ผู้เขียน หัวข้อ: ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอกบัว]  (อ่าน 26226 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 2 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




ธรรมซีรี่ย์... สัญลักษณ์แห่งความดีงาม [ดอกบัว]




ดอกบัวเป็นดอกไม้พิเศษที่จะนำไปเป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงาม
ความคิดที่ว่าดอกบัวเป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงามนี้
เห็นได้จากมีการนิยมใช้ดอกบัวเป็นเครื่องบูชาพระรัตนตรัยโดยทั่วไป

ดอกบัวได้ชื่อว่าเป็นพืชพันธุ์ไม้น้ำที่ทรงคุณค่าด้านความงามอันล้ำเลิศ พระอรรถกถาจารย์
เปรียบธรรมชาติของดอกบัวว่า มีความคล้ายคลึงกับปรัชญาในพระพุทธศาสนา   
ในคัมภีร์พระพุทธศาสนาเถรวาท มีเรื่องราวเหตุการณ์ที่เกี่ยวกับดอกบัวอยู่มากมาย

นำมาฝากเป็นธรรมซีรี่ย์ครับ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: กันยายน 29, 2013, 01:08:17 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


  ดอกบัวเปรียบกับอนุพยัญชนะ

จากการศึกษาพระพุทธประวัติ พบว่า พระพุทธเจ้าทรงมีพระลักษณะต่างกับสามัญชน พระพุทธลักษณะนั้นเรียกว่า มหาปุริสลักษณะ ซึ่งหมายถึงลักษณะของมหาบุรุษ คือ พระพุทธเจ้า

ส่วนพระพุทธลักษณะอันเป็นข้อปลีกย่อยของพระมหาบุรุษ เรียกว่า อนุพยัญชนะ มีพระพุทธลักษณะ ๓ ประการซึ่งกวี ได้เปรียบเทียบกับดอกบัว คือ

 (๑) พระกรรณทั้งสองข้างมีสัณฐานอันยาวเรียวอย่างกลีบประทุมชาติ

 (๒) พระสรีระกายสดชื่นดุจดอกประทุมชาติ

(๓) กลิ่นพระโอษฐ์หอมฟุ้งเหมือนกลิ่นดอกอุบล

สมัยพุทธกาล พระพุทธสาวกที่เป็นพระอรหันต์ เมื่อปลงอายุสังขารแล้ว ต้องไปทูลลาพระพุทธเจ้าเพื่อนิพพาน พระมหาปชาบดีโคตมีเถรี อดีตพระน้านางก็เป็นผู้หนึ่งซึ่งเมื่อทรงปลงอายุสังขารแล้ว ได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ทูลลาพระพุทธองค์เพื่อนิพพาน มีเรื่องว่า พระนางซบพระเศียรแทบพระบาทของพระพุทธเจ้า กราบทูลว่า

“ขอพระองค์ทรงอนุญาตหม่อมฉัน ขอพระองค์โปรดเหยียดพระบาทที่วิจิตรด้วยลายจักร (ลายจักรก้นหอย) และลายธงอันละเอียดอ่อนคล้ายกับดอกบัว”

พระนางทรงเปรียบพระบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับดอกบัว ดังคำบรรยายว่า

“พระนางมหาปชาบดีโคตมีเถรี ได้ซบพระเศียรลงแทบพื้นพระยุคลบาท ซึ่งเป็นลายจักรคล้ายกับดอกบัวบาน มีพระรัศมีดังดวงอาทิตย์แรกทอแสง”




ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด



  ดอกบัวเปรียบกับเวไนยสัตว์

จากการศึกษาเหตุการณ์ในพุทธประวัติ เมื่อพระพุทธเจ้าตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ทรงมีความท้อพระทัยที่จะสั่งสอนเวไนยสัตว์ ทรงพิจารณาเห็นว่าธรรมที่ได้ตรัสรู้นั้น เป็นธรรมอันลึกซึ้ง สุขุมคัมภีรภาพ ยากที่มนุษย์และสรรพสัตว์ผู้ยินดีในกามคุณจะรู้ตามได้ แต่เพราะอาศัยพระมหากรุณาในหมู่สัตว์ พระองค์ทรงพิจารณาดูอัธยาศัยเวไนยสัตว์ก็ทรงทราบว่าผู้มีกิเลสเบาบาง ที่อาจรู้ตามพระองค์ได้ก็มี พระองค์ทรงเปรียบเทียบระดับสติปัญญาของมนุษย์กับการเจริญเติบโตของบัว ๓ เหล่า คือ บัวเกิดในน้ำ บัวเสมอน้ำ และบัวพ้นน้ำ จึงมีคำอุปมาเวไนยสัตว์เหมือนดอกบัว แบ่งเป็น เหล่าตามอัธยาศัย คือ

