แสงธรรมนำใจ > วัชรยาน
ทิเบต ขอบฟ้าที่สูญหายไป : ดินแดนแห่งพระโพธิสัตว์
มดเอ๊กซ:
เมื่อชาวทิเบตมีระบบตัวเขียน สิ่งแรกที่พวกเขาทำคือแปลคำสอนของ พระพุทธเจ้าจากคัมภีร์ภาษาสันสกฤคให้เป็นภาษาทิเบตเพื่อว่าชาวทิเบต จะได้เข้าถึงธรรมะของพระพุทธองค์ ต้นฉบับภาษาสันสกฤตของคัมภีร์ หลายเล่มปัจจุบันไม่มีแล้ว คงเหลืออยู่เพียงฉบับแปลในภาษาทิเบต
พระไตรปิฎกทิเบตเรียกว่า กันจูร์ มีประมาณร้อยเล่ม เมื่อรวมกับ ตันจูร์ อรรถกถาและคัมภีร์สำคัญ ๆ ของสัสกฤตที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับพุทธศาสนา โดยตรง เช่น ร้อยกรอง ตำราการแพทย์ อีกประมาณสองร้อยเล่ม คัมภีร์ พุทธศาสนาของทิเบตจึงมีมากถึงสามร้อยเล่ม คัมภีร์เหล่านี้จะวางอยู่ตาม ผนังล้อมวัด แต่ละเล่มห่อด้วยผ้าไหมอย่างเรียบร้อย สันของคัมภีร์นิยม เอายามาทาเพื่อกันแมลงจึงเก็บได้นานหลายร้อยปี
คัมภีร์เหล่านี้จะไม่ได้เย็บเป็นเล่มเหมือนกับหนังสือทั่วไปแต่ประกอบ ด้วยใบลานเป็นใบ ๆ แต่ละใบจะมีเลขหน้าและชื่อย่อของคัมภีร์พร้อม กับมีภาพพระพุทธเจ้าหรือพระโพธิสัตว์ประดับที่ขอบทั้งสองด้าน บาง ใบอาจมีภาพตรงกลางหน้าเพิ่มอีกด้วย คัมภีร์ส่วนใหญ่เป็นลายมือเขียน เขียนด้วยอักษร อูแชน " หัวโต " ซึ่งเป็นอักษรที่ใช้ในการพิมพ์ คัมภีร์ บางเล่มเขียนด้วยอักษร อูเม " ไม่มีหัว " ซึ่งเป็นลายมือหวัด อักษรนี้ยัง นิยมใช้เขียนหน้าปกคัมภีร์และป้ายโปสเตอร์ต่าง ๆ และเป็นอักษรหลัก ที่ใช้ในโรงเรียนภาษาธิเบต
อักษรอีกประเภทเรียกว่า คิวยิก เป็นลายมือเขียนซึ่งต่างจากอักษรอูแชน แต่มีส่วนคล้ายคลึงกับอักษรอูเม เพียงแต่หวัดกว่า อักษรนี้เป็นอักษรหลัก ที่ชาวทิเบตใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ในการเขียนจดหมายและจดบันทึก ต่าง ๆ
เมื่อชนเผ่าเร่ร่อนเดินทางย้ายถิ่นฐาน สมบัติสำคัญของพวกเขาคือคัมภีร์ที่ เขาบูชาอยู่ที่เต้นท์และ ทังกา ภาพวาดบูชาแบบม้วนได้ มักเป็ภาพพระ พุทธเจ้า พระโพธิสัตว์ มันดาลา หรือวัฏสงสารประกอบด้วยสัตว์หก ประเภทที่ใช้ชีวิตวนเวียนกับการเวียนว่ายตายเกิด พวกเขาจะห่อผ้าคัมภีร์ กับทังกาติดตัวไปด้วยโดยสะพายไว้ข้างหลังในขณะที่ขี่ม้า
