ผู้เขียน หัวข้อ: สยามคือบ้านของเรา บันทึกของมิชชันนารีอเมริกัน สมัย ร.๕ ( Siam is Our Home)    (อ่าน 841 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด








สยามคือบ้านของเรา เรื่องราวของมิชชันนารีสาวชาวอเมริกัน ผู้ตัดสินใจเดินทางมาทำงานในสยามเพียงลำพัง ในสมัยพระพุทธเจ้าหลวง รัชกาลที่ ๕ เธอพบรักและแต่งงานสร้างครอบครัวที่สยาม เป็นบันทึกประวัติศาสตร์ ฉบับชาวบ้านที่มองผ่านสายตาของชาวต่างชาติที่เล่าได้สนุก น่าติดตาม



สยามคือบ้านของเรา

บันทึกของมิชชันนารีอเมริกัน ที่เข้ามาทำงานในประเทศสยามสมัยรัชการที่ ๕

ผู้เขียน เอ็ดน่า บรูเนอร์ บัลค์ลีย์

เนื้อหาโดยสังเขป

ย้อนรอยประวัติศาสตร์ไทยในสมัยรัชกาลที่   5 จากบันทึกของ มิสซิส เอ็ดน่า บรูเนอร์ บัลค์ลีย์ มิชชันนารีชาวอเมริกันที่ตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวในวัยเพียงยี่สิบสี่ปี เข้ามาทำงานตามลำพังในประเทศสยาม ที่ซึ่งแตกต่างจากบ้านเกิดของเธอโดยสิ้นเชิง พบกับการเรียนรู้ที่จะปรับตัวกับบ้านใหม่ กับผู้คนจากชาวบ้านไปจนถึงเชื้อพระวงศ์ และกับการผจญภัยตลอดชีวิต ของผู้หญิงแกร่งคนหนึ่งที่รักประเทศสยามและชาวสยามอย่างเต็มหัวใจ จนพูดได้อย่างเต็มปากว่า "สยาม คือบ้านของเรา" 

สารบัญ

- ชีวิตในกรุงเทพฯ (ค.ศ. ๑๙๐๓ ถึง ๑๙๐๖)
- เพชรบุรี (ค.ศ. ๑๙๐๖ ถึง ๑๙๐๙)
- ชีวิตครอบครัวในตรัง
- ช่วงปีหลังๆ และความทรงจำอื่นๆ


<a href="https://www.youtube.com/v//UbqURvdlNY0" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//UbqURvdlNY0</a> 

มีจนจบเล่ม ตามไปสิจ๊ะ ^^ https://youtube.com/playlist?list=PLOXec4xqLw1EfN1IRPXO1f_bObaBe6EdQ


เพิ่มเติม เสริมเนื้อหา

“สยาม คือบ้านของเรา” การเดินทางของหนังสือเล่มเล็กๆ



“สยาม คือบ้านของเรา” เป็นบทบันทึกที่ได้รับการแปลจากบันทึกของ มิสซิส เอ็ดน่า บรูเนอร์ บัลค์ลีย์ มิชชันนารีชาวอเมริกันที่มาใช้ชีวิตอยู่ในประเทศสยามสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงตอนต้นรัชกาลที่ 9 เนื้อหาในหนังสือได้สะท้อนสภาพบ้านเมือง และความเป็นอยู่ของชาวสยามในขณะนั้นละเอียดลออ อันเป็นข้อมูลทรงคุณค่าและน่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง แต่ที่น่าสนใจมิยิ่งหย่อนไปกว่ากัน คือระยะทางและการผจญภัยของข้อมูล ตลอดจนเนื้อหาต่างๆ ที่กว่าจะมาเป็นหนังสือ “สยาม คือบ้านของเรา”

จากชายฝั่งแปซิฟิค สู่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา
แมรี่ บัลค์ลีย์ สแตนตัน

หญิงชราวัยเจ็ดสิบปี ได้รับข่าวจากพี่ชาย ดไวท์ บัลค์ลีย์ ว่า ได้ค้นพบข้าวของและบันทึกเก่าๆของมารดาซึ่งเสียชีวิตไปแล้วกว่าสามสิบปี ทิ้งอยู่ในลังที่ห้องใต้ดิน เขาบันทึกของมารดาของเธอ เอ็ดน่า บรูเนอร์ บัลค์ลีย์



