ผู้เขียน หัวข้อ: ย้อนรอยเทศกาลกินเจปี 2559 - 2016  (อ่าน 3347 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ 時々होशདང一རພຊຍ๛

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 1011
  • พลังกัลยาณมิตร 1119
  • แสงทองส่องฟ้าคือชีวิต
    • ดูรายละเอียด
ย้อนรอยเทศกาลกินเจปี 2559 - 2016
« เมื่อ: ตุลาคม 23, 2018, 03:40:48 pm »






วันนี้เราจะมาชวนคิด - ชวนคุยกัน วันนี้ตรงกับวันเสาร์และเป็นวันที่ 2 ของเทศกาลกิน เจ วันเสาร์ที่ 1 ตุลาคม 2559 ยังเหลือหนทางอีกยาวไกล(หลายวัน)จากประสบการณ์ที่เคยถือศีล เจ มาก่อน ในครั้งแรก ๆ และวันแรก ๆ นั้นรู้สึกมีความสุขอย่างแปลกประหลาดความสุขที่เกิดจากใจที่ได้เริ่มถือ อุโบสถศีล เจ แม้ว่าจะเป็นระยะเวลาช่วงสั้น ๆ แต่นี่คือ บททดสอบอันยิ่งยวดเชียวน่ะเพราะอะไรจึงเรียกว่าบทดสอบ อันยิ่งยวดคำตอบก็คือ เราจะเอาชนะตัวเราเองได้หรือเปล่า ? และนอกจากนี้เรื่องราวของการกิน เจ มีหลาย{ตำนาน}แต่เราจะไม่พูดถึงในส่วน

นั้นเรากำลังจะพูดถึงการปฏิบัติตัวในการกิน เจสำรวมระวังทวารทั้ง 6 สิ่งที่มากระทบทาง ตา หู ลิ้น จมูก ตาเห็นอะไรก็สวย หูได้ยินอะไรก็ไพเราะ จมูกได้กลิ่นอะไรก็หอม แต่ก็นั่นแหละ ลิ้นได้ ลิ้มรสอะไรก็อร่อย ความจริงมันอร่อยเพียงชั่วคราวแต่พอผ่านลงไปในกะเพาะอาหารแล้วกลายเป็นอะไรคนเรามักมีความเคยชินเป็นหลักและมักจะทำอะไรตามความเคยชินวันแรก ๆ ก็กลัวเผลอบ้างก็เพราะความเคยชินอีกนั่นแหละ เพราะฉะนั้นในระหว่าง 10 วันนี้ต้องสำรวม

กาย วาจาใจ อย่างเต็มที่ใครที่ยังไม่เคยถือ ศีลเจ อาจจะยังไม่รู้ว่าการกิน เจ มีความสำคัญอย่างไรบ้างก็มีกิน เจ ตามกระแสเห็นคนอื่นกิน เจ ก็อยากกินตามเขานั่นเขาเรียกว่ากิน เจ ตามกระแส อย่างที่รู้ ๆ กันอยู่เรื่องราวเกี่ยวกับเทศกาลกิน เจ นั้นใคร ๆ เขาก็ POST ให้อ่านกันหมดแล้ว แต่ยังไม่มีใครเขียนเรื่องราวเกี่ยวกับเทศกาล กิน เจ จากประสบการณ์โดยตรงประการสำคัญถ้าหากว่าร่างกายและจิตใจไม่พร้อมก็อย่าเพิ่งกิน เจ เลยจะดีกว่า


หมายเหตุ......ผมได้ถ่ายภาพบรรยากาศเทศกาลกิน เจ ปี 2559 ไปดูได้ที่ห้องล้างรูปน่ะครับ http://www.tairomdham.net/index.php/topic,12233.0.html