พระทิเบตที่มีความตั้งใจที่จะศึกษาพระธรรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า อย่างลึกซึ้งจะพยายามท่องคัมภีร์เหล่านี้ให้จำจนขึ้นใจ พระล็อบซัง เกียทโซ เล่าในอัตชีวประวัติของท่านว่าทุกปีที่ถึงช่วงนั่งสมาธิท่านจะเอาคัมภีร์ที่จะ ต้องใช้ในการโต้วาทีธรรมขึ้นไปบนเขา ท่านจะสมาธิประมาณสามเดือน อยู่ในถ้ำโดยไม่พบปะผู้ใด แต่ละวันท่านจะท่องคัมภีร์และนั่งวิปัสสนาเพื่อ ทำความเข้าใจคัมภีร์นั้น หากไม่ทำเช่นนี้ท่านจะไม่สามารถเป็นนักโต้วาที ธรรมที่ดีได้ ในการโต้วาที หากทำไม่ดีเพราะศึกษามาน้อย ความรู้ไม่แน่น ผู้โต้วาทีจะรู้สึกอับอายและจะต้องแก้ตัวด้วยการศึกษาและนั่งสมาธิอย่าง หนักในปีต่อมา
การนั่งสมาธิในถ้ำเป็นสิ่งที่คนธิเบตเห็นคุณค่าเป็นอย่างยิ่งพวกเขาบูชา บุคคลเยี่ยงฤาษี เช่น มิราเลปะ กวีพุทธรรมของทิเบต ด้วยพวกเขาตระ หนักดีว่าจริง ๆ แล้วทุกสิ่งทุกอย่างเป็นเพียงสุญตา จึงไม่ควรมีความ ยึดมั่นถือมั่น และหากจะสละความสุขในทางโลกและสามารถสละแม้ เครื่องนุ่งห่ม นั่นคือการเข้าถึงแก่นแท้นั้น พระลามะหลายรูปจึงฝึก ปฏิบัติด้วยการนั่งสมาธิในถ้ำหรือสถานที่สงบเงียบห่างไกลผู้คน บาง ครั้งพวกเขานั่งสมาธิเป็นเวลาสามปีสามเดือนสามวันสามนาทีและสาม วินาทีโดยไม่ออกมาเห็นเดือนเห็นตะวันหรือพบเห็นผู้ใด
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่พระทิเบตทุกรูปจะปฏิบัติตนเช่นนี้ ในชุมชนทิเบต ลี้ภัยหรือในเขตปกครองตนเองของทิเบตในจีน ภาพต่อไปนี้เป็นสิ่งที่ เห็นอยู่บ่อย ๆ พระไว้ผมยาวขี่มอเตอร์ไซค์ สวมแว่นตาดำ ผูกข้อมือ ด้วยนาฬิกาเรือนโต นั่งรถเก๋ง ฉันอาหารราคาแพงจากภัตตาคารและ ไม่ได้แสดงลักษณะของพระนั่งสมาธิที่เคร่งขรึม
ศาสนาพุทธที่ปฏิบัติโดยคนทิเบตจึงมีทั้งที่เป็นเป้าหมายสูงสุดเพื่อนำพา สัตว์ทั้งหลายไปสู่นิพพาน และที่เป็นวิถีการดำรงชีวิตซึ่งแสดงให้เห็นว่า มนุษย์มีความอยากได้อยากมีและพระสงฆ์ก็ไม่ต่างออกไป
