อริยะสงฆ์ผู้ปฏิบัติธรรมอันดี > พระอริยบุคคล

พระอุปคุตเถระเจ้า

(1/2) > >>

sithiphong:
พระอุปคุตเถระเจ้า



รูป ผมสงวนลิขสิทธิ์

.

sithiphong:
ตำนาน พระอุปคุต

จากการค้นหาข้อมูลของพระอุปคุตนั้น เราทราบเพียงว่า ท่านเกิดหลัง พระพุทธเจ้า เสด็จปรินิพพานแล้ว ประมาณ พ.ศ. 218 ปี แต่ไม่ทราบ ภูมิเดิมของท่านละเอียด ว่าเป็นบุตรของใคร เกิดในวรรณะอะไร และที่ไหน 

   

จากการสันนิษฐานตามตำนาน พระเถระอุปคุต น่าจะเป็นชาวเมืองปาตลีบุตร เมื่อบวชแล้วบำเพ็ญเพียร จนสำเร็จเป็นพระอรหันต์ขีณาสพ สำเร็จอภิญญาต่างๆ จนสามารถแสดงอภินิหาร เป็นที่เล่าลือมาจนทุกวันนี้ มีปฏิปทาดำเนินไปในทางสันโดษ มักน้อย นัยว่าท่านเนรมิตเรือนแก้ว (กุฏิแก้ว) ขึ้นในท้องทะเลหลวง (สะดือทะเล)   แล้วก็ลงไปอยู่ประจำ ที่กุฏิแก้วตลอดเวลา เมื่อมีเหตุเภทภัยเกิดขึ้นในพระศาสนา หรือเมื่อมีพิธีกรรมใหญ่ๆ หรือมีผู้นิมนต์ ท่านก็จะขึ้นมาช่วยเหลือ ด้วยความเต็มใจเสมอ

สรุปรวมความได้ว่า ท่านเป็นพระเถระสำคัญองค์หนึ่ง ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช (ผู้นำกองทัพธรรมแผ่กระจายไปทั่วโลก) เป็นพระเถระผู้เปี่ยมด้วยพุทธานุภาพ และฤทธิ์เดชเกรียงไกร สามารถปราบพญามารและกำจัดสิ่งชั่วร้าย ที่จะมาทำลายพิธีกรรมใหญ่ ๆ มาแต่ครั้งโบราณ

เรื่องราวก็มีอยู่ว่า เมื่อประมาณปลายพุทธศตวรรษที่ 2 หลังพุทธปรินิพพาน ณ นครปาตลีบุตราชธานี (ปัจจุบันคือเมืองปัตนะ ภาคใต้อินเดีย) พระเจ้าอโศกมหาราช ผู้ครองราชสมบัติในขณะนั้น ทรงเลื่อมใสในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง ตามตำนานกล่าวว่า ได้ทรงสร้างพระวิหารและพระสถูป มากมายทั่วทั้งชมพูทวีป (เค้าว่ามากถึงแปดหมื่นสี่พันองค์) เป็นผู้รวบรวมและขุดค้นพระบรมสารีริกธาตุ เพื่อจะนำไปบรรจุในสถูปที่พระองค์ทรงสร้างไว้ทุกแห่ง

เมื่อการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเสร็จเรียบร้อยแล้ว พระองค์ก็ทรงปรารภ ที่จะจัดให้มีการฉลองสมโภช พระสถูปเจดีย์ทั้งหมดนั้น เป็นการมโหฬารยิ่ง ตลอด 7 ปี 7 เดือน 7 วัน และเพื่อให้การฉลองสมโภช เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ปราศจากอุปสรรค จึงใคร่จะอาราธนาพระสงฆ์ขีณาสพ ที่ทรงอิทธิฤทธิ์ มาเป็นผู้คุ้มครองงาน ให้ปราศจากการรบกวนจากมารร้ายต่าง ๆ

แต่พระสงฆ์ในนครปาตลีบุตร ไม่มีรูปใดที่จะสามารถ เป็นผู้คุ้มครองงานมหกรรมอันยิ่งใหญ่นี้ ให้พ้นจากภัยทั้งหลายทั้งปวงได้ (โดยเฉพาะภัยจากพญาวัสสวดีมาร ผู้มีฤทธิ์ยิ่งกว่าภูตผีปีศาจทั้งหลาย) นอกเสียจากพระอุปคุตเถระผู้เดียวเท่านั้น พระสงฆ์ทั้งปวงจึงตั้งตัวแทน ๒ รูป ลงไปอาราธนาพระอุปคุตเถระผู้เรืองฤทธิ์   มาช่วยรักษาความปลอดภัย ในงานสมโภชครั้งนี้ ซึ่งกล่าวกันว่า พระอุปคุตเถระองค์นี้ มีปกติสันโดษอยู่องค์เดียว เข้าฌานสมาบัติเสวยวิมุตติสุข อยู่ในมหาสมุทรอันกว้างใหญ่ ภายในปราสาทแก้วที่เนรมิตขึ้น เหนือรัตนะบัลลังก์ จะออกจากสมาบัติ เหาะขึ้นมาบิณฑบาต ในโลกมนุษย์ ในวันพุธเพ็ญกลางเดือนเท่านั้น


และในครั้งนี้เอง พระอุปคุตเถระ ถูกพระภิกษุสองรูป ผู้ได้อภิญญาสมาบัติ ชำแรกมหาสมุทร ลงมาถึงตัวท่านแจ้งว่า ให้ท่านจงเป็นธุระ ป้องกันพญามารอย่าให้รบกวนงานฉลองพระสถูปเจดีย์ ของพระเจ้าอโศกมหาราชได้

เมื่อพระอุปคุตเถระได้รับนิมนต์ ก็เดินทางมานมัสการ และรายงานตัวต่อคณะสงฆ์ในวันรุ่งขึ้น พระเจ้าอโศกมหาราช จึงได้เสด็จเข้ามานมัสการคณะสงฆ์ เพื่อขอทราบเรื่อง ผู้จะที่จะมาทำหน้าที่รักษาการ งานฉลองสมโภชพระสถูปเจดีย์ เมื่อพระองค์ทรงทราบ ว่าผู้ที่จะมาทำหน้าที่นี้ คือพระอุปคุตเถระ   ก็ทรงนึกแคลงพระทัย เนื่องจากพระอุปคุตเถระนั้น มีร่างกายผ่ายผอมดูอ่อนแอ ก็ทรงไม่แน่ใจ เกรงจะทำหน้าที่ได้ไม่สมบูรณ์ แต่ไม่ทรงตรัสว่ากระไร

ครั้นรุ่งเช้าวันใหม่ ขณะที่พระอุปคุตหาเถระ ออกบิณฑบาตในนครปาตลีบุตรนั้น พระเจ้าอโศกมหาราช ใคร่จะทดสอบฤทธิ์พระเถระ   จึงทรงปล่อยช้างซับมัน (ช้างตกมัน) ให้เข้าทำร้ายพระเถระ พระมหาอุปคุตเถระเห็นดังนั้น จึงสะกดช้าง ที่กำลังวิ่งเข้ามา ให้หยุดอยู่กับที่ ไม่ไหวติงประดุจช้างที่สลักด้วยศิลา พระเจ้าอโศกมหาราช ทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ก็ทรงเลื่อมใส จึงเสด็จไปขอขมาพระเถระ พระมหาอุปคุตเถระ ก็ให้อภัยทั้งแก่พระเจ้าอโศกมหาราช และพญาคชสาร

เมื่อเห็นว่าพระอุปคุตเถระ มีฤทธิ์เดชมาก พระเจ้าอโศกมหาราช ก็ทรงวางพระทัย   ตรัสสั่งให้เตรียมฉลองสมโภช พระสถูปเจดีย์ทั้งหมด ด้วยการปลูกปะรำร้านโรง ประดับธงทิว และประทีปโคมไฟ ตลอดระยะทางกึ่งโยชน์ ทำให้ตามแนวฝั่งแม่น้ำคงคา สว่างไสวไปทั่วทั้งบริเวณ

บรรลุฤกษ์งามยามดีตามที่กำหนดไว้ บรรดาพระสงฆ์ขีณาสพ และพระสงฆ์ปุถุชน ตลอดจนพุทธศาสนิกชน ทั้งในนครปาตลีบุตร และต่างแดนจากจตุรทิศ ก็เริ่มหลั่งไหลเข้าสู่บริเวณงาน พร้อมเครื่องสักการบูชา เพื่อร่วมพิธีฉลองสมโภช พระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุอยู่ในมหาเจดีย์   และเจดีย์ ทั้งแปดหมื่นสี่พันองค์ ด้วยความเลื่อมใส ศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง

และในเวลานี้เอง พญามาร (พญาวัสสวดีเทพบุตรมาร) ก็มุ่งหน้าเข้ามาในงานกับเค้าเหมือนกัน ทั้งนี้ก็เพื่อที่จะก่อความวุ่นวาย ต่างๆ นานา ทั้งบันดาลให้เกิดลมพายุ ทั้งแปลงร่างเป็นสัตว์ป่า และสัตว์หิมพานต์ แต่ทุกครั้งก็โดนพระอุปคุตเถระ กำราบได้หมด และสุดท้าย เพื่อให้พญามาร ออกไปจากบริเวณพิธี พระอุปคุตเถระ จึงเนรมิตร่างหมาเน่าขึ้นมาตัวหนึ่ง แล้วดึงประคตจากเอวของท่าน ออกมาผูกร่างหมาเน่านั้น คล้องคอพญามารไว้ แล้วสำทับว่าไม่ว่าใครก็ตาม (นอกจากท่านเอง) จะเอาหมาเน่านี้ออก จากคอพญามารไม่ได้ แล้วขับพญามารออกไป จากบริเวณงานทันที

ด้วยความอับอาย พญามารก็ออกมาจากบริเวณงาน และพยายามแก้ร่างสุนัขเน่า ออกด้วยฤทธานุภาพ แต่ทำอย่างไร ก็ไม่สามารถแก้ได้ เพราะเมื่อเอามือทั้งสอง ต้องสายประคตที่คล้องคอทีไร ต้องมีไฟลุกขึ้นไหม้คอ และมือทันที สุดจะแก้ไขด้วยตนเองได้ ก็ไปหาที่พึ่งอื่น (ที่คิดว่าน่าจะช่วยได้)

แต่ถึงแม้จะไปหาท้าวมหาราชทั้งสี่ พระอินทร์ ท้าวยามา ท้าวสันดุสิต ท้าวนิมิตเทวราช ตลอดจนท้าวสหัสบดีพรม ก็ไม่มีใครสามารถช่วยได้ ต่างได้แต่แนะนำว่า ให้พญามารไปขอขมา และขอความเมตตา จากพระเถระผู้นั้นเสียดีกว่า

พญามารเห็นดังนั้น จึงจำใจต้องกลับไปหาพระเถระ อ้อนวอน ให้ช่วยเอาซากหมาเน่าออกจากคอให้ แล้วจะไม่มารบกวน การจัดงานอีก พระอุปคุตเถระก็อนุโลมตาม แต่ยังไม่ไว้ใจพญามารนัก   เกรงพญามาร จะกลับมาทำลายพิธีในภายหลัง จึงเดินนำพญามาร ไปยังเขาใหญ่ลูกหนึ่ง แล้วเอาร่างหมาเน่าทิ้งลงเหว และเนรมิตให้สายประคตยาวขึ้น แล้วพันคอพญามาร ไว้กับเขาลูกนั้น พร้อมทั้งแจ้งว่า เมื่อเสร็จพิธีฉลองสมโภช พระมหาเจดีย์สิ้นสุดลงแล้ว   จึงจะแก้โซ่ออก ปล่อยให้พญามารเป็นอิสระ (7 ปี 7 เดือน 7 วัน)

เวลาผ่านไปตามที่ตกลงกัน การจัดงานสมโภชน์ ก็สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี พระอุปคุตเถระ จึงกลับมาหาพญามาร โดยแอบอยู่ห่างๆ เพื่อฟังเสียงพญามารว่า ละพยศร้ายหรือยัง

พญามารเอง เมื่อจากทิพยวิมานอันบรมสุข มารับทุกขเวทนาเช่นนี้ ก็ละพยศร้ายในสันดาน หวนนึกถึงพระพุทธโคดม จึงกล่าวสดุดี ในความเมตตากรุณา ของพระพุทธเจ้า ในเรื่องที่ทรงมีมหากรุณาธิคุณ อันยิ่งใหญ่ว่า “ทรงบำเพ็ญสิ่งอันเป็นที่สุดหามิได้ เป็นที่พึ่งพำนักแก่สัตว์โลกทั้งมวล ในกาลทุกเมื่อ พระองค์นั้น เป็นผู้ประเสริฐหาผู้เสมอเหมือนมิได้ อนึ่ง   ในกาลก่อน ข้าพเจ้าได้ทำร้ายพระองค์ โดยประการต่างๆ แต่พระองค์ ก็ยังทรงมหากรุณาธิคุณ มิได้กระทำการโต้ตอบ แก่ข้าพเจ้าเลย มาบัดนี้ สาวกของพระองค์นามว่าอุปคุต ไม่มีเมตตาแก่ข้าพเจ้าเลย กระทำกับข้าพเจ้า ให้ได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัส และได้รับความอับอาย เป็นอย่างยิ่ง ถ้าหากว่าข้ายังมีบุญกุศล ที่ได้สั่งสมไว้แต่กาลก่อน ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอธิษฐาน ปรารถนาเป็นพระสัพพัญญูในอนาคต ดังเช่นพระองค์ต่อไป”


กล่าวได้ว่า การตกระกำลำบากในครั้งนี้ ทำให้พญามาร ซึ่งความจริงแล้ว ในอดีตชาติ (ในยุคของพระกัสสปพุทธเจ้า) เคยมีจิตตั้งมั่น ที่จะบำเพ็ญเพียร ให้ได้เป็นพระพุทธเจ้าเช่นกัน แต่ที่ได้กระทำการขัดขวาง พุทธศาสดาของพระพุทธโคดม ก็ด้วยความริษยา พระพุทธโคดม (มีมิจฉาทิฐิ) เนื่องด้วยพระองค์ ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าก่อนตน ทั้งๆ ที่ตนบำเพ็ญบารมี มามากพอสมควรเหมือนกัน แต่การกระทำในแต่ละครั้ง ก็มิได้ล่วงเกิน ทำบาปหนักแต่ประการใด

เมื่อพระอุปคุตเถระ ได้ยินคำปรารภดังนั้น ก็เห็นว่าพญามารสิ้นพยศแล้ว จึงแก้โซ่ออก ปล่อยให้พญามารเป็นอิสระ พร้อมทั้งขอขมาพญามาร และบอกว่า การกระทำครั้งนี้ ก็เพื่อให้พญามาร ระลึกได้ถึงพุทธภูมิ ที่ท่านเคยปรารถนาไว้เท่านั้นเอง มิได้มีเจตนา ที่จะล่วงเกินประการใด ซึ่งพญามารก็เข้าใจด้วยดี


ต่อจากนั้นพระเถระ ก็ได้ขอให้พญามาร เนรมิตกาย เป็นพระพุทธองค์ เพื่อจะได้เห็น เป็นพุทธานุสติบ้าง ซึ่งพญามารก็รับคำ แต่ขอร้องว่า เมื่อเห็นเขาเนรมิตกาย เป็นพระพุทธองค์แล้ว อย่าหลงกราบไหว้เป็นอันขาด เพราะจะให้เขาบาปหนัก

ครั้นเมื่อพญามารเนรมิตกาย เป็นพระพุทธเจ้า ประกอบด้วยมหาปุริสลักษณะ และฉัพพรรณรังสี อันวิจิตร มีพระอัครสาวกเบื้องซ้าย เบื้องขวา แวดล้อมด้วย มหาสาวกทั้งหลายเป็นบริวาร เสด็จเยื้องย่าง ด้วยพุทธลีลาอันงดงามยิ่ง พระเถระ และบรรดาพุทธบริษัททั้งหลาย เห็นเช่นนั้น ก็ลืมตัวพากันถวายนมัสการ ทำเอาพญามารตกใจ รีบคืนร่างเดิม และท้วงติงว่า ทำให้ตนมีบาปหนัก แต่พระเถระ ก็กล่าวให้พญามารสบายใจว่า ทุกคนกราบไหว้พระพุทธเจ้า และพญามารก็ไม่บาปหรอก จะได้กุศลมากกว่า



จากนั้นพญามาร ก็กลับคืนสู่สวรรค์ ชั้นที่ 6 วิมานของตน และนับแต่นั้นมา พญามารได้มีจิตอ่อนน้อมเลื่อมใส ในพระพุทธศาสนา หมดสิ้นน้ำใจริษยา และบำเพ็ญบารมี เพื่อพุทธภูมิต่อไป

หมายเหตุ
เนื้อเรื่องได้กล่าวถึง พระพระกัสสปพุทธเจ้า ดังนั้นเพื่อความเข้าใจ ในการอ่าน ขอเสริมว่าตามตำนาน โลกเรานั้น แบ่งช่วงเวลาเป็นกัลป์ ซึ่งแต่ละช่วง ในแต่ละกัลป์ ก็จะมีพระพุทธเจ้า ที่มาตรัสรู้ โปรดบรรดาสัตว์โลก เป็นคราวไป ดังนั้นพระพุทธเจ้า จึงมีหลายพระองค์ ซึ่งเวลาหนึ่งกัลป์นั้นนานนัก (กัลป์ที่เราอยู่นี้ มีพระพุทธเจ้า มาตรัสรู้แค่ 5 พระองค์ และมีหลายๆ ช่วงในแต่ละกัลป์ ที่ปราศจากพระพุทธศาสนา โดยสิ้นเชิง ดังนั้นถือว่าเราโชคดีมาก ที่เกิดมาพบพระพุทธศาสนาในชาตินี้