                     

๑. อุคฆฏิตัญญู ผู้มีกิเลสน้อยเบาบาง มีอินทรีย์กล้า เพิ่งสอนให้รู้ได้โดยง่าย อาจรู้ธรรมพิเศษได้ฉับพลัน เปรียบเหมือนดอกปทุมชาติ ที่โผล่พ้นจากพื้นน้ำขึ้นจากพื้นน้ำมาแล้ว คอยสัมผัสรัศมีพระอาทิตย์อยู่ จักบานในวันนี้

๒. วิปจิตัญญู ผู้มีกิเลสค่อนข้างน้อย เมื่อได้รับอบรมในปฏิปทาอันเป็นบุพภาค จนมีอุปนิสัยแก่กล้า ก็สามารถบรรลุธรรมพิเศษได้ เปรียบเหมือนดอกบัวซึ่งยังตั้งอยู่เสมอพื้นน้ำ จักบานในวันพรุ่งนี้

๓. เนยยะ ผู้มีกิเลสเบาบาง ก็ยังควรได้รับคำแนะนำในธรรมปฏิบัติไปก่อน เพื่อบำรุงอุปนิสัยจนกว่าจะแรงกล้า จึงจะบรรลุธรรมพิเศษ เปรียบเหมือนดอกบัวที่ยังจมอยู่ในน้ำ คอยเวลาที่จะบานในวันต่อ ๆ ไป

๔. ปทปรมะ ผู้มีกิเลสหนา ปัญญาหยาบ หาอุปนิสัยมิได้เลย ไม่สามารถจะบรรลุธรรมพิเศษได้ เปรียบเหมือนดอกบัวที่จมอยู่ใต้น้ำและเป็นภักษาหารแห่งปลาและเต่า



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 11, 2012, 03:38:30 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ สายลมที่หวังดี

  • ทีมงานกัลยาณมิตร
  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • *
  • กระทู้: 840
  • พลังกัลยาณมิตร 319
    • ดูรายละเอียด
อนุโมทนาค่ะพี่แป๋ม

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


นอกจากนี้ พระอรรถกถาจารย์ กล่าวสาเหตุที่ภิกษุสามเณรจะพินาศเพราะพรหมจรรย์ ต้องละเพศไปสู่ฆราวาส ท่านว่าเพราะอันตราย ๕ ประการ เทียบกับอันตรายของดอกบัว คือ

๑. ดอกบัวย่อมเป็นอันตรายด้วยพายุใหญ่พัดเอาหักโค่น เปรียบด้วยพระภิกษุสามเณรผู้ต้องลมปาก คือคำชักชวนของคนพาล มาชักน้ำเกลี้ยกล่อมให้จิตใจเห็นเคลิบเคลิ้มในโลกียวิสัย หน่ายรักจากพระศาสนา ต้องละเพศพรหมจรรย์ไป

๒. ดอกบัวย่อมเป็นอันตรายด้วยถูกกิมิชาติ คือหนอนเข้าเบียดเบียนกัดต้นกินใบ เปรียบเหมือนพระภิกษุสามเณรผู้ตั้งใจประพฤติพรหมจรรย์ แต่ถูกโรคาพาธต่าง ๆ เข้ามาเบียดเบียนตัดรอน จนไม่อาจประพฤติพรหมจรรย์ได้

๓. ดอกบัวย่อมเป็นอันตรายด้วยถูกฝูงกินนรีเก็บเอาไปเชยชม คือมีผู้มาเด็ดไปจากต้น เปรียบเหมือนพระภิกษุสามเณร ถูกมาตุคาม (สตรี) ล่อให้ลุ่มหลงสิ้นศรัทธาในพระศาสนา ต้องละเพศพรหมจรรย์

๔. ดอกบัวย่อมเป็นอันตราย ด้วยถูกเต่าและปลากัดกินเป็นอาหาร เปรียบเหมือนพระภิกษุสามเณรผู้ประพฤติพรหมจรรย์ ถูกพระยามัจจุราชคือความตายมาตัดรอนคร่าเอาชีวิตไปเสีย

