ผู้เขียน หัวข้อ: วิมลเกียรตินิรเทศสูตร ปริเฉทที่ ๗ สรรพสัตว์วิทรรศนะวรรค  (อ่าน 1881 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
ปริเฉทที่ ๗
สรรพสัตว์วิทรรศนะวรรค



ครั้งนั้นแล พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ ได้ถามวิมลเกียรติคฤหบดีว่า


“พระโพธิสัตว์ พึงเพ่งพิจารณาสรรพสัตว์โดยประการอย่างไรหนอ ?” ท่านวิมลเกียรติตอบว่า


“เปรียบด้วยผู้เป็นมายากร พิจารณาแลดูซึ่งมายาบุรุษอันตนนิมิตขึ้นฉันใด พระโพธิสัตว์พึงเพ่งพิจารณาสรรพสัตว์โดยอาการอย่างเดียวกันฉันนั้น อนึ่ง เปรียบด้วยผู้มีปัญญาแลดูซึ่งเงาดวงจันทร์ในท้องน้ำ ฤๅเปรียบด้วยการแลดูฉายาแห่งตนในกระจก ฤๅเปรียบด้วยพยับแดดในท่ามกลางแสงสุริยัน ฤๅเปรียบด้วยเสียงกู่ก้องสะท้อน ฤๅเปรียบด้วยก้อนเมฆในท้องนภาลัย ฤๅเปรียบด้วยฟองน้ำ ฤๅเปรียบด้วยต่อมน้ำ ฤๅเปรียบด้วยแก่นสารอันคงทนของต้นกล้วย ฤๅเปรียบด้วยความดำรงมั่นแห่งสายวิชชุ ฤๅเปรียบด้วยมหาภูตที่ ๕ ฤๅรียบด้วยขันธ์ที่ ๖ ฤๅเปรียบด้วยวิญญาณที่ ๗ ฤๅเปรียบด้วยอายตนะ ๑๓ ฤๅเปรียบด้วยธาตุ ๑๙๑ พระโพธิสัตว์พึงเพ่งพิจารณาดูสรรพสัตว์ด้วยอาการอย่างนี้แล.”


“อนึ่ง พึงพิจารณาดูสรรพสัตว์ โดยอาการดังนี้อีกคือ ด้วยอาการเปรียบด้วยรูปธาตุในอรูปภพ ฤๅเปรียบด้วยการงอกเงยของเมล็ดพันธุ์ข้าวซึ่งแห้งตายแล้ว ฤๅเปรียบด้วยสักกายทิฏฐิของพระโสดาบัน ฤๅเปรียบด้วยการถือเอาครรภ์ปฏิสนธิของพระอนาคามีบุคคล ฤๅเปรียบบด้วยอกุศลมูล ๓ แห่งพระอรหันต์ ฤๅเปรียบพระโพธิสัตว์ผู้ลุธรรมกษานติลุแก่โลภะโทสะกระทำการล่วงสีลสังวร ฤๅเปรียบด้วยกิเลสาสวะแห่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ฤๅเปรียบด้วยผู้มีจักษุมืดแลเห็นรูป ฤๅเปรียบด้วยผู้เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติยังมีลมอัสสาสะปัสาสะอยู่ ฤๅเปรียบบด้วยรอยเท้านกในอากาศ ฤๅเปรียบด้วยบุตรแห่งนางหิน ฤๅเปรียบด้วยกิเลสของมายาบุรุษ ฤๅเปรียบด้วยประสบการณ์ในความฝัน ซึ่งตื่นขึ้นก็อาจพบเห็นได้อีก ฤๅเปรียบด้วยในอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ยังมีวิบากขันธ์มาเสวยภพอีก ฤๅเปรียบด้วยควันที่ปราศจากไฟเป็นเชื้อ พระโพธิสัตว์พึงเพ่งพิจารณาดูสรรพสัตว์ด้วยอาการดังพรรณนามานี้แล.๒ ”

พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ ถามว่า


“หากพระโพธิสัตว์เพ่งพิจารณาดูสรรพสัตว์ด้วยอาการดั่งพรรณนามาแล้วไซร้ ก็จักดำเนินเมตตาจริยาโดยประการฉันใดหน ?”
ท่านวิมลเกียรติตอบว่า

“เมื่อพระโพธิสัตว์เพ่งพิจารณาด้วยอาการดั่งกล่าวมาแล้ว ก็พึงมนสิการว่า เราจักต้องประกาศธรรมเห็นปานนี้ ให้สำเร็จประโยชน์แก่สัตว์ทั้งปวง จึงจักเป็นผู้ได้ชื่อว่าดำเนินเมตตาจริยาโดยแท้จริง กล่าวคือ พึง
ดำเนินเมตตาปฏิปทาด้วยการแสดงอนุตปาทธรรม คือธรรมอันไม่มีความเวียนเกิดอีก พึงดำเนินเมตตาปฏิปทาด้วย

