ผู้เขียน หัวข้อ: จิตใจแห่งการเสียสละ  (อ่าน 816 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ होशདངພວན2017

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 625
  • พลังกัลยาณมิตร 291
    • ดูรายละเอียด
จิตใจแห่งการเสียสละ
« เมื่อ: เมษายน 27, 2018, 10:09:18 pm »




ชีวิตคืออะไร ? นั่นสิน่ะ
บางคนก็ตอบไม่ได้ปัจจุบันไม่ว่าใน กทม หรือ ตจวจะเห็น
คนไร้บ้านทุกที่ - ทุกแห่งหนแต่เดิมพวกเขาเกิดมา
จากท้องมารดาเขามี บิดา - มารดา มีพี่ - น้อง
มีเพื่อนฝูงใครทราบบ้างว่าเพราะเหตุใดเขาจึงเป็นเช่นนี้




http://youtu.be/LGcmEAVwdPo




การเสียสละเบื้องต้นจุดเริ่มต้นของการเสียสละ คือที่ไหนมีประชุมธรรมก็จะเสียสละมาทำหน้าที่เป็นแม่ครัว ขับรถ หรือเป็นบุคลากรเพื่อเสริมสร้างพลังธรรม ร่วมใจกันมาเจริญปณิธาน ร่วมใจร่วมพลังให้ทานทั้ง 3 เช่นการบริจาคทรัพย์ เป็นทาน เพื่อเพิ่มพูนบุญวาสนาการให้ธรรมเป็นทาน เพื่อลดหนี้กรรม สร้างภูมิปัญญาในธรรม การให้แรงกายเป็น ทาน เพื่อการปล่อยวางจิตผูกพันที่เป็นต้นตอแห่งความทุกข์การเสียสละที่ยิ่งใหญ่ของพระโพธิสัตว์ผู้มีจิตศรัทธาจริงใจ จะไม่กลัวความทุกข์ยากลำบากมีจิตใจแห่งการทุ่มเททั้งกำลังกาย กำลังทรัพย์สติปัญญา ความเป็นหนุ่มสาว และวันเวลาของชีวิตเพื่อธรรมพระโพธิสัตว์ ผู้ที่มีจิตใจที่ทุ่มเทเพื่อพิทักษ์ธรรมไม่เสียดายแม้ ชีวิตของตน สามารถอุทิศให้ด้วยความจริงใจ พระโพธิสัตว์อาศัยการเผยแพร่ธรรมเป็นกิจวัตรสรรสร้างประโยชน์ต่อผู้อื่น เป็นหลักในการบำเพ็ญอยู่ใน บารมีหก คือ ทานบารมี ศีลบารมี ขันติบารมี วิริยะบารมี ฌานบารมี ปัญญาบารมีอย่างกว้างขวางบำเพ็ญเพียรด้วยวิถีแห่งคุณงามความดี ทั้งมวล เพื่อหล่อเลี้ยงรากกุศลแห่ง อนุตตรโพธิ ตลอดไป ปฏิบัติต่อเวไนยด้วยสังคหวัตถุ 4 คือ...

1.ทาน คือ การให้ผู้อื่นที่สมควรให้
2.ปิยวาจา การพูดจาอ่อนโยน
3.อัตถจริยา การประพฤติประโยชน์
4.สมานัตตา การวางตัวสมฐานะ ให้นำพาไปในทางที่เป็นประโยชน์ตามสถานการณ์