การบวชเป็นพระทิเบตไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ละวัดมีวินัยที่เข้มงวดและมีกิจ กรรมมากมาย นอกจากการสวดมนต์ร่วมกัน อ่านและท่องคัมภีร์หลาย พันหน้าจนขึ้นใจ พระจะต้องประกอบกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ทำอาหารทั้ง นี้เป็นเพราะทิเบตไม่มีประเพณีการตักบาตรและชาวบ้านก็ไม่นำอาหาร ไปถวายที่วัด หากจะถวายอาหารก็มักจะทำเป็นการส่วนตัวมากกว่า เช่น ถวายให้แก่กุฎิของพระในครอบครัวหรือถวายให้แก่ คัมแซน กุฎิรวม ของพระที่มาจากบ้านเกิดเดียวกันและนิยมถวายอาหารแห้ง เช่น ซัมป้า และเนื้อแห้ง มากกว่าจะถวายอาหารสด
นอกจากการประกอบอาหารเพื่อยังชีพแล้ว พระจะฝึกเครื่องดนตรีสำ หรับใช้ในพิธี แสดงการแสดงประจำปีที่เรียกว่า ชัม เป็นละครเงียบ สอนศาสนา ตลอดจนดูแลที่ดินของวัดซึ่งหมายถึงการเดินทางไปเก็บ ภาษีหรือผลิตผลจากที่ดินที่วัดให้ชาวบ้านเช่า พระหลายรูปยังมีภารกิจ ที่จะต้องไปช่วยครอบครัวทำงานในยามที่วัดว่างจากกิจกรรมต่าง ๆ
มดเอ๊กซ:
จุดเด่นหนึ่งที่ศาสนาพุทธทิเบตแตกต่างจากพุทธเถรวาทหรือพุทธมหายาน คือบทบาทของพระลามะหรืออาจารย์ ทำให้ชาวตะวันตกเรียกศาสนาพุทธ แบบทิเบตว่า Lamaism " ลามะยาน "
ในบทประพันธ์เรื่อง ลาเชอ ตังทรุนบา ตัมเปเมเช กิเตอกา " สวนบัว บทละครอิงคติพุทธศาสนา " ของซาปัลทรู ริมโปเช พระลามะจากเมือง ซาชูค่า มีชีวิตอยู่ระหว่าง ค.ศ. ๑๘o๘ - ๑๘๘๗ ( พ.ศ. ๒๓๕๑ - ๒๔๓o ) ฤาษีในเรื่องสอนธรรมะให้แก่ผึ้งน้อยสองตัวที่เป็นสามีภรรยากันโดย กล่าวว่าพระอาจารย์มีความกรุณาและบุญคุณอย่างหาที่เปรียบมิได้ บุญคุณ นี้มีมากเอนกอนันต์เพราะหากปราศจากท่าน เราก็เป็นเสมือนคนตาบอด ที่หาผู้นำทางไม่ได้ เดินเที่ยวเร่ร่อนอยู่ในสังสารซึ่งเป็นเสมือนทางตัน พระอาจารย์เป็นดั่งดวงประทีปในกลียุคที่ชี้นำทางไปสู่ความหลุดพ้น เพราะท่านเราจึงรู้จักธรรมะของพระพุทธเจ้า
ด้วยความเชื่อเช่นนี้ เวลาสวดมนต์ ประโยคแรกที่ชาวทิเบตท่องคือ ขอ กราบบูชาพระอาจารย์ จากนั้นจึงเป็นขอกราบบูชาพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ ซึ่งรวมเรียกว่า โกนชกซุม " ไตรรัตน์ ( สิ่งที่หาได้ยาก สามอย่าง ) "
จุดเด่นอีกจุดหนึ่งของศาสนาพุทธทิเบตคือ ความเชื่อเรื่องการกลับชาติ มาเกิด คนทิเบตเหมือนคนไทยตรงที่เชื่อว่าเมื่อตายแล้วไม่เป็นสูญ แต่สิ่ง ที่เหลืออยู่ซึ่งเป็นผลของกรรมเป็นเหตุให้เกิดใหม่ แต่คนไทยไม่มีความ เชื่อหรือประเพณีในการเสาะแสวงหาผู้มาเกิดใหม่
