ผู้เขียน หัวข้อ: คำสอน หลวงปู่ท่อน ญาณธโร  (อ่าน 11834 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
คำสอน หลวงปู่ท่อน ญาณธโร
« เมื่อ: สิงหาคม 29, 2010, 02:40:28 pm »


คำสอนหลวงปู่ท่อนนี้ได้มาจากหนังสือเล่มเล็กๆ ซึ่งได้รับแจก
ชื่อว่า บันทึกธรรมจากหลวงปู่
-ได้จากบ้านผดุงธรรม แถวแจ้งวัฒนะ - เห็นว่าท่านสอนดี จึุงขอสรุปให้ฟังค่ะ

By : Kat_kine


- การแผ่เมตตา ต้องแผ่เป็นอัปปมัญญา

- ถ้ามีว่าคนนี้รัก ให้มากๆ - คนไม่ชอบใจ ไม่ให้ - แสดงถึงความมีอคติ
- ต้องให้เท่าเทียม ไม่เจาะจง ให้หมด ใจจึงจะเป็นกลาง ให้หมดแหละ
- แผ่เมตตาให้เต็มดวง -พ่อแม่จะได้บุญน้อยลงไปไหม ไม่หรอก

- เหมือนพระอาทิตย์ส่องโลก มันก็สว่างไปหมดทั่วทุกมุมโลก
ทุกคนก็เห็นความสว่างเท่ากันหมด
- เวลาไหนเราไม่ปรุงไม่แต่งไปตามสังขาร -ราคะ โทสะ โมหะ
สังขารปรุงไม่ได้ - เรียกนิพพานชั่วขณะ

- ที่ว่าว่างๆ นั้นคือ -มันว่างจากอารมณ์ยินดียินร้าย - แต่ความรู้ไม่ว่าง
- รู้ชัดทุกลมหายใจ

- หายใจเข้าก็รู้ชัด หายใจออกก็รู้ชัด รู้อยู่ตลอดเวลา - แต่ว่างจากอารมณ์ยินดียินร้าย
-เหมือนดังชามที่ว่าง ไม่มีอะไร
- ให้มีความเมตตาปรารถนากับสรรพสัตว์จริงๆ อย่างไม่มีประมาณ
- ไม่ว่าคนนั้นสัตว์นั้นจะดีกับเราแค่ไหน หรือร้ายกับเราขนาดไหน
- ก็ให้เมตตาปรารถนาดีเท่าเทียมกัน

- อย่าให้มีเลือกที่รักมักที่ชังแม้แต่น้อย - ให้เหมือนดังแม่เมตตาลูก
- ไม่คิดจะทำให้ทุกข์แม้แต่น้อย ทั้งกายวาจาใจ
- ตามดูอาการหลับให้ละเอียด - มันค่อยๆหลับไปอย่างไร



ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: คำสอน หลวงปู่ท่อน ญาณธโร
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2010, 02:43:19 pm »
- ให้ดูกระดูกอย่างเดียว ดูจุดเดียว

- อย่าไปพิจารณากาย 32- งานมันมาก เอาอย่างเดียว เอามันให้แจ้ง
- มันก็คลายได้ เอามันอยู่อย่างนั้น

- ผ้าจีวร ให้เป็นผ้าขี้ริ้ว ผ้าราคาถูกแค่ไหน แพงหรือดีแค่ไหน
- กายมันก็ไม่รู้อะไรด้วย - เอามาคลุมกาย กายมันก็เฉยๆ อยู่ไม่เห็นว่าอะไร
- มีแต่กิเลสมันไปยึดโน้นยึดนี้ ยึดสมมติทางโลก
- ต้องอย่างนั้นดี อย่างนี้ไม่ดี แล้วก็ทุกข์เอง


- ถ้าเราเสียเปรียบ เราดีใจ - ถ้าเราได้เปรียบ เราเสียใจ
- อันไหนดีให้เขา - ของเราอย่างไรก็ได้ --> นี่เรียกคนใจเจริญ
- ให้เขานิดเดียว เราเอามากๆ - ไม่ดีเลย
- เราผิดธรรม ตำหนิตัวเอง ใจเราเสื่อม ใจเราไม่ดี

