ผู้เขียน หัวข้อ: หัวใจสุขาวดี: เข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกแห่งสุขาวดีของคนบาปแต่มีหัวใจ  (อ่าน 69 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
หัวใจสุขาวดี: เข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกแห่งสุขาวดีของคนบาปแต่มีหัวใจ




หัวใจสุขาวดี

เข้าถึงอารมณ์ความรู้สึกแห่งสุขาวดีของคนบาปแต่มีหัวใจ

กับ อ.ดอน ศุภโชค ชุมสาย ณ อยุธยา

อาทิตย์ที่ 9 กุมภาพันธ์ 2563
 

ห้องเรียนศาสนธรรม ณ วัชรสิทธา

สรุปความโดย ชัยณภัทร จัทร์นาค

 

ตั้งปณิธาน


“จริงๆ มันเป็นเรื่องของคำถามที่มีต่อตัวเองมากกว่า ว่าจะทำอย่างไรให้เรามีหัวใจที่จะโอบกอดผู้คนที่ทำผิดบาปได้จริง ซึ่งนั่นก็หมายถึงการโอบกอดตัวเราเองด้วย”

ครั้งหนึ่งอาจารย์ดอนได้คุยกับเซนเซท่านหนึ่งเกี่ยวกับแง่มุมที่คนภายนอกชอบมองสุขาวดีว่าขี้โกง แค่สวดอ้อนวอน แต่หวังจะไปถึงพระนิพพาน ...เซนเซท่านนี้เปรียบเทียบให้อาจารย์ดอนฟัง โดยยกตัวอย่างให้ภาพว่า ถ้ามีภูเขาอยู่ลูกหนึ่ง แต่ก่อนเคยมีแค่มีบันไดขึ้น แล้ววันหนึ่งมีคนมาสร้างลิฟต์ให้

“ยังจะขึ้นบันไดไปทำไม? แล้วขึ้นลิฟต์มันผิดตรงไหน?”

สุขาวดีวยูหสูตรเป็นพระสูตรภาษาจีน มีเนื้อหากล่าวถึงเหตุการณ์ช่วงที่พระพุทธเจ้าได้เล่าเรื่องดินแดนสุขาวดี และพระอมิตาภะพุทธเจ้า ให้เหล่าสาวก เทพ พรหม และพระโพธิสัตว์ทั้งหลายที่อยู่ ณ ที่ตรงนั้นได้ฟัง

พระอมิตาภะพุทธเจ้านั้นเคยเป็นกษัตริย์ในอดีตชื่อว่าพระเจ้าธรรมกร เขาได้ออกบวชจนได้พบกับพระพุทธเจ้าองค์หนึ่งในอดีต ที่ชื่อพระโลเกศวรราชพุทธะ และได้รับคำสอนมาฝึกปฏิบัติและตั้งปณิธาน 48 ประการ

“คัมภีร์ในมหายานหลายๆ คัมภีร์เป็นคัมภีร์ที่พูดถึงการตั้งปณิธาน เช่น มหาสุขาวดีวยูหสูตร ก็พูดถึงปณิธานของพระอมิตาภะ ในเล่มอื่นก็มีปณิธานโพธิสัตว์อื่นๆ อีกมากมาย มหายานเน้นการปลุกเร้าความตั้งจิตตั้งใจ ศรัทธาอันแน่วแน่มั่นคงของจิตใจที่จะทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อสรรพสัตว์”

หนึ่งในปณิธานอมิตาภะที่ฝ่ายสุขาวดีให้ความสำคัญเป็นหลัก คือ ปณิธานประการที่ 18 ที่พระอมิตาภะตั้งไว้ในตอนเริ่มฝึกปฏิบัติจากคำสอนของพระโลเกศวรราชพุทธะว่า ถ้าเมื่อใดที่ตนเองได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าแล้ว ขอให้มีพุทธเกษตรแห่งหนึ่งเป็นดินแดนอันบริสุทธิ์ที่ชื่อว่าสุขาวดี และให้สรรพสัตว์ที่ปรารถนาจะเกิดในดินแดนสุขาวดีนั้นได้เกิดในสุขาวดีได้ โดยการระลึกถึงและสวดชื่อของพระอมิตาภะเพียง 10 จบ ซึ่งถ้าปณิธานนี้ไม่สามารถสำเร็จได้ ตนก็จะไม่บรรลุเป็นพระพุทธเจ้า