การกิน เจ ก็คือการฝึกฝนตนเองทั้งกาย วาจา และใจ ด้วยเพราะประโยชน์ของการกิน เจ นอกจากจะเป็นการชำระกายที่ละเว้นจากเนื้อสัตว์ทั้งหลายแล้ว ยังเป็นการชำระใจด้วยการหลีกห่างจาก - ราคะ - โทสะ - โมหะ -  คือ ความโลภ โกรธ หลงอันเป็นอุปสรรคขวางกั้นแห่งการไปสู่ประตูแห่ง ธรรม เพราะฉะนั้นการกินเจที่ถูกต้องสมบูรณ์จึงต้องสำรวมกายและ วาจาให้บริสุทธิ์ไปพร้อม ๆ กับการละเว้นบริโภคเนื้อสัตว์ที่ถือเป็นการเบียดเบียนชีวิตผู้อื่น ซึ่งการถือศีลกิน เจ เป็นกุศโลบายในการปลูกฝังวัฒนธรรม วิถีชีวิตที่อิงหลักคุณธรรมทางศาสนาให้ดำเนินชีวิตได้อย่างสันติสุข อันเป็นจุดหมายโดยแท้ของชีวิตนั้นเอง

ข้อคิดที่อยากจะฝากไว้.......ผู้ใดใฝ่หาความสุขเพื่อตนแต่กลับใช้ท่อนไม้ทำร้ายสัตว์ทั้งหลายผู้รักสุขผู้นั้นตายไปแล้วย่อมไม่ได้รับความสุขเลยส่วนผู้ใดใฝ่หาความสุขเพื่อตนไม่ใช้ท่อนไม้ทำร้ายสัตว์ทั้งหลายผู้รักสุขผู้นั้นตายไปแล้วย่อมได้รับความสุขการไม่กล่าวร้ายผู้อื่นและไม่เบียดเบียนผู้อื่นความสำรวมในปาติโมกข์ความเป็นผู้รู้จักประมาณในอาหารการอยู่ในเสนาสนะที่สงัดการประกอบความเพียรในอภิจิตนี้คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย...จบ



บทนำ
ด้วยพระคุณของ พระบูรพาจารย์ อันเป็นพระภิกษุสงฆ์ ผู้ทรงคุณธรรมและคุณวุฒิ ได้วางรูปแบบของพิธีกรรมที่ลึกซึ้งและแยบคายไว้ และได้ตกทอดมาถึงสาธุชนรุ่นหลัง
เราจึงมีดำริจะแปลเอกสาร ลำดับขั้นตอนของการสวดมนต์ ในพิธีกินเจ ในภาพ ซึ่งเป็นลำดับขึ้นตอนแบบอย่างพระสงฆ์จีน เป็นภาษาไทย เพื่อสืบทอดไว้ เป็นวิทยาทาน
เพื่อให้สาธุชนหญิงชาย ผู้มีศรัทธาทั้งหลายได้นำไปปฏิบัติอย่างถูกต้อง เหมาะสมและสมควรต่อไป ในพิธีถือศีลทานเจที่จะถึงนี้ จะได้เป็นบุญกุศล ตามควร
ขอให้สาธุชนทั้งหลาย ผู้ได้ประโยชน์จากวิชาความรู้นี้ จงมีความเคารพในพระรัตนตรัย และน้อมนอบพระสงฆ์บูรพาจารย์ จะได้ประสบกับความสุขความเจริญสืบไป
ลำดับพิธีการ ในพิธีสมาทานศีล กินเจ
(เริ่มทุกปีวันที่ 29 หรือ 30 เดือน 8 ตามจันทรคติจีน เวลาบ่าย)
