ผู้เขียน หัวข้อ: เวทีสะท้อนธรรมและตามหาแก่นธรรม  (อ่าน 5285 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ होशདངພວན2017

  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • ****
  • กระทู้: 625
  • พลังกัลยาณมิตร 291
    • ดูรายละเอียด







[spoiler]http://youtu.be/spjSG7_mn5M

พูดวินัยขัดใจพระ - พูดธรรมมะขัดใจโยม

http://youtu.be/9peL6-M-fdc[/spoiler]


กระทู้นี้ให้ชื่อว่า[เวทีสะท้อนธรรม] กระทู้นี้ขอให้ท่านผู้อ่านใช้โยนิโสนมสิการ[หมายถึง การทำในใจให้ดีละเอียดถี่ถ้วน กล่าวคือ การพิจารณาอย่างรอบคอบ]ในการศึกษาและให้วางใจเป็นกลางหรือใช้หลัก[กาลมสูตร] ในการพิจารณาผู้ Post ไม่มีเจตนาไม่ดีแต่อย่างใดในการ Post ครั้งนี้ โปรดดูคลิปวีดีโอนี้ให้จบ แล้วพิจารณาว่าสิ่งใดผิด - สิ่งใดถูก ขอให้พวกเราเลือกเอาแต่แก่นอย่าไปเอา[กระพี้] และนี่คือ เวทีสะท้อนธรรมและตามหาแก่นธรรม.....ถ่ายภาพประกอบกระทู้โดย होशདངພວན2017


ภาษาบาลีคือภาษาที่เก็บรักษาพระธรรม ภาษาบาลี โดยคำว่า [บาลี] มาจากคำว่า [ปาลี] ซึ่งวิเคราะห์มาจาก ปาล ธาตุ ในความรักษาลงณี ปัจจัย ๆ ที่เนื่องด้วย ณ ลบ ณ ทิ้งเสีย มีรูปวิเคราะห์ว่า พุทธวจนํ ปาเลตีติ ปาลี แปลโดยพยัญชนะว่า ภาษาใดย่อมรักษาไว้ซึ่งพระพุทธวจนะ เพราะเหตุนั้น ภาษานั้นชื่อว่า ปาลี แปลโดยอรรถว่า ภาษาที่รักษาไว้ซึ่ง [พระพุทธวจน]

คำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้จารึกไว้ในพระคัมภีร์ต่างๆ ด้วยภาษาบาลีซึ่งสามารถแบ่งลำดับชั้นของคัมภีร์ต่างๆ ได้ดังนี้

1.พระไตรปิฏก เป็นหลักฐานชั้นหนึ่ง เรียกว่า บาลี
2.คำอธิบายพระไตรปิฏกเป็นหลักฐานชั้นสอง เรียกว่า อรรถกถา หรือ วัณณนา
3.คำอธิบายอรรถกถา เป็นหลักฐานชั้นสาม เรียกว่า ฎีกา
4.คำอธิบายฏีกา เป็นหลักฐานชั้นสี่ เรียกว่า อนุฏีกา
5.นอกจากนี้ ยังมีหนังสือที่แต่งขึ้นภายหลังเป็นทำนองอธิบายเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่มีในคัมภีร์พระพุทธศาสนา โดยเฉพาะ หนังสือประเภทนี้ เรียกว่า [ทีปนี] หรือ ทีปิกา หรือ [ปทีปิกา] และหนังสือที่อธิบายเรื่องปลีกย่อยต่าง ๆ ที่มีในคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนา หนังสือประเภทนี้ เรียกว่า [โยชนา] หนังสือทั้งสองประเภทนี้จัดเป็นคัมภีร์อรรถกถา เราจะเห็นได้ว่า หลักคำสอนที่อยู่ในคัมภีร์เหล่านี้ คำสอนที่อยู่ในพระไตรปิฏกเป็นหลักฐานสำคัญที่สุด เพราะเป็นหลักฐานชั้นแรกสุด คำสอนที่อยู่ในพระไตรปิฏกนั้นมีถึง 84,000 พระธรรมขันธ์ โดยจัดแบ่งเป็น 3 หมวด คือ

หมวดที่ 1 พระวินัยว่าด้วยเรื่อง ระเบียบ กฎ ข้อบังคับควบคุมกิริยา มารยาท ของภิกษุสงฆ์ มีทั้งข้อห้ามและข้ออนุญาต ทั้งนี้
เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในหมู่สงฆ์ มี 21,000 พระธรรมขันธ์

