คลังธรรมปัญญา > หนังสือธรรมะ

ชัมบาลา : บทที่ ๑ สร้างสังคมอริยะ

(1/2) > >>

มดเอ๊กซ:
ชัมบาลา : บทที่ ๑ สร้างสังคมอริยะ



https://www.youtube.com/v//qQeDSVsK4Xs

https://youtu.be/qQeDSVsK4Xs?si=R4J4R1vG1u8Bv9Zs

ตามลิ้งไป จบเล่มเลย https://youtube.com/playlist?list=PLV8Tyvuuh60Gzj63YdX_62gwt2EMxIPT4&si=OJzmi3ERrQcyBAOr

คำนำสำนักพิมพ์
 
เมื่อกองทัพของจีนคอมมิวนิสต์บุกเข้ายึดคริงธิเบตนั้น ในด้านหนึ่งนับเป็นความสูญเสีย
อย่างใหญ่หลวงของธิเบต แต่อีกด้านหนึ่งกลับเป็นโอกาสให้ธิเบตนำศาสนาและวัตนธรรม
อันลึกซึ้งของตนเอง ออกไปเผยแพร่แก่โลกภายนอกอย่างไม่เคยมีมาก่อน พุทธศาสนา
อย่างธิเบตไม่เพียงแต่ย้ายที่มั่นไปอยู่ ณ อินเดีย หากยังเผยแพร่ไปสู่โลกตะวันตกโดยเฉพาะ
อย่างยิ่งในสหรัฐอเมริกา และได้รับความนิยมเป็นอันมาก เช่นเดียวกับเซนจากญี่ปุ่น ซึ่งแพร่
หลายอยู่ก่อนหน้าแล้ว ทั้งนี้ด้วยความสามารถของผู้นำศาสนาของธิเบตนั่นเอง
ในบรรดาผู้ศาสนาของธิเบตที่ได้รับความนิยม ที่มีอิทธิพลถึงคนรุ่นใหม่เป็นอย่างมากมีสอง
ท่าน คือ ทารถัง ตุลกุ และ เชอเกรียม ตรุงปะ สำหรับท่านแรกนั้นมีลีลาการแสดงธรรมอย่าง
เรียบๆ ง่ายๆ ดังที่มูลนิธิ ได้เคยเสนอผลงานบางชิ้นของท่านออกสู่พากษ์ไทยด้วยแล้ว ในชื่อ
ดุลยภาพแห่งชีวิต (วัชรา ทรัพย์สุวรรณ แปลจาก Gesture of Balance)
ส่วนท่านหลังนั้นตรงกันข้าม คือมีลีลาการเทศนาและเขียนที่มีชั้นเชิงน่าสนใจไปอีกแนวหนึ่ง
ทั้งยังมีปฏิปทาบางอย่างที่ท้าทายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างมากด้วย และมูลนิธิ ก็ได้เคยจัด
พิมพ์ผลงานชิ้นนั้นของท่านเผยแพร่มาแล้วเช่นกัน ในชื่อ ลิงหลอกเจ้า : ลอกคราบวัตถุนิยม
ทางศาสนา(วีระ สมบูรณ์ และ พจนาถ จันทรสันติ แปลจาก Cutting Through
Spiritual Materialism)
 

 
หนังสือ ซัมบาลา : หนทางอันศักดิ์สิทธิ์ของนักรบนี้ แปลจากเรื่อง Shambhala : The
Sacred Path of the Warrior ซึ่งนอกจากจะเป็นเรื่องล่าสุดของเชอเกียม
ตรุงปะแล้ว ยังเป็นเล่มสุดท้ายก่อนสิ้นชีพอีกด้วย จึงนับเป็นหนังสือที่น่าสนใจมากเล่มหนึ่ง เนื้อหา
ในเล่มนอกจากจะกล่าวถึงความจริงแท้และความดีงามในตัวของปัจเจกบุคคลที่สามารถฝึกฝนตน
ให้สมบูรณ์พร้อมด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตน มีชีวิตชีวา อาจหาญและลุ่มลึก จนเข้าถึงการดำรงอยู่
อย่างแท้จริงและกว้างใหญ่ไพศาล พร้อมกับให้หลักการปฏิบัติอย่างเป็นขั้นตอนจนถึงจุดหมาย และ
ให้คุณลักษณะของนักรบอาจารณ์ผู้นำทางเป็นแบบอย่างอันสมบูรณ์ไว้แล้ว ยังให้ความรู้เกี่ยวกับ
ธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมความเชื่อแต่โบราณของธิเบต สอดแทรกอยู่ด้วยอย่างน่าติดตาม
อีกทั้งยังได้ผู้แปลซึ่งนอกจากมีความสามารถทางอักษรศาสตร์แล้ว ก็ยังมีศรัทธาปสาทะในชีวิตการ
แสวงหา บรรจงแปลไห้อย่างดี หนังสือเล่มนี้จึงควรแก่การลิ้มลองอย่างยิ่ง
 
สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง

มดเอ๊กซ:


ประวัติผู้เขียน
 
เชอเกียม ตรุงปะ รินโปเช ได้ก่อตั้งชมรมชาวพุทธผู้ภาวนาขึ้น หลายแห่งในอเมริกาเหนือ
ชุมชนที่ใหญ่ที่สุดคือกรรม ซอง ในบุลเดอร์ โคโรลาโด และ กาเม โนหลิง ในบาร์เนต เวอร์
มอน ท่านยังเป็นผู้ก่อตั้งสถาบันนโรปะ อันเป็นสถานศึกษา ซึ่งนักศึกษาอาจค้นคว้าภูมิ
ปัญญาแบบพุทธควบคู่ไปกับภูมิปัญญาของตะวันตก ในฐานะผู้อำนวยการและครูใหญ่ใน
สถานศึกษาแห่งนี้ ท่านยังเป็นทั้งกัลยาณมิตรและเป็นครูวิปัสสนาของนักศึกษาจำนวนมาก
ในฐานะที่ท่านถูกนับเนื่องเป็นอวตารชาติที่สิบเอ็ดของตรุงปะ ตุลกุ ในวัยเด็ก ท่านจึงได้รับ
การอบรมบ่มเพาะอย่างเข้มงวด เพื่อให้สืบทอดเป็นเจ้าอาวาสอารามเชอร์มังในธิเบตตะวัน
ออก หลังจากผ่านการฝึกฝนอบรมอย่างหนัก ท่านก็ได้รับการอภิเษกให้สืบทอดเป็นธรรม
ทายาทของมิลาเรปะและปัทมสัมภาวะ ท่านได้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานและปรัชญาตาม
แนวทางสายกาคิวและยิงมาจนเจนจัด
 
ตรุงปะ จำต้องอพยพลี้ภัยออกจากแผ่นดินถิ่นเกิดเมื่อครั้งที่จีนคอมมิวนิสต์ ได้เข้ายึดครอง
ธิเบตเมื่อปี ๑๙๕๙ หลังจากได้พำนักอยู่ในอินเดียเป็นเวลา ๓ ปี ท่านได้เดินทางไปประเทศ
อังกฤษเพื่อศึกษาศาสนาเปรียบเทียบและจิตวิทยา ณ มหาวิทยาลัยอ๊อกฟอร์ด สี่ปีหลังจากนั้น
ท่านได้ก่อตั้งศูนย์ศึกษาพุทธศาสนาแบบธิเบตและภาวนาขึ้นในโลกตะวันตกเป็นแห่งแรก นั่น
คือสัมเย หลิงในสกอตแลนด์ ตรุงปะได้ไปเยือนอเมริกาเหนือในปี ๑๙๗0 และด้วยเหตุที่มี
ผู้สนใจในคำสอนของท่านเป็นจำนวนมาก ท่านจึงได้ตัดสินใจพำนักอยู่ในประเทศนั้น
 
ท่านได้ตระเวณไปทั่วสหรัฐอเมริกา และ แคนาดา เข้าร่วมสัมมนาและแสดงปฐกถาธรรม
ท่านยังได้เขียนหนังสือขึ้นหลายเล่ม เป็นอัตชีวประวัติเล่มหนึ่งชื่อว่า Born in Tibet
นอกจาก นั้นยังมีงานทางด้านพุทธธรรมหลายเล่ม อาทิเช่น มุทรา :Cutting Through
Spiritual Materialism ( ลิงหลอกเจ้า : ลอกคราบวัตถุนิยมทางศาสนา ) ;
Meditation in Action ; The Myth of Freedom ; Journey
Without Goals ; The Tibetan Book of theDead และ Shambhala :
The Sacred Path of the Warior.
 
