ผู้เขียน หัวข้อ: "บันได 10 ขั้น จากคนธรรมดา สู่ พุทธเจ้า" (พรหมวิหารสี่ในมิติของเส้นทางฝึกตนของ พระอรหันต์-โพธิสัตว์)  (อ่าน 1297 ครั้ง)

0 สมาชิก และ 1 บุคคลทั่วไป กำลังดูหัวข้อนี้

ออฟไลน์ มดเอ๊กซ

  • ทีมงานพัฒนาข้อมูล
  • ต้นสักทองเรืองรองฤทธิ์
  • *
  • กระทู้: 7167
  • พลังกัลยาณมิตร 1518
    • ดูรายละเอียด


(๒ มค.๒๕๕๖) ณ ไต้หวัน

  ๑. แต่ไหนแต่ไรมา เมืองไทยก็สอนเรื่อง"พรหมวิหารสี่"แค่ในมิติของจิตใจเป็นหลัก มีรูปธรรมเป็นกิจกรรมช่วยเหลือเกื้อกูลกันบ้างตามสมควร เพราะเน้นให้ค่าที่การพิจารณาลดละทางจิตใจ มองด้านใน พุ่งเพ่งไปที่การพาถือศีลลดละกิเลส ตั้งแต่ศีล ๕ ศีล ๘ ศีล ๑๐ จนถึงศีลปาฏิโมกข์ของพระนักบวช เพื่อบรรลุระดับอาริยะตั้งแต่โสดาฯ สกิทาฯ อนาคาฯ จนถึงอรหันต์ในที่สุด โดยผนวกกับการปฏิบัติด้วยการนั่งสมาธิ ให้จิตนิ่งสงบ จนกว่าจะมีคุณภาพนิ่งใสบริสุทธิ์ที่เรียกว่า หลุดพ้น ไร้เรืองข้องติด บรรลุพระนิพพานไปให้ได้ (จะได้ไม่ต้องกลับมาเกิดให้ทุกข์ยากอีก)...โดยแยกประเด็นมาสอนว่า การช่วยเหลือเกื้้อกูลทางสังคม เป็นแค่เพียง"งานสังคมสงเคราะห์"ที่ทำได้ง่ายๆ ไม่ยากนัก ไม่อาจเปรียบเทียบการ"มองด้านใน"หรืองาน"วิปัสสนา"ที่มีเป้าหมายลดละกิเลสอย่างละเอียด จนถึงขั้นลดอัตตาตัวตน จนหมดสิ้นอนุสัยอาสวะ เข้าสู่ภาวะ"นิพพาน”..ที่เรียกว่า "ไม่เกิดไม่ดัับ" อีกเลยเป็นที่สุด

  ๒.แตกต่างจากชาวจีนที่เป็นต้นแบบ "พุทธเชิงแม่" ที่มีการสอนเรื่อง"พรหมวิหารสี่"อย่างจริงจัง มีการปรับธรรมะให้เป็นกิจกรรมอย่างโดดเด่น(Buddhism in action) มีเป้าหมายชัดเจน จริงจัง เช่น เมตตา คือช่วยคนจน กรุณา คือช่วยคนป่วย มุทิตา คือ ช่วยการศึกษา อุเบกขา คือ ช่วยเต็มที่โดยไม่หวังผล เป็นต้น ทำให้เมืองจีนไต้หวัน มีคำสอนโน้มไปทางสร้างกิจกรรมรวมหมู่คนเข้าเป็นองค์กร ไม่ปลีกเดี่่ยว เน้นให้แต่ละคน..ลดอัตตาเข้าหากลุ่ม ..(สร้างพื้นฐานมารยาทร่วมกันในด้าน..นิสัยอ่อนน้อม พูดสุภาพ ให้เกียรติกัน สำนึกคุณกัน มองบวกกัน เอื้้ออาทรกัน ทำให้ทำงานร่วมกันได้อย่างต่อเนื่อง ยาวนาน ) และกลายเป็นกระบวนผลิตซ้ำตามสไตล์นี้อย่างกว้างขวางไปทั่วโลก(มากกว่า ๕๐ประเทศ)