หมวดที่ 2 พระสูตร ว่าด้วยเรื่องราว นิทาน ประวัติศาสตร์ ที่พระพุทธองค์ทรงสั่งสอนและทรงสนทนากับบุคคลทั้งหลายอันเกี่ยวกับชาดกต่าง ๆ ที่ทรงสอนเปรียบเทียบเป็นอุปมาอุปไมย เป็นต้น มี 21,000 พระธรรมขันธ์ และ

หมวดที่ 3 พระอภิธรรมว่าด้วยธรรมขั้นสูง คือ ว่าด้วยเรื่องเฉพาะคำสอนที่เป็นแก่น เป็นปรมัตถ์ ในรูปปรัชญาล้วน ๆ มี 42,000 พระธรรมขันธ์

คำสอนทั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์นั้น เรียกว่า ธรรมวินัย ธรรมวินัยเป็นสิ่งสำคัญมากที่สุดของชาวพุทธ เพราะถือเป็นสิ่งแทนองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ดังพุทธพจน์ที่ตรัสกับพระอานนท์ก่อนจะเสด็จดับขันธปรินิพพานว่า ดูก่อน อานนท์ ธรรมวินัยอันใดที่เราบัญญัติไว้แล้ว แสดงแล้ว แก่เธอทั้งหลาย ธรรมะและวินัยนั้นจักเป็นศาสดาของพวกเธอเมื่อเราล่วงลับไปแล้ว ดังนั้น จึงกล่าวได้ว่า พระไตรปิฏกเป็นคัมภีร์ที่สำคัญมากที่สุดของชาวพุทธ

พระไตรปิฏกแต่เดิมเป็นภาษาบาลีซึ่ง เป็นภาษาที่มีในมัชฌิมประเทศที่เรียกว่า แคว้นมคธ ในครั้งพุทธกาล ต่อมาพุทธศาสนาแพร่หลายไปในนานาประเทศที่ใช้ภาษาอื่น ประเทศต่างๆ เหล่านั้น มีทิเบตและจีนเป็นต้น ได้แปลพระไตรปิฏกจากภาษาบาลีเป็นภาษาของตน เพื่อประสงค์ที่จะให้เรียนรู้ได้ง่าย จะได้มีคนเลื่อมใสศรัทธามาก ครั้นไม่มีใครเล่าเรียนพระไตรปิฏก ต่อมาก็ค่อยๆ สูญสิ้นไป สิ้นหลักฐานที่จะสอบสวนพระธรรมวินัยให้ถ่องแท้ได้ ลัทธิศาสนาในประเทศฝ่ายเหนือเหล่านั้นก็แปรผันวิปลาสไป

แต่ส่วนประเทศฝ่ายใต้มี ลังกา พม่า ไทย ลาว และ เขมร ประเทศเหล่านี้คิดเห็นมาแต่เดิมว่า ถ้าแปลพระไตรปิฏกเป็นภาษาอื่นโดยทิ้งของเดิมเสียแล้ว พระธรรมวินัยก็คงคลาดเคลื่อน จึงรักษาพระไตรปิฏกไว้ในเป็นภาษาบาลี การเล่าเรียนคันถธุระก็ต้องเรียนภาษาบาลีให้ เข้าใจเสียชั้นหนึ่งก่อนแล้ว จึงเรียนพระธรรมวินัยในพระไตรปิฏกต่อไป ด้วยเหตุนี้เองประเทศฝ่ายใต้จึงสามารถรักษาลัทธิศาสนาตามหลักธรรมวินัย ยั่งยืนมาได้ การศึกษาเล่าเรียนพระปริยัติธรรมทั้งแผนกธรรมและบาลี นอกจากจะเป็นการศึกษาหลักธรรมคำสั่งสอนแล้วยังได้ชื่อว่า เป็นการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาไว้อีกด้วย โดยเฉพาะการศึกษาภาษาบาลี เพราะถ้าไม่รู้ภาษาบาลีแล้ว ก็จะไม่มีผู้ใดสามารถรู้และเข้าใจพระพุทธวจนะในพระไตรปิฏก ถ้าขาดความรู้เรื่องพระไตรปิฏกแล้ว พระพุทธศาสนาก็จะต้องเสื่อมสูญไปด้วย













« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มกราคม 17, 2019, 10:14:20 pm โดย होशདངພວན2017 »
ตั้งมั่น แน่วแน่ แก้ไขทุกสิ่ง