อริยะสงฆ์ผู้ปฏิบัติธรรมอันดี > พระอริยบุคคล

คำสอน หลวงปู่ท่อน ญาณธโร

<< < (3/5) > >>

ฐิตา:





- ธรรมที่ทำให้งามคือ

ขันติ - ความอดกัน ทนทานไม่โกรธง่าย
โสรัจจะ - ความสงบเสงี่ยมเจียมตัว อ่อนน้อม สะอาดเรียบร้อย
- คนวู่วาม ทำตามใจตน เป็นคนโกรธง่าย ขาดขันติไม่งามเลย
- คนเราถึงแม้หน้าตาจะดีแค่ไหน ให้แต่งตัวสวยๆ ใส่เครื่องประดับ
ราคาแพงมากมายขนาดไหนก็ตาม

- แต่ถ้าขาดความเสงี่ยมเจียมตัว หยิ่งยโส แข็งกระด้าง
- มีผู้ใหญ่นั่งอยู่ เวลาเดินผ่านไม่มีก้มศีรษะ เดินคอแข็งผ่านไปเฉยเลย
- ดูงามไหมล่ะ ดูไม่ได้เลย ไม่งามเลย




- ฆราวาสธรรมมี4 ข้อ

1. สัจจะ - ความซื่อสัตย์จริงใจต่อกัน
2. ทโม - รู้จักข่มใจตนเอง เมื่อประสบกับอารมณ์อันไม่พึงปรารถนา
3. ฐิติ - ขันติ ความอดทนอดกลั้น
4. จาโค - การเสียสละเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ผู้อื่น

- หากบุคคลใดมีฆราวาสธรรมครบทั้ง 4 ข้อแล้ว
- ทำมาค้าขึ้นซื้อง่ายขายคล่อง
- เทวดานิยมชมชอบคอยดูแลช่วยเหลือ
-ทำน้อยๆ ก็ได้มามาก
- หากไม่มีฆราวาสธรรม แม้ทำแทบแย่ แต่ก็ได้มานิดเดียว
- เฮ็ดเพียงตีน มันก็ขึ้นมาเพียงตา -เฮ็ดเพียงตา มันก็ได้มาเพียงตีน




http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=katkine&date=31-07-2009&group=4&gblog=5
pics by : Google
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

แก้วจ๋าหน้าร้อน:
 :13: อนุโมทนาสาธุครับ ขอบคุณครับพี่แป๋ม

rain....:
 :07: :07: :07: :07:อนุโมทนาสาธุงับพี่แป๋ม

ฐิตา:

           

บันทึกธรรมจากหลวงปู่ท่อน ญาณธโร
 
หลวงปู่ท่อน ญาณธโร (พระราชญาณวิสุทธิโสภณ)

· คำพูดที่ไม่พิจารณาก็ย่อมกระทบกระเทือนผู้อื่น ให้พิจารณากลั่นกรองให้ดีเสียก่อนจึงค่อยพูด

· นิพพาน ใจจะต้องเด็ดเดี่ยวมากนะ ต้องไม่ห่วงใคร จะต้องไปคนเดียว

· เกิดบังดับ โลกบังธรรม งามบังผี ดีบังจริง สมมติบังวิมุตติ หลักธรรมบังพระนิพพาน

· แม้ภูเขาสูงแสนสูง หากบุคคลผู้มีความเพียรพยายามปีนป่ายขึ้นไปจนถึงยอด ภูเขาสูงแสนสูงก็ต้องอยู่ใต้ฝ่าตีนของคนผู้นั้น

· จิตหรดี คือ จิตที่เด็ดเดี่ยว ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหวไปกับอะไร เป็นมงคลอย่างยิ่ง

· หลวงปู่มักเตือนว่า คนดีชอบแก้ไข คนจัญไรชอบแก้ตัว คนชั่วชอบทำลาย คนมักง่ายชอบทิ้ง คนจริงชอบทำ คนระยำชอบติ

· อย่าส่งจิตออกนอก ส่งออกมันเป็นบ่วงแห่งมาร

· อย่ากินของร้อน (ราคะ โทสะ โมหะ) อย่านอนบนไฟ (โลภ โกรธ หลง) ให้ไปอย่างแร้ง (ไม่ติด ไม่สะสม) แสวงหาบริสุทธิ์ (ของที่ชอบธรรม)

· อย่าไปรีบ ไปเร่ง อย่าไปเคร่ง ไปเครียด ให้ปฏิบัติไปเรื่อยๆ เวลาจะได้ มาเองนั่นแหละ อย่าไปยึดมั่นในสิ่งใดๆ แม้การปฏิบัติ

