ผู้เขียน หัวข้อ: ภาพปริศนา ? "พระสงฆ์สอนหนังสือเด็ก" ความเข้าใจผิดอันคลาดเคลื่อน  (อ่าน 6101 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ภาพปริศนา ? "พระสงฆ์สอนหนังสือเด็ก" ความเข้าใจผิดอันคลาดเคลื่อน
http://board.palungjit.com/showthrea...2445&page=1268



ใครก็ตามที่ผ่านสายตาไปยังหนังสือซึ่งรวบรวมเรียบเรียงเรื่องราวของสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม มาบ้างแล้ว อย่างน้อยต้องพบภาพพระสงฆ์สอนหนังสือเด็ก

ภาพที่เข้าใจกันว่าเป็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี)

อันเป็นภาพที่ปรากฏบนหน้าหนังสือเกี่ยวกับอัตโนประวัติสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี) อยู่บ่อยๆ จนมีบางท่านเข้าใจคลาดเคลื่อนตลอดมา แท้จริงภาพนี้มีการเข้าใจผิดมาอย่างเนิ่นนาน

ในนิตยสาร "ชุมนุมจุฬาฯ" ปีที่ 14 เล่มที่ 3 ฉบับ 23 ตุลาคม พ.ศ.2503 ปรากฏการตีพิมพ์ภาพนี้ทั้งบรรยายว่า

"พระบรมฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระปิยมหาราช เมื่อทรงพระเยาว์กำลังทรงพระอักษรกับสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (โต) วัดระฆังโฆสิตาราม

ภาพโดยความเอื้อเฟื้อของ พล.ร.ต.หลวงสุวิชาแพทย์"

หากสังเกตจะพบว่าสมณศักดิ์ของท่านนั้นผิด สมณศักดิ์ของท่านซึ่งได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะที่ "พระธรรมกิติ" ในปี พ.ศ.2395 ขณะนั้นท่านมีอายุได้ 64 ปีแล้ว

ในปี พ.ศ.2397 ทรงแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะที่ "พระเทพกวี" จนกระทั่งปี พ.ศ.2407 ทรงสถาปนาเป็น "สมเด็จพระพุฒาจารย์"

ขณะเดียวกัน ในคำแถลงจากสาราณียกรของหนังสือ "ชุมนุมจุฬาฯ" ดังกล่าว ก็ว่า "พระบรมฉายาลักษณ์ขององค์สมเด็จพระปิยมหาราชในสมัยยังทรงพระเยาว์อันเป็นพระบรมฉายาลักษณ์ที่หาดูได้ยาก อัญเชิญมาประดับเป็นศรีแก่เล่ม เนื่องในวาระสำคัญนี้ด้วย" ยิ่งเสริมความเชื่อเป็นอันมากว่า คือ พระบรมฉายาลักษณ์ ร.5 ครั้งทรงพระเยาว์

แท้จริงภาพนี้มีที่มาในนิตยสาร "ศิลปวัฒนธรรม" ปีที่ 2 ฉบับที่ 7 เดือนพฤษภาคม พ.ศ.2524 หน้า 33 ปรากฏการตีพิมพ์ภาพใบนี้ พร้อมคำอธิบายจาก "นิวัติ กองเพียร" ว่า รูปนี้ไม่ใช่รัชกาลที่ 5 กับสมเด็จพระพุฒาจารย์ เหตุผลประกอบดังนี้

1. รูปนี้ได้มาจากหนังสือฝรั่งชื่อ "SIAM"

2. พัดรองที่วางพิงผนังอยู่นั้น เป็นพัดที่นิยมทำก่อนสมัยรัชกาลที่ 5 ต่อมาไม่มีความนิยมในการทำพัดรองอีกเลย

3. ถ้ารูปนั้นเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์จริง ท่านต้องห่มดองและรัดประคดอก มิใช่อย่างที่เห็นในรูป แม้แต่พระรุ่นเก่าที่วัดระฆังโฆสิตาราม ที่เคยเห็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ก็ยืนยันว่ามิใช่สมเด็จแน่

4. เจ้านายหลายพระองค์ ที่เป็นพระธิดาหรือพระโอรสก็ยืนยันว่า มิใช่พระราชบิดาแน่นอน

หนังสือฝรั่ง "SIAM" ที่ว่า ก็คือ หนังสือชื่อยาวเฟื้อยว่า "TWENTIETH CENTURY IMPRESSION OF SIAM : ITS HISTORY, PEOPLE COMMERCE, INDUSTRIES, AND RESOURCES WITH WHICH IS INCORPORATED AN ABRIDGED EDITION OF TWENTIETH CENTURY IMPRESSIONS OF BRITISH MALAYA"

แปลชื่อเป็นไทยว่า "เรื่องน่ารู้ของสยามในศตวรรษที่ 20 ว่าด้วยประวัติศาสตร์ พลเมือง พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม และทรัพยากร รวมเรื่องน่ารู้ของบริติชมลายาในศตวรรษที่ 20 โดยสังเขป" อันเป็นหนังสือที่ตีพิมพ์จากลอนดอน ประเทศอังกฤษ ในปี พ.ศ.2452 อันเป็นช่วงปลายรัชกาลที่ 5 ทั้งยังให้คำอธิบายรูปนี้ไว้ว่า "Buddhist Priest and Disciple"



นอกจากนี้ ในการจัดทำหนังสือเล่มดังกล่าว สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงพระกรุณาประทานภาพส่วนพระองค์ อันเกี่ยวเนื่องกับประเทศสยามให้กับผู้จัดทำหนังสือเล่มนี้ด้วย

อย่างไรก็ตามแต่ ในหนังสือที่ระลึกงานสงกรานต์ชลบุรี ประจำปี พ.ศ.2507 ในเรื่อง "สมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต)" อันเขียนโดย อธึก สวัสดิมงคล ยืนยันได้เป็นอย่างดีว่า ภาพพระสงฆ์สอนหนังสือเป็นภาพที่เข้าใจผิดและคลาดเคลื่อน ดังในหน้า 11 ที่ให้ข้อมูลความเป็นมาของภาพใบนี้จากลายพระหัตถ์หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิศกุล พระธิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงตอบคำถามของ อธึก สวัสดิมงคล ว่า

"สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) นั้นไม่ช้าจะเป็นอะไรๆ สักร้อยอย่างเป็นเรื่องหากินทั้งนั้น เดี๋ยวนี้ใครอยากรู้อะไร ก็นั่งวิปัสสนาเอาได้ ไม่ช้าคงต้องร้อนถึงทางการเข้าเล่นด้วยเป็นแน่ มีผู้เอาภาพพระแก่กับเด็กลูกศิษย์สอนหนังสือกัน ฉันจำได้ว่า "โรเบิร์ต เลนส์" ขอประทานให้เสด็จพ่อทรงช่วยทำโปสการ์ดเผยแพร่เมืองไทย และท่านได้ถ่ายรูปฉันแต่งลาวน่าน หญิงเหลือส่องกระจก พร้อมกับทำรูปนี้ด้วย แต่บัดนี้กลายเป็นรูปสมเด็จโตสอนหนังสือพระพุทธเจ้าหลวง แย่จริงๆ น่ากลัวพงศาวดารจะเลอะเทอะกันใหญ่เสียแล้ว"

สำหรับ โรเบิร์ต เลนส์ เป็นช่างภาพชาวเยอรมัน เจ้าของห้องถ่ายรูปโรเบิร์ต เลสน์ ดำเนินธุรกิจถ่ายรูป เมื่อ พ.ศ.2437 ได้รับพระบรมราชานุญาตให้เป็นช่างภาพราชสำนักรัชกาลที่ 5

นอกจากนี้ ยังมีผู้กล่าวว่า พระภิกษุในภาพคือ พระครูวิมลคุณากร (ศุข เกสโร) วัดปากคลองมะขามเฒ่า จังหวัดชัยนาท ซึ่งภาพดังกล่าวอาจจะไม่ได้ถ่ายที่ชัยนาท ถ้าหากเป็นหลวงปู่ศุขจริง อาจจะถ่าย ณ ตำหนักเหลืองในวังพลเรือเอกสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ก็เป็นไปได้

ทั้งนี้ เพราะหลวงปู่ศุข จะมาพำนักที่ตำหนักเหลืองเป็นประจำทุกปี เพื่อมาร่วมงานในพิธีไหว้ครูประจำปีของพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ ซึ่งทรงเป็นศิษย์หลวงปู่ศุข

อย่างไรก็ตาม ไม่อาจสรุปได้ว่าเป็นภาพของหลวงปู่ศุข ทั้งนี้ หม่อมเจ้าหญิงพูนพิศมัย ดิสกุล เมื่อครั้งทรงตอบคำถามของ อธึก สวัสดิมงคล ก็มิได้เอ่ยถึงว่าเป็นพระภิกษุรูปใด

.......บทความคัดลอกจาก มติชนสุดสัปดาห์ วันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 ปีที่ 25 ฉบับที่ 1302
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
พระประวัติกรมหมื่นพิทยาลงกรณ์





พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัสทรงเป็นพระโอรสในกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ (พระองค์เจ้า ยอดยิ่งยศ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) กับ เจ้าจอมมารดาเลี่ยม (เล็ก) ประสูติเมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๑๙ ในพระบวรราชวัง

เมื่อเยาว์วัยเรียนหนังสือกับมารดาที่ตำหนัก เมื่อชันษา ๕ ขวบ ก็ทรงอ่านหนังสือได้คล่อง ทรงเข้าศึกษาที่โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๒๙ และต่อมาศึกษาภาษาอังกฤษจนถึง พ.ศ. ๒๔๓๖ จึงเข้ารับราชการในตำแหน่งนายเวร กระทรวงธรรมการ ขณะพระชันษาได้ ๑๖ ปี และได้เลื่อนเป็นผู้ช่วยในกรมศึกษาธิการใน ทรงรับหน้าที่พิเศษเป็นข้าหลวงสอบไล่วิชาหนังสือไทย ทรงเป็นกรรมการพิเศษร่างพระราชบัญญัติพิจารณาความแพ่ง และทรงได้เลื่อนเป็นผู้ช่วยที่ปรึกษากระทรวงพระคลังมหาสมบัติ

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรป พ.ศ. ๒๔๔๐ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัสตามเสด็จด้วย และทรงศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ เป็นเวลา ๒ ปี ทรงเสด็จกลับจากประเทศอังกฤษเมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๒ ทรงเข้ารับราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ทรงรับตำแหน่งเป็นผู้ช่วยอธิบดีกรมตรวจและกรมสารบาญชี

พ.ศ. ๒๔๔๔ ทรงย้ายเป็นปลัดกรมธนบัตร และเจริญก้าวหน้าเป็น ผู้แทนเจ้ากรมธนบัตร เจ้ากรมกองที่ปรึกษาอธิบดีกรมประสาปน์สิทธิการ อธิบดีกรมตรวจและกรมสารบาญชี อธิบดีกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ ทรงจัดตั้งและวางรากฐานกิจการสหกรณ์ จนในที่สุดได้เลื่อนตำแหน่งเป็นรองเสนาบดี กระทรวงพาณิชย์

พ.ศ. ๒๔๕๔ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัสเป็น องคมนตรี และโปรดเกล้าฯ ให้ทรงกรมฯ เป็น กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๕๖>>
พ.ศ. ๒๔๖๘ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ดำรงตำแหน่งอุปนายกกรรมการหอพระสมุดสำหรับพระนคร ซึ่งต่อมาได้รวมเข้ากับกรมศิลปากร ต่อมาได้เปลี่ยนจากหอสมุดสำหรับพระนครเป็น "ราชบัณฑิตยสภา"

พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ทรงโปรดเล่นกีฬาเทนนิส ทรงพระดำริตั้ง ลอนเทนนิสสมาคมแห่งประเทศไทย ขึ้นเมื่อวันที่ ๑๔ เมษายน พ.ศ. ๒๔๗๐
พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ด้วยพระโรคหลอดโลหิตในสมองตัน สิริพระชนมายุ ๖๘ ปี ๖ เดือน ๑๓ วัน


ที่มา learners.in.th/file/be_sincere/ประวัตินักเศรษฐศาตร์.doc



.

http://board.palungjit.com/f179/พระวังหน้า-ที่หลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดรเสก-ถ้าต้องการที่จะได้-22445-1268.html
.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
พระประวัติ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ


http://www.dharma-gateway.com/monk/m...ja-09-hist.htm


สมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทว)


