทินที่สุดร้าย อวิชฺชา ปรมํ มลํ (มลสูตร ๒๓/๑๐๕)

เพื่อชัยชนะนิรันดร์
ขอให้ร่วมทำงานกับคนที่มีความสามารถ
ด้วยความเป็นปึกแผ่นที่ไม่มีอะไรมาทำลายได้เสมอ
จงแสดงความเคารพอย่างจริงใจที่สุด

จงทุ่มเทความเพียรพยายามทุกอย่าง
เพื่อความเจริญเติบโตและเป็นคนที่มีความสามารถมากยิ่งขึ้น
ให้มีความสามารถมากกว่าเราคนรุ่นก่อน


หทยสฺส สทิสี วาจา
วาจาเช่นเดียวกับใจ

สํโวหาเรน โสเจยฺยํ เวทิตพฺพํ
ความเป็นผู้สะอาด พึงทราบได้ด้วยถ้อยคำ{สำนวน}

ทุฏฺฐสฺส ผรุสวาจา
คนโกรธมีวาจาหยาบคาย

มุตฺวา ตปฺปติ ปาปิกํ
คนเปล่งวาจาชั่วย่อมทำตนให้เดือดร้อน

อภูตวาที นิรยํ อุเปติ
คนพูดไม่จริง ย่อมเข้าถึงนรก

สณฺหํ คิรํ อตฺถาวหํ ปมุญฺจ
ควรเปล่งวาจาให้ไพเราะที่มีประโยชน์

ตเมว วาจํ ภาเสยฺย ยายตฺตานํ น ตาปเย
ควรกล่าวแต่วาจาที่ไม่ยังตนให้เดือดร้อน

น หิ มุญฺเจยฺย ปาปิกํ
ไม่ควรเปล่งวาจาชั่วเลย

สํโวหาเรน โสเจยฺยํ กลฺยาณิง
ควรเปล่งวาจางาม ให้เป็นที่พอใจฯ


พุทธวจน...ดูกรภิกษุทั้งหลาย ย่อมมีภิกษุในภิกษุสงฆ์นี้ ที่เป็นผู้ประกอบความเพียรในอันเจริญอานาปานสติอยู่ ฯ ดูกรภิกษุ ! ทั้งหลาย อานาปานสติ อันภิกษุเจริญแล้ว ทำให้มากแล้วย่อม มีผลมากมีอานิสงส์มาก ภิกษุที่เจริญอานาปานสติแล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญสติปัฏฐาน ๔ ให้
บริบูรณ์ได้  ภิกษุที่เจริญสติปัฏฐาน ๔ แล้ว ทำให้มากแล้วย่อมบำเพ็ญโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ได้ ภิกษุที่เจริญโพชฌงค์ ๗ แล้ว ทำให้มากแล้ว ย่อมบำเพ็ญวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ได้ ฯ


พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนพาหิยะ เพราะเหตุนั้นแล ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเห็นจักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟังเมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบ เมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง ดูก่อนพาหิยะ
ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล ดูก่อนพาหิยะ ในกาลใดแล เมื่อท่านเห็นจักเป็นสักว่าเห็น เมื่อฟังจักเป็นสักว่าฟังเมื่อทราบจักเป็นสักว่าทราบเมื่อรู้แจ้งจักเป็นสักว่ารู้แจ้ง ในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มี ในกาลใดท่านไม่มีในกาลนั้น ท่านย่อมไม่มีในโลกนี้ ย่อมไม่มีในโลกหน้า ย่อมไม่มีในระหว่างโลกทั้งสอง นี้แลเป็นที่สุดแห่ ทุกข์


พระสุตตันตปิฎก.....สุตตันตะเหล่าใดที่เป็นคำแต่งขึ้นใหม่ เป็นคำร้อยกรองประเภทกาพย์กลอน มีอักษรสละสลวย มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นเรื่องนอกแนว เป็นคำกล่าวของสาวก เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอจักไม่ฟังด้วยดี ไม่เงี่ยหูฟัง ไม่ตั้งจิตที่จะรู้ทั่วถึง และจักไม่สำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียนส่วนสุตตันตะเหล่าใด ที่เป็นคำล่าวของตถาคต เป็นข้อความลึก มีความหมายซึ้ง เป็นชั้นโลกุตตระ ว่าเฉพาะด้วยเรื่องสุญญตา เมื่อมีผู้นำสุตตันตะเหล่านั้นมากล่าวอยู่ เธอจักฟังด้วยดี จักเงี่ยหูฟัง จักตั้งจิตเพื่อจะรู้ทั่งถึง และจักสำคัญว่าเป็นสิ่งที่ตนควรศึกษาเล่าเรียน



  พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๖ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๘ สังยุตตนิกาย นิทานวรรค ๗ อาณิสูตร

๖๗๒ พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ พระเชตวัน อารามของท่าน
อนาถบิณฑิกเศรษฐี เขตพระนครสาวัตถี พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูกรภิกษุ !
ทั้งหลาย เรื่องเคยมีมาแล้ว ตะโพนชื่ออานกะของพวกกษัตริย์ผู้มีพระนามว่า
ทสารหะได้มีแล้ว เมื่อตะโพนแตก พวกทสารหะได้ตอกลิ่มอื่นลงไป สมัยต่อมา

โครงเก่าของตะโพนชื่ออานกะก็หายไป ยังเหลือแต่โครงลิ่ม แม้ฉันใด ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย พวกภิกษุในอนาคตกาล เมื่อเขากล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก
มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม อยู่ จักไม่ปรารถนาฟัง
จักไม่เข้าไปตั้งจิตเพื่อรู้ และจักไม่สำคัญธรรมเหล่านั้น ว่าควรเล่าเรียน ควรศึกษา

แต่ว่าเมื่อเขากล่าวพระสูตรอันนักปราชญ์รจนาไว้ อันนักปราชญ์ร้อยกรองไว้ มี
อักษรอันวิจิตร มีพยัญชนะอันวิจิตร เป็นของภายนอก เป็นสาวกภาษิต อยู่ จัก
ปรารถนาฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่งจิตเพื่อรู้ และจักสำคัญ
ธรรมเหล่านั้น ว่าควรเรียน ควรศึกษา ฯ

๖๗๓ ดูกรภิกษุ ! ทั้งหลาย พระสูตรเหล่านั้น ที่ตถาคตกล่าวแล้ว
อันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบด้วยสุญญตธรรม จักอันตรธาน
ฉันนั้นเหมือนกัน เพราะเหตุดังนี้นั้น เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเขา
กล่าวพระสูตรที่ตถาคตกล่าวแล้ว อันลึก มีอรรถอันลึก เป็นโลกุตตระ ประกอบ
ด้วยสุญญตธรรม อยู่ พวกเราจักฟังด้วยดี จักเงี่ยโสตลงสดับ จักเข้าไปตั้งไว้ซึ่ง
จิตเพื่อรู้ และจักสำคัญธรรมเหล่านั้นว่า ควรเรียน ควรศึกษา ดังนี้ ดูกรภิกษุ
ทั้งหลาย เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ ฯ
.....จบสูตรที่ ๗
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 22, 2019, 07:27:59 pm โดย 時々होशདང一རພຊຍ๛ »
ชิเน กทริยํ ทาเนน