· อย่าไปสนใจจิตของผู้อื่น จงสนใจจิตของตน

· อาหารบิณฑบาต ประเสริฐกว่ารับนิมนต์ หรือเขามาส่งตามวัด

· หลวงปู่ไปเมตตาคนป่วยด้วยคำเตือนใจสั้นๆ ว่า รู้อยู่ที่ใจได้ไหม

· ใครจะเป็นอย่างไรก็ยิ้ม ยืนยิ้มดูไปเฉยๆ

· เราคนเดียวเที่ยวรัก เที่ยวโกรธ หาโทษใส่ตัว

ฐิตา:
· ให้มีสติตามดูจิต เหมือนคนเดินบนถนนลื่นๆ ต้องระวังทุกก้าว ให้มีสติจดจ่อไม่วาง ดูจิตมันจะปรุงไปไหน จะคิดไปไหน จดจ่อดูมันก็ได้ แน่ๆ จะไปไหน ถ้ามันดื้อนัก ถ้ายังไป เราจะไม่นอนให้นะ

· (หลวงปู่เมตตาเล่าเรื่องนางปฏาจาราเถรี) ทุกข์ที่เกิดขึ้นกับเธอในครั้งนี้ใครทำ ไม่ใช่เธอทำเองหรือ เพราะความรัก ความยึดมั่นในสิ่งรัก จึงทำให้ทุกข์ มีรักที่ไหน มีทุกข์ที่นั่น

· เวลาไหนเราไม่ปรุงไม่แต่งไปตามสังขาร ราคะ โทสะ โมหะ สังขารปรุงไม่ได้ เรียกนิพพานชั่วขณะ

· ให้พิจารณาจนเห็นทุกข์ในโลก เห็นโทษของกาม

· รักษาจิตให้ดี มีพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เป็นที่อยู่ของใจ

· ให้สำรวมอินทรีย์ พิจารณาวิปัสสนาภูมิ อริยสัจ ๔ มรรค ๘ คือ ทางเดิน

· ตามดูอาการหลับให้ละเอียด มันค่อยๆ หลับไปอย่างไร

· เมื่อเกิดความปรุงแต่ง ก็ให้รู้ รู้แล้วพิจารณาตลอดสาย พิจารณาให้เกิดปัญญา รู้แล้วดับ

· สมาธิ คือ สมาธิ ยังเป็นสมุทัย พอถอนให้พิจารณากาย เอาให้มันเบื่อหน่าย ไม่งั้นจะเกิดทิฐิว่าตัวได้ ตัวถึง เป็นวิปลาส

· พึงชนะความโกรธด้วยความไม่โกรธ พึงเอาชนะความเบียดเบียนด้วยความไม่เบียดเบียน ชนะคนไม่ดีด้วยความดี พึงชนะคนตระหนี่ด้วยการให้

· น้ำในน้ำนิ่ง จะเห็นปลา เห็นทรายชัด ถ้าน้ำกระเพื่อมก็ไม่เห็น เปรียบกับจิตที่เป็นหนึ่งหยุดนิ่งย่อมรู้หมด มีอะไรรู้หมด รู้จิตผู้อื่นต้องทำให้เป็นวสีจึงจะรู้ได้ตลอด

· วาจาใดที่ทำให้ตนเองบ้าง ทำให้ผู้อื่นบ้างไม่สบายหู ไม่สบายใจ วาจานั้นถือว่าเป็นวาจาที่ไม่ควรพูด

· เมื่อนกจับต้นไม้ต้นใด มันก็ถือว่าสักแต่จับอยู่เท่านั้น เมื่อบินไปแล้วก็หมดเรื่องไม่มีความอาลัยกับต้นไม้นั้น

· อริยทรัพย์เป็นทรัพย์อันประเสริฐอยู่ภายในจิตใจ ดีกว่าทรัพย์ภายนอก เพราะไม่มีผู้ใดแย่งชิงได้ ไม่สูญหายไปด้วยภัยอันตรายใดๆ ทำให้ใจไม่อ้างว้างยากจน เป็นทุนสร้างทรัพย์ภายนอกได้ด้วย

· ต้องรวมพลังจิตไปอยู่จุดเดียว จึงเกิดพลังพิเศษ จึงเห็นธรรม

· ความสันโดษ มักน้อย เป็นทรัพย์อันประเสริฐของผู้ต้องการความพ้นทุกข์

· ผู้ใดได้รับความสงบมากๆ คนนั้นคนรวย ผู้ใดสะสมกองกิเลสมากๆ มีรูป เสียง กลิ่น รสโผฏฐัพพะ ธรรมารมณ์มากๆ ฟุ่มเฟือยอยู่ในกามสุข คนนั้นเป็นคนจน มีหนทางถึงหายนะแน่นอน

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version