ผู้เขียน หัวข้อ: ยมกปาฏิหาริย์  (อ่าน 19911 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
ยมกปาฏิหาริย์
« เมื่อ: สิงหาคม 04, 2011, 05:25:54 pm »



เรื่องยมกปาฏิหาริย์ [๑๔๙]
             
             ข้อความเบื้องต้น             
              พระศาสดาทรงปรารภเทวดาและพวกมนุษย์เป็นอันมาก ที่พระทวารแห่งสังกัสสนคร ตรัสพระธรรมเทศนานี้ว่า "เย ฌานปฺปสุตา ธีรา" เป็นต้น.
              ก็เทศนาตั้งขึ้นแล้วในกรุงราชคฤห์.

              เศรษฐีได้ไม้จันทน์ทำบาตร              
              ความพิสดารว่า สมัยหนึ่ง เศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ให้ขึงข่ายมีสัณฐานคล้ายขวด เพื่อความปลอดภัย๑- (๑- เพื่อเปลื้องอันตราย.)และเพื่อรักษาอาภรณ์เป็นต้น ที่หลุดไปด้วยความพลั้งเผลอแล้ว เล่นกีฬาทางน้ำในแม่น้ำคงคา.

              ในกาลนั้น ต้นจันทน์แดงต้นหนึ่ง เกิดขึ้นที่ริมฝั่งตอนเหนือของแม่น้ำคงคา มีรากถูกน้ำในแม่น้ำคงคาเซาะโค่นหักกระจัดกระจายอยู่บนหินเหล่านั้นๆ. ครั้งนั้น ปุ่มๆ หนึ่งมีประมาณเท่าหม้อ ถูกหินครูดสี ถูกคลื่นน้ำซัด เป็นของเกลี้ยงเกลา ลอยไปโดยลำดับ อันสาหร่ายรวบรัดมาติดที่ข่ายของเศรษฐีนั้น.

              เศรษฐีกล่าวว่า "นั่นอะไร?" ได้ยินว่า "ปุ่มไม้" จึงให้นำปุ่มไม้นั้นมาให้ถากด้วยปลายมีด เพื่อจะพิจารณาว่า "นั่นชื่ออะไร?"

              ในทันใดนั่นเอง จันทน์แดงมีสีดังครั่งสดก็ปรากฏ. ก็เศรษฐียังไม่เป็นสัมมาทิฏฐิ ไม่เป็นมิจฉาทิฏฐิ วางตนเป็นกลาง. เขาคิดว่า "จันทน์แดงในเรือนของเรามีมาก เราจะเอาจันทน์แดงนี้ทำอะไรหนอแล?" ทีนั้น เขาได้มีความคิดอย่างนี้ว่า "ในโลกนี้ พวกที่กล่าวว่า ‘เราเป็นพระอรหันต์’ มีอยู่มาก เราไม่รู้จักพระอรหันต์แม้สักองค์หนึ่ง เราจักให้ประกอบเครื่องกลึงไว้ในเรือน ให้กลึงบาตรแล้ว ใส่สาแหรกห้อยไว้ในอากาศประมาณ ๖๐ ศอก โดยเอาไม้ไผ่ต่อกันขึ้นไปแล้ว จะบอกว่า ‘ถ้าว่า พระอรหันต์มีอยู่ จงมาทางอากาศแล้ว ถือเอาบาตรนี้’ ผู้ใดจักถือเอาบาตรนั้นได้ เราพร้อมด้วยบุตรภรรยาจักถึงผู้นั้นเป็นสรณะ."

              เขาให้กลึงบาตรโดยทำนองที่คิดไว้นั่นแหละ ให้ยกขึ้นโดยเอาไม้ไผ่ต่อๆ กันขึ้นไปแล้ว กล่าวว่า "ในโลกนี้ ผู้ใดเป็นพระอรหันต์ ผู้นั้นจงมาทางอากาศ ถือเอาบาตรนี้."

              ครูทั้ง ๖ อยากได้บาตรไม้จันทน์             
              ครูทั้งหกกล่าวว่า "บาตรนั้นสมควรแก่พวกข้าพเจ้า ท่านจงให้บาตรนั้นแก่พวกข้าพเจ้าเสียเถิด."
              เศรษฐีนั้นกล่าวว่า "พวกท่านจงมาทางอากาศแล้ว เอาไปเถิด."

              ในวันที่ ๖ นิครนถ์นาฏบุตรส่งพวกอันเตวาสิกไปด้วยสั่งว่า "พวกเจ้าจงไป จงพูดกะเศรษฐีอย่างนี้ว่า ‘บาตรนั่นสมควรแก่อาจารย์ของพวกข้าพเจ้า ท่านอย่าทำการมาทางอากาศ เพราะเหตุแห่งของเพียงเล็กน้อยเลย นัยว่า ท่านจงให้บาตรนั่นเถิด." พวกอันเตวาสิกไปพูดกะเศรษฐีอย่างนั้นแล้ว.
              เศรษฐีกล่าวว่า "ผู้ที่สามารถมาทางอากาศแล้วถือเอาได้เท่านั้น จงเอาไป."

              นาฏบุตรออกอุบายเอาบาตร             
              นาฏบุตรเป็นผู้ปรารถนาจะไปเอง จึงได้ให้สัญญาแก่พวกอันเตวาสิกว่า "เราจักยกมือและเท้าข้างหนึ่ง เป็นทีว่าปรารถนาจะเหาะ พวกเจ้าจงร้องบอกเราว่า ‘ท่านอาจารย์ ท่านจะทำอะไร? ท่านอย่าแสดงความเป็นพระอรหันต์ที่ปกปิดไว้ เพราะเหตุแห่งบาตรไม้แก่มหาชนเลย’ ดังนี้แล้ว จงพากันจับเราที่มือและเท้าดึงไว้ ให้ล้มลงที่พื้นดิน." เขาไปในที่นั้นแล้ว กล่าวกะเศรษฐีว่า "มหาเศรษฐีบาตรนี้สมควรแก่เรา ไม่สมควรแก่ชนพวกอื่น ท่านอย่าชอบใจการเหาะขึ้นไปในอากาศของเรา เพราะเหตุแห่งของเพียงเล็กน้อย จงให้บาตรแก่เราเถิด."
             เศรษฐี. ผู้เจริญ ท่านต้องเหาะขึ้นไปทางอากาศแล้ว ถือเอาเถิด.

              ลำดับนั้น นาฏบุตรกล่าวว่า "ถ้าเช่นนั้น พวกเจ้าจงหลีกไปๆ" กันพวกอันเตวาสิกออกไปแล้ว กล่าวว่า "เราจักเหาะขึ้นไปในอากาศ" ดังนี้แล้ว ก็ยกมือและเท้าขึ้นข้างหนึ่ง. ทีนั้น พวกอันเตวาสิกกล่าวกับอาจารย์ว่า "ท่านอาจารย์ ท่านจะทำชื่ออะไรกันนั่น? ประโยชน์อะไรด้วยคุณที่ปกปิดไว้ อันท่านแสดงแก่มหาชน เพราะเหตุแห่งบาตรไม้นี้" แล้วช่วยกันจับนาฏบุตรนั้นที่มือและเท้า ดึงมาให้ล้มลงบนแผ่นดิน. เขาบอกกะเศรษฐีว่า "มหาเศรษฐี อันเตวาสิกเหล่านี้ไม่ให้เหาะ ท่านจงให้บาตรแก่เรา."
              เศรษฐี. ผู้เจริญ ท่านต้องเหาะขึ้นไปถือเอาเถิด.

              พวกเดียรถีย์ แม้พยายามด้วยอาการอย่างนี้สิ้น ๖ วันแล้ว ยังไม่ได้บาตรนั้นเลย.
              ชาวกรุงเข้าใจว่าไม่มีพระอรหันต์             


พระปิณโฑลภารทวาชะเหาะขึ้นเหนือเรือนเศรษฐีผู้ประกาศ
ท้าทายให้พระอรหันต์เหาะมาเอาบาตรไม้จันทร์แดงที่แขวนบนยอดไม้
พระพุทธองค์ทรงทราบเรื่องแล้ว ทรงตำหนิโดยปริยายเป็นอันมากแล้ว
ทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามภิกษุแสดงอุตตริมนุสสธรรมแก่พวกคฤหัสถ์

ทรงบัญญัติสิกขาบทห้ามการแสดงฤทธิ์
พระบิณโฑรภารทวาชะเหาะไปเอาบาตรไม้แก่นจันทร์มาถวาย
พระพุทธเจ้าทรงตำหนิติเตียน และกำหนดเป็นพระวินัยในที่ประชุมสงฆ์ว่า
ห้ามภิกษุแสดงฤทธิ์และห้ามใช้บาตรไม้ ผู้ใดทำ ผิดวินัยสงฆ์
     
              ในวันที่ ๗ ในกาลที่ท่านพระมหาโมคคัลลานะและท่านพระปิณโฑลภารทวาชะไปยืนบนหินดาดแห่งหนึ่งแล้วห่มจีวร ด้วยตั้งใจว่า "จักเที่ยวไปเพื่อบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์" พวกนักเลงคุยกันว่า "ชาวเราเอ๋ย ในกาลก่อน ครูทั้ง ๖ กล่าวว่า ‘พวกเราเป็นพระอรหันต์ในโลก’ ก็เมื่อเศรษฐีชาวกรุงราชคฤห์ให้ยกบาตรขึ้นไว้แล้วกล่าวว่า ‘ถ้าว่า พระอรหันต์มีอยู่, จงมาทางอากาศแล้ว ถือเอาเถิด’ วันนี้เป็นวันที่ ๗ แม้สักคนหนึ่งชื่อว่าเหาะขึ้นไปในอากาศด้วยแสดงตนว่า ‘เราเป็นพระอรหันต์’ ก็ไม่มี วันนี้ พวกเรารู้ความที่พระอรหันต์ไม่มีในโลกแล้ว."

              ท่านพระมหาโมคคัลลานะได้ยินถ้อยคำนั้นแล้ว จึงกล่าวกะท่าน พระปิณโฑลภารทวาชะว่า "อาวุโส ภารทวาชะ ท่านได้ยินถ้อยคำของพวกนักเลงเหล่านี้ไหม? พวกนักเลงเหล่านี้พูดเป็นทีว่าจะย่ำยีพระพุทธศาสนา ก็ท่านมีฤทธิ์มากมีอานุภาพมาก ท่านจงไปเถิด จงมาทางอากาศแล้วถือเอาบาตรนั้น."

              ปิณโฑลภารทวาชะ. อาวุโส โมคคัลลานะ ท่านเป็นผู้เลิศกว่าบรรดาสาวกผู้มีฤทธิ์ ท่านจงถือเอาบาตรนั้น แต่เมื่อท่านไม่ถือเอา ผมจักถือเอา.

              พระปิณโฑลภารทวาชะแสดงปาฏิหาริย์              
              เมื่อพระมหาโมคคัลลานะกล่าวอย่างนี้ว่า "ท่านจงถือเอาเถิดผู้มีอายุ" ท่านปิณโฑลภารทวาชะก็เข้าจตุตถฌาน มีอภิญญาเป็นบาท ออกแล้ว เอาปลายเท้าคีบหินดาดประมาณ ๑ คาวุต ให้ขึ้นไปในอากาศเหมือนปุยนุ่น แล้วหมุนเวียนไปในเบื้องบนพระนครราชคฤห์ ๗ ครั้ง. หินดาดนั้นปรากฏดังฝาละมีสำหรับปิดพระนครไว้ประมาณ ๓ คาวุต. พวกชาวพระนครกลัว ร้องว่า "หินจะตกทับข้าพเจ้า" จึงทำเครื่องกั้นมีกระด้งเป็นต้นไว้บนกระหม่อม แล้วซุกซ่อนในที่นั้นๆ. ในวาระที่ ๗ พระเถระทำลายหินดาด แสดงตนแล้ว.

              มหาชนเห็นพระเถระแล้ว กล่าวว่า "ท่านปิณโฑลภารทวาชะผู้เจริญ ท่านจงจับหินของท่านไว้ให้มั่น อย่าให้พวกข้าพเจ้าทั้งหมดพินาศเสียเลย."