วัดราชประดิษฐ์


นิตยสารธรรมจักษุ ปีที่ ๘๐ ฉบับที่ ๑๒ เมษายน ๒๕๔๐




เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช (สา ปุสฺสเทว) เป็นชาวตำบลบางไผ่ (๑) จังหวัดนนทบุรีประสูติเมื่อวันพฤหัสบดี เดือน ๙ แรม ๘ ค่ำ ปีระกา จุลศักราช ๑๑๗๕ ตรงกับ พ.ศ. ๒๓๕๖ ในรัชกาลที่ ๒ โยมบิดาชื่อ จันท์ โยมมารดาชื่อ สุข มีพี่น้องชายหญิงรวมด้วยกัน ๕ คนคือ
๑. หญิงชื่อ อวบ
๒. ชายชื่อ ช้าง ภายหลังได้รับพระทานบรรดาศักดิ์เป็นที่พระสุภรัตกาสายานุรักษ์
๓. ชายคือ เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช (สา)
๔. ชายชื่อ สัง ได้อุปสมบทอยู่วัดบวรนิเวศวิหารและได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะที่ พระสมุทรมุนี ภายหลังลาสิกขา
๕. หญิงชื่อ อิ่ม
กล่าวกันว่าโยมบิดาของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ เป็นชาวตำบลบางเชิงกราน จังหวัดราชบุรี ได้เคยบวชเรียน จนเป็นผู้ชำนาญในการเทศน์มิลินท์และมาลัย แม้เมื่อลาสิกขาออกมาเป็นฆราวาสแล้วก็ยังเรียกกันติดปากว่า “จันท์มิลินท์มาลัย” ส่วนโยมมารดาเป็นชาวตำบลบางไผ่ จังหวัดนนทบุรี (๒) สำหรับโยมบิดานั้น นอกจากจะได้เคยบวชเรียนเป็นนักเทศน์มีชื่อแล้ว คงจักได้เล่าเรียนมีความรู้ในทางพระปริยัติธรรมมาเป็นอย่างดีด้วย ถึงได้เป็นอาจารย์บอกหนังสืออยู่ในพระราชวังบวรด้วยท่านหนึ่ง (๓)
เนื่องจากโยมบิดาเป็นผู้มีความรู้ดีในด้านอักษรสมัยและในทางพระปริยัติธรรม ถึงขั้นเป็นอาจารย์บอกหนังสือ (คือสอนหนังสือ) ในพระราชวังบวร การศึกษาในเบื้องต้นของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ จึงเข้าใจว่าคงศึกษากับโยมบิดานั่นเอง และเรื่องที่ศึกษาเล่าเรียนก็คงจะหนักไปทางด้านพระศาสนาอันเป็นวิชาที่โยมบิดาถนัด นี้ก็อาจจะเป็นปัจจัยส่วนหนึ่งที่นำให้เจ้าพระคุณสมเด็จฯ มีอุปนิสัยน้อมไปในทางบรรพชา จนเป็นเหตุให้ทรงบรรพชาเป็นสามเณรแต่ยังเยาว์ในเวลาต่อมา
เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ได้บรรพชาเป็นสามเณรแต่ยังเยาว์ ในรัชกาลที่ ๓ เดิมอยู่ที่วัดใหม่บางขุนเทียน ต่อมาได้ย้ายมาอยู่วัดสังเวชวิศยารามเพื่อเล่าเรียนพระปริยัติธรรม ส่วนการเรียนพระปริยัติธรรมนั้น เข้าไปเรียนในพระราชวังบวรกับอาจารย์อ่อน (ฆราวาส) และกับโยมบิดาของพระองค์ท่านเอง ซึ่งเป็นอาจารย์บอกหนังสืออยู่ในพระราชวังบวรนั้นด้วยกัน (๔)
ครั้น พ.ศ. ๒๓๖๙ พระชนมายุได้ ๑๔ ปี ได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมเป็นครั้งแรก แปลได้เพียง ๒ ประโยค จึงยังไม่ได้เป็นเปรียญ แต่เรียกกันว่า “เปรียญวังหน้า” ที่เรียกกันว่าเปรียญวังหน้านั้น ก็ด้วยเหตุที่ว่า ประเพณีการแปลพระปริยัติธรรมในสมัยนั้น ผู้เข้าแปลทีแรกต้องแปลพระธรรมบทให้ได้ครบ ๓ ประโยคในคราวเดียวจึงนับว่าเป็นเปรียญ ถ้าไม่ได้ครบทั้ง ๓ ประโยค เข้ามาแปลคราวหน้าก็ต้องแปลแต่ประโยค ๑ ไปใหม่ ครั้งนั้น กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ มีพระประสงค์จะทรงอุปการะแก่พระภิกษุสามเณรที่เล่าเรียน มิให้ท้อถอยจากความเพียรไปเสีย ถ้ารูปใดแปลได้ ๒ ประโยคก็ทรงรับอุปการะไป จนกว่าจะเข้าแปลใหม่ได้เป็นเปรียญ พระภิกษุสามเณรที่ได้รับพระราชทานอุปการะเหล่านั้น จึงพากันเรียกว่า เปรียญวังหน้า
ต่อมา เจ้าพระคุณสมเด็จฯ แต่ครั้งยังเป็นสามเณร ได้เข้าถวายตัวเป็นศิษย์อยู่ในสำนักพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะเมื่อทรงผนวชประทับอยู่ ณ วัดราชาธิวาส (วัดสมอราย) เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมต่อ และได้ทรงศึกษาเล่าเรียนสืบมาในสำนักของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น กระทั่งพระชนมายุได้ ๑๘ ปี จึงได้เข้าแปลพระปริยัติธรรมอีกครั้งหนึ่ง และครั้งนี้ทรงแปลในคราวเดียวได้หมดทั้ง ๙ ประโยค ได้เป็นเปรียญเอกแต่ยังทรงเป็นสามเณร(๕) นับเป็นสามเณรองค์แรกที่เป็นเปรียญ ๙ ประโยคในยุคกรุงรัตนโกสินทร์(๖)
เป็นที่น่าสังเกตว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ถวายตัวศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่ในสำนักของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ณ วัดราชาธิวาสเพียง ๔ ปีเท่านั้น ก็มีความรู้แตกฉานในพระปริยัติธรรม จนสามารถแปลพระปริยัติธรรมได้ในคราวเดียวหมดทั้ง ๙ ประโยค อันแสดงให้เห็นว่า เพราะทรงได้พระอาจารย์ที่ทรงพระปรีชาสามารถอย่างยิ่งในทางพระปริยัติธรรม คือ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประกอบกับพระวิริยะอุตสาหะ และพระสติปัญญาอันเฉียบแหลมส่วนพระองค์ด้วยนั่นเอง จึงทรงมีความรู้แตกฉาน ในสิ่งที่ทรงศึกษาเล่าเรียน เพียงชั่วระยะเวลาอันสั้น ซึ่งน้อยคนนักที่จะทำได้
ครั้นถึงปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๗๖ มีพระชนมายุครบ ๒๐ ปี เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ก็อุปสมบท ณ วัดราชาธิวาส มีพระนามฉายาว่า ปุสฺโส แต่ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัด ว่าพระอุปัชฌาย์และพระกรรมวาจาจารย์คือใคร แต่ตามทางสันนิษฐานว่า ในเวลาที่เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช (สา) มีพระชนมายุครบอุปสมบทนั้น เป็นเวลาที่พระสงฆ์ธรรมยุตนิยมพระอุปัชฌาย์รามัญ ซึ่งมีพระสุเมธาจารย์ (เกิด) เป็นพระอุปัชฌาย์อยู่ด้วยรูปหนึ่ง และเวลานั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นพระกรรมวาจาจารย์อยู่ ฉะนั้น จึงน่าเป็นไปได้ว่า พระอุปัชฌาย์ของเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ในการอุปสมบทครั้งนั้น คือพระสุเมธาจารย์ (เกิด) พระกรรมวาจาจารย์ คือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(๗)
พ.ศ. ๒๓๗๙ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ได้ทรงอาราธนาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะทรงผนวชอยู่ ให้เสด็จมาครองวัดบวรนิเวศวิหาร เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ซึ่งขณะนั้นทรงเป็นพระเปรียญเอกพรรษา ๔ ได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาอยู่วัดบวรนิเวศวิหารด้วย
ครั้น พ.ศ. ๒๓๘๒ พรรษา ๖ ทรงได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะที่ พระอมรโมลี (ไม่พบประกาศทรงแต่งตั้ง) จะเห็นได้ว่าทรงได้รับยกย่องให้ดำรงอยู่ในฐานะพระเถระผู้ใหญ่ตั้งแต่ทรงมีอายุพรรษา ๖ (คือพระชนมายุ ๒๖) เท่านั้น ทั้งนี้ก็คงเนื่องด้วยทรงมีพระปรีชาแตกฉาน ในพระปริยัติธรรมและพระธรรมวินัยเป็นมูลนั่นเอง
การที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จจากวัดราชาธิวาส มาครองวัดบวรนิเวศวิหารนั้น นับเป็นครั้งแรกที่พระสงฆ์ธรรมยุตได้มีวัดเป็นสำนักของตนเองเป็นเอกเทศ เพราะก่อนแต่นั้นพระสงฆ์ธรรมยุตก็ยังคงอยู่รวมในวัดเดียวกันกับพระสงฆ์เดิม
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
เมื่อมีสำนักเป็นเอกเทศขึ้นแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ได้ทรงปรับปรุงระเบียบปฏิบัติด้านต่าง ๆ ของพระสงฆ์ในปกครองของพระองค์ได้อย่างเต็มที่ เช่น ทรงตั้งธรรมเนียมนมัสการพระเช้าค่ำ ที่เรียกกันทั่วไปว่า ทำวัตรเช้า ทำวัตรค่ำ เป็นประจำวันขึ้น พร้อมทั้งทรงพระราชนิพนธ์คำนมัสการพระรัตนตรัยเป็นภาษามคธ (ภาษาบาลี) ขึ้นใหม่ ที่เรียกกันว่า บททำวัตรเช้าค่ำ ดังที่ใช้สวดกันทั่วไปในบัดนี้ ในวันธรรมสวนะ (วันพระ) มีการแสดงพระธรรมเทศนาแก่พุทธศาสนิกชนเป็นต้น ในด้านการศึกษา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงส่งเสริมการเรียนพระปริยัติธรรมให้รุ่งเรือง โดยพระองค์ทรงบอกพระปริยัติธรรม (คือสอน) ด้วยพระองค์เอง มีพระภิกษุสามเณรเป็นศิษย์เข้าแปล (คือสอบในสนามหลวง) ได้เป็นเปรียญประโยคสูงถึงประโยค ๙ หลายรูป
การเรียนพระปริยัติธรรมของสำนักวัดบวรนิเวศวิหารในยุคนั้นรุ่งเรืองมาก พระเปรียญพูดภาษามคธได้คล่อง และคงเนื่องด้วยเหตุนี้เอง วัดบวรนิเวศวิหารในครั้งนั้น จึงต้องทำหน้าที่รับรองพระสงฆ์ลังกาที่เข้ามาเจริญศาสนไมตรีกับไทย ถึงกับต้องมีเสนาสนะหมู่หนึ่งไว้รับรองที่วัดบวรนิเวศวิหาร เรียกว่าคณะลังกา (ปัจจุบันรื้อไปแล้ว)(๘)
ในส่วนพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น พระองค์ก็ทรงศึกษาภาษาละตินและภาษาอังกฤษกับชาวต่างประเทศ จนทรงสามารถตรัส เขียน อ่านได้อย่างคล่องแคล่ว(๙) แม้พระภิกษุสามเณรที่เป็นศิษย์ในพระองค์ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ก็เข้าใจว่าคงได้รับการส่งเสริมให้เรียนภาษาต่างประเทศที่นอกเหนือไปจากภาษามคธด้วยเช่นกัน ดังปรากฏในประวัติของพระอมราภิรักขิต (อมโร เกิด) ซึ่งเป็นศิษย์หลวงเดิมท่านหนึ่ง และได้เป็นสมณทูตไปลังกาถึง ๒ ครั้ง ว่า สามารถพูดภาษาอังกฤษได้คล่องแคล่ว จนชาวลังกายกย่องเป็นอันมาก (๑๐) เป็นตัวอย่าง
เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราชก็คงจะเช่นเดียวกัน นอกจากจะทรงศึกษาพระปริยัติธรรมจนมีความแตกฉานคล่องแคล่วในภาษามคธแล้ว ก็คงจักได้ศึกษาภาษาต่างประเทศอื่น ๆ ด้วย ตามความนิยมของสำนักวัดบวรนิเวศวิหารในครั้งนั้น ดังปรากฏในคำประกาศทรงสถาปนาเป็น สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ ตอนหนึ่งว่า “มีสุตาคมปัญญารอบรู้ในอักษรแลภาษาซึ่งเปนสกะไสมยปะระไสมย คือ ขอม ไทย แลสิงหฬ รามัญ สังสกฤตพากย์ เป็นต้นโดยพิศดาร”(๑๑)
เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช ทรงอยู่ในฐานะพระเถระผู้ใหญ่ ผู้เป็นต้นวงศ์แห่งคณะธรรมยุตรูปหนึ่งในจำนวน ๑๐ รูป ดังที่ปรากฏในพระราชนิพนธ์สมณศาส์นของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อยังทรงผนวชอยู่ พระราชทานไปยังพระสงฆ์ในประเทศลังกา ว่า

