ผู้เขียน หัวข้อ: มุมมองพุทธ : “หนัง” ลุงบุญมีระลึกชาติ  (อ่าน 3431 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ sasita

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นไม้เล็กพริ้วไหวดั่งสายลม
  • *
  • กระทู้: 173
  • พลังกัลยาณมิตร 150
    • ดูรายละเอียด

ต้องขอออกตัวไว้ก่อนว่าไม่มีความรู้เกี่ยวกระบวนการผลิตหรือเทคนิคของหนังโดยตรงว่าเหตุผลกลใดจึงต้องได้รางวัล แต่ที่ทำให้ต้องเขียนเรื่องนี้เพราะสนใจประเด็นการกลับชาติมาเกิด อาจรวมถึงการระลึกชาติ ที่ปรากฏผ่านหนัง “ลุงบุญมีระลึกชาติ”  รวมทั้งมีประเด็นชวนให้ติดตามหลายกรณีอาทิ มีคำถามจำนวนมากในหมู่ผู้ชมจากประเด็นเรื่องตัวละครสัตว์พูดได้เรื่อยไปจนถึงวิญญาณที่มีตัวตน ทั้งเรื่องพรมแดนระหว่างโลกนี้กับโลกหน้า คณะกรรมการตัดสิน 2  ท่านอย่าง "ทิม เบอร์ตัน" ผู้กำกับฮอลลีวู้ดชื่อดัง และ "เบนิซิโอ เดล โทโร" นักแสดงเจ้าบทบาท ที่แสดงความเห็นว่า ลุงบุญมีฯได้ทำให้พวกเขาเข้าใจประเด็นเรื่องความตายจากมุมมองใหม่แบบ "ตะวันออก" แต่ในมุมของผู้กำกับเองให้คำนิยามเสริมงานของเขาว่า ความกลัวตายถือเป็นลักษณะร่วมกันของคนทั้งใน "ตะวันออก" และ "ตะวันตก" เพราะลุงบุญมีก็กลัวตายเช่นกัน "ผมต้องการจะสำรวจตรวจสอบว่าอะไรเกิดขึ้นก่อนและหลังความตายของคนเรามากกว่า" หนังอาจเป็นเครื่องมือจากคนสู่คนในฐานะ “ชุด” ความคิด  หนังอาจเป็นสาสน์ที่ส่งถึงกลุ่มการเมืองไทยจากประชาชาติ นัยหนึ่งเป็นการย้อนแย้งสถานการณ์ความรุนแรงที่ฟุ้งไปด้วยเปลวเพลง ควันไฟ รวมทั้งความชิงชังและสิ้นหวัง รวมทั้งหนังยังคงเป็นสาสน์อย่างหนึ่งของมนุษย์ชาติที่อาจเล่าได้เฉพาะเรื่อง ทุกเรื่อง บางเรื่องและเรื่องไม่เป็นเรื่องแต่ “หนัง” คงมีพลังผลักดันในฐานะ “สาสน์” อยู่เสมอ

            สาระสำหรับการเขียนนี้ เพื่อสะท้อนมุมคิดร่วมกับหนัง “ลุงบุญมี” ผู้เขียนต้องขอออกตัวว่าไม่เคยดูหนัง จนจบ แค่ดูเพียงตัวอย่างประกอบในคลิปบางส่วนเท่านั้น แต่อยากสะท้อนทัศนะร่วมกับหนังต่อการกลับมาเกิดและไม่กลับมาเกิดเพื่อยืนยันว่าแนวคิดนี้ อาจสะท้อนความเป็นวิถีธรรมชาติของมนุษย์ที่มีอยู่  ซึ่งในครั้งอดีตแนวคิดนี้ ได้กลายเป็น “สถาบัน” การศึกษาในสังคมอินเดียโบราณ “ครูทั้ง ๖”  รวมทั้งเป็นตัวอธิบายปรากฏการณ์ของการเกิดขึ้นของพระพุทธศาสนาด้วย  ซึ่งนำมาอธิบายร่วมกับแนวคิดที่ถูกนำถ่ายทอดในหนัง “ลุงบุญมีกลับชาติมาเกิด” ได้