              พระเถระเอาปลายเท้าเหวี่ยงหินทิ้งไป. แผ่นหินนั้นไปตั้งอยู่ในที่เดิมนั่นเอง. พระเถระได้ยืนอยู่ในที่สุดแห่งเรือนของเศรษฐี. เศรษฐีเห็นท่านแล้ว หมอบลงแล้ว กราบเรียนว่า "ลงเถิด พระผู้เป็นเจ้า" นิมนต์พระเถระผู้ลง


อ. ปรีชา เถาทอง

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 23, 2012, 04:03:48 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ยมกปาฏิหาริย์
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2011, 05:46:17 pm »



จากอากาศให้นั่งแล้ว ให้นำบาตรลง กระทำให้เต็มด้วยวัตถุอันมีรสหวาน ๔ อย่างแล้ว ได้ถวายแก่พระเถระ. พระเถระรับบาตรแล้วบ่ายหน้าสู่วิหาร ไปแล้ว.

              ลำดับนั้น ชนเหล่าใดที่อยู่ในป่าบ้าง อยู่ในบ้านบ้าง ไม่เห็นปาฏิหาริย์ของพระเถระ ชนเหล่านั้นประชุมกันแล้ววิงวอนพระเถระว่า "ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงแสดงปาฏิหาริย์แม้แก่พวกผม" ดังนี้แล้ว ก็พากันติดตามพระเถระไป.
              พระเถระนั้นแสดงปาฏิหาริย์แก่ชนเหล่านั้นๆ พลางได้ไปยังพระวิหารแล้ว.

              พระศาสดาทรงห้ามไม่ให้ภิกษุทำปาฏิหาริย์             
              พระศาสดาทรงสดับเสียงมหาชนที่ติดตามพระเถระนั้นอื้ออึงอยู่ จึงตรัสถามว่า "อานนท์ นั่นเสียงใคร?" ทรงสดับว่า "พระเจ้าข้า พระปิณโฑลภารทวาชะเหาะขึ้นไปในอากาศแล้ว ถือเอาบาตรไม้จันทน์ นั่นเสียงในสำนักของท่าน"

              จึงรับสั่งให้เรียกพระปิณโฑลภารทวาชะมา ตรัสถามว่า "ได้ยินว่า เธอทำอย่างนั้นจริงหรือ?" เมื่อท่านกราบทูลว่า "จริง พระเจ้าข้า"

              จึงตรัสว่า "ภารทวาชะ ทำไม เธอจึงทำอย่างนั้น?" ทรงติเตียนพระเถระ แล้วรับสั่งให้ทำลายบาตรนั้น ให้เป็นชิ้นน้อยชิ้นใหญ่แล้ว รับสั่งให้ประทานแก่ภิกษุทั้งหลาย เพื่อประโยชน์แก่อันบดผสมยาตา แล้วทรงบัญญัติสิกขาบทแก่พระสาวกทั้งหลาย เพื่อต้องการไม่ให้ทำปาฏิหาริย์.

              ฝ่ายพวกเดียรถีย์ได้ยินว่า "ทราบว่า พระสมณโคดมให้ทำลายบาตรนั้นแล้ว ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่สาวกทั้งหลาย เพื่อต้องการมิให้ทำปาฏิหาริย์" จึงเที่ยวบอกกันในถนนในพระนครว่า "สาวกทั้งหลายของพระสมณโคดม ไม่ก้าวล่วงสิกขาบทที่ทรงบัญญัติ แม้เพราะเหตุแห่งชีวิต ถึงพระสมณโคดมก็จักรักษาสิกขาบทที่ทรงบัญญัตินั้นเหมือนกัน บัดนี้ พวกเราได้โอกาสแล้ว" แล้วกล่าวว่า "พวกเรารักษาคุณของตน จึงไม่แสดงคุณของตนแก่มหาชน เพราะเหตุแห่งบาตรไว้ในกาลก่อน เหล่าสาวกของพระสมณโคดมแสดงคุณของตนแก่มหาชน เพราะเหตุแห่งบาตร พระสมณโคดมรับสั่งให้ทำลายบาตรนั้นแล้ว ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่เหล่าสาวก เพราะพระองค์เป็นบัณฑิต บัดนี้ พวกเราจักทำปาฏิหาริย์กับพระสมณโคดมนั่นแล."

              พระศาสดาทรงประสงค์จะทำปาฏิหาริย์             
              พระเจ้าพิมพิสารทรงสดับถ้อยคำนั้นแล้ว เสด็จไปยังสำนักพระศาสดา กราบทูลว่า "พระเจ้าข้า ได้ทราบว่าพระองค์ทรงบัญญัติสิกขาบทแก่เหล่าสาวก เพื่อต้องการไม่ให้ทำปาฏิหาริย์เสียแล้วหรือ?"
              พระศาสดา. ขอถวายพระพร มหาบพิตร.

              พระราชา. บัดนี้ พวกเดียรถีย์พากันกล่าวว่า ‘พวกเราจักทำปาฏิหาริย์กับด้วยพระองค์’ บัดนี้ พระองค์จักทรงทำอย่างไร?
              พระศาสดา. เมื่อเดียรถีย์เหล่านั้นกระทำ อาตมภาพก็จักกระทำ มหาบพิตร.

              พระราชา. พระองค์ทรงบัญญัติสิกขาบทไว้แล้วมิใช่หรือ?
              พระศาสดา. มหาบพิตร อาตมภาพมิได้บัญญัติสิกขาบทเพื่อตน สิกขาบทนั้นนั่นแล อาตมภาพบัญญัติไว้เพื่อสาวกทั้งหลาย.

              พระราชา. สิกขาบท เป็นอันชื่อว่าอันพระองค์ทรงบัญญัติในสาวกทั้งหลายอื่น เว้นพระองค์เสียหรือ? พระเจ้าข้า.
              พระศาสดา. มหาบพิตร ถ้าเช่นนั้น อาตมภาพจักย้อนถามพระองค์นั่นแหละในเพราะเรื่องนี้ มหาบพิตร ก็พระอุทยานในแว่นแคว้นของพระองค์มีอยู่หรือ?

              พระราชา. มี พระเจ้าข้า.
              พระศาสดา. มหาบพิตร ถ้าว่ามหาชนพึงบริโภคผลไม้ เป็นต้นว่า ผลมะม่วงในพระอุทยานของพระองค์, พระองค์พึงทรงทำอย่างไร แก่เขา?
              พระราชา. พึงลงอาชญา พระเจ้าข้า.

              พระศาสดา. ก็พระองค์ย่อมได้เพื่อเสวยหรือ?
              พระราชา. พระเจ้าข้า อาชญาไม่มีแก่หม่อมฉัน หม่อมฉันย่อมได้เพื่อเสวยของๆ ตน.

              พระศาสดา. มหาบพิตร อาชญาแม้ของอาตมภาพย่อมแผ่ไปในแสนโกฏิจักรวาล เหมือนอาชญาของพระองค์ที่แผ่ไปในแว่นแคว้นประมาณ ๓๐๐ โยชน์ อาชญาไม่มีแก่พระองค์ผู้เสวยผลไม้ทั้งหลายเป็นต้น ว่าผลมะม่วงในพระอุทยานของพระองค์ แต่มีอยู่แก่ชนเหล่าอื่น ขึ้นชื่อว่า การก้าวล่วงบัญญัติ คือสิกขาบท ย่อมไม่มีแก่ตน แต่ย่อมมีแก่สาวกเหล่าอื่น อาตมภาพจึงจักทำปาฏิหาริย์.

              พวกเดียรถีย์ฟังถ้อยคำนั้นแล้ว ปรึกษากันว่า "บัดนี้ พวกเราฉิบหายแล้ว ได้ยินว่า พระสมณโคดมทรงบัญญัติสิกขาบทเพื่อเหล่าสาวกเท่านั้น ไม่ทรงบัญญัติไว้เพื่อตน ได้ยินว่า ท่านปรารถนาจะทำปาฏิหาริย์เองทีเดียว พวกเราจักทำอย่างไรกันเล่า?" พระราชาทูลถามพระศาสดาว่า "เมื่อไร พระองค์จักทรงทำปาฏิหาริย์? พระเจ้าข้า."
              พระศาสดา. มหาบพิตร โดยล่วงไปอีก ๔ เดือนต่อจากนี้ไป วันเพ็ญเดือน ๘ จักทำ.

              พระราชา. พระองค์จักทรงทำที่ไหน? พระเจ้าข้า.
              พระศาสดา. อาตมภาพจักอาศัยเมืองสาวัตถีทำ มหาบพิตร.

              มีคำถามสอดเข้ามาว่า ก็ทำไม พระศาสดาจึงอ้างที่ไกลอย่างนี้?
              แก้ว่า เพราะที่นั้นเป็นสถานที่ทำมหาปาฏิหาริย์ของพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ อีกอย่างหนึ่ง พระองค์อ้างที่ไกลทีเดียว แม้เพื่อประโยชน์จะให้มหาชนประชุมกัน.

              พวกเดียรถีย์ฟังถ้อยคำนั้นแล้วกล่าวว่า "ได้ยินว่า ต่อจากนี้โดยล่วงไป ๔ เดือน พระสมณโคดมจักทำปาฏิหาริย์ ณ เมืองสาวัตถี บัดนี้ พวกเราไม่ละเทียว จักติดตามพระองค์ไป มหาชนเห็นพวกเราแล้ว จักถามว่า "นี่อะไรกัน?" ทีนั้น พวกเราจักบอกแก่เขาว่า "พวกเราพูดไว้แล้วว่า ‘จักทำปาฏิหาริย์กับพระสมณโคดม’ พระสมณโคดมนั้นย่อมหนีไป พวกเราไม่ให้พระสมณโคดมนั้นหนี จึงติดตามไป"

              พระศาสดาเสด็จเที่ยวไปบิณฑบาตในกรุงราชคฤห์ออกมาแล้ว. ถึงพวกเดียรถีย์ก็ออกมาข้างหลังของพระองค์นั่นแล อยู่ใกล้ที่ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำภัตกิจ ในวันรุ่งขึ้นพวกเดียรถีย์บริโภคอาหารเช้าในที่ๆ ตนอยู่แล้ว. เดียรถีย์เหล่านั้นถูกพวกมนุษย์ถามว่า "นี่อะไรกัน?" จึงบอกโดยนัยแห่งคำที่กล่าวแล้วในหนหลังนั่นแล.
              ฝ่ายมหาชนคิดว่า "พวกเราจักดูปาฏิหาริย์" ดังนี้แล้วได้ติดตามไป.

              พระศาสดาบรรลุถึงพระนครสาวัตถีโดยลำดับ.

              เดียรถีย์เตรียมทำปาฏิหาริย์แข่ง             
              แม้พวกเดียรถีย์ก็ไปกับพระองค์เหมือนกัน ชักชวนอุปัฏฐากได้ทรัพย์แสนหนึ่งแล้ว ให้ทำมณฑปด้วยเสาไม้ตะเคียน๑- ให้มุงด้วยอุบลเขียว นั่งพูดกันว่า "พวกเราจักทำปาฏิหาริย์ในที่นี้."
____________________________

๑- ขทิร ในที่บางแห่งแปลว่า ไม้สะแก.


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 23, 2012, 07:59:02 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ยมกปาฏิหาริย์
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2011, 06:00:36 pm »



              ครั้งนั้น พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จเข้าไปเฝ้าพระศาสดา กราบทูลว่า "พวกเดียรถีย์ให้ทำมณฑปแล้ว พระเจ้าข้า, แม้ข้าพระองค์จะให้ทำมณฑปเพื่อพระองค์."

              พระศาสดา. อย่าเลยมหาบพิตร ผู้ทำมณฑปของอาตมภาพมี.
              พระราชา. คนอื่นใครเล่า เว้นข้าพระองค์เสีย จักอาจทำได้ พระเจ้าข้า?
              พระศาสดา. ท้าวสักกเทวราช.
              พระราชา. ก็พระองค์จักทรงทำปาฏิหาริย์ที่ไหนเล่า? พระเจ้าข้า.
              พระศาสดา. ที่ควงไม้คัณฑามพพฤกษ์ มหาบพิตร.

              พวกเดียรถีย์ได้ยินว่า "ได้ข่าวว่า พระสมณโคดมจักทำปาฏิหาริย์ที่ควงไม้มะม่วง" จึงบอกพวกอุปัฏฐากของตน ให้ถอนต้นมะม่วงเล็กๆ โดยที่สุดแม้งอกในวันนั้น ในที่ระหว่างโยชน์หนึ่ง แล้วให้ทิ้งไปในป่า.

