Development of a Symbol - Elephant symbolising Action
https://www.youtube.com/v//vHzoiOzbLbchttps://youtu.be/vHzoiOzbLbc?si=gPS-t2axPbjuIGkOสมถกัมมัฏฐานแบบทิเบตสมถกัมมัฏฐานเป็นวิธีการฝึกอบรมจิตเพื่อให้เกิดความสงบเป็นสมาธิ ซึ่งมีหลายรูปแบบ เช่น อานาปานสติ อสุภกัมมัฏฐาน และกสิ เป็นต้น
ภาพแสดงให้เห็นถึงขั้นตอนการฝึกปฏิบัติตั้งแต่ชั้นแรกจนบรรลุสำ เร็จถึงสมาธิชั้นสูงสุด
เริ่มด้วยการกล่าวถึงสุตพละคือกำลังแห่งการฟัง หมายถึงการได้รับฟังคำอธิบายจากผู้รู้ถึงสมถกัมมัฏฐานแล้วจึงฝึกปฏิบัติ
พระโยคาวจรคือผู้ฝึกปฏิบัติถือ
เชือกและปฏักหมายถึงสติและสัมปชัญญะคอยกำกับจิต
ช้างคือจิต สีดำ ของช้าง หมายถึงความง่วงเหงาซึมเซาของจิต
ลิงดำ หมายถึงกามคุณ ๕ ที่คอยชักพาจิตให้ ฟุ้งซ่าน
เปลวเพลิงกองใหญ่หมายถึงในระยะแรกของการฝึกปฏิบัตินั้นต้องใช้กำลัง แห่งสติสัมปชัญญะอย่างยิ่งจึงจะมีความก้าวหน้า
ภาพพระโยคาวจรที่ใช้เชือกคือสติผูกช้างได้แล้ว ลิงและช้างเริ่มตัวสีขาว มากขึ้นมีกระต่ายหันหน้าไปหาพระโยคาวจร หมายถึงจิตที่มีความฟุ้งซ่านและ ง่วงเหงาซึมเซาน้อยลง
และเมื่อจิตสงบยิ่งขึ้นความรู้สึกนึกคิดจากกามคุณ ๕ ได้แก่
รส สัมผัส เสียง กลิ่น และรูป จะค่อยๆ จางคลายและดับไปในที่สุด ภาพแสดง ด้วยผลไม้ ๓ ผล จีวร ฉิ่งหนึ่งคู่ หอยสังข์ และกระจกเงา ตามลำดับ
ภาพลิงขาวเกาะบนต้นไม้หมายถึงจิตที่มีกุศล ซึ่งกุศลกรรมทั้งหลายที่จิตไปคิดถึงยังถือว่าอาจทำ ให้ฟุ้งซ่านได้
ในขั้นนี้ต้องขจัดให้หมดไปโดยใช้กำลังแห่ง สติสัมปชัญญะหน่วงจิตให้กลับมา แสดงด้วยภาพพระโยคาวจรใช้เชือกและปฏัก จูงช้าง
ลิง และกระต่ายที่ขาวครึ่งตัว เมื่อจิตมีความสงบเพิ่มขึ้นความฟุ้งซ่านดับลง
ภาพกระต่ายหายไป กามคุณ ๕ ดับลงจนสิ้นภาพลิงหายไป และพระโยคาวจร สามารถควบคุมช้างขาวทั้งตัวให้หมอบอยู่ข้างๆ ได้ คือความง่วงซึมเซาหายไปสิ้น
เปรียบเหมือนจิตตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวคืออารมณ์แห่งกัมมัฏฐานนั้นๆ ปรากฏ รุ้งหลากสีทอดออกจากอกพระโยคาวจร
สุดท้ายพระโยคาวจรลอยลิ่วไปหมายถึงปีติแห่งกาย
และนั่งบนหลัง ช้างได้หมายถึงบรรลุถึงสมาธิอันแท้จริงมีปีติแห่งจิต
เปลวเพลิงสีขาวหมายถึง
สติสัมปชัญญะนั้นแนบแน่นสนิทกับดวงจิตแล้ว กำลังขอ สติสัมปชัญญะอัน คล่องแคล่วว่องไวของพระโยคาวจรจะช่วยให้จิตเข้าถึงกำลังแห่งวิปัสสนา เพื่อให้
ได้มาซึ่งความหมายอันสูงสุดแห่งสุญญตาอันเป็นปรมัตถสัจจะของปรากฏการณ์ ทั้งหลาย