ทส คณิสฺสรา เถรา ธมฺมยุตฺติกวํสิกา

ตนฺนิกายิกสงฺเฆน สพฺพกิจฺเจสุ สมฺมตา
อเนกภิกฺขุสตานํ ปิตโร ปริณายกา
ตสฺเสว ภูปตินฺทสฺส ปิโย กนิฏฺภาตุโก
เถโร วชิรญาโณ จ ปาโมกฺโข คณเชฏฺโก
เถโร พฺรหฺมสโร เจว เถโร ธมฺมสิริวฺหโย
เถโร พุทฺธสิริ เจว เถโร ปญฺญาคฺคนามโก
เถโร ธมฺมรกฺขิโต จ เถโร จ โสภิตวฺหโย
เถโร พุทฺธิสณฺหนาโม เถโร ปุสฺสาภิธานโก
เถโร สุวฑฺฒโน จาปิ สพฺเพ สมานฉนฺทกา

ฯลฯ


พระเถระเจ้าคณะฝ่ายธรรมยุตติกวงศ์ อันพระสงฆ์นิกายนั้นสมมติ (แต่งตั้งให้เป็นผู้บริหาร) ในกิจทั้งปวง เป็นบิดา เป็นปริณายกแห่งภิกษุหลายร้อยรูป พระเถระทรงพระนามว่าวชิรญาณะ ผู้เป็นพระกนิฐภาดาที่โปรดปรานของพระเจ้าแผ่นดินพระองค์นั้น เป็นผู้ใหญ่ในคณะ เป็นประธาน ๑ พระเถระนามว่า พรหมสระ ๑ พระเถระนามว่า ธัมมิสิริ ๑ พระเถระนามว่า พุทธสิริ ๑ พระเถระนามว่า ปัญญาอัคคะ ๑ พระเถระนามว่า ธัมมรักขิตะ ๑ พระเถระนามว่า โสภิตะ ๑ พระเถระนามว่า พุทธิสัณหะ ๑ พระเถระนามว่า ปุสสะ ๑ พระเถระนามว่า สุวัฑฒนะ ๑ ทุกรูปเป็นผู้มีฉันทะเสมอกัน ฯลฯ (๑๒)


พระเถระที่ปรากฏพระนามและนามในพระราชนิพนธ์ข้างต้นนี้ พระวชิรญาณะ คือพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงประดิษฐานคณะธรรมยุต
พระพรหมสระ คือ พระญาณรักขิต (สุข) เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส รูปแรก ภายหลังลาสิกขาและได้เป็นที่ พระธรรมการบดี
พระธัมมสิริ คือ พระเทพโมลี (เอี่ยม) เจ้าอาวาสวัดเครือวัลย์รูปที่ ๒

พระพุทธสิริ คือ สมเด็จพระวันรัตน์ (ทับ) เจ้าอาวาสวัดโสมนัสวิหาร รูปที่ ๑

พระปัญญาอัคคะ คือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ผู้ทรงครองวัดบวรนิเวศวิหารสืบต่อจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงดำรงตำแหน่งเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต เป็นพระองค์แรก
พระธัมมรักขิตะ คือ พระครูปลัด ทัด วัดบวรนิเวศวิหาร ภายหลังลาสิกขาและได้เป็นที่ พระศรีภูริปรีชา
พระโสภิตะ คือ พระศรีวิสุทธิวงศ์ (ฟัก) วัดบวรนิเวศวิหาร ภายหลังลาสิกขาและได้เป็นที่พระยาศรีสุนทรโวหาร
พระพุทธิสัณหะ คือ พระอมรโมลี (นบ) เจ้าอาวาส วัดบุปผาราม รูปที่.....
พระปุสสะ คือ เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช (สา) เจ้าอาวาสวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม รูปที่ ๑
พระสุวัฑฒนะ คือ พระปลัดเรือง วัดบวรนิเวศวิหาร (๑๓)
พระเถระ ๑๐ รูปนี้ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยกย่องในฐานะพระเถระผู้ใหญ่และเป็นที่ทรงปรึกษากิจแห่งคณะ ขณะเมื่อยังทรงผนวชอยู่ (๑๔)
เมื่อสำนักวัดบวรนิเวศวิหารเจริญขึ้นแล้วพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงส่งพระศิษย์หลวงเดิมออกไปตั้งสำนักสาขาขึ้นที่วัดอื่นอีกหลายวัด กล่าวคือ
โปรดให้สมเด็จพระวันรัตน์ (ทับ พุทธศิริ) แต่ครั้งยังเป็นพระราชาคณะที่ พระอริยมุนี เป็นเจ้าสำนักวัดราชาธิวาส (วัดสมอราย)
โปรดให้ พระญาณรักขิต (สุข พรหมสระเป็นเจ้าสำนักวัดบรมนิวาส (เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าวัดนอก)
โปรดให้ พระเทพโมลี (เอี่ยม ธัมมสิริ) แต่ครั้งยังเป็นที่พระรัตนมุนี เป็นเจ้าสำนักวัดเครือวัลย์
โปรดให้ พระเมธาธรรมรส (ถิน) แต่ครั้งยังเป็นพระครูใบฎีกา เป็นเจ้าสำนักวัดพิชยญาติการาม
โปรดให้ พระอมรโมลี (นบ) แต่ครั้งยังเป็นพระครูวินัยธร เป็นเจ้าสำนักวัดบุปผาราม
ส่วนที่วัดบวรนิเวศวิหารจึงยังคงเหลือพระศิษย์หลวงเดิมที่เป็นกำลังสำคัญของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ แต่ครั้งยังมิได้ทรงกรม เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช (สา) แต่ครั้งยังเป็น พระอมรโมลี พระศรีวิสุทธิวงศ์ (ฟัก โสภิโต) พระปลัดเรือง พระปลัดทัด (๑๕)


คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
จะเห็นได้ว่า เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ได้ทรงเป็นพระเถระที่เป็นกำลังสำคัญในคณะธรรมยุตมาตั้งแต่ระยะแรกเริ่มสถาปนาคณะและตลอดมาจนถึงวาระสุดท้ายแห่งพระชนมชีพ
เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ หลังจากที่ได้รับพระราชทานแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะที่ พระอมรโมลีแล้ว ได้ลาสิกขาออกไปครองชีวิตฆราวาสอยู่ระยะหนึ่ง แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าทรงลาสิกขาในปีใด ครั้นถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดให้อุปสมบทใหม่ ที่วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อเดือน ๑๐ ปีกุน พ.ศ. ๒๓๙๔ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ แต่ครั้งยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็น กรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธุ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระศรีวิสุทธิวงศ์ (ฟัก โสภิโต ซึ่งภายหลังลาสิกขาและได้เป็นที่พระยาศรีสุนทรโวหาร) เป็นพระกรรมวาจาจารย์
ในการอุปสมบทครั้งนี้ทรงมีพระชนมายุ ๓๘ ปี (๑๖) และทรงมีพระนามฉายาว่า ปุสฺสเทโว นัยว่าเมื่อทรงอุปสมบทครั้งที่ ๒ นี้ก็ได้ทรงเข้าแปลพระปริยัติธรรมอีกครั้งหนึ่ง และก็ทรงแปลได้หมดทั้ง ๙ ประโยคอีก ด้วยเหตุนี้เองจึงมักมีผู้กล่าวขวัญถึงพระองค์ด้วยสมญานามอันแสดงถึงพระคุณลักษณะพิเศษนี้ว่า “สังฆราช ๑๘ ประโยค” ในเวลาต่อมา
ในคราวอุปสมบทครั้งที่ ๒ นี้ เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ทรงเป็นพระอันดับอยู่ ๗ พรรษา ถึงปีมะแม พ.ศ. ๒๔๐๑ ในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงพระกรุณาโปรดแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะที่ พระสาสนโสภณ มีสำเนาประกาศทรงตั้ง ดังนี้


“ให้พระอาจารย์สา วัดบวรนิเวศ เป็นพระสาสนโสภณ ที่พระราชาคณะในวัดบวรนิเวศ มีนิตยภัตรเดือนละ ๔ ตำลึง ๒ บาท ขอพระคุณจงเอาธุระพระพุทธศาสนาเป็นภาระสั่งสอนแลอนุเคราะห์ พระภิกษุสงฆ์ สามเณรในพระอารามโดยสมควร จงมีศุขสวัสดิ์เจริญในพระพุทธศาสนาเทอญ ฯ

ตั้งแต่ ณ วันศุกร์ เดือน ๔ ขึ้น ๑๕ ค่ำ ปีมะเมียสัมฤทธิศก พุทธศักราช ๒๔๐๑ เป็นวันที่ ๒๘๖๕ ในรัชกาลปัจจุบันนี้”

ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานนิตยภัตรเสมอพระราชาคณะชั้นเทพ แต่ถือตาลปัตรแฉกเสมอพระราชาคณะชั้นสามัญ (๑๗) สำหรับราชทินนามที่ พระสาสนโสภณ นั้นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นโดยเฉพาะ เพื่อให้ได้กับนามเดิมของเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ คือ สา
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงตรัสเล่าไว้ ความว่า
เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ก่อนที่จะได้รับแต่งตั้งเป็นที่พระสาสนโสภณนั้น คนทั่วไปเรียกกันว่า อาจารย์สา เมื่อถึงคราวที่จะทรงแต่งตั้งเป็นพระราชาคณะ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงประดิษฐ์ราชทินนาม โดยเอานามเดิมของพระองค์ท่านขึ้นต้น แล้วต่อสร้อยว่า พระสาสนดิลก นาม ๑ พระสาสนโสภณ นาม ๑ แล้วโปรดให้พระสารสาสตร์พลขันธ์ (สมบุญ) ไปทูลถามพระองค์ท่านว่าจะชอบนามไหน
เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ว่า นาม สาสนดิลก นั้นสูงนัก ขอรับพระราชทานเพียงนาม สาสนโศภณ จึงได้ทรงพระกรุณาโปรดแต่งตั้งเป็นที่พระสาสนโสภณดังกล่าวมา แล้วคนทั้งหลายก็เรียกกันโดยย่อว่า “เจ้าคุณสา” สืบมา (๑๘)
ดูทีว่าเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ จะทรงโปรดราชทินนามนี้มาก ภายหลังแม้จะได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์สูงขึ้นถึงชั้นธรรม ชั้นเจ้าคณะรอง ก็ยังคงรับพระราชทานในราชทินนามว่า พระสาสนโสภณตลอดมา
การกลับเข้ามาอุปสมบทใหม่ของเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ครั้งนี้ นับว่าเป็นคุณประโยชน์ต่อคณะธรรมยุตและคณะสงฆ์เป็นส่วนรวมเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะวัดบวรนิเวศวิหารซึ่งเป็นสำนักหลักในคณะธรรมยุต ดังที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงอธิบายไว้ในตำนานวัดบวรนิเวศวิหารว่า
“พระเถระที่เป็นกำลังในการวัด ครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงครองวัด ร่วงโรยไป พระปลัดเรืองถึงมรณภาพเสียแต่ในครั้งยังเสด็จอยู่ พระศรีวิสุทธิวงศ์ (โสภิโต ฟัก) แลพระปลัดทัด ลาสิกขาเสียในครั้งนี้ (หมายถึงครั้งสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ทรงครองวัด) คงมีแต่พระสาสนโสภณ คือพระอมรโมลี (ปุสฺสเทโว สา) ผู้กลับเข้ามาอุปสมบทอีก ได้เป็นกำลังใหญ่ในการพระศาสนา พระผู้สามารถในการเทศนาโดยฝีปากมีน้อยลง ท่านจึงแต่งหนังสือเทศน์ขึ้นไว้สำหรับใช้อ่านในวันธัมมัสสวนะปกติและในวันบูชา
ได้แต่งเรื่องปฐมสมโพธิย่อ ๓ กัณฑ์จบสำหรับถวายเทศนาในวันวิสาขบูชา ๓ วัน ๆละกัณฑ์ และเรื่องจาตุรงคสันนิบาตกับโอวาทปาติโมกข์ สำหรับถวายในวันมาฆบูชาที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เป็นอันได้รับพระบรมราชานุมัติ ยังได้รจนาเรื่องปฐมสมโพธิพิสดาร สำหรับใช้เทศนาในวัด ๒ คืนจบอีก”
พระนิพนธ์ต่าง ๆ ที่เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ได้ทรงรจนาขึ้นแต่ครั้งยังเป็นที่ พระสาสนโสภณ ดังกล่าวมาข้างต้นนี้ ได้เป็นหนังสือสำคัญในการเทศนาและศึกษาเล่าเรียนของพระภิกษุสามเณรสืบมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
ครั้น พ.ศ. ๒๔๐๘ เมื่อการสร้างวัดราชประดิษฐ์เสร็จแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดให้อาราธนาเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ แต่ครั้งยังเป็นที่ พระสาสนโสภณ จากวัดบวรนิเวศวิหาร มาครองวัดราชประดิษฐ์ เป็นเจ้าอาวาสองค์แรก พร้อมด้วยพระสงฆ์จากวัดบวรนิเวศวิหารอีก ๒๐ รูป
ทรงพระกรุณาโปรดให้แห่จากวัดบวรนิเวศวิหารมาวัดราชประดิษฐ์เมื่อเดือน ๘ ปีฉลู สัปตศก จุลศักราช ๑๒๒๗ ตรงกับเดือนกรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๐๘ (๑๙) และได้รับพระราชทานเปลี่ยนตาลปัตรเป็นตาลปัตรแฉกพื้นแพรเสมอชั้นธรรม (๒๐)
เล่ากันว่า เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ทรงเป็นที่ทรงเคารพและสนิทคุ้นเคยในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นอันมาก เป็นที่ทรงสนทนาปรึกษา ทั้งเรื่องที่เป็นกิจการบ้านเมืองและเรื่องที่เป็นกิจการพระศาสนา และเสด็จพระราชดำเนินไปทรงสนทนาปรึกษากับเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ณ ที่วัดราชประดิษฐ์ ฯ ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากพระบรมมหาราชวังเนือง ๆ
คำเล่าอ้างดังนี้น่าจะสมจริง เพราะสมกับที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ตรัสเล่าไว้ในพระประวัติตรัสเล่าว่า
“เมื่อเรายังเยาว์ แต่จำความได้แล้ว ได้ตามเสด็จทูลกระหม่อม (หมายถึง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ไปวัดราชประดิษฐ์เนือง ๆ คราวหนึ่งได้ยินตรัสถามสมเด็จพระสังฆราช (ปุสฺสเทว สา) ครั้งนั้นยังเป็นพระสาสนโสภณว่า คนชื่อคนมีหรือไม่ สมเด็จพระสังฆราชนิ่งนึกอยู่ครู่หนึ่ง แล้วถวายพระพรทูลว่า ไม่มี ทรงชี้เอาเราผู้นั่งอยู่เบื้องพระปฤษฎางค์ว่า นี่แหละคนชื่อคน แต่นั้นเราสังเกตว่า ทรงพระสรวล และสมเด็จพระสังฆราชก็เหมือนกัน” (๒๑)
นอกจากนี้ ก็ยังกล่าวกันว่า เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช (สา) นั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดว่าเป็นผู้แต่งเทศน์ดี แต่ครั้งยังเสด็จดำรงอยู่ในผนวช ภายหลังเมื่อได้เป็นที่ พระสาสนโสภณแล้ว ถ้าพระราชาคณะหรือพระเปรียญจะถวายเทศน์ ต้องมาให้เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ตรวจเสียก่อน ถ้าใครไม่ชำนาญในการแต่งเทศน์ก็จะทรงแต่งให้ (๒๒)
นับแต่ทรงสถาปนาวัดราชประดิษฐ์ขึ้นแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็เสด็จพระราชดำเนินถวายพุ่มพรรษา (พุ่มเทียน) แก่พระสงฆ์วัดราชประดิษฐ์ทั่วทั้งวัดเป็นประจำทุกปีจนสิ้นรัชกาล โดยเสด็จพระราชดำเนินในวันแรม ๑ ค่ำอันเป็นวันที่พระสงฆ์เข้าพรรษา ดูเป็นทำนองอย่างทรงเป็นเจ้าของวัด
เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ได้อยู่ครองวัดราชประดิษฐ์ สนองพระเดชพระคุณเฉลิมพระราชศรัทธาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ ๔ ปี ก็สิ้นรัชกาล
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จสวรรคตเมื่อวันพฤหัสบดี ที๑ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๐๐ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๑๑ ปีมะโรง อันเป็นวันมหาปวารณาออกพรรษาของพระสงฆ์
ครั้นเวลาเย็นวันมหาปวารณาที่เสด็จสวรรคตนั้น พระอาการทรุดหนักลง พระองค์ทรงประกอบไปด้วยพระสติสัมปชัญญะ ทรงกำหนดอวสานกาลแห่งพระชนมายุของพระองค์เป็นแน่แล้ว จึงมีพระบรมราชโองการให้เจ้าพนักงานจัดเครื่องนมัสการพร้อมแล้วจึงมีพระราชโองการดำรัสให้ พระยาศรีสุนทรโวหาร (ฟัก) เข้าไปในที่พระบรรทม มีพระราชดำรัสพระราชนิพนธ์โดยมคธภาษา ให้พระยาศรีสุนทรโวหาร รับพระบรมราชโองการจดเป็นอักษร
ครั้นทรงพระบรมราชนิพนธ์เสร็จแล้ว ทรงพระกรุณาโปรดให้พระยาศรีสุนทรโวหารเชิญไปกับทั้งเครื่องนมัสการ สู่พระวิหารหลวงวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม พระสงฆ์มีพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระปวเรศวริยาลงกรณ์เป็นประธาน ประชุมพร้อมกันเพื่อจะทำสังฆปวารณา พระยาศรีสุนทรโวหารจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการ แล้วกราบถวายบังคมมาตามทิศ อ่านพระบรมราชนิพนธ์นั้น ณ ที่สังฆสันนิบาต สงฆ์รับอัจจยเทศนาแล้วตั้งญัตติปวารณา แล้วปวารณาตามลำดับพรรษา