- ให้เอาชนะความตระหนี่เหนียวแน่นด้วยความเสียสละ
- ถ้ายังคิดว่าเราจะเอาชนะคนอื่นด้วยการเอารัดเอาเปรียบเขา
- ก็ได้ขึ้นชื่อว่าเป็นผู้แพ้(ตนเอง) ตลอดไป


- การปฏิบัติธรรม -อย่าอยากได้ อยากเห็นอยากเป็นใดๆเลย

- ให้รู้มันอยู่อย่างเดียว มีอะไรก็ช่าง รู้อยู่อย่างเดียว
-ถ้าอยากก็ไม่ไปไหน เป็นสมาธิอยู่ก็หลุดจากสมาธิ

- เราปฏิบัติเพื่อความปล่อยวาง เพื่อละความยึดมั่นต่างๆ
เพื่อละความยินดียินร้าย
- เราเป็นผู้ดู ไม่ใช่ผู้บังคับให้มันเป็น

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: คำสอน หลวงปู่ท่อน ญาณธโร
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2010, 02:43:49 pm »
- ครั้งหนึ่ง หลวงปู่นั่งภาวนา แต่ในหมู่บ้านตีกลองเสียงดังมาก
- หลวงปู่จึงเปลี่ยนเสียงที่รำคาญใจเป็นเสียงธรรม
- หูได้ยินอยู่ แต่มันดังเป็นเสียงธรรมที่ใจ
- เสียงของกลอง ป๊ะโทนๆ ป๊ะโทนๆ
- เวลามาดังที่ใจเป็น ทำจริงๆ ได้ผลจริงๆ

- ไม่มีห่วง ไม่มีดีใจ ไม่มีเสียใจ ไม่มีพอใจ ไม่มีหัวเราะ ไม่มีร้องไห้
ไม่มีบุญ ไม่มีบาป ไม่มีดี ไม่มีเลว- จึงใกล้นิพพาน
- ถ้ายังห่วง -แสดงว่ายังไกลอยู่ ยังเก็บ ยังกอบ ยังกำ ยังโกยอยู่
- แสดงว่ายังห่างอยู่มากอยู่
 
- เราจะไม่ให้มีความห่วงอยู่เลย
- จะไม่ให้มีความตระหนี่ถี่เหนียวมาเป็นใหญ่กว่าใจเราได้เลย
- เราจะขูดออกขัดออก

- น้ำใสน้ำนิ่ง จะเห็นปลา เห็นทรายชัด - ถ้าน้ำกระเพื่อมก็ไม่เห็น
- เปรียบกับจิตที่เป็นหนึ่ง หยุดนิ่งย่อมรู้หมด มีอะไรรู้หมด รู้จิตผู้อื่น
- ต้องทำให้เป็นวสี จึงจะรู้ได้ตลอด

- ถาม - มีสิทธิ์ รู้ได้ไหมครับว่า ใครดี ใครไม่ดี ใครจะโกงเรา
- ตอบ - รู้อยู่ รู้ได้อยู่ที่ใจ แต่นักปราชญ์ท่านไม่รุกรานเขาหรอก
- ถ้าเขาชั่วก็ชั่วของเขา - ถ้าเขาไม่ยอมกลับตัว มันก็ตัวของเขา
- ครูบาอาจารย์ก็บอกไม่ได้แล้ว - เขาทำตัวเขาเอง เรื่องของเขา

- วาจาใดที่ทำให้ตนเองบ้าง ทำให้ผู้อื่นบ้าง ไม่สบายหู ไม่สบายใจ
- วาจานั้นถือว่าเป็นวาจาที่ไม่ควรพูด

- เมื่อนกจับต้นไม้ต้นใด มันก็ถือว่าสักแต่จับอยู่เท่านั้น
- เมื่อบินไปแล้วก็หมดเรื่อง ไม่มีความอาลัยกับต้นไม้นั้น
- ต้องรวมพลังจิตไปอยู่จุดเดียว - จึงเกิดพลังพิเศษ จึงเห็นธรรม


