ผู้เขียน หัวข้อ: ห้องสมดบางกอกคุณค่าของการถ่ายภาพ  (อ่าน 2325 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ होशདངພວན2017

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 625
  • พลังกัลยาณมิตร 291
    • ดูรายละเอียด









http://youtu.be/lb5pOiINVoI


http://youtu.be/SVl5pbG4090


ค่ำคืนวันวิสาขบูชาในยุค
Corona Virus และ -
เชื้อราดำที่มากับ(Corona Virus)
ครองโลก 2021 มนุษยชาติกำลัง
เข้าสู่ความหายนะในยามทุกข์ยาก
เช่นนี้เราควรระลึกถึงความตาย
อยู่เป็นนิจสินคลายกำหนัดแล้ว
เตรียมพร้อมรับภัยพิบัติด้วย(สติ)
ระลึกรู้ว่าเราไม่สามารถ
หลีกเลี่ยงสงคราม
Virus นี้ไปได้โลก
ได้เดินทางมาถึงกาลวิบัติแล้ว
...(เอเมน)
:09: :09: :09:

คำว่า ศีลวัตร ประกอบด้วยคำ ๒ คำ คือ ศีล คำหนึ่ง และ วัตร อีกคำหนึ่ง ศีล นั้นก็ได้แก่ความประพฤติ หรือข้อที่ประพฤติ วัตร นั้นก็ได้แก่ข้อที่ปฏิบัติ บางทีเรียกว่า พรต ดังคำว่าบำเพ็ญพรต พรตก็มาจากวัตรข้อที่ปฏิบัตินี้เอง ทั้งสองคำนี้เป็นคำที่ใช้คู่กัน ศีลความประพฤติ หรือข้อที่ประพฤตินั้น ถ้าเป็นศีลในทางพุทธศาสนาก็แสดงเป็นข้อที่พึงเว้น ดังศีล ๕ ก็ได้แก่เว้นจากภัยเวร ๕ ข้อ ดั่งนี้เป็นต้น และเมื่อมาถึงปาติโมกขสังวรศีล ศีลในพระปาติโมกข์สำหรับภิกษุ ก็มีทั้งข้อห้าม และข้อที่อนุญาต ข้อห้ามก็คือข้อที่บัญญัติห้ามมิให้กระทำ ห้ามการกระทำ เมื่อไปล่วงละเมิดกระทำเข้าก็ต้องอาบัติ หนัก ปานกลาง หรือเบา ตามพระบัญญัตินั้นๆ และก็มีข้อที่ทรงอนุญาตให้ทำ ที่เรียกว่าข้ออนุญาต คือที่ทรงสั่งให้กระทำ หากไม่ทำตามทรงสั่งให้ทำ ก็ต้องอาบัติอีกเหมือนกัน แต่ว่าศีลทั่วไป ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ ก็แสดงในทางเป็นข้อห้าม คือให้งดเว้น วัตรนั้นได้แก่การปฏิบัติ ความปฏิบัติ หรือข้อที่ปฏิบัติ ดังเช่นข้อที่เกี่ยวแก่ข้อที่พึงปฏิบัติต่างๆ ยกตัวอย่างสำหรับภิกษุบริษัท ก็เช่น อุปัชฌายวัตร อาจาริยวัตร ข้อที่ สัทธิวิหาริก อันเตวาสิก พึงปฏิบัติต่อพระอุปัชฌาย์อาจารย์ และข้อที่พึงปฏิบัติต่าง ๆ เหล่านี้เรียกว่า(วัตร) :09: :46: :09:

