ผู้เขียน หัวข้อ: สวัสดีปีใหม่ ปี 2567 เรื่อง ประโยชน์คือฤกษ์ (อรรถกถา นักขัตตชาดก)  (อ่าน 267 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sithiphong

  • ทีมงานก้านแก้วเกล็ดใบทอง
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7544
  • พลังกัลยาณมิตร 2681
  • พระวังหน้าที่หลวงปู่เทพโลกอุดรเสก
    • ดูรายละเอียด
.
.
สวัสดีวันอาทิตย์หรรษา
เป็นวันอาทิตย์ที่ 31 ธันวาคม 2566 วันสุดท้ายของปี 2566
เรื่องใดที่ไม่ดี ก็ให้ทิ้งไปในปีนี้ให้หมด
ปีหน้าคือปี 2567 เริ่มต้นทำในสิ่งที่ดีมีประโยชน์ให้กับตนเอง (และหมู่คณะ ถ้าทำได้)
.
สำหรับวันนี้ ผมขอนำธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระนาม พระโคตมพุทธเจ้า นำมาให้อ่านกัน
หากเรื่องใดที่ต้องการกระทำความดี สามารถทำความดีได้ทุกวัน ไม่จำเป็นต้องมีฤกษ์ในการเริ่มต้น ครับ
.
.
.***********************************.
.
.
อรรถกถา นักขัตตชาดก
ว่าด้วย ประโยชน์คือฤกษ์
.
ที่มา เว็บไซด์ 84000
.
.
พระบรมศาสดา เมื่อประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงปรารภอาชีวกคนหนึ่ง ตรัสพระธรรมเทศนานี้ มีคำเริ่มต้นว่า นกฺขตฺตํ ปฏิมาเนนฺตํ เป็นอาทิ.
.
ได้ยินว่า กุลบุตรชาวบ้านนอกผู้หนึ่ง ไปขอกุลธิดานางหนึ่ง ในกรุงสาวัตถี ให้แก่ลูกชายของตน นัดหมายวันกันว่า ในวันโน้น จักมารับเอาตัวไป. ครั้นถึงวันนัด จึงถามอาชีวก ผู้เข้าไปสู่ตระกูลของตน ว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ วันนี้ พวกผมจักทำมงคลอย่างหนึ่ง ฤกษ์ดีไหมครับ.
.
อาชีวกนั้นโกรธอยู่แล้วว่า คนผู้นี้ ครั้งแรกไม่ถามเราเลย บัดนี้ เลยวันไปแล้ว กลับมาถามเรา เอาเถิด จักต้องสั่งสอนเขาเสียบ้าง. จึงพูดว่า วันนี้ ฤกษ์ไม่ดี พวกท่านอย่ากระทำการมงคล ในวันนี้เลย ถ้าขืนทำจักพินาศใหญ่.
.
พวกมนุษย์ในตระกูลพากันเชื่ออาชีวกนั้น ไม่ไปรับตัวในวันนั้น. ฝ่ายพวกชาวเมืองจัดการมงคลไว้พร้อมแล้ว ไม่เห็นพวกนั้นมา ก็กล่าวว่า พวกนั้นกำหนดไว้วันนี้ แล้วก็ไม่มา แม้การงานของพวกเรา ก็ใกล้จะสำเร็จแล้ว เรื่องอะไรจักต้องไปคอยพวกนั้น จักยกธิดาของเราให้คนอื่นไป แล้วก็ยกธิดาให้แก่ตระกูลอื่นไป ด้วยการมงคลที่เตรียมไว้ นั้นแหละ.
.
ครั้นวันรุ่งขึ้น พวกที่ขอไว้ก็พากันมาถึง แล้วกล่าวว่า พวกท่านจงส่งตัวเจ้าสาวให้พวกเราเถิด. ทันใดนั้น ชาวเมืองสาวัตถีก็พากันบริภาษพวกนั้นว่า พวกท่านสมกับที่ได้ชื่อว่า เป็นคนบ้านนอก ขาดความเป็นผู้ดี เป็นคนลามก กำหนดวันไว้แล้ว ดูหมิ่นเสีย ไม่มาตามกำหนด เชิญกลับไปตามทางที่มากัน นั่นแหละ. พวกเรายกเจ้าสาวให้คนอื่นแล้ว.