เนื้อหาในพระสูตรจบลงที่พระธรรมกรได้บรรลุเป็นพระอมิตาภะพุทธเจ้า และปณิธานทั้ง 48 ประการที่ได้ตั้งไว้ก็เป็นจริง

“แนวคิดของสุขาวดีคือการโอบล้อมสรรพสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงเข้ามาด้วยกัน”

สิ่งที่ถูกลืมไป

“เราพูดแบบปุถุชนว่าพระพุทธเจ้ามีสติปัญญามากมาย แต่ทำไมตอนแรกถึงมีวินาทีที่ว่า ...โอย ไม่สอนดีกว่า”

ฝ่ายสุขาวดีมองว่าสิ่งที่ขับเคลื่อนพุทธศาสนาในสมัยที่พระพุทธเจ้า(ศากยมุนี) ยังมีชีวิตอยู่ คือบุคลิกภาพของพระพุทธเจ้า ซึ่งเห็นได้ในฉากสำคัญในพุทธประวัติตอนที่พระพุทธเจ้าบรรลุธรรม และเกิดความลังเลใจขึ้นมาเกี่ยวกับศักยภาพในตนเองที่จะสอนสั่งธรรมะอันลึกซึ้ง เกินกว่าที่สรรพสัตว์ที่มีกิเลสจะเข้าใจได้ แต่สุดท้ายพระพุทธเจ้าก็เปลี่ยนมาเชื่อมั่นว่ายังมีสรรพสัตว์ที่พอจะเข้าใจความลึกซึ้งของธรรมะได้ และตั้งมั่นที่จะทำในสิ่งที่แม้แต่ตนเองผู้ที่ได้ชื่อว่าบรรลุธรรมแล้วยังต้องชั่งใจเพื่อประโยชน์ของสรรพสัตว์

จากเหตุการณ์ตรัสรู้นี้ทางฝ่ายสุขาวดีสังเกตว่าพระพุทธเจ้ามีบุคลิกภาพอยู่ 2 ลักษณะ คือ

1.ความถ่อมตน

แม้จะได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ตรัสรู้ได้ด้วยตนเอง มีสติปัญญามากมาย แต่ก็ยังแสดงออกถึงความเป็นมนุษย์และความเข้าใจในความเป็นมนุษย์ที่เต็มไปด้วยข้อจำกัดอันเหนียวแน่น เกินกว่าที่สติปัญญาของตนจะช่วยเหลือได้

2.ความเป็นพลวัต

เมื่อใช้ปัญญาในระดับของผู้บรรลุธรรมไตร่ตรองดูแล้วพบว่า ภารกิจในการสั่งสอนธรรมนี้แทบจะเป็นไปไม่ได้เลย ทว่าพระพุทธเจ้าก็ยังมีพลังในการหาช่องทางที่จะออกไปช่วยเหลือสรรพสัตว์ได้

หลังจากที่พระพุทธเจ้าปรินิพพาน เหล่าสาวกในยุคนั้นก็พยายามหาทางอนุรักษ์สิ่งที่พระพุทธเจ้าได้บอกไว้ ซึ่งก็เป็นสิ่งที่พระพุทธเจ้าได้บอกไว้จริง แต่ความพยายามในการอนุรักษ์นั้นกลับทำให้ความมีชีวิตชีวาที่เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนและทำความเข้าใจตัวคำสอนนั้นจางหายไป หลังจากนั้นพุทธศาสนาก็กลายเป็นเรื่องของการบัญญัติหลักคำสอน วินัย การจัดแบ่งหมวดหมู่ และการปฏิบัติตามโดยขาดแง่มุมของอารมณ์ความรู้สึกไป