(1.) อัญเชิญน้ำทิพย์ (請水) ให้ เลือกบ่อน้ำ หรือ แม่น้ำ หรือ สถานที่แหล่งน้ำที่เชื่อว่ามีความศักดิ์สิทธิ์ โดยจะอัญเชิญน้ำนี้ไปทำความสะอาดมณฑลพิธี และทำน้ำมนต์ในพิธี กินเจ โดยจะตั้งเครื่องสักการะง่ายๆ เช่นน้ำชา น้ำเปล่า ผลไม้ ธุปเทียน ตามสมควร ที่หน้าบ่อ หรือหน้าสถานที่จะเชิญน้ำทิพย์ แล้วสวด
-เอียงกีจั้ง
-นำมอตาปีกวนซืออิมผู่สัก 3 จบ
-สวด ไต่ปุยจิ่ว จับเซียวจิว ซิมเกง อย่างละ 1 จบ (ระหว่างสวดไต่ปุยจิ่วให้ ทำน้ำมนต์ ให้ตักน้ำจากบ่อขึ้นมาในภาชนะ (การทำน้ำมนต์นี้ก็ยังมีการเขียนอักขระ และกระทำนิมิืต ที่สอนเฉพาะในสงฆ์)
-ยงเจียงจั้ง --นำมอไต่เซงเชี่ยงจีซำเปา 3 จบ
-ถวายสาสน์ (ซ้อบุ้ง) เผาเทวฑูตินำสาสน์
-สักตอนำ 3 จบ
-แคมอลา 3 จบ
-นำมอกำโลววังผู่สักมอฮอสัก 3 จบ
-ยงเซียวซำเจียง
จบพิธี อัญเชิญน้ำทิพย์
(2.) พิธีชำระมณฑลพิธี (淨壇)
ก่อนจะเชิญเจ้า ที่กลางแจ้งหรือนอกวิหาร ให้ชำระมณฑลพิธีในวิหาร หรือภายในมณฑลพิธี ให้บริสุทธิ์ก่อน
-เอียงกีจั้ง
-นำมอตาปีกวนซืออิมพู่สัก 3 จบ
-ไต่ปุยจิ่ว จับเซียวจิ่ว ซิมเกง อย่างละ 1 จบ (ประพรมน้ำทิพยมนต์)
รอบมณฑลพิธี
-สวดฟูกวงจั้ง
- ยงเซียวซำเจียง
จบพิธี ชำระมณฑล
(3.) พิธีเชิญเชิญเทพเจ้า (請鴐) เวลาบ่าย ที่กลางแจ้งหรือริมน้ำ
-เอียงกีจั้ง
-นำมอตาปีกวนซืออิมผู่สัก 3 จบ
-ไต่ปุยจิ่ว จับเซียวจิ่ว ซิมเกง อย่างละ 1 จบ (เขียนอักขระมนต์อธิษฐานน้ำทิพย์ประพรมทั่วบริเวณ)
-สวดยงเจียงจั้ง นำมอไต่เซงเชี่ยงจีซำเปา 3 จบ
-ถวายสาสน์
-สักตอนำ 3 จบ (เผาเทวฑูติส่งสาสน์)
-แคมอลา 3 จบ
-กิกเซี่ยงเทียงนึ่งจิ่ว 3 จบ
นำมอซำจิ่วกำยินฟูฟับไวท้อจุนเทียนพู่สัก 3 จบ
-ไวท้อจั้ง
-จากนั้น ให้ประธานในพิธี เป็นตัวแทนโยนไม้เสี่ยงทาย
หากไม่เส่งปวย ให้สวดซิมเกง 1 จบ
หากเส่งปวย ให้สวด อีชื่อเฉี่ยแกกงเต็ก ฮุยเฮียงฟูฟับลงเทียน ฯลฯ

-จือ กุยอีกฟู- จือกุยอีฝับ-จือกุยอีเจง
จบพิธี อัญเชิญเทพเจ้า
(4.) อัญเชิญเทพเจ้าสถิตในมณฑล (安壇)
-โหล่วเอียงจั้ง
-นำมอตาปีกวนซืออิมพู่สัก 3 จบ
-ไต่ปุยจิ่ว และ ซิมเกง อย่างละ 1 จบ
-ฟูฉื่อกวงจั้ง
-ยงเซียวซำเจียง
จบพิธีอัญเชิญเทพเจ้าสถิตในมณฑล
(5.) พิธีปล่อยสัตว์(放生)
-เอียงกีจั้ง
