แสงธรรมนำใจ > ศิษย์โง่ไปเรียนเซ็น
พื้นที่ชีวิต : เดินทาง 20,000 กิโลเมตร ตามรอย ปรมาจารย์ตั๊กม้อ
(1/1)
มดเอ๊กซ:
ว่ากันว่าแก่นคำสอนของ "ท่านโพธิธรรม" หรือ "ตั๊กม้อ" คือการชี้ตรงไปที่จิตใจ เพื่อให้เห็นธรรมชาติเดิมแท้ และบรรลุถึงพุทธภาวะ ตามตำนานกล่าวว่าท่านเป็นเจ้าชายจากอินเดียตอนใต้ที่เดินทางข้ามน้ำข้ามทะเลไปเผยแผ่คำสอนที่ไม่ใช่เพียงแค่เปลี่ยนแปลง แต่เป็นการปฏิวัติสังคมวัฒนธรรมและจิตวิญญาณ ทั้งในจีน ญี่ปุ่น รวมถึงอีกหลายประเทศทั่วโลกที่เซ็นแพร่ไปถึง แน่นอนว่าหากปราศจากท่านโพธิธรรม โฉมหน้าของอารยธรรมตะวันออกจะต่างจากที่เราเห็นทุกวันนี้อย่างคาดไม่ถึงเลยทีเดียว
ออกเดินทางจากอินเดียตอนใต้ ไปยังจีน และญี่ปุ่น รวมระยะทางกว่า 20,000 กิโลเมตร เพื่อไขปริศนา และตามรอยการเดินทางของปรมาจารย์เซนผู้ยิ่งใหญ่ท่านนี้
ลิ้งแรก https://youtu.be/s6sU65VVLdc
https://www.youtube.com/v/s6sU65VVLdc
มดเอ๊กซ:
หลังจากที่ท่านโพธิธรรมหรือที่คนจีนเรียกว่าตั๊กม้อ ได้รับมอบภารกิจจากอาจารย์ของท่านคือภิกษุณีปรัชญาธารา ให้ไปเผยแผ่ธรรมะแบบจิตสู่จิตยังแผ่นดินจีนแล้ว ท่านน่าจะลงเรือจากเมืองท่าขนาดใหญ่ในสมัยนั้นคือมหาบาลีปุรัม ผ่านอ่าวเบงกอล ช่องแคบมะละกา เพื่อไปยังแผ่นดินจีน
วิธีปฏิบัติธรรมแบบเซนที่ท่านโพธิธรรมนำมานั้นแตกต่างจากของเดิมในจีนโดยสิ้นเชิง ช่วงที่ท่านโพธิธรรมมาถึงประเทศจีนนั้นพุทธศาสนาในจีนเจริญรุ่งเรืองและแพร่หลายมากอยู่แล้ว ช่วงนั้นพุทธศาสนาในจีนมีหลายนิกาย แต่ละนิกายต่างก็มีพระอาจารย์ที่มีชื่อเสียงอยู่หลายท่าน มีการแปลคัมภีร์สำคัญ ๆ ออกมามากมาย แต่เมื่อท่านโพธิธรรมเดินทางมาถึง วิธีการปฏิบัติธรรมแบบเซนที่ท่านนำมาจากอินเดียถือเป็นการปฏิวัติเลยทีเดียว เพราะมันแตกต่างจากความเข้าใจพุทธศาสนาของคนจีนที่มีมาตั้งแต่สมัยฮั่นโดยสิ้นเชิง
ลิ้งสอง https://youtu.be/tWf-t6atx20
https://www.youtube.com/v/tWf-t6atx20
มดเอ๊กซ:
ท่านปรมาจารย์ตั๊กม้อ เดินทางมาถึงจีนในช่วงระหว่าง ค.ศ. 400- 500 ในตอนนั้นพุทธศาสนาในจีนเจริญรุ่งเรืองพอสมควรแต่ส่วนใหญ่จะเป็นด้านปริยัติ คือการแปลคัมภีร์ต่าง ๆ จากอินเดีย รวมทั้งการประกอบพิธีกรรมและทำบุญสุนทาน สิ่งที่ท่านโพธิธรรมนำเข้ามา คือการเน้นไปที่การปฏิบัติ โดยมองตรงลงไปที่จิต เพื่อเข้าถึงความจริงของสูงของธรรมชาติ จึงถือเป็นเรื่องแปลกใหม่ที่ช็อกวงการพุทธศาสนาในเมืองจีนขณะนั้นเลยทีเดียว
แต่เซนก็ไม่ได้รับความนิยมในชั่วข้ามคืน บันทึกระบุว่าท่านโพธิธรรมมีลูกศิษย์เพียงไม่กี่คน แถมในช่วงแรกยังทำให้จักรพรรดิขัดเคืองจนต้องหลบไปอยู่บนยอดเขาห่างไกลอยู่ถึง 9 ปี ต่อมาในช่วงของผู้สืบทอด คือสังฆปรินายกองค์ที่ 2 และ 3 ก็ยังไม่มีการก่อตั้งวัดเซนขึ้นอย่างเป็นเรื่องเป็นราว อาจารย์เซนมักเก็บตัวอยู่ในป่าเขาห่างไกล ผู้ใฝ่เรียนจึงต้องแสวงหาครูบาอาจารย์อย่างยากลำบาก และการสอนยังคงเป็นลักษณะตัวต่อตัวในหมู่ผู้สนใจกลุ่มเล็ก ๆ เท่านั้น แต่ทั้งหมดนี้เริ่มเปลี่ยนไปเมื่อมาถึงยุคของท่านเต้าซิ่น สังฆปรินายกองค์ที่ 4
https://youtu.be/IqgwvYNFI50
https://www.youtube.com/v/IqgwvYNFI50
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
Go to full version