สุขาวดีเน้นย้ำเรื่องการขับเคลื่อนพุทธศาสนาในอดีตที่เกิดจากพระจริยวัตรในการออกไปโปรดสรรพสัตว์ด้วยความมีชีวิตชีวาของพระพุทธเจ้าเป็นส่วนหลัก ส่วนเนื้อหาคำสอน บทบัญญัติ และระเบียบวินัยนั้นเป็นส่วนรอง เพราะความเป็นพระพุทธเจ้าไม่ใช่แค่เรื่องของสิ่งเหล่านี้ เหมือนกับความเป็นเราไม่ได้ถูกกำหนดจากสิ่งที่เราพูดเพียงอย่างเดียว

“เกือบทุกครั้งมันไม่ใช่เรื่องของคำสอน พระองค์จะสอนคนนู้นนิดหนึ่ง คนนี้หน่อย บางครั้งพระองค์ไม่พูดด้วยซ้ำ บางครั้งพระองค์ก็สะกิดนิดหนึ่ง”

 

เราทุกคนคือคนบาป

“พระพุทธเจ้าจะตรัสรู้ไปทำไมถ้าพวกเราไม่ได้อยู่ในสายพระเนตรของพระมหากรุณาธิคุณ ความรักแบบไหนที่มันทอดทิ้งคนพวกหนึ่งไป แล้วก็เหลือแต่คนดีๆ ให้เข้าไปในดินแดนนั้น ผมว่าพุทธศาสนามีเซนส์แบบนี้นะครับ เช่นเวลาเราพูดถึงเทวทัตนี่คือตัวร้ายของชาวพุทธบ้านเรา แต่เราลืมไปว่าในพลอทเรื่องเทวทัตเนี่ย มีตอนจบอยู่ เทวทัตได้รับพยากรณ์ว่าจะเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต เราลืมอะไรแบบนี้ได้ยังไง” – อ.คมกฤช

พุทธศาสนาในบริบทแบบบ้านเรามักจะมีอคติเกี่ยวกับผู้ที่กระทำผิดในแง่ของการกดผู้กระทำผิดลงไปถึงเนื้อแท้ของบุคคลนั้นว่าเป็นคนชั่วร้ายโดยธรรมชาติ ไม่สามารถดีขึ้นมาได้ ทั้งๆ ที่โดยตัวเนื้อหาพุทธศาสนาแบบเถรวาทก็ไม่ได้มีพื้นที่ทางใจที่คับแคบขนาดนั้น

สุขาวดีไม่ได้บอกว่าผู้ที่กระทำบาปแล้วจะไม่ได้รับผลกรรม เพราะเราได้รับผลกรรมอย่างแน่นอนไม่ว่าเราจะอยู่ในโลกของพุทธศาสนาฝ่ายไหน ประเด็นเรื่องคนบาปนั้นอยู่ที่เราตระหนักรู้ไหมว่าเราบาป ซึ่งโดยปกติแล้วเราก็มักจะเข้าข้างตัวเองด้วยข้อดีที่เราเคยทำมา หรือไม่ก็เหยียบย่ำตัวเองด้วยบาปที่เราก่อ แต่สุขาวดีไม่ใช่อะไรแบบนั้น

จิตใจของเรานั้นจะค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปในอีกรูปแบบหนึ่งเมื่อเรามีศรัทธาต่อพระอมิตาภะอย่างลึกซึ่ง แต่ในระหว่างกระบวนการแปรเปลี่ยนใจก็ไม่ได้มีอะไรรับประกันเลยว่าเราจะไม่กลับมาทำบาปอีก แต่การพลาดในกระบวนการนี้จะทำให้เราตระหนักรู้ถึงความผิดบาปนั้นด้วยความรู้สึกอย่างลึกซึ้ง และปลดปล่อยเราออกจากการเอาความผิดบาปนั้นมาทับถมตัวเอง ในขณะเดียวกันก็รับการตักเตือนอย่างเป็นธรรมชาติไม่ให้เราหลงระเริงไปกับการก่อบาป

