ผู้เขียน หัวข้อ: วันเทคโนโลยีของไทย 19 ตุลาคม ฝนหลวงรัชกาลที่ 9  (อ่าน 3133 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
.
วันเทคโนโลยีของไทย
วันที่ 19 ตุลาคม
.
ฝนหลวง
.
โพสโดย Thin Thin Chinnapha
วันที่ 19 ตุลาคม 2563 เวลา 9.49 น.
.
โพสต์นี้จะว่าด้วยคำกล่าวหาที่ว่า
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ “ก๊อป” ฝนเทียมนะครับ
.
“ฝนหลวง” คือกรรมวิธีในการทำให้ฝนตก
สิทธิบัตรคือ “กรรมวิธี” ไม่ได้บอกว่าเป็นผู้คิดค้น “ฝนเทียม” คนแรก
แปลสั้น ๆ คือโมเดลของพระองค์เพิ่มประสิทธิภาพครับ
.
นอกจากนี้ยังมีอีกหลายประเทศมาขอศึกษาและนำไปใช้เพราะวิธีของพระองค์ท่านค่อนข้างมีประสิทธิภาพ เช่น จอร์แดน ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ แอฟริกา เป็นต้น
.
การพูดว่า “ก๊อป” คือคิดไปเองครับ
.
................
.
1. ต้องเล่าที่มาก่อนว่าผู้ที่คิดค้น “ฝนเทียม” คือ ฝรั่งสองคนที่ชื่อวินเซนต์ เชฟเฟอร์ และเออร์วิง ลองมัวร์ โดยเริ่มในปี ค.ศ.1946/2489
.
2. โดยพวกเขาเชื่อว่าสามารถกระตุ้นให้เกิดฝนได้โดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ พวกเขาเติม Silver Iodide แทนน้ำแข็งแห้งซึ่งเป็นอนุภาคขนาดเล็กทำให้เมฆเย็นเหนือจุดเยือกแข็งและโปรยอนุภาคนี้ลงมาจากเครื่องบินหรือปล่อยให้ลมหอบขึ้นไปซึ่งสารนี้ก็จะไปทำให้เกิดการควบแน่นขึ้นและหนักมากพอจนตกลงมาเป็นฝน
.
3. ซึ่งย่อยอย่างง่าย ๆ ก็คือเป็นการระหว่าง “ปล่อยให้ลมหอบไป” กับ “ลงไปปล่อยลงมา” ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ได้เข้มาเป็นกษัตริย์ในระบอบใหม่อย่างเต็มตัวและโตแล้ว ในระหว่างที่เสด็จเยือนที่ภาคอีสานตอนปี พ.ศ.2498 จึงเกิดความคิดว่าจะทำอย่างไรให้ “ฝนตกลงสู่พื้นที่แห้งแล้ง” แต่ไม่ใช่นึกแล้วทำปุ๊บจดสิทธิบัตรปั๊บนะครับ เพราะการทดลองครั้งแรกของการทำ “ฝนหลวง” คือในปี พ.ศ.2512 โดยเริ่มที่นครราชสีมาโดยการโรยน้ำแข็งแห้งก็ปรากฏว่ามีฝนตก ต่อมาเปลี่ยนที่ทดลองไปที่ประจวบฯ
.
4. โดยการพ่นละอองน้ำพร่อมโปรยน้ำแข็งแห้งและใช้เครื่องบินอีกชุดพ่นจากพื้นดิน สังเกตนะครับว่าใช้วิธีแบบที่ผมกล่าวไปข้างบนตอนแรกร่วมกัน ต่อมาพระองค์ยังได้ทำการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสูตรที่ใช้อีกหลายครั้งจนในปี พ.ศ. 2516 พระองค์ก็คิดค้นวิธีการทำ “แซนด์วิช” ได้สำเร็จ มันคือ คือ ก่อกวน เลี้ยงอ้วน และโจมตี เป็นสามขั้นตอนในการทำให้ฝนไปตกในพื้นที่เป้าหมายอย่างหวังผลแม่นยำ แต่อย่างไรก็ตามพระองค์มีพระราชกระแสต่อว่าจำเป็นต้องพัฒนาต่อไปอีก เพราะการพัฒนาไม่มีที่สิ้นสุด
.
5. ซึ่งตรงนี้ควรกล่าวด้วยว่าประเทศไทยเราโชคดีที่สภาพภูมิอากาศมีความชื้นสูงและจะกลายเป็นเหตุผลอีกอย่างที่ทำให้เกิดการจดสิทธิบัตรสำเร็จเพราะมันทำได้ผลกว่า
.
6. ต่อมาหลังจากใช้เวลาพัฒนากว่า 40 ปี ในปีพ.ศ. 2542 ซึ่งเป็นช่วงที่เกิดภาวะแล้งอย่างหนักพระองค์จึงกลับมาปัดฝุ่นเรื่อง “ฝนหลวง” อีกรอบโดยครั้งนี้ปรับปรุงจากการที่ ก่อกวน เลี้ยงอ้วน และโจมตีขึ้นมาอีกเป็น 6 ขั้นตอน คือเพิ่ม การเสริมโจมตี โจมตีแบบเมฆเย็น และโจมตีแบบซูเปอร์แซนด์วิช (ผมขอละเว้นเรื่องทางเทคนิคไว้นะครับ) ซึ่งสิ่งที่สำคัญคือ Super Sandwich อันสุดท้ายนี่แหละครับ ซึ่งตรงนี้ให้ประสิทธิภาพสูงกว่าอย่างมีนัยยะสำคัญไม่ใช่การโปรยสารอย่างเดียว
.