- วางอยู่เสมอๆ
- เราก็จะไม่มี เราก็จะไม่ทุกข์ ไม่สุข ไม่หวง ไม่ห่วง ไม่ติดในห้วงมหรรณพ
-สักว่าแต่อยู่ สักว่าแต่ใช้อาศัยไปเฉยๆ

- ถ้าใจวางก็เหมือนคนตายแล้ว- ไม่มีอะไรจะยึดถือ
- ว่าง...วางเฉย
- ความสันโดษ มักน้อย - เป็นทรัพย์อันประเสริฐของผู้ต้องการความพ้นทุกข์

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: คำสอน หลวงปู่ท่อน ญาณธโร
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2010, 02:44:57 pm »
- ผู้ใดได้รับความสงบมากๆ คนนั้นรวย
- ผู้ใดสะสมกองกิเลสมากๆ มีรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐิพพะ
  ธรรมารมณ์มากๆ ฟุ่มเฟือยอยู่ในกามสุข

- คนนั้นคนจน มีหนทางถึงหายนะแน่นอน
- มัวแต่ห่วงโลกอยู่
เลยไม่ได้ไปพระนิพพาน
- ผู้จะไปพระนิพพานได้ ท่านไม่ห่วง ไม่มีห่วงโลกห่วงใดๆ ทั้งนั้น
 
- เรื่องรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
  ท่านตัดขาดพรวดไปเลย ไม่มีอีกแล้ว
- เรียกว่าตัดกิเลสตาย คลายกิเลสหลุด ถึงวิมุตติ มรรคผลนิพพาน
   สว่างโร่ ไม่มืดอีกแล้ว

- ผู้เจริญย่อมไม่เบียดเบียนใคร ไม่อาฆาตใคร ไม่พยาบาทใคร
- ให้อภัยแก่คนทุกจำพวก ไม่เอาเรื่องเอาราวอะไรกับใครเลย
- ต้องพร้อมที่จะให้อภัยอยู่เสมอ - อย่างนี้ ใจเราสบาย

- กิเลสเป็นของร้อนเผาตัวเอง
- ให้รู้เท่ามัน -มันก็ไม่มารบกวนหรอก
- ผู้จะไปพระนิพพาน- ต้องไม่มีอะไรข้องสักอย่าง
- รูปเสียงกลิ่น รส โผฏฐัพพะ ก็ไม่ข้อง
- ต้องเป็นผู้เลี้ยงง่าย กินง่าย อยู่ง่าย นอนง่าย มีแต่ง่ายๆ มันก็ไม่ข้อง

- ใครจะว่าชั่วก็ตามที - ใครจะว่าดีก็ตามชัง
- อยู่อย่างนั้นแหละ ไม่มีดี ไม่มีชั่วตามใครทั้งนั้น
- โลกธรรมถูกต้องไม่หวั่นไหว สบายตัวคนเดียวก็พอ

- คนเราชอบหลงหาเรื่องข้องใส่ตัวเอง
- เห็นรูปถูกใจๆ ก็ไปข้อง  - เห็นเสียงถูกใจๆ ก็ไปข้อง
- ได้กลิ่นหอมๆ ถูกใจก็ไปข้อง  - รสอร่อยๆ ก็ไปข้อง
- โผฏฐัพพะเครื่องถูกต้องร่างกาย อยากได้ผ้าดีๆ
  ที่นอนดีๆ ก็เป็นเครื่องข้อง

- โลกทั้งหลาย เขาอยู่ด้วยราคะ โทสะ โมหะ
- ติดกันอยู่แค่นี้ เขาทำไปตามอำนาจกิเลส

- จะไปไหนๆ ทำอะไรๆ ก็เอากิเลสออกหน้า
- ใส่ปุ๋ยให้ราคะ โทสะ โมหะ มันก็ใหญ่โตไปเรื่อยๆ

- เพราะตามใจมันทุกอย่าง

- ทำให้หลง หลงรัก หลงใคร่ หลงอยากได้ หลงยินดี หลงหาทั้งตาปี
- หลงแล้วก็ติด ติดในรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์
- พอมันพลัดพรากจากเราไปก็เป็นทุกข์ เพระความหลง
- ถ้าไม่เพ่ง ไม่ตัดมันเสียก่อน มันก็มีกำลังอยู่อย่างนั้น