“นิกายสุขาวดีทำลายจุดงี่เง่าของเราว่า ขนาดครูบาอาจารย์ที่เป็นผู้ก่อตั้งนิกายยังบอกเลยว่าตนไปเกิดในนรกแน่นนอน แล้วเราจะไปเหลืออะไร สุขาวดีมองว่ามันเป็นธรรมดา เพราะเราเป็นคนบาปอยู่แล้ว เราจึงควรฝึกศรัทธาไปเรื่อยๆ ให้มันแน่นอนในใจ”

ศรัทธา พลังแห่งการวางใจ

“มันไม่มีอะไรรับประกันเลยด้วยนอกจากสวดพระนาม จริงแล้วแม้จะบอกว่ามันเป็นวิธีการที่ง่าย แค่พูดออกมาจากปาก 6 คำ แต่กว่าที่เราจะมีศรัทธาแบบนั้นได้มันไม่ใช่เรื่องง่ายเลย ถ้าเราโตมากับพุทธศาสนาที่เน้นการคิดเยอะๆ เราจะไปไม่ถึงตรงนี้เลย เพราะสุขาวดีไม่ต้องใช้ปัญญาอะไร แล้วก็ไม่ได้ใช้ศักยภาพตัวเองด้วย”

สุขาวดีมองการปฏิบัติธรรมแยกออกเป็นการพึ่งอำนาจของตัวเอง และอำนาจอื่น

การพึ่งอำนาจของตัวเองก็คือการปฏิบัติแบบทั่วไปที่เรารู้จักเช่น นั่งสมาธิ เข้าวัดทำบุญ ฯลฯ แต่การพึ่งอำนาจอื่นๆ ซึ่งในที่นี้คืออำนาจความกรุณาของพระอมิตาภะ เราแทบไม่ต้องทำอะไรเลยนอกจากมีศรัทธาอย่างเดียว

ท่าทีของการสวดอมิตาภะของฝ่ายสุขาวดีในจีนตอนต้นนั้นยังเป็นการสวดและกราบไหว้แบบเน้นจำนวนครั้ง แต่มาในภายหลังก็ได้ปรับเปลี่ยนไปจากการตั้งคำถามจากคณาจารย์ฝ่ายญี่ปุ่นว่า ความเมตตาของพระอมิตาภะนั้นไม่สามารถประมาณได้ การสวดแบบเก็บแต้มจึงเป็นการดูถูกอำนาจของพระอมิตาภะ

“สิ่งหนึ่งที่สุขาวดีไม่ว่าในจีนหรือญี่ปุ่นเน้นย้ำอยู่ตลอดก็คือการสวดพระนามอมิตาภะ ในสุขาวดีบางครั้งการสวดกับการระลึกถึงเป็นสิ่งเดียวกัน ฉะนั้นเองถ้าคุณระลึกถึงอย่างลึกซึ้งขึ้นมา แล้วมันออกมาเป็นการสวด มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเองในใจ ไม่ใช่เรื่องที่เราจะไปบังคับมันได้”

เราสามารถที่จะคุมสติแล้วสวดอมิตาภะได้ตลอดเวลา แต่การระลึกถึงไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นจากความพยายามของเรา ศรัทธาในสุขาวดีเป็นศรัทราที่เกิดขึ้นจากก้นบึ้งของจิตใจอย่างไม่มีข้อแม้

นิกายสุขาวดีบอกกับเราตรงๆ ว่าศักยภาพของเรานั้นไม่เพียงพอในยุคที่ชีวิตนั้นยากเย็น วุ่นวายและซับซ้อน ซึ่งยากหรืออาจเป็นไปไม่ได้เลยที่ผู้คนจะสามารถบรรลุธรรมได้ด้วยตัวเอง ฉะนั้นศรัทธา หรือความไว้วางใจต่อความช่วยเหลือจากพระอมิตาภะจึงเป็นสิ่งจำเป็น ซึ่งเหมือนจะง่ายแต่ทำได้ยาก

