ผู้เขียน หัวข้อ: สุเมธดาบส ใคร่ครวญธรรม ( จากหนังสือ พุทธการกธรรมทีป )  (อ่าน 1999 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด




สุเมธดาบสใคร่ครวญธรรม


สุเมธดาบสนั้นนอนบนหลังเปือกตมนั้นนั่นแหละ ลืมตาทั้งสองเห็นพระพุทธสิริของพระทศพลทีปังกร จึงคิดว่า “ ถ้าเราพึงต้องการก็พึงเผากิเลสทังปวงหมดแล้วเป็นพระสงฆ์นวกะเข้าไปสู่รัมมกนครได้ แต่เราไม่มีกิจด้วยการเผากิเลสด้วยเพศที่ใครไม่รู้จักแล้วบรรลุนิพพาน ถ้ากระไรเราพึงเป็นดังพระทศพลทีปังกรบรรลุพระอภิสัมโพธิญาณอย่างสูงยิ่ง แล้วขึ้นสู่ธรรมนาวา ให้มหาชนข้ามสงสารสาครได้แล้วปรินิพพานกาย หลังข้อนี้สมควรแก่เรา ” แล้วต่อจากนั้น ประมวลธรรม ๘ ประการกระทำความปรารถนาอย่างยิ่งใหญ่เพื่อความเป็น พระพุทธเจ้าแล้วนอนลง

ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า “ ทีปังกร ” เสด็จมาประทับยืนที่เบื้องศีรษะของสุเมธดาบส ทรงลืมพระเนตรทั้งสองอันสมบูรณ์ด้วยประสาทมีวรรณะ ๕ ชนิด ประหนึ่งว่าเปิดอยู่ซึ่งสีหบัญชรแก้วมณี ทอดพระเนตรเห็นสุเมธดาบสนอนบนหลังเปือกตมทรงดำริว่า “ ดาบสนี้ กระทำความปรารถนาอย่างยิ่งใหญ่ เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า ความปรารถนาของเขาจักสำเร็จหรือไม่หนอ ” ทรงส่งพระอนาคตังสญาณ ใคร่ครวญอยู่ ทรงทราบว่า “ ล่วงไปสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปนับแต่นี้เขาจักได้เป็นพระพุทธเจ้านามว่าโคดม ” ยังทรงประทับยืนอยู่นั่นแหละแล้วทรงพยากรณ์ด้วยพระดำรัสว่า “ พวกท่านจงดูดาบสผู้มีตบะกล้านี้ ซึ่งนอนอยู่บนหลังเปือกตม ” ภิกษุทั้งหลายกราบทูลว่า “ เห็นแล้วพระเจ้าข้า ” จึงตรัสว่า “ ดาบสนี้กระทำความปรารถนายิ่งใหญ่เพื่อความเป็นพระพุทธเจ้า นอนแล้วความปรารถนาของเขาจักสำเร็จ ในที่สุดแห่งสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัปนับแต่นี้เขาจักได้เป็นพระพุทธเจ้านามว่า “ โคดม ” ก็ในอัตภาพนั้นของเขา นครนามว่า “ กบิลพัสดุ์ ” จักเป็นที่อยู่อาศัย พระเทวีทรงพระนามว่า “ มายา ” เป็นพระมารดา พระราชาทรงพระนามว่า “ สุทโทธนะ ” เป็นพระราชบิดา พระเถระชื่อว่า “ อุปติสสะ ” เป็นอัครสาวก และเถระชื่อโกลิตะ เป็นอัครสาวกที่สอง พุทธอุปัฎฐากชื่อว่า “ อานนท์ ” พระเถรีนามว่า “ เขมา ” เป็นอัครสาวิกา พระเถรีนามว่า “ อุบลวรรณา ” เป็นอัครสาวิกาที่สอง

เขามีญาณแก่กล้าแล้ว ออกมหาภิเนษกรมณ์ ตั้งความเพียรอย่างใหญ่ รับข้าวปายาสที่โคนต้นไทร เสวยที่ฝั่งแม่น้ำเนรัญชรา ขึ้นสู่โพธิมณฑลจักตรัสรู้ที่โคนต้น “ อัสสัตถพฤกษ์" ”

