ผู้เขียน หัวข้อ: คนเห็นแก่ตัว  (อ่าน 1018 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
คนเห็นแก่ตัว
« เมื่อ: พฤษภาคม 25, 2022, 02:17:53 pm »
.
ความเห็นแก่ตัว ไม่เป็นประโยชน์กับบุคคลที่อยู่รอบข้าง
คนที่มีความเห็นแก่ตัวเหล่านี้ เวลาที่ต้องอยู่ด้วย
ต้องมีความระมัดระวังตัวให้มาก
.
สิ่งที่คนที่มีความเห็นแก่ตัวต้องทำก็คือ การเอาเปรียบบุคคลที่อยู่รอบตัวเสมอ
.
ยกตัวอย่างที่เห็นกันบ่อยในสังคมก็คือ การเข้าคิว
ยังมีคนอีกมากที่ไม่รู้จักการเข้าคิวในการรับบริการ หรือ การให้บริการ หรือ จะเป็นเรื่องของการทำงาน เป็นต้น
.
และยังมีคนอีกมากเช่นกัน ในการไม่รู้เท่าทันกับความเห็นแก่ตัวของคนที่เห็นแก่ตัว
.
.
.
สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล คำพูด กิริยาอาการบอกถึงชาติกำเนิด
.
ที่มา siamebook
.
ความหมาย : สำนวนนี้มักจะใช้พูดถึงคน การดูบุคลิก ลักษณะท่าทาง คำพูดของคน เพราะ สำเนียงส่อ ภาษา กิริยาส่อสกุล บอกให้รู้ว่า คนๆ นั้นเป็นอย่างไร บางทีจากคำพูดไม่กี่คำ ก็ใช้ตัดสินคนนั้นได้ทันทีว่าคบได้หรือไม่ ไปกัน กับเราได้หรือไม่ คบแล้วเดือดร้อนหรือไม่
.
ตัวอย่าง :
.
การพูดจา กิริยาทางทาง มารยาทของคนเรา แสดงถึงตัวตนของคนเราได้ สำเนียงส่อภาษี กิริยาส่อสกุล คำพูด ท่าทางเป็น อย่างไร ก็มักจะแสดงออกทำให้รู้ถึงความคิด วิธีคิด ชาติกำเนิด หรือแม้กระทั่งใช้ตัดสินได้เลยว่าเป็นคนดีหรือไม่ เรื่องแบบนี้ ต้องหมั่นสังเกตุ เพื่อไม่ให้คนเหล่านั้นมาสร้างปัญหาให้กับตัวเอง เพราะคบคนไม่ดี
.
คนพูดจาไม่ไพเราะ มีหลายประเภท บางคนพูดตรง พูดแรง แต่ก็จริงใจ ไม่มีพิษภัยอะไร เพราะพูดในสิ่งที่เป็นเรื่องจริง แต่ บางคนก็พูดเสียงดัง ใช้คำพูดแรงๆ เพื่อข่มคนอื่น ก็ต้องแยกแยะให้ออก สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล คำพูด ท่าทาง การ แสดงออก ต้องมองให้ขาด ว่าน่าจะเป็นคนอย่างไร เพราะหากเผลอไปสนทนาด้วย แม้เดียงไม่กี่คำ บางคนก็จะถือโอกาสกัดไม่ ปล่อย เพราะจ้องจะเข้ามาตีสนิทอยู่แล้ว
.
การดูคนว่าสามารถคบได้หรือไม่ ก็จะมีสำนวน สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล แต่ก็ใช่ว่าจะใช้ได้เสมอไป บางคนพูดดี มาดดี วางตัวดี เหมือนจะเป็นคนมีชาติตระกูลดี แต่จริงๆ แล้วไม่ใช่ เป็นเพียงการสร้างภาพลักษณ์ให้ดูดี เพื่อหวังผลประโยชน์ เท่านั้นเอง คนประเภทนี้ดูง่าย อย่างแรก หากบุคคลใดมีทรัพย์สมบัติที่คนเหล่านั้นต้องการ 99% ไม่พลาด คนพวกนี้เป็นพวก คบไม่ได้ เข้ามาหวังสมบัติ หรือผลประโยชน์ โดยเฉพาะหากกำลังเดือดร้อน หรือมีปัญหาการเงิน บางคนก็จะเจอคนไม่ดีเหล่านี้ เข้ามาซ้ำเติม
.