__________________________
๑. ต้นกล้วยไม่มีแก่น สายฟ้าแลบก็ตั้งมั่นอยู่นานมิได้ มหาภูตมี ๔ คือ ปฐวี เตโช วาโย อาโป เท่านั้น ไม่มีมหาภูตที่ ๕ ปัญจขันธ์ก็มีเพียง ๕ ความรู้ทางทวารทั้ง ๖ คือจักษุวิญญาณ ฯลฯ มโนวิญญาณเท่านั้น ไม่มีวิญญาณที่ ๗ อายตนะภายใน ๖ ภายนอก ๖ รวมเป็น ๑๒ เท่านั้น ไม่มีที่ ๑๓ ธาตุก็มีเพียง ๑๘ คือธาตุอายตนะคายใจ ๖ ธาตุอายตนะภายนอก ๖ และวิญญาณธาตุที่เป็นไปในอายตนะอีก ๖,๓x๖ = ๑๘ คำพูดในตอนนี้เป็นคำปฏิเสธความเป็นตัวตนในสรรพสัตว์ คือให้พิจารณาดูว่าสรรพสัตว์เป็นอนัตตา สุญญตา เช่นกับธรรมที่ยกมาเปรียบย่อมเป็นสิ่งที่มีไม่ได้ฉันใด การจะหาสาระแก่นสารโดยความเป็นตนหรือของตน ๆ ในสรรพสัตว์ก็ฉันนั้น.


๒. คำพูดตอนนี้เป็นการแสดงภาวะตรงกันข้ามทั้งนั้น กล่าวคือเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ เช่นเดียวกับการที่จะถือเอาอัตตาในสัตว์ บุคคลก็ย่อมถือเอาไม่ได้ ด้วยสรรพสัตว์ย่อมเป็นสุญญตา โดยสภาพนั่นเอง ถ้ายังขืนสำคัญว่ามีสารถในสิ่งอันปราศจากสารถอยู่ ก็เปรียบได้ว่าพระอรหันต์ยังละอกุศลมูลไม่ได้ ซึ่งตามความจริงแล้ว ไม่เป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้.”




การแสดงอสันตาปธรรม คือธรรมปราศจากความเร่าร้อนเพราะกิเลส พึงดำเนินเมตตาปฏิปทาด้วยการแสดงสมธรรม คือธรรมซึ่งยังกาละทั้ง ๓ ให้เสมอกัน พึงดำเนินเมตตาปฏิปทาด้วยการแสดงอรณวิหารธรรม คือธรรมเป็น เครื่องอยู่อันปราศจากการอุบัติขึ้นแห่งข้าศึกคือกิเลส พึงดำเนินเมตตาปฏิปทาด้วยการแสดงอไทวตธรรม คือธรรมไม่เป็นคู่ ไม่มีภายนอก ฯลฯ พึงดำเนินเมตตาปฏิปทาด้วยการยังความสันติสุขให้เกิดมีขึ้นในสรรพสัตว์ คือยังสัตว์เหล่านั้นให้ได้รับสันติรสแห่งพระพุทธองค์ เมตตาปฏิปทาของพระโพธิสัตว์ ต้องบำเพ็ญด้วยประการฉะนี้แล.”

พระมัญชุศรีโพธิสัตว์ ถามว่า


“ก็กรุณาปฏิปทาเล่า เป็นไฉน ?”

“กุศลสมภารต่าง ๆ ซึ่งพระโพธิสัตว์บำเพ็ญ ล้วนยังสรรพสัตว์ให้มีส่วนร่วมในกุศลสมภารนั้นด้วย ชื่อว่ากรุณาปฏิปทา.”
ถาม “ก็มุทิตาปฏิปทาเล่า เป็นไฉน ?”