๓.กิจกรรมเชิง"พรหมวิหารสี่"หรือ"พุทธเชิงแม่" ก็แปลงคำสอนให้เป็น"หน่วยงานหลัก" หลายอย่างขององค์กรพุทธในไต้หวัน ทำให้เกิดการฝึกนิสัย"รับผิดชอบอย่างต่อเนื่องจริงจัง" เช่น (ก.)ขึั้นทะเบียนช่วยเหลือคนจน_คนป่่่วย แล้วเอาใจใส่ดูแลจนกว่าจะเสียชีวิต (ข.) สร้างศูนย์เก็บแยกขยะ แล้วกระตุ้นให้เกิดระบบจิตอาสานับหมื่นๆคนมาช่วยกันรับผิดชอบ แปลงขยะเป็นเงินทอง แล้วนำไปสนับสนุนสถานีทีวีเผยแพร่การทำความดีได้อีก (ค.) สร้างศูนย์จิตอาสาชุมชน คอยช่วยเหลือกันเอง ก่อนที่จะไปหวังพึ่งพาความช่วยเหลือจากภาครัฐ (ง.) สร้างองค์กรเตรียมพร้อมที่จะออกไปบำบัดภัยพิบัติที่เกิดขึั้นทั้งในและต่างประเทศ ภายใต้สโลแกนที่ว่า "จะไปถึงและช่วยให้เร็วกว่าภาครัฐ และจะอยู่ช่วยให้นานที่สุดเท่าที่มีคุณค่า" เป็นต้น เหล่านี้เป็นบางหน่วยงานเท่านั้นที่ได้เห็นจริงๆในไต้หวัน เมื่อมีทิศทางปณิธานแน่นอน ทำให้เกิดศรัทธาและสร้างระบบการฝึกอบรมคนใหม่ให้มาร่วมกันฝึกตนเป็น"ชาวจิตอาสา"นับเป็นจำนวนแสนๆคนที่ถือว่าเป็นระบบที่ใหญ่ที่สุดในโลกขึ้นบนเกาะเล็กๆที่เรียกว่า ไต้หวัน

  ๓. ดังนั้น เราผู้เขียนผู้เป็น " กบนอกกะลา" มีโอกาสเดินทางไปศึกษาพุทธสารพัดนิกาย จากทั่วโลก จึงอยากจะผนวก สองแนวคิดของเถรวาทและมหายานเข้าด้วยกัน คือ เอาระดับ"อาริยะสู่นิพพาน"มีระดับ..สี่่ขั้น..ตามแนวเถรวาทมาเป็นพื้นฐาน กล่าวคือ

  ก.เริ่มต้นที่ระดับที่  1. คือฝึก.. ละอบายมุข ถือศีล ๕ (พ้นสังโยชน์ข้อที่ ๑ ถึง ๓) ก็นับว่า บรรลุนิพพานขั้นอนุบาล เรียกว่า โสดาบัน ก็จะต่อฐานบำเพ็ญจิตโพธิสัตว์ ตามหมวดธรรมของ "พรหมวิหารสี่ " ข้อที่ หนึ่ง คือ "โพธิสัตว์ระดับหนึ่ง" เรียกว่า "เมตตาโพธิสัตว์" กล่าวคือ มีบทฝึกที่จะต้อง เรียนรู้ฝึกฝนที่จะช่วยเหลือให้คนอื่น สามารถพัฒนาไปสู่การถือศีล ๕ ละอบายมุข ๖ (พ้นสังโยชน์ข้อที่ ๑ ถึง ๓)ได้

  ข.ระดับที่ 2.  คือฝึก..ถือศีล ๘ ลดกามคุณโลกธรรมหยาบๆ (พ้นสังโยชน์ข้อที่ ๔ ถึง ๕) ก็นับว่า บรรลุนิพพานขั้นประถมฯ เรียกว่า "สกิทาคามี " ก็จะต่อฐานบำเพ็ญจิตโพธิสัตว์ ตามหมวดธรรมของ "พรหมวิหารสี่ " ข้อที่ ๒ คือ "โพธิสัตว์ระดับที่ ๒ " เรียกว่า "กรุณาโพธิสัตว์" กล่าวคือ มีบทฝึกที่จะต้อง เรียนรู้ฝึกฝนที่จะช่วยเหลือให้คนอื่น สามารถพัฒนาไปสู่การถือศีล ๘ ลดกามคุณโลกธรรมหยาบๆ (พ้นสังโยชน์ข้อที่ ๔ ถึง ๕) ได้