ฝ่ายพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวดำรัสสั่งพระยาศรีสุนทรโวหารเสร็จแล้ว ก็ทรงนมัสการจิตตวิโสธโนบาย ภาวนามัยกุศลเครื่องชำระจิตให้บริสุทธิ์ พอสมัยยามกับบาทหนึ่ง เสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งภานุมาศจำรูญฝ่ายอุดรทิศ พร้อมด้วยอัศจรรย์ หมอกกลุ้มทั่วนครมณฑลโดยบุญญวันตวิสัย เมื่อเสด็จสวรรคต พระชนมายุนับเรียงปีได้ ๖๕ พรรษา นับอายุโหราโดยจันทรคติได้ ๖๕ ปีถ้วน คิดเป็นวันได้ ๒๓๓๕๘ วัน กับ ๑๖ ชั่วโมงครึ่ง คิดตามสุริยคติกาลอย่างยุโรปได้ ๖๔ ปี หย่อน ๑๖ วันกับ ๒ ชั่วโมง เสด็จอยู่ในราชสมบัตินับเรียงปีได้ ๑๘ ปี นับอายุโหราตามจันทรคติได้ ๑๗ ปี ๕ เดือนถ้วน คิดเป็นวัน ๖๓๔๘ วัน (๒๓)
พ.ศ. ๒๔๑๕ ในรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงพระกรุณาโปรดสถาปนาเลื่อนสมณศักดิ์ขึ้นเป็นพระราชาคณะชั้นเจ้าคณะรองที่ พระธรรมวโรดม แต์ให้คงใช้ราชทินนามเดิมว่า “พระสาสนโสภณที่พระธรรมวโรดม”
พ.ศ. ๒๔๑๖ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จออกทรงผนวชเป็นพระภิกษุ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์แต่ครั้งยังทรงดำรงพระยศเป็น กรมหมื่นบวรรังษีสุริยพันธ์ ทรงเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช (สา) ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ เป็นพระราชกรรมวาจาจารย์ มีคณปูรกะ คือ
๑. หม่อมเจ้าพระธรรมุณหิสธาดา วัดบวรนิเวศวิหาร
๒. พระองค์เจ้า พระอรุณนิภาคุณากร แต่ครั้งยังทรงเป็นหม่อมเจ้า วัดราชบพิธ
๓. สมเด็จพระวันรัตน์ (ทับ พุทธสิริ) แต่ครั้งยังเป็น ที่พระพิมลธรรม วัดโสมนัสวิหาร
๔. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ศรี อโนมสิริ) แต่ครั้งยังเป็นที่ พระพรหมมุนี วัดปทุมคงคา
๕. พระพรหมเทพาจารย์ วัดเสนาสนาราม พระนครศรีอยุธยา
๖. พระจันทรโคจรคุณ (ยิ้ม จนฺทรํสี) วัดมกุฏกษัตริยาราม
๗. พระพรหมมุนี (เหมือน สุมิตฺโต) แต่ครั้งยังเป็นที่ พระอริยมุนี วัดบรมนิวาส
๘. พระเทพกวี (นิ่ม สุจิณฺโณ) แต่ครั้งยังเป็นที่ พระสุคุณคณาภรณ์ วัดเครือวัลย์ (๒๔)
เมื่อทรงผนวชแล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประทับ ณ พระพุทธรัตนสถานมนทิราราม ในพระบรมมหาราชวังชั้นใน โดยได้เชิญเสด็จสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ พระราชอุปัธยาจารย์ และนิมนต์พระราชาคณะผู้ใหญ่ต่างวัดเข้าไปอยู่ด้วยพอครบคณะสงฆ์
ทรงผนวชอยู่เป็นเวลา ๑๕ วัน ครั้นทรงลาผนวชแล้ว ทรงรับพระบรมราชาภิเษกอีกครั้งหนึ่ง (๒๕)
พระเถระผู้ร่วมเป็นคณะสงฆ์ในการพระราชพิธีทรงผนวชพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งนั้น ล้วนเป็นผู้ได้ทำทัฬหีกรรม (คืออุปสมบทซ้ำ) มาแล้วทั้งนั้น ยังแต่เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช (สา) พระองค์เดียวเท่านั้น ที่ขณะนั้นยังไม่ได้ทำทัฬหีกรรม ทั้งจะต้องทรงเป็นผู้ที่ทำหน้าที่สำคัญในการนี้ คือเป็นพระราชกรรมวาจาจารย์ด้วย
ในครั้งนี้เองที่เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ได้ทรงทำทัฬหีกรรม ซึ่งขณะนั้นทรงมีอายุพรรษา ๒๒ แล้ว (นับแต่ทรงอุปสมบทครั้งหลัง)
ในการทรงทำทัฬหีกรรมของเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ นั้น ไม่พบหลักฐานว่า ทำที่ไหน ใครเป็นพระอุปัชฌาย์ พบแต่เพียงว่า พระจันทรโคจรคุณ (ยิ้ม จนฺทรํสี) วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ (๒๖) แต่สันนิษฐานว่าคงจักได้ทำที่แพโบสถ์ ตรงฝั่งวัดราชาธิวาส และวิธีการต่าง ๆ นั้นก็คงจะทำนองเดียวกันกับที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ตรัสเล่าไว้เมื่อครั้งพระองค์เองทรงทำทัฬหีกรรม ดังนี้
“ตั้งแต่ครั้งทูลกระหม่อม (หมายถึง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ยังทรงผนวช พวกพระธรรมยุตนับถือสีมาน้ำว่าบริสุทธิ์เป็นที่สิ้นสงสัย ไม่วางใจในวิสุงคามสีมาอันไม่ได้มาในบาลี เป็นแต่พระอรรถกถาจารย์แนะไว้ในอรรถกถาอนุโลมตามสีมา ครั้งยังไม่มีวัดอยู่ตามลำพัง จึงใช้สีมาน้ำเป็นที่อุปสมบท
ต่อมาพระรูปใดจะอยู่เป็นหลักฐานในพระศาสนา พระผู้ใหญ่จึงพาพระรูปนั้นไปอุปสมบทซ้ำอีกในสีมาน้ำ เรียกว่าทำทัฬหีกรรม
สำนักวัดบวรนิเวศวิหารหยุดมานาน พระเถระในสำนักนี้ ก็ได้ทำทัฬหีกรรมโดยมาก สมเด็จพระสังฆราช (ปุสฺสเทว) อุปสมบทครั้งหลังกว่า ๒๐ พรรษาแล้ว จึงได้ทำทัฬหีกรรม ครั้งจะสวดกรรมวาจาอุปสมบทเมื่อล้นเกล้า ฯ (หมายถึง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) ทรงผนวชพระ
เสด็จพระอุปัชฌายะ (หมายถึง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์) ตรัสเล่าว่า
พระเถระทั้งหลายผู้เข้าในการทรงผนวชล้วนเป็นผู้ได้ทำทัฬหีกรรมแล้ว ยังแต่ท่าน (หมายถึงเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช (สา) องค์เดียวทั้งจักเป็นผู้สำคัญในการนั้น จึงต้องทำ... ครั้งเราบวช ความนับถือพระบวชในสีมาน้ำยังไม่วาย เราเห็นว่าเราเป็นผู้จักยั่งยืนในพระศาสนาต่อไป..เราควรเป็นผู้เข้าได้ทุกฝ่าย อันจะให้เข้าได้ ต้องไม่เป็นที่รังเกียจในการอุปสมบทเป็นมูล ทั้งเราก็อุปสมบทเร็วไปกว่าปกติ เมื่อทำทัฬหีกรรมอุปสมบทซ้ำอีกในสีมาน้ำ จักสามารถทำประโยชน์ให้สำเร็จได้ดี เราจึงเรียนความปรารภนี้แก่เจ้าคุณอาจารย์ (หมายถึง พระจันทรโคจรคุณ (ยิ้มจันทรํสี) ขอท่านเป็นธุระจัดให้ จึงตกลงกันว่า เราจักถือเจ้าคุณอาจารย์เป็นอุปัชฌายะใหม่ ในเวลาทำทัฬหีกรรม เจ้าคุณพรหมมุนีฟันหักสวดจะเป็นเหตุรังเกียจ เจ้าคุณอาจารย์ท่านเลือกเอาเจ้าคุณธรรมไตรโลก (ฐานจาระ) วัดเทพศิรินทร์ ครั้งยังเป็นบาเรียนอยู่วัดโสมนัสวิหารเป็นผู้สวดกรรมวาจา ท่านรับจัดการให้เสร็จ พาตัวไปทำทัฬหีกรรมที่แพโบสถ์ อันจอดอยู่ที่แม่น้ำ ตรงฝั่งวัดราชาธิวาสออกไป...แรกขอนิสสัยถืออุปัชฌายะใหม่ แล้วทำวิธีอุปสมบททุกประการ สวดทั้งกรรมวาจามคธและกรรมวาจารามัญ”
พ.ศ. ๒๔๒๒ ในรัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ “สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายเหนือ ตำแหน่งที่สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ”
พ.ศ. ๒๔๓๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดให้ทำการสังคายนาพระไตรปิฎก โดยทรงมีพระราชดำริว่า
คัมภีร์พระไตรปิฎก ซึ่งแต่เดิมมาได้คัดลอกต่อ ๆ กันมาด้วยการจารลงในใบลานด้วยอักษรขอมนั้น กว่าจะได้แต่ละคัมภีร์ก็ช้านาน เป็นเหตุให้คัมภีร์ของพระพุทธศาสนาไม่ค่อยแพร่หลายและไม่พอใช้ในการศึกษาเล่าเรียน ทั้งไม่สะดวกในการเก็บรักษาและใช้ดูให้อ่าน อักษรขอมที่ใช้จารึกนั้นเล่าก็มีผู้อ่านกันได้น้อยลงทุกที
ฉะนั้น หากได้มีการตรวจชำระพระไตรปิฎกให้ครบถ้วนบริบูรณ์ แล้วพิมพ์ขึ้นเป็นเล่มหนังสือด้วยอักษรไทย ก็จะเป็นการทำให้พระคัมภีร์แพร่หลาย และเป็นการสะดวกในการใช้ศึกษาเล่าเรียนมากยิ่งขึ้น
ฉะนั้นจึงได้ทรงพระกรุณาโปรดให้จัดการสังคายนาพระไตรปิฎกขึ้น โดยโปรดให้อาราธนาพระเถรานุเถระ ประชุมร่วมกันกับราชบัณฑิตทั้งหลาย ตรวจชำระพระไตรปิฎก แล้วจัดพิมพ์เป็นเล่มหนังสือขึ้น ให้สำเร็จเรียบร้อยทันกำหนดการบำเพ็ญพระราชกุศลสมโภชสิริราชสมบัติในกาลเมื่อบรรจบครบ ๒๕ ปี
ครั้นวันที่ ๗ เดือน ๓ แรม ๑ ค่ำ ปีชวดสัมฤทธิศก (พ.ศ. ๒๔๓๑) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงเชิญเสด็จพระบรมวงศานุวงศ์ที่ทรงผนวชได้ดำรงสมณศักดิ์ มีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ขณะทรงดำรงพระยศกรมพระ เป็นประธาน และทรงอาราธนาพระราชาคณะผู้ใหญ่ มีเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช (สา) ขณะทรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เป็นประธาน พร้อมทั้งพระสงฆ์เปรียญ ทั้งในกรุงและหัวเมือง ประชุมพร้อมกับในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วเสด็จพระราชดำเนินประทับในพระอุโบสถ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ข้าราชการ อาลักษณ์อ่านประกาศพระบรมราชโองการ อาราธนาพระสงฆ์ให้ตรวจชำระพระไตรปิฎก เป็นการเริ่มการทำสังคายนา
ในการทำสังคายนาครั้งนี้ พระเถรานุเถระได้แบ่งกันทำหน้าที่เป็นกอง ๆ ดังนี้
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ ขณะทรงดำรงพระยศ กรมพระ ทรงเป็นประธานาธิบดีในการตรวจแบบฉบับพระไตรปิฎก
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ขณะทรงดำรงพระยศ กรมหมื่น และสมเด็จพระสังฆราช (สา) ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ เป็นรองอธิบดีจัดการทั้งปวง
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส เป็นแม่กองตรวจพระวินัยปิฎก
พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร วัดราชบพิธ เป็นแม่กองตรวจพระสุตตันตปิฎก
พระพรหมมุนี (เหมือน) วัดบรมนิวาส เป็นแม่กองตรวจพระสุตตันตปิฎก
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (แสง) ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมไตรโลกย์ วัดราชบุรณะ เป็นแม่กองตรวจพระสุตตันตปิฎก
พระธรรมราชานุวัตร (ต่าย) วัดเสนาสนาราม เป็นแม่กองตรวจพระสุตตันตปิฎก
สมเด็จพระวันรัต (ฑิต) ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระเทพโมลี วัดมหาธาตุ เป็นแม่กองตรวจพระสุตตันตปิฎก
พระพิมลธรรม (อ้น) วัดพระเชตุพน ฯ เป็นแม่กองตรวจพระอภิธรรมปิฎก
สมเด็จพระวันรัต (แดง) ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมวโรดม วัดสุทัศน์ เป็นแม่กองตรวจพระอภิธรรมปิฎก
พระไตรปิฎกที่จัดพิมพ์ขึ้นครั้งนี้มีจำนวน ๑,๐๐๐ จบ ๆ ละ ๓๙ เล่ม พระราชทานพระราชทรัพย์ในการจัดพิมพ์ประมาณ ๒,๐๐๐ ชั่ง (๒๗) นับเป็นครั้งแรกที่ได้มีการจัดพิมพ์พระไตรปิฎกเป็นเล่มหนังสือ และเป็นครั้งแรกที่ได้มีการจดจารึกพระไตรปิฎกด้วยอักษรไทยด้วย เพราะก่อนแต่นี้ขึ้นไป ไม่ว่าจะเป็นการจดจารึกพระธรรมเป็นภาษาบาลีหรือภาษาไทย ล้วนนิยมจดจารึกด้วยอักษรขอมทั้งนั้น
การจัดพิมพ์เสร็จเรียบร้อยในปี พ.ศ. ๒๔๓๖ ได้ทันฉลองในการทรงบำเพ็ญพระราชกุศลสมโภชสิริราชสมบัติบรรจบครบ ๒๕ ปีตามพระราชประสงค์
พระไตรปิฎกที่จัดพิมพ์ขึ้นครั้งนี้ได้ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานไปไว้ตามพระอารามหลวงวัดละจบ นอกนั้นก็พระราชทานแก่พระสงฆ์และคฤหัสถ์ที่มีหน้าที่ในการตรวจชำระและจัดพิมพ์ ส่วนที่เหลือก็พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้จำหน่ายแก่ผู้ที่ประสงค์จะสร้างถวายวัด หรือสถานศึกษา ในราคาพอสมควร ปรากฏว่าพระไตรปิฎกที่จัดพิมพ์ขึ้นครั้งนี้ หมดฉบับสำหรับจำหน่ายภายในเวลาเพียง ๒ ปี
เมื่อข่าวการพิมพ์พระไตรปิฎกครั้งนี้แพร่หลายไป ปรากฏว่ารัฐบาลและสถานศึกษานานาประเทศ พากันตื่นเต้นสนใจ และขอพระราชทานมาเป็นจำนวนมาก ก็ได้ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานให้ตามประสงค์ เป็นเหตุให้พระไตรปิฎกชุดนี้แพร่หลายเป็นที่รู้จักไปทั่วโลกตลอดมาจนบัดนี้ (๒๘)
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ครั้นถึง พ.ศ. ๒๔๓๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดสถาปนาเพิ่มอิสริยยศเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ให้พิเศษกว่าสมเด็จพระราชาคณะแต่ก่อน ๆ มา
คือทรงสถาปนาเลื่อนขึ้นเป็น สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ มีนิตยภัตรเดือนละ ๑๑ ตำลึง มีถานานุกรมได้ ๑๒ รูป มากกว่าสมเด็จพระราชาคณะตำแหน่งอื่น ๆ (ซึ่งมีนิตยภัตร ๖ ตำลึงบ้าง ๗ ตำลึงบ้าง ๑๐ ตำลึงบ้าง และมีถานานุกรมได้ ๘ รูปบ้าง ๑๐ รูปบ้าง) เพื่อเป็นการเฉลิมพระราชศรัทธาปสาทะที่ได้ทรงมีในเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ที่ทรงยกย่องเป็น “อรรคมหาคารวสถาน” โดยฐานที่ได้ทรงเป็นพระราชกรรมวาจาจารย์ในคราวทรงผนวชและเรียบเรียงหนังสือธรรมวินัยให้ได้ทรงศึกษาเป็นอันมาก
เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ นับเป็นพระมหาเถระรูปที่ ๒ ได้รับพระราชทานสถาปนาในราชทินนามที่ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ อันเป็นราชทินนามสำหรับตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชตั้งแต่ขณะที่ยังไม่เป็นสมเด็จพระสังฆราช นับได้ว่าเป็นการพระราชทานเกียรติยศอย่างสูงเป็นกรณีพิเศษ
พ.ศ. ๒๔๓๕ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ องค์สกลมหาสังฆปริณายก สิ้นพระชนม์ด้วยพระโรคชรา พระชนมายุ ๘๓ พรรษา แต่เป็นคราวที่ไม่สะดวกในทางราชการ พระศพสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ พระองค์นั้น ต้องประดิษฐานไว้ ณ พระตำหนักเดิมอันเป็นที่ประทับนานถึง ๘ ปีกับ ๓ เดือน จึงได้ถวายพระเพลิงพระศพ ณ พระเมรุท้องสนามหลวง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๓
ครั้น พ.ศ. ๒๔๓๖ ในรัชกาลที่ ๕ ได้ทรงพระกรุณาโปรดสถาปนาเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ เป็นสมเด็จพระสังฆราช เมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน รัตนโกสินทรศก ๑๑๒ (๒๔๓๖) อันเป็นปีที่ทรงมีพระชนมายุได้ ๘๐ พอดี
การสถาปนาครั้งนี้เรียกว่า “สถาปนาเพิ่มอิสริยยศ พระราชทานมุทธาภิเศก เลื่อนตำแหน่งสมณถานันดรศักดิ์ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช มีนามตามจารึกในสุพรรณบัตรตามเดิม” คือ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ ฯลฯ มีสำเนาประกาศทรงสถาปนาดังนี้
คำประกาศ