7. มันคือเทคนิคการโจมตีเมฆอุ่นและเมฆเย็นพร้อมกันในกลุ่มเมฆเดียวกัน (เดิมทีทำกับเมฆอุ่นอย่างเดียว) หลังจาก “ฝนหลวง”ถูกใช้ช่วยภัยแล้งในปี พ.ศ. 2542 พระองค์จึงเห็นว่าการพัฒนามาเกือบ 50 ปี นี้เอาไปจดสิทธิบัตรดีกว่า ซึ่ง Super Sandwich คือสิ่งที่พระองค์คิดนะครับ ไม่ได้มีใครทำมาก่อนหน้า
.
8. ดังนั้นการยื่นจดสิทธิบัตรจึงเริ่มในช่วงนั้น และได้รับในปี พ.ศ.2545 ทีนี้แล้วทำไมถึงจดได้ในเมื่อมีคนทำมาก่อนนี่นา? คำตอบก็คือมันเป็น “กรรมวิธี” ครับ และกรรมวิธีนี้คือกรรมวิธีใหม่ ผมจะขอเล่าถึงกระบวนการจดสิทธิบัตรก่อน ในการจดสิทธิบัตรนั้นจะมีอยู่สามแบบ คือ ผลิตภันฑ์ (product) กรรมวิธี (process) และการทำให้อย่างใดอย่างหนึ่งดีขึ้น (improvement of known product or process) ซึ่งจะแบ่งออกเป็น “สิทธิบัตร” และ “อนุสิทธิบัตร” แบบสิทธิบัตรมีเงื่อนไขคือต้องประดิษฐ์ขึ้นใหม่ มีขั้นการประดิษฐ์ที่สูงขึ้น
.
9. และสามารถปรยุกต์ใช้ทางอุตสาหกรรม ส่วนอนุสิทธิบัตรนั้นก็เหมือนกันแต่ตัดขั้นการประดิษฐ์สูงขึ้นออกไป สิ่งที่พระองค์คิดมาเป็น “กรรมวิธี” ซึ่งยื่นจดได้ โดยในตอนแรกพระองค์จดกับกรมทรัพย์สินทางปัญญาในไทย ต่อมาพระองค์ได้จดทะเบียในสหรัฐฯ ด้วย
.
10. หมายเลขการจัดสิทธิบัตรในไทยคือ 13898 การดัดแปรสภาพอากาศเพื่อให้เกิดฝน (ฝนหลวง) จดในสหรัฐฯ คือ Weather modification by royal rainmaking technology (รหัส US20050056705A1) และต่อมาสำนักสิทธิบัตรยุโรปก็ถวายสิทธิบัตรให้ (ไม่ได้ไปจดนะครับ ยุโรปถวายให้) รหัส EP1491088B1 เทคนิคของพระองค์ได้รับการเผยแพร่และเป็นที่ยอมรับในหมู่นักวิทยาศาสตร์ องค์กรและสถาบันที่มีกิจกรรมการดัดแปรสภาพอากาศวิทยาศาสตร์และอุตุนิยมวิทยาทั้งในระดับนานาชาติและระดับโลก และร่วมจัดแสดงในงานนิทรรศการ Brussels Eureka 2001
.
11. การยื่นคำขอจดสิทธิบัตรต่อสำนักงานสิทธิบัตรทั้งใน และต่างประเทศดังกล่าวต่างมีขั้นตอนและกระบวนการตรวจสอบ และค้นหากับสำนักงานสิทธิบัตรทั่วโลกว่ามีการซ้ำซ้อนหรือมีการจดสิทธิบัตรมาก่อนหรือไม่ เป็นนวัตกรรมใหม่หรือเป็นแนวคิดใหม่หรือไม่
.
12. ฉะนั้นสิทธิบัตรที่ได้รับจากสำนักงานสิทธิบัตรต่างประเทศ จึงได้รับการกลั่นกรองและเผยแพร่สู่การรับรู้ของสำนักงานสิทธิบัตรทั่วโลกโดยปริยาย โดยเฉพาะประเทศสมาชิกขององค์กรการอุตุตนิยมวิทยาโลก 181 ประเทศ
.
13. สหรัฐฯ เองก็มีความสนใจในสิ่งที่พระองค์ทำนะครับ โดยกระทรวงมหาดไทยสหรัฐฯ จัดทำรายงาน Thailand Applied Atmospheric Research Program ขึ้นมาศึกษาอย่างจริงและยังมีงานวิจัย เช่น Results of the Thailand Warm-Cloud Hygroscopic Particle Seeding Experiment ที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ เช่น Journal of Applied Meteorology and Climatology ซึ่งระบุว่า “ The evaluation of the Thailand warm-rain enhancement experiment has provided statistically significant evidence and supporting physical evidence that the seeding of warm convective clouds with calcium chloride particles produced more rain than was produced by their unseeded counterparts. An exploratory analysis of the time evolution of the seeding effects resulted in a significant revision to the seeding conceptual model.”
.
ที่มา Jitta O. Tunho
.

คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)