ผู้เขียน หัวข้อ: พระราชวุฒาจารย์(ดูลย์ อตุโล), หลวงปู่ฝากไว้  (อ่าน 11193 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



ทิ้งเสีย
         สุภาพสตรีท่านหนึ่ง เป็นชนชั้นครูบาอาจารย์  เมื่อฟังธรรมปฏิบัติจากหลวงปู่จบแล้ว  ก็อยากทราบถึงวิธีไว้ทุกข์ที่ถูกต้องตามธรรมเนียม  เขาจึงพูดปรารภต่อไปอีกว่า  คนสมัยนี้ไว้ทุกข์กันไม่ค่อยจะถูกต้องและตรงกัน  ทั้งๆที่สมัย ร.๖ ท่านทำไว้เป็นแบบอย่างดีอยู่แล้ว เช่น เมื่อมีญาติพี่น้องหรือญาติผู้ใหญ่ถึงแก่กรรมลง ก็ให้ไว้ทุกข์ ๗ วันบ้าง ๕๐ วันบ้าง  ๑๐๐ วันบ้าง  แต่ปรากฎว่าคนทุกวันนี้ทำอะไรรู้สึกว่าลักลั่นกันไม่เป็นระเบียบ  ดิฉันจึงขอเรียนถามหลวงปู่ว่า  การไว้ทุกข์ที่ถูกต้อง  ควรไว้อย่างไรเจ้าคะ ฯ

         หลวงปู่บอกว่า
         "ทุกข์  ต้องกำหนดรู้   เมื่อรู้แล้วให้ละเสีย    ไปไว้มันทำไม."

[Webmaster-หลวงปู่สอนกิจญาณในอริยสัจ๔,  อ่านรายละเอียดของกิจอันพึงกระทำในแต่ละอริยสัจได้ในบท อริยสัจ ๔]



จริง ตามความเป็นจริง
         สุภาพสตรีชาวจีนผู้หนึ่ง  ถวายสักการะแด่หลวงปู่แล้ว  เขากราบเรียนถามว่า  ดิฉันจะต้องไปอยู่ที่อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรมย์เพื่อทำมาค้าขายอยู่ใกล้ญาติทางโน้น  ทีนี้ทางญาติๆก็เสนอแนะว่า  ควรจะขายของชนิดนั้นบ้าง  ชนิดนี้บ้าง  ตามแต่เขาจะเห็นดีว่าอะไรขายได้ดี   ดิฉันยังมีความกังวลใจตัดสินใจเอาเองไม่ได้ว่าจะเลือกขายของอะไร  จึงให้หลวงปู่ช่วยแนะนำด้วยว่า  จะให้ดิฉันขายอะไรจึงจะดีเจ้าคะ ฯ
        "ขายอะไรก็ดีทั้งนั้นแหละ  ถ้ามีคนซื้อ."



ไม่ได้ตั้งจุดหมาย
         เมื่อจันทร์ ๘ พฤษภาคม ๒๕๒๒  คณะนายทหารประมาณ ๑๐ กว่านายเข้านมัสการหลวงปู่เมื่อเวลาคํ่าแล้ว  ก็จะเดินทางต่อเข้ากรุงเทพ ฯ  ในคณะนายทหารเหล่านั้น  มียศพลโทสองท่าน  หลังสนทนากับหลวงปู่เป็นเวลาพอสมควร  ก็ถอดเอาพระเครื่องจากคอของแต่ละท่านรวมใส่ในพานถวายให้หลวงปู่ช่วยอธิษฐานแผ่เมตตาพลังจิตให้  ท่านก็อนุโลมตามประสงค์  แล้วก็มอบคืนไป  นายพลท่านหนึ่งถามว่า  ทราบว่ามีเหรียญหลวงปู่ออกมาหลายรุ่นแล้ว  อยากถามหลวงปู่ว่ามีรุ่นไหนดังบ้าง ฯ

         หลวงปู่ตอบว่า
         "ไม่มีดัง"



คนละเรื่อง
         มีชายหนุ่มจากต่างจังหวัดไกลสามสี่คนเข้าไปหาหลวงปู่  ขณะที่ท่านพักผ่อนอยู่ที่มุขศาลาการเปรียญ  ดูอากัปกิริยาของเขาแล้วคงคุ้นเคยกับพระนักเลงองค์ใดองค์หนึ่งมาก่อนแล้ว  สังเกตุจากการนั่งการพูด  เขานั่งตามสบาย  พูดตามถนัด  ยิ่งกว่านั้นเขาคงเข้าใจว่าหลวงปู่นี้คงสนใจกับเครื่องรางของขลังอย่างดี  เขาพูดถึงชื่อเกจิอาจารย์อื่นๆ  ว่าให้ของดีของวิเศษแก่ตนหลายอย่าง  ในที่สุดก็งัดเอาของมาอวดกันเองต่อหน้าหลวงปู่  คนหนึ่งมีหมูเขี้ยวตัน  คนหนึ่งมีเขี้ยวเสือ  อีกคนมีนอแรด  ต่างคนต่างอวดอ้างว่าของตนดีวิเศษอย่างนั้นอย่างนี้  มีคนหนึ่งเอ่ยปากว่า  หลวงปู่ฮะ  อย่างไหนแน่ดีวิเศษกว่ากันฮะ ฯ

        หลวงปู่ก็อารมณ์รื่นเริงเป็นพิเศษยิ้มๆ แล้วว่า
        "ไม่มีดี  ไม่มีวิเศษอะไรหรอก  เป็นของสัตว์เดียรัจฉานเหมือนกัน."

[Webmaster-ท่านกล่าวอย่างตรงไปตรงมาเป็นที่สุด เพราะต่างล้วนแล้วแต่เป็นศรัทธาอย่างอธิโมกข์ ด้วยกำลังของสีลัพพตุปาทาน หรือทิฏฐุปาทาน]


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 20, 2013, 02:46:39 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

ปรารภธรรมะให้ฟัง

         คราวหนึ่ง  หลวงปู่กล่าวปรารภธรรมะให้ฟังว่า  เราเคยตั้งสัจจะจะอ่านพระไตรปิฎกจนจบ  ในพรรษาที่ ๒๔๙๕  เพื่อสำรวจดูว่าจุดจบของพระพุทธศาสนาอยู่ตรงไหน  ที่สุดแห่งสัจจธรรม  หรือที่สุดของทุกข์นั้น  อยู่ตรงไหน   พระพุทธเจ้าทรงกล่าวสรุปไว้ว่าอย่างไร  ครั้นอ่านไป  ตริตรองไปกระทั่งถึงจบ  ก็ไม่เห็นตรงไหนที่มีสัมผัสอันลึกซึ้งถึงจิตของเราให้ตัดสินใจได้ว่า  นี่คือที่สิ้นสุดแห่งทุกข์  ที่สุดแห่งมรรคผล  หรือที่เรียกว่านิพพาน ฯ

         มีอยู่ตอนหนึ่ง  คือ  ครั้งนั้นพระสารีบุตรออกจากนิโรธสมาบัติใหม่ๆ  พระพุทธเจ้าตรัสเชิงสนทนาธรรมว่า  สารีบุตร  สีผิวของเธอผ่องใสยิ่งนัก  วรรณะของเธอหมดจดผุดผ่องยิ่งนัก  อะไรเป็นวิหารธรรมของเธอ  พระสารีบุตรกราบทูลว่า "ความว่างเปล่าเป็นวิหารธรรมของข้าพระองค์"  (สุญฺญตา) ฯ

         ก็เห็นมีเพียงแค่นี้แหละ  ที่มาสัมผัสจิตของเรา.



