ผู้เขียน หัวข้อ: หายใจให้เป็นสุข : สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก  (อ่าน 77 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


หายใจให้เป็นสุข : พระโอวาทธรรมบรรยายในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก



"หายใจให้เป็นสุข" เป็นการรวบรวมพระโอวาทธรรมบรรยายกัมมัฏฐานในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก

ได้รับหนังสือ "หายใจให้เป็นสุข" ซึ่งเป็นการรวบรวมพระโอวาทธรรมบรรยายกัมมัฏฐานในสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ที่เป็นประจำทุกวันพระและหลังวันพระ ณ ตึก ส.ว. ธรรมนิเวศ วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นเวลายาวนานกว่า 30  ปี ซึ่งหนังสือนี้ได้รวบรวมไว้ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุครบ 95 พรรษา ในวันคล้ายวันประสูติ 3 ตุลาคม 2551  จัดพิมพ์โดยบริษัท ซไท-กราฟ จำกัด  โดยแจกเป็นธรรมทาน

ลมหายใจเข้าออกของทุก ๆ คนนี้ เป็นแหล่งบังเกิดขึ้นแห่งสมาธิและปัญญา ซึ่งพระพุทธเจ้าเองตามที่ปรากฎในพระสูตรก็ได้ทรงจับปฏิบัติกำหนด  ซึ่งผู้ปฎิบัติควรจะถือเอาหลักที่ทรงสั่งสอนไว้ด้วยพระองค์เองในการทำอานาปานัสสติเป็นหลักสำคัญ พิจารณาให้เข้าใจในแนวปฏิบัติที่ตรัสสอนไว้ ส่วนแนวปฏิบัติของพระอาจารย์ทั้งหลาย เลือกปฏิบัติมาประกอบเข้าตามที่เหมาะสมแก่อัธยาศัยของตน  โดยการตั้งสติไว้จำเพาะหน้า คือไม่ส่งสติไปข้างไหนเป็นสิ่งที่ต้องทำ การรวมใจเข้ามาจากลมหายใจเข้าลมหายใจออก ก็จะปรากฏแก่ความรู้ เพราะว่าจิตนี้เป็นธาตุรู้ จิตอยู่ที่ไหนก็รู้ที่นั้น เมื่อจิตเกาะอยู่กับอารมณ์ภายนอก เข้ามาตั้งอยู่ในลมหายใจเข้า ลมหายใจออก ก็ย่อมรู้ลมหายใจเข้าลมหายใจออกได้       

จิตเป็นธรรมชาติประภัสสร คือผุดผ่อง แต่จะเศร้าหมองไปเพราะอุปกิเลสคือเครื่องเศร้าหมองที่จรเข้ามา จิตเป็นธรรมชาติที่น้อมได้ ถ้าน้อมไปทางความชั่ว ก็จะคุ้นเคยกับความชั่ว ถ้าน้อมไปทางความดี ก็จะคุ้นเคยกับความดี  ธรรมชาติของจิตอีกอย่างหนึ่งก็คือเป็นธาตุรู้ รับอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ  ประกอบขึ้นเป็นอารมณ์ หากความรับรู้ของจิตยังเป็นแค่มายา ก็จะบังเกิดความยินดี ยินร้ายในอารมณ์ จึงปรากฎเป็นราคะ , โลภะ , โทสะ และโมหะ ได้


พระพุทธเจ้าทรงตรัสให้รูจักว่าอย่างไรเป็นอกุศลกรรม อย่างไรเป็นกุศลกรรม การที่จะได้ปัญญาพิจารณาให้เห็นสัจจะ ให้จิตใจตนเองรับรองด้วยนั้น ไม่ใช่เพียงแต่เชื่อในพระวาจาตรัสเท่านั้น จิตใจของตนเองต้องมีการชำระในบริสุทธิ์ผ่องใสด้วย

เริ่มต้นจากการประพฤติในศิล

ต่อด้วยการปฏิบัติในสมาธิ เช่น อานาปานัสสติ (สติกำหนดลมหายใจเข้าออก) ซึ่งจิตจะรวมเป็นเอกัคคตา (ความมีอารมณ์เป็นอันเดียวกันของจิต) เป็นสมาธิได้ตั้งแต่ขั้นบริกรรม (ปฎิบัติกำหนด) ขั้นอุปจาร (ใกล้ที่จะสงบแน่วแน่) และขั้นอัปปนา (แน่วแน่)               

จากนั้นเป็นการบำเพ็ญภาวนา ให้เห็นสุจจะว่าความจริงล้วนเป็นอนิจจังไม่เที่ยงต้องเกิดต้องดับ


      การบรรลุผล ไม่ใช้บรรลุได้ด้วยความคิดว่าจะบรรลุหรืออยากบรรลุ แต่อยู่ด้วยการปฏิบัติ ซึ่งธรรมะก็จะสนับสนุนส่งผู้ปฏิบัติขึ้นไปตามลำดับเอง

จาก https://www.gotoknow.org/posts/219976


<a href="https://www.youtube.com/v//U-fcXgrE_MY" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//U-fcXgrE_MY</a>

https://youtu.be/U-fcXgrE_MY?si=z5yLLzm80XY77m7L

<a href="https://www.youtube.com/v//9eOCkoIgFxE" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//9eOCkoIgFxE</a>

https://youtu.be/9eOCkoIgFxE?si=CDtg9GO2kbAwADri

<a href="https://www.youtube.com/v//6COzAUCL9NI" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//6COzAUCL9NI</a>

https://youtu.be/6COzAUCL9NI?si=9Utd__uPPM3Llo0-

Playlist จนจบเล่ม https://youtube.com/playlist?list=PLTW9hmmylYtrEbVsy07lzjEu1nrB1Mm_m&si=pT9HmwIN-zuH7yPb
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...