ผู้เขียน หัวข้อ: กราบแบบอัษฎางคประดิษฐ์ : เอกลักษณ์ของพุทธทิเบต ศรัทธาอันเต็มเปี่ยม  (อ่าน 64 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด
กราบแบบอัษฎางคประดิษฐ์ : เอกลักษณ์ของพุทธทิเบต ศรัทธาอันเต็มเปี่ยม







ปกติคนไทยจะรู้จักแต่การกราบพระแบบเบญจงคประดิษฐ์ ซึ่งเป็นการโน้มอวัยวะร่างกายให้ต่ำจนแตะพื้น 5 จุด แต่ในที่นี้จะขอแนะนำให้รู้จักการกราบแบบ "อัษฎางคประดิษฐ์" เป็นท่ากราบแบบนอนราบไปทั้งตัวตามแบบฉบับของชาวธิเบต โดยให้ส่วนสำคัญของร่างกายแตะพื้น 8 จุดหรือ 8 ส่วน ได้แก่ มือทั้งสอง เข่าทั้งสอง เท้าทั้งสอง ลำตัว และหน้าผาก

สัมผัสกับพื้นดินการกราบสักการะแบบอัษฎางคประดิษฐ์ หรือ ชากเซล ในภาษาธิเบต มีความหมาย โดยคำว่า ชาก (chag) หมายถึง กายศักดิ์สิทธิ์ วาจาศักดิ์สิทธิ์

และจิตศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธเจ้าพระโพธิสัตต์ทั้งหลาย ส่วนคำว่า เซล (tsel) หมายถึงการที่เราอุทิศตนอย่างจริงจังและจริงใจที่จะก้าวตามรอยพระพุทธบาทบน หนทางอันถูกต้องมุ่งสู่การบรรลุเป็นพระโพธิสัตต์หรือพระพุทธเจ้า

วิธีการกราบจะเริ่มต้นด้วยการยืนตัวตรง พนมมือ ที่ระดับหน้าอก โดยให้นิ้วหัวแม่มืออยู่ภายในอุ้งมือเป็นรูปดอกบัว

อันเป็นสัญลักษณ์มีความหมายถึงการฝึกฝนปฏิบัติเป็นหนึ่งเดียวกันบนวิถีของ เมตตาและปัญญา อุทิศตนมุ่งสู่การรู้แจ้งเพื่อยังประโยชน์ต่อสรรพชีวิตทั้งมวล

จากนั้นให้เคลื่อนมือไปยังตำแหน่งกลางกระหม่อม หน้าผาก ลำคอ และหน้าอก อันเป็นตำแหน่งที่ตั้งของจักรที่สำคัญในร่างกาย จากนั้นเหยียดแขนออกไปข้างหน้า ย่อเข่าลงพร้อมกับเคลื่อนตัวไปข้างหน้าจนลำตัวเหยียดตรงกับพื้น

ต้องระวังไม่ให้หัวเข่าแตะพื้นก่อนที่ลำตัวจะเหยียดออกไป จากนั้นเคลื่อนลำแขนทั้งสองข้างไปด้านข้างของลำตัวตามแนวโค้งของวงกลมพร้อม กับค่อยๆ ชันตัวขึ้นบนเข่า ยืดตัวขึ้นกลับสู่ท่ายืนตรงนตอนเริ่มต้น

นักบวชชาวทิเบตจะเดินไปก้มลงกราบแบบไถพรืดไปรอบ ๆ เจดีย์พร้อมกับผ้าที่ใช้รองมือสองข้าง ผลพลอยได้ก็คือ พื้นวันทิเบตจะสะอาดมาก

ที่น่าทึ่งที่สุดคือ การจาริกแสวงบุญของชาวธิเบต ที่เทือกเขาหิมะขาว พวกเขาจะเดินทางไปด้วยวิธีการที่เรียกว่า "เดิน 3 ก้าว กราบหนึ่งครั้ง" เป็นการเดิน 3 ก้าว แล้วก้มลงกราบแบบอัษฎางคประดิษฐ์กับพื้นไหว้ทีหนึ่ง เป็นวิธีการของชาวธิเบตที่จะจารึกแสวงบุญ

