ผู้เขียน หัวข้อ: “พระสังฆราชไก่เถื่อน” พระอาจารย์กษัตริย์ ๔ พระองค์! ไก่ป่าก็เชื่องด้วยเมตตาธรรม  (อ่าน 38 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


พระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน

พระสังฆราช สุก ไก่เถื่อน สมเด็จพระอริยวงษญาณ (สุก ญาณสังวร) สถิต วัดราชสิทธารามราชวรวิหาร วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ราชวรมหาวิหาร

<a href="https://www.youtube.com/v//X_0emaWCBVY" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//X_0emaWCBVY</a> 

https://youtu.be/X_0emaWCBVY?si=IRG48RqOYBzlBrpS

“พระสังฆราชไก่เถื่อน” พระอาจารย์กษัตริย์ ๔ พระองค์! แม้แต่ไก่ป่าก็เชื่องด้วยเมตตาธรรม!!


หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “พระสังฆราชไก่เถื่อน” ปรากฏอยู่ในพงศาวดารหลายแห่ง และแปลกใจในฉายาของสมเด็จพระสังฆราชองค์นี้ ซึ่งเรื่องราวของท่านเล่ากันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ท่านไม่ได้เป็นพระที่มีชื่อเสียงทางอิทธิปาติหาริย์เวทมนต์คาถาใดๆ แต่เลื่องลือในด้านมีเมตตาธรรมสูง แม้แต่ไก่ป่าที่ไม่มีความไว้วางใจในมนุษย์ ใครเลี้ยงอย่างไรก็ไม่ยอมเชื่อง แต่กลับมาอยู่ในวัดเดินตามท่านเป็นฝูง มีความเชื่องเหมือนเป็นไก่วัด

พระสังราชไก่เถื่อน คือสมญานามของ สมเด็จพระอริยวงษญาณ (สุก ญาณสังวร) สังฆราชองค์ที่ ๔ ของกรุงรัตนโกสินทร์ ประสูติในปี ๒๒๗๗ รัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ อุปสมบทเป็นเณรที่วัดท่าข่อย ซึ่งเป็นวัดประจำตระกูลของท่านโดยทวดเป็นผู้สร้าง อยู่ในคลองปทาคูจาม ใกล้กับวัดพุทไธยศวรรย์ ปัจจุบันวัดท่าข่อยเป็นวัดร้างหลังจากมีชื่อใหม่ว่า วัดท่าหอย ทั้งนี้เนื่องจากพวกแขกจามที่เป็นเชลยศึกครั้งกรุงธนบุรีเข้ามาตั้งบ้านเรือนในย่านนี้ และสำเนียงเรียกวัดท่าข่อยเพี้ยนไปเป็นท่าหอย

สังฆราชไก่เถื่อนเป็นพระป่าฝ่ายวิปัสสนาธุระ รักความสงบวิเวกและมีเมตตาเปี่ยมล้นมาตั้งแต่เด็ก มักจะหลบไปหาความสงบในป่าโปร่งหลังบ้าน นั่งตามโคนต้นไม้ทำจิตวิเวก และแผ่เมตตาไปยังสัตว์ป่าทั้งหลายที่อยู่ในย่านนั้น กระแสจิตของท่านทำให้สัตว์เหล่านั้นรับรู้ได้ ไม่ว่าลิง นก หรือไก่ป่า จึงไม่ได้หลบหนีเพราะกลัวเกรงท่าน เชื่องจนเข้ามาอยู่ใกล้ๆ นานเข้าก็ไว้ใจกันมากขึ้นจนใกล้ชิด เมื่อท่านอุปสมบท สัตว์เหล่านั้นโดยเฉพาะไก่ป่าก็เข้ามาอยู่ในวัด และเดินตามท่านเป็นฝูงเหมือนเป็นไก่บ้านไก่วัด เป็นที่แปลกใจของผู้พบเห็นไปตามกัน



ในสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้ทรงสร้างวัดหลวงขึ้นใหม่ใกล้กับวัดพลับซึ่งเป็นวัดสำคัญฝ่ายอรัญวาสีของกรุงธนบุรี แล้วโปรดเกล้าฯให้รวมวัดทั้ง ๒ เข้าด้วยกัน อาราธนาพระญาณสังวรเถร (สุก) พระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระ จากวัดท่าหอย อยุธยา ที่เคยเสด็จไปพบและทรงเลื่อมใสศรัทธามาเป็นเจ้าอาวาส ทั้งยังโปรดให้พระเจ้าลูกยาเธอและพระบรมวงศานุวงศ์มาศึกษาวิปัสสนากรรมฐานกับพระญาณสังวรเถร ทำให้วัดพลับเป็นสำนักปฏิบัติธรรมที่สำคัญมาแต่ยุคนั้น มีกษัตริย์เป็นลูกศิษย์ถึง ๔ พระองค์ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑-๔ ต่อมาในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งเคยมาจำพรรษาอยู่ที่วัดพลับตอนทรงผนวช ได้พระราชทานนามวัดพลับใหม่ว่า วัดราชสิทธาราม

