ผู้เขียน หัวข้อ: #กินร้อน #ช้อนกลาง #ล้างมือ ป้องกันโรค  (อ่าน 3111 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
ช่วงหน้าร้อน ระมัดระวังสุขภาพกันด้วย
#กินร้อน #ช้อนกลาง #ล้างมือ
#กินร้อนช้อนกลางล้างมือ
.
.****************************
.
กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ป้องกัน 5 โรค ฤดูแล้ง
.
โดย Prawpan Suriwong|วันที่ 21 มกราคม 2559
.
แพทย์หญิงวันทนีย์ วัฒนะ รองปลัดกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า ช่วงฤดูแล้งมีการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศเสี่ยงต่อการเกิดโรคติดต่อทางอาหารและน้ำ ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน กรุงเทพมหานครห่วงใยสุขภาพอนามัยของประชาชน แจ้งเตือนระมัดระวังสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เด็กเล็ก 0-4 ปี ผู้สูงอายุ และผู้ป่วยเรื้อรัง
.
แนะนำประชาชนป้องกันโรคโดยยึดหลักปฏิบัติ "กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ ปราศจากโรค" ล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ ทั้งก่อน รับประทานอาหาร ก่อนเตรียมอาหาร และหลังเข้าห้องน้ำทุกครั้ง กินอาหารที่ปรุงสุกสะอาดใหม่ และอุ่นอาหารให้ร้อนก่อน รับประทาน ดื่มน้ำสะอาดและเลือกซื้อน้ำแข็งที่สะอาด รวมถึง กำจัดขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูลให้ถูกต้องในที่เหมาะสมเพื่อป้องกัน ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์นำโรค
.
โดยกองควบคุมโรคติดต่อ สำนักอนามัย แนะนำข้อมูล 5 โรคติดต่อที่มากับภัยแล้ง ได้แก่
.
1.โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน เกิดจากการรับประทานอาหารหรือน้ำดื่มที่มีเชื้อโรคปนเปื้อน ผู้ป่วยอาจมีไข้หรืออาเจียนร่วมด้วย
.
2.โรคอาหารเป็นพิษ เกิดจาก รับประทานอาหารหรือน้ำที่มีสิ่งปนเปื้อนของสารพิษจากเชื้อโรค มักพบในอาหารปรุงสุกๆ ดิบๆ อาหารกระป๋อง อาหารทะเล น้ำนมที่ยังไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ อาหารที่ทำล่วงหน้าไว้นานและไม่ได้อุ่นร้อนก่อน ผู้ป่วยจะมีไข้ คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง อ่อนเพลีย
.
3.โรคอหิวาตกโรค เกิดจากรับประทานอาหารหรือดื่มน้ำที่มีเชื้ออหิวาตกโรคปนเปื้อน ผู้ป่วยจะถ่ายอุจจาระเป็น น้ำซาวข้าวไม่มีอาการปวดท้อง อาเจียน หากเสียน้ำมากอาจหมดสติและเสียชีวิตได้
.
4.โรคบิด เกิดจากรับประทานอาหาร ผักดิบ หรือน้ำที่มีเชื้อบิดปนเปื้อน
.
5.โรคไข้ รากสาดน้อยหรือไทฟอยด์ เกิดจาก รับประทานอาหารและน้ำที่ปนเปื้อน เชื้อไทฟอยด์จากอุจจาระหรือปัสสาวะของ ผู้ป่วยหรือผู้ที่เป็นพาหะ ผู้ป่วยหรือพาหะควรหลีกเลี่ยงการประกอบอาหารให้ผู้อื่นรับประทานอาจทำให้เกิดการระบาดได้ ซึ่งหากพบผู้ป่วย กองควบคุมโรคจะส่งทีมสอบสวนไปหาต้นตอของอาการป่วย หากพบว่าเป็นสถานที่ใดก็จะเร่งทำความสะอาดแก้ไขปรับปรุง ซึ่งหากร้านค้าใด ไม่ให้ความร่วมมือในการตรวจสอบความสะอาดและสารปนเปื้อน ก็จะดำเนินการตามกฎหมายตามอำนาจหน้าที่อย่าง เคร่งครัดต่อไป
.
ทั้งนี้ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข คาดการณ์ว่าในปี 2559 อหิวาตกโรค จะเป็นโรคที่ยังพบผู้ป่วยต่อเนื่องโดยแบ่งความเสี่ยงเป็น 3 กลุ่มจังหวัด ได้แก่ 1.จังหวัดที่พบการเกิดโรค ต่อเนื่อง คือ สงขลา ตาก และระยอง 2.จังหวัดเสี่ยงสูง คือ จังหวัดชายแดนไทย-ตอนกลางและตอนล่างของพม่า, จังหวัดชายฝั่งทะเล และจังหวัดใหญ่ที่ เป็นจุดกระจายอาหารทะเล และ 3.จังหวัด อื่นๆ ที่อาจเกิดโรคได้หากประชาชน ยังรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ โดยใน ปี 2558 พบผู้ป่วยอหิวาตกโรค 166 ราย เสียชีวิต 2 ราย โดยพบผู้ป่วยใน 13 จังหวัด ส่วนใหญ่เป็นจังหวัดชายฝั่งทะเลและ จังหวัดชายแดน
.
ที่มา: หนังสือพิมพ์แนวหน้า
https://www.thaihealth.or.th/…/30519-%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%…
.
.*******************************
.
“กินร้อน...ช้อนกลาง...ล้างมือ” ป้องกันโรคที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อ
.