     ๑.หลักฐานการตายแล้วเกิด มีชุดความคิดของการ “ตายแล้วเกิด” ปรากฏในคัมภีร์ทางพุทธศาสนาที่ปรากฏชัดคือแนวคิดใน “ธรรมบท” (พระเจ้า 500 ชาติ) เหตุการณ์ในธรรมบทเป็นประหนึ่งโลกทัศน์เชิงสังคม “ทำดี ได้ดี ทำชั่ว ได้ชั่ว” ที่มีผลเป็นการขับเคลื่อนสังคมในองค์รวมด้วย ส่วนในประเทศไทยเรามีเหตุการณ์การกลับมาเกิด รวมทั้งระลึกชาติได้ในหลาย ๆ กรณี จากงานวิจัยของธวัชชัย ขำชะยัน “กรณีศึกษาการจำอดีตชาติหรือระลึกชาติ ของคนในหมู่บ้านตะคร้อ ต.ตะคร้อ อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์  เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๘”  พบว่า มีผู้จำอดีตชาติได้ที่ยังมีชีวิตอยู่มากกว่า ๕๐ ราย    ศ.นพ.เอียน สตีเวนสัน (Dr. Ian Stevenson) ได้ทำการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับ “การจำอดีตชาติได้” และ “การกลับชาติมาเกิด” มากว่า ๔๗ ปี ตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ.๒๕๐๓  ในช่วงที่มีชีวิตอยู่ท่านได้พบผู้ที่จำอดีตชาติได้ หรือผู้ที่สืบชาติมาเกิดใหม่ จากชาติและศาสนาต่างๆ ทั่วโลก ทั้งใน ยุโรป อเมริกา ออสเตรเลีย แอฟริกา และทวีปเอเชีย (รวมทั้งประเทศไทย) มากกว่า ๓,๐๐๐ ราย หนังสือของเขากว่า ๒๐๐ เล่ม อาทิ Children who remember previous lives (เด็กระลึกชาติ) , Near-Death Experience(ประสบการณ์เฉียดตาย), Out of Body Experiences (การถอดจิตออกจากกาย), Deathbed Visions (เห็นภาพเตียงคนตายในชาติก่อน), Clairvoyance (ตาทิพย์) เป็นต้น นอกจากนี้ในงานวิจัยของเขายังให้ข้อมูลเพิ่มว่านิสัยของคนจากชาติที่แล้วจะเป็นสิ่งที่ติดตามนอนเนื่องมาจากอดีตได้ เหมือนมีผู้ตั้งข้อคำถามว่าทำไมพระสารีบุตร ซึ่งเป็นอัครสาวกเมื่อพบแอ่งน้ำ ทำไมจึงกระโดดข้ามทุกครั้งเมื่อพบเจอ ทำไมไม่เดินอ้อมข้ามไป พุทธวินิจฉัยของพระพุทธเจ้าบอกว่าชาติที่แล้วพระสารีบุตรเคยเกิดเป็น “ลิง” สันดานส่วนนี้จึงติดตัวตามท่าน ดังนั้นเทียบกับแนวคิดพุทธ และงานค้นคว้าของ ศ.นพ.เอียน อาจให้ข้อสรุปคล้ายกันได้ว่า การเกิดและการตายเป็นปรากฏการณ์ของชีวิต รวมทั้งการระลึกชาติได้ สำหรับลุงบุญมีผู้กลับมาเกิด ซึ่งไม่ได้เป็นสิ่งที่อยู่เหนือความเป็นจริงทางธรรมชาติ  หนังคงต้องการเพียงเล่าเรื่อง สะท้อนข้อเท็จจริงส่วนนี้ เคยเกิดขึ้นในช่วงเวลาหนึ่ง ประหนึ่งเป็นการระลึกความทรงจำ และบอกให้รู้ว่าเรื่องนี้เคยเกิดขึ้น มีอยู่จริง และจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต จากคนสู่คน  จากรุ่นสู่รุ่นกระมัง


         ๒.ทัศนะพุทธกับการกลับมาเกิด-ไม่เกิด แนวคิดเกิด ไม่เกิด ปรากฏในอินเดียครั้งพุทธกาล จนมีผู้นำแนวคิดนี้ มาอธิบายต่อสังคมสถาปนาตัวเป็นเจ้าสำนักตายแล้วไม่เกิดก็มี (อุจเฉททิฎฐิ-ทรรศนะของปกุธกัจจายนะ) ตายแล้วเกิดก็มี (อเหตุกวาทะ-ทรรศนะของมักขลิโคศาล) แต่ในส่วนทัศนะของพุทธศาสนามีทั้งที่ตายแล้วเกิด ไม่เกิด โดยมีชุดเหตุผลในการให้คำอธิต่อการเกิดและไม่เกิดต่างกัน (กรรม) นัยหนึ่งยอมรับถึงการกลับมาเกิด ดังปรากฏแนวคิดดังกล่าวใน “ชาดก” ทุกเรื่องล้วนสัมพันธ์กับแนวคิดการกลับมาเกิด การรับรองถึง “บุพพชาติ” ของพระพุทธเจ้า สาวก สาวิกา ในหลายคราวต่างกรรมต่างวาระกัน  สำหรับพุทธศาสนาประเด็นการกลับมาเกิดและการระลึกชาติได้เป็นเรื่องปกติธรรมดา เมื่อเทียบกับวัฒนธรรมแบบตะวันตกที่ไม่คุ้นเคยกับเรื่องประเภทนี้ ต้องการพิสูจน์ ตามกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เพื่อหาเหตุผลอ้างอิง นับเป็นสิ่งที่ดี และน่าตื่นเต้น สนใจ  แต่พุทธศาสนาไม่ได้หยุดแค่ การระลึกชาติ (ปุพเพนิวาสานุสติญาณ และจตุปปาตญาณ)  เพราะพระพุทธศาสนามีผลมุ่งหวังที่ไปไกลกว่าการระลึกชาติ  ซึ่งก็คือการปฏิบัติจนเข้าถึงภาวะพ้นทุกข์ก็คือ อาสวักขยญาณ อันหมายถึง “นิพพาน”ด้วยต่างหาก จึงถือเป็นหลักการแห่งพระพุทธศาสนา รวมไปถึงการไม่กลับมาเกิดด้วย   

