วิถีธรรม > แนวทางปฏิบัติธรรม

ปฏิจจสมุปบาท (dependent origination)

<< < (4/5) > >>

ฐิตา:

      พระพุทธเจ้า

    ทรงรู้ว่า "อวิชชา" คือ ตัวตัวเหตุของความทุกข์ อวิชชา คือจิตที่ไม่รู้จิตในจิต ตัวเองหลงจิตจึงจึงทรงใช้มรรคอริยสัจ คือ ตัวรู้ ตัววิชชา(วิชชา คือจิตที่รู้จิต) เข้าประหารอนุสัยที่นอนเนื่องในสันดาน จนพระองค์ทรงรู้แจ้งเห็นจริงในโลกทั้ง สาม รู้จักตัวตนว่าไม่เที่ยงเป็นทุกข์ ไม่มีตัวตน เป็นเพียงส่วนประกอบของธาตุ 4 คือ ดิน น้ำ ไฟ ลม เป็นเพียงรูปธาตุ นามธาตุ

    อวิชาจึงดับด้วยพระปัญญาของพระองค์เอง ทรงเข้าถึงการดับโดยแท้จริง ดับสภาพ ปรุงแต่งของสังขารด้วยมรรคสัจ ทรงประหารอวิชชา ทรงพ้นจากบ่วงของการเกิด แห่งกองทุกข์ทั้งมวลได้ ด้วยพระปัญญาของพระองค์เอง จนเป็นวิชา เป็นแสงแห่ง คุณธรรมที่สว่างอยู่ในจิตใจของผู้ปฎิบัติ โลกของผู้ปฎิบัติจึงสงบร่มเย็นอยู่จนปัจจุบันนี้

    วิชชาของพระพุทธเจ้าเป็นธรรมดับทุกข์ เป็นยาดับโรคของความอยากซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์ของความหลงในวัฎฎสังสารของมนุษย์

    การเกิดของปฎิจจสมุปบาท
    สาเหตุของการเกิดปฏิจจสมุปบาทเพราะว่า

    อวิชชา เป็นปัจจัยจึงมี สังขาร
    สังขาร เป็นปัจจัยจึงมี วิญญาณ
    วิญญาณ เป็นปัจจัยจึงมี นามรูป
    นามรูป เป็นปัจจัยจึงมี สฬายตนะ
    สฬายตนะ เป็นปัจจัยจึงมี ผัสสะ
    ผัสสะ เป็นปัจจัยจึงมี เวทนา
    เวทนา เป็นปัจจัยจึงมี ตัณหา
    ตัณหา เป็นปัจจัยจึงมี อุปาทาน
    อุปาทาน เป็นปัจจัยจึงมี ภพ
    ภพ เป็นปัจจัยจึงมี ชาติ

    ชาติ เป็นปัจจัยจึงมี ชรา มรณะ โสกปริเทวทุกขโทมนัส อุปายาส
    ความเกิดของกองทุกข์ทั้งหมดนี้เรียกว่า " ปฏิจจสมุปบาท "
    ปฏิจจสมุปบาทจะดับได้เพราะ

    อวิชชา ดับ สังขาร จึงดับ
    สังขาร ดับ วิญญาณ จึงดับ
    วิญญาณ ดับ นามรูป จึงดับ
    นามรูป ดับ สฬายตนะ จึงดับ
    สฬายตนะ ดับ ผัสสะ จึงดับ
    ผัสสะ ดับ เวทนา จึงดับ
    เวทนา ดับ ตัณหา จึงดับ
    ตัณหา ดับ อุปาทาน จึงดับ
    อุปาทาน ดับ ภพ จึงดับ
    ภพ ดับ ชาติ จึงดับ
    ชาติ ดับ ชรา มรณะ โสกะปริเทวทุกขโทมนัสอุปายาส จึงดับ
    ความดับของกองทุกข์ทั้งมวลนี้ คือ การเดินออกจากบ่วงของปฏิจจสมุปบาท