ตอบ “พระโพธิสัตว์กระทำความดีใด ๆ ย่อมไม่ตั้งความหวังผลสนอง ชื่อว่าอุเบกขาปฏิปทา.”
ถาม “ในท่ามกลางภัยแห่งธรรมชาติ มรณะนี้ พระโพธิสัตว์พึงอาศัยอะไรเป็นที่พำนัก ?”
ตอบ “พระโพธิสัตว์ผู้อยู่ในท่ามกลางห้วงมหรรณพ อันมีชาติภัยมรณะภัยเป็นต้น พึงอาศัยพุทธานุภาพเป็นที่พึ่งพำนัก.”
ถาม “พระโพธิสัตว์ปรารถนาจักอาศัยพุทธานุภาพเป็นที่พึ่งงพำนักพึงปฏิบัติอย่างไร ?”
ตอบ “พระโพธิสัตว์ ผู้ปรารถนาจะอาศัยพุทธานุภาพะเป็นที่พึ่งพำนักพึงปฏิบัติตนด้วยการโปรดสรรพสัตว์ให้พ้นทุกข์.”
ถาม “ในการโปรดสรรพสัตว์ พึงกำจัดสิ่งใด ?”
ตอบ “ในการโปรดสรรพสัตว์ พึงกำจัดอาสวกิเลส.”
ถาม “ในการกำจัดอาสวกิเลส พึงปฏิบัติอย่างไร ?”
ตอบ “พึงมีสัมมาสติ.”
ถาม “สัมมาสติ พึงปฏิบัติอย่างไร ?”
ตอบ “พึงปฏิบัติในธรรมอันไม่ให้มีความเกิดขึ้น และธรรมอันไม่ให้มีความดับไป.”
ถาม “ธรรมอะไรที่ไม่ให้เกิดขึ้น ธรรมอะไรที่ไม่ให้ดับไป ?”
ตอบ “อกุศลธรรมไม่ให้เกิดขึ้น กุศลธรรมไม่ให้ดับไป.”
ถาม “กุศล อกุศล มีอะไรเป็นสมุฏฐาน ?”
ตอบ “มีกายเป็นสมุฏฐาน.”
ถาม “กาย มีอะไรเป็นสมุฏฐาน ?”
ตอบ “มีอภิชฌาวิสมโลภาะป็นสมุฏฐาน.”
ถาม “อภิชฌาวิสมโลภะ มีอะไรเป็นสมุฏฐาน ?”
ตอบ “มีมายาวิกัลปะเป็นสมุฏฐาน.”
ถาม “มายาวิกัลปะมีอะไรเป็นสมุฏฐาน ?”
ตอบ “มีวิปลาสสัญญาเป็นสมุฏฐาน.”
ถาม “วิปลาสสัญญา มีอะไรเป็นสมุฏฐาน ?”
ตอบ “มีความไม่มีที่ตั้งเป็นสมุฏฐาน.”
ถาม “ความไม่มีที่ตั้ง มีอะไรเป็นสมุฏฐาน ?”

ตอบ “ความไม่มีที่ตั้ง ย่อมไม่มีสิ่งใดมาเป็นสมุฏฐานได้อีก ข้าแต่พระคุณเจ้ามัญชุศรี จากความไม่มีที่ตั้งนี้แล จึงบัญญัติธรรมทั้งปวงขึ้นมา.*”


ก็โดยสมัยนั้นแล ในคฤหาสน์ของท่านวิมลเกียรติ มีเทพธิดาองค์หนึ่ง เห็นหมู่เทวบริษัทสดับฟังธรรมบรรยายของท่านคฤหบดีนั้น นางจึงสำแดงองค์ให้ปรากฏ แลนางได้โปรยทิพยบุปผาบูชาหมู่แห่งพระโพธิสัตว์กับทั้งพระมหาสาวก ทิพยบุปผาเหล่านั้นตกถึงสรีระของพระโพธิสัตว์ทั้งหลายแล้ว ก็ร่วงหล่นตกจากสรีระไป แต่ครั้นตกถึงสรีระของพระมหาสาวก ก็กลับติดแน่นไม่ร่วงหล่น พระมหาสาวกทั้งหลาย ต่างใช้อิทธาภิสังขาร เพื่อสลัดพิทยบุปผาออกจากสรีระก็มิอาจสลัดทิ้งได้.

ครั้งนั้น นางเทพธิดาจึงถามพระสารีบุตรว่า “ไฉนพระคุณจึงพยายามสลัดทิพยบุปผานี้เล่า ?”

พระสารีบุตร ตอบว่า “สมณศากยบุตรไม่สมควรต่อการมีบุปผชาติมาประดับให้ผิดธรรมวินัย อาจมภาพจึงสลัดมันออกไป.”