ศุภมัสดุ พระพุทธศาสนกาล เป็นอดีตภาคล่วงแล้ว ๒๔๓๖ พรรษา ปัตยุบันกาล จันทรคตินิยม อุรคสังวัจฉร กรรติกมาศ กาฬปักษ์ ฉัฏฐมีดิถี พุฒวาร สุริยคติกาล รัตนโกสินทรศก ๑๑๒ พฤศจิกายนมาศ เอกุณติงสติม มาสาหคุณประเภท ปริเฉทกาลกำหนด
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาจุฬาลงกรณ์ ฯลฯ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริห์ว่า พระสงฆ์ซึ่งดำรงสมณคุณ สมควรจะเลื่อนอิศริยยศในสมณศักดิ์มีอยู่หลายองค์ กาลบัดนี้ก็เป็นเวลาใกล้การมหามงคลราชพิธีรัชฎาภิเศก ควรจะสถาปนาอิศริยยศพระสงฆ์ที่ควรจะสถาปนาขึ้นไว้ให้บริบูรณ์ตามตำแหน่ง เมื่อพระสงฆ์ซึ่งทรงสมณคุณได้รับอิศริยศักดิโดยสมควรแก่คุณานุรูปเช่นนั้นแล้ว แลมาสู่สงฆสมาคม ณ พระราชพิธีสถาน ก็จะเป็นการมงคลอันอุดมยิ่ง ทั้งจะเป็นการเพิ่มภูลพระเกียรติยศพระเกียรติคุณให้ไพโรจน์ชัชวาลย์ด้วย จึงทรงพระราชดำริห์ว่า สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายเหนือ ประกอบด้วยคุณธรรมอนันตโกศล วิมลปฏิภาณ ญาณปรีชา รอบรู้พระปริยัติธรรม เป็นเอกอรรคบุรุษ แลดำเนินในสัมมาปฏิบัติดำรงคุณธรรม อันได้แจ้งอยู่ในประกาศเลื่อนตำแหน่งแต่ก่อนโดยพิศดาร จึงได้ทรงสถาปนาให้มีอิศริยศักดิพิเศษยิ่งกว่าสมเด็จพระราชาคณะ ซึ่งเป็นเจ้าคณะใหญ่โดยสามัญแล้ว บัดนี้พระมหาเถระซึ่งมีคุณแลไวยแลอิศริยศักดิเปนชั้นเดียวกันก็ล่วงลับไปสิ้นแล้ว ยังเหลืออยู่แต่พระองค์เดียวเป็นที่เจริญพระราชศรัทธา แลเปนอรรคมหาคารวะสถานยิ่งขึ้นกว่าแต่ก่อน ทั้งเจริญด้วยชนมายุกาลรัตตัญญูภาวคุณเป็นพระมหาเถระในสงฆ์ สมควรที่จะดำรงสมณถานันดรศักดิ์ ที่สมเด็จพระสังฆราช ให้ปรากฏเกียรติยศเกียรติคุณสืบไปสิ้นกาลนาน แลจะได้เป็นที่สักการบูชาแห่งพุทธสาสนิกบริสัช ทั้งคฤหัสถ์แลบรรพชิตทั้งปวงทั่วไป
จึงมีพระบรมราชโองการมาณพระบัณฑูรสุรสิงหนาท ดำรัสสั่งให้สถาปนาเพิ่มอิสริยยศ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ พระราชทานมุทธาภิเศก เลื่อนตำแหน่งสมณถานันดรศักดิ์ขึ้นเปนสมเด็จพระสังฆราช มีนามตามจารึกในสุพรรณบัตรตามเดิมว่า สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สุขุมธรรมวิธานธำรง มหาสังฆปรินายก ตรีปิฎกกลากุสโลภาศ ปรมินทรมหาราชหิโตปสัมปทาจารย์ ปุสสเทวาภิธานสังฆวิสุต ปาวจนุตมสาสนโสภณ วิมลศีลสมาจารวัตร พุทธสาสนบริสัชคารวะสถาน วิจิตรปฏิภาณพัฒนคุณ อดุลยคัมภีรญาณสุนทร มหาอุดรคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสีอรัญวาสี สถิตย์ ณ วัดราชประดิษฐ์สถิตยมหาสีมารามวรวิหาร พระอารามหลวง เป็นประธานในสมณะมณฑลทั่วพระราชอาณาเขตร แลดำรงที่เจ้าคณะใหญ่ฝ่ายเหนือด้วย พระราชทานนิตยภัตรเพิ่มขึ้นเปนราคาเดือนละ ๑๒ ตำลึง มีอิศริยยศถานานุศักดิ์ ควรตั้งถานานุกรมได้ ๑๖ รูป คือ
พระครูปลัดสัมพิพัฒนศีลาจารย์ ญาณวิมล สกลคณิศร อุดรสังฆนายก ปิฎกธรรมรักขิต สถิตย์ ณ วัดราชประดิษฐ์สถิตยมหาสีมารามวรวิหาร พระอารามหลวง พระครูปลัดกลาง มีนิตยภัตรราคาเดือนละ ๓ ตำลึง ๑
พระครูปลัดอวาจีคณานุสิชฌน์ สังฆอิศริยาลังการ วิจารณกิจโกศล วิมลสังฆนายก ปิฎกธรรมรักขิต สถิตย์ ณ วัดราชประดิษฐ์สถิตยมหาสีมารามวรวิหาร พระอารามหลวง พระครูปลัดขวา มีนิตยภัตรราคาเดือนละ ๓ ตำลึง ๑
พระครูปลัดอุทิจยานุสาสน์ วิจารโณภาศภาคยคุณ สุนทรสังฆานุคุติ วิสุทธิสังฆนายก ปิฎกธรรมรักขิต สถิตย์ ณ วัดราชประดิษฐ์สถิตยมหาสีมารามวรวิหาร พระอารามหลวง พระครูปลัดซ้าย มีนิตยภัตรราคาเดือนละ ๓ ตำลึง ๑
พระครูธรรมกถาสุนทร มีนิตยภัตรราคาเดือนละ ๒ ตำลึง ๑
พระครูวินัยกรณ์โสภณ มีนิตยภัตรราคาเดือนละ ๒ ตำลึง ๑
พระครูพรหมวิหาร มีนิตยภัตรราคาเดือนละ ๑ ตำลึง ๒ บาท ๑
พระครูญาณวิสุทธิ มีนิตยภัตรราคาเดือนละ ๑ ตำลึง ๒ บาท ๑
พระครูวินัยธร ๑
พระครูวินัยธรรม ๑
พระครูเมธังกร ๑
พระครูวรวงศา ๑
พระครูธรรมราต ๑
พระครูธรรมรูจี ๑
พระครูสังฆวิจารณ์ ๑
พระครูสมุห์ ๑
พระครูใบฎีกา ๑
รวม ๑๖ รูป เป็นที่เฉลิมพระราชศรัทธาภิยโยภาพปรากฏสิ้นกาลนาน ขออาราธนาให้รับธุระพระพุทธสาสนา เปนภาระสั่งสอนแลระงับอธิกรณ์พระสงฆ์สามเณรในคณะแลคณานุคณะในสยามรัฏฐิกสงฆมณฑลทั่วไป ให้ทวียิ่งขึ้นตามสมควรแก่กำลังแลอิศริยยศซึ่งพระราชทานนี้

ในการทรงสถาปนาเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ เป็นสมเด็จพระสังฆราชครั้งนี้ ไม่ได้พระราชทานพระสุพรรณบัตรใหม่ เป็นแต่โปรดให้เจ้าพนักงานเชิญพระสุพรรณบัตรครั้งเป็น สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ มาตั้งสมโภชที่ในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม พระราชทานแต่ใบกำกับพระสุพรรณบัตรใหม่เท่านั้น ในคราวเดียวกันนี้ ได้พระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ขณะทรงดำรงพระยศ กรมหมื่น เป็นเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต และพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร เป็นเจ้าคณะรองฝ่ายธรรมยุตติกนิกาย ด้วย
งานพระนิพนธ์ ของเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช (สา) ก็มีเป็นจำนวนไม่น้อย ส่วนใหญ่เป็นงานแปลพระสูตร หนังสือเทศนา และเบ็ดเตล็ดอื่น ๆ พระนิพนธ์ต่าง ๆ ของเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ นั้น ถือกันว่าเป็นงานชั้นครู ทั้งในด้านเนื้อหา สำนวน และแบบแผนในทางภาษา โดยเฉพาะพระนิพนธ์เทศนา มีอยู่เป็นอันมากที่ใช้เป็นแบบอย่างกันมาตั้งแต่ครั้งกระโน้นจนถึงปัจจุบัน
สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงอธิบายไว้ว่า
“แท้จริง บรรดาเทศนาทั้งหลายของสมเด็จพระสังฆราช วัดราชประดิษฐ์นั้นพวกบัณฑิตย่อมนับถือกันว่า เป็นหนังสือแต่งดีอย่างเอกมาแต่ในรัชกาลที่ ๔ ถือกันว่าควรเป็นแบบอย่างทั้งในทางถ้อยคำและในทางปฏิภาณโวหารเป็นของที่ชอบอยู่ทั่วกัน” (๒๙)
พระนิพนธ์ต่าง ๆ เหล่านี้ หากได้มีการรวบรวมไว้ให้ครบถ้วน ก็จักเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาในทางพระศาสนาและสารคดีธรรมเป็นอย่างยิ่ง เท่าที่รวบรวมรายชื่อได้ในคราวนี้ มีดังนี้
ประเภทพระสูตรแปล
๑. กาลามสูตร
๒. จักกวัตติสูตร
๓. จูฬตัณหาสังขยสูตร
๔. ทาฬิททิยสูตร
๕. ทีฆชาณุโกฬิยปุตตสูตร
๖. ธนัญชานีสูตร
๗. ธัมมเจติยสูตร
๘. ปราภวสูตร
๙. ปาสาทิกสูตร
๑๐. มหาธัมมสมาทานสูตร
๑๑. โลกธัมมสูตร
๑๒. สฬายตนวิภังคสูตร
๑๓. สัมมทานิยสูตร
๑๔. สุภสูตร
๑๕. เสขปฏิปทาสูตร
๑๖. อนาถปิณฑโกวาทสูตร
๑๗. อภิณหปัจจเวกขณปาฐะ
๑๘. อภิปปฏิสาสสูตร
๑๙. อากังเขยยสูตร
๒๐. อายาจนสูตร
๒๑. มหาสติปัฏฐานสูตร
ประเภทเทศนา
๑. ปฐมสมโพธิย่อ (๓ กัณฑ์จบ)
๒. เรื่องจาตุรงคสันนิบาตและโอวาทปาติโมกข์
๓. ปฐมสมโพธิ (แบบพิสดาร ๑๐ กัณฑ์จบ) เรื่องนี้ใช้เป็นหนังสือหลักสูตรนักธรรมชั้นตรี - เอก อยู่ในปัจจุบัน
๔. อนุปุพพิกถา (๕ กัณฑ์จบ)
๕. สาราทานปริยาย
๖. ธัมมฐิตัญญาณกถา
๗. ฉฟังคุเปกขากถา
๘. กัสสปสังยุตตกถา
๙. กฐินกถา
๑๐. วัสสูปนายิกกถา
๑๑. เทศนาจตุราริยสัจจกถา (๔ กัณฑ์จบ)
๑๒. ธุตังคกถา
๑๓. สัปปุริสธรรม ๗ ประการ
๑๔. อัฎฐักขณกถา
๑๕. อัฏฐมลกถา
๑๖. อัปปมัญญาวิภังคกถา
๑๗. จตุรารักขกรรมฐานกถา
๑๘. ธัมมุเทศกถา
๑๙. นมัสสนกถา
๒๐. ปวรคาถามารโอวาท
๒๑. ภัทเทกรัตตคาถา
๒๒. รัตตนัตตยปริตร (๓ กัณฑ์จบ)
๒๓. สังคหวัตถุและเทวตาพลี
๒๔. สรณคมนูปกถา
๒๕. สัตตาริยธนกถา
๒๖. สัพพสามัญญานุสาสนี
๒๗. อุกกัฎฐปฎิปทานุสาสนี
๒๘. โสกสัลลหรณปริยาย
๒๙. โสฬสปัญหา (๑๘ กัณฑ์จบ)
ต่างเรื่อง
๑. พระภิกขุปาติโมกข์แปลตรงคงตามบทพยัญชนะ โดยพระบรมราชานุมัติในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
๒. พระภิกขุปาติโมกข์สิกขาบท
๓. วิธีบรรพชาอุปสมบทอย่างธรรมยุตติกนิกาย
๔. สวดมนต์ฉบับหลวง
๕. แปลธัมมปทัฎฐกถา ภาค ๑ (บางเรื่อง)
รวมพระนิพนธ์ของเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ที่เป็นงานแปลพระสูตร ๒๐ สูตร เทศนา ๗๐ กัณฑ์ และพระนิพนธ์เบ็ดเตล็ดต่างเรื่อง ๕ เรื่อง เท่าที่รวบรวมได้ในขณะนี้ เข้าใจว่าคงยังไม่ครบบริบูรณ์แต่ก็เป็นจำนวนเกือบ ๑๐๐ เรื่องซึ่งนับว่ามิใช่จำนวนน้อย
พระกรณียะพิเศษ
สมเด็จพระสังฆราช (สา) ได้ทรงปฏิบัติหน้าที่ถวายพระมงคลวิเสสกถา ซึ่งเป็นเทศนาพิเศษอย่างหนึ่ง มาแต่ในรัชกาลที่ ๔ ตั้งแต่ครั้งยังทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ และได้ถวายต่อมาในรัชกาลที่ ๕ จนตลอดพระชนมชีพของพระองค์ท่าน
เทศนาพระมงคลวิเสสกถา เป็นเทศนาพิเศษอย่างหนึ่ง ซึ่งพรรณนาพระราชจรรยาของสมเด็จพระเจ้าแผ่นดินเพื่อประโยชน์จะได้ทรงพระปัจจเวขณ์ (คือพิจารณา) ถึงแล้ว เกิดพระปีติปราโมทย์แล้ว ทรงบำเพ็ญราชธรรมนั้นยิ่ง ๆ เป็นการอุปถัมภ์พระราชจรรยาให้ถาวรไพบูลย์ (๓๐)
พระเถระที่จะรับหน้าที่ถวายพระมงคลวิเสสกถาในครั้งนั้น สุดแต่จะทรงพระกรุณาโปรด เช่นในรัชกาลที่ ๔ ก็ทรงอาราธนาเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ แต่ครั้งยังทรงดำรงสมณศักดิ์ที่ พระสาสนโสภณ เป็นผู้ถวาย และถวายต่อมาถึงในรัชกาลที่ ๕
เมื่อเจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ สิ้นพระชนม์แล้ว ได้ทรงอาราธนาสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส แต่ครั้งยังทรงดำรงพระยศ กรมหมื่นเป็นผู้ถวาย และได้ถวายต่อมาจนถึงในรัชกาลที่ ๖
เมื่อสมเด็จพระสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ พระองค์นั้นสิ้นพระชนม์แล้ว สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) ได้เป็นผู้ถวายต่อมา เป็นต้น
ในปัจจุบัน การถวายพระมงคลวิเสสกถา เป็นหน้าที่ของสมเด็จพระสังฆราช หรือพระเถระรูปใดรูปหนึ่งที่สมเด็จพระสังฆราชทรงมอบหมาย
ทรงเป็นพระราชกรรมวาจาจารย์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕เมื่อคราวเสด็จออกทรงผนวชเป็นพระภิกษุ พ.ศ.๒๔๑๖
ทรงเป็นพระอุปัชฌาย์และพระกรรมวาจาจารย์ในการทรงผนวชของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้า และพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้า ในพระบรมราชวงศ์จักรีหลายพระองค์
เกี่ยวกับพระอัธยาศัยส่วนพระองค์นั้นเล่ากันว่า ทรงปกครองบริษัทด้วยพระกรุณาอนุเคราะห์ และยกย่องสหธรรมิกด้วยธรรมและอามิสตามควรแก่คุณานุรูป มีพระอัธยาศัยค่อนไปข้างทรงถือพระวินัยละเอียดลออมาก หากเกิดความสงสัยในอาบัติอย่างใดอย่างหนึ่ง แม้จะไม่เป็นอาบัติแท้ ก็จะทรงแสดงเสียเพื่อความบริสุทธิ์ (๓๑)
กล่าวได้ว่า สมเด็จพระสังฆราช (สา) ทรงเป็นพระมหาเถระที่เชี่ยวชาญแตกฉานในพระไตรปิฎก และทรงธรรมทางวินัยอย่างแท้จริงพระองค์หนึ่ง จึงทรงเป็นที่เคารพสักการะแห่งพุทธบริษัททุกหมู่เหล่าเป็นอย่างยิ่ง นับแต่องค์สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินเป็นต้นตลอดจนคณะสงฆ์และพุทธบริษัททั่วไป
ในตอนปลายแห่งพระชนม์ชีพ เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ประชวรด้วยพระโรคบิดประกอบกับพระโรคชรา สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๑๑ มกราคม พ.ศ. ๒๔๔๒ นับพระชนมายุได้ ๘๗ โดยปี
เจ้าพระคุณสมเด็จ ฯ ทรงเป็นสมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ทรงดำรงอยู่ในตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราช ๗ ปี ทรงครองวัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสาราม ๓๔ ปี
หลังจากที่เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช(สา) สิ้นพระชนม์แล้ว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็มิได้ทรงสถาปนาพระเถระรูปใดเป็นสมเด็จพระสังฆราชอีกเลยจนตลอดรัชกาล จึงว่างสมเด็จพระสังฆราชอยู่ถึง ๑๑ ปี (พ.ศ. ๒๔๔๒ - ๒๔๕๓)
เช่นเดียวกับในครั้งรัชกาลที่ ๔ หลังจากที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระปรมานุชิตชิโนรส ซึ่งทรงเป็นที่ทรงเคารพนับถือ สิ้นพระชนม์แล้ว ก็มิได้ทรงสถาปนาพระเถระรูปใดเป็นสมเด็จพระสังฆราชจนตลอดรัชกาลเช่นเดียวกัน จึงว่างสมเด็จพระสังฆราชอยู่ถึง ๑๕ ปี
นำให้เข้าใจว่า แต่โบราณมานั้น พระเถระที่จะได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราชนั้น เฉพาะที่เป็นที่ทรงเคารพนับถือเป็นพิเศษ โดยฐานเป็นพระราชอุปัธยาจารย์ หรือพระราชกรรมวาจาจารย์ หรือพระอาจารย์เท่านั้น
ดังนั้น ในรัชกาลที่ ๔ เมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส ซึ่งทรงเคารพนับถือมากโดยฐานทางเป็นพระราชวงศ์ผู้ใหญ่ สิ้นพระชนม์แล้ว จึงมิได้ทรงสถาปนาพระเถระรูปใดเป็นสมเด็จพระสังฆราชอีก และในรัชกาลที่ ๕ เมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ พระราชอุปัธยาจารย์และสมเด็จพระสังฆราช (สา) พระราชกรรมวาจาจารย์ สิ้นพระชนม์แล้ว ก็มิได้ทรงสถาปนาพระเถระรูปใดเป็นสมเด็จพระสังฆราชอีกเช่นกันจนตลอดรัชกาล
เชิงอรรถ
(๑) ในหนังสือบางเล่มเรียกว่า “บางไผ่ใหญ่”
(๒) ทำเนียบสมณศักดิ์รองสมเด็จพระราชาคณะที่ พระสาสนโสภณ (ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระสาสนโสภณ (เอื้อน) วัดเทพศิรินทราวาส ๒๕๒๑) หน้า ๗๕
(๓) จดหมายเหตุเรื่องไต่สวนนายกุหลาบ ฯ (ในงานพระศพพระองค์เจ้าแขไขดวง ๒๔๗๒) หน้า ๒๙
(๔) เล่มเดียวกัน หน้า ๒๙
(๕) เรื่องแต่งตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์. (ฉบับพิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. ๒๔๖๖) หน้า ๑๔๐-๑
(๖) ทำเนียบสมณศักดิ์รองสมเด็จพระราชาคณะ ฯ อ้างแล้ว หน้า ๗๗
(๗) จดหมายเหตุเรื่องไต่สวนนายกุหลาบฯ อ้างแล้ว หน้า ๓๕-๓๖
(๘) ตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร (พระนิพนธ์ สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ในงานถวายพระเพลิงพระศพสมเด็จพระมหาสมณเจ้า ฯ ๒๔๖๕) หน้า ๒๐-๒๓
(๙) พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้ากรุงสยาม (ของนาย เอ บี กริสโวลด์. พิมพ์โดยเสด็จ พระราชกุศลในมหามงคลสมัย พระชนมายุเสมอด้วยสมเด็จพระราชบิดา ๒๕๐๘) หน้า ๓๖-๓๗.
(๑๐) สัตตปัพพ บุพพสิกขา และบุพพสิกขาวรรณนา (ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๑/๒๕๑๐) หน้า ฎ
(๑๑) เรื่องแต่งตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ อ้างแล้ว หน้า ๑๔๔
(๑๒) ประชุมพระราชนิพนธ์ภาษาบาลีในรัชกาลที่ ๔ ภาค ๒ ( ในการพระเมรุพระศพ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (จวน อุฎฐายี) ๒๕๑๕ หน้า ๓๔๖ - ๓๔๙
(๑๓) ตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร อ้างแล้วหน้า ๕๒-๕๓
(๑๔) เล่มเดียวกัน หน้า ๓๓
(๑๕) เล่มเดียวกัน หน้า ๒๔
(๑๖) เรื่องแต่งตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ อ้างแล้ว หน้า ๑๔๑ และ จดหมายเหตุ เรื่องไต่สวนนายกุหลาบ ฯ อ้างแล้ว หน้า ๓๖
(๑๗) เรื่องตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ ฯ อ้างแล้ว หน้า ๑๔๑-๑๔๒
(๑๘) สาส์นสมเด็จ (ลายพระหัตถ์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ฯ องค์การค้าของคุรุสภา๒๗๖) เล่ม ๒๓ หน้า ๑๒๖
(๑๙) ทำเนียบสมณศักดิ์รองสมเด็จพระราชาคณะ ฯ อ้างแล้ว หน้า ๘๔
(๒๐) เรื่องแต่งตั้งพระราชาคณะผู้ใหญ่ในกรุงรัตนโกสินทร์ อ้างแล้ว หน้า ๑๔๒
(๒๑) พระประวัติตรัสเล่า. (พระนิพนธ์สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ฉบับพิมพ์ครั้ง ๒/๒๔๙๔ มหามกุฎราชวิทยาลัย) หน้า ๓
(๒๒) คำบอกเล่าของพระธรรมปัญญาจารย์ (ทิม อุฑาฆิโม) แต่ครั้งยังเป็นที่พระเทพเมธากร อ้างในทำเนียบสมณศักดิ์รองสมเด็จพระราชาคณะ ฯ อ้างแล้ว หน้า ๘๕
(๒๓) มหามกุฎราชานุสสณีย์ (มหามกุฎราชวิทยาลัยพิมพ์เฉลิมพระเกียรติสมัยครบ ๑๐๐ ปี จากวาระเสด็จสวรรคต พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ๒๕๑๑). หน้า (๕๒)-(๕๖)
(๒๔) ลิลิตพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงผนวชใน พระนิพนธ์ต่างเรื่อง (ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส มหามกุฎราชวิทยาลัย ๒๕๑๔) หน้า ๒๔๘
(๒๕) ตำนานวัดบวรนิเวศวิหาร อ้างแล้ว หน้า ๖๘-๖๙
(๒๖) พระประวัติตรัสเล่า อ้างแล้ว หน้า ๙๙
(๒๗) กฎหมายรัชกาลที่ ๕ (หลวงรัตนาญัปติ (เปล่ง) อธิบดีกรมอัยการ รวบรวม). หน้า ๘๓๘
(๒๘) พระพุทธศาสนากับพระมหากษัตริย์ไทย. (ของเสทื้อน ศุภโสภณ คลังวิทยา ๒๕๐๕). หน้า ๒๔๒-๔
(๒๙) โสฬสปัญหา (สมเด็จพระสังฆราช (สา) ทรงนิพนธ์ ในการปลงศพม่อมหลวงดวงเดือน ดารากร ๒๔๖๗) คำนำ หน้า ข
(๓๐) พระมงคลวิเสสกถา หลักสูตรนักธรรมชั้นเอก (ของสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส มหามกุฏราวิทยาลัย พิมพ์ครั้งที่ ๑๒/๒๕๐๓) คำนำ หน้า ก
(๓๑) ทำเนียบสมณศักดิ์รองสมเด็จพระราชาคณะ ฯ อ้างแล้ว หน้า ๙๐
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ
พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย
http://cu-banna.is.in.th/?md=content&ma=show&id=43



ประวัติการสหกรณ์ในประเทศไทย

การสหกรณ์ในประเทศไทย มีมูลเหตุสืบเนื่องมาจาก เมื่อประเทศไทยได้เริ่มมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ มากขึ้นในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ระบบเศรษฐกิจของชนบทก็ค่อยๆ เปลี่ยนจากระบบเศรษฐกิจแบบเพื่อเลี้ยง ตัวเองมาสู่ระบบเศรษฐกิจแบบเพื่อการค้า ความต้องการเงินทุนในการขยายการผลิตและการครองชีพจึงมีเพิ่มขึ้น ชาวนาที่ไม่มีทุนรอนของตนเองก็หันไปกู้ยืมเงินจากบุคคลอื่นทำให้ต้องเสียดอกเบี้ยในอัตราสูง และยังถูกเอาเปรียบจากพ่อค้านายทุนทุกวิถีทางอีกด้วย ชาวนาจึงตกเป็นฝ่ายเสียเปรียบอยู่ตลอดเวลา ทำนาได้ข้าวเท่าใด ก็ต้องขายใช้หนี้เกือบหมด นอกจากนี้การทำนายังคงมีผลผลิตที่ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับสภาพดินฟ้าอากาศ ถ้าปีไหนผลผลิตเสียหายก็จะทำให้หนี้สินพอกพูนมากขึ้นเรื่อยๆจนลูกหนี้บางรายต้องโอนกรรมสิทธิ์ในที่นาให้แก่เจ้าหนี้ และกลายเป็นผู้เช่านา หรือเร่ร่อนไม่มีที่ดินทำกินไปในที่สุด