    องค์ประกอบของปฏิจจสมุปบาท 

    เพราะการหมุนเวียนของวัฏชีวิตที่มีทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต หมุนเวียนไปตามองค์ประกอบ ของการเกิด หาจุจบไม่ได้และไม่สามารถหาต้นเหตุได้ว่าอะไร คือ ต้นเหตุของการเกิด และอะไร คือ ปลายเหตุของการดับ เริ่มจากอดดีตสู่ปัจจุบัน ปัจจุบันสู่อนาตค อนาคตกลับมาเป็นอดีต อดีตมาเป็นปัจจุบัน ประดุจห่วงของลูกโซ่ที่ผูกต่อกันไปหาที่สุดมิได้ เรียกว่า เป็นวงจรของปฏิจจสมุปบาท หรือ บาทฐานการเกิดของกองทุกข์ ซึ่งประกอบด้วย :-

    1. อวิชชา
    คือ ความไม่รู้ตามความเป็นจริงในความทุกข์ของจิต ไม่รู้ในเหตุให้เกิดแห่งความทุกข์ไม่รู้ในการดับทุกข์
    ไม่รู้ในปฏิปทาให้ถึงความดับทุกข์ อวิชชาเป็นจิตที่ไม่รู้จิตในจิต
    เพราะความไม่รู้หรืออวิชชาเป็นปัจจัย จึงเกิดมีสังขาร

    2. สังขาร
    คือ การปรุงแต่งของจิตให้เกิดหน้าที่
    ทางกาย - เรียกกายสังขาร ได้แก่ ธรรมชาติที่ปรุงแต่งร่างกายให้เกิดลมหายใจเข้าออก
    ทางวาจา - เรียกวจีสังขาร ได้แก่ ธรรมชาติที่ปรุงแต่งวาจาให้เกิดวิตกวิจาร
    ทางใจ - เรียกจิตสังขาร ได้แก่ ธรรมชาติที่ปรุงแต่งจิตให้เกิดสัญญา เวทนา สุข ทุกข์ทางใจ
    เพราะการปรุงแต่งของจิตหรือสังขารเป็นปัจจัย จึงเกิดมีวิญญาณ

    3. วิญญาณ
    คือ การรับรู้ในอารมณ์ที่มากระทบในทวารทั้ง 6 คือ
    ทางตา - จักขุวิญญาณ
    ทางเสียง - โสตวิญญาณ
    ทางจมูก - ฆานวิญญาณ
    ทางลิ้น - ชิวหาวิญญาณ
    ทางกาย - กายวิญญาณ
    ทางใจ - มโนวิญญาณ
    เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป

    4. นามรูป
    นาม คือ จิตหรือความนึกคิด ในรูปกายนี้ เป็นของละเอียดได้แก่
    เวทนา คือ ความรู้สึกเสวยในอารมณ์ต่างๆ
    สัญญา คือ ความจำได้หมายรู้ จดจำในเรื่องที่เกิดขึ้นมาแล้วทั้งดีและไม่ดีดังแต่อดีต
    เจตนา คือ ความตั้งใจ การทำทุกอย่างทั้งดีและชั่ว
    ผัสสะ คือ การกระทบทางจิต
    มนสิการ คือ การน้อมจิตเข้าสู่การพิจารณา
    รูป คือ รูปร่างกายที่สัมผัสได้ทางตา เป็นของหยาบ ได้แก่ มหาภูตรูป 4 คือ ดิน, น้ำ, ไฟ, ลม
    เพราะนามรูปเกิด จึงเป้นปัจจัยให้มีสฬายตนะ คือ ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ

    5. สฬาตนะ
    คือ สิ่งที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อกันทางวิถีประสาทด้วยอายตนะทั้ง 6 มี
    ตา - จักขายตนะ หู - โสตายตนะ
    จมูก - ฆานายตนะ ลิ้น - ชิวหายตนะ
    กาย - กายายตนะ ใจ - มนายตนะ
    เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ

    6. ผัสสะ
    คือ การกระทบกับสิ่งที่เห็นรู้ทุกทวารทั้งดีและไม่ดี เช่น
    จักขุผัสสะ - สัมผัสทางตา โสตผัสสะ - สัมผัสทางเสียง
    ฆานผัสสะ - สัมผัสทางจมูก ชิวหาผัสสะ - สัมผัสทางลิ้น
    กายผัสสะ - สัมผัสทางกาย มโนผัสสะ - สัมผัสทางใจ
    เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา

    7. เวทนา
    คือ ความรู้สึกเสวยอารมณ์พอใจ, ไม่พอใจและอารมณ์ที่เป็นกลางกับสิ่งที่มากระทบพบมาได้แก่
    จักขุสัมผัสสชาเวทนา - ตา โสตสัมผัสสชาเวทนา - เสียง
    ฆานสัมผัสสชาเวทนา - จมูก ชิวหาสัมผัสสชาเวทนา - ลิ้น
    กายสัมผัสสชาเวทนา - กาย มโนสัมผัสสชาเวทนา - ใจ
    ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ เป็นเครื่องรับของความรู้สึกต่างๆ
    เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา

    8. ตัณหา
    คือ ความทะยานอยาก พอใจ และไม่พอใจในสิ่งที่เห็นรู้ใน
    รูป - รุปตัณหา เสียง - สัททตัณหา
    กลิ่น - คันธตัณหา รส - รสตัณหา
    กาย - โผฎฐัพพตัณหา ธรรมารมณ์ - ธัมมตัณหา
    เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน

    9. อุปาทาน
    คือ ความยึดมั่นถือมั่นในอารมณ์ และที่เกิดขึ้นในขัน 5 มี 4 เหล่า คือ
    กามุปาทาน - ความยึดมั่นถือมั่นในวัตถุกาม
    ทิฎฐุปาทาน - ความยึดมั่นถือมั่นในการเห็นผิด
    สีลัพพตุปาทาน - ความยึดมั่นถือมั่นในการปฎิบัติผิด
    อัตตวาทุปาทาน - ความยึดมั่นถือมั่นในตัวตนในขันธ์ 5
    เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ

    10. ภพ
    คือ จิตที่มีตัณหาปรุงแต่ง เกิดอยู่ในจิตปุถุชนผู้หนาแน่นในตัณหา 3 เจตจำนงในการเกิดใหม่
    ความกระหายในความเป็น เพราะยึดติดในรูปในสิ่งที่ตนเองเคยเป็น มี 3 ภพ คือ

    กามภพ - ภพมนุษย์, สัตว์เดรัจฉาน, เทวดา
    รูปภพ - พรหมที่มีรูป
    อรูปภพ - พรหมที่ไม่มีรูป
    เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ

    11. ชาติ
    คือ ความเกิด ความบังเกิด ความหยั่งลง ได้แก่ จิตที่ผูกพันกันมากๆจึงเกิดการสมสู่กัน อย่างสม่ำเสมอ จนปรากฎแห่งขันธ์ แห่งอายตนะในหมู่สัตว์
    เพราะชาติเป็นปัจจัย จึงมีชรา มรณะ โสกปริเทวะทุกขโทมมัส อุปายาส มีความเศร้าโศก เสียใจ ร้องไห้อาลัยอาวรณ์

    12. ชรา มรณะ
    ชรา คือ ความแก่ ภาวะของผมหงอก ฟันหลุด หนังเหี่ยวย่น ความเสื่อมแห่งอายุ ความแก่ของอินทรีย์ เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ไม่เที่ยงเป็นทุกข์อยู่ในตัว
    มรณะ คือ ความเคลื่อน ความทำลาย ความตาย ความแตกแห่งขันธ์ ความขาดแห่งชีวิตินทรีย์