หากพระที่ปฏิบัติสมาธิจนแก่กล้ามรณภาพไป คนไทยอาจจะเชื่อว่าท่าน บรรลุเป็นพระอรหันต์ แต่จะไม่เชื่อว่าท่านสามารถตั้งจิตปรารถนามาเกิด ใหม่เป็นคนใดคนหนึ่งได้ พวกเขาจะแสวงหา ทรุกุ ผู้มาเกิดใหม่ ( ศัพท์ แปลตรงตัวว่าร่างที่เปลี่ยนไป )
องค์ดาไลลามะองค์ปัจจุบันซึ่งเป็นองค์ที่ ๑๔ ก็คือร่างใหม่ขององค์ดาไล ลามะที่ ๑๓ ส่วนองค์ดาไลลามะที่ ๑๓ ก็คือร่างใหม่ขององค์ที่ ๑๒ เป็น เช่นนี้จนถึงองค์ที่ ๑ ซึ่งก็คือนิรมาณกายของพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร พระอวโลกิเตศวร พระองค์ทรงไม่เสด็จไปนิพพานแต่เสด็จมาประสูติใน โลกมนุษย์เพราะต้องการช่วยเหลือสรรพสัตว์ทั้งหลายให้พ้นทุกข์และเข้า ถึงนิพพานเหมือนกันหมด
อย่างไรก็ตามแนวคิดเรื่องการเกิดใหม่เช่นนี้ได้รับอิทธิพลจาก การเมือง ด้วยเช่นกันเนื่องจากผู้ที่กลายมาเป็นองค์ดาไลลามะ องค์ปัญเชนลามะ หรือพระลามะสำคัญ ๆ จะเป็นผู้ที่มีอำนาจและมีความร่ำรวย การระบุ ว่าเด็กคนใดเป็นผู้กลับชาติมาเกิด จึงจะต้องกระทำด้วยความรอบคอบ และเป็นไปตามขั้นตอนที่เชื่อว่าจะทำให้การคัดเลือกถูกต้อง
มดเอ๊กซ:
เมื่อกลาสีมีเรือ เขาควรจะข้ามมหาสมุทรเมื่อแม่ทัพมีกองทหารที่กล้าหาญ เขาควรจะชนะข้าศึกเมื่อคนจนมีวัวสารพัดนึก เขาควรจะรีดนมมันเมื่อนักเดินทางมีม้าที่ยอดเยี่ยม เขาควรจะขี่มันไปยังแดนไกลทีนี้ เมื่อคุณมีร่างมนุษย์ที่ล้ำค่าและมีอาจารย์ที่รวมคุณลักษณะของพระพุทธเจ้าทั้งในอดีต ปัจจุบัน และอนาคต จงคิดด้วยความปิติและกระตือรือล้นว่าคุณจะเดินทางไปบนทางหลวงธรรมะอันศักดิ์สิทธิ์อย่างไร เพื่อให้เข้าไกล้จุดมุ่งหมายสูงสุดอันได้แก่การหลุดพ้นและการตรัสรู้
ข้อคิดจากพระอาจารย์ชับการ์อ้างในแมธิเยอ ริการ์ด ( Ricard ๑๙๙๖ : ๒๙ )
มดเอ๊กซ:
นอกจากจะเชื่อเรื่องการกลับชาติมาเกิดแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นลักษณะ เด่นของพุทธทิเบตคือความเชื่อใคัมภีร์มรณศาสตร์ หากในการดำรงชีวิต อยู่ เราต้องวางแผนเพื่อกระทำการต่าง ๆ ให้ลุล่วง ก่อนตาย เราก็จำ ต้องวางแผนหรือพูดให้ชัดขึ้นคือเราต้องเตรียมตัวตายอย่างมีสติ ผู้ใดที่ ตายโดยทันทีโดยที่เขายังไม่ทันได้ตั้งตัว หรือตายด้วยจิตขุ่นเคือง เศร้า หมอง พยาบาท ชาวทิเบตจะมองว่าคนเหล่านั้นโชคร้ายเพราะพวกเขา จะไม่ได้ไปเกิดในภพที่ดี การประคองจิตให้นิ่ง มั่นคงและตั้งอยู่ในธรรม เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเกิดใหม่
