มงคลที่ ๕
เคยทำบุญในกาลก่อน
วิธีทำบุญ มีอยู่ ๑๐ อย่าง คือ
๑. ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
๒. สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
๓. ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา
๔. อปจายนมัย บุญสำเร็จด้วยการประพฤติถ่อมตนแก่ผู้ใหญ่
๕. เวยยาวัจจมัย บุญสำเร็จด้วยการขวนขวายในกิจ
๖. ปัตติทานมัย บุญสำเร็จด้วยการให้ส่วนบุญ
๗. ปัตตานุโมทนามัย บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ
๘. ธัมมัสวนมัย บุญสำเร็จด้วยการฟังธรรม
๙. ธัมมเทสนามัย บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม
๑๐. ทิฏฐชุกรรม การทำความเห็นให้ตรงฯ
วิมานของเทวดา และมีทิพยสมบัติ
ชนเหล่าใด แต่ชาติก่อนมีความเพียรก่อสร้างสั่งสมกองการบุญกุศลทั้งหลาย
แต่กาลก่อนดังกล่าวมา ย่อมให้สำเร็จสมบัติ ๓ คือ
๑. มนุษย์สมบัติ
๒. สวรรค์สมบัติ
๓. นิพพานสมบัติ
ด้วยพระศาสดาทรงตรัสไว้ว่า
" บุคคลใดได้สร้างกุศลไว้ดีแล้วแต่ปางก่อน
ย่อมเป็นนิสัยทางมรรคผลแห่งบุคคลนั้น
ได้สำเร็จดังสิ่งที่หวัง "
มงคลที่ ๖
ความตั้งตนไว้ชอบ
การตั้งตนไว้ในกุศลกรรมบท ๑๐ ประการ และมรรคมีองค์ ๘ ประการ
ฆ่าไก่
เล่นการพนัน ทะเลาะกัน
กุศลกรรมบท ๑๐ ประการ
กายกรรม ๓ อย่าง
๑. ปาณาติปาตา เวรมณี เว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง
๒. อทินนาทานา เวรมณี เว้นจาการถือเอาสิ่งของที่เจ้าของเขาไม่ได้ให้ ด้วยการขโมย
๓. กาเมสุ มิจฉาจารา เวรมณี เว้นจากการประพฤติผิดในกาม
วจีกรรม ๔ อย่าง
๑. มุสาวาทา เวรมณี เว้นจากการพูดเท็จ
๒. ปิสุณาย วาจาย เวรมณี เว้นจากการพูดส่อเสียด
๓. ผรุสาย วาจาย เวรมณี เว้นจากการพูดคำหยาบ
๔. สัมผัปปลาปา เวรมณี เว้นจากการพูดเพ้อเจ้อ
มโนกรรม ๓ อย่าง
๑. อนภิชฌา ไม่โลภอยากได้ของเขา
๒. อัพยาปาท ไม่พยาบาทปองร้ายเขา
๓. สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรมฯ
มรรคมีองค์ ๘
๑. สัมมาทิฏฐิ ปัญญาอันเห็นชอบ คือเห็นอริยสัจ ๔ มี
๑.๑ ทุกข์ คือ ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ
๑.๒ สมุหทัย คือ เหตุให้เกิดทุกข์
๑.๓ นิโรธ คือ ทางดับทุกข์
๑.๔ มรรค คือ ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์
๒. สัมมาสังกัปปะ ดำริชอบ คือ
๒.๑ ดำริที่จะออกจากกาม
๒.๒ ดำริที่จะไม่พยาบาท
๒.๓ ดำริที่จะไม่เบียดเบียน
๓. สัมมาวาจา เจรจาชอบ คือเว้นจากวจีทุจริต ๔
๓.๑ มุสาวาท เวรมณี คือไม่พูดปดล่อลวงอำพรางท่านผู้อื่น
๓.๒ ปิสุณาย วาจาย เวรมณี ไม่พูดส่อเสียดยุยงให้ผู้อื่นแตกร้าวจากกันด้วยความอิจฉา
๓.๓ ผรุสาย วาจาย เวรมณี ไม่กล่าวคำหยาบ ด่าชาติตระกูลผู้อื่น
๓.๔ สัมผัปปลาปา เวรมณี ไม่กล่าวคำที่หาประโยชน์มิได้ในชาตินี้ และชาติหน้า
๔. สัมมากัมมันตะ ทำการงานชอบ คือ เว้นจากการทุจริต ๓