ประวัติเพิ่มเติมตามตำนาน พระอุปคุต คัมภีร์อโศกอวทาน

ประวัติเพิ่มเติมตามตำนาน พระอุปคุต คัมภีร์ปฐมสมโพธิ์


sithiphong:
กำเนิด ประวัติ เรื่องราวความเป็นมา พระอุปคุต - คัมภีร์ปฐมสมโพธิ์

ตำนานใน คัมภีร์ปฐมสมโพธิ์ ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของ สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส มีเนื้อความดังนี้
ในคัมภีร์ปฐมสมโพธิ์ได้กล่าวถึงพระเจ้าอโศกว่า แต่เดิมนั้นพระเจ้าอโศกทรงนับถือศาสนาพราหมณ์มาก่อน แต่พอมาได้ฟังธรรม จากสามเณรนิโครธ ก็เกิดพระศรัทธา ในพุทธศาสนาอย่างมาก จนถึงขนาด ทรงนำหลักธรรมวินัย ของพระพุทธเจ้า มาเป็นนโยบายในการปกครองไพร่ฟ้า ประชาราษฎร์ ซึ่งระบบนี้เรียกว่า ระบบธรรมาธิปไตย คือการถือเอาธรรมะเป็นใหญ่

และในสมัยต่อมา พระเจ้าอโศกก็ได้โปรดให้สร้างพระสถูปเจดีย์และพุทธวิหารขึ้นทั่วชมพูทวีป โดยพุทธวิหาร ที่โปรดให้สร้างขึ้นนั้น ที่มีชื่อเสียงที่สุด ได้แก่ มหาวิหารที่ชื่อว่า “อโศการาม” ซึ่งตั้งอยู่ในเขตแคว้นมคธ ส่วนพระสถูปเจดีย์นั้น โปรดให้สร้างขึ้นถึง 84,000 องค์ และเมื่อพระสถูปเจดีย์ได้สร้างสำเร็จ สมพระราชประสงค์แล้ว พระเจ้าอโศกก็จึงได้ตรัสถามพระภิกษุทั้งหลายว่า จะสามารถหาพระบรมสารีริกธาตุ แต่ที่ใดมาบรรจุ ในพระสถูป ให้ถ้วนทั่วทั้ง 84,000 องค์ พระภิกษุทั้งหลาย ถวายพระพรว่า “พวกอาตมาภาพเคยได้สดับสืบ ๆ กันมาว่า การกระทำพิธีฝัง พระบรมสารีริกธาตุ นั้นมีอยู่ แต่มิทราบว่าสถานที่กระทำพิธีฝังพระบรมสารีริกธาตินั้นอยู่ที่ไหน” เมื่อพระเจ้าอโศก ทรงทราบเช่นนั้น จึงรับสั่งให้รื้อทำลาย พระสถูปเจดีย์ใน เมืองราชคฤห์ เพื่อค้นหา พระบรมสารีริกธาตุ แต่ก็ไม่ทรงพบ จึงทรงรับสั่งให้ก่อขึ้นไว้เป็นปกติดังเดิม
แต่มีเรื่องน่าอัศจรรย์เกิดขึ้น ตอนที่ไปขุดค้นหาพระบรมสารีริกธาตุ ที่รามคาม ปรากฎได้เกิดเหตุชนิดที่ใคร ๆ ก็คาดไม่ถึง คือหมู่นาค ไม่ยอมให้รื้อทำลายพระเจดีย์ โดยบันดาลทำให้ จอบเสียม สิ่ว ขวาน แตกหัก เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ ไม่สามารถขุดรื้อได้ดังใจปรารถนา
ในเมื่อการค้นหาพระบรมสารีริกธาตุไม่พบ ดังพระราชประสงค์ พระองค์จึงเสด็จนิวัติสู่กรุงราชคฤห์อีกครั้งหนึ่ง รับสั่งให้พุทธบริษัททั้ง 4 คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เข้าร่วมประชุม แล้วจึงตรัสถามว่า “ใครเคยได้ยิน มาบ้างว่า มีการกระทำพิธีฝังพระบรมสารีริกธาตุไว้ ณ ที่ ไหน” ในที่ประชุมนั้น ปรากฎว่า มีพระมหาเถระผู้เฒ่ารูปหนึ่ง อายุ 120 ปี บอกว่าสมัยที่มีอายุได้ 7 ขวบนั้น พระมหาเถระ ผู้เป็นบิดา ได้เคยพาท่านไปบูชาสถูปศิลาองค์หนึ่ง และสั่งย้ำว่า จงจำสถานที่นี้เอาไว้ให้ดี แต่ก็ไม่แน่ใจว่า ที่นั่น จะเป็นที่ประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุหรือไม่
เมื่อพระเจ้าอโศกได้ทรงสดับเช่นนั้น ก็ดำริว่า ที่นั้นชะรอยจะเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุเป็นแน่แท้ จึงมีรับสั่ง ให้พระมหาเถระนำเสด็จไปยังสถานที่แห่งนั้น เมื่อขุดลงไปก็ปรากฎว่าได้พบพระบรมสารีริกธาตุจริง ๆ ทำให้ พระเจ้าอโศก ทรงปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง
เมื่อกลับมาถึงเมืองปาฏลีบุตรแล้ว ก็ได้ทรงกระทำสักการะบูชาพระบรมสารีริกธาตุโดยวิธีอเนกประการ หลังจาก ทรงทำพิธีสักการะบูชาเสร็จ พระองค์ก็ทรงแจกพระบรมสารีริกธาตุไปบรรจุไว้ในพระเจดีย์ทั้ง 84,000 แห่ง ทั่วชมพูทวีป

เมื่อได้ทำการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในพระเจดีย์ทั้งหลายทุก ๆ พระนครเสร็จแล้ว ต่อจากนั้น จึงทรงรับสั่ง ให้ก่อสร้าง พระมหาสถูปองค์ใหญ่ขึ้นใหม่องค์หนึ่ง มีความสูงประมาณครึ่งโยชน์ ประดับประดาด้วยแก้วต่าง ๆ และแสงแห่งแก้วเหล่านั้น ก็สว่างรุ่งเรืองประดุจเขาไกรลาศ ประดิษฐานอยู่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา ใกล้กับ กรุงปาฏลีบุตร นั่นเอง ครั้นสร้างเสร็จแล้ว จึงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุส่วนที่เหลืออยู่ 1 ส่วน ไปบรรจุไว้
ในกาลต่อมา พระเจ้าอโศกมหาราช มีพระราชประสงค์ ที่จะทำาการฉลองพระสถูปเจดีย์ เป็นเวลา 7 ปี 7 เดือน 7 วัน จึงนำความไปปรึกษากับหมู่สงฆ์ ซึ่งมีพระโมคคัลลีบุตรเถระเป็นประธาน พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ พร้อมกับ พระภิกษุสงฆ์ ผู้ทรงอภิญญาทั้งหลาย ได้เล็งญาณดูแล้วเห็นว่า ในการทำพิธีฉลองครั้งนี้จะมีพญามาร มาทำลายพิธี จึงได้ทำการเฟ้นหาพระเถระ ผู้มีฤทธิ์ที่จะมาทำการป้องกันภัย อันจะพึงเกิด ขึ้นในครั้งนี้
 

