ผู้เขียน หัวข้อ: หมีพูห์: หมีที่เข้าใจชีวิต ภาพสะท้อนของแนวคิดแบบเต๋า (เต๋าแบบหมีพูห์)  (อ่าน 1168 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 3 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
หมีพูห์: หมีที่เข้าใจชีวิต ภาพสะท้อนของแนวคิดแบบเต๋า



หมีสีเหลืองสวมเสื้อตัวจ้อยกำลังหรี่ตามองโถอันว่างเปล่า เมื่อมันพบว่าน้ำผึ้งหมดเกลี้ยง จึงออกไปตามหาน้ำผึ้งโถใหม่ โดยไม่มีท่าทีหงุดหงิดหรืออารมณ์ขุ่นมัวเชื่อว่าหลายคนคงคุ้นเคยกับ ‘หมีพูห์’ จากวรรณกรรมของ ‘เอ. เอ. มิลน์’ (A. A. Milne) นักเขียนชาวอังกฤษ และลายเส้นการ์ตูนแสนละมุนของ ‘อี. เอช. เชพเพิร์ด’ (E. H. Shepard)แม้หมีพูห์จะดูเหมือนคนที่มีอาการสมาธิสั้น แต่เบนจามิน ฮอฟฟ์ นักเขียนชาวอเมริกันเจ้าของผลงาน ‘เต๋าแบบหมีพูห์’ (The Tao of Pooh) กลับมองว่า เจ้าหมีตัวนี้คือภาพแทนของ ‘หมีที่เข้าใจชีวิต’ โดยมีปรัชญาเต๋าแฝงเร้นอยู่ในเรื่องราวประจำวันของพูห์ (อิงจากหนังสือ Winnie-the-Pooh และ The House at Pooh Corner เป็นหลัก)ถ้าพูห์กำลังอ่านอยู่ มันคงขมวดคิ้ว พร้อมยกมือกลม ๆ สีเหลืองมาเคาะหัวเบา ๆ อย่างที่ทำเป็นประจำเวลาใช้ความคิด พร้อมกับบอกว่า เอ...ฉันใช้ชีวิตแบบลัทธิเต๋างั้นหรือ ? หากกำลังสงสัยเช่นเดียวกับพูห์ เราอยากชวนมาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้ รู้จักเต๋าหากพูดถึงแนวคิดแบบเต๋า คงไม่สามารถอธิบายด้วยทฤษฎีหรือบทบัญญัติที่ชัดเจน แต่มักจะเป็นเรื่องเล่าแฝงอารมณ์ขันเสียมากกว่า ในหนังสือ ‘เต๋า : วิถีไร้เส้นทาง’ ที่เขียนโดย โอโช (Osho) ได้กล่าวถึง เลี่ยจื๊อ หนึ่งในปรมาจารย์เต๋าว่า “เขาไม่ใช่นักทฤษฎี เขาไม่มีทฤษฎีใด ๆ ให้ท่าน เขาเพียงแต่เล่าเรื่อง เล่านิทานให้ท่านฟังเท่านั้น”นี่อาจเป็นเหตุผลที่เบนจามิน ฮอฟฟ์ใช้หมีพูห์มาอธิบายคำสอนของเต๋าในหนังสือ ‘เต๋าแบบหมีพูห์’ โดยหมีตัวนี้นับเป็นตัวอย่างของวิถีแบบเต๋าที่รู้จักชื่นชม เรียนรู้ และจัดการสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน  หมีพูห์นั้นโง่เขลา ? ข้อสังเกตอย่างหนึ่งของเรื่องวินนี เดอะ พูห์ คือตัวเอกไม่ได้ฉลาดแบบอาวล์ หรือแรบบิต แต่กลับเป็นเจ้าหมีแสนซื่อที่คิดอะไรง่าย ๆ จนบางครั้งเราก็รู้สึกราวกับมันเป็นหมีแสนโง่เขลา แต่หากมองอีกมุมหนึ่ง พูห์อาจเป็นตัวอย่างของคนที่มองชีวิตเรียบง่ายและมีความคิดที่ไม่ซับซ้อน แต่กลับแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างไหลลื่นจนเหมือนคนที่ไม่ได้พยายามอะไร 