.
พวกชาวบ้านนอกก็พากันทะเลาะกับชาวเมือง ครั้นไม่ได้เจ้าสาว ก็ต้องพากันไปตามทางที่มา นั่นเอง. เรื่องที่อาชีวกกระทำอันตรายงานมงคลของมนุษย์เหล่านั้น ปรากฏว่ารู้กันทั่วไปในระหว่างภิกษุทั้งหลาย. และภิกษุเหล่านั้นประชุมกันในธรรมสภา นั่งพูดกันว่า อาวุโสทั้งหลาย อาชีวกกระทำอันตรายงานมงคลของตระกูลเสียแล้ว.
.
พระศาสดาเสด็จมา แล้วตรัสถามว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ พวกเธอกำลังสนทนากันด้วยเรื่องอะไร? ครั้นภิกษุทั้งหลายกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว. ตรัสว่า ภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่อาชีวกกระทำอันตรายงานมงคลของตระกูลนั้นเสีย แม้ในกาลก่อน ก็โกรธคนเหล่านั้น กระทำอันตรายงานมงคลเสียแล้ว เหมือนกัน แล้วทรงนำเอา เรื่องในอดีตมาสาธก ดังต่อไปนี้ :-
.
ในอดีตกาล ครั้งพระเจ้าพรหมทัตเสวยราชสมบัติในกรุงพาราณสี ชาวพระนครพากันไปสู่ขอธิดาของชาวชนบท กำหนดวันแล้ว ถามอาชีวกผู้คุ้นเคยกันว่า พระคุณเจ้าผู้เจริญ วันนี้ ผมจะกระทำงานมงคลสักอย่างหนึ่ง ฤกษ์ดีไหมขอรับ. อาชีวกนั้นโกรธอยู่แล้วว่า คนพวกนี้กำหนดวันเอาตามพอใจตน บัดนี้ กลับถามเรา คิดต่อไปว่า ในวันนี้ เราจักทำการขัดขวางงานของคนเหล่านั้นเสีย แล้วกล่าวว่า วันนี้ ฤกษ์ไม่ดี ถ้ากระทำการมงคลจักพากันถึงความพินาศใหญ่. คนเหล่านั้นพากันเชื่ออาชีวก จึงไม่ไปรับเจ้าสาว. ชาวชนบททราบว่า พวกนั้นไม่มา ก็พูดกันว่า พวกนั้นกำหนดวันไว้วันนี้ แล้วก็ไม่มา ธุระอะไรจักต้องคอยคนเหล่านั้น แล้วก็ยกธิดาให้แก่คนอื่น.
.
รุ่งขึ้น ชาวเมืองพากันมาขอรับเจ้าสาว ชาวชนบทก็พากันกล่าวว่า พวกท่านขึ้นชื่อว่า เป็นชาวเมือง แต่ขาดความเป็นผู้ดี กำหนดวันไว้แล้ว แต่ไม่มารับเจ้าสาว เพราะพวกท่านไม่มา เราจึงยกให้คนอื่นไป.
.
ชาวเมืองกล่าวว่า พวกเราถามอาชีวกดู ได้ความว่า ฤกษ์ไม่ดีจึงไม่มา จงให้เจ้าสาวแก่พวกเราเถิด. ชาวชนบทแย้งว่า เพราะพวกท่านไม่มากัน พวกเราจึงยกเจ้าสาวให้คนอื่นไปแล้ว คราวนี้จักนำตัวเจ้าสาวที่ให้เขาไปแล้วมาอีกได้ อย่างไรเล่า?
.
เมื่อคนเหล่านั้นโต้เถียงกันไป โต้เถียงกันมา อยู่อย่างนี้ ก็พอดี มีบุรุษผู้เป็นบัณฑิตชาวเมืองคนหนึ่ง ไปชนบทด้วยกิจการบางอย่าง ได้ยินชาวเมืองเหล่านั้นกล่าวว่า พวกเราถามอาชีวกแล้ว จึงไม่มาเพราะฤกษ์ไม่ดี ก็พูดว่า ฤกษ์จะมีประโยชน์อะไร เพราะการได้เจ้าสาวก็เป็นฤกษ์อยู่แล้ว มิใช่หรือ? ดังนี้แล้ว กล่าวคาถานี้ ความว่า :-
.