ตรุงปะถึงแก่กรรมเมื่อ ๔ เมษายน ๑๙๘๗ มีอายุเพียง ๔๗ ปี

มดเอ๊กซ:


คำนำ
 
ข้าพเจ้ารู้สึกยินดีที่ได้นำเสนอ ญาณทัศนะซัมบาลาไว้ในหนังสือเล่มนี้ สารัตถธรรมนี้เองคือสิ่ง
ที่โลกกระหายและต้องการ อย่างไรก็ตามข้าพเจ้าจะต้องกล่าวไว้อย่างชัดเจนในที่นี้ว่า เนื้อหา
สาระในหนังสือเล่มนี้ มิได้เผยถึงความลี้ลับประการใด ๆ แห่งพุทธศาสนาสายตันตระ ซึ่งสืบ
เนื่องอยู่ในหลักธรรมคำสอนของซัมบาลา ทั้งมิได้นำเสนอถึงหลักปรัชญาของกาลจักร หากทว่า
หนังสือเล่มนี้คือคู่มือของบรรดาผู้คน ซึ่งได้หลงลืมหลักการแห่งความศักดิ์สิทธิ์ เกียรติภูมิและ
ความเป็นนักรบในชีวิตของตน เนื้อหาของหนังสือจึงยืนพื้นอยู่บนหลักการของนักรบ ซึ่งแฝงเร้น
อยู่ในอารยธรรมโบราณของอินเดีย ธิเบต จีน ญี่ปุ่น เกาหลี หนังสือเล่มนี้ชี้ให้เห็นว่า จะขัดเกลา
วิถีชีวิตของตนได้อย่างไร และจะก่อเกิดความหมายที่แท้จริงของนักรบขึ้นมาได้อย่างไร มันได้รับ
แรงบันดาลใจมาจากแบบฉบับและปรีชาญาณของมหาราชธิเบตองค์หนึ่งคือ เกซาร์ แห่งหลิง
จากความลุ่มลึกสุดหยั่งถึงและ ความไม่หวาดหวั่นของพระองค์ รวมถึงการที่ทรงมีชัยต่อความ
ป่าเถื่อน โดยใช้หลักการแห่ง พยัคฆ์ ราชสีห์ ครุฑ มังกร ซึ่งได้กล่าวถึงแล้วในหนังสือเล่มนี้
ในฐานะของเกียรติภูมิสี่ประการ
 
ข้าพเจ้ารู้สึกเป็นเกียรติและภูมิใจเป็นอย่างยิ่ง ที่ในอดีตได้มีโอกาส นำเสนอถึงปรีชาญาณและ
เกียรติภูมิแห่งชีวิตมนุษย์ ภายใต้แนวคิดของหลักธรรมคำสอนแห่งพระพุทธศาสนา ทว่าบัดนี้
ก็ยังรู้สึกยินดีที่จะได้นำเสนอหลักการนักรบซัมบาลาเป็นที่สุด ทั้งชี้ให้เห็นว่า เราอาจประพฤติ
ตนเยี่ยงอย่างนักรบ โดยปราศจากความหวาดหวั่น และ เต็มไปด้วยความเบิกบานได้อย่างไร
โดยไม่จำเป็นต้องทำร้ายกันและกัน โดยนัยนี้เองที่ญาณทัศนะแห่งอาทิตย์อุทัยอันยิ่งใหญ่จะได้
รับการฟูมฟักขึ้นมา และดวงใจทุก ๆ ดวงก็จะประจักษ์แจ้งถึงความดีงามอย่างไม่ต้องสงสัย
 
ดอราจ ดราดุล แห่งมุกโป
บุลเดอร์ โคโลราโด
สิงหาคม ๑๙๘๓

มดเอ๊กซ:

 
โอม ! ท่านผู้ปราศจากจุดเริ่มต้นและไร้จุดจบผู้ครอบครองความรุ่งรุ่งโรจน์ของพยัคฆ์ ราชสีห์ ครุฑ และ มังกรผู้ครองครองความเชื่อมั่นอันเปี่ยมล้นเกินถ้อยคำข้าขอกราบประณต ณ เบื้องบาทแห่งองค์จักรพรรดิริกเดน
 