อาหารและน้ำเป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ที่ส่งผลต่อสุขภาพโดยตรง หากรับประทานอาหารและน้ำที่ไม่สะอาด มีการปนเปื้อนของเชื้อโรคหรือสารเคมีเข้าไป ก็จะทำให้เป็นโรคที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อ เช่น อุจจาระร่วงเฉียบพลัน อหิวาตกโรค บิด ไข้ไทฟอยด์ โรคตับอักเสบเอ เป็นต้น

การป้องกันโรคที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพวิธีหนึ่ง ก็คือการมีพฤติกรรมในการบริโภคที่ถูกต้อง คือ “กินร้อน...ช้อนกลาง...ล้างมือ”
.
“กินร้อน...กินอย่างไร”
.
1) กินอาหารที่ปรุงสุกใหม่
กินอาหารทันทีหลังจากปรุงอาหารให้สุกด้วยความร้อน
.
2) ปรุงอาหารด้วยความร้อนให้สุกอย่างทั่วถึง
อาหารประเภทเนื้อสัตว์ ต้องใช้ความร้อนเพื่อทำให้อาหารสุกทั่วถึงทุกส่วน ไม่ปรุงอาหารแบบสุกๆ ดิบๆ
.
3) เก็บอาหารปรุงสุกอย่างเหมาะสม
อาหารที่เหลือจากการกิน เก็บไว้นานเกินกว่า 4 ชั่วโมง ต้องนำมาอุ่นให้ร้อนอย่างทั่วถึงก่อนนำมากินอีกครั้ง
“ช้อนกลาง...สำคัญอย่างไร”
.
ช้อนกลาง เป็นช้อนที่มีไว้ในสำรับกับข้าว เพื่อใช้ตักแบ่งอาหารมาใส่จานของผู้กิน โดยอาจเป็นอุปกรณ์อื่นที่เหมาะสมกับประเภทของอาหารนั้นๆ ก็ได้ เช่น ส้อม ที่คีบ ซึ่งต้องมีการจัดวางไว้ในจานของอาหารทุกจาน
.
ช้อนกลาง ช่วยป้องกันโรคที่ติดต่อผ่านทางน้ำลาย ได้แก่ ไข้หวัดใหญ่ คอตีบ คางทูม วัณโรค โปลิโอ ไวรัสตับอักเสบ ไม่ให้แพร่กระจายระหว่างบุคคลได้ นอกจากนี้ยังช่วยป้องกันน้ำลายของผู้กินไม่ให้ลงไปปนเปื้อนอาหารทำให้บูดเสียง่ายอีกด้วย ทั้งยังเป็นการสร้างพฤติกรรมอนามัยที่ถูกต้องให้เป็นวัฒนธรรมที่ดีงามในการกินอาหารร่วมกัน
.
“ล้างมือ...ทำไมต้องล้างมือ”
.
มือ เป็นอวัยวะที่ใช้ทำกิจกรรมต่างๆ มากมาย เรามีโอกาสที่จะใช้มือสัมผัสสิ่งของรอบๆ ตัว ที่อาจปนเปื้อนน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย เช่น ลูกบิดประตู แก้วน้ำ ผ้าเช็ดหน้า โทรศัพท์ ราวบันได ซึ่งจะทำให้มือสกปรก และได้รับเชื้อโรคปนเปื้อนเข้าสู่ร่างกายได้ โดยเชื้อจะเข้าทางเยื่อบุจมูก ตาและปาก
.
ฉะนั้น จึงต้องดูแลมือให้สะอาด เพื่อไม่ให้มือเป็นสื่อนำเชื้อโรค โดยการล้างมือให้สะอาดด้วยน้ำและสบู่ทุกครั้ง
.
ก่อนรับประทานอาหาร
ก่อนและหลังการเตรียมปรุงอาหาร
หลังเข้าห้องส้วม
หลังสัมผัสสิ่งสกปรก เช่น หลังการไอ จาม สั่งน้ำมูก จับต้องขยะ
หลังการสัมผัสสัตว์ทุกชนิด
.
การล้างมือให้สะอาด ต้องล้างด้วยน้ำและสบู่ โดยวิธีการ 7 ขั้นตอน ทุกขั้นตอนทำ 5 ครั้ง สลับกันทั้ง 2 ข้าง คือ
.
1. ฝ่ามือถูกัน
.
2. ฝ่ามือถูหลังมือและนิ้วถูซอกนิ้ว
.
3. ฝ่ามือถูฝ่ามือและนิ้วถูซอกนิ้ว
.
4. หลังนิ้วถูฝ่ามือ
.
5. ถูนิ้วหัวแม่มือโดยรอบด้วยฝ่ามือ
.
6. ปลายนิ้วมือถูขวางฝ่ามือ
.
7. ถูรอบข้อมือ
.

นอกจากการมีพฤติกรรมในการบริโภคที่ถูกต้องแล้ว ควรมีการดูแลรักษาสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงอยู่เสมอ และมีการจัดการด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมให้ถูกต้อง (ส้วม ขยะ สัตว์แมลงนำโรค) ร่วมด้วย ซึ่งจะสามารถป้องกันโรคที่เกิดจากอาหารและน้ำเป็นสื่อได้อย่างยั่งยืน
.
วัน/เดือน/ปี : 16 ก.พ. 2560
.
เจ้าของข้อมูล : สำนักสุขาภิบาลอาหารและน้ำ กรมอนามัย
.
หน่วยงาน : กรมอนามัย
.
ประเภท : ความรู้สุขภาพ
.
หมวด : การป้องกันและดูแลรักษาสุขภาพ
.
http://healthydee.moph.go.th/blog?HTID=48
.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)