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: คำสอน หลวงปู่ท่อน ญาณธโร
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2010, 02:45:19 pm »
- คนจะรวย ก็เพราะรวยน้ำใจมาก่อน - คนจะจน ก็เพราะจนน้ำใจมาก่อน
- เกิดเป็นมนุษย์ใช้ร่างกายให้คุ้มค่า
ศีลของเราดีหรือเปล่า
ทานของเราดีหรือเปล่า
ภาวนาของเราตั้งใจมั่นหรือเปล่า

- ถ้าไม่แน่วแน่ ยังวอกแวก ไม่เป็นอันเดียว -มันก็งมโข่งไปเรื่อย
- ถ้าเราแน่วแน่ในใจเต็มที่ ไว้วางใจตนเอง เป็นที่เชื่อมั่นในตัวเอง
ไม่เกี่ยวข้องอะไร มีดวงจิตดวงเดียวเท่านั้น

- เวลาตายยิ้มตาย ไม่กลัวอะไรเลย
- ความเกษมสุข ความไม่เศร้าโศก -เป็นมงคล ใจจะรื่นเริงเสมอ
- ถ้าเศร้าโศกจะเสียมงคลไปหมด - เหมือนต้นไม้มันเฉา แล้วน่าดูไหม
- เอาน้ำมารด เอาปุ๋ยมาใส่ ชุ่มชื่นขึ้นมามันเป็นยังไง - มันสดชื่นน่าชม

- เป็นนิมิตก็ดี เป็นอะไรก็ดี - ของเหล่านั้นไม่ใช่เราหรอก
- อย่าไปถือว่าเป็นเรา - มันไม่รู้อะไร มันแค่ปรากฎเป็นตนเป็นตัวขึ้นมา
- เป็นภาพลวงตา ลวงใจเราให้ไปหลงมันซื่อๆ หรอก
- อย่าหลงตะครุบเงา อย่าหลงไปตามสัญญาอารมณ์ ส่งออกนอก
- เห็นนั้น เห็นนี่ ตัวไหนไปเห็น

- หายใจเข้า รู้ -หายใจออก รู้  - อย่าหลงเอามาเป็นเรา เพียงไปเห็นเฉยๆ
- ถ้าเอาลมมาเป็นเรา ก็ตะครุบเงา - ไม่ได้ตะครุบตัวจริง

- ความโกรธทำลายผิวพรรณ - ขี้โกรธ ผิวพรรณจะขี้ริ้ว เป็นไฝ เป็นฝ้า ไม่ดี
- ถ้าไม่มีความโกรธ สีสันวรรณะ จะดี ไม่เปลืองเครื่องสำอางใดๆเลย

- กิเลสมันเหนียวมันแน่น ความตระหนี่ถี่เหนียว เป็นต้น
- เอาอะไรมาขัดมันออก มันเหนียว เหนียวจริงๆ
- ท่านจึงบัญญัติว่า ทานัง เทติ
- ให้ทานเป็นเครื่องขัดเครื่องเกลากิเลสในหัวใจ
- ความตระหนี่ก็จะเบาบางไป - จึงควรทำทานอยู่บ่อยๆ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: คำสอน หลวงปู่ท่อน ญาณธโร
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2010, 02:46:03 pm »
- ไม่ว่าประเทศไหน -เอาความโลภเป็นหัวหน้าปฏิบัติงาน
- พังทุกราย
- ความโลภเป็นอันตรายแก่ธรรมทั้งหลาย แก่ความเจริญทั้งหลาย
- โลภมากเท่าไร เป็นอันตรายแก่ตัวเองเท่านั้น - รีบกำจัดความโลภ
ด้วยการทำทานขัดเกลากิเลส
- อย่าให้ความตระหนี่ถี่เหนียวมาเป็นนายกุญแจ ปิดกุญแจแห่งกุศลของเรา

- ใครจะว่าจะนินทา - เฉยไว้ก็ดีเอง
- สนิมกินเหล็ก - กิเลสกินใจ

- การเจริญเมตตาปรานี
- ต้องให้มีไมตรีจิตมิตรภาพปรารถนาดีในเพื่อนมนุษย์ทั้งหลาย
- เมื่อมีเมตตามากๆ
- ความยินดีในความโกรธอาฆาตพยาบาทจะหมดไป