              ในวันเพ็ญเดือน ๘ พระศาสดาเสด็จเข้าไปภายในพระนคร. ผู้รักษาสวนของพระราชา ชื่อคัณฑะ เห็นมะม่วงสุกผลใหญ่ผลหนึ่ง ในระหว่างกลุ่มใบที่มดดำมดแดงทำรังไว้ ไล่กาที่มาชุมนุมด้วยความโลภในกลิ่นและรสแห่งมะม่วงนั้น ให้หนีไปแล้ว ถือเอาเพื่อประโยชน์แด่พระราชา เดินไปเห็นพระศาสดาในระหว่างทาง คิดว่า "พระราชาเสวยผลมะม่วงนี้แล้ว พึงพระราชทานกหาปณะแก่เรา ๘ กหาปณะ หรือ ๑๖ กหาปณะ กหาปณะนั้นไม่พอเพื่อเลี้ยงชีพในอัตภาพหนึ่งของเรา ก็ถ้าว่า เราจักถวายผลมะม่วงนี้แด่พระศาสดา นั่นจักเป็นคุณนำประโยชน์เกื้อกูลมาให้แก่เราตลอดกาลไม่มีสิ้นสุด."

              เขาน้อมถวายผลมะม่วงนั้นแด่พระศาสดา.
              พระศาสดาทอดพระเนตรดูพระอานนทเถระแล้ว. ลำดับนั้น พระเถระนำบาตรที่ท้าวมหาราชทั้ง ๔ ถวายออกมาแล้ว วางที่พระหัตถ์ของพระองค์.

              พระศาสดาทรงน้อมบาตรเข้าไปรับมะม่วงแล้ว ทรงแสดงอาการเพื่อประทับนั่งในที่นั้นนั่นแหละ. พระเถระได้ปูจีวรถวายแล้ว. ลำดับนั้น เมื่อพระองค์ประทับนั่งบนจีวรนั้นแล้ว พระเถระกรองน้ำดื่ม แล้วขยำมะม่วงสุกผลนั้น ได้ทำให้เป็นน้ำปานะถวาย. พระศาสดาเสวยน้ำปานะผลมะม่วงแล้วตรัสกะนายคัณฑะว่า "เธอจงคุ้ยดินร่วนขึ้นแล้ว ปลูกเมล็ดมะม่วงนี้ในที่นี้นี่แหละ." เขาได้ทำอย่างนั้นแล้ว.


              ประวัติคัณฑามพพฤกษ์  
              พระศาสดาทรงล้างพระหัตถ์บนเมล็ดมะม่วงนั้น. พอเมื่อพระหัตถ์อันพระองค์ทรงล้างแล้วเท่านั้น ต้นมะม่วงมีลำต้นเท่าศีรษะไถ (งอนไถ) มีประมาณ ๕๐ ศอก โดยส่วนสูงงอกขึ้นแล้ว กิ่งใหญ่ ๕ กิ่ง คือใน๔ ทิศๆ ละกิ่ง เบื้องบนกิ่งหนึ่ง ได้มีประมาณกิ่งละ ๕๐ ศอกเทียว. ต้นมะม่วงนั้นสมบูรณ์ด้วยช่อและผล ได้ทรงไว้ซึ่งพวงแห่งมะม่วงสุกในที่แห่งหนึ่ง ในขณะนั้นนั่นเอง.

              พวกภิกษุผู้มาข้างหลัง มาขบฉันผลมะม่วงสุกเหมือนกัน.
              พระราชาทรงสดับว่า "ข่าวว่า ต้นมะม่วงเห็นปานนี้เกิดขึ้นแล้ว" จึงทรงตั้งอารักขาไว้ด้วยพระดำรัสว่า "ใครๆ อย่าตัดต้นมะม่วงนั้น." ก็ต้นมะม่วงนั้นปรากฏชื่อว่า "คัณฑามพพฤกษ์ " เพราะความที่นายคัณฑะปลูกไว้. แม้พวกนักเลงเคี้ยวกินผลมะม่วงสุกแล้วพูดว่า "เจ้าพวกเดียรถีย์ถ่อยเว้ย พวกเจ้ารู้ว่า ‘พระสมณโคดมจักทรงทำปาฏิหาริย์ที่โคนต้นคัณฑามพพฤกษ์’ จึงสั่งให้ถอนต้นมะม่วงเล็กๆ แม้ที่เกิดในวันนั้นในร่วมในที่โยชน์หนึ่ง ต้นมะม่วงนี้ ชื่อว่าคัณฑามพะ" แล้วเอาเมล็ดมะม่วงที่เป็นเดนประหารพวกเดียรถีย์เหล่านั้น.

              ท้าวสักกะทำลายพิธีของพวกเดียรถีย์              
              ท้าวสักกะทรงสั่งบังคับวาตวลาหกเทวบุตรว่า "ท่านจงถอนมณฑปของพวกเดียรถีย์เสียด้วยลม แล้วให้ลม (หอบไป) ทิ้งเสียบนแผ่นดินที่ทิ้งหยากเยื่อ." เทวบุตรนั้นได้ทำเหมือนอย่างนั้นแล้ว. ท้าวสักกะสั่งบังคับสุริยเทวบุตรว่า "ท่านจงขยายมณฑลพระอาทิตย์ ยัง (พวกเดียรถีย์) ให้เร่าร้อน." แม้เทวบุตรนั้นก็ได้ทำเหมือนอย่างนั้นแล้ว. ท้าวสักกะทรงสั่งบังคับวาตวลาหกเทวบุตรอีกว่า "ท่านจงยังมณฑลแห่งลม (ลมหัวด้วน) ให้ตั้งขึ้นไปเถิด." เทวบุตรนั้นทำอยู่เหมือนอย่างนั้น โปรยเกลียวธุลีลงที่สรีระของพวกเดียรถีย์ที่มีเหงื่อไหล. พวกเดียรถีย์เหล่านั้นได้เป็นเช่นกับจอมปลวกแดง. ท้าวสักกะทรงสั่งบังคับแม้วัสสวลาหกเทวบุตรว่า "ท่านจงให้หยาดน้ำเม็ดใหญ่ๆ ตก." เทวบุตรนั้นได้ทำเหมือนอย่างนั้นแล้ว. ทีนั้น กายของพวกเดียรถีย์เหล่านั้นได้เป็นเช่นกับแม่โคด่างแล้ว. พวกเขาแตกหมู่กัน หนีไปในที่เฉพาะหน้าๆ นั่นเอง.

              เมื่อพวกเขาหนีไปอยู่อย่างนั้น ชาวนาคนหนึ่งเป็นอุปัฏฐากของปูรณกัสสป คิดว่า "บัดนี้ เป็นเวลาทำปาฏิหาริย์แห่งพระผู้เป็นเจ้าของเรา เราจักดูปาฏิหาริย์นั้น" แล้วปล่อยโค ถือหม้อยาคูและเชือก ซึ่งตนนำมาแต่เช้าตรู่เดินมาอยู่ เห็นปูรณะหนีไปอยู่เช่นนั้น จึงกล่าวว่า "ท่านขอรับ ผมมาด้วยหวังว่า ‘จักดูปาฏิหาริย์ของพระผู้เป็นเจ้า’ พวกท่านจะไปที่ไหน?"
              ปูรณะ. ท่านจะต้องการอะไรด้วยปาฏิหาริย์ ท่านจงให้หม้อและเชือกนี้แก่เรา.
              เขาถือเอาหม้อและเชือกที่อุปัฏฐากนั้นให้แล้ว ไปยังฝั่งแม่น้ำ เอาเชือกผูกหม้อเข้าที่คอของตนแล้ว กระโดดลงไปในห้วงน้ำ ยังฟองน้ำให้ตั้งขึ้นอยู่ ทำกาละในอเวจีแล้ว.

              พระศาสดาทรงนิรมิตจงกรมแก้วในอากาศ. ที่สุดด้านหนึ่งของจงกรมนั้น ได้มีที่ขอบปากจักรวาลด้านปราจีนทิศ, ด้านหนึ่งได้มีที่ขอบปากจักรวาลด้านปัศจิมทิศ. พระศาสดาเมื่อบริษัทมีประมาณ ๓๖ โยชน์ประชุมกันแล้ว ในเวลาบ่ายเสด็จออกจากพระคันธกุฎี ด้วยทรงดำริว่า "บัดนี้ เป็นเวลาทำปาฏิหาริย์"  แล้วได้ประทับยืนที่หน้ามุข.

              สาวกสาวิการับอาสาทำปาฏิหาริย์แทน              
              ครั้งนั้น อนาคามีอุบาสิกาคนหนึ่งผู้นันทมารดา ชื่อฆรณี เข้าไปเฝ้าพระองค์แล้วกราบทูลว่า "พระเจ้าข้า เมื่อธิดาเช่นหม่อมฉันมีอยู่ กิจที่พระองค์ต้องลำบากย่อมไม่มี หม่อมฉันจักทำปาฏิหาริย์."

              พระศาสดา. ฆรณี เธอจักทำอย่างไร?
              ฆรณี. พระเจ้าข้า หม่อมฉันจักทำแผ่นดินใหญ่ในห้องแห่งจักรวาลหนึ่งให้เป็นน้ำ แล้วดำลงเหมือนนางนกเป็ดน้ำ แสดงตนที่ขอบปากแห่งจักรวาลด้านปาจีนทิศ ที่ขอบปากแห่งจักรวาลด้านปัศจิมทิศ อุตรทิศและทักษิณทิศก็เช่นนั้น ตรงกลางก็เช่นนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น มหาชนเห็นหม่อมฉันแล้ว เมื่อใครๆ พูดขึ้นว่า ‘นั่นใคร?’ ก็จะบอกว่า ‘นั่นชื่อนางฆรณี อานุภาพของหญิงคนหนึ่งยังเพียงนี้ก่อน ส่วนอานุภาพของพระพุทธเจ้า จักเป็นเช่นไร?’ พวกเดียรถีย์ไม่ทันเห็นพระองค์เลย ก็จักหนีไปด้วยอาการอย่างนี้.

              ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะนางว่า "ฆรณี เราย่อมทราบความที่เธอเป็นผู้สามารถทำปาฏิหาริย์เห็นปานนี้ได้ แต่พวงดอกไม้นี้ เขามิได้ผูกไว้เพื่อประโยชน์แก่เธอ" แล้วทรงห้ามเสีย.
              นางฆรณีนั้นคิดว่า "พระศาสดาไม่ทรงอนุญาตแก่เรา คนอื่นผู้สามารถทำปาฏิหาริย์ยิ่งขึ้นไปกว่าเราจะมีแน่แท้" ดังนี้ แล้วได้ยืนอยู่ ณ ที่ส่วนข้างหนึ่ง.

              ฝ่ายพระศาสดาทรงดำริว่า "คุณของสาวกเหล่านั้นจักปรากฏด้วยอาการอย่างนี้แหละ" ทรงสำคัญอยู่ว่า "พวกสาวกจะบันลือสีหนาท ณ ท่ามกลางบริษัทมีประมาณ ๓๖ โยชน์ ด้วยอาการอย่างนี้" จึงตรัสถามสาวกแม้พวกอื่นอีกว่า "พวกเธอจักทำปาฏิหาริย์อย่างไร?" สาวกเหล่านั้นก็กราบทูลว่า "พวกข้าพระองค์จักทำอย่างนี้และอย่างนี้ พระเจ้าข้า" แล้วยืนอยู่เฉพาะพระพักตร์ของพระศาสดานั่นแหละ บันลือสีหนาท.



-http://agaligohome.com/index.php?topic=1699.0

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 23, 2012, 06:10:45 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ยมกปาฏิหาริย์
« ตอบกลับ #3 เมื่อ: สิงหาคม 04, 2011, 06:03:28 pm »



นายขวัญ เรียงเงิน สาขาวิชาศิลปะไทย ปี 4
ชื่อผลงาน ยมกปาฏิหาริย์ เทคนิค สีอะครายลิค
http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=somchai1972&month=24-02-2009&group=4&gblog=9

            บรรดาสาวกเหล่านั้น ได้ยินว่า ท่านจุลอนาถบิณฑิกะคิดว่า "เมื่ออนาคามีอุบาสกผู้เป็นบุตรเช่นเรามีอยู่ กิจที่พระศาสดาต้องลำบากย่อมไม่มี" จึงกราบทูลว่า "พระเจ้าข้า ข้าพระองค์จักทำปาฏิหาริย์" ถูกพระศาสดาตรัสถามว่า "เธอจักทำอย่างไร?"