ปัญหาสำคัญในชีวิตของคนเราอย่างหนึ่งก็คือ การคบคนไม่ดีแล้วคนเหล่านั้นสร้างปัญหาให้เรา ดังนั้นจะคบใครจึงต้อง พิจารณาให้ดี สำเนียงส่อภาษา กิริยาส่อสกุล คำพูด กิริยา ท่าทาง ที่แสดงออกมา คำพูดไม่ดีเพียงคำเดียวที่หลุดจากปาก ก็ใช้ ตัดสินคนนั้นได้ทันที ว่าคบได้หรือไม่ จะได้ไม่ต้องคบให้เสียเวลา
.
.
.
.
.
.
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๗ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๙ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
ขุททกนิกาย ชาดก ภาค ๑
.
ที่มา เว็บไซด์ 84000
.
๑๐. กุกกุฏชาดก (๔๔๘)
ว่าด้วยพญาไก่
.
(พญาไก่กล่าวว่า)
.
            [๑๐๔] ไม่ควรวางใจในคนทำความชั่ว
                      คนพูดเหลาะแหละ คนเห็นแก่ตัว
                      แม้คนที่สงบเกินไปก็ไม่ควรวางใจ
.
            [๑๐๕] เพราะว่ามีคนพวกหนึ่งเป็นเช่นกับโคกระหายน้ำ
                      เพียงแต่พูดเสียดสีมิตร แต่ไม่กระทำตามที่พูด
.
            [๑๐๖] ผู้ใดดีแต่ประณมมือไหว้ พูดวกวน เป็นมนุษย์กระพี้
                      ไม่มีความกตัญญู ผู้นั้นก็ไม่ควรนั่งใกล้
.
            [๑๐๗] อนึ่ง ไม่พึงวางใจสตรีหรือบุรุษผู้มีจิตแปรปรวน
                      แม้คนเปิดเผยความสัมพันธ์มีประการต่างๆ เช่นนั้น
                      ก็ไม่ควรวางใจ
.
            [๑๐๘] คนผู้ตกอยู่ในกรรมชั่ว มีวาจาไม่มั่นคง ฆ่าได้ทุกคน
                      เหมือนดาบที่ลับแล้วซ่อนไว้ แม้คนเช่นนั้นก็ไม่ควรวางใจ
.
            [๑๐๙] คนบางพวกในโลกนี้ เป็นคนเทียมมิตร
                      มีวาจาคมคาย แต่ไร้น้ำใจ เข้าไปหาด้วยอุบายต่างๆ
                      แม้คนเช่นนั้นก็ไม่ควรวางใจ
.
            [๑๑๐] คนใดเห็นอามิสหรือทรัพย์ในที่ใดยังละทิ้งเพื่อนนั้นไปเสียได้
                      คนเช่นนั้นเป็นคนโง่ ทำลายมิตร
.
            (พระราชาตรัสว่า)
.
            [๑๑๑] สัตว์จำนวนมากปกปิดตนไว้ เป็นคนเทียมมิตร
                      คอยคบหาอยู่ คนเหล่านี้เป็นคนชั่ว
                      ควรละเว้นเสีย เหมือนไก่ละเว้นเหยี่ยว
.
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๗ หน้า : ๓๔๐}
.
            [๑๑๒] อนึ่ง ผู้ใดไม่รู้เท่าทันเหตุที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน
                      ผู้นั้นจะตกอยู่ในอำนาจของศัตรูและจะเดือดร้อนในภายหลัง
.
            [๑๑๓] ส่วนผู้ใดรู้เท่าทันเหตุที่เกิดขึ้นโดยฉับพลัน
                      ผู้นั้นย่อมพ้นจากความคับขันอันเกิดจากศัตรู
                      เหมือนไก่พ้นจากเหยี่ยว
.