- เมื่อเราทำเช่นนี้มากๆ - ความตระหนี่ถี่เหนียวก็จะหายไป
- จะกลายเป็นผู้เสียสละอยู่อย่างนั้น
- เมื่อเป็นเช่นนี้ ราคะ โทสะ ก็จะเบาบาง ด้วยการแผ่เมตตาปรารถนาดี
ให้กันและกันเสมอๆ

- เมื่อไม่มีความโกรธแล้ว แต่ความหลงยังมีอยู่นะ
- หลงโลภ หลงรัก หลงชัง อะไรต่างๆ
- เหล่านี้เป็นกิเลส เป็นตัณหา เป็นกิเลสวัฏฏะ เป็นตัวจักรของกิเลส
- ซึ่งเป็นเหตุให้ทำกรรมไปต่างๆ
- เพราะฉะนั้น เรจึงต้องมาทำกรรมฐาน ทำสมาธิภาวนากัน


- หมากัดขาเรา - เราอย่าไปกัดขาหมาตอบ - ถ้าไปกัด คงน่าเกลียดจริงๆ
- หมากัดขาเรา ก็รักษาแผลไป ไม่ต้องไปกัดขาหมาตอบ

- ถ้ามีคนอื่นตำหนิเรา อย่าอย่าไปตำหนิเขาตอบ
- ใครทำให้เราโกรธ เราอย่าหลงไปโกรธเขาตอบ
- ตบมือข้างเดียวไม่ดังหรอก

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: คำสอน หลวงปู่ท่อน ญาณธโร
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2010, 02:46:27 pm »
- เราได้อาศัยร่างกายที่มีแต่ของเน่าๆ เปื่อยๆ มาทำประโยชน์
ไปวันๆ เท่านั้นเอง
- ยังน่าปลื้มใจที่อาศัยไหว้พระสวดมนต์ รักษาศีล ทำบุญให้ทาน
ทำสมาธิภาวนา ทำคุณความดีเพื่อประโยชน์ตนบ้าง เพื่อประโยชน์ผู้อื่นบ้าง
 ยังน่าปลื้มนะ

- ให้ทำความดีเยอะๆ ทำบุญให้ทาน นั่งสมาธิ และรักษาศีลให้บริสุทธิ์ให้มากๆ
- อย่าได้ประมาทเลย พยายามทำให้ต่อเนื่อง มันจะแก่กล้าขึ้น
- การทำอย่างที่ว่ามานี้ เขาเรียกว่าอบรมบ่มอินทรีย์ให้แก่กล้า
- สร้างบุญบารมีให้ใหญ่โต

- ถ้าเราพิจารณกายให้ลึกลงไป ให้เห็นลงไปจริงๆ
- ลงไปถึงใส้ใหญ่ ใส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า เหล่านี้มันมีอะไรวิเศษนัก
- จึงถือทิฐิมานะ ไม่ยอมกราบไหว้ผู้อื่น
- ทำไมยึดถือของเน่าๆ อยู่เต็มตัว จนไม่ยอมกราบไหว้ เคารพนับถือผู้อื่น

- ก็ได้ร่างกายเน่าๆ นี่แหละ พิจารณาให้ซึ้งให้ถึงแก่นเถอะ
- ให้ช่ำชอง ชำนาญในการเข้าและออกจนจิตใจผ่องใส ไม่มีมลทินโทษแล้ว
- ทิฐิบริสุทธิ์ ญาณทัศนะ ธาตุก็จะบริสุทธิ์ - ตายแล้วกระดูกเป็นพระธาตุแน่นอน

- พระคุณต้องทดแทน ถ้าเคียดแค้นต้องอโหสิ - อเวรัง อะสะปัตตัง
- พระพุทธเจ้าทรงสอนให้พวกเราเป็นผู้ไม่มีเวร ไม่จองเวร เป็นผู้อโหสิ
- ผู้ถึงพร้อมด้วยทาน ศีล ภาวนา - ได้ชื่อว่ามีใจที่พัฒนาแล้ว เจริญแล้ว