-นำมอตาปีกวรซืออิมพู่สัก 3 จบ
-ไต่ ปุยจิ่ว จับเซียวจิ่ว ซิมเกง อย่างละ 1 จบ (เขียนอักขระอธิษฐานจิต ประพรมน้ำทิพมนต์ที่ปลาในลัง หรือ นกในกรง ขออาราธนาบารมีพระรัตนตรัย แผ่ให้สัตว์เดรัจฉานทั้งหลายได้รอดพ้นจากความตาย ได้ยินพระนามของพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งเพื่อชาติภพหน้าได้รอดพ้นจากอบายภูมิ)
-สวดยงเจียงจั้ง --นำมอไต่เซงเชี่ยงจีซำเปา 3 จบ
-ถวายสาสน์
-สักตอนำ 3 จบ (เผาเทวฑูติส่งสาสน์)
-แคมอลา 3 จบ (แบบย่อจะไม่สวดบทยงเจียง ถึง แคมอลา)
-ซิมเกง 1 จบ
-อ่วงแซจิ่ว 3 จบ
-เลียนชีจั่ง 1 จบ
-ยงเซียวซำเจียนจูฟันเนา
จบพิธี ปล่อยสัตว์
(6.) พิธีลอยดวงประทีป (放水燈)
จะ จัดขึ้นในช่วงหลัง ๆ ของเทศกาลกินเจ ตอนบ่าย โดยจะเป็นการอนุมานว่าส่งดวงประทีปดอกบัว ไปบอกกล่าวต่อนาคราช เทพเจ้าสมุทร เทพแม่น้ำ ลำคลอง หนองบึง ว่าขออนุญาตให้ดวงวิญญาณที่เร่ร่อนในสายน้ำต่างๆ  โดยขออาศัยพระพุทธานุภาพ ส่องแสงสว่าง และให้ดวงประทีปต่างดอกบัว เป็นพาหนะให้แก่วิญญญาณที่ทุกข์ทรมาน ได้ขึ้นมารับกุศลปัตติทาน ในการประกอบพิธีโยคะตันตรทาน(ซิโกว)ของหมู่สงฆ์ในวันรุ่งขึ้น
ซึ่งไม่เหมือนการลอยกระทงของไทย ดังนั้นจึงไม่ควรที่จะตัดผมตัดเล็บ ลอยไปกับกระทง เพราะไม่ใช้การสะเดาะเคราะห์ แต่เป็นการเชิญดวงวิญญานในท้องน้ำมารับกุศล
โดยตั้งประรำพิธีชั่วคราวที่ริมน้ำ แล้วสาธยายดังต่อไปนี้..................
-เอียงกีจั้ง
-นำมอตาปีกวนซืออิมผู่สัก 3 จบ
-ไต่ปุยจิ่ว จับเซียวจิ่ว ซิมเกง อย่างละ 1 จบ (เขียนอักขระมนต์อธิษฐานน้ำทิพย์ประพรมทั่วบริเวณ)
-สวดยงเจียงจั้ง นำมอไต่เซงเชี่ยงจีซำเปา 3 จบ
-ถวายสาสน์
-สักตอนำ 3 จบ (เผาเทวฑูติส่งสาสน์)
-แคมอลา 3 จบ
-สวด บทซีเจี๊ยะในวัตรเย็น เริ่มตั้งแต่ ยกเลินยกเลียวจือ ซำซืออีไชฟู .ฯลฯ เรื่อยไป จนถึง เซงเจาเกียชีฝับซีเสก ฯลฯ ให้อธิษฐานขออำนาจพระรัตนตรัย ให้อาหารต่าง ๆ เป็นของทิพย์ดับความหิวกระหายของบรรดาวิญญานที่ทุกข์ยาก จนจบ 3 ครั้ง ถึงประโยคที่ว่า "ทง ฝับ เสก"
-สวดบท นีตังฟุดจือจงฯลฯ ก็ให้โยนอาหาร ทุกอย่าง ลงแม่น้ำ เพื่อเป็นทาน
-ซิมเกง 1 จบ อ่วงแซจิ่ว 3 จบ
-เลียนชีจั้ง