สุเมธดาบสได้บังเกิดโสมนัสว่า “ นัยว่า ความปรารถนาของเราจักสำเร็จ ” มหาชนได้ฟังพระดำรัสของพระทศพลทีปังกรแล้ว ต่างได้พากันร่าเริงยินดีว่า “ นัยว่า สุเมธดาบสเป็นพืชแห่งพระพุทธเจ้า เป็นหน่อแห่งพระพุทธเจ้า “ และพวกเขาเหล่า นั้นก็ได้มีความคิดว่า “ ธรรมดาว่าบุรุษเมื่อจะข้ามแม่น้ำ ไม่สามารถข้ามโดยท่าโดยตรงได้ ย่อมข้ามโดยท่าข้างใต้ฉันใด แม้พวกเราก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อไม่ได้มรรคและผลในศาสนาของพระทศพลทีปังกร ในกาลใดในอนาคตท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าในกาลนั้นพวกเราพึงสามารถกระทำให้แจ้งซึ่งมรรคและผลในที่ต่อหน้าของท่าน ” ต่างพากันตั้งความปรารถนาไว้ แม้พระทศพลทีปังกรทรงสรรเสริญพระโพธิสัตว์ ด้วยของหอมแลนับได้สี่แสนต่างก็พากันบูชาพระโพธิสัตว์ ด้วยของหอมและพวงดอกไม้กระทำประทักษิณแล้วหลีกไป พระโพธิสัตว์ลุกขึ้นจากที่นอนในเวลาที่คนทั้งปวงหลีกไปแล้ว คิดว่า “ เราจักเลือกเฟ้นดูบารมีทั้งหลาย ” จึงนั่งขัดสมาธิบนที่สุดของกองดอกไม้ เมื่อพระโพธิสัตว์นั่งแล้วอย่างนี้ เทวดาในหมื่นจักรวาลทั้งสิ้นได้ให้สาธุการกล่าวว่า “ นี่แนะพระผู้เป็นเจ้า สุเมธดาบสในเวลาที่พระโพธิสัตว์เก่าก่อนทั้งหลาย ” นั่งขัดสมาธิด้วยคิดว่า "เราจักเลือกเฟ้นบารมีทั้งหลายชื่อว่าบุรพนิมิตเหล่าใดจะปรากฎบุรพนิมิตเหล่านั้น แม้ทั้งหมดปรากฏแจ่มแจ้งแล้วในวันนี้ ท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าโดยไม่ต้องสงสัย พวกเราก็รู้ข้อนั้น นิมิตเหล่านี้ปรากฏแก่ผู้ใด ผู้นั้นจะเป็นพระพุทธเจ้าโดยส่วนเดียว ท่านจงประคองความเพียรของตนให้มั่น ” ได้กล่าวสรรเสริญพระโพธิสัตว์ ได้ฟังพระดำรัสของพระทศพลทีปังกรและถ้อยคำของเทวดาในหมื่นจักรวาลเกิดความอุตสาหะโดยประมาณยิ่งขึ้นจึงคิดว่า “ ธรรมดาพระพุทธเจ้าทั้งหลาย มีพระดำรัสไม่ว่างเปล่า ถ้อยคำของพระพุทธเจ้าทั้งหลายไม่มีเป็นอย่างอื่น เหมือนอย่างว่าก้อนดินที่ขว้างไปในอากาศจะต้องตก สัตว์ที่เกิดแล้วจะต้องตาย เมื่ออรุณขึ้นพระอาทิตย์ก็ต้องขึ้น ราชสีห์ที่ออกจากถ้ำที่อาศัยจะต้องบันลือสีหนาท หญิงที่ครรภ์แก่จะต้องปลดเปลื้องภาระ(คลอด) เป็นของแน่นอน จะต้องมีเป็นแน่แท้ฉันใด ธรรมดาพระดำรัสของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย ย่อมเป็นของแน่นอนไม่ว่างเปล่าฉันนั้น เราจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่ ”

สุเมธดาบสนั้น กระทำการตกลงใจว่า “ เราจักเป็นพระพุทธเจ้าแน่นอน ” เพื่อที่จะใคร่ครวญถึงธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า เมื่อตรวจตราดูธรรมธาตุทั้งสิ้นโดยลำดับว่า “ ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้ามีอยู่ ณ ที่ไหนหนอ เบื้องสูงหรือเบื้องต่ำในทิศใหญ่หรือทิศหน้อย ” จึงได้เห็น