            [๑๑๔] คนผู้ไม่ตั้งอยู่ในธรรม มีปกติกำจัดอยู่เป็นนิตย์
                      เหมือนบ่วงที่เขาดักไว้ในป่าฉะนั้น
                      นรชนผู้มีปัญญาพิจารณาควรเว้นให้ห่างไกล
                      เหมือนไก่ในป่าไผ่จะเว้นเหยี่ยว
.
กุกกุฏชาดกที่ ๑๐ จบ
.
.
.
.
.
พระไตรปิฎกเล่มที่ ๒๓ พระสุตตันตปิฎกเล่มที่ ๑๕ [ฉบับมหาจุฬาฯ]
อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต
.
ที่มา เว็บไซด์ 84000
.
๓. สัตตาวาสวรรค
หมวดว่าด้วยสัตตาวาส
๑. ติฐานสูตร
ว่าด้วยฐานะ ๓ ประการ
.
            [๒๑]@เชิงอรรถ :
@๑ ไม่มีความเห็นแก่ตัว หมายถึงไม่มีตัณหา อีกนัยหนึ่ง หมายถึงไม่มีความทุกข์ ไม่มีความหวงแหน
@หมายถึงไม่หวงแหนว่า “สิ่งนี้เป็นของเรา” มีอายุแน่นอน หมายถึงมีอายุ ๑,๐๐๐ ปี และมีคติที่แน่นอน
@คือเมื่อจุติจากอุตตรกุรุทวีปแล้วต้องไปเกิดในสวรรค์เท่านั้น (องฺ.นวก.อ. ๓/๒๑/๓๐๓)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๗๕}
.
            ภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวชมพูทวีปเหนือกว่ามนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปและ
เทวดาชั้นดาวดึงส์ ด้วยฐานะ ๓ ประการ
.
            ฐานะ ๓ ประการ อะไรบ้าง คือ
                         ๑. เป็นผู้แกล้วกล้า
                         ๒. เป็นผู้มีสติ๑-
                         ๓. เป็นผู้อยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในชมพูทวีปนี้๒-
.
            ภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ชาวชมพูทวีปเหนือกว่ามนุษย์ชาวอุตตรกุรุทวีปและ
เทวดาชั้นดาวดึงส์ ด้วยฐานะ ๓ ประการนี้แล
.
ติฐานสูตรที่ ๑ จบ
๒. อัสสขฬุงกสูตร๓-
ว่าด้วยม้ากระจอกและคนกระจอก
.
            [๒๒]@เชิงอรรถ :
@๑ มีสติ ในที่นี้หมายถึงมีสติมั่นคง เพราะมนุษย์มีทั้งสุขและทุกข์คละเคล้ากัน ซึ่งต่างจากเทวดาและสัตว์นรก
@ที่มีสติไม่มั่นคง เพราะเทวดามีแต่สุขอย่างเดียว และสัตว์นรกมีแต่ทุกข์อย่างเดียว (องฺ.นวก.อ. ๓/๒๑/๓๐๓)
@๒ เพราะพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าอุบัติในชมพูทวีป จึงมีการประพฤติพรหมจรรย์คืออริยมรรค
@มีองค์ ๘ (องฺ.นวก.อ. ๓/๒๑/๓๐๓) และดู อภิ.ก. ๓๗/๒๗๑/๙๕
@๓ ดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๑๔๑-๑๔๓/๓๘๗-๓๙๒ (อัสสขฬุงกสูตร อัสสสทัสสสูตร)
@๔ ม้าอาชาไนย ในที่นี้หมายถึงม้าที่เกิดในตระกูลม้าสินธพ หรือในตระกูลพญาม้าวลาหก (ขุ.ธ.อ. ๑๕๔/๑๐๕)
@หรือ หมายถึงม้าที่รู้เหตุที่ควรและไม่ควร (องฺ.ติก.อ. ๒/๑๔๓/๒๗๓) และดู องฺ.ติก. (แปล) ๒๐/๙๗/๓๓๐
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๒๓ หน้า : ๔๗๖}
.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)