          ๓.ประเด็นของการ “นำ” แนวคิดโลกนี้ – โลกหน้า มาอธิบายผ่านหนังประหนึ่งเป็นการส่งผานความเชื่อที่เป็นการสะท้อนแนวคิดทางสังคม  พร้อมทั้งยืนยันว่าสิ่งเหล่านี้เป็นปรากฏการณ์ของชีวิต ที่ธรรมชาติจัดสรรไว้อย่างนั้น ทั้งยังส่งผลถึงการควบคุมพฤติกรรม “ชีวิต” ในปัจจุบันขณะ รวมทั้งชีวิตหลังความตายแล้วด้วย ดังปรากฏมาเป็นแนวคิดเชิงศีลธรรมของทุก ๆ ศาสนา ที่มีผลเป็นการควบคุมสังคมนั้น ๆ ดังนั้นแนวคิดตายแล้วเกิด และไม่เกิด โลกนี้ โลกหน้า   จึงมีความหมายเป็นตัวควบคุมสังคมในระดับ “ชีวิต” รวมไปถึง “จิตวิญญาณ” ที่จะก้าวไปข้างหน้าแม้จะละสังขารจากชาติสู่ชาติ  ดังปรากฏแนวคิดนี้ในไตรภูมิพระร่วง สมัยสุโขทัย  รวมไปถึงการค้นหาผู้สืบทอดตำแหน่งผู้นำสูงสุด (ทะไลลามะ) และลามะ (อาจารย์ทางจิตวิญญาณ) ผู้เป็นตุลกุ (นิรมาณกาย) ขององค์ก่อนหน้านี้ ตามแบบฉบับพุทธวัชรยาน “ธิเบต”  ที่ประหนึ่งเป็นการส่งสาสน์อันมีความหมายต่อการควบคุมหลักศีลธรรมทางสังคม รวมไปถึงการอธิบายแนวคิดพุทธว่าตายแล้วเกิดและไม่เกิดเป็นปรากฏการณ์ของชีวิตมนุษย์ที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ

          ๔.ท่าทีต่อการมองชีวิตหลังความตาย [1]หมายถึงแนวคิดในเรื่องการมองชีวิตหลังความตายว่า จะก้าวย่างหรือเดินไปในทางใด ซึ่งถือว่าเป็นชุดเหตุผลที่น่าสนใจและก่อให้เกิดการขับเคลื่อนในเชิงภาพลักษณ์ต่อศาสนาและกระบวนวนร่วมต่อสังคม  เพราะในทุกศาสนาจะมีคำอธิบายเกี่ยวกับชีวิตหลังความตายที่แตกต่างกัน บางศาสนาอาจตายเพียงแค่ตาย ส่วนวิญญาณจะไปอยู่ในสภาวะที่สูงสุด(พระเจ้า)ตามหลักความเชื่อในศาสนานั้น ๆ  แต่ในเวลาเดียวกันพระพุทธศาสนามองความตายเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น (ไตรลักษณ์) แต่นัยยะของชีวิต ความตาย มีผลเป็นการควบคุมสังคม ประหนึ่งเป็นดรรชนีชีวัดต่อความไม่ตายที่เกิดในสังคมให้เป็นปรากฏการณ์ร่วมของมนุษย์อยู่ในตัวเอง เป็นชุดเหตุผลที่นัยหนึ่งเพื่อการควบคุม นัยหนึ่งเพื่อเป็นการชี้นำอันมีผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ พระพุทธศาสนามองข้ามต่อไปถึงชีวิตหลังตายและการกลับมาเกิด(อาจไม่ใช่มนุษย์)เป็นสมาชิกในสังคม เมื่อเป็นสมาชิกในสังคม“ทำดีและไม่ดี” จึงมีผลเป็นต้นทุนที่อาจสะสมให้เป็นอุปกรณ์สำหรับการก้าวย่างต่อไป แนวคิดนี้จึงมีผลเป็นการควบคุมสังคม และในเวลาเดียวกันจะสามารถสร้างพัฒนาการและกระบวนการขัดเกลาอยู่ในตัวเองด้วย


