ผู้เขียน หัวข้อ: วิธีปฐมพยาบาลบาดแผลจาก “ระเบิด-ดอกไม้ไฟ-พลุ-ประทัด”  (อ่าน 3219 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ tomyumnew

  • เกล็ดเมล็ด
  • *
  • กระทู้: 2
  • พลังกัลยาณมิตร 0
    • ดูรายละเอียด
วิธีปฐมพยาบาลบาดแผลจาก “ระเบิด-ดอกไม้ไฟ-พลุ-ประทัด”
ห้ามเลือดบริเวณที่อวัยวะขาด ใช้ผ้าสะอาดปิดแผล แล้วพันบริเวณเหนือแผลให้แน่นป้องกันเลือดออก ควรเป็นผ้าแผ่นกว้างๆ เช่น ผ้ายืด ไม่ควรใช้เชือกหรือสายรัด เพราะจะทำให้รัดเส้นประสาทหลอดเลือดเสียได้



สังเกตอาการผู้ที่ได้รับบาดเจ็บ ถ้าเสียเลือดมากให้นอนพัก รีบนำส่งโรงพยาบาล ควรงดอาหารทางปาก จิบน้ำได้เล็กน้อย เพราะอาจจะต้องรับการผ่าตัดด่วน การเก็บรักษาส่วนที่ขาด

เอาสิ่งสกปรกออกจากส่วนที่ขาด ล้างน้ำสะอาด ใส่ถุงพลาสติก ปิดปากถุงให้แน่น ใส่ในกระติกน้ำแข็ง ถุงพลาสติกใหญ่ใส่น้ำแข็ง (อุณหภูมิประมาณ 4 องศาเซลเซียส)

รีบนำส่งโรงพยาบาลโดยเร็วที่สุด อวัยวะที่มีกล้ามเนื้อมาก ๆ เช่น แขน ขา ต้องได้รับการผ่าตัดต่อเส้นเลือดให้เร็วที่สุด ภายใน 6 ชม. เพราะกล้ามเนื้อจะตาย ถ้าทิ้งไว้นานเกิน บริเวณที่ไม่มีกล้ามเนื้อ เช่น นิ้ว สามารถเก็บไว้ได้ 12 – 18 ชม. ยังสามารถต่อได้

ถ้านำส่งโรงพยาบาลได้ภายใน 2-3 ชม. สามารถรับนำส่งได้เลย ทางโรงพยาบาลสามารถจะเตรียมเก็บส่วนที่ขาด เพื่อทำการต่อได้
 

ข้อบ่งชี้ในการผ่าตัดต่อนิ้ว แขน ขา
อวัยวะส่วนที่ขาด ต้องยังมีเส้นเลือด และเนื้อเยื่อไม่ช้ำมาก เช่น ถูกมีดฟัน ถูกเครื่องตัด และการเก็บอวัยวะที่ขาด หากเป็นนิ้วให้เก็บที่ 4 องศาเซลเซียส ไม่เกิน 12-18 ชม. ส่วนของแขน ขา ไม่เกิน 6 ชม. ส่วนของมือ ไม่เกิน 12 ชม. ถ้าไม่ได้เก็บให้ถูกต้อง ต้องรีบนำส่ง รพ. ภายใน 2-3 ชม.

 
ข้อห้ามในการผ่าตัดต่อนิ้ว แขน ขา ที่อาจไม่สามารถผ่าตัดต่ออวัยวะได้
หากเป็นผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น โรคหัวใจ โรคปอด เป็นต้น

ส่วนของเนื้อเยื่อช้ำมาก เช่น ถูกเครื่องบด ถูกเครื่องปั่น รัด ดึง ขาด ถูกทับขาด ถูกระเบิดนิ้ว แขน ขา ขาด

บาดแผล หรือส่วนของอวัยวะที่ขาดที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อสูง เช่น ส่วนที่ขาดตกไปในน้ำครำ หรือถูกสุนัข สัตว์กัดขาด

ส่วนที่ขาดไม่ได้เก็บให้ถูกต้อง นานเกิน 6 ชม. หรือส่วนแขน ขา แม้เก็บที่ 4 องศา C แต่นานเกิน 6 ชม. การต่ออาจสำเร็จ แต่เสี่ยงต่อกล้ามเนื้อตาย ซึ่งจะมีสารที่เป็นอันตรายไหลกลับเข้ากระแสโลหิตเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
การพิจารณาการเข้ารับการผ่าตัดนิ้ว
ผู้ที่สูญเสียนิ้วไปแล้ว ต้องการผ่าตัดแก้ไข พิจารณาความต้องการของคนไข้และการใช้งานของมือที่เหลือ

สูญเสียนิ้วหัวแม่มือ สมรรถภาพการทำงานของมือลดลง 40%
การผ่าตัดสร้างนิ้วหัวแม่มือขึ้นมาใหม่ เช่น การย้ายนิ้วเท้าขึ้นมาแทนนิ้วหัวแม่มือ หรือการสร้างนิ้วหัวแม่มือ โดยต่อกระดูกให้ยาวขึ้น แล้วใช้ส่วนของผิวหนังเล็บจากนิ้วหัวแม่เท้ามาคลุมกระดูกต่อเส้นเลือด เส้นประสาท จะช่วยให้มีนิ้วหัวแม่มือที่มีรูปร่าง และความยาวใกล้เคียงกับนิ้วหัวแม่มือมาก


การสูญเสียนิ้วมือทั้ง 4 นิ้ว เหลือนิ้วหัวแม่มือนิ้วเดียว สูญเสียการทำงานของมือ 60%
การผ่าตัดย้ายนิ้วเท้าขึ้นมาแทนที่นิ้วที่ขาด 1-2 นิ้วจะช่วยให้การทำงานดีขึ้น


การสูญเสียนิ้วเพียงนิ้วเดียว หรือบางข้อ ไม่ช่วยให้การทำงานดีขึ้นมากนัก อาจจะไม่คุ้มค่ากับการผ่าตัดย้ายนิ้ว หรือสร้างนิ้วเพิ่มขึ้น 

เมื่อเกิดเหตุได้รับบาดแผลจนอวัยวะขาด หรือบาดแผลใหญ่จนเสี่ยงติดเชื้อได้ง่าย ขณะลงมือปฐมพยาบาลควรรีบติดต่อเจ้าหน้าที่ศูนย์แพทย์ฉุกเฉิน 1669 หรือนำส่งโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
:) :) :) :) :) :) :) :) :)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 24, 2019, 09:21:05 pm โดย sithiphong »