              จึงกราบทูลว่า "พระเจ้าข้า ข้าพระองค์จักนิรมิตอัตภาพเหมือนพรหมมีประมาณ ๑๒ โยชน์ จักปรบดุจดังพรหมด้วยเสียงเช่นกับมหาเมฆกระหึ่มในท่ามกลางบริษัทนี้ มหาชนจักถามว่า 'นี่ชื่อว่าเสียงอะไรกัน?' แล้วจักกล่าวกันเองว่า ‘นัยว่า นี่ชื่อว่าเป็นเสียงแห่งการปรบดังพรหมของท่านจุลอนาถบิณฑิกะ’ พวกเดียรถีย์จักคิดว่า ' อานุภาพของคฤหบดียังถึงเพียงนี้ก่อน อานุภาพของพระพุทธเจ้าจะเป็นเช่นไร? ยังไม่ทันเห็นพระองค์เลยก็จักหนีไป."
              พระศาสดาตรัสเช่นนั้นเหมือนกัน แม้แก่ท่านจุลอนาถบิณฑิกะนั้นว่า "เราทราบอานุภาพของเธอ" แล้วไม่ทรงอนุญาตการทำปาฏิหาริย์.

              ต่อมา สามเณรีชื่อว่าวีรา มีอายุได้ ๗ ขวบ บรรลุปฏิสัมภิทารูปหนึ่ง ถวายบังคมพระศาสดาแล้วกราบทูลว่า "พระเจ้าข้า หม่อมฉันจักทำปาฏิหาริย์."
              พระศาสดา. วีรา เธอจักทำอย่างไร?
              วีรา. พระเจ้าข้า หม่อมฉันจักนำภูเขาสิเนรุ ภูเขาจักรวาล และภูเขาหิมพานต์ตั้งเรียงไว้ในที่นี้ แล้วจักออกจากภูเขานั้นๆ ไปไม่ขัดข้องดุจนางหงส์ มหาชนเห็นหม่อมฉันแล้วจักถามว่า ‘นั่นใคร?’ แล้วจักกล่าวว่า ‘วีราสามเณรี, พวกเดียรถีย์คิดกันว่า อานุภาพของสามเณรีผู้มีอายุ ๗ ขวบ ยังถึงเพียงนี้ก่อน อานุภาพของพระพุทธเจ้าจักเป็นเช่นไร?’ ยังไม่ทันเห็นพระองค์เลยก็จักหนีไป.
              เบื้องหน้าแต่นี้ไป พึงทราบคำเห็นปานนี้ โดยทำนองดังที่กล่าวแล้วนั่นแล.
              พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสแม้แก่สามเณรีนั้นว่า "เราทราบอานุภาพของเธอ" ดังนี้แล้ว ก็ไม่ทรงอนุญาตการทำปาฏิหาริย์.

              ลำดับนั้น สามเณรชื่อจุนทะผู้เป็นขีณาสพ บรรลุปฏิสัมภิทารูปหนึ่ง มีอายุ ๗ ขวบแต่เกิดมา เข้าไปเฝ้าพระศาสดา ถวายบังคมแล้วกราบทูลว่า "ข้าพระองค์จักทำปาฏิหาริย์ พระเจ้าข้า" ถูกพระศาสดาตรัสถามว่า "เธอจักทำอย่างไร?" จึงกราบทูลว่า "พระเจ้าข้า ข้าพระองค์จักจับต้นหว้าใหญ่ที่เป็นธงแห่งชมพูทวีปที่ลำต้นแล้วเขย่า นำผลหว้าใหญ่มาให้บริษัทนี้เคี้ยวกิน และข้าพระองค์จักนำดอกแคฝอยมาแล้ว ถวายบังคมพระองค์." พระศาสดาตรัสว่า "เราทราบอานุภาพของเธอ" ดังนี้แล้ว ก็ทรงห้ามการทำปาฏิหาริย์ แม้ของสามเณรนั้น.

              ลำดับนั้น พระเถรีชื่ออุบลวรรณา ถวายบังคมพระศาสดาแล้ว กราบทูลว่า "หม่อมฉันจักทำปาฏิหาริย์ พระเจ้าข้า" ถูกพระศาสดาตรัสถามว่า "เธอจักทำอย่างไร?" จึงกราบทูลว่า "พระเจ้าข้า หม่อมฉันจักแสดงบริษัทมีประมาณ ๓๒ โยชน์โดยรอบ เป็นพระเจ้าจักรพรรดิ อันบริษัทมีประมาณ ๓๖ โยชน์โดยกลมแวดล้อมแล้วมาถวายบังคมพระองค์."
              พระศาสดาตรัสว่า "เราทราบอานุภาพของเธอ" แล้วก็ทรงห้ามการทำปาฏิหาริย์ แม้ของพระเถรีนั้น.

              ลำดับนั้น พระมหาโมคคัลลานเถระถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วกราบทูลว่า "ข้าพระองค์จักทำปาฏิหาริย์ พระเจ้าข้า" ถูกพระศาสดาตรัสถามว่า "เธอจักทำอะไร?" จึงกราบทูลว่า " ข้าพระองค์จักวางเขาหลวงชื่อสิเนรุไว้ในระหว่างฟัน แล้วเคี้ยวกินภูเขานั้นดุจพืชเมล็ดผักกาดพระเจ้าข้า."

              พระศาสดา. เธอจักทำอะไร? อย่างอื่น.
              มหาโมคคัลลานะ. ข้าพระองค์จักม้วนแผ่นดินใหญ่นี้ดุจเสื่อลำแพนแล้วใส่เข้าไว้ (หนีบไว้) ในระหว่างนิ้วมือ.
              พระศาสดา. เธอจักทำอะไร? อย่างอื่น.
              มหาโมคคัลลานะ. ข้าพระองค์จักหมุนแผ่นดินใหญ่ ให้เป็นเหมือนแป้นหมุนภาชนะดินของช่างหม้อ แล้วให้มหาชนเคี้ยวกินโอชะแผ่นดิน.
              พระศาสดา. เธอจักทำอะไร? อย่างอื่น.
              มหาโมคคัลลานะ. ข้าพระองค์จักทำแผ่นดินไว้ในมือเบื้องซ้ายแล้ว วางสัตว์เหล่านี้ไว้ในทวีปอื่นด้วยมือเบื้องขวา.
             พระศาสดา. เธอจักทำอะไร? อย่างอื่น.
              มหาโมคคัลลานะ. ข้าพระองค์จักทำเขาสิเนรุให้เป็นด้ามร่ม ยกแผ่นดินใหญ่ขึ้นวางไว้ข้างบนของภูเขาสิเนรุนั้น เอามือข้างหนึ่งถือไว้ คล้ายภิกษุมีร่มในมือ จงกรมไปในอากาศ.
              พระศาสดาตรัสว่า "เราทราบอานุภาพของเธอ" ดังนี้แล้วก็ไม่ทรงอนุญาตการทำปาฏิหาริย์ แม้ของพระเถระนั้น.

              พระเถระนั้นคิดว่า "ชะรอยพระศาสดาจะทรงทราบผู้สามารถทำปาฏิหาริย์ยิ่งกว่าเรา" จึงได้ยืนอยู่ ณ ที่ส่วนข้างหนึ่ง.
              ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะพระเถระนั้นว่า "โมคคัลลานะ พวงดอกไม้นี้ เขามิได้ผูกไว้เพื่อประโยชน์แก่เธอ ด้วยว่า เราเป็นผู้มีธุระที่หาผู้เสมอมิได้ ผู้อื่นที่ชื่อว่าสามารถนำธุระของเราไปได้ไม่มี การที่ผู้สามารถนำธุระของเราไปได้ไม่พึงมีในบัดนี้ไม่เป็นของอัศจรรย์ แม้ในกาลที่เราเกิดในกำเนิดสัตว์เดียรัจฉานที่เป็นอเหตุกกำเนิด ผู้อื่นที่สามารถนำธุระของเราไป ก็มิได้มีแล้วเหมือนกัน" อันพระเถระทูลถามว่า "ในกาลไรเล่า? พระเจ้าข้า" จึงทรงนำอดีตนิทานมาตรัสกัณหอุสภชาดก๑- นี้ให้พิสดารว่า :-
                        ธุระหนักมีอยู่ในกาลใดๆ ทางไปในที่ลุ่มลึก มีอยู่ในกาลใด
                        ในกาลนั้นแหละ พวกเจ้าของย่อมเทียมโคชื่อกัณหะ,
                        โคชื่อกัณหะนั้นแหละ ย่อมนำธุระนั้นไป.

              เมื่อจะทรงแสดงเรื่องนั้นนั่นแหละให้พิเศษยิ่งขึ้นไปอีก จึงตรัสนันทวิสาลชาดก๒- นี้ให้พิสดารว่า :-
                        บุคคลพึงกล่าวคำเป็นที่พอใจเท่านั้น ไม่พึงกล่าวคำไม่เป็นที่พอใจ
                        ในกาลไหนๆ (เพราะ) เมื่อพราหมณ์กล่าวคำเป็นที่พอใจอยู่,
                        โคนันทวิสาลเข็นภาระอันหนักไปได้ ยังพราหมณ์นั้นให้ได้ทรัพย์
                        และพราหมณ์นั้นได้เป็นผู้มีใจเบิกบาน เพราะการได้ทรัพย์นั้น.
____________________________

๑- ขุ. ชา. เล่ม ๒๗/ข้อ ๒๙; อรรถกถา ขุ. ชา. เล่ม ๒๗/ข้อ ๒๙
๒- ขุ. ชา. เล่ม ๒๗/ข้อ ๒๘; อรรถกถา ขุ. ชา. เล่ม ๒๗/ข้อ ๒๘


              ก็แล พระศาสดาครั้นตรัสแล้ว จึงเสด็จขึ้นสู่จงกรมแก้วนั้น. ข้างหน้าได้มีบริษัทประมาณ ๑๒ โยชน์ ข้างหลัง ข้างซ้าย และข้างขวาก็เหมือนอย่างนั้น ส่วนโดยตรง มีประมาณ ๒๔ โยชน์. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ในท่ามกลางบริษัท.

              ยมกปาฏิหาริย์นั้น บัณฑิตพึงทราบตามพระบาลีอย่างนี้ก่อน.
              ลักษณะของยมกปาฏิหาริย์             
              "๑- ญาณในยมกปาฏิหาริย์ของพระตถาคต เป็นไฉน?

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 30, 2012, 09:53:56 am โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ยมกปาฏิหาริย์
« ตอบกลับ #4 เมื่อ: สิงหาคม 06, 2011, 07:59:32 am »



             ในญาณนี้พระตถาคตทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ไม่ทั่วไปด้วยพวกสาวก; ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระกายเบื้องบน, สายน้ำไหลออกแต่พระกายเบื้องล่าง; ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระกายเบื้องล่าง, สายน้ำไหลออกแต่พระกายเบื้องบน; ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระกายเบื้องหน้า, สายน้ำไหลออกแต่พระกายเบื้องหลัง; ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระกายเบื้องหลัง, สายน้ำไหลออกแต่พระกายเบื้องหน้า; ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระเนตรเบื้องขวา, สายน้ำไหลออกแต่พระเนตรเบื้องซ้าย; ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระเนตรเบื้องซ้าย; สายน้ำไหลออกแต่พระเนตรเบื้องขวา; ท่อไฟพลุ่งออกแต่ช่องพระกรรณเบื้องขวา, สายน้ำไหลออกแต่ช่องพระกรรณเบื้องซ้าย; ท่อไฟพลุ่งออกแต่ช่องพระกรรณเบื้องซ้าย, สายน้ำไหลออกแต่ช่องพระกรรณเบื้องขวา; ท่อไฟพลุ่งออกแต่ช่องพระนาสิกเบื้องขวา, สายน้ำไหลออกแต่ช่องพระนาสิกเบื้องซ้าย; ท่อไฟพลุ่งออกแต่ช่องพระนาสิกเบื้องซ้าย, สายน้ำไหลออกแต่ช่องพระนาสิกเบื้องขวา; ท่อไฟพลุ่งออกแต่จะงอยพระอังสาเบื้องขวา, สายน้ำไหลออกแต่จะงอยพระอังสาเบื้องซ้าย; ท่อไฟพลุ่งออกแต่จะงอยพระอังสาเบื้องซ้าย, สายน้ำไหลออกแต่จะงอยพระอังสาเบื้องขวา;

ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระหัตถ์เบื้องขวา, สายน้ำไหลออกแต่พระหัตถ์เบื้องซ้าย; ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระหัตถ์เบื้องซ้าย, สายน้ำไหลออกแต่พระหัตถ์เบื้องขวา; ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระปรัศว์เบื้องขวา; สายน้ำไหลออกแต่พระปรัศว์เบื้องซ้าย; ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระปรัศว์เบื้องซ้าย, สายน้ำไหลออกแต่พระปรัศว์เบื้องขวา; ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระบาทเบื้องขวา, สายน้ำไหลออกแต่พระบาทเบื้องซ้าย; ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระบาทเบื้องซ้าย, สายน้ำไหลออกแต่พระบาทเบื้องขวา, ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระองคุลี, สายน้ำไหลออกแต่ช่องพระองคุลี; ท่อไฟพลุ่งออกแต่ช่องพระองคุลี สายน้ำไหลออกจากพระองคุลี; ท่อไฟพลุ่งออกแต่ขุมพระโลมาขุมหนึ่งๆ, สายน้ำไหลออกแต่พระโลมาเส้นหนึ่งๆ, ท่อไฟพลุ่งออกแต่พระโลมาเส้นหนึ่งๆ, สายน้ำไหลออกแต่ขุมพระโลมาขุมหนึ่งๆ. รัศมีทั้งหลาย ย่อมเป็นไปด้วยสามารถแห่งสี ๖ อย่าง คือ เขียว เหลือง แดง ขาว หงสบาท ปภัสสร;

              พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจงกรม พระพุทธนิรมิตย่อมยืนหรือนั่งหรือสำเร็จการนอน; (พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับยืน พระพุทธนิรมิตย่อมจงกรม นั่งหรือสำเร็จการนอน, พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง พระพุทธนิรมิตย่อมจงกรม ยืนหรือสำเร็จการนอน; พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสำเร็จสีหไสยา พระพุทธนิรมิตย่อมจงกรม ยืนหรือนั่ง; พระพุทธนิรมิตจงกรม, พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงยืน ประทับนั่ง หรือสำเร็จสีหไสยา; พระพุทธนิรมิตทรงยืน, พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงจงกรม ประทับนั่งหรือทรงสำเร็จสีหไสยา). พระพุทธนิรมิตประทับนั่ง, พระผู้มีพระภาคเจ้าย่อมทรงจงกรม ประทับยืน หรือสำเร็จสีหไสยา พระพุทธนิรมิตสำเร็จสีหไสยา, พระผู้มีพระภาคย่อมทรงจงกรม ประทับยืน หรือประทับนั่ง.
              นี้เป็นญาณในยมกปาฏิหาริย์ของพระตถาคต."


๑- ขุ. ปฏิ. เล่ม ๓๑/ข้อ ๒๘๔.

              ก็พระศาสดาเสด็จจงกรมบนที่จงกรมนั้น ได้ทรงทำปาฏิหาริย์นี้แล้ว. เพื่อจะแสดงเนื้อความนั้น "ท่อไฟย่อมพลุ่งออกแต่พระกายเบื้องบนด้วยอำนาจเตโชกสิณสมาบัติของพระศาสดานั้น, สายน้ำไหลออกแต่พระกายเบื้องล่าง ด้วยอำนาจอาโปกสิณสมาบัติ; ท่อไฟพลุ่งออกแต่ที่ๆ สายน้ำไหลออกแล้วอีก, และสายน้ำก็ไหลออกแต่ที่ๆ ท่อไฟพลุ่งออก"

              พระสารีบุตรเถระจึงกล่าวว่า "เหฏฺฐิมกายโต อุปริมกายโต. นัยในบททั้งปวงก็เช่นนี้. ก็ในยมกปาฏิหาริย์นี้ ท่อไฟมิได้เจือปนกับสายน้ำเลย, อนึ่ง สายน้ำก็มิได้เจือด้วยท่อไฟ, ก็นัยว่าท่อไฟและสายน้ำทั้งสองนี้ พลุ่งขึ้นไปตลอดถึงพรหมโลก แล้วก็ลุกลามไปที่ขอบปากจักรวาล. ก็เพราะเหตุที่พระสารีบุตรเถระกล่าวไว้ว่า "ฉนฺนํ วณฺณานํ" พระรัศมีพรรณะ ๖ ประการของพระศาสดานั้น พลุ่งขึ้นไปจากห้องแห่งจักรวาลหนึ่ง ดุจทองคำละลายคว้าง ซึ่งกำลังไหลออกจากเบ้า และดุจสายน้ำแห่งทองคำที่ไหลออกจากทะนานยนต์ จดพรหมโลกแล้วสะท้อนกลับมาจดขอบปากจักรวาลตามเดิม. ห้องแห่งจักรวาลหนึ่ง ได้เป็นดุจเรือนต้นโพธิที่ตรึงไว้ด้วยซี่กลอนอันคด มีแสงสว่างเป็นอันเดียวกัน.

              ในวันนั้น พระศาสดาเสด็จจงกรมทรงทำ (ยมก) ปาฏิหาริย์แสดงธรรมกถาแก่มหาชนในระหว่างๆ และเมื่อทรงแสดงไม่ทรงทำให้มหาชนให้หนักใจ๑- ประทานให้เบาใจยิ่ง. ในขณะนั้น มหาชนยังสาธุการให้เป็นไปแล้ว. ๑- นิรสฺสาสํ ให้มีความโล่งใจออกแล้ว.

              ในเวลาที่สาธุการของมหาชนนั้นเป็นไป พระศาสดาทรงตรวจดูจิตของบริษัทซึ่งใหญ่ถึงเพียงนั้น ได้ทรงทราบวาระจิตของคนหนึ่งๆ ด้วยอำนาจอาการ ๑๖ อย่าง. จิตของพระพุทธเจ้าทั้งหลายเป็นไปเร็วอย่างนี้, บุคคลใดๆ เลื่อมใสในธรรมใด และในปาฏิหาริย์ใด พระศาสดาทรงแสดงธรรม และได้ทรงทำปาฏิหาริย์ด้วยอำนาจอัธยาศัยแห่งบุคคลนั้นๆ.

              เมื่อพระองค์ทรงแสดงธรรม และทรงทำปาฏิหาริย์ด้วยอาการอย่างนี้ ธรรมาภิสมัยได้มีแก่มหาชนแล้ว.

              ก็พระศาสดาทรงกำหนดจิตของพระองค์ ไม่ทรงเห็นคนอื่นผู้สามารถจะถามปัญหาในสมาคมนั้น จึงทรงนิรมิตพระพุทธนิรมิต. พระศาสดาทรงเฉลยปัญหาที่พระพุทธนิรมิตนั้นถามแล้ว. พระพุทธนิรมิตนั้นก็เฉลยปัญหาที่พระศาสดาตรัสถามแล้ว. ในเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจงกรม พระพุทธนิรมิตสำเร็จอิริยาบถมีการยืนเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง. ในเวลาที่พระพุทธนิรมิตจงกรม พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสำเร็จพระอิริยาบถ มีการประทับยืนเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง.

              เพื่อจะแสดงเนื้อความนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวคำเป็นต้นว่า "พระพุทธนิรมิตย่อมจงกรมบ้าง" เป็นต้น.
              ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์ ๒๐ โกฏิในสมาคมนั้น เพราะเห็นปาฏิหาริย์ของพระศาสดาผู้ทรงทำอยู่อย่างนั้น และเพราะได้ฟังธรรมกถา.


พุทธจริยาประวัติ: สมุดภาพฉลองพุทธ ๒๕ ศตวรรษ (พุทธศักราช ๒๕๐๐)
๔๕. พระยมกปาฏิหาริย์

ครั้งนั้น พระพุทธองค์ทรงพระดำริจะกระทำพระพุทธปาฏิหาริย์ ณ ต้นไม้มะม่วงที่พระองค์ทรงประทานเมล็ดให้นายคัณฑะปลูกรักษาไว้ อันได้นามว่า “คัณฑามพพฤกษ์” และด้วยพระพุทธานุภาพไม้มะม่วงนั้นก็เจริญงอกงามบริบูรณ์ด้วยกิ่งก้านสาขาใบและผลร่วงหล่นอยู่กลาดเกลื่อน นักเลงทั้งหลายได้บริโภคเห็นมีรสหวานอร่อยก็ชวนกันเก็บกิน และพากันโกรธแค้นพวกเดียรถีย์นิครนถ์ที่พากันโค่นต้นมะม่วงที่มีอยู่ในบริเวณนั้นเสียหมด เมื่อทราบว่าพระบรมสุคตศาสดาจะทรงกระทำพระปาฏิหาริย์ที่ต้นมะม่วง ก็พากันใช้เมล็ดมะม่วงขว้างปาพวกเดียรถีย์ และวาตวลาหกเทพบุตร ก็บันดาลมหาวาตพายุให้พานพัดมณฑปกระจัดกระจายทำลายลง พระอาทิตย์เวลาเที่ยง ก็ส่องแสงแผดเผาพวกเดียรถีย์นิครนถ์ ให้หิวกระหายบอบช้ำลำบากกาย พากันหนีไปในทิศานุทิศ

ครั้นเวลาบ่ายชายลง พระพุทธองค์ก็ทรงเริ่มกระทำพระยมกปาฏิหาริย์ มีพระอาการเป็นคู่ ๆ คือ เมื่อพระองค์ทรงเหาะขึ้นไปในอากาศเสด็จพระพุทธลีลาศด้วยปฏวีกสิณบริกรรม แล้วทรงนฤมิตพระพุทธนิมิตจงกรมไปมาเหมือนพระองค์ บางทีทรงนั่งขัดสมาธิปุจฉา พระพุทธนิมิตนั่งขัดสมาธิวิสัชนา บางคราวทรงไสยาสน์ พระพุทธนิมิตก็ไสยาสน์ เป็นต้น ขณะนั้น โลกธาตุก็เกิดมหัศจรรย์ หวั่นไหว พระพุทธองค์จึงทรงยังพระโอภาศให้แผ่ไปในหมื่นจักรวาฬ ทรงพิจารณาอุปนิสัยของเวไนยสัตว์ทั้งมวล แสดงพระสัทธรรมเทศนาโปรดให้ได้บรรลุมรรค ผล และนิพพาน

พระกิติสารโศภน - http://www.santidham.com/LifeofBuddha/LifeofBuddha1.html

              พระศาสดาเสด็จจำพรรษาชั้นดาวดึงส์
              พระศาสดากำลังทรงทำปาฏิหาริย์อยู่นั่นแล ทรงรำพึงว่า "พระพุทธเจ้าในอดีตทั้งหลายทำปาฏิหาริย์นี้แล้ว จำพรรษาที่ไหนหนอแล?" ทรงเห็นว่า "จำพรรษาในภพดาวดึงส์ แล้วทรงแสดงอภิธรรมปิฎกแก่พระพุทธมารดา" ดังนี้แล้ว ทรงยกพระบาทขวาเหยียบเหนือยอดภูเขายุคันธร ทรงยกพระบาทอีกข้างหนึ่งเหยียบเหนือยอดเขาสิเนรุ วาระที่ย่างพระบาท ๓ ก้าว ได้มีแล้วในที่ ๖๘ แสนโยชน์อย่างนี้. ช่องพระบาท ๒ ช่อง ได้ถ่างออกเช่นเดียวกันกับการย่างพระบาทตามปกติ.

              ใครๆ ไม่พึงกำหนดว่า "พระศาสดาทรงเหยียดพระบาทเหยียบแล้ว. เพราะในเวลาที่พระองค์ทรงยกพระบาทนั่นแหละ ภูเขาเหล่านั้นก็มาสู่ที่ใกล้พระบาทรับไว้แล้ว ในเวลาที่พระศาสดาทรงเหยียบแล้ว ภูเขาเหล่านั้นก็ตั้งประดิษฐานในที่เดิม."

              ท้าวสักกะทอดพระเนตรเห็นพระศาสดาแล้ว ทรงดำริว่า "พระศาสดาจักทรงเข้าจำพรรษานี้ ในท่ามกลางบัณฑุกัมพลสิลา อุปการะจักมีแก่เหล่าเทพดามากหนอ แต่เมื่อพระศาสดาทรงจำพรรษา ที่นั่น เทพดาอื่นๆ จักไม่อาจหยุดมือได้ ก็แลบัณฑุกัมพลสิลานี้ ยาว ๖๐ โยชน์ กว้าง ๕๐ โยชน์ หนา ๑๕ โยชน์ แม้เมื่อพระศาสดาประทับนั่งแล้ว ก็คงคล้ายกับว่างเปล่า."