“ ประโยชน์ผ่านพ้นคนโง่ ผู้มัวคอยฤกษ์ยามอยู่ ประโยชน์เป็นฤกษ์ของประโยชน์ ดวงดาวทั้งหลาย จักทำอะไรได้ ” ดังนี้.
.
บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปฏิมาเนนฺตํ ความว่า ผู้คอยดูอยู่ อธิบายว่า มัวรอคอยอยู่ว่า ฤกษ์จะมีในบัดนี้ จักมีในบัดนี้.
.
บทว่า อตฺโถ พาลํ อุปจฺจคา ความว่า ประโยชน์ กล่าวคือการได้เจ้าสาว ผ่านพ้นคนโง่ผู้เป็นชาวเมืองนี้.
.
บทว่า อตฺโถ อตฺถสฺส นกฺขตฺตํ ความว่า บุคคลเที่ยวแสวงหาประโยชน์ใด ประโยชน์ที่เขาได้แล้วนั่นแหละ ชื่อว่าเป็นฤกษ์ของประโยชน์.
.
บทว่า กึ กริสฺสนฺติ ตารกา ความว่า ก็ดวงดาวทั้งหลายในอากาศนอกจากนี้ จักยังประโยชน์เช่นไรให้สำเร็จได้.
.
พวกชาวเมืองทะเลาะกับพวกนั้นแล้ว ก็ไม่ได้เจ้าสาวอยู่นั่นเอง เลยพากันไป.
.
แม้พระบรมศาสดาก็ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น ที่อาชีวกนั้นทำการขัดขวางงานมงคลของตระกูลนั้น ถึงในครั้งก่อน ก็ได้กระทำแล้วเหมือนกัน.
.
ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาตรัสแล้ว ทรงสืบอนุสนธิ ประชุมชาดกว่า
.
อาชีวกในครั้งนั้น ได้มาเป็นอาชีวกในครั้งนี้
.
แม้ตระกูลทั้งนั้นในครั้งนั้น ก็ได้มาเป็นตระกูลในครั้งนี้
.
ส่วนบุรุษผู้เป็นบัณฑิต ผู้ยืนกล่าวคาถา ได้มาเป็น เราตถาคต ฉะนี้แล.
.
.. อรรถกถา นักขัตตชาดก จบ.
.
.
.***********************************.
.
.
#ไม่เคยนำปืนไปจ่อหัวบังคับใครให้กระทำ
#การกระทำเป็นการกระทำด้วยกายวาจาใจของตนเองทั้งสิ้น
.
.
.
#กระทำถูกกฎระเบียบหน่วยงานราชการและบริษัทแต่ผิดกฎหมายต้องถูกดำเนินคดี
#กระทำถูกต้องตามกฎหมายแต่ผิดกฎแห่งกรรมต้องไปใช้กรรมเสมอ
.
.
.
#ของจริงต้องพิสูจน์ได้ด้วยตนเอง
.
#ต่อให้ไปไหว้พระพุทธรูปทั่วโลก
#ต่อให้ไปไหว้พระอริยสงฆ์ทั่วโลก
#ต่อให้ไปไหว้เทวรูปเทวดาทั่วโลก
#ไม่มีใครช่วยให้หนีกรรมพ้น
.
.
.
#ไม่ว่าใหญ่แค่ไหน
#ไม่ว่ารวยล้นฟ้าเพียงใด
#ไม่มีใครหนีกรรมพ้น
#แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังหนีกรรมไม่พ้น
.
.
.
#ต่อให้ใหญ่แค่ไหน
#ต่อให้รวยล้นฟ้าเพียงใด
#ไม่เคยมีใครหนีกรรมพ้น
#แม้แต่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังต้องชดใช้กรรม
#บุพกรรมพระพุทธเจ้า
.
.
คณะหลวงปู่บรมครูเทพโลกอุดร 1.หลวงปู่พระอุตรเถระเจ้า 2.หลวงปู่พระโสณเถระเจ้า 3.หลวงปู่พระมูนียะเถระเจ้า(หลวงปู่อิเกสาโร)4.หลวงปู่พระฌาณียะเถระเจ้า(หลวงปู่ขรัวขี้เถ้า) 5.หลวงปู่พระภูริยะเถระเจ้า(หลวงปู่หน้าปาน)