แต่ปรากฎว่า ไม่มีผู้ใดที่สามารถจะทำการนี้ได้ จะเห็นมีอยู่ก็แต่ ท่านอุปคุต ซึ่งไปเนรมิตปราสาทแก้ว 7 ประการ จำพรรษาอยู่ในท้องมหาสมุทร เพื่อหลบหนีความวุ่นวาย โดยท่านไปนั่งเข้าฌาณสมาบัติ อยู่บนรัตนบัลลังค์ใน ท่ามกลางปราสาทแก้วนั้น โดยไม่ได้ฉันภัตตาหาร มาเป็นเวลานาน พระอุปคุตนี้แหละ หากได้นิมนต์มา ก็จะสามารถ ปราบพญามารได้ จึงตกลงใจที่จะไปนิมนต์พระอุปคุตมา สำหรับการไปนิมนต์ ครั้งนั้นก็ได้มอบหมาย ให้พระภิกษุ ผู้มีฤทธิ์ ได้อภิญญาสมาบัติ 2 รูป เป็นผู้ไปนิมนต์
เมื่อไปถึงที่อยู่ของท่านอุปคุต และได้แจ้งความประสงค์ให้ท่านทราบ ท่านก็ไม่ได้แสดงความขัดข้องแต่ประการใด บอกให้พระภิกษุที่ไปนิมนต์กลับมาก่อน แล้วท่านจะตามมาทีหลัง แต่ที่ไหนได้ …พอพระภิกษุที่ไปนิมนต์กลับมาถึง ก็เห็นท่านอุปคุตมาถึงก่อนแล้ว….นี่แสดงให้เห็นถึงอิทธิฤทธิ์อันน่าอัศจรรย์ของท่านพระอุปคุต
ก่อนที่จะถึงกำหนดการฉลองพระสถูปเจดีย์ พระเจ้าอโศกต้องการจะดูตัวว่าพระเถระไหนหนอ ที่จะมาทำหน้าที่ ป้องกันภัย จากพญามาร พอประธานสงฆ์ชี้ให้ดูว่ารูปนี้ไง ที่จะเป็นผู้ทำหน้าที่ป้องกันภัยจากพญามาร พระเจ้าอโศก ก็ชักไม่ค่อยเชื่อใจ เพราะรูปร่างของพระอุปคุตนั้นผอมมาก จะทำการป้องภัยจากพญามารผู้มีฤทธิ์มากได้อย่างไร ในเมื่อไม่เชื่อก็ต้องทดสอบ
วิธีการทดสอบของพระเจ้าอโศกก็คือ ในตอนเช้า ขณะที่ท่านอุปคุตเข้าไปบิณฑบาตรในพระราชนิเวศน์ พอออกมา ก็ให้ปล่อยช้างตกมันเพื่อจะทดลองกำลังฤทธิ์ของท่านพระอุปคุตว่า จะสู้กับช้างของพระองค์ได้หรือไม่ เพราะถ้าหาก ต่อสู้กับช้างไม่ได้แล้ว ไฉนเลยจะต่อสู้กับพญามารได้
และแล้ว พระเจ้าอโศกก็ได้เห็นประจักษ์ เมื่อช้างตกมันได้วิ่งไปหมายจะบดขยี้ท่านพระอุปคุต…แต่ช้างนั้นต้องพลัน ชะงักงันหยุดนิ่ง ไม่ไหวติง ร่างกายด้วยอำนาจฤทธิ์ของท่านอุปคุต

กำเนิด ประวัติ เรื่องราวความเป็นมา พระอุปคุต - คัมภีร์ปฐมสมโพธิ์

ตำนานใน คัมภีร์ปฐมสมโพธิ์ ซึ่งเป็นพระนิพนธ์ของ สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส มีเนื้อความดังนี้
ในคัมภีร์ปฐมสมโพธิ์ได้กล่าวถึงพระเจ้าอโศกว่า แต่เดิมนั้นพระเจ้าอโศกทรงนับถือศาสนาพราหมณ์มาก่อน แต่พอมาได้ฟังธรรม จากสามเณรนิโครธ ก็เกิดพระศรัทธา ในพุทธศาสนาอย่างมาก จนถึงขนาด ทรงนำหลักธรรมวินัย ของพระพุทธเจ้า มาเป็นนโยบายในการปกครองไพร่ฟ้า ประชาราษฎร์ ซึ่งระบบนี้เรียกว่า ระบบธรรมาธิปไตย คือการถือเอาธรรมะเป็นใหญ่

 
และในสมัยต่อมา พระเจ้าอโศกก็ได้โปรดให้สร้างพระสถูปเจดีย์และพุทธวิหารขึ้นทั่วชมพูทวีป โดยพุทธวิหาร ที่โปรดให้สร้างขึ้นนั้น ที่มีชื่อเสียงที่สุด ได้แก่ มหาวิหารที่ชื่อว่า “อโศการาม” ซึ่งตั้งอยู่ในเขตแคว้นมคธ ส่วนพระสถูปเจดีย์นั้น โปรดให้สร้างขึ้นถึง 84,000 องค์ และเมื่อพระสถูปเจดีย์ได้สร้างสำเร็จ สมพระราชประสงค์แล้ว พระเจ้าอโศกก็จึงได้ตรัสถามพระภิกษุทั้งหลายว่า จะสามารถหาพระบรมสารีริกธาตุ แต่ที่ใดมาบรรจุ ในพระสถูป ให้ถ้วนทั่วทั้ง 84,000 องค์ พระภิกษุทั้งหลาย ถวายพระพรว่า “พวกอาตมาภาพเคยได้สดับสืบ ๆ กันมาว่า การกระทำพิธีฝัง พระบรมสารีริกธาตุ นั้นมีอยู่ แต่มิทราบว่าสถานที่กระทำพิธีฝังพระบรมสารีริกธาตินั้นอยู่ที่ไหน” เมื่อพระเจ้าอโศก ทรงทราบเช่นนั้น จึงรับสั่งให้รื้อทำลาย พระสถูปเจดีย์ใน เมืองราชคฤห์ เพื่อค้นหา พระบรมสารีริกธาตุ แต่ก็ไม่ทรงพบ จึงทรงรับสั่งให้ก่อขึ้นไว้เป็นปกติดังเดิม
แต่มีเรื่องน่าอัศจรรย์เกิดขึ้น ตอนที่ไปขุดค้นหาพระบรมสารีริกธาตุ ที่รามคาม ปรากฎได้เกิดเหตุชนิดที่ใคร ๆ ก็คาดไม่ถึง คือหมู่นาค ไม่ยอมให้รื้อทำลายพระเจดีย์ โดยบันดาลทำให้ จอบเสียม สิ่ว ขวาน แตกหัก เป็นท่อนน้อยท่อนใหญ่ ไม่สามารถขุดรื้อได้ดังใจปรารถนา
ในเมื่อการค้นหาพระบรมสารีริกธาตุไม่พบ ดังพระราชประสงค์ พระองค์จึงเสด็จนิวัติสู่กรุงราชคฤห์อีกครั้งหนึ่ง รับสั่งให้พุทธบริษัททั้ง 4 คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา เข้าร่วมประชุม แล้วจึงตรัสถามว่า “ใครเคยได้ยิน มาบ้างว่า มีการกระทำพิธีฝังพระบรมสารีริกธาตุไว้ ณ ที่ ไหน” ในที่ประชุมนั้น ปรากฎว่า มีพระมหาเถระผู้เฒ่ารูปหนึ่ง อายุ 120 ปี บอกว่าสมัยที่มีอายุได้ 7 ขวบนั้น พระมหาเถระ ผู้เป็นบิดา ได้เคยพาท่านไปบูชาสถูปศิลาองค์หนึ่ง และสั่งย้ำว่า จงจำสถานที่นี้เอาไว้ให้ดี แต่ก็ไม่แน่ใจว่า ที่นั่น จะเป็นที่ประดิษฐาน พระบรมสารีริกธาตุหรือไม่
เมื่อพระเจ้าอโศกได้ทรงสดับเช่นนั้น ก็ดำริว่า ที่นั้นชะรอยจะเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุเป็นแน่แท้ จึงมีรับสั่ง ให้พระมหาเถระนำเสด็จไปยังสถานที่แห่งนั้น เมื่อขุดลงไปก็ปรากฎว่าได้พบพระบรมสารีริกธาตุจริง ๆ ทำให้ พระเจ้าอโศก ทรงปีติโสมนัสเป็นอย่างยิ่ง
เมื่อกลับมาถึงเมืองปาฏลีบุตรแล้ว ก็ได้ทรงกระทำสักการะบูชาพระบรมสารีริกธาตุโดยวิธีอเนกประการ หลังจาก ทรงทำพิธีสักการะบูชาเสร็จ พระองค์ก็ทรงแจกพระบรมสารีริกธาตุไปบรรจุไว้ในพระเจดีย์ทั้ง 84,000 แห่ง ทั่วชมพูทวีป
เมื่อได้ทำการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในพระเจดีย์ทั้งหลายทุก ๆ พระนครเสร็จแล้ว ต่อจากนั้น จึงทรงรับสั่ง ให้ก่อสร้าง พระมหาสถูปองค์ใหญ่ขึ้นใหม่องค์หนึ่ง มีความสูงประมาณครึ่งโยชน์ ประดับประดาด้วยแก้วต่าง ๆ และแสงแห่งแก้วเหล่านั้น ก็สว่างรุ่งเรืองประดุจเขาไกรลาศ ประดิษฐานอยู่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา ใกล้กับ กรุงปาฏลีบุตร นั่นเอง ครั้นสร้างเสร็จแล้ว จึงได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุส่วนที่เหลืออยู่ 1 ส่วน ไปบรรจุไว้
ในกาลต่อมา พระเจ้าอโศกมหาราช มีพระราชประสงค์ ที่จะทำาการฉลองพระสถูปเจดีย์ เป็นเวลา 7 ปี 7 เดือน 7 วัน จึงนำความไปปรึกษากับหมู่สงฆ์ ซึ่งมีพระโมคคัลลีบุตรเถระเป็นประธาน พระโมคคัลลีบุตรติสสเถระ พร้อมกับ พระภิกษุสงฆ์ ผู้ทรงอภิญญาทั้งหลาย ได้เล็งญาณดูแล้วเห็นว่า ในการทำพิธีฉลองครั้งนี้จะมีพญามาร มาทำลายพิธี จึงได้ทำการเฟ้นหาพระเถระ ผู้มีฤทธิ์ที่จะมาทำการป้องกันภัย อันจะพึงเกิด ขึ้นในครั้งนี้
แต่ปรากฎว่า ไม่มีผู้ใดที่สามารถจะทำการนี้ได้ จะเห็นมีอยู่ก็แต่ ท่านอุปคุต ซึ่งไปเนรมิตปราสาทแก้ว 7 ประการ จำพรรษาอยู่ในท้องมหาสมุทร เพื่อหลบหนีความวุ่นวาย โดยท่านไปนั่งเข้าฌาณสมาบัติ อยู่บนรัตนบัลลังค์ใน ท่ามกลางปราสาทแก้วนั้น โดยไม่ได้ฉันภัตตาหาร มาเป็นเวลานาน พระอุปคุตนี้แหละ หากได้นิมนต์มา ก็จะสามารถ ปราบพญามารได้ จึงตกลงใจที่จะไปนิมนต์พระอุปคุตมา สำหรับการไปนิมนต์ ครั้งนั้นก็ได้มอบหมาย ให้พระภิกษุ ผู้มีฤทธิ์ ได้อภิญญาสมาบัติ 2 รูป เป็นผู้ไปนิมนต์
เมื่อไปถึงที่อยู่ของท่านอุปคุต และได้แจ้งความประสงค์ให้ท่านทราบ ท่านก็ไม่ได้แสดงความขัดข้องแต่ประการใด บอกให้พระภิกษุที่ไปนิมนต์กลับมาก่อน แล้วท่านจะตามมาทีหลัง แต่ที่ไหนได้ …พอพระภิกษุที่ไปนิมนต์กลับมาถึง ก็เห็นท่านอุปคุตมาถึงก่อนแล้ว….นี่แสดงให้เห็นถึงอิทธิฤทธิ์อันน่าอัศจรรย์ของท่านพระอุปคุต
ก่อนที่จะถึงกำหนดการฉลองพระสถูปเจดีย์ พระเจ้าอโศกต้องการจะดูตัวว่าพระเถระไหนหนอ ที่จะมาทำหน้าที่ ป้องกันภัย จากพญามาร พอประธานสงฆ์ชี้ให้ดูว่ารูปนี้ไง ที่จะเป็นผู้ทำหน้าที่ป้องกันภัยจากพญามาร พระเจ้าอโศก ก็ชักไม่ค่อยเชื่อใจ เพราะรูปร่างของพระอุปคุตนั้นผอมมาก จะทำการป้องภัยจากพญามารผู้มีฤทธิ์มากได้อย่างไร ในเมื่อไม่เชื่อก็ต้องทดสอบ
วิธีการทดสอบของพระเจ้าอโศกก็คือ ในตอนเช้า ขณะที่ท่านอุปคุตเข้าไปบิณฑบาตรในพระราชนิเวศน์ พอออกมา ก็ให้ปล่อยช้างตกมันเพื่อจะทดลองกำลังฤทธิ์ของท่านพระอุปคุตว่า จะสู้กับช้างของพระองค์ได้หรือไม่ เพราะถ้าหาก ต่อสู้กับช้างไม่ได้แล้ว ไฉนเลยจะต่อสู้กับพญามารได้
และแล้ว พระเจ้าอโศกก็ได้เห็นประจักษ์ เมื่อช้างตกมันได้วิ่งไปหมายจะบดขยี้ท่านพระอุปคุต…แต่ช้างนั้นต้องพลัน ชะงักงันหยุดนิ่ง ไม่ไหวติง ร่างกายด้วยอำนาจฤทธิ์ของท่านอุปคุต