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 30, 2012, 11:09:38 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ยมกปาฏิหาริย์
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: สิงหาคม 06, 2011, 08:37:32 am »



ทรงประทับที่โคนไม้ปาริฉัตร อันเป็นต้นไม้ประจำสวรรค์ชั้นดาวดึงส์
อยู่ในสวนนันทวันของพระอินทร์ มีแท่นหินอยู่ใต้ต้น
ปูลาดด้วยผ้ากัมพลสีแดง เรียก “บัณฑุกัมพลศิลาอาสน์”

              พระศาสดาทรงทราบอัธยาศัยของท้าวเธอ ทรงโยนสังฆาฏิของพระองค์ไปให้คลุมพื้นศิลาแล้ว. ท้าวสักกะทรงดำริว่า "พระศาสดาทรงโยนจีวรมาให้คลุมไว้ก่อน ก็พระองค์จักประทับนั่งในที่นิดหน่อยด้วยพระองค์เอง." พระศาสดาทรงทราบอัธยาศัยของท้าวเธอ จึงประทับนั่งทำบัณฑุกัมพลสิลาไว้ภายในขนดจีวรนั่นเอง ประหนึ่งภิกษุผู้ทรงผ้ามหาบังสุกุล ทำตั่งเตี้ยไว้ภายในขนดจีวรฉะนั้น.

              ขณะนั้นเอง แม้มหาชนแลดูพระศาสดาอยู่ ก็มิได้เห็น. กาลนั้นได้เป็นประหนึ่งเวลาพระจันทร์ตก และได้เป็นเหมือนเวลาพระอาทิตย์ตก. มหาชนคร่ำครวญกล่าวคาถานี้ว่า :-
                        พระศาสดาเสด็จไปสู่เขาจิตรกูฏ หรือสู่เขาไกรลาส หรือสู่
                        เขายุคันธร, เราทั้งหลายจึงไม่เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
                        ผู้โลกเชษฐ์ ผู้ประเสริฐกว่านระ.

              อีกพวกหนึ่งกำลังคร่ำครวญว่า "ชื่อว่าพระศาสดา ทรงยินดีแล้วในวิเวก พระองค์จักเสด็จไปสู่แคว้นอื่น หรือชนบทอื่นเสียแล้ว เพราะทรงละอายว่า ‘เราทำปาฏิหาริย์เห็นปานนี้ แก่บริษัทเห็นปานนี้’ บัดนี้ เราทั้งหลายคงไม่ได้เห็นพระองค์" ดังนี้ กล่าวคาถานี้ว่า :-
                        พระองค์ผู้เป็นปราชญ์ ทรงยินดีแล้วในวิเวกจักไม่เสด็จกลับ
                        มาโลกนี้อีก, เราทั้งหลายจะไม่เห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
                        ผู้โลกเชษฐ์ ผู้ประเสริฐกว่านระ ดังนี้.


              ชนเหล่านั้นถามพระมหาโมคคัลลานะว่า "พระศาสดาเสด็จไปที่ไหน? ขอรับ" ท่านแม้ทราบอยู่เอง ก็ยังกล่าวว่า "จงถามพระอนุรุทธเถิด" ด้วยมุ่งหมายว่า "คุณแม้ของสาวกอื่นๆ จงปรากฏ" ดังนี้. ชนเหล่านั้นถามพระเถระอย่างนั้นว่า "พระศาสดาเสด็จไปที่ไหน? ขอรับ."
              อนุรุทธ. เสด็จไปจำพรรษาที่บัณฑุกัมพลสิลา ในภพดาวดึงส์ แล้วทรงแสดงอภิธรรมปิฎกแก่พระมารดา.
              มหาชน. จักเสด็จมาเมื่อไร? ขอรับ.
              อนุรุทธ. ทรงแสดงอภิธรรมปิฎกตลอด ๓ เดือนแล้ว จักเสด็จมาในวันมหาปวารณา.
             ชนเหล่านั้นพูดกันว่า "พวกเราไม่ได้เห็นพระศาสดา จักไม่ไป" ดังนี้แล้ว ทำที่พักอยู่แล้วในที่นั้นนั่นเอง.
              ได้ยินว่า ชนเหล่านั้นได้มีอากาศนั่นเอง เป็นเครื่องมุงเครื่องบัง ชื่อว่าเหงื่อที่ไหลออกจากตัวของบริษัทใหญ่ถึงเพียงนั้น มิได้ปรากฏแล้ว. แผ่นดินได้แหวกช่องให้แล้ว พื้นแผ่นดินในที่ทุกแห่งได้เป็นที่สะอาดทีเดียว.

              พระศาสดาได้ตรัสสั่งพระมหาโมคคัลลานะไว้ก่อนทีเดียวว่า "โมคคัลลานะ เธอพึงแสดงธรรมแก่บริษัทนั่น จุลอนาถบิณฑิกะจักให้อาหาร."
              เพราะเหตุนั้น จุลอนาถบิณฑิกะแลได้ให้แล้วซึ่งข้าวต้ม ข้าวสวย ของเคี้ยว ของหอม ระเบียบและเครื่องประดับแก่บริษัทนั้น ทุกเวลาทั้งเช้าและเย็นตลอดไตรมาสนั้น.
              พระมหาโมคคัลลานะแสดงธรรมแล้ว วิสัชนาปัญหาที่เหล่าชนผู้มาแล้วๆ เพื่อดูปาฏิหาริย์ถามแล้ว.


-http://letsgothai.net/wat-satthatum-maeklong/

              พระสัมพุทธเจ้าไพโรจน์ล่วงเหล่าเทวดา             
              เทวดาในหมื่นจักรวาลแวดล้อมแม้พระศาสดาผู้ทรงจำพรรษาที่บัณฑุกัมพลสิลา
              เพื่อทรงแสดงอภิธรรมแก่พระมารดา
              เหตุนั้น พระธรรมสังคาหกาจารย์จึงกล่าวว่า :-
                           ในกาลใด พระพุทธเจ้า ผู้เป็นยอดบุรุษประทับ
                        อยู่เหนือบัณฑุกัมพลสิลา ณ ควงไม้ปาริฉัตตกะ ในภพ
                        ดาวดึงส์, ในกาลนั้น เทพดาทั้งหลายในหมื่นโลกธาตุ
                        ประชุมพร้อมกันแล้วเข้าเฝ้าพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ผู้
                        ประทับอยู่บนยอดเขา, เทพดาองค์ไหนๆ ก็หาไพโรจน์
                        กว่าพระสัมพุทธเจ้าโดยวรรณะไม่, พระสัมพุทธเจ้า
                        เท่านั้น ย่อมไพโรจน์ล่วงปวงเทพดาทั้งหมด.

              ก็เมื่อพระศาสดานั้นประทับนั่งครอบงำเทพดาทุกหมู่เหล่า ด้วยรัศมีพระสรีระของพระองค์อย่างนี้ พระพุทธมารดาเสด็จมาจากวิมานชั้นดุสิต ประทับนั่ง ณ พระปรัศว์เบื้องขวา.
              แม้อินทกเทพบุตรก็มานั่ง ณ พระปรัศว์เบื้องขวาเหมือนกัน. อังกุรเทพบุตรมานั่ง ณ พระปรัศว์เบื้องซ้าย. อังกุรเทพบุตรนั้น เมื่อเทพดาทั้งหลายผู้มีศักดิ์ใหญ่ประชุมกัน ร่นออกไปแล้ว ได้โอกาสในที่มีประมาณ ๑๒ โยชน์. อินทกเทพบุตรนั่งในที่นั่นเอง.
              พระศาสดาทอดพระเนตรดูเทพบุตรทั้งสองนั้นแล้ว มีพระประสงค์จะยังบริษัทให้ทราบ ความที่ทานอันบุคคลถวายแล้วแก่ทักขิไณยบุคคล ในศาสนาของพระองค์ เป็นกุศลมีผลมาก จึงตรัสอย่างนี้ว่า "อังกุระเธอทำแถวเตาไฟยาว ๑๒ โยชน์ให้ทานเป็นอันมาก ในกาลประมาณหมื่นปี ซึ่งเป็นระยะกาลนาน. บัดนี้ เธอมาสู่สมาคมของเรา ได้โอกาสในที่ไกลตั้ง ๑๒ โยชน์ ซึ่งไกลกว่าเทพบุตรทั้งหมด อะไรหนอแล เป็นเหตุในข้อนี้?"

              แท้จริง พระธรรมสังคาหกาจารย์ทั้งหลาย ก็ได้กล่าวไว้ดังนี้ว่า :-
                        พระสัมพุทธเจ้าทอดพระเนตรอังกุรเทพบุตรและ
                        อินทกเทพบุตรแล้ว เมื่อจะทรงยกย่องทักขิไณย
                        บุคคล ได้ตรัสพระพุทธพจน์นี้ว่า ‘อังกุระ เธอให้
                        ทานเป็นอันมากในระหว่างกาลนาน เธอเมื่อมา
                        สู่สำนักของเรา นั่งเสียไกลลิบ.


              พระศาสดาตรัสได้ยินถึงมนุษยโลก             
              พระสุรเสียงนั้น (ดัง) ถึงพื้นปฐพี. บริษัททั้งหมดนั้นได้ยินพระสุรเสียงนั้น.

              เมื่อพระศาสดาตรัสอย่างนั้นแล้ว อังกุรเทพบุตร อันพระศาสดาผู้มีพระองค์อันอบรมแล้ว ตรัสเตือนแล้ว ได้กราบทูลคำนี้ว่า :-
                        ข้าพระองค์จะต้องการอะไร ด้วยทานอันว่างเปล่า
                        จากทักขิไณยบุคคล ยักษ์๑- ชื่ออินทกะนี้นั้นถวาย
                        ทานแล้วนิดหน่อย ยังรุ่งเรืองยิ่งกว่าข้าพระองค์
                        ดุจพระจันทร์ในหมู่ดาว.
๑- เทพบุตรผู้อันบุคคลพึงบูชา.

              บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทชฺชา แก้เป็น ทตฺวา ( แปลว่า ให้แล้ว).
              เมื่ออังกุรเทพบุตรกราบทูลอย่างนั้นแล้ว พระศาสดาตรัสกะอินทกเทพบุตรว่า "อินทกะ เธอนั่งข้างขวาของเรา ไฉนจึงไม่ต้องร่นออกไปนั่งเล่า?"
              อินทกเทพบุตรกราบทูลว่า "พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ได้ทักขิไณยสมบัติแล้ว ดุจชาวนาหว่านพืชนิดหน่อยในนาดี" ดังนี้แล้ว

              เมื่อจะประกาศทักขิไณยบุคคล จึงกราบทูลว่า :-

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: สิงหาคม 18, 2012, 05:39:44 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ยมกปาฏิหาริย์
« ตอบกลับ #6 เมื่อ: สิงหาคม 06, 2011, 08:56:08 am »



                        พืชแม้มาก อันบุคคลหว่านแล้วในนาดอน ผลย่อมไม่ไพบูลย์
                        ทั้งไม่ยังชาวนาให้ยินดี ฉันใด, ทานมากมาย อันบุคคลตั้งไว้
                        ในหมู่ชนผู้ทุศีล ผลย่อมไม่ไพบูลย์ ทั้งไม่ยังทายกให้ยินดี
                        ฉันนั้นเหมือนกัน;
 
                        พืชแม้เล็กน้อย อันบุคคลหว่านแล้วในนาดี
                        เมื่อฝนหลั่งสายน้ำถูกต้อง (ตามกาล) ผลก็ย่อมยังชาวนา
                        ให้ยินดีได้ ฉันใด, เมื่อสักการะแม้เล็กน้อยอันทายกทำแล้ว
                        ในเหล่าท่านผู้มีศีล ผู้มีคุณคงที่ผลก็ย่อมยังทายกให้ยินดีได้
                        ฉันนั้นเหมือนกัน.

              ทานที่ให้ในทักขิไณยบุคคลมีผลมาก               
              ถามว่า "ก็บุรพกรรมของอินทกเทพบุตรนั้น เป็นอย่างไร?"

              แก้ว่า "ได้ยินว่า อินทกเทพบุตรนั้นได้ให้ถวายภิกษาทัพพีหนึ่งที่เขานำมาแล้วเพื่อตน แก่พระอนุรุทธเถระผู้เข้าไปบิณฑบาตภายในบ้าน. บุญของเธอนั้น มีผลมากกว่าทานที่อังกุรเทพบุตร ทำแถวเตาไฟยาวตั้ง ๑๒ โยชน์ ให้แล้วตั้งหมื่นปี เพราะเหตุนั้น อินทกเทพบุตรจึงกราบทูลอย่างนั้น."
              เมื่ออินทกเทพบุตรกราบทูลอย่างนั้นแล้ว พระศาสดาตรัสว่า "อังกุระ การเลือกเสียก่อนแล้วให้ทานจึงควร ทานนั้นย่อมมีผลมากด้วยอาการอย่างนี้ ดุจพืชที่เขาหว่านดีในนาดีฉะนั้น แต่เธอหาได้ทำอย่างนั้นไม่ เหตุนั้น ทานของเธอจึงไม่มีผลมาก"

              เมื่อจะทรงประกาศเนื้อความนี้ให้แจ่มแจ้ง จึงตรัสว่า :-
                                ทานอันบุคคลให้แล้วในเขตใด มีผลมาก,
                        บุคคลพึงเลือกให้ทานในเขตนั้น; การเลือกให้อัน
                        พระสุคตทรงสรรเสริญแล้ว, ทานที่บุคคลให้แล้ว
                        ในทักขิไณยบุคคลทั้งหลาย ที่มีอยู่ในโลก คือหมู่
                        สัตว์ที่ยังเป็นอยู่นี้ มีผลมาก เหมือนพืชที่บุคคล
                        หว่านแล้วในนาดีฉะนั้น.