-ยงเซียวซำเจียงจูฟันเนา
จึงนิยมตั้งกระถางธูปใบหนึ่งอยู่ริมน้ำ โดยอธิษฐานให้เป็นที่สถิตของ
วิญญาณสัมภเวสีทั้งหลาย เมื่อสวดมนต์ตามขั้นตอนเรียบร้อย จึงเป็นเวลาเย็น ให้เชิญกระถางกลับมายังโรงเจ (บางแห่งก็ให้สาธุชนถึงธูปกลับมาด้วย นั้นหมายถึงการเชิญดางวิญญาณกลับมา) แล้วตั้งกระถางธูปอยู่บริเวณรูปไต่ซือเอี้ย โดยต้องเตรียมอาหาร น้ำเปล่า ให้พร้อม เพื่อพลีต่อวิญญาณที่เชิญมาจากท้องน้ำ
จบพิธี ลอยประทีป
(7.) พิธีขึ้นธงพระพุทธ (升佛幡) บางที่ก็มีพิธีนี้ บางที่ก็ไม่มี
จะ ตั้งเสาสูงหลายเมตร ขึ้นเป็นป้ายภาษาจีนแนวยาว เขียนภาษาจีน มีข้อความว่าน้อมอัญเชิญพระพุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ พระอริยเจ้าทั้งหลาย ทั้งทศทิศ และตรีกาล (ช่วงเวลาทั้ง 3 คือ อดีจ ปัจจุบัน อนาคต) เสด็จมาเป็นสักขีพยาน โดยจะตั้งธงนี้อยู่ทางด้านซ้่ายของวิหาร เมื่อเราหันหน้าออกไปหน้าวิหาร
ตรงโคนเสา ให้ตั้งโต๊ะ เพื่อวางกระถางธูปและเครื่องสักการะ
ปกติจะตั้งเสาธง และเบิกรัศมี ในวันก่อนจะเชิญพระสงฆ์มาประกอบพิธีเทกระจาด 1 วัน โดยสาธยายดังนี้……………
-เอียงกีจั้ง
-นำมอตาปีกวนซืออิมผู่สัก 3 จบ
-ไต่ปุยจิ่ว 1 จบ (เขียนอักขระอธิษฐานจิต ประพรมน้ำทิพมนต์ ที่ธงพระพุทธะ)
- อ่านโองการเชิญเป็นภาษาจีน
-นำมอ ซำมุนทอ พุดทอนำ (จับเซียวจิ่ว บทที่ 2) 3 จบ
-นำมอ สักวาวตันตอแยทอ 3 จบ (เจ้าภาพ หรือตัวแทนคุกเข่า ประเคนเครื่องสักการะ)
-นำมอ ซูลูพอแย 3 จบ
-งันแยแยลัน 3 จบ
-เทียนชือจัง
-ยงเซียวซำเจียง
จบพิธี ขึ้นธงพระพุทธ
(8.) พิธีขึ้นธงสัมภเวสี (升孤魂幡) บางแห่งก็มีพิธีนี้ บางแห่งก็ไม่มี
จะตั้งเสาสูงหลายเมตร ขึ้นเป็นป้ายภาษาจีนแนวยาว เขียนภาษาจีน มีข้อความว่าขอเชิญดวงวิญาณไร้ญาติ ที่เร่ร่อน ทั้งหญิงชาย ทั่วทั้งโลกธาตุ จงอาศัยพระพุทธานุภาพมารับกุศลปัตติทาน อันเป็นอมฤตธรรมรส โดยทั่วกัน โดยจะตั้งธงนี้อยู่ทางด้านขวาของวิหาร เมื่อเราหันหน้าออกไปหน้าวิหาร
ตรงโคนเสา ให้ตั้งโต๊ะ เพื่อวางกระถางธูปและเครื่องสักการะ
ปกติจะตั้งเสาธง และเบิกรัศมี ในวันก่อนจะเชิญพระสงฆ์มาประกอบพิธีเทกระจาด 1 วัน โดยสาธยายดังนี้…………………..