ปรารภธรรมะให้ฟัง

         จบพระไตรปิฎกหมดแล้ว  จำพระธรรมได้มากมาย  พูดเก่งอธิบายได้อย่างซาบซึ้ง  มีคนเคารพนับถือมาก  ทำการก่อสร้างวัตถุไว้ได้อย่างมากมาย  หรือสามารถอธิบายถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ได้อย่างละเอียดแค่ไหนก็ตาม  "ถ้ายังประมาทอยู่  ก็นับว่ายังไม่ได้รสชาติของพระศาสนาแต่ประการใดเลย  เพราะสิ่งเหล่านี้ยังเป็นของภายนอกทั้งนั้น  เมื่อพูดถึงประโยชน์  ก็เป็นประโยชน์ภายนอกคือเป็นไปเพื่อสงเคราะห์สังคม  เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่น  เพื่อสงเคราะห์อนุชนรุ่นหลัง  หรือเป็นสัญญลักษณ์ของศาสนวัตถุ  ส่วนประโยชน์ของตนที่แท้นั้น  คือ  ความพ้นทุกข์   "จะพ้นทุกข์ได้ต่อเมื่อรู้ จิตหนึ่ง."

[Webmaster- รู้จิตหนึ่ง จิตที่มีความหมายถึงจิตในเวทนานุปัสสนาและจิตตานุปัสสนา]



คิดไม่ถึง

         สำนักปฏิบัติแห่งหนึ่ง  ซึ่งเป็นสาขาของหลวงปู่นี่นเอง  อยู่ด้วยกันเฉพาะพระประมาณห้าหกรูป  อยากจะเคร่งครัดเป็นพิเศษ  ถึงขั้นสมาทานไม่พูดจากันตลอดพรรษา  คือ  ไม่ให้มีเสียงเป็นคำพูดออกมาจากปากใคร  ยกเว้นการสวดมนต์ทำวัตร  หรือสวดปาติโมกข์เท่านั้น  ครั้นออกพรรษาแล้ว  พากันไปกราบหลวงปู่  เล่าถึงการปฏิบัติอย่างเคร่งของพวกตนว่า  นอกจากปฏิบัติข้อวัตรอย่างอื่นแล้วสามารถหยุดพูดได้ตลอดพรรษาด้วย ฯ

         หลวงปู่ฟังฟังแล้วยิ้มหน่อยหนึ่ง พูดว่า

         "ดีเหมือนกัน  เมื่อไม่พูดก็ไม่มีโทษทางวาจา  แต่ที่ว่าหยุดพูดได้นั้นเป็นไปไม่ได้หรอก  นอกจากพระอริยบุคคลผู้เข้านิโรธสมาบัติชั้นละเอียดดับสัญญาเวทนาเท่านั้นแหละที่ไม่พูดได้  นอกนั้นพูดทั้งวันทั้งคืน  ยิ่งพวกที่ตั้งปฏิญาณว่าจะไม่พูดนั่นแหละยิ่งพูดมากกว่าคนอื่น   เพียงแต่ไม่ออกเสียงให้คนอื่นได้ยินเท่านั้น."

[Webmaster-กล่าวคือ แม้ไม่ได้พูดคือเป็นวจีสังขารออกมาเป็นคำพูด,  แต่ก็พูดอย่างฟุ้งซ่านอยู่ในใจอยู่เสมอๆเนืองๆด้วยมโนสังขารหรือจิตตสังขารนั่นเอง]

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



อย่าตั้งใจไว้ผิด

         นอกจากหลวงปู่จะนำปรัชญาธรรมที่ออกจากจิตของท่านมาสอนแล้ว  โดยที่ท่านอ่านพระไตรปิฎกจบมาแล้ว  ตรงไหนที่ท่านเห็นว่าสำคัญและเป็นการเตือนใจในทางปฏิบัติให้ตรงและลัดที่สุด  ท่านก็จะยกมากล่าวเตือนอยู่เสมอ เช่น หลวงปู่ยกพุทธพจน์ตอนหนึ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสเตือนว่า

         "ภิกษุทั้งหลาย  พรหมจรรย์นี้  เราประพฤติ  มิใช่เพื่อหลอกลวงคน  มิใช่เพื่อให้คนมานิยมนับถือ  มิใช่เพื่ออานิสงส์ลาภสักการะและสรรเสริญ  มิใช่อานิสงส์เป็นเจ้าลัทธิอย่างนั้นอย่างนี้ฯ  ที่แท้พรหมจรรย์นี้ เราประพฤติ เพื่อสังวระ-ความสำรวม   เพื่อปหานะ-ความละ   เพื่อวิราคะ-ความหายกำหนัดยินดี   และเพื่อนิโรธะ-ความดับทุกข์   ผู้ปฏิบัติและนักบวชต้องมุ่งตามแนวทางนี้   นอกจากแนวทางนี้แล้วผิดทั้งหมด."



พระพุทธพจน์

         หลวงปูว่า  ตราบใดที่ยังเป็นปุถุชนอยู่ ตราบนั้นย่อมมีทิฎฐิ  และเมื่อมีทิฎฐิแล้วยากที่จะเห็นตรงกัน  เมื่อไม่เห็นตรงกัน ก็เป็นเหตุให้โต้เถียงวิวาทกันอยู่รํ่าไป   สำหรับพระอริยเจ้าผู้เข้าถึงธรรมแล้วก็ไม่มีอะไรสำหรับมาโต้แย้งกับใคร  ใครมีทิฎฐิอย่างไร ก็ปล่อยเป็นเรื่องของเขาไป  ดังพุทธพจน์ตอนหนึ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า

         ภิกษุทั้งหลาย  สิ่งใดอันบัณฑิตทั้งหลายในโลกกล่าวว่ามีอยู่ แม้เราตถาคตก็กล่าวสิ่งนั้นว่ามีอยู่   สิ่งใดอันบัณฑิตทั้งหลายในโลกกล่าวว่าไม่มี แม้เราตถาคตก็กล่าวสิ่งนั้นว่าไม่มี   ดูกรภิกษุทั้งหลาย เราย่อมไม่โต้แย้งเถียงกับโลก  แต่โลกย่อมวิวาทโต้เถียงกับเรา (ปุปผสูตร)




นักปฏิบัติลังเล 

         ปัจจุบันนี้  ศาสนิกชนผู้สนใจในการปฏิบัติฝ่ายวิปัสสนา  มีความงงงวยสงสัยอย่างยิ่งในแนวทางปฏิบัติ  โดยเฉพาะผู้เริ่มต้นสนใจเนื่องจากคณาจารย์ฝ่ายวิปัสสนาแนะแนวปฏิบัติไม่ตรงกัน  ยิ่งไปกว่านั้นแทนที่จะอธิบายให้เขาเข้าใจโดยความเป็นธรรม  ก็กลับทำเหมือนไม่อยากจะยอมรับคณาจารย์อื่น  สำนักอื่น ว่าเป็นการถูกต้อง  หรือถึงขั้นดูหมิ่นสำนักอื่นไปแล้วก็เคยมีไม่น้อย ฯ

         ดังนั้น  เมื่อมีผู้สงสัยทำนองนี้มากแล้วเรียนถามหลวงปู่อยู่บ่อยๆ  จึงได้ยินหลวงปู่อธิบายให้ฟังอยู่เสมอๆว่า

         "การเริ่มต้นปฏิบัติวิปัสสนาภาวนานั้น  จะเริ่มต้นโดยวิธีไหนก็ได้  เพราะผลมันก็เป็นอันเดียวกันอยู่แล้ว   ที่ท่านสอนแนวปฏิบัติไว้หลายแนวนั้นเพราะจริตของคนไม่เหมือนกัน  จึงต้องมีวัตถุ  สี  แสง  และคำสำหรับบริกรรม เช่น พุทโธ  อรหัง  เป็นต้น  เพื่อหาจุดใดจุดหนึ่งให้จิตรวมอยู่ก่อน  สงบ  แล้ว คำบริกรรมเหล่านั้นก็หลุดหายไปเอง   แล้วก็ถึงรอยเดียวกัน  รสเดียวกัน  คือมีวิมุตติเป็นแก่น  มีปัญญาเป็นยิ่ง."