              เมื่อจะทรงแสดงธรรมให้ยิ่งขึ้นไป ได้ตรัสพระคาถาเหล่านี้ว่า :-
                                  นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นเครื่องประทุษร้าย
                        หมู่สัตว์นี้มีราคะเป็นเครื่องประทุษร้าย, เพราะ
                        เหตุนั้นแล ทานที่บุคคลให้แล้ว ในท่านที่มีราคะ
                        ไปปราศแล้วทั้งหลาย จึงมีผลมาก.

                                  นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นเครื่องประทุษร้าย
                        หมู่สัตว์นี้มีโทสะเป็นเครื่องประทุษร้าย, เพราะ
                        เหตุนั้นแล ทานที่บุคคลให้แล้วในท่านผู้มีโทสะ
                        ไปปราศแล้วทั้งหลาย จึงมีผลมาก.

                                  นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นเครื่องประทุษร้าย
                        หมู่สัตว์นี้มีโมหะเป็นเครื่องประทุษร้าย, เพราะ
                        เหตุนั้นแล ทานที่บุคคลให้แล้วในท่านผู้มีโมหะ
                        ไปปราศแล้วทั้งหลาย จึงมีผลมาก.

                                  นาทั้งหลายมีหญ้าเป็นเครื่องประทุษร้าย
                        หมู่สัตว์นี้มีความอยากเป็นเครื่องประทุษร้าย
                        เพราะเหตุนั้นแล ทานที่บุคคลให้แล้ว ในท่านผู้
                        มีความอยากไปปราศแล้วทั้งหลาย จึงมีผลมาก.

              ในกาลจบเทศนา อังกุรเทพบุตรและอินทกเทพบุตรดำรงอยู่แล้วในโสดาปัตติผล. (ธรรมเทศนาได้มีประโยชน์แม้แก่มหาชนแล้ว).

              พระศาสดาเสด็จไปโปรดพระมารดาชั้นดาวดึงส์             
              ลำดับนั้น พระศาสดาประทับนั่งในท่ามกลางเทวบริษัท ทรงปรารภพระมารดาเริ่มตั้งอภิธรรมปิฎกว่า "กุสลา ธมฺมา, อกุสลา ธมฺมา, อพฺยากตา ธมฺมา" ดังนี้เป็นต้น. ทรงแสดงอภิธรรมปิฎกโดยนัยนี้เรื่อยไปตลอด ๓ เดือน.

              ก็แลทรงแสดงธรรมอยู่ ในเวลาภิกษาจาร ทรงนิรมิตพระพุทธนิรมิต ด้วยทรงอธิษฐานว่า "พุทธนิรมิตนี้จงแสดงธรรมชื่อเท่านี้ จนกว่าเราจะมา" แล้วเสด็จไปป่าหิมพานต์ ทรงเคี้ยวไม้สีฟันชื่อนาคลตา บ้วนพระโอษฐ์ที่สระอโนดาต นำบิณฑบาตมาแต่อุตตรกุรุทวีป ได้ประทับนั่งทำภัตกิจในโรงกว้างใหญ่แล้ว.

              พระสารีบุตรเถระไปทำวัตรแด่พระศาสดาในที่นั้น.
              พระศาสดาทรงทำภัตกิจแล้ว ตรัสแก่พระเถระว่า "สารีบุตร วันนี้ เราภาษิตธรรมชื่อเท่านี้ เธอจงบอกแก่ (ภิกษุ ๕๐๐) นิสิตของตน." ได้ทราบว่า กุลบุตร ๕๐๐ เลื่อมใสยมกปาฏิหาริย์ บวชแล้วในสำนักของพระเถระ.

              พระศาสดาตรัสแล้วอย่างนั้น ทรงหมายเอาภิกษุเหล่านั้น. ก็แลครั้นตรัสแล้ว เสด็จไปสู่เทวโลก ทรงแสดงธรรมเอง ต่อจากที่พระพุทธนิรมิตแสดง. แม้พระเถระก็ไปแสดงธรรมแก่ภิกษุเหล่านั้น. ภิกษุเหล่านั้น เมื่อพระศาสดาเสด็จอยู่ในเทวโลกนั้นแล ได้เป็นผู้ชำนาญในปกรณ์ ๗ แล้ว.
              ได้ยินว่า ในกาลแห่งพระพุทธเจ้าทรงพระนามว่ากัสสป ภิกษุเหล่านั้นเป็นค้างคาวหนู ห้อยอยู่ที่เงื้อมแห่งหนึ่ง เมื่อพระเถระ ๒ รูปจงกรมแล้วท่องอภิธรรมอยู่ ได้ฟังถือเอานิมิตในเสียงแล้ว

              ค้างคาวเหล่านั้นไม่รู้ว่า "เหล่านี้ ชื่อว่าขันธ์, เหล่านี้ ชื่อว่าธาตุ" ด้วยเหตุสักว่าถือเอานิมิตในเสียงเท่านั้น จุติจากอัตภาพนั้น แล้วเกิดในเทวโลก เสวยทิพยสมบัติสิ้นพุทธันดรหนึ่ง จุติจากเทวโลกนั้นแล้ว เกิดในเรือนตระกูลในกรุงสาวัตถี เกิดความเลื่อมใสในยมกปาฏิหาริย์ บวชในสำนักของพระเถระแล้ว ได้เป็นผู้ชำนาญในปกรณ์ ๗ ก่อนกว่าภิกษุทั้งปวง. แม้พระศาสดาก็ทรงแสดงอภิธรรมโดยทำนองนั้นแล ตลอด ๓ เดือนนั้น.
              ในกาลจบเทศนา ธรรมาภิสมัยได้มีแก่เทวดา ๘ หมื่นโกฏิ.
              แม้พระมหามายาก็ตั้งอยู่แล้วในโสดาปัตติผล.
              พระโมคคัลลานเถระขึ้นไปทูลถามข่าวเสด็จลง             


              บริษัทมีปริมณฑล ๓๖ โยชน์แม้นั้นแล คิดว่า "แต่บัดนี้ไปในวันที่ ๗ จักเป็นวันมหาปวารณา" แล้วเข้าไปหาพระมหาโมคคัลลานเถระ กล่าวว่า "ท่านเจ้าข้า ควรจะทราบวันเสด็จลงของพระศาสดา เพราะข้าพเจ้าทั้งหลายไม่เห็นพระศาสดาแล้ว จักไม่ไป." ท่านพระมหาโมคคัลลานะฟังถ้อยคำนั้นแล้วรับว่า "ดีละ" แล้วดำลงในแผ่นดินตรงนั้นเอง อธิษฐานว่า "บริษัทจงเห็นเรา ผู้ไปถึงเชิงเขาสิเนรุแล้วขึ้นไปอยู่" มีรูปปรากฏดุจด้ายกัมพลเหลืองที่ร้อยไว้ในแก้วมณีเทียว ขึ้นไปแล้วโดยท่ามกลางเขาสิเนรุ. แม้พวกมนุษย์ก็แลเห็นท่านว่า "ขึ้นไปแล้ว ๑ โยชน์ ขึ้นไปแล้ว ๒ โยชน์" เป็นต้น แม้พระเถระขึ้นไปถวายบังคมพระบาทยุคลของพระศาสดา ดุจเทินไว้ด้วยเศียรเกล้า กราบทูลอย่างนี้ว่า "พระเจ้าข้า บริษัทประสงค์จะเฝ้าพระองค์ก่อนแล้วไป พระองค์จักเสด็จลงเมื่อไร?"


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤษภาคม 18, 2013, 01:01:12 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ยมกปาฏิหาริย์
« ตอบกลับ #7 เมื่อ: สิงหาคม 06, 2011, 09:23:16 am »



              พระศาสดา. โมคคัลลานะ ก็สารีบุตร ที่ของเธอ อยู่ที่ไหน.
              โมคคัลลานะ พระเจ้าข้า ท่านจำพรรษาอยู่ในสังกัสสนคร.

              พระศาสดา. โมคคัลลานะ ในวันที่ ๗ แต่วันนี้ (ไป) เราจักลงจากเทวโลกที่ประตูเมืองสังกัสสะ ในวันมหาปวารณา ผู้ใคร่จะพบเรา ก็จงไปที่นั้นเถิด ก็แลสังกัสสนครจากกรุงสาวัตถี มีประมาณ ๓๐ โยชน์ ในทางเท่านั้น กิจที่จะต้องเตรียมเสบียง ย่อมไม่มีแก่ใครๆ เธอพึงบอกแก่คนเหล่านั้นว่า ‘ท่านทั้งหลายจงเป็นผู้รักษาอุโบสถไป ดุจไปสู่วิหารใกล้เพื่อฟังธรรมเถิด.’


พระพุทธองค์ทรงเปิดโลก

              พระเถระทูลว่า "ดีละ พระเจ้าข้า" แล้วได้บอกตามรับสั่ง. พระศาสดาเสด็จจำพรรษาปวารณาแล้ว ตรัสบอกแก่ท้าวสักกะว่า "มหาบพิตร อาตมภาพจักไปสู่ถิ่นของมนุษย์."

              ท้าวสักกะทรงนิรมิตบันได ๓ ชนิด คือบันไดทองคำ บันไดแก้วมณี บันไดเงิน. เชิงบันไดเหล่านั้นตั้งอยู่แล้วที่ประตูสังกัสสนคร หัวบันไดเหล่านั้นตั้งอยู่แล้วที่ยอดเขาสิเนรุ. ในบันไดเหล่านั้น บันไดทองได้มีในข้างเบื้องขวา เพื่อพวกเทวดา บันไดเงินได้มีในข้างเบื้องซ้าย เพื่อมหาพรหมทั้งหลาย บันไดแก้วมณีได้มีในท่ามกลาง เพื่อพระตถาคต.

              พระศาสดาประทับยืนอยู่บนยอดเขาสิเนรุ ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ในกาลที่เสด็จลงจากเทวโลก ทรงแลดูข้างบนแล้ว สถานที่อันพระองค์ทรงแลดูแล้วทั้งหลาย ได้มีเนินเป็นอันเดียวกันจนถึงพรหมโลก ทรงแลดูข้างล่าง. สถานที่อันพระองค์ทรงแลดูแล้ว ได้มีเนินเป็นอันเดียวกันจนถึงอเวจี ทรงแลดูทิศใหญ่และทิศเฉียงทั้งหลาย จักรวาลหลายแสนได้มีเนินเป็นอันเดียวกัน เทวดาเห็นพวกมนุษย์, แม้พวกมนุษย์ก็เห็นพวกเทวดา. พวกเทวดาและมนุษย์ทั้งหมด ต่างเห็นกันแล้วเฉพาะหน้าทีเดียว.

                                     

              พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเปล่งพระฉัพพรรณรังสีไปแล้ว. มนุษย์ในบริษัทซึ่งมีปริมณฑล ๓๖ โยชน์แม้คนหนึ่ง เมื่อแลดูสิริของพระพุทธเจ้าในวันนั้นแล้ว ชื่อว่าไม่ปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้า มิได้มีเลย.

              พวกเทวดาลงทางบันไดทอง พวกมหาพรหมลงทางบันไดเงิน พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสด็จลงทางบันไดแก้วมณี. เทพบุตรนักฟ้อนชื่อปัญจสิขะ ถือพิณสีเหลืองดุจผลมะตูมยืนอยู่ ณ ข้างเบื้องขวา ทำบูชาด้วยการฟ้อนแด่พระศาสดาลงมา มาตลิสังคาหกเทพบุตรยืน ณ ข้างเบื้องซ้าย ถือของหอมระเบียบและดอกไม้อันเป็นทิพย์ นมัสการอยู่ ทำบูชาแล้วลงมา. ท้าวมหาพรหมกั้นฉัตร, ท้าวสุยามถือพัดวาลวิชนี. พระศาสดาเสด็จลงพร้อมด้วยบริวารนี้ หยุดประทับอยู่ที่ประตูสังกัสสนคร.