เทพธิดากล่าวว่า “ขอพระคุณโปรดอย่าได้กล่าวว่า บุปผชาตินี้ไม่สมควรแก่ธรรมวินัยเลยเจ้าข้า ข้อนั้นเพราะเหตุเป็นไฉน ? ก็เพราะว่าธรรมดาดอกไม่ย่อมไม่มีจิตมาคิดว่าชอบธรรมไม่ชอบธรรม มีแต่พระคุณเจ้าเองหรอกที่มาเกิดวิกัลปสัญญขึ้นเองต่างหากเล่า ผู้ใดที่ออกบวชในพระพุทธศาสนา หากยังมีวิกับปสัญญาอยู่ ผู้นั้นจึงชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติไม่สมควรแก่ธรรม ผู้ใดปราศจากวิกัลปสัญญา ผู้นั้นแลชื่อว่าเป็นผู้ประพฤติสมควรแก่ธรรมโดยแท้ ขอพระคุณจงพิจารณาดูเพิดว่าบรรดาพระโพธิสัตว์ ไม่มีองค์ใดเลยที่มีบุปชาติติดค้างอยู่ที่สรีระ ทั้งนี้เนื่องด้วยพระโพธิสัตว์กระทำวิกัลปสัญญาให้เป็นสมุจเฉทแล้ว เปรียบดุจมนุษย์ที่ตกอยู่ในท่ามกลางยักขภัย ถ้าเป็นคนแสดงออกความหวาดกลัวก็โง่เป็นโอกาสแห่งยักษ์ที่จักทำร้ายได้ เช่นเดียวกับพระสาวกที่หวาดกลัวต่อชาติมรณภัย ก็ย่อมเปิดโอกาสให้ รูป เ สียง กลิ่น รส โผฏฐัพพารมณ์ประทุษร้ายได้ ส่วนบุคคลที่ปราศจากความหวาดหวั่นในภัยเหล่านี้ ภัยทั้งหลายมีกามคุณ ๕ เป็นต้น ย่อมมิอาจกระทำให้หวั่นไหวได้ ผู้ใดที่มีวาสนายังละได้มิขาด บุปผชาติก็ย่อมติดแน่นอยู่กับผู้นั้น ผู้ใดที่มีวาสนา ละได้ขาดแล้ว บุปผชาติก็ย่อมไม่เหลือติดค้างอยู่กับเขาอีก.”


พระสารีบุตร ถามขึ้นว่า “ดูก่อนเทวี เธอมาอยู่ในคฤหาสน์นี้เป็นเวลานานเท่าไรแล้ว ?”


ตอบ “ดิฉันมาอยู่ที่นี่นานเท่ากับเวลาที่พระคุณหลุดพ้นจากกิเลส.”
ถาม “เธออยู่นานกระนั้นฤๅ ?”
ตอบ “ก็พระคุณหลุดพ้นมาแล้วนานเท่าไรเจ้าข้า ?
พระสารีบุตรนิ่งเงียบไม่ตอบ เทพธิดานั้นจึงว่า
“เหตุไรพระคุณเจ้าผู้มีปัญญา ไฉนจึงนิ่งเงียบไปเสียเจ้าคะ ?”

พระสารีบุตรกล่าวว่า “ในความหลุดพ้น ย่อมพ้นทางแห่งบัญญัติโวหาร โดยเหตุนั้นแล อาตมภาพจึงไม่รู้จะตอบเธออย่างไร ?”


เทพธิดากล่าวว่า “คำพูดก็ดี ตัวอักษรก็ดี ย่อมได้ชื่อว่าเป็นลักษณะแห่งวิมุตติ ข้อนั้นเพราะเหตุเป็นไฉน ? ก็เพราะว่าในวิมุตตินั้นย่อมไม่มีภายใน ภายนอก หรือท่ามกลาง อักษรก็ไม่อยู่ในภายในภายนอกหรือท่ามกลาง เพราะฉะนั้นแล ข้าแต่พระคุณเจ้าสารีบุตร พระคุณเจ้าได้ละเลยอักษรแล้วกล่าวเรื่องวิมุตติ ข้อนั้นเพราะเหตุไฉน ? ก็เพราะว่าธรรมทั้งปวง ย่อมล้วนเป็นวิมุตติลักษณะทั้งสิ้น.”
พระสารีบุตรกล่าวว่า “ก็เมื่อเป็นเช่นนั้น มิเป็นว่า เอาราคะ โทสะ โมหะ มาเป็นวิมุตติไปด้วยฤๅ ?”
__________________________

* ความไม่มีที่ตั้ง คือสุญญตานั่นเอง ปุถุชนหลงผิดในสุญญตาว่าเป็นอัตตา จึงยึดถือสำคัญหมายในภาวะที่ว่างเปล่าว่ามีสาระ จึงต้องมาเวียนว่ายตายเกิด.