[Webmaster-หลวงปู่ท่านหมายถึงการปฏิบัติที่ถูกต้อง แต่ได้แตกแขนงออกเป็นหลายแนวทางการปฏิบัติตามจริตผู้ปฏิบัติ หรือตามสำนักนั้นๆ จึงมีความแตกต่างกันออกไปบ้าง แต่ความจริงแล้ว ล้วนมุ่งสู่จุดหมายเดียวกันคือละความดำริคือคิดพล่านลงไปเสียก่อน,   แต่ก็มิได้หมายถึงการปฏิบัติแบบผิดๆอันย่อมยังให้เกิดโทษอย่างแน่นอน]

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 08, 2011, 09:41:50 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

อยู่  ก็อยู่ให้เหนือ   

         ผู้ที่เข้านมัสการหลวงปู่ทุกคนและทุกครั้ง  มักจะพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า  แม้หลวงปู่จะมีอายุใกล้ร้อยปีแล้วก็จริง  แต่ดูผิวพรรณยังผ่องใส  และสุขภาพอนามัยแข็งแรงดี  แม้ผู้ที่อยู่ใกล้ชิดท่านตลอดมาก็ยากที่จะได้เห็นท่านแสดงอาการหมองคลํ้า  หรืออิดโรย  หรือหน้านิ่วคิ้วขมวดให้เห็น  ท่านมีปรกติสงบเย็น  เบิกบานอยู่เสมอ  มีอาพาธน้อย  มีอารมณ์ดี  ไม่ตื่นเต้นตามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น  ไม่เผลอคล้อยตามไปตามคำสรรเสริญ  หรือคำตำหนิติเตียนฯ

         มีอยู่ครั้งหนึ่ง  ท่ามกลางพระเถระฝ่ายวิปัสสนา สนทนาธรรมเรื่องการปฏิบัติกับหลวงปู่ ถึงปรกติจิตที่อยู่เหนือความทุกข์ โดยลักษณาการอย่างไรฯ
        หลวงปู่ว่า
        "การไม่กังวล  การไม่ยึดถือ  นั่นแหละวิหารธรรมของนักปฏิบัติ."   



ทำจิตให้สงบได้ยาก

         การปฏิบัติภาวนาสมาธินั้น  จะให้ผลเร็วช้าเท่าเทียมกันเป็นไปไม่ได้  บางคนได้ผลเร็ว  บางคนก็ช้า  หรือยังไม่ได้ผลลิ้มรสแห่งความสงบเลยก็มี  แต่ก็ไม่ควรท้อถอย  ก็ได้ชื่อว่าเป็นผู้ประกอบความเพียรทางใจ ย่อมเป็นบุญกุศลขั้นสูงต่อจากการบริจาคทานรักษาศีล  เคยมีลูกศิษย์จำนวนมากเรียนถามหลวงปู่ว่า  อุตส่าห์พยายามภาวนาสมาธินานมาแล้ว  แต่จิตไม่เคยสงบเลย  แส่ออกไปข้างนอกอยู่เรื่อย  มีวิธีอื่นใดบ้างที่พอจะปฏิบัติได้ ฯ

         หลวงปู่เคยแนะวิธีอีกอย่างหนึ่งว่า
         "ถึงจิตจะไม่สงบก็ไม่ควรให้มันออกไปไกล  ใช้สติระลึกไปแต่ในกายนี้  ดูให้เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อสุภสัญญา  หาสาระแก่นสารไม่ได้  เมื่อจิตมองเห็นชัดแล้ว  จิตก็จะเกิดความสลดสังเวช  เกิดนิพพิทา   ความหน่าย  คลายกำหนัด  ย่อมตัดอุปาทานขันธ์ได้เช่นเดียวกัน."

[Webmaster- เนื่องจากฌานสมาธิ เป็นอจินไตย ขึ้นอยู่กับจริต การสั่งสม ความเพียร แนวทางปฏิบัติ ฯลฯ.]



หลักธรรมแท้

         มีอยู่อย่างหนึ่งที่นักปฏิบัติชอบพูดถึง  คือ  ชอบโจษขานกันว่า นั่งภาวนาแล้วเห็นอะไรบ้าง[Webmaster-หมายถึงนิมิตที่ย่อมรวมโอภาสด้วย]  ปรากฎอะไรออกมาบ้าง  หรือไม่ก็ว่า ตนนั่งภาวนามานานแล้วไม่เคยเห็นปรากฎอะไรออกมาบ้างเลย  หรือบางคนก็ว่า ตนได้เห็นสิ่งนั้นสิ่งนี้อยู่เสมอ  ทำให้บางคนเข้าใจผิดคิดว่า ภาวนาแล้วตนจะได้เห็นสิ่งที่ต้องการเป็นต้น ฯ

         หลวงปู่เคยเตือนว่า  การปรารถนาเช่นนั้นผิดทั้งหมด  เพราะการภาวนานั้นเพื่อให้เข้าถึงหลักธรรมอย่างแท้จริง
         "หลักธรรมที่แท้จริงนั้น  คือ  จิต  ให้กำหนดดูจิต  ให้เข้าใจจิตตัวเองให้ลึกซึ้ง  เมื่อเข้าใจจิตตัวเองได้ลึกซึ้งแล้ว  นั่นแหละได้แล้วซึ่งหลักธรรม."

[Webmaster-จิต ที่หมายถึงเวทนานุปัสสนา หรือจิตตานุปัสสนา  หรือแม้แต่กายานุปัสสนาและธัมมานุปัสสนาที่ต่างล้วนอาศัยจิตเช่นกัน]

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 08, 2011, 09:56:50 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


                     

มีปรกติไม่แวะเกี่ยว
         อยู่รับใช้ใกล้ชิดหลวงปู่เป็นเวลานานสามสิบกว่าปี  จนถึงวาระสุดท้ายของท่านนั้น  เห็นว่าหลวงปู่มีปฏิปทา ตรงต่อพระธรรมวินัย ตรงต่อการปฏิบัติ เพื่อพ้นทุกข์อย่างเดียว  ไม่แวะเกี่ยวกับวิชาอาคม  ของศักสิทธิ์  หรือสิ่งชวนสงสัยอะไรเลยแม้แต่น้อย  เช่น  มีคนขอให้เป่าหัวให้ ก็ถามว่า เป่าทำไม  มีคนขอให้เจิมรถ ก็ถามเขาว่า เจิมทำไม  มีคนขอให้บอกวันเดือนหรือฤกษ์ดี ก็บอกว่าวันไหนก็ดีทั้งนั้นฯ   หรือเมื่อท่านเคี้ยวหมาก  มีคนขอชานหมากฯ

         หลวงปู่ว่า
         "เอาไปทำไมของสกปรก."