๔.๑ ปาณาติปาตา เวรมณี ไม่ฆ่าสัตว์ทั้งหลายที่มีชีวิต ให้ตายด้วยกาย และวาจา
๔.๒ อทินนาทานา เวรมณี ไม่ลักฉ้อข้าวของที่เจ้าของเขาไม่ให้ ด้วยกาย และวาจา
๔.๓ กาเมสุมิจฉาจารา เวรมณี เป็นบุรุษไม่ร่วมประเวณีในสตรีที่มีคนหวงแหนรักษา เป็นสตรีไม่นอกใจสามีไปคบบุรุษอื่น
๕.สัมมาอาชีวะ เลี้ยงชีวิตชอบ คือ เว้นการเลี้ยงชีวิตในทางที่ผิด
gทำงานในบ้านตน
จักสาน
ค้าขาย
ปั้นหม้อ
๖. สัมมาวายามะ เพียรชอบ คือ เพียรในที่ ๔ สถาน มีดังนี้คือ
๖.๑ เพียรระวัง คือ ระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้นในจิตใจ
๖.๒ เพียรละ คือ ละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้เกิดขึ้นอีก
๖.๓ เพียรเจริญ คือ ละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้เกิดขึ้นอีก
๖.๔ เพียรรักษา คือ รักษาความดีที่ทำแล้ว ไม่ให้เสื่อมไป ให้อยู่ในจิตใจของตนตลอดไป
๗. สัมมาสติ ระลึกชอบคือ ระลึกในสติปัฏฐานทั้ง ๔
สติปัฏฐาน แปลว่า การตั้งสติไว้เป็นประธานเป็นเบื้องหน้า
การตั้งมั่นแห่งสติ หรือว่าสติที่เข้าไปตั้งมั่นในอารมณ์ มี ๔ ประการคือ
๑. สติกำหนดพิจารณาว่า กายนี้ก็สักว่ากาย ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา
๒. สติกำหนดพิจารณาดูเวทนา คือ สุข ทุกข์ และไม่ใช่ทุกข์ ไม่ใช่สุข เป็นอารมณ์ว่า เวทนานี้ก็สักว่าเวทนา ไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน เรา เขา
๓. สติกำหนดพิจารณา ดูใจที่เศร้าหมองหรือผ่องแผ้วเป็นอารมณ์ว่า ใจนี้ก็สักว่าใจ
๔. สติกำหนดพิจารณาดูธรรมที่เป็นกุศล ที่บังเกิดขึ้นกับใจเป็นอารมณ์ว่า ธรรมนี้ก็สักว่าธรรม
๘. สัมมาสมาธิ ตั้งใจไว้ชอบ คือ เจริญฌานทั้ง ๔ ในที่นี้จะไม่ขออธิบาย
บุคคลใดตั้งตนไว้ในกุศลกรรมบท ๑๐ อย่างและ มรรค์มีองค์ ๘ เป็นมงคลอันประเสริฐ
--------------
มงคลที่ ๗
ความได้ฟังมามาก
ในหลวงทรงวางนโยบายโครงการหลวง
การฟังแล้วจะได้ประโยชน์ต้องฟังด้วยดี
คือสนใจตั้งใจฟัง ฟังแล้วต้องพิจารณาใคร่ครวญตาม
แล้วจึงจะเชื่อเหมือนกับมีคำวลีย่อมา ๔ คำ คือ
สุ จิ ปุ ลิ
๑. สุ สุตตะ การฟัง การฟังที่ดีต้องตั้งใจฟัง ฟังแล้วอย่าพึ่งเชื่อ
การไม่เชื่อ นั้นไม่ใช่ไม่เชื่อเลย ต้องคิดตามในหัวข้อที่กำลังฟัง
๒. จิ จิตตะ ใจจดจ่อ เมื่อมีใจจดจ่อในเรื่องที่เราฟังแล้ว
ทำให้เกิดแง่คิดเป็นคำถามขึ้น ก็ต้องดูในหัวข้อต่อไป
๓. ปุ ปุจฉา การถาม เมื่อมีความสงสัยอันเกิดจากการขบคิดปัญหา
ก็ต้องถามในคำถามที่เราสงสัยให้หายคลางแคลงในสิ่งนั้นๆ แต่เมื่อถามแล้วได้คำตอบแล้ว
เพื่อกันลืมทีหลังเราก็ต้องทำในข้อต่อมาว่า
๔. ลิ ลิขิต การเขียน การเขียนในสิ่งที่เราได้คำตอบ
เพื่อที่จะได้ไม่ลืมในภายหลังเมื่อถึงเวลาที่เราทบทวนในิส่งที่เราสงสัยอีก
เมื่อบุคคลใดที่ได้ฟังมาแล้ว ไม่ลืมคำว่า สุ จิ ปุ ลิ บุคคลนั้นก็จะได้ชื่อว่าเป็นพหูสูตร