๕. ดอกบัวย่อมเป็นอันตรายด้วยน้ำและโคลนตม ไม่บริบูรณ์เหือดแห้งหดไป เปรียบเหมือนพระภิกษุสามเณรผู้ประพฤติพรหมจรรย์ด้วยความตั้งอกตั้งใจ แต่เพราะกุศลหนหลังและวาสนาปัจจุบันไม่มี ก็เผอิญให้มีอุปสรรคขัดข้องต่าง ๆ ไม่สามารถทรงจำพระธรรมวินัยได้ เป็นเหตุให้ท้อถอยต้องลาเพศพรหมจรรย์ไป



ออฟไลน์ ดอกโศก

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นไม้ใหญ่ยืนหยัดมั่นคงดั่งภูผา
  • *
  • กระทู้: 862
  • พลังกัลยาณมิตร 595
    • rklinnamhom
    • ดูรายละเอียด
สวยมากค่ะ ชอบดอกบัวทุกดอกเลยค่ะ พี่แป๋ม

ขอบคุณค่ะ ที่นำทั้งความและภาพดีๆมาปันให้อ่านและชมค่ะ

ชอบจัง  :13:

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด


  ดอกบัวเป็นสัญลักษณ์ของผู้ปฏิบัติธรรม

ในการปฏิบัติธรรม เมื่อบุคคลละสิ่งที่ขัดขวางจิตไม่ให้ก้าวหน้าในธรรม ได้แก่ นิวรณ์ จิตย่อมเกิดปีติ กายย่อมเกิดความสงบ เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น สงัดจากกามและอกุศลธรรม ความสุขใด ๆ ในโลกียธรรมนั้น ย่อมเปรียบไม่ได้กับความสุขที่เกิดจากการปฏิบัติธรรม ดังนั้น ในการปฏิบัติธรรม พระพุทธเจ้าทรงเปรียบเทียบความสุขที่เกิดจากการบรรลุตติยฌานกับดอกบัวไว้ ดังนี้

เปรียบเหมือนในกอบัวเขียว (อุบล) กอบัวหลวง (ปทุม) หรือกอบัวขาว (บุณฑริก) ดอกบัวเขียว ดอกบัวหลวง หรือดอกบัวขาว บางเหล่าที่เกิดเจริญเติบโตในน้ำ ยังไม่พ้นน้ำ จมอยู่ใต้น้ำ มีน้ำหล่อเลี้ยงไว้ ดอกบัวเหล่านั้นชุ่มชื่นเอิบอาบซาบซึมด้วยน้ำเย็นตั้งแต่ยอดถึงเหง้า ไม่มีส่วนไหนที่น้ำเย็นจะไม่ถูกต้อง ฉันใด ภิกษุทำกายนี้ให้ชุ่มชื่นเอิบอิ่มด้วยสุขอันไม่มีปีติ รู้สึกซาบซ่านอยู่ ไม่มีส่วนไหนของร่างกายที่สุขอันไม่มีปีติจะไม่ถูกต้อง ฉันนั้น

นอกจากนี้ พระพุทธโฆษาจารย์อธิบายถึงเหตุที่พระอริยเจ้าทั้งหลายสรรเสริญผู้ได้บรรลุธรรมขั้นตติยฌานนี้ไว้ว่า ผู้ที่บรรลุตติยฌานซึ่งเป็นยอดสุดแห่งความสุข เป็นผู้มีสติตั้งมั่น เป็นผู้เห็นเสมอกัน มีสติ อยู่เป็นสุข




ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




ดอกบัวเป็นสัญลักษณ์แห่งการตรัสรู้ธรรม

พระมหาปันถก เมื่อบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์แล้ว ได้รับความสุขจากการหลุดพ้น สิ้นจากกิเลส (สิ่งที่ทำให้จิตเศร้าหมอง) และอาสวะ (กิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน) ทั้งปวง มีความปรารถนาจะให้จูฬปันถกผู้เป็นน้องชายมีความสุขเช่นนั้นบ้าง จึงได้ขออนุญาตธนเศรษฐีผู้เป็นตาผู้ซึ่งมีศรัทธาในพระพุทธศาสนาอยู่แล้ว ได้อนุญาตให้จูฬปันถกออกบวช จูฬบันถกก็ได้รับอนุญาตจากธนเศรษฐีให้ออกบวชได้ พระมหาปันถกผู้พี่ชายได้สอนคาถาพรรณนาคุณบทหนึ่งแก่พระจูฬปันถก ความว่า

ดอกบัวชื่อโกกนุท บานในเวลาเช้า ยังไม่สิ้นกลิ่น ยังหอมอยู่ ฉันใด
ท่านจงดูพระอังคีรส ผู้ไพโรจน์อยู่ เหมือนดวงอาทิตย์รุ่งโรจน์อยู่ในอากาศ ฉันนั้น