อย่างตอนที่ทุกคนหลงทาง นักคิดอย่างแรบบิตจะพยายามพูดตลอดว่า ‘เอาละ ฉันรู้ว่าตอนนี้เราหลงทาง’ ‘ต้องไปทางนี้แน่’ (แต่ก็วกกลับมาที่เดิมทุกที) พูห์จึงพูดขึ้นมาว่า“เราหาทางกลับบ้านมาตลอด แต่หาไม่พบ ฉันเลยคิดว่าถ้าหาหลุมนี้ เราต้องไม่พบมันแน่ ซึ่งก็คงจะดี เพราะเมื่อนั้นเราอาจจะพบอะไรบางอย่างที่ไม่ได้กำลังหาอยู่ ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งที่จริง ๆ แล้ว เรากำลังหาอยู่พอดีก็ได้”และสุดท้ายทั้งหมดก็หาทางกลับบ้านได้ ด้วยวิธีแสนเรียบง่ายของพูห์หรืออีกตอนหนึ่งที่รูตกลงไปในลำธาร อียอร์หย่อนหางลงไป เพื่อให้มีข้ออ้างว่าได้ทำอะไรสักอย่างแล้ว ส่วนพิกเล็ตก็ร้องโวยวาย แรบบิตมัวแต่ออกคำสั่งให้คนอื่นทำอย่างนั้นทำอย่างนี้ แต่พูห์กลับมองสถานการณ์ตรงหน้า หันซ้ายหันขวา แล้วหยิบกิ่งไม้ยาว ๆ มาให้รูเกาะ สิ่งเหล่านี้สะท้อนให้เห็นว่า “หัวใจอันใสซื่อบริสุทธิ์ ไม่จำเป็นต้องโง่เสมอไป” พูห์คือตัวอย่างของคนที่มองโลกในแง่ดี ซึ่งไม่ใช่ ‘ความโลกสวย’ แต่เป็นการอยู่กับปัจจุบันแล้วมองหา ‘ความเป็นไปได้’ ที่จะแก้ปัญหาต่าง ๆ อย่างใสซื่อมากกว่าการแคร์สายตาของคนอื่นแบบอียอร์ มัววิตกกังวลแบบพิกเล็ต หรือพยายามออกคำสั่งแบบแรบบิต ถึงอย่างนั้นพูห์ก็ไม่เคยรู้สึกว่าตัวเองเป็นฮีโร่หรือเหนือกว่าใคร  ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดแบบเต๋าที่ว่า “ผู้ทรงปัญญาจะไม่พูดว่า ‘ฉันเป็นคน ฉันเหนือกว่าต้นไม้ ฉันเหนือกว่าสัตว์ ฉันเหนือกว่านก’...ผู้ทรงปัญญาได้มาถึงจุดที่รู้ว่า ‘ฉันไม่ได้เป็นเช่นนั้น’ และในประสบการณ์ของ ‘ฉันไม่ได้เป็น’ นั้น ความสุขก็จะไหลบ่าเข้าสู่ภายใน เพราะก้อนหินได้ถูกเคลื่อนย้ายออกไปแล้ว” 



นอกจากนี้ เรื่องราวของพูห์ยังแสดงให้เห็นว่า ‘ความรู้’ ไม่ใช่ทุกอย่างของชีวิต เห็นได้จากตอนที่อาวล์พยายามอวดและถามพูห์ว่าสามารถสะกด ‘พฤหัสบดี’ ได้ถูกต้องไหม ซึ่งแรบบิตได้พูดถึงเหตุการณ์ตอนนี้ว่า“เป็นเรื่องธรรมดาที่เราจะต้องนับถือใครก็แล้วแต่ที่สามารถสะกดคำว่าพฤหัสบดีได้  ถึงแม้จะสะกดผิดก็เถอะ แต่การสะกดคำไม่ใช่ทุกสิ่งทุกอย่าง มีบางวันที่การสะกดคำว่าพฤหัสบดีจะไม่มีประโยชน์อะไรเลย”นั่นหมายความว่า แม้ความรู้จะมีประโยชน์สำหรับการคิดวิเคราะห์ แต่ชีวิตมีอะไรมากกว่านั้น บางคราวที่เราพยายามตั้งชื่อให้สรรพสิ่งต่าง