นับว่าวันนี้เป็นวันสำคัญสากลทางพระพุทธศาสนา รวมถึงเป็นวันสำคัญของชาวพุทธทุกนิกายทั่วโลก นั่นก็คือ วันวิสาขบูชา นั่นเอง ปีนี้วันวิสาขบูชาตรงกับวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ.2564 วันนี้ทางทีม เรา จะมาบอกที่มาที่ไปของวันนี้กันว่ามีความเป็นมาอย่างไรบ้าง ไปอ่านพร้อม ๆ กันเลยวันวิสาขบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญที่เกี่ยวข้องกับพระพุทธเจ้า 3 ประการ คือ เป็นวันประสูติ ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า และปรินิพพาน ซึ่งเรามีเรื่องย่อเกี่ยวกับเหตุการณ์ทั้งสามมาฝากทุกคนกัน
ประสูติ
เมื่อ 40 ปีก่อนพุทธศักราช ณ สวนลุมพินีวัน ซึ่งอยู่พรมแดนระหว่าง กรุงกบิลพัสดุและกรุงเทวทหะ ปัจจุบัน คือตำบลลุมมินเอ แขวงเปชวาร์ ประเทศเนปาล เจ้าชายสิทธัตถะประสูติ ใต้ต้นสาละในสวนนี้ เมื่อวันศุกร์ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ เวลาใกล้เที่ยง
ตรัสรู้
จากวันประสูตินั้นมา 35 ปีบริบูรณ์ คือ 45 ปีก่อนพุทธศักราช ณ ต้นพระศรีมหาโพธิ์ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม แคว้นมคธ ปัจจุบันเรียกว่า พุทธคยาจังหวัดคยา แคว้นพิหาร พระพุทธเจ้าตรัสรู้ที่ใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ์นี้ เมื่อวันพุธขึ้น15 ค่ำ เดือน 6 ปีระกา เวลารุ่งอรุณ
ปรินิพพาน
พระพุทธเจ้าทรงสั่งสอนศีลธรรมอยู่ 45 ปี เมื่อพระองค์ทรงมีพระชนมายุได้ 80 พรรษา ก็เสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน ณ ระหว่างต้นสาละคู่ในสาลวโนทยาน เมืองกุสินารา เมื่อวันอังคารขึ้น 15 ค่ำ เดือน 6 ปี มะเส็ง เวลาใกล้รุ่ง และได้กล่าวปัจฉิมโอวาทแก่พระภิกษุสงฆ์ที่เฝ้าว่า วยธมฺมา สงฺขารา อปฺปมาเท สมฺปาเทถ แปลว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลายอันว่าสังขารทั้งหลายย่อมมีความเสื่อมสลายไปเป็นธรรมดา ท่านทั้งหลายจงยังกิจทั้งปวงอันเป็นประโยชน์ของตนและประโยชน์ของผู้อื่นให้บริบูรณ์ด้วยความไม่ประมาทเถิด
ทุกคนรู้ไหมว่าหลักธรรมคำสอนที่สำคัญในวันวิสาขบูชานั้นจะใช้ อริยสัจ 4 ซึ่งหลักธรรมนี้พระพุทธเจ้าเป็นผู้ที่ค้นพบโดยมีความหมายว่า ความจริงอันประเสริฐ หรือ ความจริงที่ทำให้ผู้เข้าถึงเป็นอริยะ ซึ่งมีอยู่ 4 ข้อด้วยกัน คือ
ทุกข์ คือ สภาพที่ทนได้ยาก ภาวะที่ทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้
สมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์
นิโรธ คือ การดับทุกข์
มรรค คือ แนวปฏิบัติที่นำไปสู่หรือนำไปถึงความดับทุกข์
วันวิสาขบูชาได้ถูกรับรองให้เป็น วันสำคัญสากล ในที่ประชุมสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ สมัยสามัญ ครั้งที่ 55 พ.ศ.2542 โดยได้รับการรับรองจาก 16 ประเทศ คือ ศรีลังกา บังกลาเทศ ภูฏาน กัมพูชา ลาว มัลดีฟส์ มองโกเลีย พม่า เนปาล ปากีสถาน ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ สเปน อินเดีย ไทย และยูเครน


ถ่ายภาพโดย....होशདངພວན2017





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 26, 2021, 08:46:46 pm โดย होशདངພວན2017 »
ตั้งมั่น แน่วแน่ แก้ไขทุกสิ่ง