    บ่อเกิดแห่งกองทุกข์ทั้งมวลนี้ เกิดขึ้นมาได้เพราะอวิชา ดั่งพืชเมื่อเกิดเป็นต้นไม้แล้ว มีราก ลำต้น ใบ ดอก ผล เป็นลำดับไป ไม่ปรากฎว่าเบื้องต้นเกิดมาแต่ครั้งไหน ดั่งรูปนาม ของสรรพสัตว์ทั้งหลาย ไม่ปรากฎว่าเบื้องต้นคือ " อวิชชา" เกิดมาตั้งแต่เมื่อไร เพราะ เกิดการผูกต่อกันมาเป็นลำดับ เกิดเป็นปฎิจจสมุปบาทขึ้นมา
    ปุถุชนดับวงของปฎิจจสมุปบาทได้บ้าง เป็นการดับชั่วขณะจึงต้องเกิดอีก เพราะ ตัววิชชายังไม่แจ้งในขันธ์ 5
    ส่วนตัวอริยชนดับวงของปฎิจจสมุปบาทได้สนิท เพราะดับได้ด้วยวิชชาจึงไม่ต้องเกิดอีก เป็นการดับไม่เหลือเชื้อ เพราะวิชชาแจ้งในขันธ์ 5 พ้นจากการเกิด เปรียบเหมือนไฟ ที่สิ้นเชื้อดับไปแล้ว


มีต่อค่ะ  http://www.vimokkha.com/paticcat.htm
ใต้ร่มธรรมดอทเน็ต * อกาลิโกโฮม

ฐิตา:


    วงที่ 1

    1. หมู เป็นสัตว์ที่กินไม่พิจารณา ตะกละกินไม่เลือก กินแล้วนอนได้ตลอด อิ่มแล้วใจ ยังหิว ยังอยากกินอยู่ เปรียบได้กับ ความโลภ คือ โลภะ
    2. งู เป็นอสรพิษร้าย มีพิษขบกัดศตรู เป็นตัวพยาบาท เปรียบได้กับ ความโกรธ คือ โทสะ
    3. ไก่ เป็นสัตว์ที่หลงตัวว่าสวยงาม มักชอบอวดความงามของตัว สำคัญตัวเองดีไปทุกอย่าง และมักชอบคุยเขี่ย เปรียบเหมือนกับการสร้าง ความปรุงแต่งอารมณ์ให้เกิดขึ้นอยู่เสมอ เปรียบได้กับความหลง คือ โมหะ

    สัตว์ทั้ง 3 กัดกันเป็นวงกลม เปรียบได้กับตัวจิตที่เกิดดับอยู่ในวง ปฎิจจสมุปบาท คือ สันตติติดต่อสืบเนื่องทำให้เกิดกรรมและไปรับผลเป็นวิบากได้รับสุขทุกข์จาก ความโลภ โกรธ หลง พุทธะ (วิชชาคือผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน) เท่านั้นจะทำลายให้กิเลสดับไปได้ และจึงออกจากวงกลมได้ พุทธะจึงชี้ทางองค์มรรค 8 อริยสัจ 4 ให้ออกไปจากวงปฎิจจสมุปบาท (นิพาน)