  ค.ระดับที่  3. คือฝึก..ถือศีล ๑๐ ลดกามคุณโลกธรรมขั้นละเอียด (พ้นสังโยชน์ข้อที่ ๖ ถึง ๗) ก็นับว่า บรรลุนิพพานขั้นมัธยมฯ เรียกว่า "อนาคามี " ก็จะต่อฐานบำเพ็ญจิตโพธิสัตว์ ตามหมวดธรรมของ "พรหมวิหารสี่ " ข้อที่ ๓ คือ "โพธิสัตว์ระดับที่ ๓ " เรียกว่า "มุทิตาโพธิสัตว์" กล่าวคือ มีบทฝึกที่จะต้อง เรียนรู้ฝึกฝนที่จะช่วยเหลือให้คนอื่น สามารถพัฒนาไปสู่การถือศีล ๑๐ ลดกามคุณโลกธรรมขั้นละเอียด (พ้นสังโยชน์ข้อที่ ๖ ถึง ๗)ได้

  ง.ระดับที่  4. คือ ฝึก..ถือศีลปาฏิโมกข์ (พ้นสังโยชน์ข้อที่ ๘ ถึง ๑๐) ก็นับว่า บรรลุนิพพานขั้นอุดมศึกษาฯ เรียกว่า "อรหันต์ " ก็จะต่อฐานบำเพ็ญจิตโพธิสัตว์ ตามหมวดธรรมของ "พรหมวิหารสี่ " ข้อที่ ๔ คือ "โพธิสัตว์ระดับที่ ๔ " เรียกว่า "อุเบกขาโพธิสัตว์" กล่าวคือ มีบทฝึกที่จะต้อง เรียนรู้ฝึกฝนที่จะช่วยเหลือให้คนอื่น สามารถพัฒนาไปสู่การถือศีลปาฏิโมกข์ (พ้นสังโยชน์ข้อที่ ๘ ถึง ๑๐ ) ได้

  จ. ระดับที่ 5.  คือ เป็น"พระอรหันต์" แล้ว และก็ตั้งใจเวียนกลับมาเกิดใหม่อีก เพื่อฝึก..กับโจทย์ที่ยากขึ้น หลายๆชาติ หลายๆครั้ง เพื่อเพิ่มพูนศักยภาพของพระอรหันต์ให้เก่งขึ้นๆ ทั้งในเชิงลึก เชิงกว้าง ทั้งในเชิงส่วนบุคคล ทั้งเชิงตั้งองค์กร เรียกว่า เป็น ระดับ อนุพุทธโพธิสัตว์

  ฉ. ระดับที่ 6. คือ แม้เป็น"พระอนุพุทธโพธิสัตว์"แล้ว และก็ตั้งใจเวียนกลับมาเกิดใหม่อีก เพื่อฝึก..กับโจทย์ที่ยากขึ้น อีกหลายๆชาติ อีกหลายๆครั้ง เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์และศักยภาพของพระอนุพุทธโพธิสัตว์..ให้เก่งขึ้นๆ ทั้งในเชิงลึก เชิงกว้าง ทั้งในเชิงส่วนบุคคล ทั้งเชิงตั้งองค์กร เรียกว่า เป็น ระดับ "อนิยตโพธิสัตว์" (ถ้าจะอนุมานความชำนาญของโพธิสัตว์ระดับหกนี้ ก็คือ สูงกว่า เก่งกว่า ระดับ ห้า..ที่เรียกว่า..อนิยตโพธิสัตว์.. ถึง สองเท่า เป็นอย่างน้อย นั่นเอง )

  ช. ระดับที่ 7. คือ แม้เป็น"พระอนิยตโพธิสัตว์"แล้ว และก็ตั้งใจเวียนกลับมาเกิดใหม่อีก เพื่อฝึก..กับโจทย์ที่ยากขึ้น อีกหลายๆชาติ อีกหลายๆครั้ง เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์และศักยภาพของพระอนุพุทธโพธิสัตว์..ให้เก่งขึ้นๆ ทั้งในเชิงลึก เชิงกว้าง ทั้งในเชิงส่วนบุคคล ทั้งเชิงตั้งองค์กร เรียกว่า เป็น ระดับ "นิยตโพธิสัตว์" (ถ้าจะอนุมานความชำนาญของโพธิสัตว์ระดับเจ็ดนี้.. ก็คือ สูงกว่า เก่งกว่า ระดับ หก..ที่เรียกว่า..พระนิยตโพธิสัตว์.. อีกหลายเท่า.. นั่นเอง)