ทานบารมีข้อที่ ๑ ที่พระโพธิสัตว์แต่เก่าก่อนทั้งหลายถือปฏิบัติเป็นประจำจึงกล่าวสอนตนว่า “ ดูก่อนสุเมธบัณฑิต จำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญทานบารมีข้อแรกให้เต็ม เหมือนอย่างว่าหม้อน้ำที่คว่ำแล้ว ย่อมคายน้ำออกไม่เหลือ ไม่นำกลับเข้าไปอีกฉันใด แม้ท่านเมื่อไม่เหลียวแลทรัพย์ ยศ บุตร ภริยา หรืออวัยวะใหญ่น้อย ให้สิ่งที่เขาต้อง การอยากได้ทั้งหมดแก่ผู้ขอที่มา ถึงกระทำมิให้มีส่วนเหลือ อยู่จักได้นั่งที่โคนต้นโพธิ์เป็นพระพุทธเจ้าได้ ” ท่านได้อธิษฐานทานบารมีข้อแรกทำให้มั่นแล้ว

ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสได้ใคร่ครวญอยู่ยิ่ง ๆขึ้นด้วยคิดว่า “ ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้าไม่พึงมีเพียงเท่านี้แน่ ” เขาได้เห็น

ศีลบารมีข้อที่ ๒ จึงได้กล่าวสอนตนว่า “ ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญศีลบารมีให้เต็มเปี่ยมเหมือนอย่างว่าธรรมดาว่า เนื้อจามรีไม่เหลียวแลแม้ชีวิตรักษาหางของตนอย่างเดียว ฉันใด จำเดิมแต่นี้แม้ท่านก็ไม่เหลียวแลแม้ชีวิต รักษาศีลอย่างเดียวจักเป็นพระพุทธได้ ” เขาได้อธิษฐานศีลบารมีข้อที่สองทำให้มั่นแล้ว

ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสได้ใคร่ครวญอยู่ยิ่ง ๆ ขึ้นด้วยคิดว่า ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้าไม่พึงมีเพียงเท่านี้แน่ ” จึงได้เห็น

เนกขัมมบารมีข้อที่ ๓ จึงได้กล่าวสอนตนว่า “ ดูก่อนสุเมธบัณฑิตนับจำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญเนกขัมมบารมีให้เต็มเปี่ยม เหมือนอย่างว่าบุรุษผู้อยู่ในเรือนจำ มิได้มีความรักใคร่ในเรือนจำนั้นเลย โดยที่แท้เขาย่อมรำคาญอย่างเดียวและไม่อยากจะอยู่เลยฉันใด แม้ท่านก็จงทำภพทั้งปวงให้เป็นเช่นกับเรือนจำ รำคาญอยากจะพ้นไปจากภพทั้งปวง มุ่งหน้าต่อการออกบวช ฉันนั้น เหมือนกันท่านจักเป็นพระพุทธเจ้าโดยอาการอย่างนี้ ” ได้อธิษฐานเนกขัมมบารมี ข้อที่สามมั่นแล้ว

ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสได้ใคร่ครวญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า “ ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้าไม่พึงมีเพียงเท่านั้นแน่ ” จึงได้เห็น

ปัญญาบารมีข้อที่ ๔ จึงได้กล่าวสอนตนว่า “ ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญปัญญาบารมีให้บริบูรณ์ ท่านอย่าได้เว้นใคร ๆ เลยไม่ว่าจะเป็นคนชั้นเลว ชั้นปานกลางและชั้นสูง พึงเข้าไปหาบัณฑิตทุกคนแล้วถามปัญหาเหมือนอย่างว่าภิกษุผู้เที่ยวไปบิณฑบาตมิได้เว้นตระกูลไร ๆ ในบรรดาตระกูลที่แตกต่างกันมีตระกูลชั้นต่ำเป็นต้น เที่ยวไปบิณฑบาตตามลำดับ ย่อมได้อาหารพอยังชีพโดยพลัน ฉันใด แม้ท่านก็เข้าไปหาบัณฑิตแล้วได้ถามอยู่ จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ฉันนั้น ” ได้อธิษฐานกระทำปัญญาบารมีข้อที่ ๔ ให้มั่นแล้ว

ลำดับนั้นเมื่อสุเมธดาบสได้ใคร่ครวญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า “ ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้แน่จึงได้เห็น

วิริยบารมีข้อที่ ๕ จึงได้กล่าวสอนตนว่า “ ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญวิริยาบารีให้เต็มเปี่ยมเหมือนอย่างว่าราชสีห์พระยามฤคราชเป็นสัตว์ มีความเพียรมั่นในทุกอิริยาบถฉันใด แม้ท่านเมื่อเป็นผู้มีความเพียรมั่น มีความเพียรไม่ย่อหย่อนจักเป็นพระพุทธเจ้าได้ ” ได้อธิษฐานวิริยบารมีข้อที่ ๕ กระทำให้มั่นแล้ว




ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสได้ใคร่ครวญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า “ ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้าไม่พึงมีเพียงเท่านั้นแน่ ” จึงได้เห็น

ขันติบารมีข้อที่ ๖ จึงได้กล่าวสอนว่า “ ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญขันติบารมีให้เต็มเปี่ยม พึงเป็นผู้อดทนได้ทั้งในความนับถือทั้งในความดูหมิ่นเหมือนอย่างว่า คนทั้งหลายทิ้งของสะอาดบ้างไม่สะอาดบ้างลงบนแผ่นดิน แผ่นดินย่อมไม่กระทำความชอบใจ ไม่กระทำความแค้นใจ มีแต่อดทนอดกลั้นเท่านั้นฉันใด แม้ท่านเมื่ออดทนได้ในความนับถือก็ดี ในความดูหมิ่นก็ดี จักเป็นพระพุทธเจ้าได้" ได้อธิษฐานขันติบารมี ข้อที่ ๖ เพราะทำให้มั่นแล้ว

ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสได้ใคร่ครวญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า “ ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้แน่ ” จึงได้เห็น

สัจจบารมีข้อที่ ๗ จึงได้กล่าวสอนตนว่า “ ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไปท่านพึงบำเพ็ญสัจจบารมีให้เต็มเปี่ยม อย่าได้กระทำการพูดเท็จทั้งรู้ตัวอยู่ด้วยมุ่งทรัพย์เป็นต้น แม้เมื่ออสนีบาตจะตกลงบนกระหม่อมของท่าน เหมือนอย่างว่า ธรรมดาดาวประกายพรึกในทุกฤดูหาเว้นทางโคจรของตนไม่ จะไม่โคจรไปในทางอื่นโคจรไปเฉพาะในทางของตนเท่านั้น ฉันใดแม้ท่านไม่ละสัจจะ ไม่กระทำการพูดเท็จเด็ดขาด จักเป็นพระพุทธเจ้าได้ ” ได้อธิษฐานสัจบารมีข้อที่ ๗ ทำให้มั่นแล้ว

ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสได้ใคร่ครวญยิ่ง ๆ ขึ้นไปโดยคิดว่า “ ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้า ไม่พึงมีเพียงเท่านี้แน่ ” จึงได้เห็น

อธิษฐานบารมีข้อที่ ๘ จึงได้กล่าวสอนตนว่า “ ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญอธิษฐานบารมีท่านอธิษฐานสิงโตไว้ พึงเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในอธิษฐานนั้นเหมือนอย่างว่าธรรมดาภูเขาเมื่อลมทั่วทุกทิศพัดกระทบอยู่ย่อมไม่สะเทือน ไม่หวั่นไหว ยังคงตั้งอยู่ในที่เดิมของตนฉันใดแม้ท่านก็ฉันนั้น เป็นผู้ไม่หวั่นไหวในความตั้งใจมั่นของตนจักเป็นพระพุทธเจ้าได้ ” ได้อธิษฐานอธิษฐานบารมีข้อที่ ๘ กระทำให้มั่นแล้ว

ลำดับนั้น เมื่อสุเมธดาบสได้ใคร่ครวญยิ่ง ๆ ขึ้นไปด้วยคิดว่า “ ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้าไม่พึงมีเพียงเท่านี้แน่ ” จึงได้เห็น

เมตตาบารมีข้อที่ ๙ จึงได้กล่าวสอนตนว่า “ ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญเมตตาบารมีให้เต็มเปี่ยม ในสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูลและมิใช่ประโยชน์เกื้อกูลพึงมีจิตเป็นอย่างเดียวกัน เหมือนอย่างว่า ธรรมดาว่าน้ำย่อมกระทำให้เย็นแผ่ซ่านไปเช่นเดียวกัน ทั้งแก่คนชั่วทั้งแก่คนดีฉันใด แม้ท่านเมื่อเป็นผู้มีน้ำใจ เป็นอันเดียวกัน ด้วยเมตตาจิตในสัตว์ทั้งปวงจักเป็นพระพุทธเจ้าได้ ” ได้อธิษฐานเมตตาบารมีข้อที่ ๙ กระทำให้มั่นแล้ว

ต่อมาเมื่อสุเมธดาบสได้ใคร่ครวญแม้ยิ่งขึ้นไปอีกด้วยคิดว่า “ ธรรมที่กระทำให้เป็นพระพุทธเจ้าไม่พึงมีเพียงเท่านี้แน่ ” จึงได้เห็น