ตั้งแต่สมัยที่เริ่มเป็นมิชชันนารีในปี ค.ศ.1903 และเดินทางไปทำงานอยู่ในประเทศสยามหลายสิบปี จุดประกายความคิดของแมรี่ให้หวนรำลึกถึงชีวิตในวัยเยาว์ที่เมืองตรัง จังหวัดเล็กๆแห่งหนึ่งทางภาคใต้ แมรี่ ตัดสินใจปรึกษากับพี่น้อง เพื่อหาทางพิมพ์หนังสือจากบันทึกของแม่ชุดนี้แมรี่พิมพ์หนังสือของมารดาออกวางจำหน่ายในอเมริกา โดยไม่ได้คาดหวังอะไรมากนัก และหลังจากนั้นไม่นาน สำนักพิมพ์ก็เลิกกิจการไป แต่แล้วอยู่ๆ เธอก็ได้รับอีเมล์จากประเทศไทย ขอลิขสิทธิ์หนังสือของเธอ เพื่อนำไปแปลลงในนิตยสารที่ประเทศไทย ในชั้นแรก เธอยังไม่แน่ใจว่า คนกลุ่มนี้ต้องการอะไรจากบันทึกเก่าๆของผู้หญิงธรรมดาๆคนหนึ่ง แต่เมื่อสอบถามกลับไป ก็ได้ทราบว่า คนไทยคนหนึ่งที่เธอเคยไหว้วานให้ช่วยตรวจสอบคำไทยในหนังสือต้นฉบับ นำข่าวไปเล่าให้เพื่อนที่เมืองไทยซึ่งเป็นศิษย์เก่าโรงเรียนวัฒนาวิทยาลัยฟัง เพราะทราบว่าโรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนที่สืบเนื่องต่อมาจากโรงเรียนวังหลังที่มารดาของเธอเคยไปสอนอยู่ เธอจึงยินยอมมอบลิขสิทธิ์ให้นำไปแปล



นาฬิกาชีวิตหมุนคืนสู่สยาม บ้านของเรา
เมื่อแมรี่ บัลค์ลีย์ สแตนตัน ได้รับการติดต่อจากคณะผู้แปล ว่า หนังสือพิมพ์รวมเล่มเสร็จสมบูรณ์แล้ว และจะเปิดตัวครั้งแรกในงานประจำปีของโรงเรียน ซึ่งเป็นงานที่จัดต่อเนื่องกันมานับร้อยปีดังเช่นที่มารดาของเธอได้เล่าไว้ในหนังสือ

เธอเกิดแรงบันดาลใจที่จะได้ไปเยือนประเทศไทยอีกครั้ง ขณะนั้นในบรรดาพี่น้องทั้งหมด 7 คน เหลือเพียงแมรี่วัย 86 ปี กับ แดน ผู้เป็นพี่ชายวัย 90 ปี สองคนพี่น้องเท่านั้น แดนเองก็เกิดและเติบโตอยู่ที่เมืองไทยกว่าสิบปี และยังได้เคยร่วมงานกับเสรีไทยด้วย ทั้งคู่จึงตัดสินใจพากันบินข้ามโลกจากอเมริกามายังกรุงเทพฯ และบินกลับไปอเมริกาด้วยความอบอุ่นใจ และมั่นใจว่า บัดนี้ บันทึกเก่าๆในลังที่ใต้ถุนบ้านได้กลายมาเป็นหนังสือที่มีคุณค่า สมดังความหวังของมารดาที่เขียนไว้ท้ายเล่มว่า “ฉันใช้เวลาเขียนหนังสือนี่อยู่สิบห้าปีเต็มๆ... มันอาจจะไม่มีวันได้ออกสู่สายตาสาธารณชนเลยก็ได้ แต่มันคือสิ่งที่มิอาจจะประมาณค่าได้เลย สำหรับคนที่อยากจะสร้างสรรค์ผลงานอย่างฉัน”

จากนี้ไป ชื่อของมิสซิส เอ็ดน่า บรูเนอร์ บัลค์ลีย์ จะคงอยู่คู่ประเทศสยามไปอีกยาวนาน แมรี่ได้แต่หวังว่า มารดาของเธอคงจะได้รับรู้สิ่งมหัศจรรย์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดนี้ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง


จาก https://mgronline.com/qol/detail/9510000021700

มีอีก http://www.muangboranjournal.com/post/SiamWasOurHome
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...