 
จากกระจกเงาอันยิ่งใหญ่แห่งจักรวาลซึ่งปราศจากจุดเริ่มต้นและไร้จุดจบสังคมมนุษย์ก็อุบัติขึ้นมาในครั้งนั้น การหลุดพ้นและความสับสนก็อุบัติขึ้นด้วยเมื่อมีความกลัวและความสับสนสงสัยเกิดขึ้นกับความเชื่อมั่นซึ่งเป็นอิสระแต่ปฐมกาลผู้คนอันขาดเขลาจำนวนมากก็อุบัติขึ้นเมื่อความเชื่อมั่นซึ่งเป็นอิสระแต่ปฐมกาลได้รับการยอมรับและดำเนินตามนักรบจำนวนมากก็อุบัติขึ้นผู้คนอันขลาดเขลามากมายเหล่านั้นพากันซ่อนตัวอยู่ตามถ้ำเถื่อนพงไพรฆ่าพี่น้องและกัดกินเนื้อกันเองต่างประพฤติเยี่ยงอย่างสัตว์ต่างกระตุ้นเร้าความป่าเถื่อนในกันและกันต่างมีชีวิตอยู่เยี่ยงนี้เขาหล่อเลี้ยงและสุมไฟแห่งความเกลียดชังไว้เขากวนสายน้ำแห่งราคะให้ขุ่นข้นตลอดเวลาเขาเกลือกกลิ้งอยู่ในโคลนตมแห่งความเกลียดคร้านยุคสมัยแห่งความอดอยากและโรคระบาดก็อุบัติขึ้นสำหรับผู้ที่อุทิศตนแด่ความเชื่อมั่นแห่งปฐมกาลเหล่านักรบมากมายเหล่านั้นบ้างก็ขึ้นสู่ที่สูงบนภูเขาและสร้างปราสาทแก้วผลึกอันงดงามขึ้นที่นั่นบ้างก็ไปสู่ดินแดนแห่งทะเลสาบและเกาะแก่งอันงดงามและสถาปนาเวียงวังอันน่ารื่นรมย์ขึ้นบ้างก็ลงสู่ที่ราบลุ่มการเกษตรเพาะปลูกข้าวเจ้า ข้าวบารืเลย์และข้าวสาลีต่างอยู่ร่วมกันโดยไม่ทะเลาะเบาะแว้งมีแต่ความรักใคร่และเอื้อเฟื้อแบ่งปันโดยไม่ต้องมีใครมากระตุ้นเตือนผ่านความลี้ลับสุดหยั่งถึงซึ่งการดำรงอยู่ด้วยตนเองเขาต่างอุทิศตนต่อจักรพรรดิริกเดน .

มดเอ๊กซ:

 
 
 
สารบาญ
 
ภาค ๑ จะเป็นนักรบได้อย่างไร
 
บทที่ ๑ สร้างสังคมอริยะ
บทที่ ๒ ค้นหารากฐานแห่งความดีงาม
บทที่ ๓ ใจเศร้าที่แท้จริง
บทที่ ๔ ความกลัวกับความไม่หวาดหวั่น
บทที่ ๕ ประสานจิตกับกาย
บทที่ ๖ รุ่งอรุณแห่งอาทิตย์อุทัยอันยิ่งใหญ่
บทที่ ๗ รังดักแด้
บทที่ ๘ การตัดทอนและความกล้า
บทที่ ๙ เฉลิมฉลองการเดินทาง
บทที่ ๑o ปล่อยให้เป็นไป
 
ภาค ๒ ความศักดิ์สิทธิ์ : โลกของนักรบ
 
บทที่ ๑๑ ปัจจุบันขณะ
บทที่ ๑๒ ค้นหาอำนาจวิเศษ
บทที่ ๑๓ จะปลุกอำนาจวิเศษขึ้นมาได้อย่างไร
บทที่ ๑๔ เอาชนะความหยิ่งยโส
บทที่ ๑๕ เอาชนะนิสัยและความเคยชิน
บทที่ ๑๖ โลกศักดิ์สิทธิ์
บทที่ ๑๗ ระบบธรรมชาติ
บทที่ ๑๘ จะปกครองอย่างไร
 
ภาค ๓ ปัจจุบันขณะอันแท้จริง
 
บทที่ ๑๙ กษัตราธิราช
บทที่ ๒o การดำรงอยู่อย่างแท้จริง
บทที่ ๒๑ สืบสายสกุลซัมบาลา

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

ตอบ

Go to full version