ชาวธิเบตใช้วิธีการนี้ในการแสวงบุญทำให้มีความรู้สึกว่าสามารถที่จะเดินทาง โดยเท้าได้เหมือนคนทุกคน ทั้งขึ้นและลงรวมแล้ว 3,000 กว่ากิโลเมตร

ชาวธิเบตเดินทางจากซินหนงเสี้ยนเป็นอำเภอของเมืองซินหนง กันซือเป็น เขตปกครองตัวเองของมณฑลเสฉวนที่อยู่ในฝั่งตะวันตกเฉียงใต้ของเสฉวน ติดกับทิเบตกับมณฑลยูนาน รวมการไหว้จนมาถึงที่นี่ได้ทั้งหมด 100,000 ครั้ง คนทิเบตมีพระองค์หนึ่งอยู่ในใจตลอดเวลา
...

พระพุทธศาสนาแบบทิเบต คือพุทธศาสนานิกายวชิรยาน กำเนิดและแพร่หลายในทิเบตโดยตรง ปัจจุบันได้แพร่หลายไปในหลายประเทศ มีเอกลักษณ์เฉพาะเพราะเป็นการผสมผสานระหว่างพุทธศาสนานิกายมหายานทั้งจากอินเดียและจีน รวมทั้งอิทธิพลจากพุทธศาสนานิกายตันตระของอินเดีย จนเกิดเป็นนิกายวัชรยานขึ้น

ว่ากันว่าตามความเชื่อของชาวทิเบต จะต้องกราบไหว้ในแบบอัษฎางคประดิษฐ์ครบ 100,000 ครั้ง บนเส้นทางจาริกแสวงบุญไปยังนครลาซา ขณะที่นักบวชชาวทิเบตหลายคนเดินทางไปยังเจดีย์พุทธคยา เพื่อกราบไหว้สถานที่ตรัสรู้ให้ได้ 100,000 ครั้งเช่นกัน

นอกจากชาวทิเบตแล้ว ชาวตะวันตกที่นับถือพุทธศาสนานิกายวัชรยานมากมาย ก็เดินทางไปสักการะเจดีย์แห่งนี้ด้วยวิธีการเดียวกัน บางคนกราบอัษฎางคประดิษฐ์วนรอบองค์มหาเจดีย์ ขณะที่บางคนยึดพื้นที่เล็ก ๆ พอสำหรับตัวเองรอบนอกองค์เจดีย์ ปูผ้าผืนเท่าตัวคนแล้วเริ่มกราบไหว้ด้วยจังหวะสม่ำเสมอราวกับเครื่องจักร

ชาวพุทธไทยไม่เพียงทึ่งกับศรัทธา หากแต่อีกมุมมองของบางคนมองว่า การกราบแบบนี้ผู้แสวงบุญจะต้องมีร่างกายที่แข็งแรงพร้อมด้วย เพราะการกราบแบบอัษฎางคประดิษฐ์นั้นต้องใช้ทุกสัดส่วนของร่างกายรวมทั้งพละกำลังอย่างมหาศาล

ก็ว่ากันว่า การน้อมตัวลงกราบนอนราบไปกับพื้นมีความหมายถึงการที่เรายินดี อุทิศตน พร้อมเข้าสู่วัฏสงสาร เพื่อช่วยสรรพสัตว์อื่น ๆ และเมื่อเรากลับมายืนขึ้นอีกครั้ง มีความหมายถึงเมื่อนั้นเราพร้อมที่จะนำพาสรรพสัตว์อื่น ๆ ให้หลุดพ้นออกมาจากห้วงทุกข์แห่งวัฏสงสารมาด้วยกัน


















" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...