พระเจ้าอโศกเห็นดังนั้น จึงได้เข้าไปขอขมาต่อท่านพระอุปคุต ที่ได้ทำการลองดี ท่านอุปคุตก็ได้คลายฤทธิ์ ทำให้ช้างนั้น สามารถเคลื่อนไหวร่างกายได้ และกลับไปสู่โรงช้างอันเป็นที่อยู่ของตน เหตุการณ์ในวันนั้น ทำให้พระเจ้าอโศก มีความมั่นใจในฤทธานุภาพของท่าน พระอุปคุตว่าจะสามารถ ป้องกันภัยจากพญามารได้
และแล้ววันสำคัญก็มาถึง นั่นคือวันที่จัดให้มีการฉลองพระมหาสถูปเจดีย์พระเจ้าอโศกพร้อมด้วยข้าราช บริพาร และประชาขนได้พร้อมใจกันจัดเครื่องบูชาอย่างมโหฬาร ตามริมฝั่งแม่น้ำคงคา มีการจุดประทีป เป็นอเนกอนันต์ นับไม่ถ้วน จนทำให้บริเวณนั้นโชติช่วง มองดูแล้วสว่างไสวคล้ายเวลากลางวัน ขณะที่ทุกคนกำลังปีติอยู่กับ การบูชาพระมหาเจดีย์ นั้น เหตุการณ์ที่ใครๆ ไม่ได้คาดคิดก็เกิดขึ้น คือได้เกิดลมพายุใหญ่พัดมา ชนิดที่ไม่มีเค้ามาก่อนเลย
ท่านพระอุปคุตเห็นดังนั้น ก็จึงได้ใช้ฌาณอภิญญาตรวจดูเหตุที่ทำให้เกิดพายุใหญ่ ก็จึงได้ทราบว่า ที่แท้เป็นเพราะอำนาจ แห่งพญามารที่หวังจะมาทำลายพิธีนี่เอง ในเมื่อรู้ชัดเช่นนั้นแล้ว ท่านพระอุปคุตก็ไม่รอรี รีบใช้ฤทธิ์ปัดเป่า ให้พายุใหญ่ของพญามาร อันตรธานหายไปในบัดดล

เมื่อพญามารเห็นว่าใช้พายุใหญ่เพื่อทำลายพิธีไม่ได้ผล ก็รู้สึกโกรธแค้น จึงใช้วิธีการอย่างอื่น ๆ แต่ท่านพระอุปคุต ก็สามารถจะเอาชนะได้ทุกอย่าง จนผลที่สุด พญามารก็ได้ถูกพระอุปคุตปราบ โดยวิธีเนรมิตซากสุนัขเน่า ซึ่งมีกลิ่นเหม็น คละคลุ้ง และเต็มไปด้วยหมู่หนอนมองดูแล้วน่าขยะแขยง แล้วเอาผูกติดไว้ที่คอของพญามาร ผูกไม่ผูกเปล่า พระอุปคุตยังได้อธิษฐานจิตลงไปอีกว่า “ไม่ว่าเทพยดา พรหมหรือใครก็ตาม ถ้าจะแก้ ก็ขอให้แก้ไม่ออก”

พญามารพยายาม จะแก้เอาซากสุนัขนั้นออกจากคอของตนแต่ก็จนปัญญา ไม่สามารถจะแก้ออกได้ จึงจำใจ ต้องไปไหว้วอนท้าวจาตุมหาราช ให้ช่วยแก้ให้ แต่ท้าวจาตุมหาราชก็ไม่สามารถจะช่วยได้ พญามาร จึงขึ้นไปขอร้องเทพยดา ในชั้นสูง ๆ ขึ้นไปอีก จนถึงชั้นพรหม แต่ก็ได้ผลอย่างเดิมคือไม่มีใครช่วยได้

ในที่สุดก็กลับไปอ้อนวอนขอร้องท่านพระอุปคุตให้ช่วยแก้ให้ เพราะมีท่านอุปคุตเพียงผู้เดียวเท่านั้น ที่สามารถ จะช่วยแก้ให้ได้ แต่ก่อนจะแก้ให้ ท่านพระอุปคุตก็ได้สั่งให้พญามารไปทีภูเขา แล้วจึงตามไปแก้ให้ เมื่อแก้ให้แล้ว ท่านพระอุปคุตพิจารณาเห็นว่า ถ้าขืนปล่อยไปตอนนี้ พญามารอาจจะไปรังควาญ การทำพิธีของพระเจ้าอโศกอีก ก็จึงได้มัดพญามาร ไว้ที่ภูเขา บอกว่ารอให้พิธีฉลองพระสถูปเจดีย์ ของพระเจ้าอโศกผ่านพ้นไปเสียก่อน แล้วจึง จะมาแก้มัดให้ พญามารจึงเป็นอันต้องถูกผูกมัดติดกับภูเขาเป็นการประจานด้วยโทษฐานเป็นผู้ มีใจบาปคอยขัดขวาง และทำลายการทำความดีของผู้อื่น
เมื่องานฉลองพระสถูปเจดีย์ผ่านพ้นไป ท่านพระอุปคุตก็ได้ไปยังภูเขา เพื่อจะไปปลดปล่อยพญามารตามสัญญา เมื่อไปถึง แทนที่พระอุปคุตจะแสดงตัวให้พญามารได้เห็น ท่านก็กลับซ่อนเร้นอยู่ทางเบื้องหลัง เพื่อว่าจะฟังว่า พญามารจะว่ากล่าวอย่างไรบ้าง