อุเบกขาบารมีข้อที่ ๑๐ จึงได้กล่าวสอนตนว่า “ ดูก่อนสุเมธบัณฑิต นับจำเดิมแต่นี้ไป ท่านพึงบำเพ็ญอุเบกขาบารมีพึงวางใจเป็นกลาง ในสุขก็ดีในทุกข์ก็ดีเหมือนอย่างว่า ธรรมดาแผ่นดิน เมื่อคนทิ้งของสะอาดบ้างไม่สะอาดบ้าง ย่อมวางใจเป็นกลางทีเดียวฉันใด แม้ท่านก็ฉันนั้น เมื่อวางใจเป็นกลางได้ในสุขและทุกข์ก็จักได้เป็นพระพุทธเจ้า ” ได้อธิษฐานอุเบกขาบารมีข้อที่๑๐ ทำให้มั่นแล้ว

ต่อจากนั้น สุเมธดาบสจึงคิดว่า “ พุทธการกธรรมที่เป็นเครื่องบ่มโพธิญาณมีเพียงเท่านี้เท่านั้น ยกเว้นบารมี ๑๐ เสียธรรมเหล่าอื่นไม่มีบารมีทั้ง ๑๐ แม้เหล่านี้ แม้ในเบื้องสูง แม้ในอากาศก็ไม่มี ภายใต้แผ่นดินก็ดีในทิศทั้งหลาย มีทิศตะวันออกเป็นต้นก็ดี ก็ไม่มีตั้งอยู่ในหทัยของเรานี้เอง ”

สุเมธดาบส เมื่อเห็นว่า “ บารมี ” เหล่านั้น ตั้งอยู่ในหทัยแล้ว จึงอธิษฐานบารมีแม้ทั้งหมดกระทำให้มั่น พิจารณาอยู่แล้ว ๆ เล่า ๆ พิจารณากลับไปกลับมา ยึดเอาตอนปลายทวนมาให้ถึงต้น ยึดเอาตอนต้นมาตั้งไว้ตอนปลาย และยึดเอาตรงกลางให้จบลงตรงข้างทั้งสอง ยึดที่ที่สุดข้างทั้งสองมาให้จบลงตรงกลาง ยึดเอาบารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ ปรมัตถบารมี ๑๐ คือการบริจาคสิ่งของภายนอกเป็น “ ทานบารมี ” การบริจาคอวัยวะเป็น “ ทานอุปบารมี ” การบริจาคชีวิตเป็น “ ทานปรมัตบารมี ” ที่ตรงท่ามกลางแล้ว....

จากหนังสือ พุทธการกธรรมทีปนี้

http://www.kanlayanatam.com/sara/sara82.htm
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...

ออฟไลน์ แก้วจ๋าหน้าร้อน

  • สิ่งใดคือธรรมะ สิ่งนั้นย่อมดีแล้วสูงสุด
  • ทีมงานกวาดลานดิน
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 6503
  • พลังกัลยาณมิตร 1741
  • ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครอง
    • kaewjanaron
    • facehot
    • ดูรายละเอียด
    • ใต้ร่มธรรม
 :13: อนุโมทนาครับพี่มด
การโพสภาพโดยใช้เว็บฝากไฟล์ภาพ imageshack.us/ (เว็บกบ)
การปรับแต่งห้องสมาชิกไร้ขีดจำกัด Ultimate Profile + ห้องเพลงส่วนตัว
การตั้งกระทู้และการโพสกระทู้ในเว็บใต้ร่มธรรมครับ
การแก้ไข้ข้อมูล ชื่อ ระหัส ส่วนตัวของสมาชิกใต้ร่มธรรมครับ
การใส่รูปประจำตัวเรา Avatar รวมทั้งลายเซ็นต์ ในกระทู้หรือโพสของเราครับ
เพิ่มไอคอน ทวิสเตอร์ เฟชบุ๊ค ยูทูบ ในโปรโปรไฟล์ของเรา
การสร้างอัลบั้มภาพส่วนตัวในห้องสมาชิก Profile Pictures
การเพิ่มเพื่อน กัลยาณมิตรใต้ร่มธรรม ในห้องสมาชิกส่วนตัว
การดูกระทู้ทั้งหมดที่เรายังไม่ได้อ่านครับ
โค้ดสี bb color code ไว้สำหรับโพสกระทู้ครับ
*วิธีเคลียร์แคชในทุกเว็บเบราว์เซอร์ครับ เมื่อคอมอืด*

ห้องประชุมของทีมงาน
~ธรรมะอวยพรความดีคุ้มครองครับ~