-เอียงกีจั้ง
-นำมอตาปีกวนซืออิมผู่สัก 3 จบ
-ไต่ปุยจิ่ว 1 จบ (เขียนอักขระอธิษฐานจิต ประพรมน้ำทิพมนต์ ที่ธงสัมภเวสี)
- อ่านโองการเชิญเป็นภาษาจีน
-ซิมเกง 1 จบ อ่วงแซจิ่ว 3 จบ
-นำมอ สักวาวตันตอแยทอ  3 จบ (เจ้าภาพ หรือตัวแทนคุกเข่า ประเคนเครื่องสักการะ)
-นำมอ ซูลูพอแย 3 จบ
-งันแยแยลัน 3 จบ
-เลียนชีจัง
-ยงอีกชื่อกงเต็ก
จบพิธี ขึ้นธงสัมภเวสี
(9.)พิธีเบิกรัศมีไต่ซือเอี้ย(開光大士)
หากในวันรุ่งขึ้นจะมีงานเทกระจาด ก็จะมีการตั้งรูปบูชาไต่ซือเอี้ย บางแห่งก็จะไคกวงก่อน 1 วันบางแห่งก็จะรอให้พระสงฆ์มาไคกวงในพิธีเทกระจาดในวันรุ่งขึ้นก็มี
ให้สวดบทต่าง ๆ อย่างนี้.............................
-เอียงกีจั้ง
-นำมอตาปีกวนซืออิมผู่สัก 3 จบ
-ไต่ ปุยจิ่ว 1 จบ (เขียนอักขระอธิษฐานจิต ประพรมน้ำทิพมนต์ ที่รูปไต่ซือเอี้ย องค์ไต่ซือเอี้ยเขียนอักขระมนต์ 3 ตัว ยมฑูตขาวหรือดำ เขียนอักขระ 1 ตัว แปะกงเขียนอักขระ อีก 1 ตัว จากนั้นเขียนอักษขระมนต์ ด้วยธูปเทียน หรือ ใช้กระดาษหงิ่งเตี่ย อีกครั้ง) พร้อมน้อมจิตอัญเชิญพระโพธิสัตว์ไต่ซือเอี้ย และนายนิรยบาล มาควบคุมดูแล ในพิธี
นำมอ สักวาวตันตอแยทอ 3 จบ (เจ้าภาพ หรือตัวแทนคุกเข่า ประเคนเครื่องสักการะ)
-นำมอ ซูลูพอแย 3 จบ
-งันแยแยลัน 3 จบ
-กวนอิมไตซือจัง
-ยงอีกชื่อกงเต็ก
จบพิธี เบิกรัศมีไต่ซือเอี้ย
(10.) พิธีบูชาดวงดาว และเปิดประตูสวรรค์ด้านใต้ (禮斗開南天門)
(11.) พิธีสาธยายพระธรรมสูตร และขมากรรม (誦經禮懺)
พิธีการที่ 11. นี้ จะต้องทำเป็นประจำทุกวัน เป็นเวลา 9 วัน 9 คืน คือตั้งแต่วันที่ 1 ถึงวันที่ 9 เดือน 9 ตามจันทรคติ
-04.00 น. ทำวัตรเช้า
-08.30 น. สาธยายพระสูตร 1 เล่ม (ส่งเก่ง-誦經)
-10.00 น. ถวายพุทธบูชา (ก๊งฮุก)
-16.00 น. ทำวัตรเย็น
-19.00 น. สวดขมากรรม (ไป่ช่ำ-拜懺)
-21.00 น. สาธยายพระสูตร 1 เล่ม
เป็นประจำทุกวัน พร้อมรักษาศีลทางกาย วาจา ใจ ให้สะอาดบริสุทธิ์ ถวายเป็นพระพุทธบูชา และเป็นเทวตาพลี
(12.) พิธีส่งเสด็จเทพเจ้า คืนสู่ทิพยสถาน (送駕)
ก่อนถึงพิธีการส่งเสด็จ ให้สวด โพวมึ้งพิง 1 เล่ม
แล้วสวดบทต่าง ๆ ดังต่อไปนี้.....................
