ผู้เขียน หัวข้อ: ห้องสมุดบางกอกคุณค่าของการถ่ายภาพ  (อ่าน 863 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ होशདངພວན2017

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 625
  • พลังกัลยาณมิตร 291
    • ดูรายละเอียด


อาจิณณกรรม

 :46: :46: :46:

กรรมหมวดที่ 2 คือ ปากทานปริยายจตุกกะ การส่งผลของกรรมที่จะนาเกิดในภพต่อไป โดยจะส่งผลตามลาดับก่อนหลังของกรรม แบ่งออกเป็น 4 คือ.....................
1.ครุกกรรม คือ กรรมหนัก
2.อาสันนกรรม คือ กรรมที่กระทาในเวลาใกล้จะตาย
3.อาจิณณกรรม คือ กรรมที่กระทาอยู่เสมอๆ
4.กฏัตตากรรม คือ กรรมที่ทามาแล้วในภพนี้ ที่นอกจากกรรมทั้ง 3 อย่าง
ข้างต้น หรือกรรมที่ทามาแล้วในอดีตชาติ 1.ครุกกรรม ครุกกรรม หมายถึง กรรมที่หนักแน่นจนกรรมอื่น ๆ ไม่สามารถห้ามการให้ผลได้ องค์ธรรมได้แก่ มหัคคตกุศลกรรม 9 ทิฏฐิคตสัมปยุตจิต 4 (เฉพาะที่เกี่ยวกับนิยตมิจฉาทิฏฐิกรรม 3) และโทสมูลจิต 2 (เฉพาะที่เกี่ยวกับปัญจานันตริยกรรม 5) รวมทั้งสิ้นเป็น 15 ครุกกรรมเป็นกรรมหนัก เมื่อจัดลาดับการส่งผลของกรรมแล้ว ครุกกรรมจึงเป็นกรรมลาดับแรกที่จะส่งผลนาไปเกิดในภพที่สองก่อนกรรมอื่นๆ คือ ส่งผลก่อนอาสันนกรรม อาจิณณกรรม และกฏัตตากรรม ครุกกรรมแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย ครุกกรรมฝ่ายบาป และครุกกรรมฝ่ายบุญ 1.ครุกกรรมฝ่ายบาป เป็นกรรมหนักฝ่ายบาป เมื่อตายลงผลของบาปจะส่งผลนาไปเกิดในอบายภูมิ 4 ในชาติต่อไปทันที ครุกกรรมฝ่ายบาป มี 2 อย่าง คือ 1.1 นิยตมิจฉาทิฏฐิ 1.2 อนันตริยกรรม 1.1 นิยตมิจฉาทิฏฐิ มี 3 คือ ก.นัตถิกทิฏฐิ ความเห็นผิดคิดว่าไม่มีผลแห่งกรรมที่ทาไว้ เป็นการปฏิเสธผล ผู้ที่มีความเห็นชนิดนัตถิกทิฏฐิย่อมมีอุจเฉททิฏฐิด้วยคือ เห็นว่าสัตว์ทั้งหลายตายแล้วก็สูญไม่มีการเกิดอีกมีความเห็นว่าไม่มีสิ่งที่เรียกว่า สมมติสัจจะ ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าคติธรรมดา หรือคลองธรรมตามเหตุและผล ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าสมมติสัจจะ เช่นไม่มีมารดาบิดา สัตว์บุคคลเกิดสืบเชื้อสายกันมาตามเรื่องตามราวเท่านั้น จึงไม่มีใครที่จะต้องนับถือว่าเป็นบิดามารดา แม้ที่นับถือว่าเป็นสมณะ พราหมณ์ ภิกษุ สามเณร ก็ไม่มีเป็นต้น ไม่มีสิ่งที่เรียกว่าคติธรรมดา