“ฝ่ายสุขาวดีบอกว่าถ้าถึงเวลาแล้วเราสวดพระนามจากความรู้สึกเต็มตื้นได้จริง นั่นไม่ใช่สิ่งที่เราสวดแล้วครับ เป็นเสียงของอมิตาภะมากระซิบ แล้วเราก็ตะโกนออกมา คือมันเอาตัวเราไปไหนไม่รู้ครับกลวิธีแบบนี้ มันอาจดู Paradox นิดหน่อย แต่จริงๆ แล้วมันเป็นกระบวนการที่ตัดตัวตนตั้งแต่แรก”

“เราชอบมองศรัทราในฐานะที่เป็นความเชื่อ เอาจริงๆ ผมว่าไม่ใช่เลย จากมุมของสุขาวดีศรัทราคือความไว้วางใจ แล้วความไว้วางใจมันก็ยากที่จะไว้วางใจอย่างแท้จริง”- อ.ตุล


สุขา(วดี)อยู่หนใด

ในพุทธศาสนาฝ่ายสุขาวดีแบ่งความคิดเกี่ยวกับสุขาวดีและพระอมิตาภะเป็นสองแบบ ในแบบแรกคือยืนยันตามคำอธิบายในคัมภีร์สุขาวดีวยูหสูตร ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งอธิบายในลักษณะร่วมสมัยนั้นอธิบายว่าทั้งพระอมิตาภะและสุขาวดีเป็นเรื่องที่ถูกแต่งขึ้น

“นักปรัชญาสุขาวดีในยุคปัจจุบันบอกเลยว่า อมิตาภะ คือนิยายที่ถูกเขียนขึ้นมาเพื่ออธิบายถึงลักษณะบุคลิกภาพของพระพุทธเจ้าศากยมุนีที่ชาวพุทธในอดีตได้ทอดทิ้งไป”

ไม่ว่าพระอมิตาภะและดินแดนสุขาวดีจะเป็นจริงตามคัมภีร์หรือเป็นเรื่องที่เขียนขึ้นหรือไม่ จะอยู่ข้างนอก หรืออยู่ข้างในใจ พลังในการวางใจในสิ่งอื่นที่ไม่ใช่ตัวเราอย่างพระอมิตาภะ หรืออาจหมายรวมถึงเพื่อนมนุษย์และสรรพสัตว์โดยปราศจากการแบ่งแยกใดๆ ก็เป็นพลังในการปลุกโลกใบนี้และทุกสิ่งให้ตื่นขึ้นเป็นดินแดนสุขาวดีได้ไม่ยาก ขอเพียงแค่วางใจ

“สุดท้ายคำว่าอมิตาภะมันแทนเนื้อหาทั้งหมดในตัวเราเอง โดยที่เราก็ไม่รู้ว่าจริงๆ อมิตาภะที่นิยามกันหลายๆ ฝ่าย วันหนึ่งเราจะสามารถเข้าใจได้ด้วยตัวเองได้หรือเปล่า นี่ก็เป็นเรื่องความไว้วางใจของเรา”

คำสอนมหายานในแต่ละนิกายนั้นก็ไม่ได้อยู่นอกเหนือสิ่งที่พระพุทธเจ้าได้สอนไว้ เพียงแต่ว่ามหายานเกิดขึ้นมาเพื่อกระตุ้นเตือนฝ่ายหินยานว่าธรรมะควรมีด้านของความมีชีวิตชีวาที่เชื่อมโยงกับชีวิตของผู้คนทุกคน ไม่ใช่แค่เป็นเรื่องของคัมภีร์ ซึ่งในแต่ละนิกายก็จะเน้นย้ำในเรื่องที่แตกต่างกันไป และในฝ่ายสุขาวดีก่อกำเนิดขึ้นมาโดยเน้นเรื่องศรัทธาในพระอมิตาภะพุทธเจ้า ซึ่งเป็นตัวแทนของความถ่อมตนและความไว้วางใจ ซึ่งเป็นบ่อเกิดของพลังศรัทธาแห่งจิตใจในการออกไปยังประโยชน์ต่อเพื่อนมนุษย์และสรรพสัตว์


จาก https://blogazine.pub/blogs/vajrasiddha/post/6505
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...