จากสภาพปัญหาความยากจนของชาวนาในสมัยนั้น ทำให้ทางราชการคิดหาวิธีช่วยเหลือ ด้วยการจัดหาเงินทุน มาให้กู้และคิดดอกเบี้ยในอัตราต่ำความคิดนี้ได้เริ่มขึ้นในปลายรัชการที่ 5 โดยกำหนดวิธีการที่จะช่วยชาวนาในด้านเงินทุนไว้ 2 วิธี คือ วิธีที่ 1 จัดตั้งธนาคารเกษตรเพื่อให้เงินกู้แก่ชาวนา แต่ขัดข้องในเรื่องเงินทุนและหลักประกันเงินกู้ ความคิดนี้จึงระงับไป
วิธีที่ 2 วิธีการสหกรณ์ประเภทหาทุน วิธีนี้เกิดจากรัฐบาลโดยกระทรวงพระคลังมหาสมบัติในปัจจุบันคือ กระทรวงการคลังได้เชิญเซอร์เบอร์นาร์ด ฮันเตอร์ หัวหน้าธนาคารแห่งมัดราช ประเทศอินเดียเข้ามาสำรวจหาลู่ทางช่วยเหลือชาวนาได้เสนอว่าควรจัดตั้ง "ธนาคารให้กู้ยืมแห่งชาติ" ดำเนินการให้กู้ยืมแก่ราษฎร โดยมีที่ดินและหลักทรัพย์อื่นเป็นหลักประกันเพื่อป้องกันมิให้ชาวนาที่กู้ยืมเงินทอดทิ้งที่นาหลบหนี้สิน ส่วนการควบคุมเงินกู้และการเรียกเก็บเงินกู้ ท่านได้แนะนำให้จัดตั้งเป็นสมาคมที่เรียกว่า "โคออเปอราทีฟ โซไซ"(Cooperative Society) โดยมีหลักการร่วมมือกันเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกันซึ่งคำนี้พระราชวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณได้ทรงบัญญัติศัพท์เป็นภาษาไทยว่า "สมาคมสหกรณ์" จึงกล่าวได้ว่าประเทศไทยเริ่มศึกษาวิธีการสหกรณ์ขึ้นในปี พ.ศ. 2457 แต่ก็ยังมิได้ดำเนินการอย่างไร จนกระทั่งในปี 2458 ได้มีการเปลี่ยนกรมสถิติพยากรณ์ เป็นกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ ประกอบด้วยส่วนราชการ 3 ส่วน คือ การพาณิชย์ การสถิติพยากรณ์ และการ สหกรณ์
การจัดตั้งส่วนราชการสหกรณ์นี้ ก็เพื่อจะให้มีเจ้าหน้าที่ดำเนินการทดลองจัดตั้งสหกรณ์ขึ้นและพระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ ในฐานะทรงเป็นอธิบดีกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ ขณะนั้นได้ทรงพิจารณาเลือกแบบอย่างสหกรณ์เครดิตที่จัดกันอยู่ในต่างประเทศหลายแบบ ในที่สุดก็ทรงเลือกแบบไรฟ์ไฟเซนและทรงยืนยันไว้ใน รายงานสหกรณ์ฉบับแรกว่า "เมื่อได้พิจารณาละเอียดแล้วได้ตกลงเลือกสหกรณ์ชนิดที่เรียกว่าไรฟ์ไฟเซน ซึ่งเกิดขึ้นในเยอรมันก่อน และซึ่งมุ่งหมายที่จะอุปถัมภ์คนจน ผู้ประกอบกสิกรรมย่อมๆ เห็นว่าเป็นสหกรณ์ชนิดที่เหมาะสม ที่สุดสำหรับประเทศไทย" จากการที่พระองค์ท่าน ทรงเป็นผู้บุกเบิกริเริ่มงานสหกรณ์ขึ้นในประเทศไทย บุคคลทั้งหลายในขบวนการสหกรณ์จึงถือว่าพระองค์ทรงเป็น "พระบิดาแห่งการสหกรณ์ไทย" สำหรับรูปแบบของไรฟ์ไฟเซนก็คือ สหกรณ์เพื่อการกู้ยืมเงินที่มีขนาดเล็ก สมาชิกจะได้มีความรับผิดชอบร่วมกัน ทำให้สะดวกแก่การควบคุมท้องที่ที่ได้รับการพิจารณาให้จัดตั้งสหกรณ์ คือ จังหวัดพิษณุโลก เนื่องจากเป็นจังหวัด ที่มีผู้คนไม่หนาแน่นและเป็นราษฎรที่เพิ่งอพยพมาจากทางใต้ จึงต้องการช่วยเหลือผู้อพยพซึ่งประกอบอาชีพการเกษตร ให้ตั้งตัวได้ รวมทั้งเพื่อเป็นการชักจูงราษฎรในจังหวัดอื่นทีมีผู้คนหนาแน่นให้อพยพมาในจังหวัดนี้ และเข้าทำประโยชน์ในที่ดินอย่างเต็มที่ ต่อมากรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ จึงได้ทดลองจัดตั้งสหกรณ์หาทุนขึ้น ณ ท้องที่อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลกเป็นแห่งแรกใช้ชื่อว่า "สหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้" โดยจดทะเบียนเมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2459 มีพระราชวรวงศ์เธอกรมหมื่นพิทยาลงกรณ เป็นนายทะเบียนสหกรณ์ พระองค์แรก นับเป็นการเริ่มต้นแห่งการสหกรณ์ในประเทศไทยอย่างสมบูรณ์

ในระยะแรกตั้งสหกรณ์วัดจันทร์ไม่จำกัดสินใช้มีสมาชิกจำนวน 16 คน ทุนดำเนินงาน 3,080 บาท ซึ่งเป็นเงิน จากค่าธรรมเนียมแรกเข้า 80 บาท และเงินทุนจำนวน 3,000 บาท ได้อาศัยเงินกู้จากแบงค์สยามกัมมาจล จำกัด ซึ่งก็คือธนาคารไทยพาณิชย์ในปัจจุบัน โดยมีกระทรวงพระคลังมหาสมบัติเป็นผู้ค้ำประกัน และเสียดอกเบี้ยให้ธนาคารในอัตราร้อยละ 6 ต่อปี คิดดอกเบี้ยจากสมาชิกในอัตราร้อยละ 12 ต่อปี กำหนดให้สมาชิกส่งคืนเงินต้นในปีแรกจำนวน1,300 บาท แต่เมื่อครบกำหนดสมาชิกส่งคืนเงินต้นได้ถึง 1,500 บาท ทั้งส่งดอกเบี้ยได้ครบทุกราย แสดงให้เห็นว่าการนำวิธีการสหกรณ์เข้ามาช่วยแก้ไขความเดือดร้อนของชาวนาได้ผล และจากความสำเร็จของสหกรณ์วัดจันทร์ดังกล่าว รัฐบาลจึงได้คิดขยายกิจการสหกรณ์ไปยังจังหวัดอื่นๆแต่การจัดตั้งสหกรณ์ในระยะแรกนั้น นอกจากจะมีข้อจำกัดเรื่องเงินทุนแล้วยังมีข้อจำกัดในทางกฎหมายด้วย เพราะพระราชบัญญัติเพิ่มเติมสมาคม พ.ศ. 2459 ทำให้การจัดตั้งสหกรณ์ไม่กว้างขวางพอที่จะขยายสหกรณ์ออกไป หากจะให้การจัดตั้งสหกรณ์เจริญก้าวหน้าและมีความมั่นคงจะต้องออกกฎหมายควบคุมให้มีขอบเขตกว้าง ดังนั้นในเวลาต่อมาทางราชการจึงได้ประกาศยกเลิกพระราชบัญญัติเพิ่มเติมสมาคม พ.ศ. 2459 แล้วประกาศใช้พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471นับเป็นกฎหมายสหกรณ์ฉบับแรก พระราชบัญญัติฉบับนี้ ได้เปิดโอกาสให้มีการรับจดทะเบียนสหกรณ์ประเภทอื่นๆ จากนั้นได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471อีก 3 ครั้ง นับว่าการประกาศให้พระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2471 ช่วยให้การจัดตั้งสหกรณ์ได้ขยายออกไปอีกมาก
ปี พ.ศ. 2478 มีการริเริ่มจัดตั้งสหกรณ์เช่าซื้อที่ดินที่จังหวัดปทุมธานีและได้จัดตั้งสหกรณ์ประเภทใหม่ๆ ขึ้นอีกหลายประเภท เช่น สหกรณ์บำรุงที่ดินสหกรณ์ค้าขาย สหกรณ์นิคมฝ้าย สหกรณ์หาทุนและบำรุงที่ดิน ในปี พ.ศ. 2480 ร้านสหกรณ์ได้ถูกจัดตั้งขึ้นเป็นแห่งแรกที่อำเภอเสนา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ชื่อว่าร้านสหกรณ์บ้านเกาะ จำกัดสินใช้ มีสมาชิกแรกตั้ง279 คน และได้มีการจัดตั้งร้านสหกรณ์ในลักษณะนี้อีกหลายแห่งเพื่อช่วยเหลือ ประชาชนเกี่ยวกับปัญหาค่าครองชีพ โดยจัดตั้งขึ้น ทั้งในส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ และส่วนของประชาชน การเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญที่สุดของขบวนการสหกรณ์ในประเทศไทย ก็คือการควบสหกรณ์หาทุนเข้าด้วยกัน โดยทางราชการได้ออกพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 เปิดโอกาสให้สหกรณ์หาทุนขนาดเล็กที่ดำเนินธุรกิจเพียงอย่างเดียวควบเข้ากันเป็นขนาดใหญ่ สามารถขยายการดำเนินธุรกิจเป็นแบบอเนกประสงค์ซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่สมาชิก ได้มากกว่า ด้วยเหตุนี้สหกรณ์หาทุนจึงแปรสภาพเป็นสหกรณ์การเกษตรมาจนปัจจุบัน และในปี 2511 สันนิบาตสหกรณ์แห่งประเทศไทยได้ถือกำเนิดขึ้นมา เพื่อเป็นสถาบันสำหรับให้การศึกษาแก่สมาชิกสหกรณ์ทั่วประเทศ มีหน้าที่ติดต่อประสานงานกับสถาบันสหกรณ์ต่างประเทศ เพื่อให้เกิดความสัมพันธ์และความช่วยเหลือ ร่วมมือกันระหว่างสหกรณ์สากลในด้านอื่นๆ ที่มิใช่เกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจโดยมีสหกรณ์ทุกประเภทป็นสมาชิก ซึ่งประเทศไทยได้กำหนดประเภทสหกรณ์ไว้ 6 ประเภท ตามประกาศกฎกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พ.ศ. 2516 ประกอบด้วยสหกรณ์การเกษตร สหกรณ์นิคม สหกรณ์ประมง สหกรณ์ออมทรัพย์ สหกรณ์ร้านค้า และสหกรณ์บริการ

ซึ่งนับแต่สหกรณ์ได้ถือกำเนิดขึ้นในประเทศไทยจวบจนปัจจุบัน ผลการดำเนินงานของสหกรณ์ในธุรกิจต่างๆ ได้สร้างความเชื่อถือเป็นที่ไว้วางใจของสมาชิกจนทำให้จำนวนสหกรณ์ จำนวนสมาชิก ปริมาณเงินทุน และผลกำไรของสหกรณ์ เพิ่มขึ้นทุกปี ปัจจุบันมีสหกรณ์ทั่วประเทศ ณ วันที่ 1 มกราคม 2542 ประมาณ 5,549 สหกรณ์ และสมาชิก 7,835,811 ครอบครัว การสหกรณ์ในประเทศไทยจึงมีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศโดยเฉพาะ ต่อประชาชนที่ยากจน สหกรณ์จะเป็นสถาบันทางเศรษฐกิจและสังคมที่ช่วยแก้ไขปัญหาในการประกอบอาชีพ และช่วยยกระดับความเป็นอยู่ของประชาชนให้ดีขึ้น



ที่มา : กรมส่งเสริมสหกรณ์



http://www.cpd.go.th/ewt/web_cpd/index.html

กระทู้พระวังหน้าฯ หน้า 1277
http://board.palungjit.com/showthrea...=1#post1732587
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
 :13:อนุโมทนาสาธุครับ  ขอบคุณครับพี่หนุ่ม
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~