ๆ อย่างนก ต้นไม้ ผีเสื้อ แต่กลับหลงลืมที่จะสดับเสียงธรรมชาติหรือรื่นรมย์กับความงามอย่างที่มันเป็นจริง ๆ เหมือนกับพูห์ที่มีความสุขกับการเอ่ยคำว่า “สุขสันต์วันพฤหัสฯ” ให้กับคนอื่น ๆ โดยที่ไม่รู้ด้วยซ้ำว่า ‘พฤหัสบดี’ สะกดยังไง ค้นหาตัวตนภายใน เข้าใจข้อจำกัดตนเองขนมเอยขนมครก ‘เกิดเป็นนกไม่บินก็สิ้นท่า’มีปัญหาลับสมองลองถามมาจะตอบว่าขนมครก ขนมครก ขนมเอยขนมครก ‘ปลาขึ้นบกก็ตายหงายอ้าซ่า’มีปัญหาลับสมองลองถามมาจะตอบว่าขนมครก ขนมครก เหล่านี้คือส่วนหนึ่งของบทเพลงที่พูห์ร้องไว้ในหนังสือวินนี เดอะ พูห์ แม้จะฟังดูเป็นเรื่องแสนธรรมดาที่ใคร ๆ ก็เข้าใจได้ แต่หลายคราวในชีวิตเรามักจะ ‘หลงลืม’ และไม่ได้ตระหนักถึงความจริงข้อนี้ จนเกิดความรู้สึกว่าบางสิ่งนั้นด้อยค่าและไร้ประโยชน์ ร้ายที่สุดคือการคิดแบบนั้นกับตัวเราเอง มีตอนหนึ่งที่บ้านของอาวล์ถูกลมพัดและกิ่งไม้ขวางประตูอยู่จนเหลือเพียงช่องเล็ก ๆ เท่านั้น คนที่ออกมาจากช่องเล็ก ๆ นั้นได้มีเพียง ‘พิกเล็ต’ เจ้าหมูตัวจ้อยที่ความตัวเล็กเคยเป็นข้อด้อยของมัน หรือทิกเกอร์ที่ชอบเด้งไปมาจนชนอียอร์ตกน้ำ แต่เมื่อทุกคนหลงทาง ทิกเกอร์จะคอยนำทางเพื่อน ๆ ได้อย่างกล้าหาญแม้เราจะมีข้อจำกัดแบบพิกเล็ต หรือนิสัยบางอย่างที่ต้องปรับแบบทิกเกอร์จอมเด้ง แต่เราไม่จำเป็นต้องสิ้นหวัง แม้กระทั่งการพยายามขับเคี่ยวผลักไสให้ข้อเสียนั้นหายไปทันที เพราะวิถีแบบเต๋า สิ่งแรกที่สำคัญคือการยอมรับข้อด้อยของตนเอง ก่อนจะจัดการอย่าง ‘ค่อยเป็นค่อยไป’ อย่างที่เบนจามิน ฮอฟฟ์กล่าวว่า“เมื่อใดที่คุณยอมรับ เผชิญหน้า และเข้าใจข้อจำกัดต่าง ๆ ของตัวเอง คุณจะร่วมมือกับมัน แทนที่จะปล่อยให้มันเป็นภัยแก่คุณหรือคอยขัดขวางคุณ”“สิ่งแรกที่จำเป็นต้องทำคือต้องตระหนักและไว้ใจธรรมชาติภายในของเราเองเสียก่อน เราต้องไม่ยอมปล่อยให้มันคลาดสายตา เพราะในตัวลูกเป็ดขี้เหร่นั้นมีหงส์งาม ในตัวของทิกเกอร์จอมเด้งนั้นมีนักกู้ภัยผู้รู้จักเส้นทางเป็นอย่างดี และในตัวเราทุกคนล้วนมีสิ่งพิเศษซึ่งเราจำเป็นต้องรักษาไว้” เคลื่อนไหวไปตามธรรมชาติการแก้ปัญหาด้วยวิธีแสนเรียบง่ายของหมีพูห์ อีกมุมหนึ่งยังสะท้อนถึง ‘ความพอดี’ และการดำเนินชีวิตที่ ‘สอดคล้องกับธรรมชาติ’ ครั้งหนึ่ง พูห์สามารถเปิดขวดโหลให้พิกเล็ตได้อย่างง่ายดาย เพื่อน ๆ เลยขอลองเปิดดูบ้าง แต่ปรากฏว่าอาหารในขวดโหลกลับหกกระจัดกระจายเต็มพื้น เพราะพวกเขา ‘ตั้งใจมากเกินไป’ เช่นเดียวกับหลายครั้งที่เราพยายามจนรู้สึกเกร็ง หรือหละหลวมมากไปจนทำให้เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมาได้ อีกตัวอย่างหนึ่งคือ ตอนที่พูห์เผลอกินน้ำผึ้งซึ่งตั้งใจจะใช้เป็นของขวัญวันเกิดอียอร์ สิ่งที่เหลือทิ้งไว้จึงมีเพียง ‘โถเปล่าหนึ่งใบ’ ส่วนพิกเล็ตเองก็ทำลูกโป่งแตกก่อนจะส่งถึงมืออียอร์ แทนที่พูห์จะรู้สึกเสียดาย เศร้า หรือเกิดอารมณ์ทางลบ เหมือนที่เจ้าพิกเล็ตที่กำลังนั่งสะอื้นอยู่ มันกลับพูดด้วยน้ำเสียงตื่นเต้นว่า“ฉันเอาของขวัญเล็ก ๆ น้อย ๆ มาให้นาย มันเป็น ‘โถที่มีประโยชน์’” จากนั้นอียอร์หยิบลูกโป่งใส่ใน ‘โถที่มีประโยชน์’ แล้วก็ใส่ได้พอดีกว่าตอนที่ลูกโป่งยังไม่แตก“ฉันดีใจมากที่คิดเอา ‘โถที่มีประโยชน์’ มาให้นายใส่ของ” พูห์กล่าวเมื่อได้ยินดังนั้น พิกเล็ตจึงหยุดร้องไห้ แล้วเปลี่ยนเป็นน้ำเสียงแสนสุขใจ “ฉันก็ดีใจมากที่คิดเอา ‘อะไรบางอย่าง’ มาให้นายใส่ใน ‘โถที่มีประโยชน์’”



สิ่งเหล่านี้เป็นภาพสะท้อนชีวิตแสนรื่นรมย์หากเรียบง่ายและอยู่กับปัจจุบันของหมีพูห์ แม้เรื่องราวจะเกิดขึ้นในป่าร้อยเอเคอร์ที่ต่างไปจากชีวิตจริงของเรา ถึงอย่างนั้น วิถีของเต๋าก็ไม่ได้จำกัดหรือขีดเส้นทางที่ชัดเจนว่าจะต้องเป็นเหมือนในหมีพูห์เท่านั้นเรื่องราวของหมีพูห์จึงเปรียบเสมือนหนึ่งในเรื่องเล่าที่ทำให้เราเข้าใจแนวคิดแบบเต๋ามากยิ่งขึ้น หากสุดท้ายก็ต้องหาวิถีในแบบของตนเอง อย่างที่โอโชเคยกล่าวไว้ว่า“ทางที่ว่านี้ไม่มีอยู่ในแผนที่...ไม่ใช่เรื่องที่ท่านสามารถเดินตามใครไปและจะหามันเจอได้...ดังนั้นวิถีทางนี้จึงเป็นวิถีที่ไร้เส้นทาง... ท่านจะต้องหามันให้เจอ และจะต้องหามันในวิถีของท่านเอง”หมีสีเหลืองสวมเสื้อตัวจ้อยกำลังหรี่ตามองโถอันว่างเปล่า เมื่อมันพบว่าน้ำผึ้งหมดเกลี้ยง จึงออกไปตามหาน้ำผึ้งโถใหม่ โดยไม่มีท่าทีหงุดหงิดหรืออารมณ์ขุ่นมัว นั่นอาจเป็นเพราะมันได้เจอวิถีของเต๋า ในแบบของตัวเองแล้ว... ที่มา:หนังสือ เต๋าแบบหมีพูห์ สำนักพิมพ์มติชน (เบนจามิน ฮอฟฟ์ เขียน, มนต์สวรรค์ จินดาแสง แปล)หนังสือ เต๋า: วิถีที่ไร้เส้นทาง สำนักพิมพ์ฟรีมายด์ (OSHO เขียน, ดร.ประพนธ์ ผาสุขยืด แปล)

จาก https://www.thepeople.co/read/culture/34650


<a href="https://www.youtube.com/v/O102-_1j538" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v/O102-_1j538</a>
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...