หรือที่เป็นไปตามคลองธรรม เช่น ทาดีได้ดี ทาชั่วได้ชั่ว อย่างนี้ก็ไม่มี ข. อเหตุกทิฏฐิ ความเห็นผิดคิดว่าไม่มีเหตุ เป็นการปฏิเสธเหตุ คือ เมื่อได้รับผลดีผลร้ายต่าง ๆ ก็เห็นว่าเป็นไปตามคราว คราวที่มีโชคดีก็ได้รับผลดี คราวที่มีโชคร้ายก็ได้รับผลไม่ดีไม่มีเหตุอะไรที่จะมาทำให้ได้ผลดีผลร้าย ปฏิเสธเหตุในการทาดี ทำชั่ว ของบุคคลทั้งหลายที่กระทากันอยู่ทุกวันนี้ ไม่เชื่อว่าเป็นเหตุที่จะก่อให้เกิดผลได้ฉะนั้น.........การปฏิเสธเหตุนี้ก็เท่ากับว่าปฏิเสธผลไปด้วย ค.อกิริยทิฏฐิ ความเห็นผิดคิดว่าการทาบุญทาบาปก็เท่ากับไม่ได้ทำเป็นการปฏิเสธทั้งเหตุและผลแห่งกรรม คือ มีความเห็นว่าบุคคลทั้งหลายที่ทาดีก็ตามทาชั่วก็ตามไม่เป็นบาปไม่เป็นบุญ แสดงโทษของมิจฉาทิฏฐิ นิยตมิจฉาทิฏฐิเป็นความเห็นผิดอย่างร้ายแรง ซึ่งเมื่อมีความยึดถือ อยู่ในมิจฉาทิฏฐินี้มากจนดิ่งลงไปแล้ว หรือแนบแน่นแล้ว เพราะมีอุปาทานความยึดถืออยู่อย่างแรงกล้า ผลก็จะส่งให้นาไปเกิดในนรก เมื่อพ้นจากนรกถ้าเกิดมาเป็นมนุษย์ก็จะเป็นผู้มีความเห็นผิดเช่นนั้น ๆ ต่อ ๆไปอีก นับภพชาติ
ไม่ถ้วนพระพุทธองค์ก็ไม่สามารถทรงโปรดให้บุคคลที่มีความเห็นผิดนั้นกลับมาเห็นถูกได้ 1.2 อนันตริยกรรม มี 5 คือ 1.ปิตุฆาต ฆ่าบิดา 2.มาตุฆาต ฆ่ามารดา 3.อรหันตฆาต ฆ่าพระอรหันต์ 4.โลหิตุปบาท ทาให้พระพุทธเจ้าห้อพระโลหิต 5.สังฆเภท ทาให้สงฆ์เกิดความแตกแยกไม่ทาสังฆกรรมร่วมกัน ในบรรดาอนันตริยกรรม 5 นี้ เป็นอกุศลกรรมอย่างหนักทั้งสิ้น แต่สามารถจัดลาดับการส่งผลจากมากไปหาน้อย คือ สังฆเภทกกรรมหนักที่สุด รองลงมาคือ โลหิตุปบาท รองลงมาคือ อรหันตฆาต ส่วนมาตุฆาตและปิตุฆาตทั้งสองนี้ต้องแล้วแต่คุณสมบัติ ท่านใดมีศีลธรรมมากกว่า กรรมนั้นย่อมหนักกว่า ถ้ามารดามีศีลธรรม บิดาไม่มีศีลธรรม มาตุฆาตย่อมหนักกว่า ถ้าทั้งบิดามารดามีศีลธรรมด้วยกันหรือไม่มีศีลธรรมเหมือนกันแล้ว มาตุฆาตกรรมย่อมหนักกว่า ถ้าลูกที่มีพ่อแม่ป่วยไข้มีความทุกข์ทรมาน ก็อย่าไปสั่งหมอให้ฉีดยาให้ตายไปจะได้ไม่ต้องทุกข์ทรมาน หรือสั่งให้หมอเอาสายออกซิเจนออก เพราะการทาอย่างนี้เป็น อนันตริยกรรม บางครั้งลูกคิดไม่ถึง ไม่เข้าใจในเหตุและผลแห่งความทุกข์ของบิดามารดาว่าท่านต้องได้รับเช่นนั้น เป็นเพราะผลกรรมของท่านเอง เมื่อคิดไม่เป็นหรือเพราะมุ่งแต่สงสารจึงอาจพลาดพลั้งทาอนันตริยกรรมโดยไม่รู้ตัว