เทพธิดา “พระพุทธองค์ ทรงแสดงธรรมแก่บุคคลผู้มีอติมานะให้ละจาก ราคะ โทสะ โมหะ ชื่อว่าวิมุตติ หากไม่มีอติมานบุคคลไซร้พระพุทธองค์จักตรัสว่า ราคะ โทสะ โมหะ นั้นแลเป็นวิมุตติ.๑ ”
พระสารีบุตร จึงอนุโมทนาขึ้นว่า

“สาธุ ๆ ดูก่อนเทวี เธอได้บรรลุธรรมอะไร ตรัสรู้ในธรรมอะไรหรอ จึงมีปฏิภาณโกศลสามารถเห็นปานนี้ ?”

เทพธิดาตอบว่า “ดิฉันไม่ได้บรรลุอะไร และก็ไม่ได้รู้แจ้งในอะไรเลยเจ้าข้า พระคุณเจ้า ! ดิฉันถึงมีปฏิภาณโกศลเห็นปานฉะนี้ได้ ถ้าดิฉันได้บรรลุอะไร ฤๅได้รู้แจ้งในอะไรไซร้ ก็ชื่อว่าเป็นอติมานบุคคลในพรหมจรรย์แห่งพระพุทธองค์ไปแล้ว.๒”

พระสารีบุตรถามว่า “ดูก่อนเทวี ในยานทั้ง ๓ นั้น เธอมีจิตปรารถนาในยานใดหนอ ?”


ตอบ “สำหรับดิฉันน่ะหรือพระคุณเจ้าขา ถ้าดิฉันจะต้องแสดงธรรมโปรดบุคคลผู้มีนิสัยเหมาะแก่สาวกยาน ดิฉันก็สำแดงตนเป็นพระสาวกถ้าจะต้องแสดงปฏิจจสมุปบาทธรรมโปรดสัตว์ ดิฉันก็สำแดงตนเป็นพระปัจเจกโพธิ แลถ้าอาศัยมหากรุณาในการโปรดสรรพสัตว์ ดิฉันก็สำแดงตนเป็นพระโพธิสัตว์ในมหายาน ข้าแต่พระคุณเจ้าสารีบุตร อุปมาบุคคลเข้าไปอยู่ในดงดอกจำปี ย่อมได้สูดแต่สุคันธะแห่งบุปผชาติจำปีเพียงประการเดียว มิได้รับกลิ่นอื่นใดอีกฉันใด ชุคคลผู้เข้าสู่คฤหาสน์สถานนี้ก็ย่อมได้ฟังสูดแต่กลิ่นแห่งพระพุทธคุณ ไม่พอใจที่จักฟังสูดกลิ่นแห่งคุณพระอรหันตสาวก และคุณพระปัจเจกโพธิก็มีอุปไมยฉันนั้น พระคุณเจ้าสารีบุตรหากมีท้าวพรหมราช ท้าวศักรินทร์ ท้ายจารุมมหาราช ทวยเทพนิกร นาค ยักษ์ อสูร คนธรรพ์ต่าง ๆ ได้สดับพระธรรมเทศนาแห่งอุดมบุรุษผู้นี้๓ แล้ว ย่อมพอใจยินดีในกลิ่นแห่งพระพุทธคุณ มีจิตมุ่งต่อพระอนตตรสัมมาสัมธิญาณแล้วแล จึงกลับคืนออกไป ข้าแต่พระคุณเจ้าสารีบุตร ดิฉันอยู่ในคฤหาสน์นี้ได้ ๑๒ ปีแล้ว นับตั้งแต่ต้นก็มิได้สดับหลักธรรมในคติฝ่ายพระอรหันตสาวก ฤๅหลักธรรมในคติฝ่ายพระปัจเจกโพธิ ก็แต่ว่าที่สดับนั้นล้วนเป็นธรรมอันว่าด้วยหลักมหาเมตตามหากรุณาแห่งพระโพธิสัตว์ นั่นคือ สรรพพระพุทธธรรมอันเป็นอจินไตยนั่นเอง ข้าแต่พระคุณเจ้าสารีบุตรผู้เจริญ ในคฤหาสน์นี้มีคุณสมบัติอันนับเป็นอัพภูตธรรมอยู่ ๘ ประการ ก็ ๘ ประการนั้นเป็นไฉน ?