ด้วยเหตุนี้เมื่อมีคนป่วยใกล้ตายในบ้าน คนในครอบครัวจะนิมนต์พระ มาอ่านคัมภีร์ไว้ที่ข้างหูของผู้ป่วย เพื่อว่าเขาจะได้เตรียมใจว่าจะต้อง เผชิญกับอะไรบ้างเมื่อตายไปแล้ว และเพื่อให้เขาได้คิดถึงแต่สิ่งดี ๆ จะทำให้เขาได้ไปเกิดใหม่ในภพที่ดี
ความเชื่อเรื่องความตายยังเกี่ยวพันกับวิธีการกำจัดศพ หนังสือบางเล่ม อธิบายการกำจัดศพแบบหั่นศพให้แร้งกินในลักษณะที่ว่าเป็นประเพณี ประหลาดของคนทิเบต จริง ๆ แล้วมีวิธีการกำจัดศพหลายวิธีในทิเบต เช่น ฝัง เผา และให้ทานแก่ปลาโดยการหั่นเนื้อลงน้ำ แต่เนื่องจากทิเบต มีอากาศหนาวเย็น น้ำกลายเป็นน้ำแข็งและดินก็แข็งยากแก่การขุด นอก จากนี้ฟืนที่จะนำมาเผาไฟเป็นสิ่งที่หายาก การกำจัดศพโดยหั่นเนิ้อให้ แร้ง ตำกระดูกกับแป้งซัมป้า และโปรยให้พวกมันกินจึงเป็นสิ่งที่นิยมทำ
อย่างไรก็ตาม วิธีการกำจัดศพเช่นนี้ในปัจจุบันกระทำลดลง ด้วยในช่วง ปฏิวัติวัฒนธรรมในจีน การกระทำเช่นนี้ถูกว่าเป็นสิ่งที่ป่าเถื่อน น่าสังเกตุ ว่าชนกลุ่มน้อยกลุ่มอื่นที่ได้รับอิทธิพลของพุทธศาสนาทิเบตก็มีวิธีการกำ จัดศพเช่นนี้เหมือนกัน หากพิจารณาในมุมของศาสนาการกระทำเช่นนี้ ทำให้ผู้ตายมีโอกาสได้ทำประโยชน์ครั้งสุดท้ายในชีวิตโดยการกระทำทาน อันยิ่งใหญ่แก่นก
ทีเรื่องเล่าเรื่องหนึ่ง พระโพธิสัตว์พระองค์หนึ่งจุติมาในโลกเป็นเจ้าชาย แห่งราชธานีหนึ่ง เนื่องจากมีศึกมาประชิดชายแดน พระองค์จึงต้องเสด็จ ไปรบ ก่อนเสด็จออกจากวัง พระองค์ตรัสลาพระมารดาด้วยทรงเชื่อว่า จะทรงไม่รอดชีวิตจากการรบครั้งนี้ คำขอร้องที่ยิ่งใหญ่ครั้งสุดท้ายของ พระองค์คือเมื่อพระองค์สิ้นพระชนม์ไปแล้วขอให้พระมารดาทรงกำจัด พระศพของพระองค์ด้วยการบริจาคให้นกกิน
เช่นเดียวกับพระโพธิสัตว์พระองค์นี้ ชาวทิเบตหลายคนปรารถนาที่จะ ให้ร่างกายของตนถูกกำจัดแบบนี้
จาก ทิเบต ขอบฟ้าที่สูญหายไป โดย อาจารย์ กฤษฎาวรรณ
แก้วจ๋าหน้าร้อน:
:13: อนุโมทนาสาธุครับ ขอบคุณครับพี่มด
นำร่อง
[0] ดัชนีข้อความ
[*] หน้าที่แล้ว
Go to full version