  ซ. ระดับที่ 8. คือ แม้เป็น"พระปัจเจกโพธิสัตว์"แล้ว และก็ตั้งใจเวียนกลับมาเกิดใหม่อีก เพื่อฝึก..กับโจทย์ที่ยากขึ้น อีกหลายๆชาติ อีกหลายๆครั้ง เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์และศักยภาพ ของพระ พุทธโพธิสัตว์..ให้เก่งขึ้นๆ ทั้งในเชิงลึก เชิงกว้าง ทั้งในเชิงส่วนบุคคล ทั้งเชิงตั้งองค์กร เรียกว่า เป็น ระดับ "พระปัจเจกโพธิสัตว์" (ถ้าจะอนุมานความชำนาญของโพธิสัตว์ระดับแปดนี้.. ก็คือ สูงกว่า เก่งกว่า ระดับ เจ็ด..ที่เรียกว่า..พระอนิยตโพธิสัตว์.. อีกหลายเท่า.. นั่นเอง )

  ฌ.ระดับที่ 9. คือ แม้เป็น "พระปัจเจกโพธิสัตว์"แล้ว และก็ตั้งใจเวียนกลับมาเกิดใหม่อีก เพื่อฝึก..กับโจทย์ที่ยากขึ้น อีกหลายๆชาติ อีกหลายๆครั้ง เพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์และศักยภาพ ของพระปัจเจกโพธิสัตว์..ให้เก่งขึ้นๆ ทั้งในเชิงลึก เชิงกว้าง ทั้งในเชิงส่วนบุคคล ทั้งเชิงตั้งองค์กร เรียกว่า เป็น ระดับ "พระสัมมาสัมพุทธโพธิสัตว์" (ถ้าจะอนุมานความชำนาญของโพธิสัตว์ระดับเก้านี้.. ก็คือ สูงกว่า เก่งกว่า ระดับ แปด..ที่เรียกว่า..พระปัจเจกโพธิสัตว์.. อีกหลายเท่า.. นั่นเอง )

  ญ.ระดับที่ 10. คือ ระดับอุดมคติของสัมมาโพธิญาณ เป็นหลักการที่เป็นทฤษฎีของการบำเพ็ญสูงขึ้นไปเพื่อเป็นพระสัมมาพุทธเจ้าเชิงร้อยเปอร์เซนต์ ซึ่งยากที่มนุษย์คนใดจะทำได้ถึงระดับร้อยเปอร์เซนต์ ดังนั้น จึงเป็นเพียงบรรทัดฐานที่บรรดาพระโพธิสัตว์แต่ละองค์จะพยายามอย่างที่สุด ให้ใกล้เคียงมากที่สุด แล้วก็ตัดรอบ ปรินิพพานไป เท่านั้นเอง (ความรู้เชิงโพธิสัตว์เหล่านี้ อ้างอิงจากองค์ความรู้เรื่องอวตาร๑๐ของคำสอนฮินดูและคำอธิบายของพ่อท่านโพธิรักษ์..หากมีอะไรบกพร่อง โปรดชี่แนะเพื่อการปรับปรุงต่อไป)

  ๔. องค์ความรู้ข้างต้นนี้เป็นเพียงแนวคิดหนึ่งที่พยายามเข้าใจ ความเป็นพุทธแบบองค์รวม เท่านั้น ไม่จำเป็นต้องเชื่อ ผู้เขียนเพียงมีจิตปรารถนาเพื่อช่วยเหลือผู้ศึกษาใหม่ ให้มีแนวทางศึกษาแนวหนึ่งที่ง่ายต่อความเข้าใจ_ชัดเจนเป็นพื้นฐานเท่านั้น แท้จริง หากแต่ละท่านมีหลักปฏิบัติ ตามหลักศีล_สมาธิ_ปัญญาที่เป็นธรรมสากล ก็สามารถดำเนินชีวิตอย่างมีความสุขทั้งในภพนี้และภพหน้าแน่นอน ...สาธุ
(ผู้เขียน พ.เดิมแท้ ชาวหินฟ้า ณ เกาะไต้หวัน)

 :13: https://www.facebook.com/groups/368146733283631/
" มันเป็นสัจธรรมพื้นฐาน
ความเฉยชา คือ ผู้พิฆาต ความคิดดีนับร้อยพันและแผนการอันวิเศษ
ณ บัดหนึ่ง มีผู้มุ่งมั่นตั้งใจลงมือ สิ่งศักดิ์สิทธิ์ย่อมอำนวยชัย

มิว่าสู ทำสิ่งใด หรือ ฝันจะทำอะไร ทำ ณ บัดนี้
ความทรนงองอาจ มีพรสวรรค์ พลังอำนาจ และ มหัศจรรย์แห่งตน "

เกอเธ่...