[Webmaster-แสดงให้เห็นสีลัพพตปรามาสในการปฏิบัติหรือยึดถือ]


ทำโดยกริยา
         บางครั้งอาตมานึกไม่สบายใจ  เกรงว่าตัวเองจะมีบาป  ที่เป็นผู้มีส่วนทำให้หลวงปู่ต้องแวะเกี่ยวกับสิ่งที่ไม่ได้สนใจหรือไม่ถนัดใจครั้งแรก  คือ วันนั้นหลวงปู่ไปร่วมงานเปิดพิพิธภัณฑ์บริขารท่านอาจารย์มั่น ที่วัดป่าสุธาวาส สกลนคร  มีพระเถระวิปัสสนามากประชาชนก็มาก  เขาเหล่านั้นจึงถือโอกาสเข้าหาครูบาอาจารย์ทั้งหลายเพื่อกราบเพื่อขอ  จึงมีหลายคนที่มาขอให้หลวงปู่เป่าหัว  เมื่อเห็นท่านเฉยอยู่ จึงขอร้องท่านว่า  หลวงปู่เป่าให้เขาให้แล้วๆไป ท่านจึงเป่าให้  ต่อมาเมื่อเสียไม่ได้ก็เจิมรถให้เขา  ทนอ้อนวอนไม่ได้ก็ให้เขาทำเหรียญ และเข้าพิธีพุทธาภิเษกวัตถุมงคล ฯ

         แต่ก็มีความสบายใจอย่างยิ่งเมื่อฟังคำหลวงปู่ว่าฯ
         "การกระทำของเราในสิ่งเหล่านี้เป็นเพียงกริยาภายนอกที่เป็นไปในสังคม  หาใช่เป็นกริยาที่นำไปสู่ภพ ภูมิ หรือมรรคผลนิพพานแต่ประการใดไม่."


ปรารภธรรมะให้ฟัง
         คำสอนทั้ง ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั้น  เป็นเพียงอุบายให้คนทั้งหลายหันมาดูจิตนั่นเอง  คำสอนของพระพุทธองค์มีมากมายก็เพราะกิเลสมีมากมาย  แต่ทางดับทุกข์ได้มีทางเดียว พระนิพพาน  การที่เรามีโอกาสปฏิบัติธรรมที่ถูกทางเช่นนี้มีน้อยนัก  หากปล่อยโอกาสให้ผ่านไปเราจะหมดโอกาสพ้นทุกข์ทันในชาตินี้   แล้วจะต้องหลงอยู่ในความเห็นผิดอีกนานแสนนาน เพื่อที่จะพบธรรมอันเดียวกันนี้  ดังนั้น  เมื่อเราเกิดมาพบพระพุทธศาสนาแล้ว  รีบปฏิบัติให้พ้นเสีย  มิฉนั้นจะเสียโอกาสอันดีนี้ไป  เพราะว่าเมื่อสัจจธรรมถูกลืม  ความมืดมนย่อมครอบงำปวงสัตว์ให้อยู่กองทุกข์สิ้นกาลนาน.

[Webmaster-จิต ที่หมายถึงเวทนานุปัสสนา หรือจิตตานุปัสสนา  หรือแม้แต่กายานุปัสสนาและธัมมานุปัสสนาที่ต่างล้วนอาศัยจิตเช่นกัน]


ปรารภธรรมะให้ฟัง
         มิใช่ครั้งเดียวเท่านั้นที่หลวงปู่เปรียบเทียบธรรมะให้ฟัง  มีอยู่อีกครั้งหนึ่ง  หลวงปู่ว่า
         ปัญญาภายนอกคือปัญญาสมมติ  ไม่ทำให้จิตแจ้งในพระนิพพานได้  ต้องอาศัยปัญญาอริยมรรคจึงเข้าถึงพระนิพพานได้  ความรู้ของนักวิทยาศาสตร์เช่น ไอสไตน์ มีความรู้มาก มีความสามารถมาก  แยกปรมาณูที่เล็กที่สุด จนเข้าถึงมิติที่ ๔ แล้ว  แต่ไอสไตน์ไม่รู้จักนิพพาน  จึงเข้าพระนิพพานไม่ได้  "จิตที่แจ้งในอริยมรรคเท่านั้นจึงเป็นไปเพื่อการตรัสรู้จริง  ตรัสรู้ยิ่ง  ตรัสรู้พร้อม  เป็นไปเพื่อการดับทุกข์  เป็นไปเพื่อนิพพาน."



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: มีนาคม 20, 2013, 06:15:10 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
วิธีระงับดับทุกข์แบบหลวงปู่

         ระหว่าง พ.ศ. ๒๕๒๐  โลกธรรมฝ่ายอนิฏฐารมณ์   กำลังครอบงำข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในกระทรวงมหาดไทยอย่างหนัก  คือ เสื่อมลาภ  เสื่อมยศ  ถูกนินทา  และทุกข์  แน่นอน  ความทุกข์โศกนี้อันนี้ย่อมปกคลุมถึงบุตรภรรยาด้วย

         จึงมีอยู่วันหนึ่ง  คุณหญิงคุณนายหลายท่านได้ไปมนัสการหลวงปู่  พรรณนาถึงทุกข์โศกที่กำลังได้รับ  เพื่อให้หลวงปู่ได้แนะวิธีหรือช่วยเหลืออย่างใดอย่างหนึ่งแล้วแต่ท่านจะเมตตาฯ  หลวงปู่กล่าวว่า

         "บุคคลไม่ควรเศร้าโศกอาลัยถึงสิ่งนอกกายทั้งหลายที่มันผ่านพ้นไปแล้ว  มันหมดไปแล้ว  เพราะสิ่งเหล่านั้นมันได้ทำหน้าที่ของมันอย่างถูกต้องโดยสมบูรณ์ที่สุดแล้ว."



เมื่อกล่าวถึงสัจจธรรมแล้ว  ย่อมลงสู่กระแสเดียวกัน

         มีท่านผู้คงแก่เรียนหลายท่านชอบถามว่า  คำกล่าวหรือเทศน์ของหลวงปู่ดูคล้ายนิกายเซ็น  หรือคล้ายมาจากสูตรเว่ยหล่างเป็นต้น  อาตมาเรียนถามหลวงปู่ก็หลายครั้ง  ในที่สุดท่านกล่าวอย่างเป็นกลางว่า

         สัจจธรรมทั้งหมดมีอยู่ประจำโลกอยู่แล้ว  พระพุทธเจ้าตรัสรู้สัจจธรรมนั้นแล้ว  ก็นำมาสั่งสอนสัตว์โลก  เพราะอัธยาศัยของสัตว์ไม่เหมือนกัน  หยาบบ้าง  ประณีตบ้าง  พระองค์จึงเปลืองคำสอนไว้มากถึง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์   เมื่อมีนักปราชญ์ฉลาดสรรหาคำพูดให้สมบูรณ์ที่สุด เพื่อจะอธิบายสัจจธรรมนั้นนำมาตีแผ่เผยแจ้งแก่ผู้มุ่งสัจจธรรมด้วยกัน  เราย่อมต้องอาศัยแนวทางในสัจจธรรมนั้น ที่ตนเองไตร่ตรองเห็นแล้วว่าถูกต้องและสมบูรณ์ที่สุดนำเผยแผ่ออกไปอีก โดยไม่คำนึงถึงคำพูด หรือไม่ได้ยึดติดในอักขระพยัญชนะตัวใดเลยแม้แต่น้อยนิดเดียว.