- จะไม่มีทางเอารัดเอาเปรียบ - มีแต่การเสียสละ จะอยู่ร่วมกันได้โดยสงบสุข
- บุคคลใดเป็นคนเลี้ยงง่าย มีกิจวัตรประจำวันที่เรียบง่าย
- ใจจะสบาย การปฏิบัติก็รวมใจเป็นหนึ่งได้ง่าย
- ความวุ่นวายก็น้อยลง ความกังวลติดยึดจะไม่มี

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: คำสอน หลวงปู่ท่อน ญาณธโร
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2010, 02:47:11 pm »

- การทำความเพียร -ไม่ใช่เดินจงกรมหรือนั่งสมาธิ ไม่ใช่ทำทั้งวันทั้งคืนหรอก
- ถ้ายังเดินคิด นั่งคิด ก็จัดว่าเป็นความเพียรไม่ได้ - เรียกว่าฟุ้งซ่าน

- การทำความเพียร หมายถึงการมีสติ ทำอะไรทำอย่างมีสติระลึกได้อยู่
- จะก้าวหน้า จะถอยหลัง เหลียวซ้าย แลขวา จะพูดจาอะไรมีสติ กำหนดรู้ทั่วอยู่
ระลึกได้อยู่เสมอ - นี่เรียกทำความเพียร

- ทุกอิริยาบถจดจ่ออยู่ อย่าเผลอ
- ร่างกายมันพักผ่อน ใจก็ยังมีสติอยู่ นี่เรียกว่าความเพียร
- ทรัพย์ภายใน ท่านว่า แสวงรู้ แสวงอ่าน แสวงฟัง แสวงเรียน
- นี่เป็นทรัพย์ภายใน
- แต่ถ้าท่านผู้ใดปล่อยให้วันเวลาล่วงไปๆ ไม่แสวงหาทรัพย์เหล่านี้ไว้ในใจ
- ก็จะโง่ ไม่ฉลาด จะทำให้เป็นคนจนได้

- คนที่ไม่มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่ง
- จะเป็นที่พึ่งของใครไม่ได้ พึ่งตัวเองก็ไม่ได้ ไม่มีทางออก
- บางคนพอคิดอะไรไม่ออก ก็คิดสั้นฆ่าตัวตายไปให้เป็นวิบากกรรม
ติดตามไปในภพหน้าชาติหน้าต่อไปอีกชั่วกาลนาน


- มีหลายคนแล้วที่ประสบกับปัญหาเข้าขั้นวิกฤติ ยามเข้าตาจน
- แล้วรอดปลอดภัยจากเหตุการณ์ จากปัญหาร้ายแรงมาได้อย่างคาดไม่ถึง

- เป็นเพราะเขาระลึกนึกถึงคุณของพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นที่พึ่งบ่อยๆ
- เพียงน้อมระลึกนึกถึงก็ได้บุญกุศล ทำให้ผ่านพ้นวิกฤตไว้อย่างน่าอัศจรรย์ใจ

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: คำสอน หลวงปู่ท่อน ญาณธโร
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2010, 02:47:38 pm »

- ราคะไม่มี, โทสะไม่มี, โมหะไม่มี - ความดึงดูดของโลกดูดไม่ได้เลย
- เพราะไม่มีสิ่งที่จะดึงดูดดูดกันได้แล้ว
- เพราะฉะนั้น พระอริยเจ้าท่านไปไหนมาไหน ท่านเหาะเอา
- เพราะโลกไม่ดึงดูด

- มัวแต่คิดจะต่อต้านผู้อื่น
- ทำไมไม่คิดต่อต้านกิเลสตัวเอง เอาชนะกิเลสตัวเอง
- ทำอย่างไรความโลภมันจึงจะเบาบางลง
- ทำอย่างไรความโกรธมันจึงจะเบาบางลง

- ทำอย่างไรความหลงมันจึงจะเบาบางลงไป - นี่คือหน้าที่ของเราโดยตรง
- ผู้ภาวนาชั้นยอด - ท่านเพียรฆ่าความโกรธให้มันหมด
- ฆ่าความโลภให้มันหมด - ฆ่าความหลงให้มันหมด


