ผู้เขียน หัวข้อ: เหวัชระ เหรุกะ เทพพิโรธตันตระ เทพยิดัมคือใคร? ( ธรรมะตำนาน)  (อ่าน 60 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


เทพยิดัมคือใคร ใครคือ เหวัชระ เหรุกะ [พุทธทิเบต] / โชโฮธรรมราชบุตร ธรรมะตำนาน


ตามความเข้าใจของชาวพุทธโดยทั่วไป พระพุทธศาสนาทั้งสามนิกายคือเถรวาท มหายานและวัชรยาน ต่างก็มีเทพหรือเทวดาผู้เกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา ในฐานะผู้ดูแลศาสนา และผู้ปกป้องพระธรรมคำสอน แต่ในทางพระพุทธศาสนาแบบวัชรยานทิเบต มีเทพประเภทหนึ่งที่เราไม่ค่อยรู้จัก และบางคนที่เคยได้ยินชื่อก็มักเข้าใจผิดว่าท่านคือใครกันแน่ นั่นก็คือ เทพยิดัม หรือ เทพแห่งการทำสมาธิ

คำว่ายิดัม ภาษาอังกฤษเขียนด้วยคำว่า yidam บางแห่งออกเสียงว่า ยีดัม หรือ ยีตัม คำนี้ มีความหมายว่า เทพแห่งสมาธิ หรือเทพในการทำสมาธิ ภาษาสันสกฤตเรียกว่า อิษฏเทวตา หรือเทพผู้เป็นตัวแทนแห่งการทำสมาธิ

เทพยิดัม มักมีคนเข้าใจว่า ท่านเป็นเพียงเทพปางดุหรือเทพปางพิโรธ หรือบางคนเข้าใจว่า ยิดัมแปลว่าพระธรรมบาล หรือหมายถึงพระธรรมบาล เทพผู้ปกป้องพุทธศาสนา บางคนจึงมักจะเข้าใจว่า เทพยิดัมมีแต่ปางดุ เพราะจะต้องปกป้องพุทธศาสนา

 ที่จริงแล้ว ยิดัมไม่ได้มีฐานะเป็นพระธรรมบาล และไม่ได้มีความหมายแบบนั้นโดยตรง คำว่า ยิดัม มีความหมายว่า เป็นองค์เทพที่ปรากฏเป็นธรรมาธิษฐาน จากคำสอนที่เราปฏิบัติอยู่ตามการปฏิบัติธรรมในพุทธแบบทิเบต

สำหรับผู้ปฏิบัติธรรมแบบพุทธทิเบต องค์พระยิดัมเป็นหนึ่งในสรณะทั้งสาม เรียกว่า เป็นหนึ่งในตรีมูล ซึ่งประกอบด้วย คุรุ ยิดัม และ ฑากิณี

คุรุคือผู้สอนพระธรรม ซึ่งเป็นเหมือนกับพระพุทธเจ้า

 ยิดัม เปรียบเหมือนพระธรรม เพราะเป็นองค์ที่เราต้องใช้ในการปฏิบัติธรรม

ฑากินี เปรียบเหมือนพระสงฆ์ เพราะท่านเป็นผู้ทำกิจช่วยเหลือสรรพสัตว์แทนองค์พระพุทธเจ้า

 ในการปฏิบัติธรรม ผู้ปฏิบัติจะได้รับการอธิบายหลักธรรม ข้อปฏิบัติต่างๆ จากพระอาจารย์ หรือพระลามะ และจะมีการรับมนตราภิเษก โดยมีการถ่ายทอดคำสอนและวิธีภาวนาถึงองค์พระยิดัมแต่ละองค์ หมายความว่า เราจะได้รับการปฏิบัติองค์ยิดัมแบบไหน ก็ต้องได้รับการถ่ายทอดคำสอน เพื่อจะทำให้การปฏิบัติของเราได้ผลดียิ่งขึ้น

 เช่น ถ้าเราปฏิบัติธรรม สวดโอมมณีปัทเมหุม หรือสวดบทพระอวโลกิเตศวร หรือพระแม่ตารา อาจจะกล่าวได้ว่า พระอวโลกิเตศวร หรือพระแม่ตารา ก็คือพระยิดัมที่เราปฏิบัติอยู่ และทำให้เราได้รับผลสำเร็จในการปฏิบัติธรรมและบรรลุธรรมได้ในที่สุด

ยิดัมจึงไม่ได้หมายถึงพระธรรมบาลหรือเทพพิทักษ์พุทธศาสนาโดยตรง แต่ยิดัมคือเทพที่ปรากฏในขณะที่เราปฏิบัติสมาธิ และท่านเป็นเหมือนกับการสำแดงหรือการปรากฏรูปอีกแบบของพระพุทธเจ้าที่สำแดงออกมาเพื่อช่วยเหลือสรรพสัตว์ในการปฏิบัติธรรมให้ได้รับผลสำเร็จ