ที่วัดพลับตอนที่ท่านมาจำพรรษา โดยรอบก็ยังเป็นป่าโปร่ง เรียกกันว่า ป่าวัดพลับ มีไก่ป่าและนกอยู่มาก สัตว์เหล่านี้ก็เข้ามาอยู่ในวัด และส่งเสียงร้องและขันกันอย่างเจื้อยแจ้ว แต่เมื่อใดที่ท่านไม่ได้อยู่ในวัดเสียงไก่เสียงนกเหล่านี้ก็เงียบสงบ และพากันเจื้อยแจ้วอีกเมื่อท่านกลัมมา นับเป็นเรื่องน่าอัศจรรย์
ใน พ.ศ.๒๓๖๒ สมเด็จพระสังฆราชมี ซึ่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๓ สิ้นพระชนม์ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยสถาปนาสมเด็จพระญาณสังวร (สุก) ขึ้นเป็น สมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ ๔ โดยให้ท่านย้ายไปจำพรรษาที่วัดมหาธาตุฯซึ่งเป็นวัดหลวง เช่นเดียวกับสังฆราชก่อนหน้านั้น ๒ พระองค์ โดยมีข้อความในคำประกาศสถาปนาตอนท้ายว่า

“...เป็นประธานถานาทุกคณานิกร จัตุพิธบรรพสัช สถิตในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุบวรวิหาร พระอารามหลวง”

แต่สมเด็จพระสังฆราชสุกก็ไม่ได้เสด็จไปสถิตวัดมหาธาตุฯตามใบประกาศ เพราะท่านเป็นพระป่า ทรงคุ้นเคยกับการอยู่ในที่เงียบสงบ จึงคงสถิตอยู่ ณ วัดราชสิทธาราม อันเป็นผาสุกวิหารของท่านจวบจนสิ้นพระชนม์ อาจจะเป็นเพราะวัดมหาธาตุไม่มีไก่ป่าก็เป็นได้ ผู้คนจึงเรียกนามของท่านว่า “สังฆราชไก่เถื่อน” ตลอดมา

สมเด็จพระอริยวงษญาณ (สุก) สิ้นพระชนม์ในวันที่ ๔ กันยายน พ.ศ.๒๓๖๕ พระชันษาได้ ๘๙ ปี ๒๔๒ วัน พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าฯพระราชทานโกศทองใหญ่บรรจุพระศพ ซึ่งเป็นสมเด็จพระสังฆราชองค์นี้เพียงพระองค์เดียวที่ได้รับการถวายระเกียรติสูงเช่นนี้

ปัจจุบัน วัดราชสิทธารามหรือวัดพลับ นอกจากมีความสำคัญในการศึกษาวิปัสสนากรรมฐาน มีพิพิธภัณฑ์กรรมฐานหุ่นขี้ผึ้งสังฆราชสุกไก่เถื่อนแล้ว ยังมีหุ่นขี้ผึ้งของเจ้าอาวาสวัดนี้อีก ๔ องค์ และหุ่นขี้ผึ้งของสมเด็จพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี พร้อมทั้งรวบรวมอัฐบริขารที่สังฆราชไก่เถื่อนเคยใช้และได้รับพาระราชทาน รวบรวมมาจัดแสดงไว้ รอบพระอุโบสถของวัดราชสิทธารามไม่ได้ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วหรือระเบียงคดเหมือนวัดอื่นๆ แต่ล้อมรอบด้วยกุฏิวิปัสสนาจำนวน ๒๔ หลัง
ส่วนพระพุทธจุฬารักษ์ ซึ่งเป็นพระประธานในพระอุโบสถก็เป็นฝีพระหัตถ์ของกษัตริย์ ๒ พระองค์ที่เป็นลูกศิษย์ของสังฆราชไก่เถื่อน คือรัชกาลที่ ๒ ทรงปั้นพระเศียร และรัชกาลที่ ๓ ทรงปั้นองค์พระ

พระตำหนักจันทร์ พระตำหนักเล็กขาด ๒ ห้อง สร้างด้วยไม้จันทร์ทั้งหลัง เป็นตำหนักที่รัชกาลที่ ๒ ทรงสร้างพระราชทานรัชกาลที่ ๓ เมื่อทรงผนวชและมาจำพรรษาที่วัดนี้ ส่วนพระตำหนักเก๋งเป็นพระตำหนักที่ ร.๔ เคยประทับเมื่อครั้งมาเจริญวิปัสสนา ส่วนพระเจดีย์ของวัดราชสิทธารามก็แปลกตาอีกเช่นกัน คือพระศิราศนเจดีย์ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๓ กับพระสิรจุมภฏเจดีย์ สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีลวดลายปูนปั้นเป็นสังวาล์พาด เรียกกันว่าพระเจดีย์ทรงเครื่อง

ในวันนี้ วัดราชสิทธาราม ซอยอิสรภาพ ๒๓ ถนนอิสรภาพ เขตบางกอกใหญ่ จึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ได้รับความสนใจอีกแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร







จาก https://mgronline.com/onlinesection/detail/9660000002153
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...