              แม้พระสารีบุตรเถระมาถวายบังคมพระศาสดาแล้ว เพราะพระศาสดาเสด็จลงด้วยพุทธสิริเห็นปานนั้น อันท่านไม่เคยเห็นแล้ว ในกาลก่อนแต่นี้ เพราะฉะนั้น จึงประกาศความยินดีของตน ด้วยคาถาทั้งหลายเป็นต้นว่า :-
                        พระศาสดา ผู้มีถ้อยคำอันไพเราะ ทรงเป็น
                        อาจารย์แห่งคณะ๑- เสด็จมาจากดุสิตอย่างนี้ เรายัง
                        ไม่เห็น หรือไม่ได้ยินต่อใคร ในกาลก่อนแต่นี้
              แล้วทูลว่า "พระเจ้าข้า วันนี้เทวดาและมนุษย์แม้ทั้งหมดย่อมกระหยิ่ม ปรารถนาต่อพระองค์."

             ลำดับนั้น พระศาสดาตรัสกะท่านว่า "สารีบุตร ชื่อว่าพระพุทธเจ้าผู้ประกอบพร้อมด้วยคุณเห็นปานนี้ ย่อมเป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลายโดยแท้."

              เมื่อจะทรงแสดงธรรม จึงตรัสพระคาถานี้ว่า :-
                        ๒.  เย ฌานปฺปสุตา ธีรา     เนกฺขมฺมูปสเม รตา 
                         เทวาปิ เตสํ ปิหยนฺติ    สมฺพุทฺธานํ สตีมตํ. 

                        พระสัมพุทธเจ้าเหล่าใด เป็นปราชญ์ ขวนขวาย 
                        ในฌาน ยินดีแล้วในธรรมที่เข้าไปสงบด้วย 
                        สามารถแห่งการออก, แม้เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย 
                        ก็ย่อมกระหยิ่มต่อพระสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น ผู้มีสติ.
๑- คณิมาคโต ตัดบทเป็น คณี อาคโต. อรรถกถาว่า...คณาจริยตฺตา คณี...

              แก้อรรถ             
             บรรดาบทเหล่านั้น สองบทว่า เย ฌานปฺปสุตา ความว่า ประกอบแล้ว ขวนขวายแล้วในฌาน ๒ อย่างเหล่านี้ คือ ลักขณูปนิชฌาน อารัมมณูปนิชฌาน ด้วยการนึกการเข้าการอธิษฐานการออกและการพิจารณา.

              บรรพชา อันผู้ศึกษาไม่พึงถือว่า "เนกขัมมะ" ในคำว่า เนขมฺมูปสเม รตา นี้, ก็คำ "เนกขัมมะ" นั่น พระองค์ตรัส หมายเอาความยินดีในนิพพาน อันเป็นที่เข้าไปสงบกิเลส.
              บทว่า เทวาปิ ความว่า เทวดาและมนุษย์ทั้งหลายย่อมกระหยิ่ม คือปรารถนาต่อพระสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น.
              บทว่า สตีมตํ ความว่า เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ปรารถนาความเป็นพระพุทธเจ้าว่า "น่าชมจริงหนอ แม้เราพึงเป็นพระพุทธเจ้า" ดังนี้ ชื่อว่าย่อมกระหยิ่มต่อพระสัมพุทธเจ้าเหล่านั้น ผู้มีพระคุณเห็นปานนี้ ผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยสติ.
              ในกาลจบเทศนา ธรรมาภิสมัยได้มีแก่สัตว์ประมาณ ๓๐ โกฏิ.
              ภิกษุ ๕๐๐ สัทธิวิหาริกของพระเถระ ตั้งอยู่แล้วในพระอรหัต.

              สังกัสสนครเป็นที่เสด็จลงจากดาวดึงส์              
              ได้ยินว่า การทำยมกปาฏิหาริย์แล้วจำพรรษาในเทวโลก แล้วเสด็จลงที่ประตูสังกัสสนคร อันพระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ไม่ทรงละแล้วแล, ก็สถานที่พระบาทเบื้องขวาประดิษฐาน ณ ที่เสด็จลงนั้น มีนามว่าอจลเจติยสถาน. พระศาสดาประทับยืน ณ ที่นั้น ตรัสถามปัญหาในวิสัยของปุถุชนเป็นต้น, พวกปุถุชนแก้ปัญหาได้ในวิสัยของตนเท่านั้น ไม่สามารถจะแก้ปัญหาในวิสัยของพระโสดาบันได้. พระอริยบุคคลทั้งหลายมีพระโสดาบันเป็นต้นก็เหมือนกัน ไม่สามารถจะแก้ปัญหาในวิสัยของพระอริยบุคคลทั้งหลาย มีพระสกทาคามีเป็นต้น. พระมหาสาวกที่เหลือไม่สามารถจะแก้ปัญหาในวิสัยของพระมหาโมคคัลลานะ. พระมหาโมคคัลลานะไม่สามารถจะแก้ปัญหาในวิสัยของพระสารีบุตรเถระได้. แม้พระสารีบุตรเถระก็ไม่สามารถจะแก้ปัญหาในวิสัยของพระพุทธเจ้าได้เหมือนกัน.

              พระศาสดาทรงแลดูทิศทั้งปวงตั้งต้นแต่ปราจีนทิศ. สถานที่ทั้งปวงได้มีเนินเป็นอันเดียวกันทีเดียว เทวดาและมนุษย์ใน ๘ ทิศ และเทวดาเบื้องบนจรดพรหมโลก และยักษ์นาคและสุบรรณผู้อยู่ ณ ภาคพื้นเบื้องต่ำ ประคองอัญชลีกราบทูลว่า "พระเจ้าข้า ชื่อว่าผู้วิสัชนาปัญหานี้มิได้มีในสมาคมนี้ ขอพระองค์โปรดใคร่ครวญในสมาคมนี้ทีเดียว."

              พระสารีบุตรเถระมีปัญญามาก             
              พระศาสดาทรงดำริว่า "สารีบุตรย่อมลำบาก ด้วยว่า เธอได้ฟังปัญหาที่เราถามแล้วในพุทธวิสัยนี้ว่า:-
                        ดูก่อนท่านผู้นิรทุกข์ เธอมีปัญญารักษาตน
                        อันเราถามถึงความเป็นไปของท่าน ผู้มีธรรมอัน
                        นับพร้อมแล้วทั้งหลาย และพระเสขะทั้งหลาย ซึ่ง
                        มีอยู่มากในโลกนี้ จงบอกความเป็นไปนั้นแก่เรา


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: ธันวาคม 16, 2012, 02:36:52 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
Re: ยมกปาฏิหาริย์
« ตอบกลับ #8 เมื่อ: สิงหาคม 06, 2011, 09:47:11 am »



             ดังนี้, เป็นผู้หมดความสงสัยในปัญหาว่า ‘พระศาสดาย่อมตรัสถามถึงปฏิปทา เป็นที่มา (มรรคปฏิปทา) ของพระเสขะและอเสขะกะเรา’ ดังนี้ก็จริง, ถึงอย่างนั้นก็ยังหวังอัธยาศัยของเราอยู่ว่า ‘เราเมื่อกล่าวปฏิปทานี้ด้วยมุขไหนๆ ในธรรมทั้งหลายมีขันธ์เป็นต้น จึงจักอาจถือเอาอัธยาศัยของพระศาสดาได้’

              สารีบุตรนั้น เมื่อเราไม่ให้นัย จักไม่อาจแก้ได้ เราจักให้นัยแก่เธอ" เมื่อจะทรงแสดงนัย ตรัสว่า "สารีบุตร เธอจงพิจารณาเห็นความเป็นจริงนี้."
             ได้ยินว่า พระองค์ได้ทรงดำริอย่างนี้ว่า "สารีบุตรเมื่อถือเอาอัธยาศัยของเราแก้ จักแก้ด้วยสามารถแห่งขันธ์" ปัญหานั้นปรากฏแก่พระเถระตั้งร้อยนัย พันนัย พร้อมกับการประทานนัย. ท่านตั้งอยู่ในนัยที่พระศาสดาประทาน แก้ปัญหานั้นได้แล้ว,

              ได้ยินว่า คนอื่นยกพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเสีย ชื่อว่าสามารถเพื่อจะทันปัญญาของพระสารีบุตรเถระหามิได้. นัยว่า เหตุนั้นแล พระเถระจึงยืนตรงพระพักตร์พระศาสดา บันลือสีหนาทว่า "พระเจ้าข้า เมื่อฝนตกแม้ตลอดกัลป์ทั้งสิ้น ข้าพระองค์ก็สามารถเพื่อจะนับ แล้วยกขึ้นซึ่งคะแนนว่า ‘หยาดน้ำทั้งหลายตกในมหาสมุทรเท่านี้หยาด, ตกบนแผ่นดินเท่านี้หยาด, บนภูเขาเท่านี้หยาด."

              แม้พระศาสดาก็ตรัสกะท่านว่า "สารีบุตร เราก็ทราบความที่เธอสามารถจะนับได้.
              " ชื่อว่าข้ออุปมาเปรียบด้วยปัญญาของท่านนั้น ย่อมไม่มี.
              เหตุนั้นแล ท่านจึงกราบทูลว่า :-
                        ทรายในแม่น้ำคงคาพึงสิ้นไป น้ำในห้วงน้ำใหญ่
                        พึงสิ้นไป ดินในแผ่นดินพึงสิ้นไป การแก้ปัญหาด้วย
                        ความรู้ของข้าพระองค์ ย่อมไม่สิ้นไปด้วยคะแนน.

              มีคำอธิบายไว้ดังนี้ว่า "ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ผู้สมบูรณ์ด้วยความรู้เป็นที่พึ่งของโลก ก็ถ้าว่า เมื่อข้าพระองค์แก้ปัญหาข้อหนึ่งแล้ว บุคคลพึงใส่ทรายเมล็ดหนึ่งหรือหยาดน้ำหยาดหนึ่ง หรือดินร่วนก้อนหนึ่ง เมื่อข้าพระองค์แก้ปัญหาร้อย หรือพัน หรือแสนข้อ พึงใส่คะแนนทั้งหลายมีทรายเป็นต้น ทีละหนึ่งๆ ณ ส่วนข้างหนึ่งในแม่น้ำคงคา, คะแนนทั้งหลายมีทรายเป็นต้นในแม่น้ำคงคาเป็นต้น พึงถึงความสิ้นไปเร็วกว่า การแก้ปัญหาของข้าพระองค์ ย่อมไม่สิ้นไป."

              ภิกษุแม้มีปัญญามากอย่างนี้ ก็ยังไม่เห็นเงื่อนต้นหรือเงื่อนปลายแห่งปัญหาที่พระศาสดาถามแล้วในพุทธวิสัย ต่อตั้งอยู่ในนัยที่พระศาสดาประทานแล้ว จึงแก้ปัญหาได้.
              ภิกษุทั้งหลายฟังดังนั้นแล้ว สนทนากันว่า "แม้ชนทั้งหมด อันพระศาสดาตรัสถามปัญหาใด ไม่อาจแก้ได้, พระสารีบุตรเถระผู้เป็นธรรมเสนาบดีผู้เดียวเท่านั้น แก้ปัญหานั้นได้."
              พระศาสดาทรงสดับถ้อยคำนั้นแล้วตรัสว่า "สารีบุตรแก้ปัญหาที่มหาชนไม่สามารถจะแก้ได้ ในบัดนี้เท่านั้นหามิได้ แม้ในภพก่อน เธอก็แก้ได้แล้วเหมือนกัน"

              ดังนี้แล้วทรงนำอดีตนิทานมา ตรัสชาดก๑- นี้โดยพิสดารว่า :-
                        คนที่มาประชุมกันแล้ว แม้ตั้งพันเป็นกำหนด
                        คนเหล่านั้นหาปัญญามิได้ พึงคร่ำครวญตั้ง ๑๐๐ ปี,
                        บุรุษใดผู้รู้ชัดซึ่งอรรถแห่งภาษิตได้ บุรุษผู้นั้นซึ่งเป็น
                        ผู้มีปัญญาคนเดียวเท่านั้น ประเสริฐกว่า. ดังนี้แล.
๑- ขุ. ชา. เอก. เล่ม ๒๗/ข้อ ๙๙.



เรื่องยมกปาฏิหาริย์ จบ.
miracle of love
: http://agaligohome.com/index.php?topic=1699.0


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กรกฎาคม 23, 2012, 05:11:49 pm โดย ฐิตา »