- ไปเดือดร้อนอะไรกับคนนินทา - ใครนินทา เราไม่ได้ยิน ไม่ใส่ใจก็สบาย
- คนนินทาน่ะ เป็นยาชูกำลังที่จะเตือนตัวเอง - เขาติดีกว่าเขาชม จะได้รู้ตัว
- ถ้าเราเป็นอย่างนั้นจะได้ปรับปรุง เราจะไปโกรธเขาทำไม
- ถ้าไปโกรธเขา ก็เรียกว่าเราแพ้ตัวเอง

- ไม่ต้องรู้อะไรมาก - รู้ภายในน้อยๆ รู้ตามคำสั่งสอนน้อยๆ
มันก็กว้างออกมาได้
- รู้ทุกขัง รู้อนิจจัง รู้อนัตตา รู้แค่นี้ก็ใช้ได้แล้ว
- สังขารความคิดปรุงแต่ง มันไม่ใช่เรา
- แต่มันลากเราให้ติดให้ทุกข์ ไม่รู้จักจบจักสิ้น- เพราะฉะนั้นจงอย่าเชื่อสังขาร

- เรียนทางโลก - เรียนไปๆ ก็ยิ่งหนาไปเรื่อย ไม่เบาบางได้เลย
- เรียนทางธรรม เรียนละ- ละโลภ ละโกรธ ละหลง ละกิเลสตัณหา
- มันก็เบาไปๆ จนไม่มีภาระ หมดภาระ

ถาม - ทำสมถะมากๆ มันแช่ในอารมณ์ นิ่งไปเลย มันติดในสมาธิ
ตอบ - มันจะแช่อะไร - เราวุ่นวายมาตั้งเท่าไหร่
- จะทำความสงบให้ใจ มันจะแช่อะไร
- สมถะนี่แหละตัวสมาธิ ให้ใจมันสงบ ให้ใจมันแน่เสียก่อน
- จึงค่อยวิปัสสนา พิจารณาร่างกาย ผมขนเล็บ ฟัน หนัง

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: คำสอน หลวงปู่ท่อน ญาณธโร
« ตอบกลับ #9 เมื่อ: สิงหาคม 29, 2010, 02:48:06 pm »

- เฟอร์ดินานด์ มาร์กอส - ประธานาธิบดีฟิลิปปินส์ เป็นใหญ่ มีอำนาจมาก
-แต่โกงกินแผ่นดิน จนประชาชนเดือดร้อนอย่างมาก

- ต่อมาประชาชนรวมตัวกันขับไล่ จนต้องหนีออกนอกประเทศ
- เงินที่โกงกินแผ่นดินมาถูกยึดคืนหมด
- ในที่สุดก็ตายอย่างหมาข้างถนน

- ความโลภ
เป็นอันตรายแก่ความเจริญทั้งหลาย - ทำลายชื่อเสียง เกียรติยศ
 รสนิยมพังไปตามๆ กัน

- ทำทานรักษาศีลเจริญภาวนาก็เพื่อกำจัดกิเลส
- มีศีล มีธรรม มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาแก่เพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
- จึงเป็นคนดีได้ - ถ้าไม่มีก็ไม่ต่างอะไรกับสัตว์เดรัจฉาน
 
- สัตว์เดรัจฉานเห็นกันก็กัดกัน -มีอาหารกิน มันก็ไม่แบ่งใคร
- มันหวงแต่ตัวคนเดียว กินไม่หมดโน่นแหละจึงให้เขา

- ไวปากเสียศีล ไวตีนตกต้นไม้ - เขามาว่า หรือทำไม่ดีกับเรา ก็สาธุๆไว้
- อย่าไปโกรธเขา - เราจะไม่โกรธ จะไม่ต่อสู้ใครเลย
- แม้แต่ยุงมากัด ก็ไม่คิดทำร้ายมันเลย

- ไม่ต้องถามปัญหาอะไรหลาย - ไม่มีปัญหา ไม่ต้องสงสัยอะไร
- มีความสงสัยเกิดขึ้น รู้อยู่ อย่าไปตาม - ถ้าปล่อยให้มันสงสัย มันก็สงสัยเรื่อยไป
- รู้เท่าทันความสงสัยพอ