องกรรมเป็นเรื่องละเอียดอ่อนที่จะต้องระมัดระวัง การทากรรมใด ๆ ก็ตาม จะต้องพิจารณาให้รอบคอบเสียก่อน พระพุทธองค์ตรัสไว้ว่า “นิสมฺม กรณ เสยฺโยใคร่ครวญเสียก่อนจึงทำ อนันตริยกรรม 5 นี้ จัดเป็นกรรมหนัก แต่ก็ยังหนักไม่เท่ากับนิยตมิจฉาทิฏฐิกรรม เพราะนิยตมิจฉาทิฏฐิกรรมเป็นกรรมที่ให้ผลไม่มีที่สิ้นสุด ส่วนอนันตริยกรรมเมื่อส่งผลให้ไปเสวยกรรมครบตามกาหนดก็พ้นจากกรรมนั้น ๆ ได้แต่นิยตมิจฉาทิฏฐิกรรมจะจมปลักอยู่ในกรรมเช่นนี้ตลอดเวลา 2.ครุกกรรมฝ่ายบุญ กรรมหนักฝ่ายกุศล คือ มหัคคตกุศลกรรม 9 ได้แก่ รูปาวจรกุศล 5 อรูปาวจรกุศล 4 ผู้ที่บาเพ็ญฌานบรรลุถึงปฐมฌาน ถึงฌานที่ 3 ฌานที่ 3 ฌานที่ 4 และฌานที่ 5 การได้ฌานที่เป็นรูปฌาน ทั้ง 5 นี้จัดว่าเป็นครุกกรรมฝ่ายกุศล และเมื่อได้ถึงปัญจมฌานแล้วไปเจริญอรูปฌานต่ออีก 4 นั้นก็เป็น ครุกกรรมฝ่ายกุศล ครุกกรรมฝ่ายกุศลกรรมทั้ง 9 ประการนี้ เมื่อเจริญสาเร็จแล้วอย่างใดอย่างหนึ่ง ถ้าตายจากโลกมนุษย์จะต้องได้รับผลกรรมนั้นในชาติที่สองทันที คือนาไปเกิดในรูปภูมิ อรูปภูมิ ส่วนโลกุตตรกุศลกรรม คือ มรรคจิต 4 จัดว่าเป็นกรรมหนักคือครุกกรรมฝ่ายบุญเหมือนกัน แต่ไม่เป็นกรรมที่จะนาไปเกิดได้ มีแต่จะทาลายการเกิด จึงไม่ถือว่าเป็นกรรมที่จะส่งผลให้เกิดในชาติหน้า จึงไม่จัดเข้าเป็นกรรมในหมวดนี้ จบครุกกรรม 2.อาสันนกรรม อาสันนกรรม หมายถึง กรรมที่ทาไว้เมื่อใกล้จะตาย เป็นการระลึกถึงสิ่งที่ดีหรือไม่ดี ในเวลาใกล้ตาย หรือการกระทาที่ดีหรือไม่ดีในเวลาใกล้จะตาย องค์ธรรมได้แก่ อกุศลกรรม 12 และมหากุศลกรรม 8 ในการให้วิบากปฏิสนธิ ถ้าหากว่าครุกกรรมไม่มี อาสันนกรรมนั้นแหละจะให้ผลก่อน เพราะอยู่ใกล้ปากทาง คือ ความตาย อุปมาดังนี้ ในตอนเย็นก็ต้องต้อนฝูงโคกลับเข้าคอก โคที่แข็งแรงทั้งหมดก็เดินเข้าคอกไปได้ก่อนโคแก่ที่อ่อนกาลัง โคแก่เดินเข้าคอกได้เป็นลาดับสุดท้าย ก็ปิดประตูคอกได้ เมื่อถึงเวลาเช้าเปิดประตูคอกแล้ว ถึงแม้โคที่มีกาลังมีอยู่มากหลายตัวแต่ทั้งหมดก็ออกจากคอกไม่ได้ มีแต่โคแก่เท่านั้นที่จะได้โอกาสออกจากคอกก่อน เพราะว่าอยู่ตรงใกล้ปากประตูคอก ฉันใด ก็ฉันนั้น กุศลกรรมหรืออกุศลกรรมทั้งหลาย เมื่อครุกกรรมไม่มี อาสันนกรรมนั่นแหละย่อมให้ผลก่อน เพราะเหตุว่าอยู่ใกล้ปากทางแห่งความตายนั่นเองตัวอย่างเช่น