          หนังเรื่องบุญมีกลับชาติมาเกิด อาจเป็นสาสน์ที่ผู้กำกับต้องการเล่าเรื่องบางอย่างผ่านหนัง ซึ่งมีบางทัศนะว่าเป็นสาสน์จากคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือกใช้เป็นเครื่องมือย้อนแย้งถึงความรุนแรงทางการเมืองที่กำลังเกิดขึ้นในเมืองไทยขณะนี้  รวมทั้งเหตุการณ์ของอดีต เป็นความขัดกันในทาง “อุดมการณ์” ที่เคยเกิดขึ้นจริงในช่วงทศวรรษ 2510 แต่ในทัศนะผู้เขียนมองว่านอกเหนือจากการเล่าเรื่องผ่านหนังแล้ว ผู้เขียนมองไปที่การเล่าเรื่อง “ธรรมชาติ” ของมนุษย์ที่อาจมองเป็นปรากฏการณ์ รวมไปถึงการสร้างเงื่อนไขอย่างมีนัยยะก็จะเป็นปรากฏการณ์ที่จะทำให้ชีวิตมีการเปลี่ยนผันไปตามสถานการณ์ การแสวงหาความรู้ด้วยการค้นพบสิ่งใหม่ๆ นำความเจริญก้าวหน้ามาสู่โลก แต่ปราศจากความเข้าใจตัวเอง ด้วยปัญญาแล้ว ก็เป็นเหมือนการวิ่งไล่ตามเงาตัวเองที่หาเท่าไหร่ก็ไม่เจอ อย่างแท้จริง หนังลุงบุญมีนัยหนึ่งเป็นการสะท้อนโลกทัศน์แบบวิถีพุทธ วิถีตะวันออกแล้ว สะท้อนวิถีความเชื่อแบบคนไทย ที่ได้รับบุคลิกภาพผ่านทางความเชื่ออยู่พร้อมกับสังคม สาระจึงน่าสนใจที่ว่าหนังดังกล่าวให้คุณค่าในเชิงความรู้ ความรู้สึก จิตวิญญาณ ส่วนการได้รับรางวัลที่นับเป็นความภาคภูมิใจในฐานะคนไทยคนหนึ่ง ซึ่งก็เป็นความยินดีในแบบวิถีธรรมชาติของมนุษย์เฉพาะโลกนี้ คงนำไปเป็นเกียรติบัตรรางวัลโลกหน้าไม่ได้กระมัง....!!!!

(WB250553) 


--------------------------------------------------------------------------------

[1] แนวคิดเรื่องความตาย แบ่งเป็น ๒ ประเด็นหลัก คือ ตายแล้วศูนย์ และ ตายแล้วเกิดตายแล้วศูนย์ พวกวัตถุนิยม และแนวคิดพุทธในเรื่องการดับนิพพาน แต่แตกต่างกันในแง่ ดับแบบพุทธเป็นการดับกิเลส ดับขันธ์ ตายแล้วเกิดยังแบ่งเป็น ตายแล้วเกิดครั้งเดียว และหลายครั้ง ครั้งเดียวแนวคิดของศาสนายิว คริสเตียน อิสลาม ตายหลายครั้ง ศาสนาอินเดีย มีฮินดู และพุทธ   แต่ในความหมายก็ยังแตกต่างกัน ศาสนาประเภทเทวนิยม ที่เป็นเอกนิยม พหูนิยม หรือ พหุเอกนิยม ตายแล้ววิญญาณเป็นอมตะ ที่เรียกว่า soul  แต่พุทธไม่ถือว่าเช่นนั้นเพราะเน้นอัตตาสลายตัวตน ปราศจากตัวตนตามหลัก อนัตตา และศูนยตาของท่านนาครชุนเป็นต้นก่อน

 

หมายเหตุ ภาพจาก     http://www.amphur.in.th/uncle-boonmee/
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ตุลาคม 01, 2016, 08:44:57 am โดย มดเอ๊กซ »
@ ดูแลความรู้สึกของกันและกันนิดนึงนะคะ ไม่ว่าคุณจะเห็นด้วยกับข้อเขียนของเพื่อนคนอื่นๆ หรือไม่ก็ตาม

@ ช่วยกันใช้ "ภาษาไทย" ให้ถูกต้อง และงดโพสข้อความโฆษณาค่ะ

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
Re: มุมมองพุทธ : “หนัง” ลุงบุญมีระลึกชาติ
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: ตุลาคม 11, 2010, 10:41:14 pm »
 :13: เป็นหนังแปลกๆดีครับ^^
ขอบคุณครับพี่แป้ง
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~