    วงที่ 2

    ธรรมดำ ธรรมขาว

    ธรรมดำ คือกรรม เป็นการกระทำด้วยกายวาจาใจ ทีไม่ดีเนื่องมาจากอวิชชา (ผู้ไม่รู้) หลงไม่รู้เช่นกินไม่พิจารณาว่าเป็นธาตุ หรือสักว่าเป็นธาตุ ยืนเดินนั่งนอน ไม่มีสติพิจารณา กิน ยืน เดิน นั่ง นอน ก็ยึดมั่น ถือมั่นว่าเป็นเราเป็นเขา เป็นตัว เป็นตน โดยไม่รู้กายใจ ว่าสืบเนื่องหรือต่อเนื่อง ผู้ที่อยู่ในกรรมดำจึงเหมือนอยู่ในที่มืด เปลือยเปล่า สกปรก ไร้ประโยชน์
    ธรรมขาว คือกรรม เป็นการกระทำด้วยกายวาจาใจที่ดี ที่มีพุทธะ (วิชชา ผู้รู้ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน) มีสติพิจารณาในอิริยาบททั้ง 4 ยืน เดิน นั่น นอน พูดคิดนึก มีสติต่อสืบเนื่อง พิจารณากายใจเป็นสักว่าธาตุ ไม่ใช่ตัวตนเราเขา โดยเป็นผู้มีสติอยู่ตลอดเวลา จึงเหมือนผู้ที่อยู่ในที่สว่าง มีการประกอบคุณงามความดี เป็น เครื่องอาภรณ์ประดับตกแต่ง สะอาด บริสุทธ์

    ธรรมดำ ทำชั่วได้ชั่ว = กรรมดำ = อกุศลกรรมนำไป นรก เช่น จิตที่เศร้า หมอง เร่าร้อน ไม่ฉลาด โง่

    ธรรมขาว ทำดีได้ดี = กรรมขาว = กุศลกรรมนำไป สู่สุคติ เป็นจิต ที่ผ่องใส สงบ เย็น ฉลาด


    วงที่ 3

    เกี่ยวเนื่องมาจากวงที่ 2 ใน 3 ข้อแรก เมื่อมีวิชชาสร้างกรรมดีแล้วในเบื้องต้นส่งผลให้

    1. มีศีลห้า จิตเป็นมนุษย์ มีการรักษาศีลเจริญภาวนาก็จะไปสวรรค์ จิตรื่นเริง ผ่องใส จิตเป็นเทวดา
    2. เมื่อมีการภาวนารักษาศีลก็จะมีจิตอยู่ในสวรรค์เป็นจิตเทวดา
    3. เมื่อจิตภาวนามากขึ้นเข้าณานขั้นสูงก็ถึงขั้นพรหม จิตเป็นพรหม (มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขา)

    เมื่อสร้างกรรมชั่วส่งผลให้ (เป็นจิตของมนุษย์ที่มีความโลภ โกรธ หลง สืบเนื่องติดต่อกันไป)

    1. แสดงภพ ภูมิของสัตว์นรก จิตไปนรก คือ จิตโกรธ พยาบาทปองร้ายผู้อื่น
    2. แสดงภพภูมิของเปรต จิตเป็นเปรต คือ จิตที่มีความโลภ อยากได้ของเขา มิใช่ของตน
    3. แสดงภพภูมิของเดรัจฉาน จิตเป็นเดรัจฉาน คือ จิตที่มีความหลงไม่ มีสติ ให้ความโลภโกรธหลงควบคุมจิตใจ ถูกทุกข์ครอบงำจิตใจ จนถึงวันตาย ความหลงเผาผลาญมาก จิตใจตกต่ำมาก จะลงนรกลึกไปเรื่อยๆ ตกต่ำไปตามภาวะของจิต พุทธะ(วิชชา)จะเกิดขึ้นไม่ได้ เมื่อผู้ใดคิดถึงพุทธะได้ จึงจะหนีไปจากนรก เข้าสู่ภพภูมิที่สูงขึ้น

ฐิตา:


    วงที่ 4

    1. อวิชชา เปรียบเหมือนคนตาบอด อวิชชาเป็นจิตที่มีโมหะครอบงำ เป็นจิตที่เห็นผิด หลงรูปนาม หลงกายและจิต ยึดติดรูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์ ไม่มีปัญญา พิจารณาแยกฐาตุขันธ์ ยึดกองแห่งรูปมั่นคง หลงตัวว่าไม่เสื่อมสลาย ไม่สามารถแยก กายใจได้ว่าเป็นคนละอัน ไม่รู้ที่เกิดของจิตและที่ดับของจิต หลงความคิดของตัวเชื่อมั่นว่า เป็นเราเป็นเขา ไม่พิจารณาสักแต่ว่าเป็นธาตุ 4 ดิน น้ำ ไฟ ลม สักว่าเป็นสังขารวิญญาณ อวิชชา จึงเป็นความหลง คือ โมหะ ไม่รู้ความจริง เปรียบเหมือนคนตาบอด ไปไหนไม่รู้ทาง มองไม่เห็นอะไรทำอะไรไม่ถูกต้อง ทำให้หลงผิดทุกอย่างเมื่อมีอวิชชามาครอบงำ

    2. สังขาร เปรียบเหมือนคนปั้นหมอ พยายามปรุงแต่งสิ่งที่มีอยู่แล้วให้เป็นรูป เป็นร่างขึ้นมา เป็นผู้ปรุงแต่ง รูป รส กลิ่น เสียง โผฎฐัพพะ ธรรมารมณ์ กระทบทางใจ สังขาร เป็นจิตที่มีเจตสิกปรุงแต่งให้เกิดความคิดนึกต่างๆนานาเมื่อมีอะไรมากระทบ อารมณ์ กระทบทางทวารทั้ง 6 ก็จะปรุงแต่งไปตามความชอบของใจ ชอบใจก็เป็นบุญ ไม่ชอบใจก็เป็นบาป ทั้งชอบก็เฉย ทั้งไม่ชอบก็เฉย เป็นอเนญชาภิสังขาร ไม่ปรุงเป็น บุญเป็นบาป เรียกว่าเป็นกลาง สังขารจึงเป็นตัวปรุงแต่งอารมณ์ทุกอย่างให้เกิด เรียกว่าสังขาร

    3. วิญญาณ เปรียบเหมือนลิงได้แก้ว ลิง หมายถึง จิตที่ไม่นิ่งเฉย จิตมีเกิดดับตลอดเวลา แก้ว หมายถึง คุณธรรม คุณธรรมดีแก้วก็จะใส ไม่มีคุณธรรม แก้วก็จะเศร้าหมอง วิญญาณเป็นผู้รู้แจ้งในสิ่งที่เห็นและกระทบที่เกิดขึ้น ในอายตนะทั้ง 5 วิญญาณเป็นผู้รู้แจ้งในสิ่งที่กระทบสัมผัส เรียกว่า วิญญาณ

ฐิตา:


    4. รูป-นาม (กาย-จิต) เปรียบเหมือนชายหญิงที่นั่งอยู่ในเรือ รูปเปรียบเหมือนเรือ นาม เป็นผู้อาศัย ร่างกายเหมือนเรือจิตวิญญาณ คือ คนนั่ง กายกับจิตเป็นคนละอย่าง แต่ต้องอาศัยซึ่งกันและกัน รุปนามเปรียบเหมือนคนนั่งเรือ

    5. สฬาตนะ เปรียบเหมือนบ้าน มีประตูหน้าต่าง มีทางเข้าออกของทวารทั้งหก มีร่างกาย คือ บ้าน ใจคือเจ้าของบ้าน ตา หู จมูก ลิ้น คือหน้าต่าง

    6. ผัสสะ เปรียบเหมือนชายหญิงกอดกัน หมายถึงการกระทบเป็นจิตที่มีความรู้สึกว่าเป็นชายเป็นหญิง เป็นจิตปรุงแต่งจะเกิดขึ้นมา เกิดกิเลสตัณหาอุปาทาน มีอารมณ์พอใจไม่พอใจ ยินดียินร้าย เป็นการกระทบสัมผัสในอายตนะทั้ง 6 เรียกว่าผัสสะ