๑. คฤหาสน์นี้ มีสุวรรณประภาโอภาสอยู่เป็นนิตย์ ปราศจากความแตกต่างระหว่างทิวากับราตรี โดยมิต้องอาศัยแสงจากดวงทิวากรฤๅนิศากรใดเลย นี้เป็นอัจฉริยอัพภูตธรรมประการที่ ๑.
๒. คฤหาสน์นี้ หากบุคคลใดได้เข้ามาถึงได้ ย่อมมี่พูกสรรพกิเลสสิ่งเศร้าหมองทั้งปวงย่ำยีได้ นี้เป็นอัจฉริยอัพภูตธรรมประการที่ ๒
๓. คฤหาสน์นี้ มีท้าวพรหมราช ท้าวศักรินทร์ ท้าวจาตุมมหาราชและสรรพพระโพธิสัตว์จากโลกธาตุอื่น ๆ มาประชุมสโมสรอยู่เป็นนิตย์ นี้เป็นอัจฉริยอัพภูตธรรมประการที่ ๓
๔. คฤหาสน์นี้ มีการแสดงพระสัทธรรมบรรยายว่าด้วยปารมิตา ๖ และอนิวรรตนิยธรรมเป็นนิตย์ นี้เป็นอัจฉริยอัพภูตธรรมประการที่ ๔.
๕. คฤหาสนี้ มีเสียงทิพยดุริยางค์อันเลิศบรรเลงขับกล่อมอยู่เป็นนิตย์ และเสียงแห่งทิพยสังคีตนั้น

__________________________
๑. เพราะราคถ โทสะ โมหะ เป็นมายาธรรม เป็นสุญญตา พระนิพพานเล่าก็เป็นสุญญตา.
๒. กล่าวคือ เมื่อธรรมทั้งปวงเป็นสุญญตา ถ้าไปเกิดสำคัญว่าตนได้บรรลุสิ่งใดสิ่งหนึ่งหรือรู้แจ้งสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ก็ยังเชื่อว่าเป็นอุปาทานอยู่นั่นเอง เพราะโดยปรมัตถ์แล้ว ตนผู้เป็นทุกข์นั้นไม่มี ก็เมื่อตนไม่มีแล้ว ธรรมอันตนจักบรรลุจักรู้แจ้งจักมีได้อย่างไร เหมือนคนกินข้าวไม่มีความหิวความอิ่มก็ไม่มีไปด้วย
๓. คือท่านวิมลเกียรติคฤหบดี.




เป็นเสียงประกาศพระสัทธรรมโดยอเนกปริยาย จักประมาณขอบเขตก็มิได้ นี้เป็นอัจฉริยอัพภูตธรรมประการที่ ๕.


๖. คฤหาสน์นี้ มีมหาจตุรโกศะบริบูรณ์ด้วยสรรพรัตนะของวิเศษพอแจกจ่ายแก่สรรพทุคตชนเข็ญใจได้โดยถ้วนหน้ามิขาดพร่อง นี้เป็นอัจฉริยอัพภูตธรรมประการที่ ๖.
๗. คฤหาสน์นี้ มีพระสัมมาสัมพุทธเจ้าอันไม่มีประมาณในทศทิศเสด็จมาแสดงพระสัทธรรมเป็นนิตย์ อาทิเช่น พระศากยมุนีพุทธเจ้า พระอมิตาภถุทธเจ้า พระอักโฏภยพุทธเจ้า พระรัตรคุณพุทธเจ้า พระรัตนโชติพุทธเจ้า พระรัตนจันทรพุทธเจ้า ฯลฯ พระพุทธเจ้าทั้งหลายอันเป็นอปรไมยในทศทิศทุกพระองค์นี้ ในกาลใดอุดมบุรุษผู้นั้น (หมายพึงท่านวิมลเกียรติ) อนุสรณ์ทูลเชิญแล้ว ย่อมเสด็จมาปรากฏพระองค์แสดงแจกแจงข้อพระสัทธรรมอันสุขุมคุรภีรภาพ ครั้นจบพระธรรมเทศนาแล้ว จึงเสด็จกลับคืนไป นี้เป็นอัจฉริยอัพภูตธรรมประการที่ ๗.
๘. คฤหาสน์นี้ ย่อมปรากฏภาพอันไพจิตรตระการรุ่งแห่งปวงวิมานทิพยมณเฑียรสถาน แลปวงพุทธเกษตรดันอุดมด้วยสรรพคุณาลังการสำแดงให้เห็นได้ในคฤหาสน์ นี้เป็นอัจฉริยอัพภูตธรรมประการที่ ๘.
“พระคุณเจ้า ท่านสารีบุตรเจ้าขา ก็เมื่อมีคฤหาสน์อันสมบูรณ์ด้วยคุณสมบัตินับเป็นอัจฉริยอัพภูตธรรมถึง ๘ ประการดังนี้ ใครเลยที่เขาได้มายลสภาพอันเป็นอจินไตยเห็นปานฉะนี้แล้ว เขาจักมาพอใจยินดีปราระนาในธรรมฝ่ายสาวกอีกทำไม.”


พระสารีบุตร ถามว่า “ดูก่อนเทวี ก็ไฉนเธอจึงไม่เปลี่ยนสภาวะความเป็นหญิงของเธอเสียเล่า ?”

