ผู้เขียน หัวข้อ: วันช้างไทย  (อ่าน 1295 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
วันช้างไทย
« เมื่อ: มีนาคม 13, 2021, 12:09:25 pm »
.
13 มีนาคม วันช้างไทย วันที่คกก.คัดเลือกสัตว์ประจำชาติ ให้ช้างเผือกเป็นสัญลักษณ์ของไทย
.
โพสโดย ศิลปวัฒนธรรม (silpa-mag)
เผยแพร่ วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม พ.ศ.2564
.
วันช้างไทย เริ่มจากคณะอนุกรรมการประสานงานการอนุรักษ์ช้างไทย ซึ่งเป็นหน่วยงานประสานงาน องค์การภาครัฐและเอกชนที่ทำงานเกี่ยวกับการอนุรักษ์ช้างไทยคณะกรรมการเอกลักษณ์ของชาติ สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี เนื่องจากเล็งเห็นว่าหากมีการสถาปนาวันช้างไทยขึ้น จะช่วยให้ประชาชนคนไทย หันมาสนใจช้าง และให้ความสำคัญต่อการช่วยเหลืออนุรักษ์ช้างมากขึ้น
.
คณะอนุกรรมการฯ จึงได้พิจารณาหาวันที่เหมาะสม ซึ่งครั้งแรกได้พิจารณาเอาวันที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราชทำยุทธหัตถี มีชัยชนะเหนือพระมหาอุปราชา (คลิกอ่านเพิ่มเติม ด้านล่าง อะไรทำให้ “เข้าใจผิด” ว่า “วันยุทธหัตถี” ตรงกับวันที่ “25 มกราคม” พ.ศ. 2135 )
.
แต่วันดังกล่าวถูกใช้เป็นวันกองทัพไทย จึงได้พิจารณาวันอื่น และเห็นว่าวันที่ 13 มีนาคม ซึ่งเป็นวันที่คณะกรรมการคัดเลือกสัตว์ประจำชาติ มีมติให้ช้างเผือกเป็นสัญลักษณ์ของประเทศไทย
.
จึงได้นำเสนอมติตามลำดับเข้าสู่คณะรัฐมนตรี โดยได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์อีกทางหนึ่ง ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 เห็นชอบให้ วันที่ 13 มีนาคม ของทุกปี เป็น วันช้างไทย
ประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา เมื่อ 18 มิถุนายน พ.ศ. 2541
.
ที่มาข้อมูล : เว็บไซต์ วิกิพีเดีย  “วันช้างไทย”.
เผยแพร่ครั้งแรกในระบบออนไลน์ เมื่อ 13 มีนาคม พ.ศ.2562
.
.
.******************************************.
.
.
อะไรทำให้ “เข้าใจผิด” ว่า “วันยุทธหัตถี” ตรงกับวันที่ “25 มกราคม” พ.ศ. 2135
.
ผู้เขียนเมฆา วิรุฬหก
โพสโดย ศิลปวัฒนธรรม (silpa-mag)
เผยแพร่วันจันทร์ที่ 25 มกราคม พ.ศ.2564
.
วันกองทัพไทย ซึ่งทางการไทยให้ยึดเอาวันยุทธหัตถีของสมเด็จพระนเรศวรมหาราชมาเป็นวันเฉลิมฉลองกิจการของกองทัพนั้น เคยใช้วันที่ 25 มกราคม มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2523 เพิ่งจะมีการเปลี่ยนมาเป็นวันที่ 18 มกราคม ตามมติคณะรัฐมนตรีที่มีขึ้นในปี พ.ศ. 2549 นี่เอง
.
แต่ความจริง นักวิชาการได้ติดตามทักท้วงการยึดเอาวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2135 เป็นวันยุทธหัตถีว่าเป็นการคำนวณที่ผิดพลาด อย่างน้อยๆ ก็ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 ดังที่ อาจารย์ล้อม เพ็งแก้ว ปราชญ์เมืองเพชรท่านเล่าว่าได้อ่านหนังสือเถลิงศก 5285 ปี ของอาจารย์ทองเจือ อ่างแก้ว ในปีดังกล่าว ซึ่งมีความตอนหนึ่งว่า
.
“เพราะการอ้างอย่างผิดหลักวิชาของนายฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ และทางราชการกลาโหมเอาไปใช้เป็นวันกองทัพบก ซึ่งจะเป็นเหตุให้เป็นที่ถูกดูหมิ่นจากชาวต่างประเทศทั่วโลกว่า คนไทยแม้แต่วันประวัติศาสตร์ก็ยังคิดไม่ถูก แล้วจะทำอะไรได้”
.
และอีกตอนหนึ่งว่า
.
“วันชนช้างตามประวัติศาสตร์ที่ถูกต้องตามกฎเกรกอเรี่ยนแบบอังกฤษ คือวันที่ 8 มกราคม ไม่ใช่วันที่ 25 มกราคม ตามที่นายฉันทิชย์ กระแสสินธุ์ อ้างแก่ทางราชการกลาโหมแน่ เพราะผิดทั้งกฎสุริยยาตร์ กฎเกรกอเรี่ยน”
.
ด้วยเหตุนี้อาจารย์ล้อมจึงเห็นว่า วันกระทำยุทธหัตถีเป็นเรื่องที่จะต้องนำมาถกเถียงให้กระจ่างกันเสียที โดยท่านได้นำเอาวันที่ตามที่ระบุไว้ในพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐอักษรนิติ ที่นักประวัติศาสตร์เห็นตรงกันว่ามีการบันทึกลำดับเหตุการณ์ที่น่าเชื่อถือที่สุดมาเป็นฐานในการคำนวณ ซึ่งพงศาวดารฉบับนี้ได้ระบุเอาไว้ว่าวันยุทธหัตถีตรงกับ วันจันทร์เดือนยี่แรมสองค่ำ ของ ปีมะโรง จุลศักราชที่ 954
.
วิธีการหาวันที่ตามบันทึกเดิมให้ตรงกับปฏิทินปัจจุบันนั้น อาจารย์ล้อมกล่าวว่า วิธีที่ง่ายที่สุดคือการทำปฏิทินเทียบวันเดือนปีของจันทรคติและสุริยคติขึ้นมา ก็จะรู้ได้ว่า เดือนยี่แรมสองค่ำนั้นตรงกับวันจันทร์หรือไม่ และตรงกับวันที่เดือนใดในระบบสุริยคติ
.
และจากการคำนวณของอาจารย์ล้อมพบว่า วันยุทธหัตถีตามบันทึกของพงศาวดารฉบับหลวงประเสริฐแท้จริงแล้วตรงกับวันที่ 18 มกราคม ตามปฏิทินปัจจุบันที่เป็นระบบเกรกอเรี่ยน แต่หากไปเทียบกับปฏิทินแบบเก่าที่เป็นระบบจูเลี่ยนก็จะตรงกับวันที่ 8 มกราคม ตามที่อาจารย์ทองเจือได้คำนวณไว้
.
ส่วนวันที่ 25 มกราคมในปีเดียวกันนั้น ตรงกับวันจันทร์เช่นกันแต่เป็นวันแรม 9 ค่ำ คลาดเคลื่อนไป 7 วัน หาใช่วันยุทธหัตถีไม่
.
ซึ่งสุดท้ายข้อมูลตามที่อาจารย์ล้อมได้เคยเสนอไว้ก็ได้รับการยอมรับจากทางกองทัพ แม้จะต้องใช้เวลาค่อนข้างนานไปสักนิด โดยทางกระทรวงกลาโหมได้ยื่นเรื่องไปยังคณะรัฐมนตรีเพื่อให้เปลี่ยนแปลงวันกองทัพไทยจากวันที่ 25 มกราคม มาเป็น 18 มกราคม และทางคณะรัฐมนตรีก็มีมติให้ถือตามข้อเสนอดังกล่าว ตามมติลงวันที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2549 เพียงไม่ถึงหนึ่งเดือนก่อนการรัฐประหารในปีเดียวกัน
.
อ้างอิง: ล้อม เพ็งแก้ว. “วันยุทธหัตถี พ.ศ. 2135 ตรงกับวันที่ 25 มกราคม จริงหรือ?”. ใน เจดีย์ยุทธหัตถี มีจริงหรือ?, ศิลปวัฒนธรรมฉบับพิเศษ. พิมพ์ครั้งแรก : มกราคม 2539
.
เผยแพร่ครั้งแรกในระบบออนไลน์ เมื่อ 18 มกราคม พ.ศ.2561
.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)