ละเอียด

         หลวงพ่อเบธ วัดป่าโคกหม่อน  ได้เข้าสนทนาธรรมถึงการปฏิบัติทางสมาธิภาวนา เล่าถึงผลการปฏิบัติขั้นต่อๆไปว่าได้บำเพ็ญสมาธิภาวนามานานให้จิตเข้าถึงอัปปนาสมาธิได้เป็นเวลานานๆก็ได้  ครั้นถอยจากสมาธิออกมา  บางทีก็เกิดความรู้สึกเอิบอิ่มอยู่เป็นเวลานาน  บางทีก็เกิดความสว่างไสว เข้าใจสรรพางค์กายได้ครบถ้วน  หรือมีอะไรต้องปฏิบัติต่อไปอีก

         หลวงปู่ว่า

         "อาศัยพลังอัปปนาสมาธินั่นแหละ  มาตรวจสอบจิต  แล้วปล่อยวางอารมณ์ทั้งหมด  อย่าให้เหลืออยู่."

[Webmaster-คืออาศัยสมาธินั่นแหละเป็นกำลัง  แล้วนำมาตรวจสอบจิตหรือการเจริญวิปัสสนานั่นเองเป็นสาระสำคัญ  ก็เพื่อให้เกิดปัญญาญาณคือนิพพิทาญาณเพื่อการปล่อยวาง]



ว่าง

         ในสมัยต่อมา หลวงพ่อเบธ พร้อมด้วยพระสหธรรมิกอีกสองรูป และมีคฤหัสถ์หลายคนด้วย  เข้านมัสการหลวงปู่ฯ

         หลังจากหลวงปู่ได้แนะนำข้อปฏิบัติแก่ผู้ที่เข้ามาใหม่แล้ว  หลวงพ่อเบธถามถึงข้อปฏิบัติที่หลวงปู่แนะเมื่อคราวที่แล้ว  ว่าการปล่อยวางอารมณ์นั้น ทำได้เพียงชั่วครั้งชั่วคราว หรือชั่วขณะหนึ่งเท่านั้น  ไม่อาจให้อยู่ได้เป็นเวลานานฯ

         หลวงปู่ว่า

         "แม้ที่ว่าปล่อยวางอารมณ์ได้ชั่วขณะหนึ่งนั้น  ถ้าสังเกตุจิตไม่ดีหรือสติไม่สมบูรณ์เต็มที่แล้ว  ก็อาจเป็นไปได้ว่าละจากอารมณ์หยาบไปอยู่กับอารมณ์ละเอียดก็ได้  จึงต้องหยุดความคิดทั้งปวงเสียแล้วปล่อยจิตให้ตั้งอยู่บนความไม่มีอะไรเลย."

[หมายเหตุ Webmaster - การ"ละจากอารมณ์หยาบไปอยู่กับอารมณ์ละเอียด"  เป็นสิ่งที่ควรสังวรระวังอย่างมาก  เพราะนักปฏิบัติจะไปยึดความสงบ ความสบาย ความสุข อันเกิดจากการปฏิบัติ แทนอารมณ์หยาบเดิมๆ ด้วยความเคยชินจากการสั่งสมปฏิบัติเดิมๆนั่นเอง จึงคอยจับจ้องคอยยึดอยู่โดยไม่รู้ตัวและด้วยความไม่รู้,  ซึ่งเป็นการปฏิบัติผิด ไม่ถูกทางเช่นกัน,  ต้องไม่ยึดมั่น ไม่หมายมั่น ในความสงบความสุขความสบายอันเกิดขึ้นจากการปฏิบัติสมาธิหรือฌานที่ถูกต้องเพราะย่อมระงับทุกข์เป็นบางส่วนคือนิวรณ์๕ ได้ระยะหนึ่งนั่นเอง  กล่าวคือยังต้องดำเนินการวิปัสสนาเป็นสำคัญควบคู่ไปด้วย จึงดีงาม,  ผู้เขียนมีประสบการณ์แบบนี้มาแล้วจึงอยากเตือนกันไว้บ้าง]

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
ไม่ค่อยแจ่ม

         กระผมได้อ่านประวัติการปฏิบัติธรรมของหลวงปู่เมื่อสมัยเดินธุดงค์ว่า  หลวงปู่เข้าใจเรื่องจิตได้ดีว่า จิตปรุงกิเลส  หรือว่ากิเลสปรุงจิต  ข้อนี้หมายความว่าอย่างไร ฯ

         หลวงปู่อธิบายว่า

        "จิตปรุงกิเลส  คิอ การที่จิตบังคับให้กาย  วาจา  ใจ  กระทำสิ่งภายนอก  ให้มี  ให้เป็น  ให้เลว  ให้เกิดวิบาก  แล้วยึดติดอยู่ว่า  นั่นเป็นตัว  นั่นเป็นตน  ของเรา  ของเขา

         กิเลสปรุงจิต  คือ การที่สิ่งภายนอกเข้ามา  ทำให้จิตเป็นไปตามอำนาจของมัน  แล้วยึดว่ามีตัว  มีตนอยู่  สำคัญผิดจากความเป็นจริงอยู่รํ่าไป."


ความหลังยังฝังใจ

         ครั้งหนึ่งหลวงปู่ไปพักผ่อนที่วัดโยธาประสิทธิ์  พระเณรจำนวนมากพากันมากราบนมัสการหลวงปู่  ฟังโอวาสของหลวงปู่แล้ว  หลวงตาพลอยผู้บวชเมื่อแก่  แต่สำรวมดี  ได้ปรารภถึงตนเองว่า กระผมบวชมานานก็พอสมควรแล้ว  ยังไม่อาจตัดห่วงอาลัยในอดีตได้แม้ตั้งใจอย่างไรก็ยังเผลอจนได้  ขอทราบอุบายวิธีอย่างอื่นเพื่อปฏิบัติตามแนวนี้ต่อไปด้วยครับกระผม ฯ

         หลวงปู่ว่า

         "อย่าให้จิตแล่นไปสู่อารมณ์ภายนอก  ถ้าเผลอ  เมื่อรู้ตัวให้รีบดึงกลับมา  อย่าปล่อยให้มันรู้อารมณ์ดีชั่ว  สุขหรือทุกข์  ไม่คล้อยตาม และไม่หักหาญ."

[Webmaster-อารมณ์ ที่หมายถึง สิ่งที่จิตไปยึดติดหรือกำหนดในขณะนั้นๆ  ดังนั้นอารมณ์ภายนอกจึงหมายถึง สิ่งที่จิตไปกำหนดหรือยึดไว้ในขณะนั้นๆ เช่นใน รูป  เสียง  กลิ่น  รส  โผฏฐัพพะ  คือกามทั้ง๕ใดๆ]


รู้จากการเรียนรู้  กับ  รู้จากการปฏิบัติ

         ศีล  สมาธิ  ปัญญา  วิมุตติ  ที่กระผมจำจากตำราและฟังครูสอนนั้น  จะตรงกับเนื้อหาตามที่หลวงปู่เข้าใจหรือ ฯ

         หลวงปู่อธิบายว่า

         "ศีล  คือ  ปรกติจิตที่อยู่อย่างปราศจากโทษ   เป็นจิตที่มีเกราะกำบังป้องกันการกระทำชั่วทุกอย่าง,  สมาธิ ผลสืบเนื่องมาจากการรักษาศีล   คือ จิตที่มีความมั่นคง มีความสงบเป็นพลัง ที่จะส่งต่อไปอีก(ให้ปัญญานั่นเอง-webmaster),    ปัญญา  ผู้รู้ คือ  จิตที่ว่างเบาสบาย  รู้แจ้งแทงตลอดตามความเป็นจริงอย่างไร ฯ.   วิมุตติ   คือ  จิตที่เข้าถึงความว่าง  จากความว่าง คือ ละความสบาย  เหลือแต่ความไม่มี  ไม่เป็น  ไม่มีความคิด(หมายถึง ไม่มีเฉพาะความคิดปรุงแต่งหรือฟุ้งซ่านเท่านั้น-webmaster)เหลืออยู่เลย."


หยุด  ต้องหยุดให้เป็น

         นักปฏิบัติกราบเรียนหลวงปู่ว่า  กระผมพยายามหยุดคิดหยุดนึก(คือไปพยายามผิดคือไปหยุดคิดนึกทั้งปวง  หรือคิดหาทางที่จะหยุดคิด จนกลายเป็นความคิดชนิดคิดปรุงแต่งหรือฟุ้งซ่านไปในการหยุดคิดเสีย - webmaster)ให้ได้ตามที่หลวงปู่เคยสอน  แต่ไม่เป็นผลสำเร็จสักที  ซํ้ายังเกิดความอึดอัด  แน่นใจ  สมองมึนงง  แต่กระผมก็ยังศรัทธาว่าที่หลวงปู่สอนไว้ย่อมไม่ผิดพลาดแน่  ขอทราบอุบายวิธีต่อไปด้วย ฯ

         หลวงปู่บอกว่า

         "ก็แสดงถึงความผิดพลาดอยู่แล้ว  เพราะบอกให้หยุดคิดหยุดนึก  ก็กลับไปคิด (ปรุงแต่งคือฟุ้งซ่าน) ที่จะหยุดคิดเสียอีกเล่า  แล้วอาการหยุดคิด(ปรุงแต่งคือฟุ้งซ่าน)จะอุบัติขึ้นได้อย่างไร  จงกำจัดอวิชชาแห่งการหยุดคิดหยุดนึก(ปรุงแต่งคือฟุ้งซ่าน)เสียให้สิ้น  เลิกล้มความคิดที่จะหยุดคิด(คือหยุดฟุ้งซ่านกับการหาทางหยุดคิด หรือก็คืออุเบกขา)เสียก็สิ้นเรื่อง."

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
ผลคล้ายกัน แต่ไม่เหมือนกัน

         แรม ๒ คํ่า เดือน ๑๑ เป็นวันคล้ายวันเกิดของหลวงปู่  ซึ่งพอดีกับวันออกพรรษาแล้วได้ ๒ วันของทุกปี  สานุศิษย์ทั้งฝ่ายปริยัติและฝ่ายปฏิบัติก็นิยมเดินทางไปกราบนมัสการหลวงปู่  เพื่อศึกษาและไตร่ถามข้อวัตรปฏิบัติ  หรือรายงานผลของการปฏิบัติตลอดพรรษา  ซึ่งเป็นกิจที่ศิษย์ของหลวงปู่กระทำอยู่เช่นนี้ตลอดมา ฯ

         หลังจากฟังหลวงปู่แนะนำข้อวัตรปฏิบัติอย่างพิสดารแล้ว หลวงปู่จบลงด้วยคำว่า

        "การศึกษาธรรม  ด้วยการอ่านการฟัง  สิ่งที่ได้ก็คือ สัญญา (ความจำได้)  การศึกษาธรรมด้วยการลงมือปฏิบัติ  สิ่งที่เป็นผลของการปฏิบัติ คือ ภูมิธรรม."


มีอยู่จุดเดียว

         ในนามสัทธิวิหาริกของหลวงปู่  มีพระมหาทวีสุข สอบเปรียญ ๙ ประโยค ได้เป็นองค์แรก  ทางวัดบูรพารามจึงจัดฉลองพัดประโยค ๙ ถวาย ฯ

         หลังพระมหาทวีสุขถวายสักการะแก่หลวงปู่แล้ว  ท่านได้ให้โอวาทแบบปรารภธรรมว่า  "ผู้ที่สามารถสอบเปรียญ ๙ ประโยคได้นั้น  ต้องมีความเพียรอย่างมาก  และมีความฉลาดเพียงพอ  เพราะถือว่าเป็นการจบหลักสูตรฝ่ายปริยัติ  และต้องแตกฉานในพระไตรปิฎก การสนใจทางปริยัติอย่างเดียวพ้นทุกข์ไม่ได้ ต้องสนใจปฏิบัติทางจิตต่อไปอีกด้วย." ฯ

         หลวงปู่กล่าวว่า

        "พระธรรมทั้ง ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั้น  ออกไปจากจิตของพระพุทธเจ้าทั้งหมด  ทุกสิ่งทุกอย่างออกจากจิต  อยากรู้อะไรค้นได้ที่จิต."



หวังผลไกล

         เมื่อมีแขกหรืออุบาสกอุบาสิกาไปกราบนมัสการหลวงปู่  แต่หลวงปู่มีปรกติไม่เคยถามถึงเรื่องอื่นไกล  มักถามว่า  ญาติโยมเคยภาวนาบ้างไหม?  บางคนก็ตอบว่าเคย  บางคนก็ตอบว่าไม่เคย  ในจำนวนนั้นมีคนหนึ่งฉะฉานกว่าใคร  เขากล่าวว่า  ดิฉันเห็นว่าพวกเราไม่จำเป็นต้องมาวิปัสสนาอะไรให้มันลำบากลำบนนัก  เพราะปีหนึ่งๆ ดิฉันก็ฟังเทศน์มหาชาติจบทั้ง ๑๓ กัณฑ์ ตั้งหลายวัด  ท่านว่าอานิสงส์การฟังเทศน์มหาชาตินี้จะได้ถึงศาสนาพระศรีอาริย์  ก็จะพบแต่ความสุขความสบายอยู่แล้ว(สีลัพพตปรามาส-Webmaster) ต้องมาทรมานให้ลำบากทำไม ฯ

         "สิ่งประเสริฐอันมีอยู่เฉพาะหน้าแล้วไม่สนใจ  กลับไปหวังไกลถึงสิ่งที่เป็นเพียงการกล่าวถึง  เป็นลักษณะของคนที่ไม่เอาไหนเลย  ก็ในเมื่อมรรคผลนิพพานในศาสนาสมณโคดมในปัจจุบันนี้ยังมีอยู่อย่างสมบูรณ์   กลับเหลวไหลไม่สนใจ  เมื่อถึงศาสนาพระศรีอาริย์  ก็ยิ่งเหลวไหลมากกว่านี้อีก."

[หมายเหตุ Webmaster - แสดงให้เห็นสีลัพพตปรามาสในการปฏิบัติหรือยึดถือ]


โลกนี้ มันก็มีเท่าที่เราเคยรู้มาแล้วนั่นเอง

        บางครั้งที่หลวงพ่อสังเกตเห็นว่า  ผู้มาปฏิบัติยังลังเลใจ  เสียดายในความสนุกเพลิดเพลินแบบโลกล้วน  จนไม่อยากจะมาปฏิบัติธรรมฯ

        ท่านแนะนำชวนคิดให้เห็นชัดว่า

        "ขอให้ท่านทั้งหลาย  จงสำรวจดูความสุขว่า  ตรงไหนที่ตนเห็นว่ามันสุขที่สุดในชีวิต  ครั้นสำรวจดูแล้ว  มันก็แค่นั้นแหละ  แค่ที่เราเคยพบมาแล้วนั่นเอง  ทำไมจึงไม่มากกว่านั้น  มากกว่านั้นไม่มีในโลกนี้  มีอยู่แค่นั้นเอง  แล้วก็ซํ้าๆซากๆอยู่แค่นั้น เกิด แก่ เจ็บ ตายอยู่รํ่าไป   มันจึงน่าจะมีความสุขชนิดพิเศษกว่า  ประเสริฐกว่านั้น  ปลอดภัยกว่านั้น  พระอริยเจ้าทั้งหลายท่านจึงสละสุขส่วนน้อยนั้นเสีย  เพื่อแสวงหาสุขอันเกิดจากความสงบกาย  สงบจิต  สงบกิเลส  เป็นความสุขที่ปลอดภัยหาสิ่งใดเปรียบมิได้เลย."

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
ไม่ยาก สำหรับผู้ที่ไม่ติดอารมณ์

        วัดบูรพารามที่หลวงปู่จำพรรษาตลอด ๕๐ ปี  ไม่มีได้ไปจำพรรษาที่ไหนเลย  เป็นวัดที่ตั้งอยู่ใจกลางเมือง  หน้าศาลากลางติดกับศาลจังหวัดสุรินทร์  ด้วยเหตุนี้จึงมีเสียงรบกวนความสงบอยู่ตลอดเวลา  โดยเฉพาะเมื่อถึงฤดูงานช้างแฟร์หรือฤดูเทศกาลแต่ละอย่าง  แสงเสียงอึกทึกครึกครื้นตลอดเจ็ดวันบ้าง  สิบห้าวันบ้าง  ภิกษุสามเณรผู้มีจิตใจยังอ่อนไหวอยู่  ย่อมได้รับความกระทบกระเทือนเป็นอย่างยิ่ง ฯ

         เมื่อนำเรื่องนี้กราบเรียนหลวงปู่ทีไร  ก็ได้คำตอบทำนองเดียวกันทุกครั้งว่า

         "มัวสนใจอะไรกับสิ่งเหล่านี้ ธรรมดาแสงย่อมสว่าง  ธรรมดาเสียงย่อมดัง  หน้าที่ของมันเป็นเช่นนั้นเอง   เราไม่ใส่ใจฟังเสียงก็หมดเรื่อง  จงทำตัวเราไม่ให้เป็นปฎิปักษ์กับสิ่งแวดล้อม  เพราะมันมีอยู่อย่างนี้  เป็นอยู่อย่างนี้เอง  เพียงแต่ทำความเข้าใจกับมันให้ถ่องแท้ด้วยปัญญาอันลึกซึ้งเท่านั้นเอง."



กล่าวเตือน

         บางครั้งหลวงปู่แทบจะรำคาญกับพวกที่ปฏิบัติเพียงไม่กี่มากน้อย  ก็มาถามแบบเร่งผลให้ทันตาเห็น ฯ

         ท่านกล่าวเตือนว่า

         "การปฏิบัติ  ให้มุ่งปฏิบัติเพื่อสำรวม  เพื่อความละ  เพื่อคลายความกำหนัดยินดี  เพื่อความดับทุกข์  ไม่ใช่เพื่อสวรรค์วิมาน  หรือแม้แต่นิพพานก็ไม่ต้องตั้งเป้าหมายเพื่อจะเห็นทั้งนั้น  ให้ปฏิบัติไปเรื่อยๆ  ไม่ต้องอยากเห็นอะไร  เพราะนิพานมันเป็นของว่างไม่มีตัวไม่มีตน  หาที่ตั้งไม่ได้  หาที่เปรียบไม่ได้  ปฏิบัติไปจึงจะรู้เอง."



ละอย่างหนึ่ง  ติดอีกอย่างหนึ่ง

        ลูกศิษย์ฝ่ายคฤหัสถ์ผู้ปฏิบัติธรรมคนหนึ่ง  เข้านมัสการหลวงปู่  รายงานผลการปฏิบัติให้หลวงปู่ฟังด้วยความภาคภูมิใจว่า  ปลื้มใจอย่างยิ่งที่ได้พบหลวงปู่วันนี้  ด้วยกระผมปฏิบัติตามที่หลวงปู่แนะนำก็ได้ผลไปตามลำดับ คือ เมื่อลงมือนั่งภาวนาก็เริ่มละสัญญาอารมณ์ภายนอกหมด  จิตก็หมดความวุ่น  จิตรวม  จิตสงบ  จิตดิ่งลงสู่สมาธิ  หมดอารมณ์อื่น  เหลือแต่ความสุข  สุขอย่างยิ่ง  เย็นสบาย  แม้จะให้อยู่ตรงนี้นานเท่าไรก็ได้ ฯ

        หลวงปู่ยิ้มแล้วพูดว่า

        "เออ  ก็ดีแล้วที่ได้ผล  พูดถึงสุขในสมาธิมันก็สุขจริงๆ  จะเอาอะไรมาเปรียบเทียบไม่ได้  แต่ถ้าติดอยู่แค่นั้น  มันก็ได้แค่นั้นแหละยังไม่เกิดปัญญาอริยมรรค  ที่จะตัดภพ  ชาติ  ตัณหา  อุปาทานได้  ให้ละสุขนั้นเสียก่อน  แล้วพิจารณาขันธ์ ๕ ให้แจ่มแจ้งต่อไป."

[หมายเหตุ Webmaster - ภพ  ชาติ  ตัณหา  อุปาทาน ที่หลวงปู่กล่าวถึงนั้น หมายถึงองค์ธรรมต่างๆในปฏิจจสมุปบาท]


ตัวอย่างเปรียบเทียบ

        มรรคผลนิพพาน  เป็นสิ่งปัจจัตตัง  คือ  รู้เห็นได้จำเพาะตนโดยแท้  ผู้ใดปฏิบัติเข้าถึง  ผู้นั้นเห็นเอง  แจ่มแจ้งเอง  หมดสงสัยในพระศาสนาได้โดยสิ้นเชิง  มิฉนั้นแล้วจะต้องเดาเอาอยู่รํ่าไป  แม้จะมีผู้อธิบายให้ลึกซึ้งอย่างไร  ก็รู้ได้แบบเดา  สิ่งใดยังเดาอยู่สิ่งนั้นก็ยังไม่แน่นอน ฯ

         ยกตัวอย่างเช่น  เต่ากับปลา  เต่าอยู่ได้สองโลกคือ โลกบนบกกับโลกในนํ้า  ส่วนปลาอยู่ได้โลกเดียวคือในนํ้า  ขืนมาบนบกก็ตายหมด ฯ วันหนึ่ง  เต่าลงไปในนํ้าแล้ว  ก็พรรณนาความสุขสบายบนบกให้ปลาฟังว่า มันมีแต่ความสุขสบาย  แสงสีสวยงาม  ไม่ต้องลำบากเหมือนอยู่ในนํ้า ฯ

         ปลาพากันฟังด้วยความสนใจ และอยากเห็นบก  จึงถามเต่าว่า  บนบกลึกมากไหม  เต่าว่า มันจะลึกอะไร ก็มันบก ฯ
         เอ  บนบกนั้นมีคลื่นมากไหม   มันจะคลื่นอะไรก็มันบก ฯ

         เอ  บนบกมีเปือกตมมากไหม   มันจะมีอะไรก็มันบก ฯ
         ให้สังเกตดูคำที่ปลาถาม  เอาแต่ความรู้ที่มีอยู่ในนํ้าถามเต่า  เต่าก็ได้แต่ปฏิเสธ

         "จิตปุถุชนที่เดามรรคผลนิพพาน  ก็ไม่ต่างอะไรกับปลา."

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด
ไม่เคยเห็นหวั่นไหวในเหตุการณ์อะไร

         เวลา ๔ ทุ่มผ่านไปแล้ว  เห็นหลวงปู่ยังนั่งพักผ่อนอยู่ตามสบายจึงเข้าไปกราบเรียนว่า  หลวงปู่ครับ  หลวงปู่ขาวมรณภาพเสียแล้ว  หลวงปู่ก็แทนที่จะถามว่า  ด้วยเหตุใด  เมื่อไร  ก็ไม่ถาม  กลับพูดต่อไปเลยว่า

         "เออ  ท่านอาจารย์ขาว  ก็หมดภาระการแบกหามสังขารเสียที  พบกันเมื่อ ๔ ปีที่ผ่านมาเห็นลำบากสังขาร  ต้องให้คนอื่นช่วยเหลืออยู่เสมอ  เราไม่มีวิบากของสังขาร  เรื่องวิบากของสังขารนี้  แม้จะเป็นพระอริยเจ้าชั้นไหนก็ต้องต่อสู้จนกว่าจะขาดจากกัน  ไม่เกี่ยวข้องกันอีก  แต่ตามปรกติสภาวะของจิตนั้นมันก็ยังอยู่กับสิ่งเหล่านี้เอง เพียงแต่จิตที่ฝึกดีแล้วเมื่อสิ่งเหล่านี้เกิดขึ้นย่อมละและระงับได้เร็วไม่กังวล  ไม่ยึดถือ  หมดภาระเกี่ยวข้องกับสิ่งเหล่านั้น  มันก็แค่นั้นเอง."



ผู้ที่เข้าใจธรรมะได้ถูกต้อง  หายาก

         เมื่อไฟไหม้จังหวัดสุรินทร์ครั้งใหญ่ได้ผ่านไปแล้ว  ผลคือความทุกข์ยากสูญสิ้นเนื้อประดาตัว  และเสียใจอาลัยอาวรณ์ในทรัพย์สิน  ถึงขั้นเสียสติไปก็มีหลายราย  วนเวียนมาลำเลิกให้หลวงปู่ฟังว่า  อุตส่าห์ทำบุญเข้าวัด  ปฏิบัติธรรมมาตั้งแต่ปู่ย่าตายาย  ทำไมบุญกุศลจึงไม่ช่วย  ทำไมธรรมะจึงไม่ช่วยคุ้มครอง  ไฟไหม้บ้านวอดวายหมด  แล้วเขาเหล่านั้นก็เลิกเข้าวัดทำบุญไปหลายราย  เพราะธรรมะไม่ช่วยเขาให้พ้นจากไฟไหม้บ้าน ฯ

         หลวงปู่ว่า

         "ไฟมันทำตามหน้าที่ของมัน  ธรรมะไม่ได้ช่วยใครในลักษณะนั้น  หมายความว่า  ความอันตรธาน  ความวิบัติ  ความเสื่อมสลาย  ความพลัดพรากจากกัน   มันมีประจำโลกอยู่แลัวสิ่งเหล่านี้(สภาวะธรรมชาติ-ผู้เขียน)   ทีนี้ผู้มีธรรม ผู้ปฏิบัติธรรมะ เมื่อประสบกับภาวะเช่นนั้นแล้ว จะวางใจอย่างไรจึงไม่เป็นทุกข์ อย่างนี้ต่างหาก  ไม่ใช่ธรรมะไม่ให้แก่  ไม่ให้ตาย  ไม่ให้หิว  ไม่ให้ไฟไหม้  ไม่ใช่อย่างนั้น."

[หมายเหตุ Webmaster - ผู้เขียนเมื่อปฏิบัติใหม่ๆอันเป็นไปตามความเชื่อความยึดเดิมๆที่แอบซ่อนอยู่ในจิตตามที่ได้สืบทอดกันต่อๆมา  การปฏิบัติจึงเป็นเพื่อหวังบุญ หวังกุศล ก็ด้วยหวังว่าบุญกุศลนั้นจะยังประโยชน์โดยตรง ในอันที่จะไม่ให้เกิดทุกข์  โศก โรคภัย ฯ กล่าวคือ เพื่อไม่ให้เกิด  ไม่ให้มี  ไม่ให้เป็น,  อยากให้เป็นดังนี้  ดังนั้น  เป็นต้น.  อันล้วนเป็นความเข้าใจผิดที่เรียกว่า ทิฏฐุปาทาน หรือสีลัพพตปรามาส หรือ  อันเป็นธรรมหรือสิ่งที่มัดสัตว์ไว้กับทุกข์(สังโยชน์)  อันทำให้ไม่สามารถเจริญในธรรมได้เพราะความไม่เข้าใจสภาวธรรมอันถูกต้องแท้จริงดังที่หลวงปู่กล่าวไว้    เมื่อปฏิบัติอย่างถูกต้องจึงจะยังให้เกิดประโยชน์โดยตรงและยิ่งใหญ่ได้]



ต้องปฏิบัติจึงหมดสงสัย

เมื่อมีผู้ถามถึง  การตาย  การเกิดใหม่  หรือถามถึงชาติหน้า  ชาติหลัง  หลวงปู่ไม่เคยสนใจที่จะตอบ  หรือมีผู้กล่าวค้านว่าเชื่อหรือไม่เชื่อ นรกสวรรค์มีจริงหรือไม่มีประการใด  หลวงปู่ไม่เคยคว้าหาเหตุผลเพิ่อจะเอาค้านใคร  หรือไม่เคยหาหลักฐานเพื่อยืนยัน  เพื่อให้ใครยอมจำนนแต่ประการใด  ท่านกลับแนะนำว่า

         "ผู้ปฏิบัติที่แท้จริงนั้น  ไม่จำเป็นต้องคำนึงถึงชาติหน้าชาติหลังหรือนรกสวรรค์อะไรก็ได้  ให้ตั้งใจปฏิบัติให้ตรง  ศีล  สมาธิ  ปัญญาอย่างแน่วแน่ก็พอ    ถ้าสวรรค์มีจริงถึง ๑๖ ชั้นตามตำรา ผู้ปฏิบัติดีแล้ว ก็ได้เลื่อนฐานะตนเองโดยลำดับ    หรือถ้าสวรรค์นรกไม่มีเลย ผู้ปฏิบัติดีแล้วขณะนี้ย่อมไม่ไร้ประโยชน์ ย่อมอยู่เป็นสุขเป็นมนุษย์ชั้นเลิศ  "การฟังจากคนอื่น  การค้นคว้าจากตำรานั้น  ไม่อาจแก้ข้อสงสัยได้  ต้องเพียรปฏิบัติ  ทำวิปัสสนาญาณ  ให้แจ้งความสงสัยก็หมดไปเองโดยสิ้นเชิง."

[หมายเหตุ Webmaster - เรื่องชาติหน้า ชาติหลัง  แม้องค์พระบรมศาสดาก็ไม่ทรงพยากรณ์ ดังความว่าเป็นมิจฉาทิฏฐิ ๑๐  เพราะความที่ไม่เป็นไปเพื่อการดับชาติ ชรา-มรณะ หรือก็คือเพื่อการดับทุกข์ในปัจจุบันแสดงใน จูฬมาลุงโกยวาทสูตร   ผู้ที่เกิดวิปัสสนาญาณแล้วก็ย่อมรู้ได้ด้วยอาการปัจจัตตังในที่สุด   แต่ไม่ว่าคำตอบจะเป็นเยี่ยงไร ผู้ฟังก็ย่อมไม่สามารถเข้าใจหรือพิสูจน์ได้ตามคำสอนนั้นๆ นอกจากน้อมเชื่อด้วยศรัทธาหรือน้อมเชื่อแบบอธิโมกข์อันงมงาย    และไม่เป็นเรื่องของการปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์ในปัจจุบัน จึงรังแต่จะเป็นโทษแก่ผู้ฟังเป็นที่สุด  และจะเป็นที่ถกเถียงกันไม่รู้จบ หาเหตุหาผลมาถกหักล้างกันไม่รู้จักสิ้น แม้ตราบเท่าทุกวันนี้  เพราะทั้งผู้พูดและผู้ฟังย่อมไม่สามารถพิสูจน์ให้อีกฝ่ายหนึ่งเห็นอะไรๆได้ตามตนเอง]