เทพธิดาตอบว่า “ตลอดระยะกาล ๑๒ ปีมา ดิฉันค้นหาไม่พบสภาวะความเป็นหญิงตัวดิฉันเลย เมื่อเป็นดังนี้จะให้เอาอะไรมาเปลี่ยนเล่าพระคุณเจ้า อุปมาบุรุษมายากรได้สำแดงรูปสตรีมายาขึ้น หากมีผู้ถามรูปมายานั้นว่า ไฉนท่านจึงไม่เปลี่ยนสภาวะของท่านเสียเล่า การถามเช่นนั้นชื่อว่าเป็นการถามที่ถูกต้องกับความเป็นจริงฤๅไม่เจ้าคะ ?”


พระสารีบุตรตอบว่า “ไม่ถูกต้องหรอกเทวี! เพราะอันที่จริงมีแต่สภาพมายาสาระ หาแก่นสารมั่นคงมิได้ จะเอาอะไรที่ไหนมาเปลี่ยน.”


เทพธิดาจึงว่า “สิ่งทั้งปวงก็มีอุปไมยฉันเดียวกัน ปราศจากสภาวะคงที่ เมื่อเป็นเช่นนี้ พระคุณยังจะถามดิฉันว่า ไฉนจึงไม่เปลี่ยนสภาวะหญิงไปเสียทำไมกัน.”
ครั้งนั้นแล เทพธิดานางนั้นได้สำแดงอิทธาภิสังขารบันดาลให้พระสารีบุตรกลายเป็นตัวนางเทพธิดาเสียเอง ส่วนตนเองก็แปลงร่างเป็นสารีบุตรแล้วจึงย้อนกลับไปถามสารีบุตรว่า
“เทวี! ไฉนเธอจึงไม่เปลี่ยนสภาวะหญิงเสียเล่า ?”


พระสารีบุตรในรูปนางเทพธิดาตอบว่า “อาตมภาพมิทราบว่าเหตุใดอยู่ดี ๆ จึงมากลายเป็นนางเทพธิดาไปได้ ?”

เทพธิดา “พระคุณเจ้าสารีบุตร ถ้าพระคุณอาจแปรเปลี่ยนรูปหญิงนี้ได้ สตรีทั้งปวงก็จักสามารถเปลี่ยนภาวะของเธอได้ เช่นกับพระคุณเองมิใช่เป็นสตรี แต่ก็สำแดงปรากฏเป็นรูปสตรีฉันใด สตรีทั้งหลายแม้จักปรากฏโดยรูปว่าเป็นหญิง แต่ความจริงแล้วก็หาสภาวะหญิงมิได้ฉันนั้น เพราะเหตุประการฉะนี้แล พระผู้มีพระภาคจึงตรัสว่า สิ่งทั้งปวง ไม่มีสภาวะชาย ฤๅสภาวะหญิง.”

ลำดับนั้นแล นางเทพธิดาจึงเรียกฤทธิ์ให้กลับคืน ยังพระสารีบุตรให้คืนสู่ลักษณะเดิมของท่าน แล้วนางก็ถามว่า
“ข้าแต่พระคุณเจ้า อิตถีลักษณะนั้น เดี๋ยวนี้ตั้งอยู่ ณ ที่ไหน ?”


ตอบ “อิตถีลักษณะนั้นมิได้ตั้งอยู่ ณ ที่ใด และไม่มีสถานที่ใดเลยที่อิตถีลักษณะนั้นจักมิได้ตั้งอยู่.”
เทพธิดา “ธรรมทั้งปวงก็มีนัยดุจเดียวกัน มิได้ตั้งอยู่กำหนดแน่นอน ณ ที่ใด แลในประการเดียวกันก็ไม่มีสถานที่ใดที่ธรรมเหล่านั้นมิได้ตั้งอยู่อันหลักที่ว่ามิได้ตั้งอยู่ ณ ที่ใด แลไม่มีสถานที่ใดที่จักมิได้ตั้งอยู่ นี้เป็นพุทธานุศาสน์นั้นเอง.”

