ผู้เขียน หัวข้อ: หนังอินเดียตอนที่ 3  (อ่าน 852 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ 時々होशདང一རພຊຍ๛

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1011
  • พลังกัลยาณมิตร 1119
  • แสงทองส่องฟ้าคือชีวิต
    • ดูรายละเอียด
หนังอินเดียตอนที่ 3
« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 07, 2018, 09:50:01 pm »


http://jina1055.blogspot.com/2018/02/2-2-4-2.html


เมื่อหนังอินเดียบูมสุด ๆ ตอนช้างเพื่อนแก้ว หนังอินเดีย สายหนังก็ได้แต่มองตาปริบ ๆ เพราะเรื่องนี้ทีแรกสายหนังไม่ได้ซื้อ พอหนังเข้าฉายทำรายได้ถล่มทลาย ทางผู้เป็นเจ้าของจึงนำออกเดินสายเองสายหนังต่างจังหวัดรายใหญ่สมัยก่อน จะซื้อหนังไทยเป็นหลัก ส่วนหนังอินเดียจะมีสายหนังรายย่อยที่น้อยพาวเวอร์รับไป เมื่อออกเร่ฉายก็ไม่มีอำนาจต่อรองเรื่องโรงฉาย วันฉาย รวมทั้งส่วนแบ่งรายได้

เมื่อการตลาด การโปรโมทโดยภาพรวมหนังอินเดีย ขาดช่วงขาดงบขาดการกระตุ้นการสนับสนุนจึงทำให้ไม่เวิร์ค ตลาดโดยรวมทั้งในกรุงและต่างจังหวัดที่ไม่มีการพัฒนาจึงค่อย ๆ ละลายไปจนแทบไม่เหลือในขณะที่โรงหนังที่เคยฉายหนังอินเดียเป็นหลักเช่น เท็กซัส ต้องปิดกิจการ ควีนส์ ย่านวังบูรพา และโรงหนังบางกอก แถวมักกะสัน ที่เคยฉายหนังอินเดียเป็นประจำก็ต้องแปรเปลี่ยนเป็นโรงฉายหนัง 2 เรื่องควบ และโรยราในที่สุดโรงฉายหนังอินเดียแทบไม่มีนาน ๆ ทีจึงจะมีหนังอินเดียเข้าฉายซึ่งต้องเป็นหนังใหญ่จริง ๆ เช่น โชเล่ย์ KHUDA GAWHA รักข้าเหนือชีวิต ที่เข้าฉายโรงหนังแอมบาสเดอร์ สะพานขาว

เมื่อยุคโรงหนังแบบตั้งเดี่ยวหรือสแตนอโลนถดถอยลง โรงหนังในย่านศูนย์การค้าผุดขึ้นค่ายใหญ่วางเครือข่ายโรงหนังครอบคลุมไปทั่วกรุงและชานเมือง เทรนด์ใหม่ของโรงหนังคือเน้นไปที่ตลาดวัยรุ่น คนเดินห้างช้อปปิ้ง นักเรียนนักศึกษา คนหนุ่มสาว กระแสความนิยมตะวันตก ทำให้เด็กไทยรู้จักนักฟุตบอลอังกฤษดีกว่านักบอลไทย เช่นเดียวกับฟาสต์ฟูดที่แพร่หลายไปตามห้างสรรพสินค้า ในขณะเดียวกับที่ข้าวแกงยังขายริมถนน โรตี ต้องเข็นรถขายตามซอย ตามตลาดชุมชน

การตลาด สมัยใหม่ ยุคสมัยที่เทคโนโลยีก้าวหน้า สื่อสารมวลชนเข้ามามีบทบาท การสร้างภาพลักษณ์ สร้าง แบรนด์ เป็นสูตรสำคัญของการผลักดันสินค้า แนวฝรั่งพี่ไทยก็เดินตามแฟชั่นเขาเรียบร้อยไปแล้ว ต่อมาญี่ปุ่นจะไปทางไหน วัยรุ่นไทยก็ไปด้วย แถมเกาหลี จีนทั้งไต้หวัน เอฟ 4 ละอ่อนไทยรับได้หมดโทรศัพท์มือถือกลายเป็นส่วนหนึ่งของอวัยวะร่างการที่ต้องพกติดตัวตลอดเวลา แต่การตลาดหนังอินเดียในไทยไม่กระเตื้องทางออกของหนังอินเดียในเมือง

ไทย เท่าที่ปรากฏ คือ ออกฉายทางทีวีทั้งซีรี่ส์และหนังเรื่อง แต่ก็กระปริบกระปอย ซึ่งเมื่อเทียบอัตราส่วนกับหนังจีน หนังญี่ปุ่น เกาหลีแล้วผิดกันลิบลับทั้ง ๆ ที่อินเดียผลิตหนังต่อปีมากที่สุดในโลก และวัฒนธรรมดั้งเดิมของไทยก็มีรากมาจาก อินเดียมองด้านการตลาดก็พอเห็นแล้วว่า ภาพลักษณ์ หนังอินเดียในไทย ไม่ค่อยได้พัฒนา คนส่วนใหญ่ขาดข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับเรื่องราวความเคลื่อนไหวหนังอินเดียที่อัพเดท ทำให้ยังคงมีภาพหนังอินเดียปีมะโว้ค้างคาใจอยู่เช่นพอเอ่ยถึงหนังอินเดียก็มักจะนึกถึงหนังโบราณ นาร๊ายนารายหรือไม่ก็พระเอกนางเอกร้องเพลงวิ่งข้ามเขา 3-4 ลูกฉากบู๊ก็ต่อยกันเฉียดไปเฉียดมาเป็นงั้นไปทั้ง ๆ ที่หนังอินเดียยุคใหม่ก้าวไปไกล พัฒนาทั้งเนื้อหารูปแบบ การลงทุน การถ่ายทำ การแสดงโพสต์โปรดั๊กชั่น โปรโมชั่น ฯลฯ Weddind สามารถฉายได้ทั่วโลก

หนังอินเดียในไทยปัจจุบัน ถ้าหากเป็นหนังโรงในกรุงเทพฯ จะมีมาฉายเฉพาะกิจเฉพาะกาล เช่น ตามงานเทศกาลหนังนานาชาติ เทศกาลหนังอินเดีย หรือ หนังอินเดียรอบพิเศษ ส่วนใหญ่เป็น รอบเช้าเสาร์ อาทิตย์ ก็มีคนนำมาฉายเหมือนกัน อย่างเช่นเรื่อง BLACK KISNA KAAL แต่ก็ฉายเพียง รอบ สองรอบ เสียงภาษาฮินดี และอยู่ในแวดวงจำกัดของชาวอินเดียในกรุงเทพ ฯ ตลาดหนังอินเดียในไทยยุคนี้จึงไม่ได้อยู่ที่ หนังโรงหรือทีวีแต่อยู่ที่หนังแผ่น วีซีดี ดีวีดี ทั้งหนังอินเดียพากย์ไทย หนังอินเดียเสียงในฟิล์ม ตลาดหนัง หนังแผ่นอินเดีย ยุคนี้ไม่ธรรมดา
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 08, 2018, 03:09:59 pm โดย 時々कभीकभी一རພຊຍ๛ »
ชิเน กทริยํ ทาเนน