เพียงคาถาบทเดียวนี้เท่านั้น พระจูฬปันถกเรียนอยู่นานถึง ๔ เดือนก็ยังจำไม่ได้ พระมหาปันถกผู้พี่ชายพยายามให้เธอเรียนอย่างไรก็ไม่สำเร็จ ในที่สุดเห็นว่าพระน้องชายเป็นคนโง่เขลาเบาปัญญา จึงตำหนิพระน้องชายแล้วขับไล่ออกจากสำนักไป


พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทราบเรื่องนี้จึงเสด็จไปเทศนา ได้ประทานผ้าขาวผืนหนึ่งให้แก่พระจูฬปันถก ตรัสบอกให้บริกรรมด้วยคาถาว่า “รโชหรณํ รโชหรณํ” (ผ้าเช็ดธุลี ผ้าเช็ดธุลี) พร้อมกับให้พระจูฬปันถกลูบคลำผ้าผืนนั้นไปด้วยขณะบริกรรมคาถา ในเวลาไม่นาน พระจูฬปันถกได้บรรลุพระอรหัตผลพร้อมด้วยปฏิสัมภิทาญาณ คือ ปัญญาอันแตกฉาน ๔ ประการ ได้แก่




อัตถปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในอรรถ)
ธัมมปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในธรรม)
นิรุตติปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในนิรุกติ คือ ภาษา)
ปฏิภาณปฏิสัมภิทา (ปัญญาแตกฉานในปฏิภาณ)

และได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าให้เป็นหนึ่งในอสีติมหาสาวก (พระสาวกผู้ใหญ่ ๘๐ องค์) ดังที่พระพุทธเจ้าตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย บรรดาภิกษุผู้เป็นสาวกของเรา ผู้เนรมิตกายสำเร็จด้วยใจ ๑ ผู้ฉลาดในการเปลี่ยนแปลงทางใจ ๑ จูฬปันถกเป็นเอตทัคคะแล.....



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 11, 2012, 03:59:18 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด




อีกเรื่องหนึ่ง อดีตนายช่างทอง ซึ่งเป็นสัทธิวิหาริก (เป็นคำเรียกผู้ที่ได้รับอุปสมบท ถ้าอุปสมบทต่อพระอุปฌายะองค์ใดองค์หนึ่ง ก็เป็นสัทธิวิหาริกของพระอุปัชฌายะองค์นั้น) ของพระสารีบุตร เมื่อบวชเป็นภิกษุ พระสารีบุตร สวยงาม จึงให้ภิกษุหนุ่มพิจารณาอสุภกรรมฐาน๓๗ เธอพยายามพิจารณาอสุภกรรมฐานอยู่ตลอด ๔ เดือน ยังไม่พบคุณวิเศษแต่ประการใด พระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระสัพพัญญุตญาณ คือ พระปรีชาญาณหยั่งรู้ ทั้งที่เป็นอดีต ปัจจุบัน และอนาคต ว่า ภิกษุหนุ่มผู้นี้เคยเป็นนายช่างทองมาแล้วถึง ๕๐๐ ชาติ การทำงานอยู่กับทองซึ่งเป็นสิ่งของสวยงาม ประกอบกับมีอุปนิสัยละเมียดละไมรักสวยรักงาม (ราคะจริต) จึงควรนำสิ่งที่สวยงามเช่นดอกบัวเพื่อใช้เป็นอารมณ์กรรมฐาน

                   

วันหนึ่ง พระพุทธองค์ทรงพาภิกษุนั้นเที่ยวจาริกไปในวิหาร แล้วทรงนิรมิตสระโบกขรณีสระหนึ่งในอัมพวัน และนิรมิตดอกปทุมใหญ่ดอกหนึ่งในกอปทุม แม้นั้น แล้วรับสั่งให้นั่งลงด้วยพระดำรัสว่า ภิกษุ เธอจงนั่งแลดูดอกปทุมนี้เข้าใจว่าภิกษุหนุ่มอดีตนายช่างทองรูปนี้อายุยังน้อย จิตใจจะต้องน้อมอยู่ในการรักความงาม ดอกปทุมนั้นมีขนาดเท่าจักร พระพุทธองค์ทรงทำให้เหมือนมีหยาดน้ำหลั่งลงมาจากใบและก้านเพื่อให้เหมาะกับอัธยาศัย ภิกษุหนุ่มได้นำดอกบัวไปวางไว้ที่กองทรายท้ายวิหาร