พญามารเมื่อละพยศหมดความดุร้ายแล้ว ก็ได้หวนระลึกไปถึงพระสัมมาสัมพุทธเจ้าว่า ในวันที่พระองค์จะตรัสรู้นั้น ตนได้เคยไปรังควาญต่าง ๆ นานา แต่ทว่าพระองค์ก็ไม่เคยโต้ตอบเลยแม้แต่น้อย พญามารรู้สึกสำนึก ถึงโทษ ที่ตัว ได้กระทำ ในขณะเดียวกันก็รู้สึกเลื่อมใสในคุณของพระพุทธเจ้า จึงได้เปล่งวาจาอุทานออกมาว่า “ถ้าหากข้าพเจ้า มีกุศลที่ได้เคยสร้างสมไว้แล้ว ดังที่พระผู้มี่พระภาคเจ้า ทรงบำเพ็ญบุญมารมีไว้ เพื่อการตรัสรู้ ในอนาคตกาล ฉันใด ก็ขอให้ข้าพเจ้าจงได้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า บังเกิดขึ้นในโลกนี้ฉันนั้น เพื่อจะได้เป็นที่พึ่งแก่สรรพสัตว์ และกระทำ ประโยชน์โปรดเวไนยสัตว์ทั้งปวงในสากลโลก”

เมื่อพญามารได้เปล่งวาจาปรารถนาพุทธภูมิจบลง ท่านพระอุปคุต ก็ได้แสดงกาย ให้ปรากฎแล้วเดินเข้าไปแก้มัดให้ ในทันที ต่อจากนั้นท่านก็ได้ให้โอวาทแก่พญามาร ให้ละจิตอันเป็นบาปเสีย อย่าได้กระทำกรรม อันหยาบช้า ต่อไปอีกเลย และนับตั้งแต่นั้นมา พญามารก็มีจิตอ่อนน้อมศรัทธาในพระพุทธศาสนา ไม่มีความดุร้าย เหมือนดังแต่ก่อน นี่เป็นเพราะฤทธานุภาพของท่านพระอุปคุตโดยแท้ จึงทำให้พญามารได้ละพยศหมดความดุร้าย และกลับใจมาปรารถนาพุทธภูมิ
บางท่านอาจจะสงสัยว่าทำไมในสมัยที่พระพุทธเจ้าทรงพระชนม์อยู่ พญามารจึงไม่ได้สำนึก ทำไมมาได้สำนึก ในสมัยของพระอุปคุต เรื่องนี้มีเหตุผลอยู่ว่า พระอุปคุต กับพญามาร เคยเป็นคู่ปรับกันมา และพระพุทธเจ้า ก็เคยพยากรณ์ไว้แล้ว ว่า หลังจากพระองค์ดับขันธ์ไปแล้วจะมีพระอรหันต์ผู้มีฤทธิ์รูปหนึ่ง เป็นผู้มาปราบพญามารตนนี้

ตรงนี้แหละ จึงเชื่อกันว่า อุปสรรคใด ๆ จะไม่ยิ่งไปกว่าพญามาร เมื่อพระอุปคุตสามารถปราบพญามารได้ มารอื่น ๆ ย่อมไม่มีฤทธิ์เหนือพญามาร ผู้ที่ต้องการชนะอุปสรรค ชนะมารที่มาผจญชีวิต หรือธุรกิจการค้าขายของตน ก็มักบูชาพระอุปคุตอยู่เป็นประจำ


ข้อมูลจาก http://www.phuketvariety.com/buddhis...thom/index.htm

sithiphong:

ความเป็นมาของพระอุปคุต

โพสท์ในกระทู้ธรรม มูลนิธิอภิธรรมมูลนิธิ โดยคุณ เทพธรรม [ 16 เม.ย. 2545 ]     

ก่อนงานเทศกาลนมัสการพระธาตุพนมทุกปี เจ้าภาพจัดงานจะประกอบพิธี  อาราธนาเอาพระอุปคุตเถระจากฝั่งแม่น้ำโขง ซึ่งสมมติเป็นมหาสมุทร  ที่อยู่จำพรรษาของพระเถระในอดีตกาล  เข้ามาประดิษฐานไว้ในบริเวณลานพระธาตุพนม

ก่อนวันงาน (ปัจจุบันถือเอาวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๓ )  เพื่อขอพึ่งเดชอานุภาพของพระอุปคุตคุ้มครองงานให้ดำเนินไปด้วยความเรียบร้อยตลอดปลอดภัย  และก่อนนั้น ก็มีพิธีคารวะองค์พระธาตุพนม

เพื่อเป็นการขออโหสิกรรมในการที่คณะกรรมการดำเนินงาน  จะจัดให้มีงานนมัสการพระธาตุพนมประจำปีขึ้น  ซึ่งอาจมีการกระทำอันไม่เหมาะสมเกิดขึ้น ในเจติยะสถานอันศักดิ์สิทธิ์  จึงได้จัดเครื่องสักการะคารวะพระบรมธาตุไว้ล่วงหน้าปีนี้  คณะกรรมการจัดงานและพุทธศาสนิกชนชาวธาตุพนม ตลอดข้าโอกาสพระธาตุพนมโดยรอบ  ตกลงร่วมกันจัดพิธีอาราธนาพระอุปคุตเข้ามายังวัดพระธาตุพนม  และคารวะพระธาตุพนมในวันขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๓  พร้อมกับพิธีถวายข้าวพีชภาคประจำปี ของข้าโอกาสพระธาตุพนม  โดยเฉพาะพระอุปคุตเถระนั้น เป็นพระเถระองค์สำคัญ  ที่มีบทบาทในทางทรงอานุภาพ และมีฤทธิ์เดชปราบปรามสิ่งเลวร้าย  ในงานพิธีใหญ่ ๆ มาแต่โบราณกาล  จึงใคร่ขอนำเอาบทบาทบางตอนท่านมาเล่าดังนี้

ในปลายพุทธศตวรรษที่ ๒ หลังพุทธปรินิพพาน ประมาณ พ.ศ. ๒๑๘ ปี ณ  นครปาตลีบุตราชธานี (ปัจจุบันคือเมืองปัตนะ ภาคใต้อินเดีย)  พระเจ้าศรีธรรมาโศกมหาราช (พระเจ้าอโศกมหาราช)  ได้ผ่านพิภพมไหสวรรค์ราชสมบัติ  พระองค์ทรงเลื่อมในในพระพุทธศาสนาเป็นอย่างยิ่ง  ได้ทรงสถาปนาสร้างพระวิหารและพระสถูปนัยว่าถึงแปดหมื่นสี่พันแห่งทั่วชมภูทวีป  และได้ทรงขุดค้นพระบรมสารีริกธาตุมาไว้เพื่อนำไปบรรจุในสถูปที่พระองค์ทรงสร้างไว้ทุกแห่ง  เมื่อได้ทรงขุดค้นรวบรวมหมดแล้ว ก็อัญเชิญไปสู่นครปาตลีบุตร  ทรงกระทำการสักการะสัมมานะโดยเอนกประการ  แล้วทรงแจกพระบรมสารีริกธาตุที่เหลือเข้าบรรจุไว้ในพระสถูปองค์ใหญ่อีก ๑  องค์สูงถึงกึ่งโยชน์ที่ฝั่งแม่น้ำคงดา ใกล้นครปาตลีบุตร  แล้วนำพระบรมสารีริกธาตุที่เหลือข้าบรรจุไว้ในพระสถูปองค์ใหญ่นั้นและก็ทราบว่ามีบางส่วนที่ส่งไปบรรจุไว้ในต่างแคว้น

เมื่อการบรรจุพระบรมสารีริกธาตุเสร็จเรียบร้อยแล้ว  พระองค์ก็ทรงปรารภที่จะจัดให้มีการฉลองสมโภชพระสถูปเจดีย์ทั้งแปดหมื่นสีพันองค์นั้น  เป็นการมโหฬารยิ่ง ตลอด ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน  ในระยะเวลาดังกล่าวเพื่อให้การฉลองสมโภชเป็นไปด้วยความเรียบร้อยปราศจากอุปสรรค  จึงใคร่จะอาราธนาพระสงฆ์ขีณาสพที่ทรงอิทธิฤทธิ์  เป็นผู้คุ้มครองงานให้ปราศจากการรบกวนจากมาร้ายต่าง ๆ

พระสงฆ์ในนครปาตลีบุตร  ไม่มีองค์ใดที่จะรับเป็นผู้คุ้มครองงานมหกรรมอันยิ่งใหญ่นี้ได้  โดยเฉพาะพญาวัสสวดีมาร ผู้มีฤทธิ์ยิ่งกว่าภูตผีปีศาจทั้งหลาย  พระสงฆ์ทั้งปวงจึงตั้งตัวแทน ๒ องค์  ลงไปอาราธนาพระอุปคุตเถระผู้เรืองฤทธิ์  ซึ่งจำพรรษาอยู่กลางมหาสมุทรมาช่วยรักษาความปลอดภัยในงานมิให้งานสมโภชองค์พระสถูปเจดีย์พบอุปสรรค  ให้ดำเนินไปโดยตลอดปลอดภัยทุกประการ