พระนางมัลลิกา ทำกุศลไว้มาก แต่ในเวลาใกล้ตายนางนึกถึงอกุศลที่เคยทาไว้แล้ว อกุศลที่นึกถึงในขณะใกล้ตายนั้นเอง เป็นอาสันนกรรมนาให้นางไปเกิดในนรก กุศลที่ทำไว้ไม่มีโอกาสส่งผลนาไปเกิดในกามสุคติภูมิ หรือบางคนกาลังมีความสนุกสนานเพลิดเพลินอยู่ ดูหนังดูละคร รับประทานอาหารอย่างเฮฮา กับเพื่อนฝูง หรือบางคนกาลังทามิจฉาอาชีพมีการลักทรัพย์ เป็นต้น เหล่านี้จัดเป็นอกุศลทั้งสิ้น ถ้าในขณะนั้นมีเหตุที่ต้องเสียชีวิตลงอกุศลเหล่านั้นก็เป็นอกุศลอาสันนกรรม สามารถนาไปเกิดในอบายภูมิ หรือ บุคคลเมื่อตอนใกล้ตายมีอดีตกรรมที่เคยทำไว้ มาเป็นเครื่องให้ระลึกถึงว่าเคยฆ่าสัตว์ ฯลฯ หรือบางบุคคลเมื่อตอนใกล้ตาย มีลูกหลานทะเลาะกันอาจจะแย่งสมบัติกัน หรือตัวเองห่วงทรัพย์สมบัติ อกุศลกรรมที่เกิดขึ้นในขณะใกล้ตายนั้นคือกรรมที่เป็นอาสันนกรรม ย่อมนาไปสู่ทุคติได้ อาสันนกรรมจึงเป็นกรรมที่สาคัญ จะให้ผลก่อนกรรมอื่นๆ เว้นไว้แต่กรรมที่เป็นครุกกรรม จบ อาสันนกรรม 3. อาจิณณกรรม อาจิณณกรรม หมายถึง กรรมที่เคยทาไว้เสมอ ๆ เป็นกรรมที่บุคคลสั่งสมไว้บ่อยๆ ได้แก่ อกุศลกรรม 12 และมหากุศลกรรม 8
อาจิณณกรรม ในบางแห่งเรียกว่า พาหุลกรรม แปลว่า กรรมที่ทาไว้มาก กรรมที่เคยทาไว้เสมอ ๆ บ่อย ๆ คำว่าทำบ่อย ๆ ไม่ใช่หมายถึงเพียงจะต้องทาทางกายตลอดเวลา แต่ถ้าเป็นกรรมที่ทำครั้งเดียว แต่นึกถึงบ่อยๆ ก็เป็นอาจิณณกรรมแล้ว เช่นเคยสร้างโบสถ์ ตลอดชีวิตอาจทาได้ครั้งเดียว แต่ว่านึกถึงบ่อย ๆ ก็จัดเป็นอาจิณณกรรมฝ่ายกุศล เพราะนึกถึงครั้งใดจิตใจก็เป็นบุญ ในทางตรงกันข้ามถ้าเป็นอกุศลถึงแม้ทาครั้งเดียวแต่ถ้ามีการนึกถึงบ่อยๆ ก็เป็นอาจิณณกรรมฝ่ายอกุศล ตัวอย่างเช่น ในสมัยพุทธกาลมีคนฆ่าหมูชื่อนายจุนทะ ฆ่าหมูทุกวัน เมื่อนายจุนทะใกล้ตาย เขาร้องเป็นเสียงหมูเมื่อตอนถูกเชือด กรรมที่เขาทาอยู่เสมอ ๆ ในขณะที่ยังมีชีวิตอยู่กรรมนั้นไม่มีโอกาสส่งผล แต่เมื่อใกล้ตายก็มาส่งผล ฉะนั้น กรรมใดที่บุคคลได้ทาไว้บ่อย ๆ ตลอดช่วงเวลาที่ยังมีชีวิตอยู่ กรรมนั้นแหละเป็นอาจิณณกรรม ในขณะใกล้ตายถ้าไม่มีกรรมอื่น ๆ มาให้ผล กรรมที่เป็นอาจิณณกรรมก็จะให้ผลนาไปเกิด....
จบ อาจิณณกรรม

 :09: :09: :09:




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 09, 2022, 04:13:18 pm โดย होशདངພວན2017 »
ตั้งมั่น แน่วแน่ แก้ไขทุกสิ่ง