พระสารีบุตรถามว่า “ดูก่อนเทวี เมื่อเธอละสรีระนี้แล้ว จักไปถืออุบัติ ณ ภพภูมิไดหนอ ?”
เทพธิดา “ภูมิใดซึ่งพระพุทธองค์ทรงอวตารเพื่อโปรดสัตว์ ดิฉันย่อมไปถืออุบัติ ณ ภพภูมินั้น ๆ.”
พระสารีบุตร “การอวตารเพื่อโปรดสัตว์ของพระพุทธองค์ ไม่นับว่าเป็นความเกิดขึ้นแลความดับไป.”
เทพธิดา “ถ้าเช่นนั้นไซร้ แม้การเวียนว่ายตายเกิดแห่งสรรพสัตว์ก็มีนัยฉันเดียวกัน คือไม่นับว่าเป็นความเกิดขึ้นแลความดับไปด้วย.”
ถาม “เป็นกาลเวลาอีกนานเท่าไรหนอ ที่เธอจักบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ?”
ตอบ “ในกาลเวลาใดแล ที่พระคุณเจ้าพระสารีบุตร กลับเป็นปุถุชนภาวะ ในกาลเวลานั้นดิฉันก็จักบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณเจ้าค่ะ.”
พระสารีบุตร “ข้าที่อาตมภาพจักคืนสู่สภาวะปุถุชน ย่อมไม่อยู่ในฐานะที่เป็นไปได้.”
เทพธิดา “ก็เช่นเดียวกันแหละเจ้าค่ะ ข้อที่ดิฉันจักบรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ก็ย่อมไม่อยู่ในฐานะที่เป็นไปได้ เพราะเหตุไฉน ก็เพราะว่าพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณนั้น เป็นธรรมปราศจากที่ตั้ง เหตุฉะนั้นแลจึงไม่มีผู้จักบรรลุ.* ”


ถาม “ก็บัดนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย สำเร็จ บรรลุพระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ในอดีตด้วย ในอนาคตด้วย นับจำนวนดุจเม็ดทรายในคงคานที ความเป็นไปปรากฏอย่างนี้ จักว่าฉันใดเล่า ?”
ตอบ “ความเป็นไปปรากฏอย่างนั้น ล้วนนับเนื่องด้วยอักขระบัญญัติโวหาร ตามสมมติโลกิยนัย จึงบัญญัติว่ามีกาละทั้ง ๓ อัน พระโพธิญาณนั้นย่อมไม่อยู่ในวิสัยแห่งอดีต ปัจจุบัน อนาคตใด ๆ .”
ลำดับนั้น นางเทพธิดาจึงถามพระสารีบุตรขึ้นบ้างว่า “พระคุณเจ้าสารีบุตรผู้เจริญ พระคุณได้สำเร็จพระอรหันตมรรคกระนั้นฤๅเจ้าคะ ?”
พระสารีบุตร “เพราะเหตุที่อาตมภาพมิได้ยึดถือว่ามีตัวตนเป็นผู้ได้บรรลุมรรคผล อาตมภาพจึงสำเร็จเป็นพระอรหันต์.”
เทพธิดา “แม้พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย กับทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งปวงก็ดุจเดียวกัน กล่าวคือมิได้มีความยึดถือว่ามีสภาวะอันจักพึงบรรลุเมื่อปราศจากความยึดถือ จึงชื่อว่าได้สำเร็จพระโพธิญาณโดยแท้จริง.”
ลำดับนั้น ท่านวิมลเกียรติจึงกล่าวกับพระสารีบุตรว่า


“ข้าแต่พระคุณเจ้า อันเทพธิดาผู้นี้ ได้กระทำการสักการบูชาบำเพ็ญกุศลสมภารในพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ๙๒ โกฏิพระองค์มาแล้ว เธอมีความเชี่ยวชาญในโพธิสัตว์อภิญญากรีฑาอย่างยอดเยี่ยม มีปณิธานอันสมบูรณ์เต็มเปี่ยม บรรลุอนุตปาทธรรมกษานติ ตั้งอยู่ในภูมิอันไม่เสื่อมถอยหมุนกลับคืนมาอีก แต่ด้วยอาศัยมูลปณิธาน เธอจึงสำแดงตนตามมโนปรารถนาด้วยประการต่าง ๆ เพื่อสั่งสอนสรรพสัตว์.”

ปริเฉท ๗ สรรพสัตว์วิทรรศนะวรรค จบ.
__________________________
* หมายความว่า พระโพธิญาณเป็นอนัตตา ไม่มีที่ตั้งกำหนดได้ว่าอยู่ทิศนั้นทิศนี้ ไม่อยู่ในวิสัยแห่งกาละหรือเทศะใด ๆ ส่วนบุคคลผู้บรรลุเล่าก็เป็นอนัตตา จึงกล่าวว่าไม่มีการบรรลุโดยปรมัตถนัย.


http://www.mahayana.in.th/tmayana/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3/%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A1%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A3%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%AA%E0%B8%B9%E0%B8%95%E0%B8%A3.html#ปริเฉทที่_๖_อจินไตยวรรค_
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
 :13: อนุโมทนาครับพี่มด
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
 
 
 
                      :39:
                            :19: :13:
                                         :45: