พระพุทธเจ้า ทรงรู้ว่า "อวิชชา" คือ ตัวตัวเหตุของความทุกข์ อวิชชา คือจิตที่ไม่รู้จิตในจิต ตัวเองหลงจิตจึงจึงทรงใช้มรรคอริยสัจ คือ ตัวรู้ ตัววิชชา(วิชชา คือจิตที่รู้จิต) เข้าประหารอนุสัยที่นอนเนื่องในสันดาน จนพระองค์ทรงรู้แจ้งเห็นจริงในโลกทั้ง สาม รู้จักตัวตนว่าไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ไม่มีตัวตน เป็นเพียงส่วนประกอบของธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นเพียงรูปธาตุ นามธาตุ
อวิชาจึงดับด้วยพระปัญญาของพระองค์เอง ทรงเข้าถึงการดับโดยแท้จริง ดับสภาพ ปรุงแต่งของสังขารด้วยมรรคสัจ ทรงประหารอวิชชา ทรงพ้นจากบ่วงของการเกิด แห่งกองทุกข์ทั้งมวลได้ ด้วยพระปัญญาของพระองค์เอง จนเป็นวิชา เป็นแสงแห่ง คุณธรรมที่สว่างอยู่ในจิตใจของผู้ปฎิบัติ โลกของผู้ปฎิบัติจึงสงบร่มเย็นอยู่จนปัจจุบันนี้
วิชชาของพระพุทธเจ้าเป็นธรรมดับทุกข์ เป็นยาดับโรคของความอยากซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์ของความหลงในวัฎฎสังสารของมนุษย์ การเกิดของปฎิจจสมุปบาท
สาเหตุของการเกิดปฏิจจสมุปบาทเพราะว่า อวิชชา เป็นปัจจัยจึงมี สังขาร
สังขาร เป็นปัจจัยจึงมี วิญญาณ
วิญญาณ เป็นปัจจัยจึงมี นามรูป
นามรูป เป็นปัจจัยจึงมี สฬายตนะ
สฬายตนะ เป็นปัจจัยจึงมี ผัสสะ
ผัสสะ เป็นปัจจัยจึงมี เวทนา
เวทนา เป็นปัจจัยจึงมี ตัณหา
ตัณหา เป็นปัจจัยจึงมี อุปาทาน
อุปาทาน เป็นปัจจัยจึงมี ภพ
ภพ เป็นปัจจัยจึงมี ชาติ
ชาติ เป็นปัจจัยจึงมี ชรา มรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัส อุปายาส
ความเกิดของกองทุกข์ทั้งหมดนี้เรียกว่า " ปฏิจจสมุปบาท "
ปฏิจจสมุปบาทจะดับได้เพราะ อวิชชา ดับ สังขาร จึงดับ
สังขาร ดับ วิญญาณ จึงดับ
วิญญาณ ดับ นามรูป จึงดับ
นามรูป ดับ สฬายตนะ จึงดับ
สฬายตนะ ดับ ผัสสะ จึงดับ
ผัสสะ ดับ เวทนา จึงดับ
เวทนา ดับ ตัณหา จึงดับ
ตัณหา ดับ อุปาทาน จึงดับ
อุปาทาน ดับ ภพ จึงดับ
ภพ ดับ ชาติ จึงดับ
ชาติ ดับ ชรา มรณะ โสกะปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส จึงดับ
ความดับของกองทุกข์ทั้งมวลนี้ คือ การเดินออกจากบ่วงของปฏิจจสมุปบาท องค์ประกอบของปฏิจจสมุปบาท เพราะการหมุนเวียนของวัฏชีวิตที่มีทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต หมุนเวียนไปตามองค์ประกอบ ของการเกิด หาจุจบไม่ได้และไม่สามารถหาต้นเหตุได้ว่าอะไร คือ ต้นเหตุของการเกิด และอะไร คือ ปลายเหตุของการดับ เริ่มจากอดดีตสู่ปัจจุบัน ปัจจุบันสู่อนาตค อนาคตกลับมาเป็นอดีต อดีตมาเป็นปัจจุบัน ประดุจห่วงของลูกโซ่ที่ผูกต่อกันไปหาที่สุดมิได้ เรียกว่า เป็นวงจรของปฏิจจสมุปบาท หรือ บาทฐานการเกิดของกองทุกข์ ซึ่งประกอบด้วย :-
1. อวิชชา คือ ความไม่รู้ตามความเป็นจริงในความทุกข์ของจิต ไม่รู้ในเหตุให้เกิดแห่งความทุกข์ไม่รู้ในการดับทุกข์
ไม่รู้ในปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์ อวิชชาเป็นจิตที่ไม่รู้จิตในจิต
เพราะความไม่รู้หรืออวิชชาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีสังขาร
2. สังขาร คือ การปรุงแต่งของจิตให้เกิดหน้าที่
ทางกาย - เรียกกายสังขาร ได้แก่ ธรรมชาติที่ปรุงแต่งร่างกายให้เกิดลมหายใจเข้าออก
ทางวาจา - เรียกวจีสังขาร ได้แก่ ธรรมชาติที่ปรุงแต่งวาจาให้เกิดวิตกวิจาร
ทางใจ - เรียกจิตสังขาร ได้แก่ ธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิตให้เกิดสัญญา เวทนา สุข ทุกข์ทางใจ
เพราะการปรุงแต่งของจิตหรือสังขารเป็นปัจจัย จึงเกิดมีวิญญาณ
3. วิญญาณ คือ การรับรู้ในอารมณ์ที่มากระทบในทวารทั้ง 6 คือ
ทางตา - จักขุวิญญาณ
ทางเสียง - โสตวิญญาณ
ทางจมูก - ฆานวิญญาณ
ทางลิ้น - ชิวหาวิญญาณ
ทางกาย - กายวิญญาณ
ทางใจ - มโนวิญญาณ
เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป
4. นามรูป นาม คือ จิตหรือความนึกคิด ในรูปกายนี้ เป็นของละเอียดได้แก่
เวทนา คือ ความรู้สึกเสวยในอารมณ์ต่างๆ
สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้ จดจำในเรื่องที่เกิดขึ้นมาแล้วทั้งดีและไม่ดีดังแต่อดีต
เจตนา คือ ความตั้งใจ การทำทุกอย่างทั้งดีและชั่ว
ผัสสะ คือ การกระทบทางจิต
มนสิการ คือ การน้อมจิตเข้าสู่การพิจารณา
รูป คือ รูปร่างกายที่สัมผัสได้ทางตา เป็นของหยาบ ได้แก่ มหาภูตรูป 4 คือ ดิน, น้ำ, ไฟ, ลม
เพราะนามรูปเกิด จึงเป้นปัจจัยให้มีสฬายตนะ คือ ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ
5. สฬาตนะ คือ สิ่งที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อกันทางวิถีประสาทด้วยอายตนะทั้ง 6 มี
ตา - จักขายตนะ หู - โสตายตนะ
จมูก - ฆานายตนะ ลิ้น - ชิวหายตนะ
กาย - กายายตนะ ใจ - มนายตนะ
เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ
6. ผัสสะ คือ การกระทบกับสิ่งที่เห็นรู้ทุกทวารทั้งดีและไม่ดี เช่น
จักขุผัสสะ - สัมผัสทางตา โสตผัสสะ - สัมผัสทางเสียง
ฆานผัสสะ - สัมผัสทางจมูก ชิวหาผัสสะ - สัมผัสทางลิ้น
กายผัสสะ - สัมผัสทางกาย มโนผัสสะ - สัมผัสทางใจ
เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา
7. เวทนา คือ ความรู้สึกเสวยอารมณ์พอใจ, ไม่พอใจและอารมณ์ที่เป็นกลางกับสิ่งที่มากระทบพบมาได้แก่
จักขุสัมผัสสชาเวทนา - ตา โสตสัมผัสสชาเวทนา - เสียง
ฆานสัมผัสสชาเวทนา - จมูก ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา - ลิ้น
กายสัมผัสสชาเวทนา - กาย มโนสัมผัสสชาเวทนา - ใจ
ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นเครื่องรับของความรู้สึกต่างๆ
เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา
8. ตัณหา คือ ความทะยานอยาก พอใจ และไม่พอใจในสิ่งที่เห็นรู้ใน
รูป - รุปตัณหา เสียง - สัททตัณหา
กลิ่น - คันธตัณหา รส - รสตัณหา
กาย - โผฎฐัพพตัณหา ธรรมารมณ์ - ธัมมตัณหา
เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน
9. อุปาทาน คือ ความยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ และที่เกิดขึ้นในขัน 5 มี 4 เหล่า คือ
กามุปาทาน - ความยึดมั่นถือมั่นในวัตถุกาม
ทิฎฐุปาทาน - ความยึดมั่นถือมั่นในการเห็นผิด
สีลัพพตุปาทาน - ความยึดมั่นถือมั่นในการปฎิบัติผิด
อัตตวาทุปาทาน - ความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนในขันธ์ 5
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
10. ภพ คือ จิตที่มีตัณหาปรุงแต่ง เกิดอยู่ในจิตปุถุชนผู้หนาแน่นในตัณหา 3 เจตจำนงในการเกิดใหม่
ความกระหายในความเป็น เพราะยึดติดในรูปในสิ่งที่ตนเองเคยเป็น มี 3 ภพ คือ
กามภพ - ภพมนุษย์, สัตว์เดรัจฉาน, เทวดา
รูปภพ - พรหมที่มีรูป
อรูปภพ - พรหมที่ไม่มีรูป
เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ
11. ชาติ คือ ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง ได้แก่ จิตที่ผูกพันกันมากๆจึงเกิดการสมสู่กัน อย่างสม่ำเสมอ จนปรากฎแห่งขันธ์ แห่งอายตนะในหมู่สัตว์
เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกปริเทวะทุกขโทมมัส อุปายาส มีความเศร้าโศก เสียใจ ร้องไห้อาลัยอาวรณ์
12. ชรา มรณะ ชรา คือ ความแก่ ภาวะของผมหงอก ฟันหลุด หนังเหี่ยวย่น ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่ของอินทรีย์ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่เที่ยงเป็นทุกข์อยู่ในตัว
มรณะ คือ ความเคลื่อน ความทำลาย ความตาย ความแตกแห่งขันธ์ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์
บ่อเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ เกิดขึ้นมาได้เพราะอวิชา ดั่งพืชเมื่อเกิดเป็นต้นไม้แล้ว มีราก ลำต้น ใบ ดอก ผล เป็นลำดับไป ไม่ปรากฎว่าเบื้องต้นเกิดมาแต่ครั้งไหน ดั่งรูปนาม ของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ไม่ปรากฎว่าเบื้องต้นคือ " อวิชชา" เกิดมาตั้งแต่เมื่อไร เพราะ เกิดการผูกต่อกันมาเป็นลำดับ เกิดเป็นปฎิจจสมุปบาทขึ้นมา
ปุถุชนดับวงของปฎิจจสมุปบาทได้บ้าง เป็นการดับชั่วขณะจึงต้องเกิดอีก เพราะ ตัววิชชายังไม่แจ้งในขันธ์ 5
ส่วนตัวอริยชนดับวงของปฎิจจสมุปบาทได้สนิท เพราะดับได้ด้วยวิชชาจึงไม่ต้องเกิดอีก เป็นการดับไม่เหลือเชื้อ เพราะวิชชาแจ้งในขันธ์ 5 พ้นจากการเกิด เปรียบเหมือนไฟ ที่สิ้นเชื้อดับไปแล้ว