นั่งขัดสมาธิตรงหน้า
แล้วบริกรรมว่า “โลหิตกํ โลหิตกํ” (สีแดง สีแดง


จากนั้น ขณะที่ท่านกำลังเพลิดเพลินอยู่กับสีแดงอันสวยสดของดอกบัวนั้น พระพุทธองค์จึงทรงเนรมิตให้ดอกบัวซึ่งมีความสวยสดงดงามค่อย ๆ เหี่ยวเฉาลง สักครู่เดียวเกสรดอกบัวก็ร่วงไปเหลืออยู่เพียงฝักบัว เป็นเหตุให้ภิกษุหนุ่มพิจารณาเปรียบเทียบถึงความเป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตาของสังขารทั้งหลายว่าเป็นของไม่เที่ยงถาวรเช่นกัน เมื่อจิตของภิกษุนั้นลงสู่วิปัสสนาญาณแล้ว พระพุทธองค์จึงทรงเปล่งโอภาส (แสงสว่าง) ไป ได้ตรัสว่า “เธอจงตัดความสิเนหาของตนเสีย เหมือนคนตัดดอกโกมุทอันเกิดในสารทกาล เธอจงพอกพูนทางแห่งความสงบ เพราะนิพพาน ตถาคตแสดงไว้แล้ว




จากการที่ภิกษุหนุ่มใช้ดอกปทุมทองเป็นเครื่องหมายกรรมฐาน และได้
น้อมนำจิตใจให้เลื่อมใสในพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ขณะปฏิบัติกรรมฐาน จึงทำให้ได้สำเร็จอรหัตตผลในเวลาไม่นาน



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: พฤศจิกายน 11, 2012, 06:46:28 pm โดย ฐิตา »

ออฟไลน์ ฐิตา

  • ทีมงานดอกแก้วกลิ่นธรรม
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7459
  • พลังกัลยาณมิตร 2236
    • ดูรายละเอียด

ดอกบัวเปรียบกับพระนิพพาน

ในคัมภีร์มิลินทปัญหา พระยามิลินท์ ทรงโต้แย้งพระนาคเสน๕๓ที่กล่าวว่า พระนิพพานเป็นสุขโดยส่วนเดียวนั้นตนไม่เชื่อ พระนิพพานนั้นเจือด้วยทุกข์ เพราะบุคคลผู้แสวงหาพระนิพพานนั้น มีอันต้องทำกายและจิตให้ร้อนรุ่ม ต้องกำหนดการยืน กำหนดการเดิน กำหนดการนอนและกำหนดอาหาร ต้องกำจัดความโงกง่วง ต้องบังคับอายตนะ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ต้องสละทั้งกายทั้งชีวิตและยังต้องละทิ้งทรัพย์สนและญาติมิตรอันเป็นที่รัก

พระนาคเสนจึงได้ถวายพระพรว่า พระนิพพานเปรียบเหมือนดอกบัว ดังนี้

พระนิพพานนั้นเป็นสุขโดยส่วนเดียวโดยมิได้เจือด้วยทุกข์ เปรียบเหมือนพระราชาเมื่อกำจัดข้าศึกได้แล้วก็ได้เสวยสุขโดยส่วนเดียว บุคคลก็เช่นกัน เมื่อต้องกำหนดการยืน การเดิน การนั่ง การนอนและอาหาร ต้องกำจัดความโงกง่วงแล้ว จึงได้เสวยพระนิพพานอันเป็นสุขโดยส่วนเดียว

เมื่อได้อธิบายโดยแจ่มแจ้งแล้ว พระนาคเสนยังได้เปรียบคุณของดอกบัวกับพระนิพพานว่า

ธรรมชาติของดอกบัว น้ำย่อมไม่ซึมติดอยู่ได้ฉันใด พระนิพพานอันกิเลสทั้งปวงไม่ซึมติดได้ฉันนั้น นี้แล คุณแห่งดอกบัวประการหนึ่ง ซึ่งควรคู่กับพระนิพพาน เปรียบเหมือนว่า น้ำฉาบติดดอกปทุมมิได้ ฉันใด ขอถวายพระพร กิเลสทั้งหลายทั้งปวง ก็ฉาบติดพระนิพพานมิได้ ฉันนั้นเหมือนกัน ขอถวายพระพร นี้คือคุณอย่างหนึ่งของดอกปทุมที่เทียบกันได้กับพระนิพพาน




ขอบคุณที่มาภาพจาก น้องต้อง ค่ะ...