-โหล่วเฮี้ยงจั้ง
--นำมอตาปีกวนซืออิมผู่สัก 3 จบ
-ไต่ปุยจิ่ว จับเซียวจิ่ว ซิมเกง อย่างละ 1 จบ (เขียนอักขระมนต์อธิษฐานน้ำทิพย์ประพรมทั่วบริเวณ)
-สวดยงเจียงจั้ง นำมอไต่เซงเชี่ยงจีซำเปา 3 จบ
-ถวายสาสน์
-สักตอนำ  3 จบ (เผาเทวฑูติส่งสาสน์)
-แคมอลา  3 จบ
-นำมอฟูเกียวแคนำเซงจงพู่สัก 3 จบ
-แคน่ำจั้ง
-หัวหน้านำสวดว่า "ซ่งกิมยงกุยเปาไกพู่สักมอฮอสัก" และทุกคนรับพร้อมกัน
-อ่านโศลกส่งเสด็จ
-สาธยายทศมหาปณิธาน ของพระสมันตภัทรโพธิสัตว์ (อีแจลีกินจูฟู ฯลฯ) ถึงแค่ สิบแจโพวไกฮุยเฮียง
-สวด นำมอฮุยเฮียงบูเสียงฟูพู่ที เป็นทำนอง (3 จบ)
-เวลานี้ ให้นำหงิ่งเตี่ยห่อธูปในกระธางธูป ยกขึ้นเหนือเกล้า อธิษฐานน้อมส่งเสด็จ และขอประทานอภัยโทษในการประมาทล่วงเกิน
-สวด แคมอลา ผู่ทีลู 3 จบ
-ฟูฉื่อจั้ง
-อีชื่อส่งกากงเต็ก ฯลฯ
-จือ กุยอีฟู - จือกุยอีฟับ- จือกุยอีเจง -
จบพิธี ส่งเสด็จเทพเจ้าสู่ทิพยสถาน และเสร็จสิ้นพิธีกินเจ
ขออนุโมทนาบุญกับทุกท่าน มา ณ โอกาสนี้
เคยมีผู้หวังดี มาบอกเราว่า การเผยแพร่ พิธีกรรมบางอย่าง ที่พระสงฆ์ใช้ประกอบพิธี มากเกินไป จะทำให้สาธุชนเข้าวัดน้อยลง จนกระทั่งหลายแห่งไม่ให้ความสำคัญ หรือให้ความเคารพพระสงฆ์น้อยลงเราก็เห็นด้วยตามนั้น เพราะเราเองก็เจอมากับตัว
แต่ก็เชื่อว่า ผู้ที่มีความกตัญญุในพระรัตนตรัย ในครูบาอาจารย์ จะเจริญรุ่งเรือง จะนำวิชาใด ๆ ไปใช้ก็ศักดิ์สิทธิ์ ตรงข้ามกับผู้ไม่รู้สำนึกพระคุณ ซึ่งจะทำการใด ๆ ก็ไม่สำเร็จ
การเผยแพร่ข้อมูลนี้ จะเป็นบุญเป็นกุศล หากจะเป็นบาปก็จะเป็นบาป ขอผู้ที่ประพฤติไม่ถูกต้องเองต่างหาก………………
จึงขอให้ผู้ปรารถนาดี  - วางใจได้ทำดีย่อมได้ดีแน่
Friday, October 19, 2012






« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มิถุนายน 27, 2020, 11:52:12 am โดย 時々होशདང一རພຊຍ๛ »
ชิเน กทริยํ ทาเนน