เมื่อพระอุปคุตเถระได้รับนิมนต์จากผู้แทนพระสงฆ์เมืองปาตลีบุตรแล้ว  ก็เดินทางมานมัสการและรายงานตัวต่อคณะสงฆ์ในวันรุ่งขึ้น  พระเจ้าศรีธรรมโศกมหาราชได้เสด็จเข้ามานมัสการคณะสงฆ์ เพื่อขอทราบ  ผู้จะเข้ามาทำหน้าที่รักษาการงานฉลองสมโภชพระสถูปเจดีย์  พระสงฆ์แนะนำพระอุปคุตเถระให้ทรงทราบ  เมื่อพระองค์ทรงทรงทราบผู้จะมาทำหน้าที่รักษาความปลอดภัยในงานแล้ว  ก็ทรงนึกแคลงพระทัย  เนื่องจากพระอุปคุตเถระมีลักษณะอ่อนแอร่างกายผ่ายผอมเกรงจะทำหน้าที่ไม่ได้สมบูรณ์แต่ไม่ทรงตรัสว่ากระไร

รุ่งขึ้นวันใหม่ ขณะที่พระอุปคุตหาเถระออกบิณฑบาตในนครปาตลีบุตรนั้น  พระเจ้าศรีธรรมาโศกมหาราชใคร่จะทดสอบดูฤทธิ์พระเถระ  จึงทรงปล่อยช้างซับมัน ( ช้างตกมัน )  ให้เข้าทำร้ายพระเถระพระมหาอุปคุตเห็นดังนั้นจึงสะกดช้างที่กำลังวิ่งเข้ามาให้ยุดอยู่กับที่  ไม่ไหวติงประดุจช้างที่สลักด้วยศิลา

เมื่อพระเจ้าศรีธรรมาโศกมหาราชทอดพระเนตรเห็นดังนั้น ก็ทรงเลื่อมใส  จึงเสด็จไปขอขมาโทษพระเถระ ที่ได้กระทำการล่วงเกิน โดยเจตนาจะทดลอง  พระมหาอุปคุตเถระ ให้อภัยทั้งแก่พระเจ้าศรีธรรมโศกมหาราชและพญาคชสาร  พญาศรีธรรมาโศกมหาราชทรงพอพระทัย  ตรัสสั่งให้เตรียมฉลองสมโภชพระสถูปเจดีย์ทั้งหมด ด้วยการปลูกปะรำร้านโรง  ประดับธงทิว และประทีปโคมไฟ ตลอดระยะทางกึ่งโยชน์  ตามแนวฝั่งแม่น้ำคงคาสว่างไสวไปทั่วทั้งบริเวณ

บรรลุฤกษ์งามยามดีตามที่พระองค์ทรงกำหนดไว้  บรรดาพระสงฆ์ขีณาสพและพระสงฆ์ปุถุชน ตลอดพุทธศาสนิกชน  ทั้งในนครปาตลีบุตรและต่างแดนจากจตุรทิศ  ได้เริ่มหลั่งไหลเข้าสู่บริเวณงาน  ต่างก็มีเครื่องสักการะบูชาอยู่ในมือเพื่อร่วมพิธีฉลองสมโภชพระบรมสารีริกธาตุที่บรรจุอยู่ในมหาเจดีย์  และเจดีย์ทั้งแปดหมื่นสี่พันองค์ ด้วยความเลื่อมใสศรัทธาเป็นอย่างยิ่ง

ท่ามกลางบรรดานักแสวงบุญ ที่กำลังมุ่งหน้าเข้าสู่บริเวณงานนั้น  พญาวัสสวดีเทพบุตรมาร  ( เทพบุตรที่เป็นมาร ) ได้โอกาสงามเช่นนี้  ก็แปลงร่างจากปรนิมมิตตะวัสสวดีเทวโลก อันเป็นที่อยู่ของตน  ปนเปกับนักบุญทั้งหลายเพื่อทำลายพิธีกรรมอันยิ่งใหญ่นั้น

ในขณะนั้นพระมหาเถระอุปคุต  ผู้ได้รับแต่งตั้งให้รับผิดชอบรักษาความปลอดภัยในบริเวณงานทั้งหมด  หยั่งทราบด้วยญาณอันวิเศษ ถึงมหาภัยที่กำลังคุกคามอยู่เบื้องหน้า  ที่ปลอมมาในรูปของนักบุญจึงเนรมิตร่างสุนัขเน่าที่กำลังขึ้นหนอน  อธิฐานให้เข้าไปคล้องไว้กับคอพญามารแล้วอธิฐานว่า  แม้เทพดามหาพรหมยมยักษ์ภูตผีปีศาจที่มีฤทธิ์เข็ดขลัง  ก็อย่าสามารถนำร่างสุนัขเน่านี้ออกจากคอพญามารได้  แล้วขับพญามารหนีออกจากบริเวณงานทันทีพญามารพยายามแก้ร่างสุนัขเน่าด้วยฤทธานุภาพอย่างไรก็ไม่สามารถแก้ออกได้

พญาวัสสวดีมาร ยอมแพ้แก่พระอุปคุตเถระผู้ทรงฤทธิ์ เมื่อสิ้นคิดที่จะแก้ไข  ก็ยอมออกจากบริเวณงานโดยดีแต่ขอร้องให้มหาอุปคุตเถระแก้ร่างสุนัขเน่าออกจากคอของตน  เพราะทนต่อกลิ่นเหม็นไม่ได้พระมหาอุปคุตป์ก็อนุโลมตามแต่ไม่ไว้ใจพญามารสนิทนัก  เพราะเกรงพญามารอาจคิดกลับมาทำลายพิธีในภายหลัง  จึงอธิษฐานประคตเอวให้เป็นดังโซ่เหล็กผูกพญามารติดไว้กับเขาลูกหนึ่งนอกบริเวณงาน  แล้วบอกแก่พญามารว่า เมื่อเสร็จพิธีฉลองสมโภชพระมหาเจดีย์สิ้นสุดลงแล้ว  จึงจะแก้โซ่ออก ปล่อยให้พญามารเป็นอิสระ

เมื่องานฉลองสมโภชมหาเจดีย์ตลอด ๗ ปี ๗ เดือน ๗ วัน  สิ้นสุดลงด้วยความเรียบร้อย พระมหาเถระจึงได้ไปหาพญามารที่เขานอกเมือง  เพื่อสังเกตดูว่าพญามารจะสิ้นพยศหรือยัง  ก็ทราบว่าสิ้นพยศแล้วทั้งยังกล่าวสดุดีพระพุทธเจ้าว่า “  สมเด็จพระพุทธชินสิห์” องค์ใด ทรงมหากรุณาธิคุณอันยิ่งใหญ่  ทรงบำเพ็ญสิ่งอันเป็นที่สุดหามิได้ เป็นที่พึ่งพำนักแก่สัตว์โลกทั้งมวล  ในกาลทุกเมื่อ พระองค์นั้นเป็นผู้ประเสริฐหาผู้เสมอเหมือนมิได้ อนึ่ง  ในกาลก่อน ข้าพเจ้าได้ทำร้ายพระองค์โดยประการต่างๆ แต่พระองค์  ก็ยังทรงมหากรุณาธิคุณ มิได้กระทำการโต้ตอบแก่ข้าพเจ้าเลย มาบัดนี้  สาวกของพระองค์นามว่าอุปคุตไม่มีเมตตาแก่ข้าพเจ้าเลย  กระทำกับข้าพเจ้าให้ได้รับความทุกข์ทรมานแสนสาหัสและได้รับความอับอายเป็นอย่างยิ่งถ้าหากว่า  ข้ายังมีบุญกุศลที่ได้สั่งสมไว้แต่กาลก่อน  ข้าพเจ้าขอตั้งจิตอธิฐานปรารถนาเป็นพระสัพพัญญูในอนาคต”

เมื่อพระอุปคุตเถระ  ได้ยินคำกล่าวสดุดีพระพุทธคุณและแสดงความเสียใจของพญามารออกมาเช่นนั้น  ก็เห็นว่าพญามารสิ้นพยศแล้ว จึงแก้โซ่เหล็กออก  ปล่อยให้พญามารเป็นอิสสระอีกครั้งหนึ่ง