แต่อาจจะมีชื่อขององค์พระบางองค์ ท่านมีฐานะเป็นพระยิดัม หรือบางทีท่านมีฐานะเป็นพระธรรมบาลด้วย ซึ่งขึ้นอยู่กับคัมภีร์และวิธีปฏิบัตธรรมของแต่ละสายธรรม ความสำคัญของพระยิดัม คือท่านเป็นผู้ที่ดูแลและบันดาลผลของการปฏิบัติธรรมที่เราปฏิบัติอยู่ให้เกิดผลสำเร็จ เพราะท่านเป็นเจ้าของการปฏิบัติธรรมบทนั้นๆ

พระคุรุปัทมะสัมภวะ หรือคุรุรินโปเช ท่านได้เคยกล่าวเอาไว้ว่า การไม่มียิดัม ก็หมายความว่าเราจะไม่ได้รับผลจากการปฏิบัติ หมายความว่า เมื่อเราปฏิบัติสมาธิ เราก็ต้องมีบทปฏิบัติภาวนา นั่นคือวิถีทางไปสู่ความสำเร็จ ในการปฏิบัติพุทธแบบทิเบต ก็เช่นเดียวกัน

พระยิดัม เป็นเทพผู้เป็นเจ้าของคำสอน และเป็นผู้รักษาคำสอน แต่ตัวท่านเองไม่ได้เป็นเทพที่เอาไว้กราบเคารพบูชาหรือขอพรให้กับใคร เพราะท่านปรากฏในการทำสมาธิ และเป็นองค์ที่เราปฏิบัติเพื่อได้รับผลทางธรรมหรือการไปสู่แนวทางการบรรลุธรรม

ยิดัมในทางพุทธแบบทิเบตแบ่งเป็นสองหรือสามลักษณะ คือ ปางสันติ เช่น พระแม่ตารา พระอวโลกิเตศวระ พระมัญชุศรี หรือพระพุทธเจ้าศากยมุนี พระวัชรสัตว์ ท่านเหล่านี้คือองค์พระปางสันติ

ส่วนปางพิโรธ เช่นพระวัชรปาณี และองค์อื่นๆ เช่น พระเหวัชระ หรือ เจดอร์เจ พระเหรุกะ หรือ รักตุง พระจักรสังวร คอร์โล เต็มชก เป็นต้น ท่านเหล่านี้นับรวมว่าเป็น เทพศรีเหรุกะ ซึ่งแปลว่า ผู้ดื่มกินเลือด ฟังดูแล้วเหมือนดุร้าย แต่ที่จริงหมายถึง การกำจัดความทุกข์ในการเวียนว่ายตายเกิด เพราะการปฏิบัติธรรม ทำให้เราพ้นจากการเวียนว่ายตายเกิด นอกจากนั้น คำว่า เหรุกะ มาจากคำว่า เห หมายถึง การดำรงอยู่ด้วยความเมตตาอย่างยิ่งใหญ่ รุ หมายถึง การไม่เก็บรวบรวมสิ่งใด และคำว่า กะ หมายถึงไม่ยึดติดในสิ่งใด องค์พระศรีเหรุกะ จึงหมายถึง ผู้ดำรงอยู่ด้วยเมตตาอย่างยิ่งใหญ่ โดยไม่ยึดติดในสิ่งใดเลย

เทพยิดัมบางองค์จะมีพระโพธิสัตว์ที่มีสภาวะแบบสตรีที่เป็นคู่กัน แต่เรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องการมีคู่ครองแบบความคิดทางโลก แต่หมายถึงการรวมกันของคุณธรรมและการรู้แจ้ง คือปัญญากับกรุณา

ท่านเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นปางสันติหรือปางพิโรธ ก็ล้วนแต่เป็นการแสดงถึงองค์ธรรมและบทปฏิบัติภาวนา และมีสัญลักษณ์สื่อถึงความหมายของธรรมะข้อต่างๆ ไม่ได้หมายความว่าท่านกำลังโกรธใครหรือพิโรธไม่พอใจใครจริงๆ และที่จริง คำว่า ปางพิโรธ หมายถึง การแสดงความกรุณาอย่างสูงสุดที่จะรื้อถอนสรรพสัตว์ให้พ้นจากสังสารวัฏหรือการเวียนว่ายตายเกิด


<a href="https://www.youtube.com/v//RvDSVjcZLiM" target="_blank" rel="noopener noreferrer" class="bbc_link bbc_flash_disabled new_win">https://www.youtube.com/v//RvDSVjcZLiM</a> 

https://youtu.be/RvDSVjcZLiM?si=OLpZ3Hh8ZXEwYK7h
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...