    7. เวทนา เปรียบเหมือนคนที่ถูกลูกศรเสียบตา มีความเจ็บปวดมากเป็นจิตเสวยอารมณ์รุนแรงที่ได้สัมผัส เสวยอารมณ์ พอใจและไม่พอใจ ยินดียินร้าย (สุขเวทนา ทุกขเวทนา อุเบกขาเวทนา)

    8. ตัณหา เปรียบเหมือนคนสูบเฮโรอีน หรือยาเสพติด ติดแล้วต้องการอยู่ตลอดเวลา เป็นจิตปรุงแต่งต้องการเพิ่มอยู่เรื่อยๆไม่รู้ปล่อยวาง ไม่รู้จักคำว่าพอใจในการสูบและเสพ เป็นความอยากที่ถมไม่เต็ม เป็นความบกพร่องอยู่เป็นนิตย์

    9. อุปาทาน เปรียบเหมือนลิงเก็บผลไม้ ยึดติดยึดมั่นถือมั่น ยึดว่าเป็นของตัว ขาดปัญญาพิจารณาเหตุผลเสียสละปล่อยวาง

ฐิตา:


    10. ภพ เปรียบเหมือนคนท้องแก่ หมายถึงที่อยู่ เด็กในท้องที่มีอยู่แล้ว ภพที่ได้รับ หมายถึงที่อยู่ของกายใจ(รูปนาม) จิตยึดติดว่าเป็นที่อยู่ของเราพวกเรา ติดยึดความคิดว่าเป็นเรา ติดยึดในอารมณ์ที่พอใจรักใคร่และไม่พอใจรักใคร่ ติดอยู่ในความมีความเป็น คือภพ

    11. ชาติ เปรียบเหมือนคนคลอดลูก หมายถึงจิตที่ปฎิสนธิได้กำเนิดได้รับชีวิตแล้วว่าเป็นอะไร เป็นชายหรือหญิง สัตว์ บุคคล และความเกิดของจิตสืบเนื่องในภพต่างๆ โดยการเกิด ชาติคือความเกิดทั้ง 3 ภพ เป็นจิตที่มีเจตสิกสังขารปรุงแต่งเกิดดับ ยินดียินร้าย รักชอบชิงชังในอารมณ์ทั้ง 6 มีความเกิดอยู่ตลอดเวลามิได้ขาดทั้งภพและชาติ จิตที่ติดอยู่ในอารมณืต่างๆ ทั้งอดีตและปัจจุบัน ติดในอารมณ์นั้น

    12. ชรา มรณะ เปรียบเหมือนคนทิ้งบ้าน สะพายของออกไปด้วย หมายถึงทิ้งร่างกายแล้วไม่กลับมาอีก ส่วนที่นำไปด้วยคือบุญและบาป บ้านทั้งหลังคือ กองแห่งรูปและทรัพย์สมบัติก็เอาไปไม่ได้ ชรามรณะอยู่กับโศกปริเทวทุกขโทมนัสเศร้าโศกเสียใจ ผิดหวังอาลัยอาวรณ์ พลัดพรากจากกัน เป็นความสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ในชีวิต คือความตาย มรณะคือความตาย จิตที่ตายแล้วจากความดี และตายจากความชั่ว ตายจากโลกนี้โลกหน้า ตายจากสมมุติ จิตที่เกิดกับดับ ตายทุกขณะจิตเกิดดับเรียกว่าตายในปัจจุบันตายกองแห่งรูปเรียกว่าตายในภพทั้ง 3 ตายของจิตเกิดดับตายในปัจจุบันอารมณ์ ตายอยุ่ทุกขณะจิตเกิดและดับ (นิพพาน)



http://www.vimokkha.com/paticcat.htm
สุขใจดอทคอม * อกาลิโกโฮม
อนุโมทนาสาธุที่มาทั้งหมดมากมายค่ะ

นำร่อง

[0] ดัชนีข้อความ

[#] หน้าถัดไป

[*] หน้าที่แล้ว

ตอบ

Go to full version