พระอุปคุตนั้น เกิดขึ้นหลังพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้วประมาณ พ.ศ. ๒๑๘  ปี เราไม่ทราบภูมิเดิมของพระมหาเถระอุปคุตละเอียดเท่าที่ควร  ว่าเป็นบุตรของใคร เกิดในวรรณะอะไร ที่ไหน  เท่าที่สันนิษฐานตามตำนานพระเถระอุปคุตน่าจะเป็นชาวเมืองปาตลีบุตร  เมื่อบวชแล้วบำเพ็ญเพียร จนสำเร็จเป็นพระอรหันตขีณาสพ สำเร็จอภิญญาต่างๆ  จนสามารถแสดงอภินิหารได้ร่ำลือมาจนทุกวันนี้ ไม่ชอบคลุกคลีด้วยหมู่  มีปฏิปทาดำเนินไปในทางสันโดษ มักน้อย นัยว่าท่านเนรมิตรเรือนแก้ว  ( กุฎแก้ว ) ขึ้นในท้องทะเลหลวง ( สะดือทะเล )  แล้วก็ลงไปอยู่ประจำที่กุฎแก้วตลอดเวลา  และคงจะขึ้นมาบิณฑบาตที่นครปาตลีบุตรเป็นประจำ  เมื่อมีเหตุเภทภัยเกิดขึ้นในพระศาสนา หรือเมื่อมีพิธีกรรมใหญ่ๆ เมื่อ  มีผู้นิมนต์ท่านก็ขึ้นช่วยเหลือด้วยความเต็มใจเสมอ  เป็นพระเถระสำคัญองค์หนึ่ง เกิดขึ้นหลังพุทธปรินิพพาน  สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช ผู้นำกองทัพธรรมแผ่กระจายไปทั่วโลก  เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา

โดย : เทพธรรม [ 16 เม.ย. 2545 ]

http://www.dharma-gateway.com/monk/great_monk/pra-upakoot.htm

.

sithiphong:
คำบูชา พระอุปคุต
หรือ พระบัวเข็ม

การตั้งบูชา นิยมการตั้งบูชาบนฐานรองรับ อยู่กลางภาชนะใส่น้ำ เป็นการจำลองคล้ายกับท่านจำพรรษาอยู่ในมหาสมุทร แล้วใช้ดอกมะลิลอยในน้ำบูชา และต้องตั้งต่ำกว่าพระพุทธ เนื่องจากเป็นพระอรหันต์ สาวกของพระพุทธเจ้า

คำบูชาพระอุปคุต

อุปะคุตโต จะ มะหาเถโร สัมพุทเธนะ วิยากะโต มารัญจะ มาระพะลัญจะ โส อิทานิ มะหาเถโร นะมัสสิตะวา ปะติฎฐิโต อะหัง วันทามิ อิทาเนวะ อุปะคุตตัง จะ มาหาเถรัง ยัง ยัง อุปัททะวัง ชาตัง วิธัง เสติ อะเสสะโต มะหาลาภัง ภะวันตุเม ฯ
หรือ (แบบย่อ) อุปะคุตโต จะ มะหาเถโร ยักขาเทวา นะระปูชิโต โสระโห ปัจจะ ยาทิมปิ มะหาลาภัง ภะวันตุเม ฯ


(เกิดโชคลาภและคุ้มกันภัยภิบัติอันตรายทั้งปวง)


คำบูชาพระมหาอุปคุต

นโม ๓ จบ

พระมหาอุปคุตโต พระมหาอุปคุตตัง จะมหาเถโร สัพเพชะนา พะหูชะนา อิถีชะนา มามังพุทธะจิตตัง จะมหาลาโภ พุทธะธัมโม จะมหาลาภัง พุทธะสังฆัง จะมหาสัจจัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม ฯ
อุปคุตตะ จะมหาเถโร สัพพะเสน่หาปุพชิโต โสระโห อุปะคุตะ ปัจจะยา ธิมะหิ อุตตะโม โหติ สัพพะทุกขะ สัพพะภะยะ สัพพะโรคะ พุทธา ธัมมา สังฆา อานุภาเวนะ วินาสสันติ ฯ


(นิยมสวดบูชาพระบัวเข็ม หรือ พระธาตุอุปคุต)


คำบูชาขอลาภพระอุปคุต

มหาอุปคุตโต จะมหาลาโภ พุทโธลาภัง สัพเพชะนา พะหูชะนา ราชาปุริโส อิถีโยมานัง นะโมโจรา เมตตาจิตตัง เอหิจิตติจิตตัง ปิยังมะมะ สะเทวะกัง สะพรหมมะกัง มะนุสสานัง สัพพะลาภัง ภะวันตุเม ฯ
เอหิจิตติ จิตตังพันธะนัง อุปะคุตะ จะมหาเถโร พุทธะสาวะกะ อานุภาเวนะ มาระวิชะยะ นิระภะยะ เตชะปุญณะตา จะเทวะตานัมปิ มะนุสสานันปิ เอหิจิตตัง ปิยังมะมะ อิมังกายะ พันธะนัง อะทิถามิ ปะอัยยิสสุตัง อุปัจสะอิ ฯ


วิธีสวดขอลาภ

ให้จุดธูปเทียนบูชา พร้อมกับดอกไม้หอม เครื่องหอมน้ำหอมต่างๆ เทหยดใส่ในขันน้ำมนต์ ณ ที่บูชาพระในร้านค้าขาย หรืออาคารสำนักงาน แล้วอธิษฐานขอให้กลิ่นควันธูปเทียน ลมพัดไปทางไหน ของให้ดลใจผู้คนเข้ามาอุดหนุนตลอด ขอให้ดำเนินกิจการด้วยความราบรื่น มีความสำเร็จสมปรารถนาทุกประการ เมื่ออธิษฐานจุดธูปเทียนบูชาแล้ว ให้สวด นะโม ๓ จบ และสวดคำบูชาขอลาภพระอุปคุต ๑ จบ แล้วทำน้ำมนต์สวดด้วย คำบูชาขอลาภพระมหาอุปคุต อีก ๑ จบ เสร็จแล้ว เอาน้ำมนต์ประพรมร้านค้า และสินค้าในร้านค้า หรือทำธุรกิจ ก็ให้เอาน้ำมนต์ประพรมภายในสำนักงานและอุปกรณ์ต่างๆ ที่เป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในการทำธุรกิจนั้นทั้งหมด


คาถาพระมหาอุปคุตผูกมาร

นโม ๓ จบ

มหาอุปคุตโต มหาอุปคุตตัง กายะพันทะนัง อมยิสะ พุทธังทะเถโร ธัมมังทะเถโร สังฆังทะเถโร ปะอัยยะสุตัง อุปัจสะอิ อิมังกายะพันทะนัง อะทิถามิ ฯ
(คาถาพระมหาอุปคุตผูกมาร มีอานุภาพความศักดิ์สิทธิ์มาก เสกด้วยสายสิญจน์ทำเป็นมงคลสวมคอ หากปลุกเสกครบ ๑๐๘ ครั้งสามารถป้องกันภูตผีปีศาจทั้งปวง และป้องกันอุปัทวอันตรายต่างๆ ถ้าเสก ๓ - ๗ คาบ ผูกคอหรือคล้องคอคนถูกผีเจ้าเข้าสิง จะเจ็บปวดร้องครวญครางโหยหวยอย่างน่าเวทนา ถ้าจะให้ผีที่สิงอยู่ออกไป ให้ถอดหรือแก้ด้ายผูกคอออก แล้วเอาด้ายนี้ตีปัดตามตัวคนที่ถูกผีสิงอยู่ ผีจะอยู่ไม่ได้จะเผ่นออก และไม่กล้ากลับมารบกวนคนในบ้านอีก และยังมีการปลุกเสกในทางพิชิตโรคาพาธได้วิเศษนัก)


คำบูชาพระบัวเข็ม

นโม ๓ จบ

กิจจะมาคะอุปคุตโต อะมะหาเถโร สัมพุทเธวิยาคะโต มาระรัญจะ โสอิทานิ จะมะหาเถโร นะมัดปะสิทตะวาปะ ถิติโกอหัง วันทามิ พาเนวะอุปคุตตัง จะมะ หาเถรัง ยังยังอุปัทธะวังชาติ วิทังเสนติ อะเสสะโต นโมพุทธายะ
พระบัวเข็มจะมะหาเถโร สัพพะลาภังภะวันตุเม อิติปิโสภะคะวา พุทโธชัยโย ธัมโมชัยโย สังโฆชัยโย เมตตา ฉิมพาลีจะมะหา เถโร สัพพะลาภัง ตะวันตุเม ฯ
ชัยยะตัง ปัตถะพีตับภัง สามินโท โสราชาปูเชมิ ฯ


หรือ

จิตติจิตติ มิตติเอหิมะมะ อุปปะคุตโต จะมะหาเถโร นานาปาระมิ สัมมะปัณโน อิติปิโสภะคะวา มะอะอุเมตตา จะมะหาราชา สัพพะสะเนหา จะปูชิตา สัพพะทุกขัง มะหาลาภัง สัพพะโกพัง วินาสสันติ

http://board.palungjit.com/f125/คำบูชา-พระอุปคุต-หรือ-พระบัวเข็ม-และประวัติ-21900.html

.

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

ตอบ

Go to full version