รู้จักใช้วิธีการต่อการนำพาเวไนย บังเกิดจิตศรัทธาแม้ต้องรับทุกข์แทนเวไนยก็ไม่ย่อท้อในวิมลเกียรติสูตรกล่าวการเจ็บป่วยของพระโพธิสัตว์นั้น บังเกิดจากจิตพระมหากรุณา เพราะเห็นเวไนยป่วยข้า ฯ จึงป่วย หากมวลเวไนยไม่ป่วย การป่วยของข้า ฯ ก็หาย ด้วยเหตุที่พระโพธิสัตว์ทำเพื่อเวไนย ในเรื่องของการเกิดตาย หากเวไนยยังมีการเกิดตายก็มีการป่วย หากเวไนยสามารถพ้นการเกิดตายได้ พระโพธิสัตว์ก็จะไม่กลับมาป่วยประดุจดังมารดาที่มีบุตรเมื่อเวลาที่บุตรของเขาเกิดการป่วย บิดามารดาก็พลอยป่วยไปด้วย หากบุตรหายป่วยบิดามารดาก็หายป่วยได้ พระโพธิสัตว์ก็เป็นเช่นนี้ รักมวลเวไนยดั่งบุตรตนการเข้าใจในเหตุ ปัจจัยของเวไนย และคล้อยตามเหตุปัจจัยของเวไนยด้วยมหาปณิธานของพระโพธิสัตว์ที่บังเกิดจากจิต เมตตามหากรุณา ขอเพียงให้ตนได้ทำคุณประโยชน์ต่อมวลเวไนยก็จะให้ความช่วยเหลืออย่างสุดความสามารถ ยามเมื่อเวไนยป่วยก็จะรู้การให้เป็นอย่างดี เมื่อเวไนยอยู่ในที่มืดก็จะจุดประทีปแห่งแสงสว่างให้แก่เวไนย เมื่อเวไนยลุ่มหลงไร้ทิศทางก็แสดงวิถีทางตรงให้ เมื่อได้ยินว่าเวไนยมีงานกุศลจิตก็ยินดีและกล่าวสรรเสริญไปด้วย

เมื่อเห็นกุศลกิจก็ให้ความช่วยเหลือมิหนำซ้ำยังเข้าใจและคล้อยตามเหตุปัจจัย ของเวไนย ไม่เพียงแต่มนุษย์เท่านั้น ยังครอบคลุมไปถึงเวไนยทั้งหมดแน่นอนผู้เริ่มฝึกฝนจะคล้อยตามเวไนยทั้งหมดนั้นเป็นเรื่องยากที่จะทำได้ แต่ในศาสนาปราชญ์ได้กล่าวว่ารักคนที่ชิดเชื้อ เมตตามวลประชา รักสรรพสิ่งโดยเริ่มจากบิดา มารดา ครูบาอาจารย์ มิตรสหาย ค่อยขยายกว้างออกไปสู่ผู้คนทั้งหลายก็สามารถทำได้ ในอาณาจักธรรมกำลังส่งเสริมธรรมะเข้าสู่ครัวเรือนก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดธรรมะสู่ครัวเรือนก็เป็นการบำเพ็ญ ในจริยวัตรของพระโพธิสัตว์ที่เป็นแบบอย่างที่มั่นคงที่สุดพระพุทธะตถาคตทั้งมวล อาศัยจิตมหากรุณาเป็นหลักเนื่องด้วยเวไนยจึงบังเกิดจิตมหากรุณา เนื่องด้วยมหากรุณาจึงบังเกิดจิตโพธิสัตว์เนื่องด้วยจิตโพธิสัตว์จึงบรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณการเป็นพระโพธิสัตว์ต้องอาศัยเวไนย หากไร้เวไนยพระโพธิสัตว์ทั้งหลายย่อมไม่สามารถบรรลุอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณได้ฉะนั้นขณะที่สร้างสรรค์ประโยชน์ต่อเวไนยจึงจะต้องปฏิบัติด้วยจิตเสมอภาคเสมือนกับ การเคารพบิดามารดาหรือการทำงานให้กับครูบาอาจารย์ ที่มีการกระทำที่เปี่ยมด้วยความเคารพ ในขณะที่เราปฏิบัติธรรมนั้นจะต้องเตือนสติตัวเองอยู่เสมอ



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กุมภาพันธ์ 28, 2022, 09:53:16 am โดย होशདངພວན2017 »
ตั้งมั่น แน่วแน่ แก้ไขทุกสิ่ง